ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

บทความว่าด้วยเรื่องทำไมโลกนี้ถึงได้มีภาพยนตร์ติดเรต

ชื่อเดิมของบทความ"มาดูหนังโป๊กัน"

ของ เผ่า นวกุล  


หลายวันมานี้ มักนั่งครุ่นคิดอยู่ตลอดว่า ในโลกนี้มักมีอะไรที่แปลกๆอยู่เสมอ ในสังคมนี้บางครั้งแล้วก็มีอะไรให้เราชวนคิดมากทีเดียว ระเบียบ กฎเกณฑ์  อุดมคติ มักจะเดินมาด้วยกันเสมอ สรุปรวมความคิดจึงกล่าวได้ว่า เอาเข้าจริงแล้วเราอยู่ในโลกของความจริงหรือเพียงว่า อยู่ในโลกของอุดมคติกันแน่ ซึ่งคำตอบที่มีต่อตัวเองก็น่าจะบอกได้ว่า “มันอยู่ในโลกของอุดมคติชัดๆ”


มีบางอย่างที่ทำให้ครุ่นคิดตลอดว่า ครั้นกล่าวว่า “มนุษย์นั้นไซร้มักละเมิดอะไรบางอย่างอยู่ตลอดเวลา” ก็ยิ่งทำให้ผู้เขียนมานั่งคิดมากกว่าเดิมว่าแล้วอะไรจะเป็นตัวอย่างได้ดีต่อกรอบคิดเหล่านี้ คิดไปคิดมาก็นึกถึงตัวเองนี่แหละที่อะไรเล่าที่เรามักจะละเมิดอยู่ตลอดเวลาเวลาเด็ก ทันใดนั้นความคิดก็หยุดลงตรงที่ “หนังโป๊”


หนังโป๊ หนังเอ็กซ์ การ์ตูนผู้ใหญ่ และอื่นๆ หลากหลายคำที่ใช้เรียกกัน ผู้เขียนลองนึกภาพว่าตั้งแต่เกิดมาสิ่งเหล่านี้มันอยู่คู่กับมนุษย์มานานแสนนาน ไม่ต้องอะไรมากดูขนาดผู้เขียนเองหากมองย้อนแล้วไม่ว่านานแค่ไหนคนก็ยังนิยมหนังโป๊ มากกว่า นิยมการใส่กางเกงขาม้าเป็นแน่ เพราะอย่างน้อยหนังโป๊ก็ไม่มีวันตกยุคเฉกเช่นเดียวกับ กางเกงขาม้าเป็นแน่ ไม่เชื่อคุณลองถามตัวเองดูซิ ?


จากความรู้อันน้อยนิดของผู้เขียนก็อยากจะลองเปิดมุมมองดูซิว่า เหตุใดเราจึงนิยมหนังโป๊ เพราะทั้งที่ความเป็นจริงมันคือ การแสดง และเหตุใดเล่าในสังคมไทยหนังโป๊จึงมีการถ่ายทำที่ห่วยแตกมาก ทั้งด้านเทคนิค และเนื้อหา เมื่อเทียบกับ ต่างประเทศ เหตุใดเล่า ดาราหนังโป๊ไทย จึงมีสถานะทางสังคมที่ต่างจากดาราหนังโป๊ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา เป็นต้น


ประเด็นแรก ขอกล่าวถึงว่าเพราะเหตุใดคนเราจึงสนใจที่จะดูหนังโป๊มาก ทั้งที่ในความเป็นจริงมันคือการแสดงเท่านั้น ทั้งๆที่รู้ว่าเป็นการแสดงแต่เราก็ยังสนใจมัน ผมขอยกแนวความคิดของ โรล็องด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) ในหนังสือเรื่อง “มายาคติ” มาอธิบายความซึ่งอาจจะมีบางอย่างที่สามารถนำมาอธิบายได้


โรล็องด์ บาร์ตส์ ได้กล่าวถึงมายาคติที่เกี่ยวกับมวยปล้ำไว้อย่างน่าสนใจก็คือ เกี่ยวกับเรื่อง ความลับของมนุษย์ มนุษย์นั้นมักจะเป็นผู้ที่มีอะไรในใจอยู่ตลอดเวลาดังคำกล่าวที่ว่า รู้หน้าไม่รู้ใจ ตามภาษาคนไทย ดังนั้นสิ่งที่มวยปล้ำแสดงก็คือ การตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์นั่นเองที่มักจะอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่เป็นความลับอยู่เสมอ ดังคำกล่าวที่ว่า “โชคดีที่มีบุญได้เห็น” ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วมันก็คงไม่ต่างอะไรกับ “การดีใจที่ได้เห็นสิ่งที่เป็นความลับ” นั่นเอง


สิ่งที่ โรล็องด์ บาร์ตส์ กล่าวก็คือ บนเวทีมวยปล้ำเราจะรู้ถึงความเคลื่อนไหวทุกสิ่งทุกอย่างของทุกคนบนเวที ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายธรรมะ ฝ่ายอธรรม กรรมการ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งนี้มันจึงเป็นสิ่งที่ตอบสนองได้ดีต่อมนุษย์ เพราะอย่างน้อยคุณก็ได้เห็นว่า ใครจะทำอะไรใคร ฝ่ายอธรรมบนเวทีกำลังจะทำอะไร ซึ่งเอาเข้าจริงก็เหมือนกับว่า อย่างน้อยที่สุดคุณก็เห็นซึ่งๆหน้าต่อการกระทำของทุกคนบนเวที มากกว่าที่คุณเจอในชีวิตจริงคือ “การแทงข้างหลัง” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มันไม่มีความลับบนเวทีมวยปล้ำ


ในการนี้ผู้เขียนขอกล่าวย้อนมาถึง หนังโป๊ ซึ่งการอธิบายก็คงใช้หลักเดียวกับเรื่องมวยปล้ำก็คงได้ กล่าวคือ ในสังคมมักบอกเสมอว่า การร่วมเพศ เป็นสิ่งที่เป็นส่วนตัวมากการกระทำก็ต้องอยู่ในที่ที่มิดชิด เช่น คุณคงไม่กล้าที่จะร่วมเพศกันกลางถนนเป็นแน่ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเรื่องเหล่านี้เป็นความลับ สิ่งที่มันสอดรับกับมนุษย์ก็คือว่า กูอยากรู้  ดังนั้นการแอบดูจึงเป็นสิ่งที่ตามมา เช่นเดียวกับการละเมิดของสองคนผู้เป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ตามความคิดทางคริสต์ศาสนา หนังโป๊ก็เช่นเดียวกันในเมื่อความเป็นจริงการร่วมเพศเป็นสิ่งที่เป็นความลับ หนังโป๊ก็จึงเกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อความอยากรู้ของผู้คนทั่วไป อย่างน้อยๆ ก็ทำให้เรารู้ว่าในความลับของการร่วมเพศในชีวิตจริงเป็นอย่างไร และมันจึงถูกแสดงให้เราเห็นในหนังโป๊นั่นเอง


จากที่กล่าวไปนั่นคือองค์รวมของการมองหนังโป๊ในสายตาผู้เขียน หากมองถึงรายละเอียดมาอีกนิดก็อาจกล่าวได้ว่า ครั้นเราสนองความอยากรู้อยากเห็นด้วยการดูหนังโป๊แล้วเราสนองต่อเรื่องอะไรบ้างในรายละเอียด ดังจะยกตัวอย่างคร่าวๆดังนี้ เช่น สนองต่อท่วงท่า เป็นสิ่งที่มนุษย์อยากรู้ว่าในความเป็นจริงแล้วการร่วมเพศนั้นมันมีท่วงท่าเป็นอย่างไร มากน้อยแค่ไหน นางเอกสวยๆจะมีท่าทางเป็นเยี่ยงไร เพราะในความเป็นจริงเมื่อผู้ชายส่วนมากเห็นผู้หญิงสวยๆก็มักจะเกิดการจินตนาการ คงไม่ต้องบอกนะว่าเรื่องอะไร ดังนั้นก็จึงสนองต่อประเด็นต่อมาว่า เอาเข้าจริงแล้วคนส่วนมาก (ขอย้ำว่าคนส่วนมาก) ทำไมจึงชอบดูหนังโป๊ที่นางเอกสวยๆ เพราะในชีวิตจริงคุณก็ชอบที่จะมองผู้หญิงสวยๆอยู่แล้ว เช่น ดารา เป็นต้น (ขอย้ำว่าสิ่งที่กล่าวไปขอเน้นในเรื่องของหนังโป๊ชายหญิง ที่ส่วนใหญ่ผู้ชายเกินร้อยละ 90 เคยดู)


ประการต่อมา เป็นสิ่งที่ผู้เขียนได้ยินจากอาจารย์ของผู้เขียนท่านหนึ่งไม่ขอเอ่ยนาม อาจารย์ท่านกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า ที่ผู้ชายชอบดูหนังโป๊เพราะคุณรู้ว่าภรรยาที่บ้านคุณไม่สามารถทำเช่นเดียวกับหนังโป๊ได้เป็นแน่ ก็จริงของแกนะ เพราะถ้าทำได้เฉกเช่นเดียวกันก็คงไม่จำเป็นที่จะต้องดูมัน เพราะมันคงเป็นเรื่องปกติ แต่เป็นเพราะว่าไม่สามารถทำแบบหนังโป๊ได้ก็จึงต้องดูเพราะอย่างน้อยมันก็เป็นเรื่องที่ไม่ปกติ


จากที่กล่าวไปเป็นมุมมองของผู้เขียนที่มีต่อหนังโป๊ ว่ามีเหตุผลอะไรที่เราต้องดูกัน ในประการต่อมาก็มีคนถามผู้เขียนมาอีกว่า แล้วทำไมในบ้านเราหนังโป้เมื่อเทียบคุณภาพกับต่างประเทศจึงด้อยกว่ามาก ทั้งในเรื่องของ นางเอก เรื่องของบท เรื่องของเทคนิคการถ่ายทำ ซึ่งผู้เขียนใช้เวลาคิดอยู่นานจนกระทั่งไปสะดุดอยู่สองสามเรื่องนั่นก็คือ เรื่องเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ เรื่องชนชั้นทางสังคม และหนังการ์ตูนโป๊เล่มละบาท


เมื่อกล่าวว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธดังนั้น จารีตประเพณี ศีลธรรม เป็นคำที่ตามมา ดังนั้นเมื่อคุณอยู่ในสังคมที่มีศีลธรรมการกระทำอะไรที่เป็นการบัดสีบัดเถลิงจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้นใครผู้ใดที่จะเข้ามาสู่วงการนี้ก็จะกลายเป็นผู้เสื่อมทรามทันทีไม่ว่าคุณเป็นใครก็ตาม ผลกระทบที่ตามมาก็คือ แม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่จะชอบหนังโป๊มากแค่ไหนก็ตามก็ไม่สามารถต้านทานพลังอำนาจแห่งศีลธรรมไปได้เป็นแน่ ไม่เชื่อคุณลองตะโกนว่า “กูชอบดูหนังโป๊” ต่อหน้าเพื่อนๆในที่ทำงานดูซิแล้วคุณก็จะรู้ ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนั้นการที่จะสร้างอุตสาหกรรมหนังโป๊ให้มีความก้าวหน้าจึงถูกขัดไว้ด้วยระบบศีลธรรมอันฝังรากลึก การเข้ามาของดารา ผู้กำกับ ผู้จัดและอื่นๆ จึงมีเงื่อนไขอื่นที่ทำให้เขาต้องเข้ามามากกว่าการที่จะเข้ามาพัฒนาคุณภาพของหนัง เงื่อนไขที่ว่าก็คือ ความยากจน เป็นต้น การเข้ามาสู่วงการในสังคมไทยมันจึงเกิดจากความยากจนของคนแสดงมากกว่าเรื่องอื่นๆ


สิ่งที่ผู้เขียนมองในประการต่อมา คือ เรื่องชนชั้นทางสังคม และหนังการ์ตูนโป๊เล่มละบาท หากย้อนไปในยุคหนึ่ง หนังสือแนวบันทึกรัก (จากผู้อ่าน) เป็นที่นิยมมาก ควบคู่ไปกับ หนังสือการ์ตูนโป๊เรื่องละบาท ถามว่าผู้เขียนได้อะไรจากสิ่งที่เห็น หากเราสังเกตให้ดีจะพบว่าเนื้อเรื่องส่วนใหญ่ของการ์ตูนเหล่านี้จะเป็นไปในแนวของ “กระท่อมในชนบท” มากกว่าในแนว “คนในเมือง” หากอยากให้เห็นภาพก็ให้นึกถึงการ์ตูนญี่ปุ่นที่เน้นเรื่องของโรงเรียน ที่ทำงาน และอื่นๆ โดยไม่ได้มองว่าสิ่งเหล่านี้จะจำกัดอยู่ที่ใครชนชั้นใด ซึ่งเป็นมุมมองที่ต่างกันอย่างมาก ผู้เขียนคิดว่าก็อาจเกิดจากปัญหาด้านศีลธรรมที่ได้กล่าวไปข้างต้น อีกประการหนึ่งผู้เขียนมองว่า สังคมพยายามโยนเรื่องเหล่านี้ให้กับอีกชนชั้นหนึ่งในสังคมมากกว่า สังคมเมืองหรือชนชั้นกลางพยายามมองว่าเรื่องเหล่านี้มันเป็นเรื่องของคนชนชั้นที่ต่ำกว่าไม่ใช่วิสัยของชนชั้นกลาง ปัญญาชนคนเมือง ซึ่งมักผูกติดความคิดตนเองอยู่กับศีลธรรมอันดีเสมอ ดังนั้นภาพที่ออกมาจึงเป็นไปในลักษณะของ “กระท่อมในชนบท” เป็นส่วนมาก


หากเปรียบก็เช่นเดียวกับดาราหนังโป๊ผู้โด่งดังของไทยคนหนึ่ง คือ คุณ น. แม้ว่าคุณจะโด่งดังมากเพียงใดแต่สังคมก็ไม่ได้วางคุณในตำแหน่งที่เป็นซุปเปอร์สตาร์เฉกเช่นเดียวกับ โซระ อาโออิ หรือ มิยาบิ เป็นแน่ แต่สถานะของคุณก็เป็นได้แค่นางเอกหนังโป๊คนหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าคุณจะพยายามทำอะไรที่เข้าสู่ศีลธรรมมากขึ้นแต่เชื่อเถอะสังคมได้ตัดสินคุณไปแล้วว่า “คุณก็เป็นนางเองหนังโป๊” วันยังค่ำ ดังนั้นเอาเข้าจริงสังคมของหนังโป๊ได้ถูกกีดกันออกจากสังคมของคนชั้นกลางไปสู่สังคมของชนชั้นล่าง แม้ในความเป็นจริงเชื่อเถอะว่า คนที่เรียกตนเองว่าชนชั้นกลางก็ต้องดูสิ่งเหล่านี้เป็นอาจิณ และก็เป็นเช่นเดียวกันว่า เมื่อหนังโป๊ไทยมันเป็นของชนชั้นล่าง ดังนั้น “กูก็ต้องหาสิ่งที่เป็นของชนชั้นกู” นั่นก็คือ ดูของต่างชาติดีมีคลาสกว่าเยอะ ในที่นี้ผมกำลังจะพูดถึง สุนทรียะ นั่นเอง


เมื่อหนังโป๊ถูกผลักสู่ชนชั้นล่าง อะไรเล่าจะทำให้ชนชั้นกลางต่างไปจากพวกอื่น ผู้เขียนได้ข้อคิดเห็นเรื่องนี้มาจากเพื่อนนักเขียนท่านหนึ่ง โดยเขากล่าวว่า ชนชั้นกลางก็มักจะหาข้อต่างที่ทำให้เขาเหนือกว่าโดยเขาบอกว่า ชนชั้นกลางมักใช้คำว่า “ศิลปะ” เข้ามาช่วยเพื่อแสดงถึงคลาสของตนเองที่เหนือกว่าผู้อื่น


ดังเช่นเราจะเห็นว่า การเดินไปดูหนัง เรื่อง น้ำตาลแดง ผู้หญิงห้าบาป จันดารา เป็นต้น เหล่านี้ไม่ต้องแอบไปดู ไม่ต้องไปหาดีวีดีตามแถวคลองถมมาดู คุณสามารถเดินไปที่โรงภาพยนตร์ได้อย่างสง่าผ่าเผย มากกว่าการเดินไปโรงหนังอมรพันธ์แถวเกษตรเป็นไหนๆ เพราะคุณต้องเข้าใจว่าสังคมเรามองศิลปะเป็นสิ่งซึ่งสูงกว่าปกติ คำว่า “ศิลปะ” ได้บดบัง “ศีลธรรม” ไปทั้งหมดและนั่นเองทำให้ชนชั้นกลางเองเลือกที่จะบอกว่าตนเองมีศิลปะมากกว่าชนชั้นอื่นนั่นเอง การดูหนังโป๊ของชนชั้นกลางจึงเป็นการสถาปนาศิลปะมาเป็นของตนเอง ซึ่งหากมองลึกๆไม่ว่าจะเป็นการดูหนังเรื่อง น้ำตาลแดง ผู้หญิงห้าบาป จันดารา หรือ คนกินผัว ของน้อง น. สุดท้ายแล้วสิ่งที่คุณอยากดูก็คงหนีไม่พ้นฉากวาบหวิวหรือการร่วมเพศเป็นแน่


อย่างที่บอกว่า นี่เป็นมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนจากความรู้ที่ผู้เขียนพึงจะมีเท่านั้น สิ่งที่เขียนเป็นการชอบส่วนตัวของผู้เขียนต่อการตั้งคำถามต่อเรื่องต่างๆ ของสังคมก็เท่านั้น แต่แน่ล่ะว่าสิ่งหนึ่งที่ผมไม่ได้โกหกหรือคิดไปเองก็คือ “คุณเป็นคนหนึ่งที่เคยละเมิดศีลธรรมโดยการแอบดูหนังโป๊” เป็นแน่ ไม่เชื่อลองถามตัวเองดูซิ คุณว่ามั๊ย?


ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2012/12/44300




 

Create Date : 25 ธันวาคม 2555    
Last Update : 25 ธันวาคม 2555 10:59:08 น.
Counter : 1296 Pageviews.  

สูตรสำเร็จละครและหนังของฉลอง ภักดีวิจิตร

1. ละครและหนังของฉลองมีเส้นแบ่งบางๆ ระหว่างคำว่า เชย และ อินดี้

2. วงการเพลงมีพี่น้องสินเจริญ ละครหนังฉลองก็มีพี่น้อง ภักดีวิจิตรบราเธอร์

3. พระเอกมักมีอาชีพเป็นตำรวจ (แม้ทั้งเรื่องไม่เคยใส่เครื่องแบบแต่นั่นแหละ..ผู้กอง)
ไม่จำเป็นต้องหล่อมากแต่ต้องบึก กำยำ และอันนี้สำคัญต้องมี....ขนหน้าอก

4. นางเอกมักแก่นเซี้ยว ลุยๆออกไปไหนไม่แต่งหน้า(หรือแต่งว่ะ) กำพร้าแม่ หากเป็นลูกตัวร้ายก็มักจะใฝ่ดี ทำแผลได้และขับเรือหางยาวเป็น

5. พ่อนางเอกมักทำธุรกิจผิดกฎหมาย เป็นผู้มีอิทธิพล แต่ถ้าเป็นคนดีมักได้เป็นกำนัน

6. กำนันจะมีลูกสาวคนเดียว(และสวย) กำพร้าเมีย มีบ้านใหญ่ มีไร่องุ่น คาดผ้าขาวม้าและห้อยพระสมเด็จ

7. นางเอกมีเพื่อนเล่นที่โตด้วยกันมาตั้งแต่เด็ก เป็นผู้หญิงชื่อมักจำง่าย(เช่น นังกระต่าย) ขี่จักรยานเฟสสันได้ ตอนแรกเกลียดผู้ชาย สุดท้ายมักได้แฟนก่อนนางเอก

8. หากเป็นผู้ชายก็มักเป็นลูกสมุนคู่ซ้อม อ้วน แคระ และผิวหมึก ที่สำคัญห้ามชอบนางเอก

9. เพื่อนพระเอกก็ต้องคู่กับเพื่อนนางเอก และมีความสัมพันธ์รุดหน้าก่อนคู่นางเอกเสมอ และแน่นอนรับบทโดย ภักดีวิจิตรบราเธอร์

10. หากในเรื่องมีฉากกุ๊กกิ๊กมีดนตรีประกอบ จะคล้ายกับมิวสิควีดีโอเพลงจากรายการชุมทางเสียงทอง (ของแท้ต้องมีโลโก้นพพรสีทองติดอยู่บนปก)


11. หนังฉลองห้ามมีกระเทยและคนใช้ มีได้...ก็ห้ามเด่น

12. พาหนะของพระเอกถ้าไม่ใหม่สุดๆ ก็ต้องเก่ากว่า 20ปีขึ้นไป ราคาแพงในสมัยนั้น อะไหล่หายาก ขับพวงมาลัยซ้าย เข้าเกียร์กระปุกมือขวา (โจรโผล่มายิงยากนะนั่น !)

13. ลูกน้องตัวโกงมักได้บทพูดเท่าๆกัน และโคลสอัพเต็มใบหน้าทุกคน

14. ความลับต่างๆมักมาจากการได้ยินโดยความบังเอิญ จากการซุ่มหลังต้นไม้ กอไม้ไผ่ รั้วสังกะสีและต้องมีฝูงเป็ด

15. ออกจากบ้านไม่จำเป็นต้องพกกระเป๋าตังค์ โทรศัพท์มือถือ เอาลูกกระสุนใส่กระเป๋าให้เต็มไว้เหอะได้ใช้แน่นอน

16. ดูจากข้างนอกในผับบาร์คนคงจะเยอะ ไม่ต้องกลัวเข้าไปเหอะ มันมีที่ว่างหน้าเคาน์เตอร์อยู่ที่นึงให้นั่งเสมอ

17. ลูกน้องตัวโกงมักขี้หงุดหงิดเวลาโกรธจะเอามือตบโต๊ะ แต่เวลาอยู่กับหัวหน้าจะดูสุภาพ และพูดอะไรไปแล้วมักโดนตบเสมอ..

18 .ร้านขายน้ำชากาแฟในหมู่บ้านเป็นที่ใครอยากรู้ข่าวอะไร มาที่นี่รับรองรู้หมด

19. ตัวละครที่เป็นฝรั่งพูดไทยได้ทุกคน ชัดไม่ชัดก็อีกเรื่อง

20. นางร้ายมักสวย ตายก่อนเสมอ และต้องนมโต...ไม่รู้เป็นอะไร


21. หนังพจน์ต้องมีโก๊ะตี๋ หนังฉลองภักดีก็ต้องมีกรุงศรีวิไล

22. จะต้องมีฉากหลงป่า (กฎ กติกา ข้อบังคับ)

23. จะเจอนายพรานแต่งเป็นกะเหรี่ยง และไม่ต้องเล่าอะไรเพราะนายพรานรู้หมดทุกอย่าง

24. ในกลุ่มจะต้องมีคนที่ดูฉลาดคู่หนึ่งเสมอ ให้เดาได้เลยว่าจะเป็นพระเอก กับนางเอก

25. ในเมื่อมีคนฉลาดก็ต้องมีคนโง่ไว้เป็นภาระซึ่งก็คือ นางร้าย และตัวที่ตลก

26. แม้ผืนป่าจะกว้างแค่ไหนก็ต้องมาจ๊ะเอ๋เจอกับลูกน้องตัวโกงเสมอ

27. ไม่พูดพร่ำทำเพลงไม่ต้องถามว่าเป็นพวกไหน จะต้องมีการยิงกันก่อน..


28. ทั้งสองฝ่ายต้องถอยไปตั้งหลัก
>> พวกตัวโกงจะวิ่งหนีใส่เกียร์หมา และมาตัวเปล่า
>> ส่วนพวกพระเอกจะหนี....อย่างเท่ห์ และแบกเป้รุงรัง

29. พวกพระเอกจะต้องไปเจอถ้ำประหลาดที่มี แสงสว่างตลอดทั้งปี

30. หากมีใครแปลงร่างได้ก็จะเผยโฉมหน้าที่แท้จริงในถ้ำนี่แหละ..

31 หากแปลงเป็นเสือจะถ่ายฉากเสือมาจากสวนสัตว์เปิด และคำรามอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
>> แต่ถ้ามีการตะปบจะเห็น (ถุง) มือเสือจริงๆ และมีเลือดกระฉูดกันเห็นๆ

32. ฉากตัดมาตอนเช้าทุกคนจะร่วมวงดื่มกาแฟ และไม่พูดถึงเรื่องเมื่อคืน

33. ใครมีประโยคเด็ดอะไรก็มาปล่อยกันตอนนี้นี่แหละ
>> เจ้าให้ข้าดื่ม ไยข้าจะไม่ดื่ม
>> ปืนนะมีไว้แล้วไม่ได้ใช้ ดีกว่าจะใช้แล้วไม่มีนะผู้กองงง.


34. เหมือนจะรู้ว่าใกล้ๆมีน้ำตก นางเอกเตรียมผ้าถุงมาด้วย
>> นางเอกจึงขอตัวไปอาบน้ำ

35. นางเอกจะนุ่งกระโจมอกเผยแค่หัวไหล่ แต่ถ้าเป็นนางร้ายอนุญาตให้เห็นมากกว่านี้ได้
>>> ฉากนี้เราจะเห็นทรวดทรงของเธออย่างชัดเจน (ส่วนที่ดีที่สุดของหนังฉลอง)

36. นางเอกจะลูบไล้สบู่ไปมาแค่บริเวณต้นคอ เรียวแขนและเนินอกเท่านั้น แต่นางร้ายอนุญาตให้ล้วงไปในผ้าถุงได้

37. พลัน! เสียงกุกกักเกิดขึ้น

38. นางเอกจะตะโกนถามว่า..นั่นใครอ่ะ? แต่ร้อยทั้งร้อยไม่มีเสียงตอบรับ

39. แต่ถ้าเป็นจะใครสักคนก็มักเป็นพระเอก
>> นางเอกจะเขินอายโผล่แค่หัวในน้ำ หันหลังให้พระเอกแล้วพูดว่า “คุณมาแอบดูฉันเหรอ”

40. แต่ถ้าไม่มีใครนางเอกจะรีบขึ้นมาจากน้ำแต่งตัว

41. และเมื่อเข้ามาในกลุ่มก็พบว่าพระเอกหายไป

42. ถ้านางเอกไม่ชอบพระเอกอยู่ก่อนแล้ว ยิ่งตอกย้ำว่า ~พระเอกต้องเป็นไอ้โรคจิต

43. พระเอกกลับมาแล้ว พร้อมกับไก่

44. การก่อกองไฟในเรื่องเป็นอะไรที่ง่ายมาก มีการย่างไก่และทุกคนกินอย่างเอร็ดอร่อยโดยไม่ต้องมีน้ำจิ้ม

45. นางเอกดูหิวกว่าคนอื่นเสมอแต่มักเก็บอาการเอาไว้


46. พระเอกจะเป็นคนเดียวที่ดูออกและถามนางเอกว่า “คุณไม่หิวเหรอครับ”
>>> นางเอกมักจะตอบว่า "ไม่(สั้นๆ)" แต่พระเอกก็ยื่นไปให้

47. ด้วยความหิวนางเอกจึงรับไว้และกินด้วยความลืมตัว

48. พระเอก “ไหนคุณว่าคุณไม่หิวไงครับ”
>> นางเอกนึกขึ้นได้ มองค้อนและพูดในใจว่า “ฝากไว้ก่อนเหอะตาบ้า”


49. ดึกแล้ว คืนนี้เป็นคืนเดือนแรม กองไฟเพียงกองเดียวก็ให้แสงสว่างได้ทั่วทั้งป่า

50. นางร้ายอนุญาตให้นุ่งสั้นเข้านอนได้เพียงคนเดียวโดยไม่กลัวยุงป่า (เน้นซูมไปทั่วร่าง ~ ส่วนที่ดีที่สุดอีกส่วนหนึ่งของหนังฉลอง)

51. ของที่ตามหามาทั้งเรื่องมักอยู่ที่นางเอก แม้จะชิ้นใหญ่แค่ไหนก็มักพาไปไหนด้วยเสมอ เช่น รูปปั้นหินศิลาแลง (หนักนะนั่น!!)

52. ตำรวจจราจรมีอยู่ทุกที่ขับมอเตอร์ไซด์วิบากในป่า ก็ต้องใส่หมวกกันน็อค

53. ดนตรีประกอบจะต้องตื่นเต้นเร้าใจ ไม่เว้นแม้แต่ฉากตัวโกงกินโค้ก หรือพระเอกกำลังโบกแท็กซี่

54. เพลงประกอบละครอังกอร์ 1 คือต้นฉบับ เรื่องหน้าแค่เปลี่ยนคำศัพท์ และคัฟเวอร์

55. อย่าได้งงถ้าหากเห็นลูกน้องตัวโกงตัวหนึ่งโดนยิงตาย แต่ตอนท้ายแต่งกายมาเป็นชาวบ้านเพราะทุกคนเป็น ~ อมตะ

56. ทุกครั้งที่ต่อสู้กับผู้ร้าย นางเอกจะตะโกนเรียกพระเอกด้วยความเป็นห่วงจนพระเอกพลาดท่าผู้ร้ายเสมอ (มรึงงงดูเฉยๆได้ป่ะ)

57. แม้จะโดนผู้ร้ายสาดกระสุนสักเท่าไร พระเอกจะโดนยิงแค่หนึ่งนัดตรงหัวไหล่หรือไม่ก็ต้นขา ส่วนคนที่ทำแผลให้ ไปดูข้อ 4

58. ถ้าดูละครหนังฉลองไม่รู้เรื่องก็อย่าไปดูเหนังรื่องอื่นเลยนะ >>>โดยเฉพาะของศาสดาเป็นเอก Invisible Waves

59. และสุดท้ายตอนจบ พระเอกไม่เคยตาย
>>> เพื่อรอจะพูดประโยคสุดท้ายว่า ผมร้อยตำรวจเอก...ในนามของ...ขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือกับทางราชการ จ่าช่วยเอาตัวพวกนี้ไปโรงพักด้วย!

60. แล้วเมื่อสันติสุขมาเยือนอีกครั้ง พระเอกก็ขอนางเอกแต่งงาน ณ ที่ตรงนั้น

“คุณรัชนีแต่งงานกับผมนะครับ”

นางเอกมองหน้าพระเอกด้วยน้ำตาคลอเบ้า แล้วก็พูดว่า “แหล่มเลยค่ะ”


----------------- สวัสดี ------------------------

ป.ล. อย่าลืมนะครับ
ละครและหนังฉลองคือวัฒนธรรมไทย ช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ให้ลูกหลาน
ก่อนจะหายไปตามกาล เหมือนกับหนังพิศาลอัครเศรณี

โดย : ซาราบี้ วันที่ : 2007-08-13 16:33:46

ที่มา mthai




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 6 พฤษภาคม 2553 20:03:52 น.
Counter : 666 Pageviews.  

รู้เท่าทันโฆษณาแฝง3: กับความลักลั่นของกฎหมายไทย

โดย ธาม เชื้อสถาปนศิริ, นักวิชาการ โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อฯ

ความจริงแล้วบ้านเรา “เกือบจะมีกฎหมายคุมโฆษณาแฝงมาแล้ว” เมื่อ 25 ปีก่อน และทราบหรือไม่ว่า “เหตุที่มีโฆษณาแฝงมากมายเช่นนี้” เพราะมีหน่วยงานรัฐบ้านเรา “ใช้กฎหมายอย่างผิดกฎหมาย” ในฐานะนักวิจัย ผู้เขียนพบเอกสาร 2 ชิ้นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีการตีความทางกฎหมายโฆษณาในบ้านเรา ที่น่าสนใจ 2 กรณี ดังนี้

* กรณีที่ 1: สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กับ “ร่างคุมโฆษณาแฝง” เวอร์ชั่นปีพ.ศ. 2527 กับ เวอร์ชั่นปี พ.ศ. 2552

: ปี พ.ศ. 2527 สคบ. เคยส่งเรื่องไปหารือกฤษฎีกาว่าจะออกประกาศคุมโฆษณาทางโทรทัศน์ ที่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อผู้บริโภค โดยใช้มาตรา 23 ของพรบ.คุ้มครองผู้บริโภค กฤษฎีกาตอบกลับมาว่า สามารถทำได้ แต่สุดท้ายประกาศฉบับนี้ไม่ออกมาบังคับใช้ และล่วงเลยมา 25 ปี
จนปัจจุบัน สคบ. พยายามจะออกร่างคุมโฆษณาแฝงฉบับใหม่ แต่กลับมีเนื้อหาที่แตกต่างกันราวฟ้ากับเหว

เมื่อปี พ.ศ.2527 (25 ปีที่แล้ว) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เคยส่งเรื่องไปสอบถามยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อหารือว่าสคบ. จะสามารถออกกฎกระทรวง เรื่อง “กำหนดให้การโฆษณาสินค้าหรือบริการทางสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุ โทรทัศน์ที่ใช้เวลานานเกินสมควร เป็นวิธีการโฆษณาอันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค"
(สนใจสามารถค้นเอกสารฉบับจริงนี้ ได้ที่ //www.lawreform.go.th, โดยใช้ เลขเสร็จ 214/2527)

สคบ. ถามกฤษฎีกาไป 2 ข้อ คือ

1. “นายกรัฐมนตรี” มีอำนาจสั่งให้ “รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี” ที่ปฏิบัติงานแทนในการเป็น “ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค” (สมัยนั้นคือ ร.ต.ท. ชาญ มนูธรรม) สามารถพิจารณาออก “ประกาศกฎกระทรวง” ห้ามวิธีการโฆษณาตามที่ “คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา” ได้ยกร่างขึ้น โดยใช้อำนาจตามมาตรา 8 (ที่ว่า…ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้นเมื่อ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้)

และมาตรา 23 (การโฆษณาจะต้องไม่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจ หรืออันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ได้หรือไม่
2. ร่างกฎกระทรวงที่สคบ.จะออก คือ เรื่อง “กำหนด ให้การโฆษณาสินค้าหรือบริการทางสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุ โทรทัศน์ที่ใช้เวลานานเกินสมควร เป็นวิธีการโฆษณาอันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค” ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

กฤษฎีกา ตีความทางกฎหมาย และตอบ ง่ายๆ สั้นๆ ว่า

“นายกรัฐมนตรี มีอำนาจตามกฎหมาย สามารถออกประกาศกำหนดการโฆษณาสินค้าที่ก่อให้เกิดความรำคาญได้ ส่วนจะกำหนดรายละเอียดอย่างไร ขึ้นอยู่กับกฎหมายที่มีและเป็นปัญหาเชิงนโยบายของตัวสคบ. เอง”

แต่สุดท้าย ร่างประกาศฉบับนี้ก็ไม่บังคับใช้ ทั้งๆ ที่สามารถใช้ได้อย่างถูกกฎหมาย?

ลองพิจารณาเนื้อหาร่างประกาศควบคุมโฆษณา ที่ก่อให้เกิดความรำคาญ ดังนี้

ข้อ 2 วิธีการโฆษณาสินค้าหรือบริการทางสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุ โทรทัศน์ดังต่อไปนี้ เป็นวิธีการโฆษณาอันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค

(ก) การโฆษณาสินค้าหรือบริการทางสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เกินกว่ากำหนดเวลาดังนี้

1. การโฆษณาสินค้าหรือบริการทางสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ใช้เวลาโฆษณาเกินแปดนาทีในทุก ๆ หนึ่งชั่วโมง โดยเริ่มต้นชั่วโมงจากเวลาเปิดสถานี
2. การโฆษณาสินค้าหรือบริการทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ใช้เวลาโฆษณาเกินสิบนาทีในทุก ๆ หนึ่งชั่วโมง โดยเริ่มต้นชั่วโมงจากเวลาเปิดสถานี
3. การ โฆษณาสินค้าหรือบริการในแต่ละรายการที่ใช้เวลาสำหรับรายการตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป ที่แบ่งช่วงการโฆษณาโดยมีระยะเวลาห่างกันจากช่วงโฆษณาหนึ่งถึงอีกช่วงโฆษณาหนึ่งน้อยกว่าสิบนาที และในแต่ละรายการที่ใช้เวลาสำหรับรายการต่ำกว่า 30 นาทีที่แบ่งช่วงการโฆษณาเกินกว่าสองครั้ง

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การโฆษณาสินค้าหรือบริการทางสถานีวิทยุ กระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ได้กระทำในการดำเนินรายการถ่ายทอดสด การแข่งขันกีฬา

(ข) การโฆษณาทางสถานีวิทยุโทรทัศน์โดยใช้อักษรซ้อนภาพไม่ว่าจะเป็นอักษรนิ่งหรือ อักษรวิ่งโดยขนาดของตัวอักษร (รวมทั้งกรอบ ถ้ามี) เกินหนึ่งส่วนในห้าส่วนของความกว้างของจอภาพหรือการโฆษณาโดยใช้ตัวอักษรทับ ส่วนสำคัญของภาพที่ปรากฏบนจอภาพ

พูดง่ายๆ “โฆษณาที่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อผู้บริโภค” ในความหมายของสคบ. ตามอำนาจทางกฎหมายมาตรา 23 ของ พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค เมื่อปี พ.ศ.2527 คือ

* เกินกว่ากฎหมายกำหนด (วิทยุเกิน 8นาที/ชั่วโมง ถือว่ารำคาญ, โทรทัศน์ เกิน 10 นาที/ชั่วโมง ถือว่ารำคาญ) กฎหมายคุมปริมาณการโฆษณาขณะนั้น โดย กบว. – คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่กำหนดให้โทรทัศน์โฆษณา ได้ไม่เกินชั่วโมงละสิบนาที
* เว้นช่วงห่างโฆษณาหนึ่ง ถึง ช่วงโฆษณาหนึ่ง น้อยกว่าสิบนาที
* มีช่วงโฆษณาบ่อยถี่เกิน 2 ครั้ง สำหรับรายการที่มีความยาว 30 นาที
* การใช้ภาพกราฟฟิกโลโก้ อักษรภาพ อักษรวิ่ง แสดงตราสินค้าที่มีพื้นที่เกิน 1 ใน 5 ของพื้นที่จอ

เนื้อหาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สคบ. (เมื่อปี 2527) ได้มีความพยายามที่จะร่างประกาศโดยใช้อำนาจตนเองตามมาตรา 23 (โฆษณาไม่ก่อให้เกิดความรำราญ) และมีข้อกำหนดห้ามโฆษณาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การแบ่งระยะเวลาความห่างของโฆษณา และ การใช้เทคนิคภาพกราฟฟิกชื่อสินค้า

แต่อาจเป็นเพราะสาระสำคัญของร่างฉบับนี้ที่ “คุ้มครองผู้บริโภคมากเกินไป แต่ไม่ยอมคุ้มครองผู้ประกอบการธุรกิจ?” จึงทำให้สุดท้าย ร่างฉบับนี้เลยตกไป

กลับมาที่ปีพ.ศ. 2552 ร่างควบคุมโฆษณาแฝงฉบับเวอร์ชั่นสคบ. ที่มีสาทิตย์เป็นประธาน ชื่อว่า “ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง แนวทางการปรากฏของสินค้าในเนื้อหารายการทางสถานีวิทยุโทรทัศน์” ซึ่งเป็นร่างประกาศที่ “ไม่ได้อ้างอำนาจกฎหมายมาตรา 23 ของตนเองว่าจะคุ้มครองผู้บริโภค” หรือกฎหมายใดๆ ของพรบ. คุ้มครองผู้บริโภคเลย

และยิ่งเมื่อพิจารณาในเนื้อหาสาระแล้ว “กลับอนุญาตให้มีโฆษณาแฝง วัตถุ ภาพกราฟฟิก สปอตสั้น วีทีอาร์ แฝงบุคคล ใช้วิธีการแฝงเนื้อหา ได้โดยไม่นับรวมเวลาเป็นโฆษณาด้วยซ้ำไป


เปรียบเทียบร่างประกาศควบคุมโฆษณาแฝง ของสคบ. 2 เวอร์ชั่น

ฉบับแรก (พ.ศ. 2527) ของท่านรัฐมนตรี ร.ต.ท. ชาญ มนูธรรม

* เรื่อง: “กำหนดให้การโฆษณาสินค้าหรือบริการทางสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุ โทรทัศน์ที่ใช้เวลานานเกินสมควร เป็นวิธีการโฆษณาอันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค”
* ใช้อำนาจ: มาตรา 23 พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค – การโฆษณาที่ก่อให้เกิดความรำคาญ)
* เนื้อหาสาระ: ห้ามโฆษณาเกินกว่ากฎหมายกำหนด ห้ามเว้นช่วงบ่อยเกิน ห้ามยาวเกินไปในแต่ละเบรก และห้ามใช้ภาพ โลโก้ อักษรภาพเกิน 1 ใน 5 ของหน้าจอ
* กฤษฎีกา: ตีความแล้ว: – ใช้ได้ ไม่ผิดกฎหมาย
* ผล: - ไม่ยอมออกใช้ – ไม่ทราบสาเหตุ

ฉบับหลัง (พ.ศ. 2552) ของท่านรัฐมนตรีสาทิตย์ วงศ์หนองเตย

* เรื่อง: “แนวทางการปรากฏของสินค้าในเนื้อหารายการทางสถานีวิทยุโทรทัศน์”
* ใช้อำนาจ: อ้างกฎหมายพรบ. การประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ 2551, มาตรา 23, 28
* เนื้อหาสาระ: ให้มีโฆษณาแฝงได้ (โดยวิธีการใช้ภาพกราฟฟิก, วัตถุ, สปอตสั้น, บุคคล และเนื้อหา และไม่ต้องนับรวมเป็นเวลาโฆษณาในมาตรา 23, และ 28 ของพรบ. การประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ 2551
* กฤษฎีกา: ไม่ส่งหารือ/ไม่ตีความ
* ผล: ปัจจุบัน ชะลอ พิจารณาใหม่?


ไม่น่าเชื่อว่า “สคบ. ชุดปัจจุบัน ไม่เคยพูดถึงร่างกฎหมายคุมโฆษณาเมื่อ 25 ปีที่แล้วในเวทีประชุมอนุกรรมการพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องแฝงตลอด เวลา 3 เดือนที่ผ่านมา?

ไม่น่าเชื่อว่า เจ้าหน้าที่รัฐอย่างสคบ. จะไม่ทำการบ้าน/ตรวจสอบว่าองค์กรของตนเองเคยมีนโยบายอย่างไรสำหรับเรื่องนี้ ในอดีต หรือจงใจปกปิด?

ไม่น่าเชื่อว่า ท่านรัฐมนตรีสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ไม่ทราบข้อมูลนี้ (หรือแท้ที่จริงแล้ว ไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนในสคบ. แจ้งให้ท่านทราบ, หรือท่านทราบแต่ท่านเผลอ “ลืม”?)

และไม่น่าเชื่อว่า ประชาชนคนไทย โดนสคบ. ละเมิดสิทธิผู้บริโภคมายาวนาน 25 ปีเต็ม? เพราะไม่ยอมออกประกาศฉบับนี้

ถามว่าทำไมร่างประกาศคุมโฆษณาแฝงปัจจุบันของท่านรัฐมนตรีสาทิตย์ จึงอาจขัดต่อกฎหมายและเกินอำนาจขอบเขตของ สคบ. ไปได้ ก็เพราะวรรคที่ว่า “การโฆษณาดังกล่าว (หมายถึงโฆษณาแฝง) ไม่ต้องนับรวมเป็นเวลาโฆษณา” ซึ่งกรณีนี้ กฤษฎีกาเคยตีความเปรียบเทียบเคียงกับกรมประชาสัมพันธ์ไปเมื่อปี พ.ศ. 2543 ไปแล้วว่าทำไม่ได้

ลองดูกรณีที่ 2 เปรียบเทียบ กรมประชาสัมพันธ์ ปีพ.ศ. 2543

* กรณีที่ 2: กรมประชาสัมพันธ์กับการกำหนดให้ “ไม่นับรวมเป็นการโฆษณา”

: เมื่อปี พ.ศ. 2539 กรมประชาสัมพันธ์ ออกกฎข้อหนึ่งในประกาศ ว่า “ให้การโฆษณาที่กล่าวถึงผู้สนับสนุนรายการ ที่เป็นชื่อของสินค้า ชื่อบริษัท สัญลักษณ์ (โลโก้) โดยไม่เอ่ยถึงสรรพคุณของสินค้าและบริการธุรกิจ ไม่นับรวมเป็นการโฆษณา
กฤษฎีกาตีความ(ในปี พ.ศ. 2543 ว่าทำไม่ได้ แต่กรมประชาสัมพันธ์ก็ไม่แก้ไข และยังใช้ประกาศนี้ก็ใช้เรื่อยมา 12 ปี)

ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2539 กรมประชาสัมพันธ์ ได้ออกประกาศฉบับหนึ่ง เรื่อง “กำหนดหลักเกณฑ์ และระยะเวลาสำหรับการโฆษณาและบริการธุรกิจทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์” (ประกาศนี้ ลงนามโดย นายชั้น พูลสมบัติ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2539)

เนื้อหาสำคัญคือในประกาศนี้คือ ในข้อ 2 (สำหรับวิทยุ) ข้อ 3 (สำหรับโทรทัศน์) และ ข้อ 12, 13, 14 ว่าด้วยเรื่องการนับรวมเวลาการโฆษณาและการโฆษณาแนะนำรายการของทางสถานี ดังนี้…

2. ให้สถานีวิทยุกระจายเสียงทำการโฆษณาและบริการธุรกิจได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาที แต่เมื่อรวมเวลาโฆษณาและบริการธุรกิจตลอดทั้งวัน เฉลี่ยแล้วต้องไม่เกินชั่วโมงละ 10 นาที

3. ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ทำการโฆษณาและบริการธุรกิจได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาที 30 วินาที แต่เมื่อรวมเวลาโฆษณาและบริการวิทยุตลอดทั้งวัน เฉลี่ยแล้วต้องไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาที

12.การประชาสัมพันธ์ของทางราชการไม่นับรวมเป็นเวลาโฆษณา ตามประกาศนี้

13. การแนะนำรายการของทางสถานีฯ ที่ไม่นับรวมเป็นเวลาโฆษณาให้มีได้ชั่วโมงละ 1 นาที 30 วินาที

14. การกล่าวถึงผู้สนับสนุนรายการ ที่เป็นชื่อของสินค้า ชื่อบริษัท สัญลักษณ์ (โลโก้) โดยไม่เอ่ยถึงสรรพคุณของสินค้าและบริการธุรกิจ ไม่นับรวมเป็นการโฆษณาตามประกาศนี้

ข้ออื่นๆ คงไม่เป็นปัญหา แต่สำหรับข้อ 14 ข้างต้นก็คือ “การอนุญาตให้สามารถมีโฆษณาแฝงได้โดยถูกกฎหมาย” “โฆษณาแฝงนี้ ไม่ต้องนับรวมเป็นเวลาโฆษณาสินค้า”

กรมประชาสัมพันธ์ประกาศใช้หลักเกณฑ์นี้ โดยมีทุกช่องสถานียึดปฏิบัติตาม มาตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539

แต่ถามว่า ประกาศข้อนี้ ถูกกฎหมายหรือ?

คำตอบคือ “ไม่”

เพราะเมื่อเกิดกรณีพิพาทในปีพ.ศ. 2543 ระหว่างกรมประชาสัมพันธ์, อ.ส.ม.ท. และบริษัทยูบีซี ในเรื่องการขึ้นโลโก้ตราสินค้าในรายการเนชั่นชาแนล ยูบีซี ช่อง 8 ทั้งที่ห้ามการมีโฆษณาสินค้าเพราะเป็นช่องเคเบิ้ลที่มีสมาชิกบอกรับและจ่าย ค่าบริการ

กรมประชาสัมพันธ์ส่งเรื่องหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อสอบถามว่า การปรากฏโลโก้ ตราสินค้านี้ เป็นโฆษณาหรือไม่ เพราะ ในตัวประกาศกรมประชาสัมพันธ์เอง ในข้อ 14 บอกว่า หากเป็นการปรากฏโลโก้ สัญลักษณ์ โดยไม่บรรยายสรรพคุณ จะไม่นับรวมว่าเป็นการโฆษณา

(สนใจสามารถค้นเอกสารฉบับจริงนี้ ได้ที่ //www.lawreform.go.th โดยใช้ เลขเสร็จ 341/2543)

คณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความสรุปออกมาใน 2 ประเด็น คือ

ประเด็นที่ 1) “โลโก้ ตราสัญลักษณ์สินค้า ที่ปรากฏในรายการโดยไม่ได้บรรยายสรรพคุณนั้น ถือว่าเป็นโฆษณา”
เหตุผลที่กฤษฎีกาใช้ คือ การแสดงสัญลักษณ์ตามที่กรมประชาสัมพันธ์หารือมาในครั้งนี้ ถือเป็นการโฆษณาหรือไม ่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) ได้พิจารณาแล้ว ปรากฏว่า ตามพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ฯ ไม่ได้กำหนดความหมายของการโฆษณาไว้เป็นพิเศษ

กรณีจึงต้องพิจารณาไปตามความหมายอันเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป ซึ่งได้แก่ การกระทำใด ๆ เพื่อให้บุคคลอื่นหรือประชาชนทั่วไปเห็นและรับรู้ถึงสินค้าหรือบริการหรือ สิ่งอื่นใดตามความมุ่งหมายของผู้กระทำการโฆษณา

และจะเห็นได้ว่า การที่รายการ Nation Channel แสดงสัญลักษณ์ขึ้นมาในลักษณะดังกล่าวนั้นก็เพื่อให้ผู้ที่รับชมเห็นและรับ รู้ถึงตัวสินค้าที่สัญลักษณ์สื่อความหมายไปถึงนั่นเอง การแสดงสัญลักษณ์ในลักษณะเช่นนี้ จึงเป็นการโฆษณา

จริงๆ แล้ว ในตัวพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 3 ก็นิยามไว้ชัดเจนแล้วว่า

"โฆษณา" หมายความถึงการกระทำโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า"

"ข้อความ" หมายความรวมถึงการกระทำให้ปรากฏด้วยตัวอักษร ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครื่องหมาย หรือการกระทำอย่างใด ๆ ที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้

ชัดเจนอยู่แล้ว

ประเด็นที่ 2) อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์จะใช้อำนาจตามข้อ 20 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537) ฯ ออกประกาศกำหนดลักษณะขอบเขตของการดำเนินการที่ไม่นับรวมเป็นการโฆษณาไม่ได้

[14. การกล่าวถึงผู้สนับสนุนรายการ ที่เป็นชื่อของสินค้า ชื่อบริษัท สัญลักษณ์ (โลโก้) โดยไม่เอ่ยถึงสรรพคุณของสินค้าและบริการธุรกิจ ไม่นับรวมเป็นการโฆษณาตามประกาศนี้]

ข้อนี้ ที่กฤษฎีกาตีความว่า ออกบังคับใช้ไม่ได้ เพราะเกินอำนาจกรมประชาสัมพันธ์

เหตุผลที่กฤษฎีกาใช้ คือ เพราะอำนาจข้อ 20 ให้กรมประชาสัมพันธ์กำหนดได้เฉพาะ “หลักเกณฑ์และระยะเวลาสำหรับการโฆษณาและบริการธุรกิจ” เท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจกรมประชาสัมพันธ์ในการกำหนดลักษณะของการกระทำที่ไม่ถือว่าเป็นการโฆษณาแต่อย่างใด

กล่าวโดยสรุป “คณะกรรมการกฤษฎีกา” เห็นว่าการแสดงสัญลักษณ์ตามลักษณะที่กรมประชาสัมพันธ์หารือมานี้เป็นการโฆษณา และ กรมประชาสัมพันธ์ไม่มีอำนาจในการให้การโฆษณาตราสัญลักษณ์ โลโก้สินค้าไม่ต้องนับรวมเป็นเวลาการโฆษณา เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจเอาไว้

กรณีนี้แสดง ชี้ให้เห็นว่ากรมประชาสัมพันธ์ใช้ประกาศนี้ในลักษณะ ที่ “ผิดกฎหมาย” มาตลอด 12 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่พ.ศ. 2539 – 2551)
และสื่อฟรีทีวี (หรือเคเบิ้ลทีวี) ก็ใช้ประกาศฉบับนี้ในการ “โฆษณาแฝงอย่างเสมือนว่าถูกกฎหมายมาตลอด”

แสดงว่า “หน่วยงานรัฐอย่างกรมประชาสัมพันธ์ ใช้กฎหมายข้อนี้ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว กฤษฎีกาตีความแล้วว่า ไม่สามารถกระทำได้

และประชาชนก็ไม่เคยรู้เลยว่า “ข้อเท็จจริงทางกฎหมาย” ที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ เป็นอย่างไร?

แสดงว่า “ประชาชนไทยโดนหน่วยงานรัฐอนุญาตให้โฆษณาทางโทรทัศน์มานานหลายสิบปีจนเด็กๆ รุ่นใหม่ กลับรู้สึกว่าชมโฆษณาแฝงนี้ กลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย”

สถานะที่ยิ่งใหญ่ของกรมประชาสัมพันธ์ที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดคือ หน่วยงานที่ออกกฎ ระเบียบ ประกาศควบคุมการโฆษณาในสื่อวิทยุโทรทัศน์มาโดยตลอด ประกาศหลายฉบับได้สร้างเกณฑ์มาตรฐานที่สื่อโทรทัศน์วิทยุยึดถือใช้เป็นแนว ทางมาตลอด

กรมประชาสัมพันธ์เป็น “ผู้ออกกฎ” มาตลอด

จนวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551 ผลพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ก็ได้สลายอำนาจให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งที่ประกอบกิจการ วิทยุโทรทัศน์ และไม่สามารถมีอำนาจออกประกาศ กฎใดๆ บังคับใช้ควบคุมเรื่องโฆษณาที่จะใช้กับช่องอื่นๆ ได้อีกต่อไป

* กรณีที่ 3: กรมประชาสัมพันธ์ กับ “หลักเกณฑ์คุมโฆษณาในรายการเด็ก” กำหนด ให้นับรวมเวลาโฆษณาแฝง เป็นเวลาโฆษณาด้วย (?)

: ปี พ.ศ. 2551 กรมประชาสัมพันธ์ ออกประกาศหลักเกณฑ์และระยะเวลาการโฆษณาในรายการเด็กในโทรทัศน์ มีข้อหนึ่ง กำหนดให้ มีโฆษณาในรายการเดกได้ไม่เกิน 10 นาที และให้นับรวมเวลาที่ใช้ในการโฆษณาแฝงเป็นเวลาโฆษณาด้วย

เมื่อปี พ.ศ. 2551 มีประกาศกรมประชาสัมพันธ์ เรื่อง “หลักเกณฑ์และระยะเวลาสำหรับการโฆษณาและบริการธุรกิจที่มีผลกระทบต่อเด็กทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์” โดยเนื้อหาในประกาศ พูดถึง สัดส่วนการโฆษณาในรายการเด็ก และให้ถือว่าโฆษณาแฝงเป็นส่วนหนึ่งของเวลาในโฆษณา

ข้อ 2.
ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ทำการโฆษณาและบริการธุรกิจในรายการสำหรับเด็กได้ไม่ เกินชั่วโมงละ 10 นาที โดยให้นับรวมเวลาที่ใช้ในการโฆษณาแฝงเป็นเวลาโฆษณาด้วย และต้องกำหนดเวลาเผยแพร่ข้อมูลความรู้ในการบริโภคที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัย ตามหลักวิชาการในรายการสำหรับเด็กเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 นาที รวมเวลา 12 นาที โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันประกาศเป็นต้นไป


แต่ประกาศนี้ ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันประกาศเป็นต้นไป

ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว ผู้ผลิตจะทำตามหรือไม่ทำตามก็ได้ และที่สำคัญ คือ ประกาศฉบับนี้มาได้เพียง 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็มีพรบ.การประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ออกมากำหนดสถานภาพให้มีหน่วยงาน ก.ส.ท.ช. เป็นผู้คุมกฎระเบียบต่างๆ แทน กรมประชาสัมพันธ์

ปัจจุบัน (ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551) กรมประชาสัมพันธ์ จึงไม่มีอำนาจออกกฎระเบียบอื่นใดเพื่อควบคุมสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นอีก

ความสำคัญ คือ เป็นประกาศแรกที่มีการระบุคำว่า “โฆษณาแฝง” ลงไปในกฎหมายไทย และมีความตั้งใจที่จะให้โฆษณาแฝงถูกนับรวมเข้าไปในสัดส่วนเวลาที่กฎหมาย กำหนดด้วย

ซึ่งก็นับว่ามีความขัดแย้งกับ ประกาศกรมประชาสัมพันธ์ เรื่อง “กำหนดหลักเกณฑ์ และระยะเวลาสำหรับการโฆษณาและบริการธุรกิจทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์” ข้อ 14. การกล่าวถึงผู้สนับสนุนรายการ ที่เป็นชื่อของสินค้า ชื่อบริษัท สัญลักษณ์ (โลโก้) โดยไม่เอ่ยถึงสรรพคุณของสินค้าและบริการธุรกิจ ไม่นับรวมเป็นการโฆษณาตามประกาศนี้

ประกาศฉบับนึง ไม่นับรวมโฆษณาแฝงเป็นเวลาโฆษณา

แต่ประกาศอีกฉบับนึงกลับให้นับรวมโฆษณาแฝงเป็นโฆษณา

และเมื่อหันมาดูร่างคุมโฆษณาแฝงฉบับปัจจุบัน ก็ไม่ให้นับโฆษณาแฝงรวมในเวลาโฆษณาอีก
กลับไปกลับมา

ทั้งกรมประชาสัมพันธ์ ทั้งสคบ. ออกกฎระเบียบสับเปลี่ยนไปมา ทั้งที่กฤษฎีกา ก็เคยตีความแล้วว่าออกประกาศว่าให้นับรวม มินับรวมตามอำเภอใจไม่ได้

ก็ยังจะทำกันอีก?

ใช่หรือไม่ว่า นี่คือความลักลั่นของกฎระเบียบมาตรฐานต่างๆ ของกรมประชาสัมพันธ์

ใช่หรือไม่ว่า นี่คือการออกกฎระเบียบที่ไร้บรรทัดฐานทางกฎหมายบ้านเรา

ในภาวะบ้านเรายังไม่มีหน่วยงานที่มากำกับ ดูแลควบคุมกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม (หน่วยงานอย่างกสช.) ให้เป็นระบบ ย่อมแสดงให้เห็นว่าความเสียหายที่ตกสู่ประชาชนนั้นมีมาก ทั้งที่สามารถวัดเป็นมูลค่าได้ (เช่นมูลค่าเม็ดเงินหมุนเวียนในธุรกิจโฆษณาแฝงที่ไม่เข้าระบบภาษี โฆษณาตรงเกินที่สร้างรายได้พิเศษให้กับผู้ผลิตรายการ สถานี) และไม่สามารถวัดเป็นมูลค่าได้ (เช่นเรื่องความชาชิน ต่อการบริโภคนิยม สร้างความอยากมี อยากได้ ความฟุ้งเฟ้อ การละเมิดต่อศักดิ์ศรีและเกียตริภูมิของวิชาชีพสื่อจากอำนาจทุน อำนาจรัฐ ที่เข้ามาแทรกแซงเนื้อหาสื่อ)

3 กรณีศึกษากฎหมายข้างต้น สะท้อนปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของบ้านเราคือ กฎหมายโฆษณานั้นมีความลักลั่นขัดแย้งกันเองมาตลอดเวลา และเมื่อออกมาก็ไม่บังคับใช้กันอย่างจริงจัง ที่ผิดก็ไม่แก้ไข ที่ควรใช้เพื่อปกป้องประชาชนก็ค่อนข้างเพิกเฉย ละเลยมาตลอด ฯลฯ

ปัญหาเฉพาะเรื่องธุรกิจโฆษณา สะท้อนให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐในกรมประชาสัมพันธ์ และเจ้าหน้าที่รัฐสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ยังมิอาจใช้อำนาจที่ตนเองมีไปในทางที่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้อย่าง เต็มที่และเป็นธรรม จำเป็นยิ่งที่องค์กรที่เกี่ยวข้องด้านกฎหมาย สถาบันการศึกษา องค์กรภาคประชาชน/สังคม จะต้องเข้ามามีส่วนในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ที่มา Media Monitor




 

Create Date : 20 มกราคม 2553    
Last Update : 20 มกราคม 2553 17:02:51 น.
Counter : 506 Pageviews.  

รู้เท่าทันโฆษณาแฝง2: กฎหมายคุมโฆษณาในต่างประเทศ

โดย : ธาม เชื้อสถาปนศิริ, นักวิชาการ โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อและพัฒนาการเรียนรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor)

ตอนที่แล้วพูดเรื่องความรู้เกี่ยวกับนิยาม ความหมาย รูปแบบ วิธีการ และเป้าหมายของโฆษณาแฝง รวมทั้งผลของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ที่ทำให้ข้ออนุญาตเรื่อปริมาณโฆษณาของแต่ละช่องสถานีเปลี่ยนแปลงไป ว่าช่องโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ และบริการธุรกิจ สามารถ “โฆษณาสูงสุดได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาทีครึ่ง, เฉลี่ยทั้งวันไม่เกิน 10 นาทีต่อชั่วโมง” ซึ่งก็หมายถึงเฉพาะช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง 9 เท่านั้น

ส่วนช่อง 5 นั้น ให้ “หารายได้จากการโฆษณาเท่าที่เพียงพอต่อการดำเนินการโดยไม่เน้นแสวงหากำไร”

ช่อง 11 นั้น “หารายได้จากการโฆษณาไม่ได้ เว้นแต่การโฆษณาของหน่วยงานรัฐ หรือ นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร” และช่องทีวีไทยจะ “ไม่เก็บค่าสมาชิกและไม่หารายได้จากการโฆษณา เว้นแต่เป็นการสนับสนุนองค์การ”

โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อและพัฒนาการเรียนรู้เท่าทันสื่อ (มีเดียมอนิเตอร์) แถลงผลการศึกษา รอบที่ 43 เรื่องโฆษณาตรงและแฝงในฟรีทีวี ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน

พบว่ามี 4 ช่องสถานีโทรทัศน์ ที่ทำการโฆษณาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (คำนวณจาก 3 วัน คือวันที่ 25-26-27 กันยายน 2552)

พบเกินมากที่สุดคือช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (รวม 3 วัน เกินไป 192 นาที หรือเฉลี่ยเกินวันละ 1 ชั่วโมง)
อันดับ 2 คือช่อง 3 (รวม 3 วัน เกินไป 149 นาที)
อันดับ 3 คือช่อง 7 (รวม 3 วัน เกินไป 111 นาที)
อันดับ 4 คือช่อง 5 (รวม 3 วัน เกินไป 106 นาที)
ขณะที่ช่อง 11-สทท. โฆษณาไม่เกินกว่าที่กำหนด (โดยเปรียบกับกฎหมายมาตรา 23)

(โดยใช้เกณฑ์การโฆษณาธุรกิจ เฉลี่ยทั้งวันต้องไม่เกิน 10 นาที/ชั่วโมง ตามมาตรา 23 ของพรบ.การประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ 2551) เป็น “เกณฑ์เดียวกันสำหรับทุกช่อง” ซึ่งจริงๆ แล้วข้อนี้จะใช้เฉพาะช่องบริการธุรกิจเท่านั้น (คือช่อง 3, 7, 9) แต่เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และ ช่อง 11 นั้น ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า “การโฆษณาที่ไม่แสวงหากำไร และรายได้” คือสัดส่วนเท่าใด)

ส่วนโฆษณาแฝง - โฆษณาสปอนเซอร์สนับสนุนการผลิตรายการในตอนท้าย โครงการฯ จะไม่นับว่าเป็นโฆษณาแฝง แต่จะนับว่าเป็นโฆษณาแฝงเมื่อปรากฏในลักษณะ 5 วิธีการ คือ 1) สปอตสั้น (VTR) , 2) ภาพกราฟฟิก (super logo, window logo, super impose), 3) การแฝงกับวัตถุ 4) การแฝงกับตัวบุคคล, 5) การแฝงกับเนื้อหารายการ พบว่าช่องที่มีโฆษณาแฝงมากที่สุด (โดยวัดจากจำนวนรายการ) คือ ช่อง 5 (คิดเป็น 85.8%), รองลงมาคือช่อง 9 (คิดเป็น 83.3%), ช่อง 7 (74.8%), ช่อง 3 (68.7%) และช่อง 11 (48.1%)

สามารถพบโฆษณาแฝงได้ในรายการทุกรูปแบบ ทุกเนื้อหา ยกเว้นรายการถ่ายทอดสดการประชุมรัฐสภา รายการข่าวพระราชสำนัก หรือรายการข่าว/สารคดีสั้นเท่านั้น

และพบว่า 10 ตัวอย่างอันดับรายการที่มีโฆษณาตรงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมากที่สุด คือ (หักเวลาโฆษณารายการทางสถานีไปแล้ว)

1. ละครซิทคอม บางรักซอย (ช่อง 9) โฆษณาตรงเกิน 5:52 นาที:วินาที (นาทีละ 350,000 บาท ตกมูลค่า ตอนละ 2 ล้านเศษ)
2. ละครซิทคอม บ้านนี้มีรัก (ช่อง 9) โฆษณาตรงเกิน 5:50 นาที:วินาที(นาทีละ 350,000 บาท)
3. รถโรงเรียน (ช่อง 5) โฆษณาตรงเกิน 4:40 นาที:วินาที (นาทีละ 260,000 บาท)
4. ตีสิบ (ช่อง 3) โฆษณาตรงเกิน 4:06 นาที:วินาที (นาทีละ 320,000 บาท)
5. ละครซิทคอม นัดกับนัด (ช่อง 9) โฆษณาตรงเกิน 3:50 นาที:วินาที (นาทีละ 330,000 บาท)
6. ละครเซน สื่อรักสื่อวิญญาณ (ช่อง 5) โฆษณาตรงเกิน 3:35 นาที:วินาที (นาทีละ 330,000 บาท)
7. ข่าวค่ำ (ช่อง 9) โฆษณาตรงเกิน 3:04 นาที:วินาที (นาทีละ 330,000 บาท)
8. ละคร รุกฆาต (ช่อง 7) โฆษณาตรงเกิน 2:57 นาที:วินาที (นาทีละ 450,000 บาท)
9. วีไอพี (ช่อง 9) โฆษณาตรงเกิน 2:38 นาที:วินาที (นาทีละ 280,000 บาท)
10. ละคร ชิงชัง (ช่อง 5) โฆษณาตรงเกิน 2.20 นาที (นาทีละ 370,000 บาท)

เฉพาะ 10 อันดับแรกนี้ ก็มีมูลค่าโฆษณาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไปแล้ว ตกวันละ 13 ล้านกับเศษอีก 8,000 บาท ที่เป็นรายได้ส่วนเกินจากการฝ่าฝืนกฎหมายและละเมิดสิทธิประชาชน

ขณะที่รายการดังๆ อย่างรายการเรื่องเล่าเช้านี้ (ช่อง 3) ก็พบว่าโฆษณาตรงเกินกว่าที่กำหนดและยังมีโฆษณาแฝงอีกมากมาย (หักโฆษณารายการของทางสถานีแล้ว ยังเกินไป 2 นาที, นาทีละ 175,000 บาท หรืออย่างรายการเช้าข่าวข้นก็มีวิธีการโฆษณาแฝงมากมาย ส่วนค่ายละครที่มีโฆษณาแฝงมากที่สุดคือ “เอกแซ็คท์”

คิดง่ายๆ ว่า สถานีโทรทัศน์ 4 ช่อง โฆษณาตรงเกินวันละเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ที่อัตราค่าโฆษณาเฉลี่ยขั้นต่ำนาทีละ 1 แสนบาท ก็จะตกเป็นเงินปีละ 8,760,000,000 ล้านบาท เป็นอย่างต่ำ (8 พันล้านบาทนี่ เฉพาะโฆษณาตรงที่เกินกำหนด)

ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาแฝง (หากคิดว่ามีมูลค่าประมาณ 40% ของมูลค่าการ “ซื้อ-ขายโฆษณาตรงผ่านสื่อ” ก็จะตกประมาณ 20,000 – 30,000 ล้านบาท

ตัวเลขตรงนี้มีความแตกต่าง เช่น ทางฝั่งผู้ประกอบการธุรกิจโฆษณาอ้างว่า มูลค่าโฆษณาแฝงมีเพียงเล็กน้อย ราว 1 % ของมูลค่าโฆษณาทั้งหมดในอุตสาหกรรมสื่อ 1 แสนล้านบาทต่อปี 1 % ก็จะตกราว 1,000 ล้านบาทต่อปี
(หากน้อยขนาดนี้จริงตามที่อ้าง ก็คงไม่จำเป็นต้องมีโฆษณาแฝง)

อย่างไรก็ตาม ประมาณการตัวเลขขั้นต่ำจากผลการศึกษาโดยอ้างสมมติฐานเปรียบเทียบกับข้อเท็จ จริงในอุตสาหกรรมสื่อ มูลค่าโฆษณาส่วนเกินที่ผิดกฎหมายนี้ ทั้งทางตรงและแฝงน่าจะตกอยู่ที่ราวปีละ เกือบ 5 หมื่นล้านบาท

จะเห็นโฆษณาส่วนเกินจากการละเมิดกฎหมายนี้มีมูลค่ามหาศาล และก็ไม่รู้ว่าเงินส่วนเกินจากการโฆษณานี้ไปตกอยู่ที่ใคร? เพียงเพราะบ้านเราไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง

กลับมาที่บทความ ในตอนแรกค้างตรงที่ว่า “OFCOM” ในประเทศอังกฤษ และ “AVMS” ของสหภาพยุโรป มีแนวทางการควบคุมโฆษณาแฝงที่น่าสนใจ ครั้งนี้จะมาดู “กฎหมายของประเทศอังกฤษ” ซึ่งเป็นแบบอย่างของกฎหมายสื่อทั่วโลก แม้กระทั่งกลุ่มประเทศยุโรป ยังยึดถือเป็นแบบอย่าง

“Ofcom” ย่อมาจาก “Office of Communication” เป็นองค์กรอิสระที่กำกับดูแลและออกกฎ ระเบียบ และข้อปฏิบัติ เกี่ยวกับกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคมของประเทศอังกฤษ ตั้งขึ้นมาเพื่อให้อุตสาหกรรมสื่อดำเนินการอย่างเป็นธรรม และปกป้อง คุ้มครองผู้บริโภคสื่อ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ออกใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบกิจการวิทยุ โทรทัศน์และโทรคมนาคม จัดทำ สำรวจ ความคิดเห็นของผู้บริโภค รับข้อร้องเรียนต่างๆ เกี่ยวกับการบริการสื่อแก่ประชาชน และให้คำปรึกษาแก่ผู้ผลิต

“Ofcom” “มีข้อกำหนดเกี่ยวกับปริมาณและความถี่ของการโฆษณาในสถานีโทรทัศน์ ที่ออกอากาศในประเทศอังกฤษ RADA-Rules on the amount and distribution of advertising ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้

ปริมาณการโฆษณาต่อวัน สำหรับช่องบริการสาธารณะ

[ปริมาณการโฆษณาในวันหนึ่ง เฉลี่ยแล้วต้องไม่เกิน 7 นาทีต่อชั่วโมงการออกอากาศ ]
[ วัตถุประสงค์ตามข้อ 1 “การออกอากาศระหว่างวัน” หมายถึงช่วงเวลาระหว่าง 6 .00 น.- และตลอดทั้งวัน ]
[ ในช่วงเวลา 18.00-23.00 น.และช่วงเวลา 7.00-9.00 น. หากไม่ได้รับอนุญาตจาก Ofcom ก่อน ปริมาณการโฆษณาโดยเฉลี่ยจะต้องไม่เกิน 8 นาทีต่อชั่วโมงไม่ว่าจะเป็นวันไหนก็ตาม (จันทร์ - อาทิตย์)]


* ปริมาณการโฆษณาต่อวัน สำหรับช่องอื่นๆ ที่บริการเชิงพาณิชย์

[ปริมาณสปอตโฆษณาในวันหนึ่งๆ เฉลี่ยแล้วต้องไม่เกิน 9 นาที (หรือ 15 %) ต่อหนึ่งชั่วโมงของการออกอากาศ ]
[การโฆษณาสามารถเพิ่มได้อีก 3 นาทีต่อชั่วโมง (หรือคิดเป็น 5 %) สำหรับ ”รายการซื้อขายสินค้าทางโทรทัศน์(teleshopping) ” โดยที่เวลาที่เพิ่มให้นี้ 5 %ห้ามนำไปใช้ในรูปแบบ สปอตการโฆษณาอื่นๆ ]


* ปริมาณโฆษณาสูงสุดในชั่วโมง

[ ในหนึ่งชั่วโมงใดๆ ก็ตาม มีโฆษณาสูงสุด ทั้งสปอตโฆษณาปกติ และสปอตโฆษณาขายสินค้า ได้ไม่เกิน 12 นาทีต่อชั่วโมง ]

กฎ “RADA” ของ Ofcom ภายหลังได้มีการปรับปรุงตามข้อกำหนดของ “คณะกรรมการวิทยุโทรทัศน์ไร้พรมแดน” ของสหภาพยุโรป (Television without Frontiers Directive) ที่พัฒนาขึ้นในภายหลัง ที่ Ofcom อธิบายในกฎใหม่ชื่อว่า COSTA-Code on scheduling of TV advertising ซึ่งกำหนดเวลาของการโฆษณาตามมาตรฐานยุโรป ดังนี้

[กำหนดให้เวลาการโฆษณาสูงสุดได้ไม่เกิน 12 นาทีต่อชั่วโมง และ 1) สำหรับสถานีโทรทัศน์บริการสาธารณะ เฉลี่ยทั้งวันของการออกอากาศ ต้องไม่เกิน 7 นาที ต่อชั่วโมง และสำหรับเวลา 18.00 – 23.00 น. ให้เฉลี่ยมีโฆษณาได้ไม่เกิน 8 นาทีต่อชั่วโมง

2) สำหรับสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ (เชิงพาณิชย์) เฉลี่ยทั้งวันของการออกอากาศต้องไม่เกิน 9 นาทีต่อชั่วโมง และอนุญาตให้มีโฆษณาในรายการซื้อขายสินค้าผ่านโทรทัศน์ (teleshopping) ได้ 3 นาทีต่อชั่วโมงของการออกอากาศ]


ขณะที่สหภาพยุโรป (European Parliament and of the Council) ซึ่งมีองค์กรอิสระส่วนกลางที่ควบคุมดูแลกิจการสื่อและโทรคมนาคม ที่เรียกว่า “Television without Frontiers Directive” ออกข้อบังคับที่เรียกว่า “Directive 89/552/EEC” ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการควบคุม กฎระเบียบ การประกอบกิจการสื่อในกลุ่มประเทศสมาชิกยุโรป ซึ่งเคยมีบทบัญญัติควบคุมการโฆษณาแฝง (Surreptitious Advertising) ไว้ เมื่อปี ค.ศ. 1989 ว่า

[“โฆษณาแฝง หมายถึง การนำเสนอข้อความ ภาพสินค้าหรือบริการ ชื่อ ตราสินค้า กิจกรรม ที่ผู้ผลิตหรือผู้เผยแพร่สินค้าและบริการนั้นอยู่ในเนื้อหารายการ เป็นเจตนาของผู้ผลิตเผยแพร่รายการ หวังผลเพื่อการโฆษณา และอาจจะสร้างความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของรายการ การโฆษณาแฝงที่นำเสนอจะถูกพิจารณาว่าเป็นโฆษณาแฝงเมื่อพบว่ามีการจ่ายเงิน หรือผลตอบแทนในรูปอื่นๆ]

[“ควรห้ามมิให้ มีการโฆษณาแฝงและโฆษณาขายสินค้าทางโทรทัศน์”
“ควรห้ามมิให้มีการสื่อสารภาพและเสียงเชิงพาณิชย์ในลักษณะแอบแฝง”
“โฆษณาและรายการโฆษณาซื้อขายขายสินค้าทางโทรทัศน์ ไม่ควรใช้เทคนิค วิธีการที่ผู้ชมไม่รู้ตัว(ว่ากำลังโฆษณาอยู่)”]


ภายหลัง “Television without Frontiers Directive” ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “Audiovisual Media Services Directive” และมีการปรับข้อบังคับเรื่องการโฆษณา ในปี ค.ศ. 2007 แต่สาระสำคัญเรื่องการห้ามมีโฆษณาแฝง ยังคงอยู่เช่นเดิม

Directive 97/36/EC and by Directive 2007/65/EC

[“การสื่อสารภาพและเสียงเชิงพาณิชย์ในลักษณะแอบแฝง” หมายถึง การนำเสนอข้อความ หรือ ภาพ ของสินค้าหรือบริการ ชื่อ ตราสินค้า หรือกิจกรรมที่ผู้ผลิตสินค้าหรือผู้เผยแพร่ใส่เอาไว้ในรายการ เป็นเจตนาโดยผู้ประกอบกิจการสื่อเพื่อรับใช้โฆษณาและอาจสื่อความเข้าใจผิดใน สาระสำคัญของรายการที่เสนอนั้น การนำเสนอสินค้าในรายการจะพิจารณาว่าเป็นโฆษณาแฝง ก็เมื่อมีการจ่ายเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน]

และยังนิยามความหมายคำว่า “Product Placement” ว่าหมายถึง

[“การวางสินค้าผลิตภัณฑ์” หมายถึง การสื่อสารถึงภาพและเสียงด้วยวิธีการใดๆ ก็ตามเพื่อผลทางการค้า ที่สื่อที่อ้างอิงถึงสินค้านั้น เป็นบริการ หรือเป็นตราสินค้าที่นำเสนอให้เห็นชัดอย่างโดดเด่นในรายการ โดยมีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์อื่นๆ เพื่อตอบแทน]

[ การสื่อสารภาพและเสียงเชิงพาณิชย์ ต้องเปิดเผย มองเห็นและตระหนักรับรู้ได้ชัดเจนว่าเป็นการโฆษณา และ ห้ามทำการสื่อสารภาพและเสียงเชิงพาณิชย์ในลักษณะแอบแฝง
และ ในการสื่อสารภาพและเสียงเชิงพาณิชย์ ไม่ควรใช้เทคนิค วิธีการ ที่ผู้ชมไม่รู้ตัว(ว่ากำลังโฆษณาอยู่)” ]


นอกจากนี้ ยังมีข้อบังคับที่ว่าด้วย การแสดงชื่อผู้สนับสนุนรายการ (sponsorship) ซึ่งมีความแตกต่างกับโฆษณาแฝงอย่างชัดเจน ว่า

[ ผู้ชมควรที่จะได้รับการแจ้งอย่างชัดเจนว่ามีข้อตกลงของสินค้าที่สนับสนุน รายการ การสนับสนุนรายการจะต้องระบุชัดเจนด้วยชื่อ โลโก้ และหรือตราสัญลักษณ์ใดๆ ของผู้สนับสนุนที่สื่อและอ้างอิงถึงสินค้าและบริการ และถูกนำเสนออย่างแตกต่างและสังเกตเห็นได้ในวิธีการที่เหมาะสม ในตอนเริ่มต้น ระหว่างรายการ และในตอนจบ ]

สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาในข้อบังคับของสภาแห่งสหภาพยุโรป คือ เรื่อง “Product Placement” (ซึ่งไม่เหมือนกับโฆษณาแฝงเสียทีเดียว) โดย “AVMS” กำหนดว่า

[1.ห้ามการวางสินค้าในรายการ]
[2. การผ่อนปรนข้อบังคับตามวรรคแรก สามารถกระทำได้ โดยภาคีสมาชิดอาจพิจารณาให้การวางสินค้าสามารถมีได้ในงานผลิตสร้างภาพยนตร์ หนัง หรือละคร รายการกีฬา และรายการบันเทิง โดยที่การวางสินค้า ต้องไม่มีการจ่ายเงิน แต่เป็นการวางสินค้าโดยไม่มีการคิดค่าใช้จ่าย เป็นอุปกรณ์ประกอบ หรือรางวัลโดยที่มองเห็นในรายการ
การผ่อนปรนการห้ามวางสินค้าในรายการข้างต้น ต้องไม่ผ่อนปรนในรายการเด็ก


[การผ่อนปรนการห้ามวางสินค้าในรายการ อย่างน้อยต้องเข้าลักษณะดังนี้]
[1. การวางสินค้าในรายการจะต้องไม่มีอิทธิพลส่งผลให้เนื้อหารายการ หรือผังเวลาการออกอากาศเปลี่ยนแปลงไป และจะต้องไม่กระทบต่อความรับผิดชอบและความเป็นอิสระของบรรณาธิการ]
[2. การวางสินค้าในรายการจะต้องไม่ชักชวนผู้ชมให้ซื้อสินค้า การเช่าสินค้าโดยเฉพาะการอ้างอิงถึงโปรโมชั่นพิเศษของสินค้าหรือบริการ ]
[3. การวางสินค้าในรายการจะต้องไม่ให้ทำสินค้านั้นโดดเด่น]
[4. ผู้ชมควรถูกแจ้งให้ทราบโดยชัดเจนว่ามีการวางสินค้าในรายการ การปรากฏสินค้าในรายการควรแจ้งให้ทราบอย่างเหมาะสมในช่วงเริ่มต้นรายการและ ช่วงจบรายการ และควรหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้ชมสับสนโดยการวางสินค้าแทรกในรายการหลังจากที่ เพิ่งตัดจากช่วงโฆษณาและเพิ่งเข้าสู่รายการ]
[5. กรณีที่จะมีการยกเว้น รัฐภาคีสมาชิกอาจเลือกที่จะเลื่อนข้อกำหนดดังกล่าวนี้ไปก่อน]


เห็นได้ว่า หลักการสำคัญของข้อบังคับ ว่าด้วยการโฆษณาของสหภาพยุโรปคือ ไม่ควรมีผู้สนับสนุนสินค้าและบริการในรายการข่าว รายการเด็ก และรายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับศาสนา โดยเฉพาะเมื่อรายการมียาวไม่เกิน 30 นาทียิ่งไม่ควรถูกขัดจังหวะด้วยโฆษณา

หลักการสำคัญที่สหภาพยุโรปยังคงยึดถือ คือ การแบ่งเนื้อหารายการกับโฆษณาออกกันอย่างชัดเจน ดังนี้

[โฆษณาทางโทรทัศน์ และโฆษณาขายสินค้าทางโทรทัศน์ ควรแยกออกให้เห็นได้ชัดเจนและมีความแตกต่างกับส่วนที่เป็นเนื้อหารายการ ไม่ควรอ้างโดยอคติว่าใช้เทคนิควิธีการโฆษณาแบบใหม่, โฆษณาในรายการโทรทัศน์ และโฆษณาขายสินค้าในรายการโทรทัศน์ จะต้องถูกแยกออกให้เห็นอย่างชัดเจนจากเนื้อหารายการ ทั้งโดยภาพและหรือเสียง หรือแม้แต่การสร้าง บรรยากาศรายการ]

และข้อบังคับเรื่อง “สัดส่วนการโฆษณาสูงสุดต่อชั่วโมง” กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 20% ต่อชั่วโมงและที่เกี่ยวข้องกับ “การวางสินค้าในรายการ” คือ เวลาในการโฆษณาจะไม่นับประกาศของสถานี

[1. สัดส่วนของสปอตโฆษณาในโทรทัศน์ และ สปอตรายการซื้อขายสินค้าทางโทรทัศน์ ต่อชั่วโมงต้องไม่เกิน 20% ]
[2. ข้อความในวรรคแรก ไม่นำมาบังคับใช้ในคำประกาศของทางสถานี ที่กล่าวถึงรายการของตัวเองที่เนื้อหาเป็นเรื่องของสินค้า หรือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับรายการที่จัด ]


ซึ่งนับว่าเป็นกฎที่ค่อนข้าง “อะลุ่มอล่วย” ให้กับภาคธุรกิจโฆษณามากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งข้อจำกัดห้ามการโฆษณาแฝง ซึ่งแตกต่างกับบ้านเราที่อยู่ในภาวะไร้การควบคุมดูแลมาอย่างยาวนาน

ข้อบังคับของสหภาพยุโรปนี้ “พัฒนาจากกฎหมายสื่อของอังกฤษ” เสนอเพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆ นำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมกับกฎหมายที่มีอยู่เดิม และให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมทางสังคมของแต่ละประเทศ และเห็นร่วมกันในธุรกิจโฆษณา/สื่อมวลชนคือ โฆษณาแฝง เป็นธุรกิจที่ควรเกี่ยวข้องกับข้อบังคับ/ระเบียบ/กฎหมาย (the actual practice of product placement is regarded as a legitimate business practice.)

กฎที่เข้มแข็งของประเทศอังกฤษเคย “ปรับเงิน” สถานีและผู้ผลิตมาแล้ว เช่นในปี ค.ศ. 2001 สถานีโทรทัศน์ที่ชื่อ “London Weekend Television” โดนปรับไป 100,000 ปอนด์ โทษฐานที่ฝ่าฝืนกฎ หรือในปี ค.ศ. 2003 ช่องรายการบันเทิง “You TV” โดนปรับไป 40,000 ปอนด์ โทษฐานที่ฝ่าฝืนกฎในการโฆษณาแฝง

ยกตัวอย่างเช่นประเทศสวีเดน ที่เป็นสมาชิกของสภายุโรป มีความเห็นว่า “ข้อบังคับนี้ อ่อนเกินไป” และยังยืนยันให้โฆษณาได้ไม่เกิน 5 นาทีต่อชั่วโมงตามเดิม ไม่ทำตามข้อบังคับของสภายุโรปที่บอกให้โฆษณาได้ 20% หรือ 12 นาทีต่อชั่วโมง หรืออย่างประเทศญี่ปุ่นซึ่งกำหนดให้มีการโฆษณาในสถานีโทรทัศน์บริการธุรกิจ ได้เพียง 6 นาทีเท่านั้น และห้ามมีโฆษณาแฝงเด็ดขาด

ยกตัวอย่าง ในหลายๆ ประเทศที่มีกฎหมายควบคุม “สัดส่วนการโฆษณา”

* โปรตุเกส โทรทัศน์บริการสาธารณะ (แบบเอกชน) มีโฆษณาได้ 7 นาทีครึ่งต่อชั่วโมง, เชิงพาณิชย์มีโฆษณาได้ 12 นาทีต่อชั่วโมง
* เดนมาร์ค และอิตาลี มีกฎหมายห้ามทำการโฆษณาแฝงแบบproduct placement โดยเด็ดขาด
* เนเธอแลนด์ อนุญาตให้มีโฆษณาแฝงในตอนจบท้ายรายการได้เพียง 5-6 วินาทีเท่านั้น
* ฟืนแลนด์และไอร์แลนด์ โฆษณาแฝงถือว่าผิดกฎหมาย
* จีน นิยามชัดเจนในกฎหมายสื่อว่า โฆษณาแฝง คือรูปแบบหนึ่งของโฆษณา และโฆษณาแฝงในจีนถือว่าผิดกฎหมาย และประชาชนมีสิทธิที่จะร้องเรียนเรียกค่าเสียหายที่พบในรายการที่มีโฆษณาแฝง ได้โดยใช้กฎหมายผู้บริโภค


สุดท้าย ณ ตรงนี้ ไม่ทราบว่าท่านรัฐมนตรีสาทิตย์ วงศ์หนองเตยและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จะมองเห็นแนวทางการควบคุมโฆษณาแฝงที่กฎหมายของแต่ละประเทศยึดถือเป็นแนวทาง แก้ไขหรือไม่ อย่างไร

แต่คณะกรรมการวิชาการของโครงการมีเดียมอนิเตอร์ เห็นความจำเป็นที่จะให้มีการควบคุมการโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์ และมี 5 ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องโฆษณาแฝง ดังนี้

1. โฆษณาแฝง ไม่ควรปรากฏในรายการประเภทข่าว และรายการเด็ก/เยาวชน โดยเด็ดขาด เพราะเป็นรายการที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อข้อเท็จจริง ความรับรู้ของประชาชน สำหรับรายการเด็กเนื่องจากยังไม่มีวิจารณญาณเพียงพอในการแยกแยะเนื้อหาออก จากโฆษณาได้ และเป็นวัยที่มีผลกระทบสูงต่อการโฆษณา
2. สำหรับรายการ ที่มีโฆษณาแฝงมาก โดยเฉพาะรายการบันเทิง หรือสาระบันเทิง เช่น ละคร ภาพยนตร์ ซิทคอม เกมโชว์ โชว์ แม็กกาซีน หรือวาไรตี้ ควรกำกับดูแลโฆษณาแฝงให้มีน้อยที่สุด ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค
3. ใน แนวทางการควบคุม ควรมีบทลงโทษ ปรับ หากพบว่ามีโฆษณาแฝงในรายการที่ห้าม (ข่าวและรายการเด็ก) โดยให้สคบ. ใช้อำนาจที่มี (จากคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง-กองงานโฆษณา) สั่งปรับไปที่สถานี เพื่อให้สถานีกระตือรือร้นในการไปควบคุมอย่างเคร่งครัดต่อผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้เช่าเวลา
4. การโฆษณาแฝง หากมีในเนื้อหารายการ ควรส่งสัญญาณเพื่อแสดงให้ผู้ชมรับทราบด้วยข้อความหรือสัญลักษณ์อื่นใดว่า “เป็นโฆษณา” และควรนับว่าเป็นการโฆษณา ที่จะต้องถูกนับรวมเวลาในปริมาณการโฆษณาที่กฎหมายกำหนด
5. ในการ โฆษณาแฝงผ่านสื่อ ควรแจ้งข้อมูลทางการเงินหรือผลตอบแทนอื่นใดที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการต่อ สาธารณะ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้

อัตราค่าโฆษณาที่นาทีละหลายแสนบาท ข้อเท็จจริงพบแล้วว่าเกือบทุกช่องโฆษณากันเกินเวลาที่กำหนด มูลค่าหลายหมื่นล้านบาทต่อปีที่ส่อไปในทางทุจริต โกงประชาชน

ฝากผ่านบทความนี้ถึงท่านรัฐมนตรีสาทิตย์, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นำไปพิจารณา และขอให้กำลังใจให้แก้ไขปัญหาเรื่องโฆษณาแฝงได้ด้วยดี
และสำหรับช่องสื่อภาครัฐ(วิสาหกิจ/รัฐบาล?) อย่างอสมท.ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ราว 66 % แต่ก็ทำผิดกฎหมายเสียเอง (ฝากท่านรัฐมนตรีกรณ์ จาติกะวนิช ดูแลด้วยว่ารายได้โฆษณาส่วนเกินนี้ไปตกอยู่ไปที่ใคร)

สรุปสถานการณ์ปัจจุบัน “โฆษณาแฝงล้น โฆษณาตรงเกิน มูลค่าหลายหมื่นล้าน ไร้หน่วยงานรัฐกำกับดูแล ไร้กฎหมายควบคุม”

ตอนหน้าจะมาดูกันว่า ประเทศไทย “เคยมีความพยายาม” ที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องโฆษณาแฝงมาแล้ว และวิเคราะห์ว่า “กฎหมายควบคุมสื่อโฆษณา” ของบ้านเรา มีความลักลั่นอย่างไร

โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐอย่างกรมประชาสัมพันธ์และสำนักงานคณะกรรมการคุ้ม ครองผู้บริโภค (สคบ.) ที่อาจมีข้อมูลในอดีต ขนาดที่ท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอาจไม่เคยทราบ ทั้งที่กำกับดูแลสองหน่วยงานนี้โดยตรง ที่สำคัญกว่าคือเราในฐานะประชาชนอาจไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า โดนละเมิดสิทธิโดยหน่วยงานรัฐมานานหลายสิบปีจากการโฆษณาตกปีละหลายหมื่นล้านบาท

ที่มา Media Monitor




 

Create Date : 20 มกราคม 2553    
Last Update : 20 มกราคม 2553 16:26:00 น.
Counter : 782 Pageviews.  

รู้เท่าทันโฆษณาแฝง : ประเทศไทย

โดย ธาม เชื้อสถาปนศิริ, นักวิชาการ (มีเดีย มอนิเตอร์)

หมายเหตุ :บทความนี้มี 3 ตอน คือ เปรียบเทียบกรณีประเทศไทยและต่างประเทศ ในตอนที่ 2, และตอนที่ 3 เรื่อง “ความลักลั่นของกฎหมายไทย ในการควบคุมโฆษณา”

เท่าที่ทราบ ความพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องโฆษณาแฝงของท่านรัฐมนตรีสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) มาถึงจุดที่ “ต้องตัดสินใจว่าจะเดินหน้า หรือทบทวนแก้ปัญหานี้อย่างตรงจุด หรือปล่อยไปเฉยๆ เพราะอาจเจ็บตัวทางการเมือง”

สู้อยู่เฉยๆ ดีกว่า ไม่เจ็บตัว

หากเป็นเช่นนั้นจริง ก็แน่ว่าโฆษณาแฝงก็ยังคงอยู่ในรายการโทรทัศน์บ้านเราอีกต่อไปอีกนาน จนนับได้ว่าเป็นเรื่อง “ปกติ”

หากเป็นเช่นนั้นจริง “ไม่ถูกใจใครสักฝ่าย” และ “คงความไม่ถูกต้องเอาไว้” สังคม/ผู้บริโภค/และเกียรติภูมิสื่อ ก็ยังตกอยู่ภายใต้ความอึกครึมอีกต่อไป

ผลการศึกษาของโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor) สรุปสถานการณ์ปัจจุบันของโฆษณาแฝงได้ว่า รุกล้ำในรายการทุกรูปแบบ ทุกประเภท จนรายการที่ไม่มีโฆษณาแฝงคือ รายการข่าวพระราชสำนัก ถ่ายทอดสดประชุมรัฐสภา และสารคดีสั้นทั่วไป

นอกนั้นมีโฆษณาแฝงหมด มากน้อย แตกต่างวิธีการ

พูดง่ายๆ คือ “โฆษณาแฝงล้น โฆษณาตรงเกิน”


โฆษณาแฝง คืออะไร?

ตอบง่ายๆ ก็คือ โฆษณาที่แทรกเข้าไปในส่วนที่เป็นเนื้อหารายการ โดยความตั้งใจของผู้ผลิตและเจ้าของสินค้า โดยมีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ เพื่อหวังผลทางธุรกิจ

สาเหตุหลักที่ต้องมีโฆษณาแฝง?

ก็เพราะ (1) พฤติกรรมการเลี่ยงการเปิดรับชมโฆษณา จากการใช้เทคโนโลยี ยุคแรกคือการกดรีโมทหนีโฆษณา ยุคสองคือการเกิดขึ้นของ ipTv เครื่องบันทึกรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ที่สามารถเลือกดูรายการใด เวลาไหน และสามารถตัด-ข้าม เนื้อหาโฆษณาได้ด้วย

(2) เพื่อลดต้นทุนการโฆษณาของเจ้าของสินค้า เนื่องจากเจ้าของสินค้าและบริการค้นพบว่า ประสิทธิภาพของโฆษณาตรงๆ ที่ทำเป็นภาพยนตร์โฆษณาความยาว 15-30 วินาที ที่ฉายออกอากาศในช่วงเวลาโฆษณานั้น ไม่น่าจะมีประสิทธิภาพในการสร้าง โน้มน้าวใจ หรือเชื้อเชิญให้เกิดพฤติกรรมซื้อได้มากเท่าใดนัก

ขณะที่โฆษณาตรงนั้น ขายอย่างโจ่งแจ้ง แต่โฆษณาแฝงสามารถขายแบบแนบเนียนได้ ผู้ชมรู้สึกว่ากำลังโดนสื่อสารเพื่อจะขายสินค้า ระดับการปฏิเสธจึงมีน้อยกว่ามาก

การตลาด-ประสัมพันธ์ ยังมีส่วนอย่างยิ่งกับการโฆษณาแฝง เช่น กระบวนการสร้างข่าว ขณะที่การโฆษณาผ่านสื่อกระแสหลักอย่าง เรียกว่า “above the line” เข้าถึงคนมากกว่า แต่ใช้เงินสูงกว่า และก็ไม่แน่ชัดในกลุ่มเป้าหมายว่าสื่อสารไปถึงหรือไม่เพียงใด, ส่วนโฆษณาผ่านกิจกรรม สื่อรอง เรียกว่า “below the line” ก็เข้าถึงคนเฉพาะกลุ่มมากกว่า ใช้เงินน้อยกว่า แต่ก็ไม่สร้างตลาดขนาดใหญ่และกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ได้

โฆษณาแฝงเข้ามาอุดช่องโหว่ที่ระบบการโฆษณาผ่านสื่อหลัก/รอง ทำไม่ได้ เรียกว่า โฆษณาไปพร้อมๆ กับเนื้อหารายการโทรทัศน์(สื่อหลัก) ด้วยวิธีการแฝงเนื้อหา (ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้กับการโฆษณาผ่านสื่อรอง) เรียกว่า “through the line”

โฆษณาแฝง จึงใช้ช่องทางสื่อกระแสหลักเข้าถึงมวลชนมหาศาลด้วย ด้วยวิธีการสร้างสถานการณ์ (ความเนียน-กลมกลืน) ให้เข้ากับเนื้อหารายการ และสอดคล้องกับสภาพชีวิตจริงๆ ของผู้ชม
“โฆษณาแฝง” นับเป็นวิธีการหนึ่งในการส่งข้อมูลอย่างแนบเนียนของสินค้าไปสู่ผู้บริโภค ผ่านสื่อในรูปแบบและวิธีการต่างๆ โดยมีเป้าหมายในระดับต่ำที่สุดคือการ “มองเห็นสินค้า”

ขณะที่โฆษณาตรงมีคนซื้อจองเต็มพื้นที่แล้ว ด้วยการกวาดซื้อ ทำสัญญาล่วงหน้าผูกขาดการซื้อด้วยลักษณะอุปถัมภ์สื่อก็ตาม เจ้าของสินค้าที่ซื้อเวลาโฆษณาปกติไม่ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องไปซื้อโฆษณาแฝงดังกล่าว
โฆษณาแฝงจึงถูกใช้เพื่ออุดช่องโหว่พฤติกรรมการเปิดรับโฆษณา และเป็นการหนีภาวะความชุก/แน่นของโฆษณาในช่วงเวลาโฆษณาตรง

(3) เพื่อลดต้นทุน และหรือเพิ่มรายได้พิเศษของผู้ผลิต หรือสถานี เพราะโฆษณา ถูกนำไปใช้ใน 2 ลักษณะ แรก คือ ผู้ผลิตรายการใช้เพิ่มอำนาจต่อรองในการขายโฆษณาในระยะยาวต่อเจ้าของสินค้า โดยขายเป็นแพ็คเกจ เช่น ซื้อโฆษณาตรงก็จะแถมโฆษณาแฝงด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อดึงดูดใจเจ้าของสินค้า สองคือ ผู้ผลิตรายการ หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ สามารถสร้างรายได้พิเศษจากการขายโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์ได้อย่างมาก ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่จำเป็นต้องถูกตรวจสอบเม็ดเงินโฆษณาแฝงที่ไม่เข้ากระบวน การตรวจสอบนี้ จึงมีผู้ที่ได้รับผลประโยชน์คือ ผู้ผลิตรายการและช่องสถานี ตลอดจน ดารา ผู้ประกาศข่าว บางคนที่รับหน้าที่เป็นพรีเซ็นเตอร์ช่วยบอกขายข่าวไปในตัว

รูปแบบของโฆษณาแฝง?

(จากการศึกษาของโครงการมีเดียมอนิเตอร์) มีทั้งหมด 5 วิธีการหลัก เรียงตามระดับความง่ายที่สังเกตเห็นได้ คือ
1) แฝง “สปอตสั้น หรือ วีทีอาร์ (VTR)” มักใส่ไว้ในช่วงต้นรายการ เช่น “สนับสนุนโดย A, B. C, “ ซึ่งก็มีทั้งภาพและหรือเสียง เคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่ง ยาวติดต่อกันไป ในบางรายการโฆษณาวีทีอาร์นี้ยาวรวมกันเกือบ 3 นาที/ชั่วโมง

2) แฝงภาพกราฟฟิก มักเป็นตราสัญลักษณ์ โลโก้ ชื่อ ตราสินค้าหรือบริการ ปรากฏขึ้นบนหน้าจอขนาดเล็ก มุมจอ (super logo/super impose) หรือมีกรอบและมีตราสินค้าวางอยู่ขอบจอ (window logo)

3) แฝงวัตถุ มักเป็นแผ่นป้ายชื่อ/ตรา/สัญลักษณ์สินค้าหรือบริการ หรือใช้ตัววัตถุสินค้า/ผลิตภัณฑ์นั้นจริงๆ เช่นแก้วกาแฟ โน้ตบุ๊ค เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือฉากร้านค้า ป้ายรถเมล์ในละครซิทคอม แม้กระทั่งสถานที่เช่นร้านอาหาร โรงพยาบาล สถานบริการ เพื่อเป็นฉากหรือสถานที่ของเนื้อหารายการขณะนั้นๆ ด้วยก็ได้

4) แฝงบุคคล มักเป็นตราสินค้าหรือบริการที่ติดอยู่ที่เสื้อผ้า หรือการแฝงเข้ากับกิจกรรมของตัวบุคคลในรายการขณะนั้นๆ ด้วยการกิจ หยิบ จับ ถือ สวม ใส่ ใช้ ฯลฯ ทั้งกับตัวละคร พิธีกร หรือแม้กระทั่งผู้ร่วมรายการ หรือกระทั่งนำผู้ใช้สินค้าบริการนั้นๆ มาพูดในรายการ

5) แฝงเนื้อหา คือโฆษณาที่แฝงมากับ “บท” ด้วยการแสดงให้เห็นชื่อสินค้าผลิตภัณฑ์นั้นๆ ขึ้นมาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับส่วนเนื้อหารายการขณะนั้นๆ อย่างมีนัยยะสำคัญ

เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นของตัวละคร-พิธีกรหรือผู้ร่วมรายการ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าบริการนั้นๆ มี 4 วิธีย่อยๆ เช่น 1) แฝงลงบทสนทนาในรายการ 2) แฝงลงไปในโครงเรื่อง (plot/sub plot) 3) แฝงลงในช่วงหนึ่งช่วงใดของรายการ (break) 4) การแฝงในระดับแก่นเรื่อง/แก่นรายการ (theme)

มีคำเรียกโฆษณาแฝง หลายคำที่ควรรู้จัก เช่น

• “product place” หมายถึง การวางสินค้าและในส่วนที่เป็นเนื้อหารายการ เช่นแฝงป้าย สิ่งของ วัตถุ หรือแฝงกับตัวเสื้อผ้าที่พิธีกรสวมใส่

• “tie-in” หมายถึง การผูกสินค้าและบริการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหารายการ

• “brand content” หมายถึง การผลิตรายการโทรทัศน์โดยเจ้าของสินค้าและบริการเข้ามามีส่วนร่วมในการออก แบบ ผลิต โดยออกแบบให้ทุกๆ องค์ประกอบขงเนื้อหารายการสามารถเชื่อมโยงไปถึงตราสินค้า ผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์องค์กรได้


วิธีการโฆษณาแฝงข้างต้น แตกต่างกับการเป็น “ผู้สนับสุนนรายการ” (sponsorship) ซึ่งหมายถึงเฉพาะการแสดงชื่อ สัญลักษณ์ ตราสินค้าและบริการในลักษณะช่วงต้น-ท้ายของรายการโดยไม่มีการกล่าวสโลแกน หรือบรรยายสรรพคุณสินค้าแต่อย่างใด ซึ่ง “กฏหมายทุกประเทศ” อนุญาตอยู่แล้วสำหรับการกล่าวถึงชื่อผู้สนับสนุนรายการในตอนต้นหรือท้าย


หลักการพื้นฐานสื่อ : เนื้อหาและโฆษณา?

เป็นความจริงที่ว่า “โฆษณาแฝงมีมานานแล้ว” แต่สิ่งที่เกิดขึ้นช้ากว่ามากในบ้านเราคือกฎหมายที่ตามทันสื่อ และความรู้เท่าทันสื่อโฆษณาที่เดินทางช้ากว่าราว 30 ปี ประสบการณ์ในหลายประเทศ (Ofcom-อังกฤษ) ในการแก้ปัญหาโฆษณาแฝงก็คือ “ไม่ควรมีโฆษณาแฝง.” ซึ่งไม่ใช่เขียนขึ้นมาเพื่อความโก้ หากแต่ยืนอยู่บนหลักการพื้นฐาน 3 ข้อคือ

1) ความโปร่งใส (transparency) – เพื่อที่จะแน่ใจได้ว่ากระบวนการสนับสนุนของสินค้าและบริการในสื่อเป็นไป อย่างโปร่งใส หลักการข้อนี้เพื่อปกป้องระบบการค้าเสรี เป็นธรรม ในระบบอุตสาหกรรมสื่อ พูดง่ายๆ ก็คือ ป้องกันการคอร์รัปชั่นในวงการโฆษณาและสื่อมวลชน เพราะปัญหาของการโฆษณาแฝงก็คือการจ่ายเงินติดสินบน เงินนอกระบบภาษีอากร จ่ายตรงถึงตัวผู้ผลิต ไม่หักภาษี ไม่มีใบเสร็จ ฯลฯ

2) การแยกเนื้อหากับโฆษณา (separation) - เพื่อที่จะแน่ใจได้ว่าการสนับสนุนของสินค้าและบริการจะต้องแยกออกจากกัน อย่างชัดเจนกับเนื้อหารายการ และเพื่อรักษาไว้ถึงความแตกต่างระหว่างการโฆษณาสินค้าและการสนับสนุนรายการ หลักการนี้เพื่อปกป้องผู้ชม (ซึ่งมีความแตกต่าง ระดับการศึกษา เพศ วัย อายุ ความรู้เท่าทันสื่อ และเพื่อปกป้อง “สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับรู้ว่า นั่นคือโฆษณา + สิทธิที่จะปฏิเสธการรับชมโฆษณา” –rights to know and rights to denial) โดยการกดรีโมททีวีหนี หรือปิดโทรทัศน์ หรือปิดการรับชมโฆษณา สื่อทุกประเภท
พูดง่ายๆ กฎข้อนี้ห้ามโฆษณา “ยัดเยียดคนดู”

3) ความเป็นอิสระของบรรณาธิการ (editorial independence) เพื่อที่จะแน่ใจได้ว่าผู้ผลิตรายการ/ผู้เผยแพร่เนื้อหาจะคงไว้ซึ่งอำนาจใน การผลิต/คัดเลือก/นำเสนอเนื้อหารายการ ไม่ตกอยู่ภายใต้ผู้สนับสนุนรายการ และเพื่อที่จะแน่ใจว่าเนื้อหารายการมิได้ถูกบิดเบือนดัดแปลงไปโดยเป้า ประสงค์ทางการค้า

แม้กระทั่งอเมริกาซึ่งเสรีนิยมในระบบการตลาดมากกว่าเรา ก็ยังแนวทางควบคุมไม่ให้มีโฆษณาแฝง ซึ่งน่าจะนานพอๆ กับอายุประชาธิปไตยในบ้านเราเลยทีเดียว ขณะที่ประเทศอังกฤษ ก็พยายามยึดถือแนวทางการห้ามโฆษณาแฝงมาอย่างยาวนาน แต่กฎระเบียบทั้งหลายกำลังถูกทดสอบอย่างหนักจากกลุ่มธุรกิจ


กฎหมายควบคุมปริมาณการโฆษณาในไทย?

พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 ไม่ได้กำหนดสัดส่วนโฆษณาเอาไว้ จนปีพ.ศ. 2519 โดย “คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์” (กบว.) อาศัยระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2518 กำหนดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีและคำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (การควบคุมการดำเนินรายการทางสถานีวิทยุกระจายเสียง) และคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2519 (การควบคุมการดำเนินรายการทางสถานีวิทยุโทรทัศน์) กำหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์โฆษณาได้ทั้งวันเฉลี่ยไม่เกิน 10 นาที/ชั่วโมง เท่านั้น

(แสดงว่าโทรทัศน์ที่ออกอากาศ 24 ชั่วโมง มีโฆษณาได้ 10นาทีx24ชั่วโมง = 240 นาที)

ปี พ.ศ. 2539 กรมประชาสัมพันธ์ ออกประกาศ เรื่อง “กำหนดหลักเกณฑ์ และระยะเวลาสำหรับการโฆษณาและบริการธุรกิจทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์” กำหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ทำการโฆษณาและบริการธุรกิจได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาที 30 วินาที แต่เมื่อรวมเวลาโฆษณาและบริการวิทยุตลอดทั้งวัน เฉลี่ยแล้วต้องไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาที โดยให้สามารถแนะนำรายการของทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยไม่นับรวมเป็นเวลาโฆษณาได้ชั่วโมงละ 1 นาที 30 วินาที

(แสดงว่าโทรทัศน์ที่ออกอากาศ 24 ชั่วโมง มีโฆษณาได้ 12นาทีx24ชั่วโมง = 288 นาที)
ซึ่งนับว่าเป็นการผ่อนคลายกฎให้มีเวลาเพิ่มขึ้น เป็นเฉลี่ยทั้งวันไม่เกิน 12 นาที/ชั่วโมง

กฎหมายควบคุมปริมาณการโฆษณาปัจจุบัน ยึดตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 กำหนดให้กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่และดำเนิน กิจการธุรกิจ มาตรา 23 ระบุว่า “...กำหนดการโฆษณาและการบริการธุรกิจได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาทีครึ่ง โดยเมื่อรวมเวลาโฆษณาตลอดทั้งวันเฉลี่ยแล้วต้องไม่เกินชั่วโมงละ 10 นาที”

นั่นหมายความว่าหากสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี ออกอากาศ 24 ชั่วโมงต่อวัน ก็จะมีโฆษณาได้ 240 นาที หรือ 4 ชั่วโมง (มาจาก 10นาทีx24ชั่วโมง = 240 นาที)

ไม่ใช่นำจำนวนเวลาสูงสุด 12.5นาที มาคิดเป็น 24ชั่วโมง = 300 นาที อย่างที่เข้าใจกันมา
และสำหรับกิจการกระจายสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (เคเบิ้ล ทีวีดาวเทียม) มาตรา 28 ระบุว่า ....”กำหนดระยะเวลาสูงสุดเกี่ยวกับการโฆษณาและการบริการธุรกิจได้ไม่เกิน ชั่วโมงละ 6 นาที โดยเมื่อรวมเวลาโฆษณาและการบริการธุรกิจ ตลอดทั้งวันเฉลี่ยแล้วต้องไม่เกินชั่วโมงละ 5 นาที”

กล่าวสำหรับฟรีทีวี ก็จะต้อง “เข้าสู่การแปรสภาพ” ไปเป็นสื่อตาม “ลักษณะการประกอบกิจการ” ดังนี้




สรุปก็คือ ช่องโทรทัศน์ที่ “โฆษณาสูงสุดได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาทีครึ่ง, เฉลี่ยทั้งวันไม่เกิน 10 นาทีต่อชั่วโมง” คือช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง 9 เท่านั้น

ส่วนช่อง 5 นั้น ให้ “หารายได้จากการโฆษณาเท่าที่เพียงพอต่อการดำเนินการโดยไม่เน้นแสวงหากำไร”

ช่อง 11 นั้น “หารายได้จากการโฆษณาไม่ได้ เว้นแต่การโฆษณาของหน่วยงานรัฐ หรือ นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร”
และช่องทีวีไทย “ไม่เก็บค่าสมาชิกและไม่หารายได้จากการโฆษณา เว้นแต่เป็นการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนองค์การ”


“กฎหมายของประเทศอังกฤษ” ซึ่งเป็นแบบอย่างของกฏหมายสื่อทั่วโลก แม้กระทั่งกลุ่มประเทศยุโรป ยังยึดถือเป็นแบบอย่าง กำหนดไว้ว่า หากเป็นโทรทัศน์เพื่อบริการสาธารณะ สามารถมีโฆษณาสูงสุดได้ไม่เกิน 7 นาที/ชั่วโมง ทั้งวันเฉลี่ยห้ามเกิน 8นาที/ชั่วโมง แต่หากเป็นโทรทัศน์บริการเชิงพาณิชย์ โฆษณาได้สูงสุดไม่เกิน 9 นาที+ 3 นาที= 12 นาทีชั่วโมงทั้งวันเฉลี่ยห้ามเกิน 9 นาที/ชั่วโมง เท่านั้น

การแก้ไขปัญหาเรื่องโฆษณาแฝง จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบในหลายๆ มิติ ผู้บริโภคย่อมต้องการรายการที่มีคุณภาพดีๆ เจ้าของสินค้าก็ต้องการลงโฆษณาสินค้าในอัตราที่เป็นธรรม ไม่แพงจนเกินไป ผู้ผลิตต้องการกำไร(ที่ควรพอเพียง) และความมีอิสระในความคิดสร้างสรรค์ ไม่ต้องถูกแทรกแซงจากอำนาจเม็ดเงินโฆษณา หน่วยงานที่มีบทบาทอย่างโดดเด่นในต่างประเทศ อย่าง “OFCOM” ในประเทศอังกฤษ และ “AVMS” ของสหภาพยุโรป มีแนวทางการควบคุมโฆษณาแฝงที่น่าสนใจ ครั้งหน้าจะมาดูกันว่าเป็นเช่นไร

ที่มา Media Monitor




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2552    
Last Update : 15 ธันวาคม 2552 19:04:36 น.
Counter : 1038 Pageviews.  

1  2  3  4  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.