ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

ชนชั้นล่างในเมืองและชนบทคือทัพหลวงของประชาธิปไตย

รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


การเคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ฉีกรัฐธรรมนูญ และก่อรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นผลงานของแนวร่วมอำนาจนิยมขวาจัด ที่มีกลุ่มจารีตนิยมเป็นผู้บงการตั้งแต่ต้นจนจบ มีกลไกราชการ-ทหารเป็นแขนขา และมีปัญญาชนในเมือง ประกอบด้วยนักวิชาการ ครู อาจารย์ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ราษฎรอาวุโส นักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชนหนังสือพิมพ์ ทำตัวเป็น “คนงานหามเสลี่ยงให้เผด็จการนั่ง” ช่วยสร้างวิกฤตปั่นป่วนให้เป็นเงื่อนไขรัฐประหาร

ในด้านตรงข้าม คือกลุ่มทุนใหม่ที่มีรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเป็นตัวแทน ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นกลางในเมืองบางส่วน และที่สำคัญคือ ได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากประชาชนชั้นล่างในเมืองและชนบททั่วประเทศ ได้แก่ ชุมชนแออัด แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบธุรกิจชุมชน เป็นต้น เพราะได้รับประโยชน์จากนโยบายประชานิยมซึ่งโอนย้ายงบประมาณและทรัพยากรจำนวนมหาศาลจากในเมืองไปสู่ชนชั้นล่างในเมืองและชนบททั่วประเทศลงไปถึงระดับล่างอย่างค่อนข้างทั่วถึง

ประชาชนชั้นล่างในเมืองและชนบทมีวิถีชีวิตอยู่ในระดับต่ำสุดของสังคม ไม่มีศักดิ์ศรี ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์นำหน้าชื่อ ไม่มีปากมีเสียง ตลอดประวัติศาสตร์ จากฐานะไพร่และทาสในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น “ราษฎร” ในยุคหลัง 2475 ถึงปัจจุบัน ถูกปกครองในระบอบอำนาจนิยมที่มีเนื้อในเป็นอำนาจรัฐผูกขาดของกลุ่มจารีตนิยม-ราชการ ซึ่งบางช่วงก็เป็นเผด็จการทหารเต็มรูป และบางช่วงก็มีเปลือกนอกเป็นระบบเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีสภาและรัฐบาลพลเรือน แต่ปราศจากอำนาจจริง ไม่ว่ายุคสมัยใด ประชาชนชั้นล่างไม่เคยมีสิทธิ์มีเสียงทางการเมืองอย่างแท้จริง ไม่ได้รับดอกผลโดยตรงจากการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ที่ยกระดับขึ้นบ้างก็เป็นเศษเหลือจากผู้ปกครองและชนชั้นกลางในเมือง

ชีวิตของประชาชนชั้นล่างมีลักษณะ “จนและเจ็บ” วนเวียนอยู่กับการทำมาหากินที่ยากเข็ญ แสวงหาช่องทางอาชีพถูกกฎหมายทุกประเภทเท่าที่จะคิดได้ หารายได้พอยังชีพ อาชีพที่ต้องใช้ทุนเป็นสิ่งยากยิ่งเพราะไม่มีช่องทางการกู้เงินในระบบ สถาบันการเงินไม่ต้อนรับ อาชีพหลักมีทั้งขายแรงงานรับจ้างรายวัน รับจ้างเบ็ดเตล็ดรายได้ไม่แน่นอน เช่าหรือผ่อนปัจจัยทุน เช่น แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือทำการค้าขนาดจิ๋วด้วยเงินทุนน้อยนิด แต่ละวันได้เงินเข้าบ้านสักร้อยสองร้อยบาท บางครอบครัวจำยอมให้ลูกผู้หญิงทำอาชีพอบายมุขเพื่อจุนเจือการศึกษาของพี่น้อง รักษาการเจ็บป่วยของพ่อแม่ และซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิต การใช้จ่ายประจำวันต้องกระเบียดกระเสียร ข้าวแกงจานละ 15 บาทกับ 20 บาทคือความแตกต่างสำคัญ การพักผ่อนบันเทิงในชีวิตคือ วิทยุโทรทัศน์ราคาถูก ๆ ในบ้าน การฉลองทำบุญในโอกาสสำคัญของครอบครัว เครือญาติ และเพื่อนบ้าน งานเทศกาล รวมทั้งหวยใต้ดินและการพนันเบ็ดเตล็ดเพื่อหลีกเลี่ยงความจำเจ ในหลายพื้นยังมีปัญหาสังคมที่เป็นอันตรายต่อสมาชิกในครอบครัว ทั้งยาเสพติดข้างบ้าน บ่อนพนันผิดกฎหมาย อาชญากรรมลักขโมยจี้ปล้นในชุมชน แล้วยังเผชิญการข่มเหงรังแกจากอิทธิพลเถื่อนและเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น

ปัญหาร้ายแรงในชีวิตคือ ความเจ็บป่วยซึ่งคนจนมักจะอดทนไม่รักษาและฝืนทำกินไปก่อน กระทั่งเจ็บหนักเสียแล้วจึงจำใจพึ่งโรงพยาบาลของรัฐในระบบคนไข้อนาถาที่อัดแน่น ขาดแคลน ทุกข์ทรมาน และไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างสิ้นเชิง หรือต้องพึ่งคลินิกแพทย์ซึ่งหลายแห่งก็ตั้งหน้าสูบเลือดขูดเนื้อ นอกจากนี้ ยังอาจมีปัญหาขัดแย้งกับอิทธิพลและเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตในครอบครัว และส่วนใหญ่จำต้องแก้ปัญหาด้วยเงินก้อนใหญ่ ทั้งหมดนี้ ทำให้ “การกู้หนี้นอกระบบ” เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนชั้นล่าง ซึ่งนอกจากจะกู้เพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพแล้ว บางครั้งก็ต้องกู้มาจุนเจือการศึกษาของบุตรหลาน รวมทั้งใช้เงินก้อนรักษาการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวและแก้ปัญหาความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่รัฐและอิทธิพลเถื่อนดังกล่าว

ประชาชนชั้นล่างมีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับกลุ่มอิทธิพลและนักการเมืองท้องถิ่นก็เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนและครอบครัว เป็นอำนาจช่วยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกันเอง หรือระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้มีอิทธิพล ในยามฉุกเฉิน ก็เป็นแหล่งกู้ยืมหรืออนุเคราะห์ทางการเงิน เช่น เจ็บป่วย ลูกเข้าโรงเรียน งานบวช งานแต่ง งานศพ ประชาชนชาวบ้านจึงมักจะมีความสัมพันธ์ที่ผูกพันยาวนานกับผู้มีอิทธิพลและนักการเมืองในพื้นที่ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐไม่สามารถให้บริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงเป็นธรรม และเป็นผลจากการที่เจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองชีวิตทรัพย์สินของพวกเขาได้ แล้วยังกลับเป็นภัยคุกคามประชาชนเสียเอง การเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อคนชั้นล่างเสมอมา เป็นการตอกย้ำความสัมพันธ์ที่พวกเขามีต่อนักการเมืองในพื้นที่ และเป็นการเสริมหลักประกันที่มีอยู่น้อยนิดในชีวิตอันยากเข็ญของพวกเขา

ชีวิตของประชาชนชั้นล่างเป็นความลึกลับที่ชนชั้นกลางในเมืองไม่สามารถเข้าใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญญาชน อาจารย์ นักวิชาการ ข้าราชการ ไปถึงราษฎรอาวุโสและองค์กรพัฒนาเอกชนที่อ้างตัวเสมอมาว่า “เข้าใจชาวบ้าน” และสมอ้างเป็น “ตัวแทนชาวบ้าน” คนพวกนี้ใช้ชีวิตพรั่งพร้อมไปด้วยความสุขสบาย การศึกษาถึงมหาวิทยาลัยและต่างประเทศ อาศัยทุนการศึกษาและเงินภาษีของประชาชน มีอาชีพตำแหน่งงานมั่นคง เจ็บป่วยมีเงินรักษา มีสวัสดิการในหน่วยงาน มีเงินซื้อบ้าน รถยนต์ สิ่งอำนวยความสะดวกและความบันเทิงทุกชนิด มีแหล่งเงินกู้ในระบบมากมายให้เลือก ไม่มีปัญหายาเสพติดใกล้บ้าน ไม่ต้องกลัวอิทธิพลอำนาจเถื่อน เจ้าหน้าที่รัฐไม่มายุ่งเกี่ยวรังแก ไม่ต้องพึ่งพานักการเมือง ผลก็คือ ชนชั้นกลางในเมืองนั่นแหละที่มักไม่สนใจการเลือกตั้งและประชาธิปไตย กระทั่งรังเกียจการเลือกตั้งและนักการเมืองว่า “ทุจริต”

ในยามที่มีการเลือกตั้ง ประชาชนชั้นล่างก็จะเลือกนักการเมืองเหล่านี้เข้าไปในสภาและรัฐบาลซึ่งมักจะมีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ประชาชนชั้นล่างก็จะถูกกล่าวหาจากปัญญาชนในเมืองทุกครั้งว่า “เห็นแก่เงิน ขายสิทธิ์ขายเสียงให้นักการเมืองเข้ามาทุจริตทำลายชาติ” ทั้งที่สาเหตุรากฐานที่แท้จริงคือการผูกขาดอำนาจรัฐโดยกลุ่มจารีตนิยม-ราชการที่รวมศูนย์โภคทรัพย์ความร่ำรวยและความสะดวกสบายทุกชนิดเอาไว้ที่พวกตนกลุ่มเล็ก ๆ ในเมืองหลวง โดยมีชนชั้นกลางในเมืองได้รับเศษผลประโยชน์ ไม่แบ่งปันทรัพยากรความมั่งคั่งไปสู่ประชาชนชั้นล่าง ไม่พัฒนาบริการของรัฐให้ทั่วถึงเป็นธรรม ทั้งระบบราชการที่ทุจริต ข้าราชการสมคบกับกลุ่มทุนเก่าและกลุ่มทุนภูธร ทั้งหมดนี้กดทับอยู่บนความทุกข์ยากของประชาชนชั้นล่างทั่วประเทศตลอดมา

ชนชั้นล่างเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญเมื่อรัฐธรรมนูญปี 2540 ทำให้มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่เข้มแข็ง ชนะเลือกตั้งเข้ามาสู่รัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลที่เข้มแข็ง สามารถดำเนินนโยบายที่มีทิศทางเป็นเอกภาพได้ พวกเขาเลือกพรรคไทยรักไทยเข้าสู่สภาและเป็นแกนกลางของรัฐบาลในต้นปี 2544 เพราะว่านักการเมืองท้องถิ่นจำนวนมากที่พวกเขาผูกพันอยู่ได้ย้ายเข้าพรรคไทยรักไทย อีกทั้งพวกเขาต้องการทดสอบพรรคไทยรักไทยซึ่งหาเสียงเลือกตั้งด้วยนโยบายประชานิยมว่า จะนำประโยชน์ดังกล่าวมาให้พวกเขาได้จริงหรือไม่




 

Create Date : 10 มกราคม 2550    
Last Update : 10 มกราคม 2550 15:17:10 น.
Counter : 473 Pageviews.  

วิเคราะห์มาตรการปล้นฝรั่งของคณะปฏิวัติ

วิเคราะห์มาตรการ “ปล้นฝรั่ง”


บังคุบขายแล้วไล่ฝรั่งกลับบ้าน สนองกระแส ไม่ขายชาติ

มันมาอย่างกับ “จรวด” มาตรการต่างๆของทักษิณที่จะเอาไทยไปแข่งขันบนเวทีโลก จนคนบ่นกันตรึมเมือง รวมถึงผม ว่ามัน “เร็วไป” และพื้นฐานของสังคมธุรกิจไทย มันจะรับไม่ได้ จนมันจะเกิดรอยร้าวในสังคมไทย แล้วมันก็มาเร็วอย่างกับ “จรวด” เช่นเดียวกัน มาตรการยึดทรัพย์ฝรั่งและไล่ฝรั่งกลับบ้าน ที่ฝรั่งมาลงทุนในไทยกันเป็นร้อยปีแล้ว ไม่ต้องอ้อมค้อม นี่มันคือมาตรการ Nationalisation ธุรกิจต่างชาติเราดีๆนี่เอง เรากำลังบังคับเขาให้ขายธุรกิจ ให้เราคนไทย ในเวลาอันจำกัด มันปล้น ฝรั่งเราดีๆนี่เอง มันอาจจะเป็นกระแสมุมกลับ ที่ออกมาตอบโจทย์ “ไม่เอาทักษิณ ทักษิณขายชาติมากไป” หรือมันอาจจะเป็นกระแสมาจาก “ความพอเพียงและยืนบนขาตัวเอง” ที่ความพอเพียงนั้นก็มาจากรากฐานของกระแสไม่เอา โตเร็วจน “เสี่ยงล้ม” มากไป และไม่เอาไอเอมเอฟอีกที แต่จะอะไรก็ตาม มันก็มีพื้นฐานจริงๆมาจาก สิ่งที่เกิดขึ้นหลัง Washington Consensus ถูกนำมาใช้พัฒนาโลกที่สามอย่างแพร่หลาย คือทั้งหมดที่กล่าวมา มันก็มีรากอยู่กับเจ้าตัว วอชิงตั้น คอนเซนซัส นี้เอง


วอชิงตัน คอนเซนซัส ความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ฉะนั้นก็ขอวิเคราะห์ วอชิงตั้น คอนเซ็นซัส ก่อนก็แล้วกัน แล้วค่อยมามองกันต่อ ถึงอนาคตไทย วอชิงตัน คอนเซนซัสนั้น บอกให้โลกที่สามและที่กำลังพัฒนา “เปิดตัวเองให้แก่ทุนและอุตสาหกรรมต่างชาติ” จุดอ่อนของวอชิงตั้น นั้นมีมากมาย เช่นแรงงานในประเทศกำลังพัฒนา กลายเป็นเพียงปัจจัยการผลิต พูดง่ายๆก็คือ “ทาสแรงงาน” นั่นเอง ไม่ได้ให้มูลค่าอะไรมากมายเลยในการผลิต ว่ากันว่ายิ่งโตยิ่งมีโรงงานมากยิ่งพัฒนาไปทางนี้มากขึ้น ยิ่ง “ไม่เจริญ” ก่อปัญหาสังคมมากมายเช่นคนหนุ่มสาวทิ้งครอบครัวเข้าโรงงานกัน แต่ในอีกแง่หนึ่ง ก็มีคนพูดว่า เมื่อสักยี่สิบปีที่แล้ว คนระดับกลางในไทยนะ “ไม่มีเลย” มาวันนี้คนระดับกลางเหยียบสิบล้านเข้าไปแล้ว ก็ไม่ใช่เพราะการพัฒนามาทางนี้นะหรือ คือแน่นอนมองแค่คนในโรงงาน ภาพมัน “ไม่ไหวเลย” แต่ถ้ามองภาพรวม พื้นฐานทางอุตสาหกรรมและทุนนอกที่เข้ามา มันส่งผลกระทบไปทั่ว นอกโรงงาน คือมันพัฒนากันมามากแล้วนะ จากพื้นฐานของการมีโรงงานทาสแบบนั้นเต็มไปหมด



ความชั่วร้ายและความอ่อนแอ

แต่ประเด็นที่สำคัญ คือมันมีสิ่งชั่วร้ายจริงๆแฝงอยู่ในวอชิงตัน คอนเซนซัส คือมันมีองค์กรระหว่างประเทศ ที่เป็นผู้นำทุกครั้งในการโจมตีประเทศที่มีจุดอ่อนให้เห็น คือเราด่า โซรอสกัน แต่จริงๆมัน “บัดซบ” กว่านั้นมาก คือไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ถึงขนาดองค์กรนี้ จะออกบทวิจัยเท็จ มาใช้เพื่อโจมตีคนอ่อนแอ ปัญหามันคือ แล้วใครปล่อยให้ไทยอ่อนแอหละ “ถ้าไม่ใช่คนไทยด้วยกันเอง” คือถ้าเรามั่นคง ใครจะมาโจมตีเราได้ หรือปัญหาทางการค้าที่มันจะเกิดขึ้นมากมาย เพราะเราไปไล่เขาออกจากไทย แล้วการท่องเที่ยวที่พึ่งฝรั่ง “ที่รักเรา” อีก



ราคาของ มาตรการ ไม่ขายชาติ แต่ปล้นฝรั่งแทย

ผมจะไม่แตะมากนักนะครับ ถึงผลกระทบต่อการได้โบนัส เงินเดือนขึ้น หรือเงินค่าแรงงานขั้นต่ำ หรือคนหนุ่มสาวที่ต้องการมีสิ่งแบบบ้าน รถ และ อีกสารพัด จะต้องเลิกล้มความคิดไปกันกี่คน ที่ทุกอย่างมันจะชะลอตัวเพราะเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงอย่างมาก จากนโยบายไล่ฝรั่งกลับบ้าน และผมจะไม่พูดถึงมากนะครับว่าไทยตอนนี้นั้น ปัญหาจริงๆมันคือ “มั่นคงเกินไป” ฉะนั้นจะเอาพอเพียงมาสร้างความ “ไม่เสี่ยงอะไร” ขึ้นไปอีกเพื่ออะไร ในระบบใหญ่นะครับ แต่ในระบบเล็กๆแล้ว ระดับตัวบุคคล ผลก็เห็นด้วยที่ใช้จ่ายพอตัว ก็มีส่วนดีนะครับ หรือในระยะยาว ฝรั่งหนีไทยหมด มันจะวกมาสร้างความ “ไม่มั่นคงได้มากขนาดไหน” เวลาเท่านั้นที่สิ่งนี้จะเกิดขึ้น แต่อยากจะพูดในประเด็นหลักจริงๆ คือคนไทยพร้อม “ไม่พึ่งไม่ร่วมมือกับฝรั่งหรือยัง”



คนไทยพร้อมยืนบนขาตัวเองหรือไม่

ก็หมายความว่า คระปฏิวัติ เลือกให้เราคนไทยหัด “ยืนอยู่บนขาตัวเอง ชนิดไม่เอาฝรั่งแล้ว” คือราคาของมาตรการนี้ คือมันมีมากมายนักอย่างที่ผมกล่าวถึงไปแล้ว แล้วสิ่งที่เราจะได้มาหละมันคืออะไร คือผลดี ของการ “ยึดทรัพย์ฝรั่งแล้วไล่เขากลับบ้าน” มันคืออะไร คือมันต้องมีดีบ้างสิ ไม่อย่างนั้น คณะปฏิวัติอันชาญฉลาดจะออกมาตรการนี้มาเพื่ออะไร คือมันเหมือนกับการหยุดนาฬิกาไว้ หยุดการแข่งขันไปข้างหน้า ปิดประเทศ ต่อทุนโลกและการลงทุนโลก ที่ทำให้คนไทยที่ก็รู้ๆกันว่า ค่อนข้างจะไม่สนใจการทำงานหนักอย่างมุ่งมั่นเท่าไหร่ ยิ่ง “เฉื่อย” เข้าไปอีก


ประเด็นในการตัดสินใจครั้งสุดท้าย จริงๆแล้ว มันก็คือคนไทยพร้อมหรือยังที่จะ “พัฒนาประเทศด้วยตัวเอง” คนกล้าตอบคำถามนี้มีไม่มากหลอกครับ เพราะจะถูกด่ายับ แต่ถ้าเราแยกเศรษฐกิจการเมืองออกจากกัน เราก็พอเห็นถึงความแตกแยกของคนไทย ในกระบวนการพัฒนาการเมืองไปแล้วนะครับ ที่ก็ยังไม่จบวันนี้ และก็ระเบิตกันไปเป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว ส่วนภาคธุรกิจ เราพร้อมขับเครื่อนตัวเองไปข้างหน้าหรือยัง มันก็น่าคิดนะครับ คือ “เงาตามตัว” คนไม่เดินไปข้างหน้า มันก็คือการตกงาน และความจนนะครับ “เงาตามตัวของระบบที่เดินไปข้างหน้า” คือมีงานทำ และความอยู่ดีกินดี ผมรู้นะครับว่าคณะะปฏิวัติกำลังคิดอะไรอยู่ แต่มันเป็นไปไม่ได้หลอกครับ ที่คนตกงานเป็นล้านเป็นแสน จะหันกลับเข้าสู่ระบบเกษตรพอเพียง เพื่อเลี้ยงชีวิต คือเกษตรพอเพียง เลี้ยงคนตกงานมากมายไม่ได้หลอกครับ ที่ดินว่างมันไม่พอครับ ระบบเศรษฐกิจจะเดินไปข้างหน้าได้หรือไม่ ด้วยมือนักธุรกิจคนไทยล้วนๆ มันก็เป็นไปได้นะครับ คณะปฏิวัติคงบอกว่าคนไทยทำได้ แต่ลองมองไปทั่วโลกสิครับ ว่าระบบ”ปิด” และจำกัด แบบที่ท่านวาดไว้ มันออกมาเป็นอย่างไร และระบบที่เปิดให้ทุนนอก ค้าขายและแข่งขันกับโลก ในที่สุดมันเป็นอย่างไร



วัฒนธรรมไทยจะรุ่งเรือง แต่องค์ความรู้รวมจะตกต่ำ

แต่สิ่งที่ผมกังวลที่สุด คือในขณะที่องค์ความรู้ของโลกมันพัฒนาไปข้างหน้า ด้วยการค้าขายและร่วมมือและการลงทุนระหว่างประเทศ องค์ความรู้ของสังคมไทยจะเป็นอย่างไร เมื่อเราหันหลังให้โลก ไล่เขากลับบ้าน ยึดทรัพย์สินเขา ก็แน่นอนว่าวัฒนธรรมไทย คงจะกลับมารุ่งอีกที กระแสวัฒนธรรมโลกคงจะกระทบไทยน้อยลง แต่ลองมองไปรอบตัวท่านเองดูสิครับ ว่าสิ่งต่างๆที่พัฒนามาจากต่างประเทศ มันทำให้ชีวิตเราก็ดีขึ้นด้วยนะครับ คือเราด่าแต่เด็กๆใส่สายเดี่ยว และเวปโป้ มันมาจากฝรั่งทั้งนั้น แต่อย่างอื่นหละครับ องค์ความรู้เราก็พัฒนากันขึ้นมากแล้วนะครับ ในหลวงท่านส่งคนไทยไปเรียนต่างประเทศทุกปี เพราะอะไรหละครับ ไม่รู้กี่รัชการต่อกี่รัชการ รีบพัฒนาเมืองไทยให้ทันสมัยอย่างอารียประเทศ เพราะอะไรหละครับ ไม่รู้กี่รัชการต่อกี่รัชการ ในราชวงไทยไม่รู้ต่อกี่ราชวง สนับสนุนการค้าเสรีและการเปิดประเทศให้ค้าขายกับต่างประเทศ ก็เพื่ออะไรหละครับ ทั้งหมดก็เพื่อให้คนไทยและ เมื่องไทย “เจริญขึ้น มีความรู้ความสามารถ เท่าเทียมต่างชาติ” นะครับ


ภายใต้ แนวความคิดที่ไปทาง วอชิงตัน คอนเซนซัส ทั้งหลาย เราเจริญขึ้นจริงหรือไม่


ผมก็ผู้ใหญ่พอที่จะสรุปว่า ขอให้ท่านผู้อ่านสรุปกันเอาเองก็แล้วกัน ถ้าท่านคิดว่าที่ผ่านมาก็เจริญขึ้น ท่านก็สมควรต่อว่าคณะปฏิวัติ ที่มาอัดฝรั่งยับ เพราะเขาเป็นส่วนสำคัญ ที่เรามาถึงจุดนี้ได้ แต่ถ้าท่านคิดว่าที่ผ่านมา ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย ฝรั่งเป็นตัวปัญหา และสมควรหาทางอื่น เช่นการหักดิบฝรั่งมายืนบนขาตัวเอง ท่านก็ควรจะสนับสนุนคณะปฏิวัติ


แต่คนรวยคิดหนัก ที่รวมหัวกันไม่เอาทักษิณ “แตกเป็นเสี่ยงๆ”

บางวงการแบบก่อสร้าง ชอบมากที่ฝรั่งจะไม่เข้ามาแข่งขันด้วย ภายใต้ เอฟทีเอ ของทักษิณ แต่วงการเงินและทุน “มึนตืบ” ภายใต้มาตรการไม่เอาทุนฝรั่ง เพราะการหมุนเวียนของเงินจะชะลอตัวลง จนรายได้ชะลอตัวไปด้วย ถึงแม้ว่าในระยะแรก คนไทยจะต้องไปกู้เงินมาซื้อกิจการจากฝรั่ง สัดส่วนหนี้ของธุรกิจไทย และหนี้ส่วนตัวจะสูงขึ้น ส่วนที่ดิน กระแสฝรั่งซื้อคอนโด หาย และคนระดับกลางซื้อบ้าน หาย จะวูบจนที่ดินวูบไปด้วย ตรงนี้จะกระทบ “ผู้ดีเก่า” ชนิด เลือดขึ้นหน้า ธนาคารชาติจะมึนตืบไปด้วยเพราะฝรั่งจะโยกเงินออกนอกประเทศ จากการต้องขายกิจการให้คนไทย จนเงินสำรองหด สรุปคือการเปลี่ยนแปลง ทางพื้นฐานเศรษฐกิจไทยครั้งใหญ่กำลังเกิดขึ้น และจะกระทบต่อ การเมือง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากคุณ : ทันคนทันข่าว - [ 9 ม.ค. 50 21:13:39 A:203.209.117.138 X: ]




 

Create Date : 10 มกราคม 2550    
Last Update : 10 มกราคม 2550 15:23:10 น.
Counter : 658 Pageviews.  

เมื่อ‘ความดี’และ‘คนดี’ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง

คุยกับนักปรัชญา: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดยพิณผกา งามสม

“ทำอย่างงี๊ เลวไม่เลว พ่อแม่พี่น้อง”…..ประโยคคุ้นๆ ที่คุณอาจจะคุ้นเคยมาจากช่วงต้นปี เมื่อกระบวนการขับไล่ทักษิณ ชินวัตร เริ่มก่อตัวขึ้น
วาทกรรมความเป็นคนเลวของทักษิณนั้นถูกขยายและตอกย้ำจนกระทั่งกระตุกต่อมศีลธรรม­ของผู้ติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิดให้ปริออกเป็นการแสดงพลังบนท้องถนนอย่างยืดเยื้อยาวนาน


ภายหลังข้อมูลที่ถูกตีแผ่บนเวทีที่เรียกตนเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประโยคคำถามที่ทรงพลังในการสะกิดศีลธรรมประจำตัวของผู้เข้าร่วมการชุมนุมอย่างรุนแรงคงหนีไม่พ้น เลวไม่เลว? และแน่นอน คำตอบที่ได้จากคนหมู่มากที่ชุมนุมอยู่ ณ สถานที่แห่งเดียวกัน คำตอบนั้น คือ....เลววว


ในห้วงเวลานั้น ‘ประชาไท’ เคยสัมภาษณ์นักเขียนรุ่นใหญ่ผู้หนึ่งเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการที่ตั้งคำถามเชิงศีลธรรมเช่นนั้นของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และได้คำถามมุมกลับอันสำคัญประการหนึ่งคือ “ไม่เอาทักษิณ เอาพระเจ้าไหมล่ะ”
แต่เพื่อปกป้องความสงบแก่จิตวิญาณของผู้ให้สัมภาษณ์ ประชาไทจำต้องตัดคำถามดังกล่าวทิ้งไป เนื่องด้วยคาดหมายได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นภายใต้กระแสแห่งการขับไล่ทักษิณ ชินวัตร ขณะนั้น

ทว่า ภายหลังการรัฐประหารที่เฉดหัวผู้นำที่มีมาตรฐานทางศีลธรรมต่ำคนหนึ่งของเมืองไทยออกไปได้สำเร็จ แม้ประเทศไทยจะได้นายกรัฐมนตรีทีได้รับการการันตีว่าดีจริงจากผู้ที่สังคมไทยยกย่องว่าเป็นคนดี แต่การณ์ปรากฏว่า นักวิชาการและนักศึกษาจำนวนมาก (ที่ยังคงเป็นเสียงส่วนน้อยอยู่) กลับดาหน้าออกมาตั้งคำถามกับกระบวนการที่ประเทศไทยถีบนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งออกไป และได้นายกรัฐมนตรีทีมาจากการการรัฐประหารแทน

มาตรฐานทางศีลธรรมของนักวิชาการและนักศึกษาพวกนี้ต่ำต้อยเกินไปหรือไร จึงไม่อาจยอมรับผู้นำที่เป็นคนดี หรือว่าคนเหล่านี้ขาดความเชื่อมั่นในศีลธรรมของผู้ปกครอง หรือระดับทางศีลธรรมของสังคมไทยยังไม่สูงส่งพอที่จะสนับสนุนให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองอย่างปราศจากข้อกังขา

‘ประชาไท’ ไปนั่งคุยกับ ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ นักวิชาการด้านปรัชญาแห่งคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งพยายามจะบอกว่า การกล่าวหาผู้นำในระบอบประชาธิปไตยด้วยข้อหาเรื่องระดับความดี-เลวนั้น คือการเล่นหมากคนละกระดาน เพราะที่สุดแล้วความดีกับระบอบประชาธิปไตยมันไม่ใช่เรื่องเดียวกัน และขอโทษ....การประนามคนอื่นว่าเลวนั้นไม่ได้แสดงถึงระดับศีลธรรมที่สูงจัดของผู้กล่าวประณามแต่อย่างใด


0 0 0

หลักการแบบธรรมราชา ที่สังคมไทยเชื่อมั่นยึดถืออยู่ไปกันได้กับการเมืองในยุคโลกาภิวัตน์หรือไม่ ผมคิดว่ามีการประดิษฐ์สร้างขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของความดี คนดี คนมีศีลธรรม เพื่อเป็นวาทกรรมที่โต้ตอบกับความรู้ความสามารถหรือความเข้าใจของตัวผู้นำ หรือบทบาทของผู้นำในเวทีการเมืองระบอบประชาธิปไตย

แล้วความสำเร็จของการใช้คอนเซ็ปท์เรื่องคุณธรรมความดีต่างๆ เหล่านี้มันสัมฤทธิ์ผลเมื่อการเมืองไทยยังตกอยู่ในโลกทัศน์ของการแบ่งแยก ดี-ชั่ว, ขาว-ดำ, เทพ-มาร และนี่คือปัญหาใหญ่ของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน ซึ่งด้านหนึ่งการกระทำเช่นนั้นเป็นรูปแบบประชาธิปไตยในเชิง Substantive Democracy คือเชื่อว่ามีแก่นแท้บางอย่างที่รองรับกับเนื้อหาประชาธิปไตยโดยเฉพาะประเด็นเรื่องจริยศาสตร์ ที่มาตอบรับกับบทบาทของผู้นำทางการเมืองและรูปแบบของสังคมการเมืองที่เราเห็น

ปัญหาทั้งหมดสำหรับผม ก็คือการเมืองแบบนี้มันไม่เวิร์ก และขณะเดียวกันเราตกอยู่ในกับดักของการฉ้อฉลต่อความเข้าใจต่อเนื้อหาความดี ศีลธรรม และจริยศาสตร์

ประเด็นที่คุณตั้งโจทย์ให้ผมก็คือว่า เวลาที่เราพูดถึงเนื้อหาทางการเมือง ผมคิดว่าปัญหาสำคัญที่สุดทางการเมืองมันไมได้อยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมความดีเพียงอย่างเดียว ปัญหาทางการเมืองคือการพูดถึงเรื่องความยุติธรรมทางสังคม รูปแบบการปกครอง บทบาทของผู้นำและผู้ถูกปกครองและกลุ่มก้อนต่างๆ ที่อยู่ในชุมชนทางการเมืองนั้นๆ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ การกำหนดทิศทางของสังคม

แต่ที่ผ่านมาการเมืองไทยมันไม่ได้เป็นการเมืองในเชิงที่เราสามารถกำหนดทิศทางของสังคมได้ การเมืองไทยเป็นการเมืองของชนชั้นนำและโครงสร้างอำนาจนิยมในสังคมไทยมันผลักดันในคนทุกส่วนวิ่งเข้าไปหาศูนย์กลางของอำนาจทางการเมือง

ปัญหาที่เกิดขึ้นมันไม่ได้มีการจัดการในเชิงผลประโยชน์ของสังคมและกำหนดทิศทางให้สังคม คนในสังคมไม่ได้มีสิทธิ์เลือกทิศทางที่ตัวเองต้องการ แต่ถูกกำหนดมาบน Power Play ของการเมืองของผู้นำ ถ้าคุณเข้าไปอยู่ในวงจรของการเป็นชนชั้นนำ คุณก็มีบทบาทต่างๆ มากมาย แต่ขณะเดียวกันคุณก็ไม่ได้นำเสนอทิศทางรูปแบบการเมือง โดยเฉพาะทิศทางของนโยบายที่มีประโยชน์ต่อสังคม
ผมคิดว่าการเมืองไทยในช่วงสมัยอดีตนายกฯทักษิณ ได้สร้างวัฒนธรรมการเมืองใหม่ หรือเปลี่ยนทัศนคติคนไทยต่อการเมืองจำนวนหนึ่งคือการพูดถึงนโยบายเป็นที่ตั้ง

โอเค นโยบายดีหรือไม่ดี มีผลประโยชน์ทับซ้อนมีปัญหาอะไรต่างๆ เรารู้กันและเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข แต่อย่างน้อยที่สุดสาระสำคัญพื้นฐาน คือการพูดถึงนโยบายทางสังคม นั่นคือเนื้อหาที่ผมมองว่ามีความสำคัญและความสำคัญตรงนี้อาจจะช่วยให้หลุดจากบ่­วงกรรมของโลกทัศน์ขาวดำ โลกทัศน์ความดีความชั่วของการเมืองไทย

คือพูดอีกอย่างหนึ่ง การเมืองไทยควรจะพัฒนาไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Deliberative Democracy หมายถึงมีกระบวนการต่างๆ
ภายในระบบการเมืองซึ่งเอื้อให้เกิดประโยชน์โดยรวมแก่สังคม และขณะเดียวกันก็มีกระบวนการต่างๆ สามารถที่จะได้รับการตรวจสอบ ซักถามและมีบทบาทกับชีวิตจริงของคนในสังคมมากขึ้น เช่นเวลาที่เราพูดถึงตัวเรา เราก็อาจจะพูดถึงปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพในฐานะที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่คุณสามารถแสดงออก เราอาจจะพูดถึงกระบวนการจัดการ การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ ความโปร่งใสของขั้นตอนต่างๆ ของผู้บริหารประเทศ บทบาทสื่อที่จะนำความจริงมาเผยแพร่ หรือเราอาจจะพูดถึงทัศนคติที่จะแลกเปลี่ยน นี่คือสังคมของการตรวจสอบผ่านกระบวนการต่างๆ ที่ได้รับการพิจารณาเป็นอย่างดี โดยที่ทุกคนมีสิทธิที่จะมีบทบาทเข้าไปแสดงความคิดเห็น ใช้สิทธิเสรีภาพพื้นฐานและรวมทั้งการกำหนดเป็นนโยบาย และพร้อมๆ
กันนั้นได้รับการตรวจสอบด้วย
ผมเชื่อในสิ่งที่ จอร์จ ออเวล พูดว่า Power Corrupt, Absolute Power Corrupt Absolutely. หมายถึงว่าอำนาจนั้นนำไปสู่ความฉ้อฉล อำนาจสูงสุดย่อมนำไปสู่การฉ้อฉลที่ยิ่งใหญ่

ปัญหาของการเมืองมันไม่ใช่ปัญหาของการมีผู้นำที่ดี หรือผู้มีคุณธรรมหรือการที่มีใครบางคนที่มีอิทธิพลทางการเมืองขณะนี้บอกว่านายกฯคนนี้เป็นคนดีและทุกคนเชื่อว่าเป็นคนดี...นี่ไม่ใช่กระบวนการประชาธิปไตย นี่ไม่ใช่โลกการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย การที่คุณบอกว่าคนๆหนึ่งเป็นคนดีแล้วจบ คือเป็นคนดีแล้วคุณต้องดีตาม...มันไม่ใช่

สาระของกิจกรรมการเมืองมันไม่ใช่เรื่องเอาคนดีมาปกครองประเทศ แต่คือการตรวจสอบดุลอำนาจ การ Check and Balance อำนาจทางการเมืองต่างหาก และนั่นคือเงื่อนไขสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยทำงานได้

ปัญหาเรื่องคุณธรรมความดี มันเป็นปัญหาทางจริยศาสตร์ ซึ่งเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียกว่า Conduct of Life ที่แต่ละคน Conduct ชีวิตตัวเองอย่างไรบนพื้นฐานของคุณธรรมความดี รู้เป้าหมายของการมีชีวิตอยู่

ในขณะที่ศีลธรรมนั้น ก็คือกฎเกณฑ์ข้อบังคับหรือแนวทางในการปฏิบัติคือสิ่งที่เราเรียกว่า Moral Law

ส่วนจริยศาสตร์เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานส่วนตัวบุคคลมากกว่าที่จะเป็นปัญหาของสังคม เพราะเนื้อหาของสังคมนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดเวลาที่คนอยู่ร่วมกันก็คือเรื่องความยุติธรรม แน่นอนว่าความยุติธรรมไม่ได้แยกขาดจากเรื่องของคุณธรรมความดี แต่ว่าสาระของความยุติธรรมมันขยายขอบเขตมากกว่าปัญหาของบุคคล ความยุติธรรมเป็นปัญหาของสังคมทั้งสังคมร่วมกันซึ่งคนจะแสดงสิทธิเสรีภาพอย่างไรในการที่จะอยู่ร่วมกัน นี่คือปัญหาพื้นฐาน เป็นปัญหารากฐานของปรัชญาการเมือง

ปรัชญาการเมืองเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างคนกับชุมชนทางการเมือง ซึ่งจะวางคำตอบให้กับความยุติธรรมอย่างไร
งานในเพลโต The Republic ตอบได้ชัด เพลโตเริ่มตั้งคำถามว่า ความยุติธรรมคืออะไร และเราจะมีรูปแบบทางการเมืองอย่างไรที่จะรักษาความยุติธรรมนั้นให้ดำรงอยู่ในสังคม หมายความว่าคนทั้งสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
แต่ทำไมประเด็นคุณธรรมความดีจึงไปกันได้กับสังคมการเมืองไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประธานองคมนตรีออกมารับรองว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นคนดีแล้วทุกอย่างจบ

อย่างที่ผมบอกตั้งแต่ต้นว่า สังคมไทยนั้นอยู่บนโลกทัศน์ของการเมืองขาวดำ การเมืองแห่งความดีความเลว ผมไม่อยากใช้คำว่าความดีกับความชั่วในฐานะGood กับ Bad คือในโลกความเป็นจริง เทววิทยาของความคิดนั้นคนเราหลุดไม่พ้นจากโลกทัศน์เรื่องความดีความชั่ว
แต่ผมใช้คำว่าความดีกับความเลว ในความหมายของ Good กับ Evil เวลาเราพูดถึงความดีความเลวนั้นเราพูดในแง่ของการตัดสินคุณค่าทางคุณธรรม
ในการเมืองนั้นโลกทัศน์ที่อยู่พื้นฐานของความดีความเลวมีนัยยะของ Moral Judgment คือการตัดสินคุณค่าในเชิงศีลธรรม

มันมาจากไหน ทำไมสังคมไทยจึงอยู่กับความดี-เลว ขาว-ดำ

มันมาจากพื้นที่ฐานที่คุณเลือกยืนอยู่บนความดี คือการที่คุณอ้างตัวเองว่าเป็นคนดี คุณสามารถบอกว่าคนเลวเป็นอย่างไรชัยชนะอันหนึ่งของการเมืองในเชิงของจารีตประเพณีคือชัยชนะที่คุณวางสถานะของตัวเองบนจุดยืนของความดี
ดังนั้นเมื่อคุณใช้จุดยืนของความดี คุณบ่งบอกว่าอะไรที่ไม่ดีก็คือสิ่งที่เลวอย่างชัดเจน แล้วมันมีรูปธรรมที่ชัดเจนมาตลอดในสังคมไทยก็คือ ปัญหาเรื่องการคอร์รัปชั่น ปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ปัญหาเรื่องของการแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลหรือการไม่กระทำตามกติกาของสังคม

แล้วคนที่ออกมาต่อต้านทักษิณก็ออกมาเรียกร้อง แล้วเป็นข้อเรียกร้องที่ง่ายต่อการยอมรับจากสังคม แต่ไม่ได้มองทะลุผ่านไปถึงว่าไอ้ขั้นตอนเหล่านี้ เราจะไปตรวจสอบอย่างไร คือไม่ได้ให้กระบวนการประชาธิปไตยทำงาน

ตอนนี้เรากำลังพูดถึงระบอบหรือระบบทั้งระบบ เวลาเราพูดถึงปัญหานี้ มันไม่ใช่ปัญหาเฉพาะตัวบุคคล แต่มันคือปัญหาของระบอบที่จะต้องสร้างรากฐานให้การตรวจสอบนั้นทำงานได้

ผมไม่เชื่อว่าคนดีและคนเลวจะมีความแตกต่างกันเมื่อคุณเข้าไปอยู่ในวังวนแห่งอำนาจ เพราะอย่างที่ผมบอกแล้วอำนาจมันฉ้อฉล การฉ้อฉลของอำนาจก็คือการที่คุณไม่รู้ว่าในการตัดสินใจกระทำการอันใดอันหนึ่ง ผลมันคืออะไร เพราะคุณควบคุมผลที่ออกมาไม่ได้

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรื่องของเจตนาหรือความเป็นคนดีของคุณเพราะคุณธรรมของผู้ปกครองหรือคุณธรรมของผู้นำมันไม่ได้อยู่บนพื้นฐานว่าคุณเป็นคนดีหรือเป็นคนเลว แต่อยู่บนพื้นฐานที่คุณจะจัดการเหตุผลในการดำรงอยู่ของรัฐ หรือจัดการอย่างไรให้รักษาอำนาจและก่อประโยชน์สุขให้สังคมการเมืองได้ดีที่สุด

เมคคีเวลลีสอนไว้อย่างนั้นว่า เป้าหมายของผู้นำคือการรักษาอำนาจของตนเองและทำให้สังคมสงบสุข เพราะสังคมสงบสุขนั้นก็คือทุกอย่างอยู่ในความเป็นระเบียบเรียบร้อย ชีวิตทุกคนมีความสุขนั่นคือคุณธรรมของผู้ปกครองซึ่งแตกต่างจากคุณธรรมส่วนบุคคล

เวลานี้ การเมืองมันพัฒนาไปสู่การวางพื้นฐานหลักการทางสังคม ครรลองหรือกติกาจะเป็นตัวที่เข้ามากำกับหรือมาตรวจสอบกระบวนการต่างๆ ในทางการเมืองเอง

ผมคิดว่าพัฒนาการที่เกิดขึ้นก่อนรัฐประหารนั้น ระบบหรือครรลองประชาธิปไตยกำลังทำงานอยู่ สิ่งที่มันทำได้ดีที่สุดก็คือความเห็นที่แตกต่าง เพราะว่าบนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย การที่คุณมีสิทธิเสรีภาพเฉพาะส่วนบุคคล มันหมายถึงว่าคุณสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นของตัวเองและความเห็นของคุณกับผมก็ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกัน ไม่ต้องเห็นตรงกัน
ความแตกต่างคือสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

แต่ปัญหาที่สำคัญของความแตกต่างก็คือการยอมรับความแตกต่าง สังคมไทยไม่ยอมรับความแตกต่าง ผมคิดว่านี่คือปัญหาใหญ่ที่สุด และการไม่ยอมรับความแตกต่างทำให้กติกาหรือครรลองหรือหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยไม่ทำงานอย่างที่ควรจะเป็น และขณะเดียวกันคุณ Abuse ความแตกต่างด้วยเรื่องของความสมานฉันท์ ความสมานฉันท์ของสังคมไทยคือการสมานฉันท์บนพื้นฐานของความมั่นคงของรัฐซึ่งคุณไม่มีสิทธิที่จะเห็นต่าง

แต่ในทุกๆ รัฐก็ต้องพยายามหาจุดร่วมกันเพื่อให้ประชาชนมีความสำนึกเรื่องความเป็นชาติร่วม­กันไม่ใช่หรือ ก็ใช่
แต่ที่ผมพูดถึงเรื่องความแตกต่างนั้น ผมพูดบนพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพที่จะเห็นต่างตามสิทธิของสังคมประชาธิปไตยคือทุกคนต้องมีสิทธิที่จะเห็นต่าง แต่ในท้ายที่สุดแล้ว คุณต้องยอมรับความแตกต่างเช่น ผมไม่เห็นด้วยกับคุณ แต่ผมต้องเคารพทัศนะของคุณ

ทีนี้ความแตกต่างทางทัศนะทางการเมืองก็ถูกจัดการด้วยกระบวนการบางอย่าง เช่น การเลือกตั้งเป็นกระบวนการทางการเมืองประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง คือไม่ว่าคุณจะชอบคนนี้หรือไม่ชอบ แต่ถ้าคุณแพ้การเลือกตั้งคุณก็ต้องยอมรับโดยกติกาว่า
คนที่คุณสนับสนุนไม่ได้รับเลือก คนที่คุณไม่เห็นด้วย คุณไม่ชอบนโยบายของเขาได้รับเลือกเข้าไป คุณก็ต้องยอมรับ

ในท้ายที่สุดกติกาเป็นตัวกำหนด ถ้าพูดตรงๆ พรรคฝ่ายค้านหรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลทักษิณนั้น ประการหนึ่ง เขารู้ว่าเขาแพ้ในการเลือกตั้ง เพราะอะไร เพราะประชาธิปไตยมันCount(นับ)เสียงของคุณ เสียงของคนเดินถนน ฯลฯ ไม่ว่าคุณจะมีฐานะสูงศักดิ์อย่างไรก็ตาม แต่ก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน นั่นคือกติการ่วมกันในสังคมประชาธิปไตย แต่สังคมการเมืองไทยกลับมีการ discredit การนับเสียงแบบนี้

ในภาษาอังกฤษนั้น คำว่า Count (การนับ) กับ account (การให้ค่า) ถ้าคุณตัด ac ออก มัน interplay ระหว่างกันอยู่ ในการอภิปรายประเด็นประชาธิปไตยนั้น แน่นอนว่า count เสียง แต่อะไรบ้างที่คุณจะ take into account

แต่ประเด็นที่ผมจะชี้ก็คือ กติกาประชาธิปไตยมันมีอยู่ มันเซ็ตการยอมรับความแตกต่างให้เกิดขึ้นถ้ากติกาบอกว่าการเลือกตั้งคือตัวชี้วัดว่าคุณต้องยอมรับ คุณก็ต้องลงมาที่การเลือกตั้ง แล้วถ้าฝ่ายที่คุณสนับสนุนแพ้ คุณจะทำอะไร คุณก็ต้องตรวจสอบไป ก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์ไป

ปัญหาคือคุณต้องเคารพบุคคลที่ได้รับเลือกเข้ามาเพราะว่ามีคนเห็นต่างจากคุณเป็นจำนวนมาก และคนจำนวนมากเขาเลือกเพราะว่าเขาเห็นเขารู้ว่ามันมีผลดีอย่างไร ถ้าเขาเลือกคนๆ นี้

ตัวอย่างอันหนึ่งผมคิดว่ามันมีกรณีการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริการะหว่างหว่างกอร์ กับบุช ผมคิดว่าผมคิดว่าในช่วงก่อนการเลือกตั้งนั้นสังคมอเมริกาแยกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน เพราะว่าบุชชนะใน Electoral Vote ในขณะที่ กอร์ ชนะใน Popular Vote แล้วปัญหาเกิดที่ฟลอริดา ตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดี ในท้ายที่สุด ตุลาการชี้ว่าบุชชนะ ซึ่งเราก็ทราบปัญหาเรื่องนี้กันอยู่บ้างแล้ว ประเด็นก็คือว่าเมื่อบุชชนะ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า Final Decision มันเกิด ท้ายที่สุดสังคมก็ต้องยอมรับว่าบุชชนะ เป็นประธานาธิบดี

โอเค คุณไม่ชอบคุณก็มาถกเถียงเชิงนโยบาย ในการบริหารงานของบุช ก็ตรวจสอบไปสิ แน่นอนคนไม่เห็นด้วยกับสงครามอิรัก หรือ War against terrorism จำนวนมาก คนเหล่านี้ก็เป็นเสียงที่ดังในสังคม

แต่อาจารย์บอกว่าถ้าแพ้ก็ตรวจสอบไป ที่ผ่านมาฝ่ายพันธมิตรฯ ก็ตรวจสอบเหมือนกัน

สำหรับผม ผมคิดว่าที่ผ่านมาพันธมิตรฯ ไม่ได้ตรวจสอบ การตรวจสอบที่ดีคือการที่คุณตรวจสอบบนข้อมูลข่าวสารและพื้นฐานความรู้ที่ถูกต้อง สิ่งที่พันธมิตรฯ ทำ ผมคิดว่าเป็นการใส่ความมากกว่า คือผมฟังในสิ่งที่พันธมิตรปราศรัย ผมไม่สามารถหาแก่นสารข้อเท็จจริงและความรู้ทางการเมือง

สิ่งที่พันธมิตรทำคือการสร้าง Political Sentiment (อารมณ์ทางการเมือง) เป็นการเมืองของความดีความชั่ว คือพยายามจะบอกว่าทักษิณเลวอย่างไร แล้วก็โดยที่ทุกคนเข้าใจว่าสิ่งที่พันธมิตรทำ คือความถูกต้องและความดี โดยที่คุณให้ร้ายเหยื่อของคุณเอง เหยื่อของคุณก็คือรัฐบาลทักษิณ โดยที่คุณไม่ได้ให้ข้อมูลหรือความรู้แก่สังคมในเรื่องนั้นๆ คุณมีประเด็นมากมายที่คุณพูดถึง แต่ปัญหาคือเราไม่เคยเห็น Fact หรือข้อเท็จจริงในสิ่งเหล่านั้นว่ามันคืออะไร และสิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือคุณทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน คุณเป็นผู้พิพากษาของสังคมต่อรัฐบาลทักษิณผ่าน Sentiment คุณบอกว่าระบอบทักษิณมันเลว เป็นอะไรต่างๆ ผมคิดว่าทั้งหมดนี้เป็น Judgment ที่คุณให้

แล้วประเด็นหนึ่งที่พันธมิตรทำและเลวร้ายที่สุดก็คือ ทำให้คนไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่างปัญหาที่รัฐบาลทักษิณสร้างขึ้นและไม่สามารถตอบปัญหาเรื่องความโปร่งใส กับปัญหาของระบอบประชาธิปไตยเอง

ปัญหาของระบอบทักษิณคือปัญหาภายในระบอบประชาธิปไตยซึ่งทางแก้ก็คือทำให้กลไกเหล่านั้นทำงาน และผมคิดว่าในช่วงเวลาทีผ่านมาตลอดปีนี้ มีความพยายามปรับแก้เงื่อนไขต่างๆ ที่ทำให้กลไกเหล่านั้นได้ทำงาน ผมคิดว่ามันมีความพยายามจำนวนมาก ดีหรือไม่ดีก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่อย่างน้อยที่สุดมันเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้ต้องทำงาน แล้วกติกาของสังคม และความสงบเรียบร้อยของสังคมจะเกิดขึ้นได้ เมื่อกลไกประชาธิปไตยทำงานจริงๆ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ว่าในท้ายที่สุดมันไม่ได้เกิด ไม่ใช่แค่เพราะการรัฐประหารเท่านั้น แต่ผมคิดว่าสิ่งที่เลวร้ายพอๆ กับการรัฐประหารก็คือ Sentiment (การใช้อารมณ์) ของสังคมที่ทำให้การเมืองเป็นการเมืองขาวดำหรือการเมืองของดีเลว มันกำหนดการตัดสินทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัดโดยปราศจากความเข้าใจ ครรลองหรือกติกาพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย และขณะเดียวกันเนื้อหาของประชาธิปไตยถูก Abuse โดยสิ่งที่เรียกว่า Political Sentiment อย่างมาก

แล้วภูมิปัญญาไทยล่ะ เมื่อพูดเรื่องโครงสร้างที่มากำกับตรวจสอบผู้มีอำนาจในโครงสร้างแบบประชาธิปไตย แล้วทศพิธราชธรรมล่ะ ใช้ไม่ได้หรือ

ผมคิดว่ามันคนละเรื่องกันผมคิดว่าข้อถกเถียงของสังคมคือการซ้อนทับในสิ่งที่เป็นคนละเรื่องกันให้เป็นเรื่องเดียวกัน เช่น เวลาเราพูดถึงทศพิธราชธรรม เรานึกถึงผู้นำในระบอบเทวราชา เรากำลังพูดถึงอำนาจในสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ทศพิธราชธรรมเป็นเหมือนกับหลักการบางอย่างเพื่อควบคุมสติของผู้นำ แต่ประชาธิปไตยไม่ใช่

ระบบการควบคุมในระบอบประชาธิปไตย คือการควบคุมผ่านกระบวนการ check and balance การตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจ การ check and balance มันทำให้ขั้นตอนต่างๆ โปร่งใส คุณต้องตอบคำถามได้ เมื่อคุณทำอะไรลงไป คุณต้องตอบได้ว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นหรือทางออกทางแก้เป็นอย่างไร ก่อให้เกิดผลดีแก่ทุกคนอย่างไร

ผมคิดว่าเรากำลังพูดถึงเกณฑ์คนละมาตรฐาน และเป็นเกณฑ์ที่ไปด้วยกันไม่ได้ ปัญหาคือสังคมไทยพยายามจะสร้างในสิ่งที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งผมบอกได้ว่า ไม่มี ผมเห็นด้วยกับศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ก็คือเรามีอำนาจนิยมแบบไทยๆ คืออำนาจในรูปแบบของเจ้าขุนมูลนาย รูปแบบเจ้าขุนอุปถัมภ์ แต่เราไม่เคยมีประชาธิปไตยแบบไทยๆ อย่างแท้จริง สังคมไทยเป็นสังคมอำนาจนิยม

แต่ทศพิธราชธรรมเป็นสิ่งที่รองรับให้ประชาชนไทยยอมรับผู้นำในระดับหนึ่งก่อนด้วยความเชื่อมั่นว่าผู้นำจะมีคุณธรรมประจำตัว

ผมไม่เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น ผมเชื่อว่าทศพิธราชธรรมหรือกรณีพระราชอำนาจที่เกิดขึ้นในงานของคุณประมวล รุจนเสรี ก็คือการ Reinvent Tradition ที่มันตายไปแล้ว และคืนชีวิตมันบนความอิหลักอิเหลื่อที่อยู่ในกติกาของประชาธิปไตย และเคลือบมันดั้วยวาทศิลป์จำนวนมาก เช่นคุณอ้างประเพณี โบราณราชประเพณี ซึ่งโบราณราชประเพณีนั้น เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในสังคมสมบูรณาญาสิทธิ์ ไม่ใช่ในระบอบประชาธิปไตย ผมคิดว่าเรา- สังคมไทย สับสนมากระหว่างสิ่งที่เรียกว่าครรลองประชาธิปไตยกับจารีตในสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และคิดว่าทั้งสองนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน

สิ่งทีเกิดขึ้นก็คือ การเอาครรลองคนละชุดมาตรวจสอบอีกชุดหนึ่ง ผมคิดว่าเราเล่นกันคนละเกม เล่นคนละเกณฑ์ แล้วทำให้สังคมดูราวกับว่ามันเป็นเกมเดียวกัน

สิ่งที่เลวร้ายก็คือเกณฑ์หรือกติกาหรือครรลองประชาธิปไตยถูกทำให้เป็นสิ่งที่แย่ เป็นสิ่งที่ไม่ดี ในขณะที่อีกด้านเป็นสิ่งที่ดี และตรงนี้เป็นการง่ายที่จะพูดถึงเรื่องคุณธรรมความดีของผู้ปกครอง

แต่การยกเอาปัญหาเรื่องคุณธรรมเฉพาะตัวบุคคลขึ้นมาเป็นเป้าหมายในการโจมตีทางการเมืองในประเทศอื่นๆ เขาก็มี

มันก็มี แต่ในท้ายที่สุดแล้ว เขาตัดสินกันที่ศักยภาพและความสามารถในการทำงาน ในการปกครองและผลงาน ตัวอย่างอันหนึ่งที่ผมสามารถยกขึ้นมาได้ก็คือ กรณีของคลินตันกับลูวินสกี้ ผมคิดว่ามันเป็น Debate ในเชิงจริยศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับตัวผู้นำทางการเมือง และถูก Orchestra โดยสื่อและพรรคริพับลิกัน

แต่ในท้ายที่สุดแล้ว คลินตันก็ได้รับการยอมรับและรับรอง และที่เขาได้รับการยอมรับและรับรองไม่ใช่เพราะว่าทุกคนละเลยต่อปัญหาจริยศาสตร์หรือคุณธรรมความดี ทุกคนเขารับรองว่า นี่คือผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ผู้นำที่สร้างผลงาน แล้วกติกาตามครรลองประชาธิปไตยยอมรับสิ่งนี้

บางครั้งประเด็นเรื่องคุณธรรมความดีเป็นเรื่องส่วนบุคคลมาก อย่างกรณีคลินตันนั้น การที่มี Affaire กับคนอื่นเป็นปัญหาเฉพาะบุคคลซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือศักยภาพในทางการเมือง โอเค ประเด็นเรื่องลูวินสกี้คือรอยด่างของคลินตัน ทุกคนรู้ แต่ทุกคนก็นับถือและให้เกียรติคลินตันในผลงานที่เขาทำให้กับประเทศสหรัฐมาตลอดระยะเวลาแปดปี

กลับมาที่สังคมไทย ถ้าพูดในระนาบเดียวกันก็คือว่า เราจะวาง check and balance คือการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองอย่างไร ในฐานะพื้นฐานกติกาของระบอบประชาธิปไตยให้มีประสิทธิภาพ และเมื่อนั้น ไม่ว่าผู้นำคนนั้นจะดีหรือเลวอย่างไรก็ตาม เขาต้องได้รับการตรวจสอบ เราต้องการผู้นำที่มีความสามารถและมีศักยภาพในการบริหารประเทศ และสามารถขับเคลื่อนระบบทั้งระบบให้ทำงาน

ปัญหาของสังคมไทยไม่ได้อยู่ที่ปัญหาว่าดีหรือเลว แต่ปัญหาของสังคมไทยคือการมีผู้นำที่มีประสิทธิภาพหรือมีความสามารถที่จะกำหนดทิศทางของสังคมอย่างที่ทุกคนต้องการและสามารถที่จะพัฒนาให้ทัดเทียมกับชาติอื่นได้ ผมคิดว่าทุกวันนี้ในแง่ของการพัฒนาของเรานั้นเราล้าหลังชาติอื่นๆ ในระบอบประชาธิปไตยเราก็ล้าหลังตรงที่เราไม่วางครรลองของประชาธิปไตยให้เป็นพื้นฐานของสังคม

เราต้องแยกการเมืองดี-เลวหรือเทพ-มารให้ออก แล้วทำให้กติกาของประชาธิปไตยมันเกิดขึ้นบนพื้นฐานของนโยบายพื้นฐานของการตรวจสอบ และพื้นฐานที่คนในสังคมสามารถที่จะกำหนดทิศทางและเป้าหมายของสังคมได้ด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งอำนาจใดๆ ที่อยู่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ

การเมืองแบบแบ่งดี-เลวนั้น คุณไม่สามารถที่จะวางพื้นฐานครรลองประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง นี่คือจุดยืนของผม เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณมาตรวจสอบว่าคนนี้ดีหรือเลว ดีหรือเลวเป็นเงื่อนไขส่วนบุคคลที่คนเหล่านั้นมี แต่เงื่อนไขของสังคมประชาธิปไตยคือเงื่อนไขของประสิทธิภาพการทำงานและประสิทธิภาพในการนำพาสังคม

ประเด็นของผมคือไม่ใช่ปัญหาว่าต่อไปนี้จะมีคนเลวมาเป็นนักการเมือง ผมคิดว่าสังคมเรียนรู้ เราต้องให้ประสบการณ์กับสังคมประชาธิปไตยเรียนรู้ส่วนนี้ โอเค ความทรงจำของคน เราอาจจะบอกว่าคนไทยหรือสังคมไทยความทรงจำสั้น แต่ผมอยากจะบอกว่าทุกสังคมความทรงจำสั้นทั้งนั้น แต่ปัญหาคือ อะไรคือประสบการณ์ที่ทุกคนในสังคมมี

ความทรงจำกับประสบการณ์นั้นต่างกัน เราอาจจะจำไม่ได้ แต่เมื่อเผชิญกับสิ่งที่คุณประสบ คุณรับรู้ได้ หรือบ่มเพาะประสบการณ์อย่างสำคัญ

รัฐประหารครั้งนี้ จุดยืนของผมแน่นอนว่ามันไม่ชอบธรรม แต่สังคมได้ประสบการณ์อะไรหรือเปล่า ผมคิดว่าสังคมเริ่มจะได้ประสบการณ์จำนวนหนึ่ง แต่ประสบการณ์เหล่านี้ยังไม่ได้ชี้ชัดอย่างแน่นอน ยังตอบไม่ได้ว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นตามมา แต่ที่แน่ๆ คือความไม่มีประสิทธิภาพหรือความไม่ชัดเจนของการเมืองในรูปแบบรัฐราชการหรืออำมาตยาธิปไตย ความล่าช้าในกระบวนการจัดการ ส่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ถูกตั้งคำถามต่อไป

ต่อไปคำถามของสังคมจะไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณสุรยุทธ์เป็นคนดีหรือเปล่า แต่สังคมจะถามว่า รัฐบาลชุดนี้จะมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของประเทศหรือไม่ ตรงนี้แหละที่จะเป็นตัวชี้ชัดว่าในท้ายที่สุดแล้ว ในระบอบการปกครองที่ดี มันคือเรื่องประสิทธิภาพของการทำให้สังคมอยู่ดีกินดี มีความสงบสุข ผมคิดว่าเราถ้ามองในแง่ดี สังคมไทยกำลังเดินไปในทิศทางนั้น

ผมคิดว่าปีหน้าสังคมไทยจะเผชิญปัญหาจำนวนมากเมื่อน้ำแห้ง นี่แหละคือภาพที่เราจะเห็นว่าสังคมไทยจะเรียกร้องผู้นำที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถ เพราะฉะนั้น ถ้าสังคมไทยก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ผมเชื่อว่าแง่มุมของโลกทัศน์ขาวดำมันจะค่อยๆ หดหายไป

การมองการเมืองแบบขาวดำหรือโลกทัศน์ดีเลว ไม่สะท้อนว่าสังคมไทยมีระดับศีลธรรมสูงหรอกหรือ

ไม่ได้สะท้อนอะไรเลย ผมคิดว่าปัญหาศีลธรรมในสังคมไทยคือการมีข้อบังคับมากกว่าหลักปฏิบัติ มีข้อบังคับห้ามโน่นห้ามนี่ตลอดเวลา สิ่งที่น่าสนใจคือเวลาที่คนไทยสอนศีลธรรมหรือสอนเนื้อหาทางศาสนา คุณเน้นศีลมากกว่าธรรม เวลาที่คุณห้าม นั่นหมายความว่าอะไรที่ไม่ถูกห้าม คุณก็ทำไป คุณทำได้ ในขณะที่ธรรม ในความหมายของแนวทางปฏิบัติ กลับไม่ได้ถูกสอน ไม่ได้บ่มเพาะให้กับสังคม

ปัญหาของสังคมไทยอย่างหนึ่งที่ผมกระอักกระอ่วนมากที่สุด ก็คือว่าเมื่อคุณพบปัญหาใดปัญหาหนึ่งก็ออกกฎข้อบังคับ
สิ่งที่ตามมาคือ คนก็หาช่องว่างจากกฎข้อบังคับ ผมเชื่อว่าสังคมที่ดี หรือสังคมประชาธิปไตยนั้น Rule of Law หรือหลักนิติรัฐมีความสำคัญ แต่ Rule of law มันสร้างแนวทางในการปฏิบัติหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมให้มีความสงบสุขอย่างไรต่างหาก

เมื่อสังคมไทย Abuse rule of law มอง Law ในแง่ของการบังคับใช้ ข้อห้าม ตัวอย่างที่เห็นชัดอย่างหนึ่งก็คือกรณีการแต่งกายชุดนักศึกษา ถ้าว่านักศึกษาแต่งชุดผิดระเบียบไหม เขาก็ไม่ผิด แต่ในการแต่งกายชุดนักศึกษา เขาอาจจะมีช่องว่างที่เขาจะแต่งกายในอีกลักษณะหนึ่งที่คุณไม่ต้องการแต่คุณทำอะไรได้

ปัญหาคือคุณทำอะไรไม่ได้เพราะว่าเขาถูกกฎทุกอย่าง แต่ช่องว่างนั้นน่ะ เพราะคุณให้ความสำคัญกับการบังคับใช้มากกว่าการสร้างแนวทางปฏิบัติ

Rule of law จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อหลักนิติรัฐได้สร้างแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันมากกว่าจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อห้ามหรือข้อบังคับ ผมคิดว่านี่คือปัญหาอีกส่วนหนึ่งทีเกิดขึ้นในครรลองประชาธิปไตย

ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายพื้นฐานกลับไม่มีความสำคัญ ถูกฉีกได้ตลอดเวลา กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณมีอะไรที่คุณเขียนไว้ในแง่บทบัญญัติเท่านั้น แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญคือครรลองหรือกติการ่วมกันซึ่งเป็นกติกาที่ทุกคนในสังคมยอมรับเป็นหลัก

เท่าที่ผมเข้าใจประเทศจำนวนมากมีรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติน้อยกว่าสังคมไทยและมีอายุการใช้งานที่ยืนนานมากกว่าสังคมไทย สิ่งเหล่านั้นที่เขาทำได้ ไม่ใช่ว่ากฎหมายเขาดีกว่าเรา แต่กฎหมายได้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติของคนในสังคม ผมอยากเห็นสังคมไทยใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญหรือเรียนรู้รัฐธรรมนูญในฐานะแนวทางปฏิบ­ัติร่วมกันมากกว่าที่คุณเอามาตรวจสอบว่า คนนี้ทำผิดหรือเปล่า มันกลายเป็นข้อบังคับและในท้ายที่สุดแล้วมันเหมือนกับเสือกระดาษ เหมือนเขียนเสือให้วัวกลัว และท้ายที่สุดแล้วกถูกละเมิดอยู่ตลอดเวลา

ผมคิดว่ากฎหมายไทยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการรากฐานทางความคิด แก่สังคมหรือตัวนักกฎหมาย กลายเป็นเพียงช่างฝีมือหรืออย่างที่อาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล เรียกว่าเป็น ‘ช่างตัดผม’ เป็น Technician และสุดท้ายความเป็น Technician
คุณก็จะรู้สึกว่า คนอื่นไม่ใช่นักกฎหมายจะมารู้เรื่องกฎหมายได้อย่างไร ซึ่งผมคิดว่ามันไม่ใช่

กฎหมายมันคือกติกาของสังคมนะ แน่นอนว่าทุกคนต้องรู้กฎหมาย ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องรู้กฎหมายอย่างนักกฎหมาย ผมคิดว่านักกฎหมายอาจจะเข้าใจผิด ในขณะเดียวกันก็ดูเหมือนนักกฎหมายมีสิทธิพิเศษ เพราะภาษากฎหมายกลายเป็นภาษาเฉพาะ ความชอบธรรมทางกฎหมายกลายเป็นความชอบธรรมเฉพาะของนักกฎหมาย การเน้นกฎหมายในฐานะที่เป็นข้อบังคับใช้ มันตอบรับกับลักษณะอำนาจนิยมของสังคมไทย

โดยสรุปก็คือ ผมคิดว่าการเมืองไทยเป็นเรื่องของขาวดำ หรือดีเลว โดยมองผ่านพื้นฐานที่ฝ่ายหนึ่งยึดธงชัยของความดีว่าความดีคืออะไรและเป็นคนบอกว่าสิ่งที่มันเลวคืออะไร และความโชคร้ายก็คือว่า บนพื้นฐานของสิ่งที่เลวนั้น มันมีเท็จจริงทางสังคมการเมืองปรากฏอยู่เป็นข้อสนับสนุนด้วย

ประการที่ 2 ก็คือ ผมมองว่าสังคมต้องข้ามพ้นการเมืองขาวดำไปสู่การมองเชิงนโยบาย ปัญหาของตัวผู้ปกครองมันไม่ได้อยู่ที่การเป็นผู้ปกครองที่ดี สังคมไทยต้องการผู้ปกครองที่มีความสามารถในการบริหารประเทศและการจัดการ และสุดท้ายประเด็นที่สามก็คือ กฎหมาย ซี่งควรจะเป็นแนวทางปฏิบัติของสังคมมากกว่าการมองมันเป็นแค่ข้อห้ามหรือข้อบังคับใช้

ถ้าเราสามารถจะแก้เงื่อนไขทั้งสามนี้ได้ ผมคิดว่าการ Restore Order ที่แท้จริงของการเมืองระบอบประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นและจะนำไปสู่หลักการอีกด้านที่เรายังไม่ได้พูดกันอย่างแท้จริงก็คือ ปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม
และภราดรภาพ

ที่ผ่านมา สังคมไทยในครรลอง มองปัญหาเรื่องสิทธิเป็นรูปธรรมเกินไป เช่น มองสิทธิในฐานะที่เกี่ยวกับบุคคล เช่น การเลือกตั้ง แล้วแบบไม่เป็นรูปธรรมคืออะไร

คือสิทธิในฐานะที่เป็น Citizenship รูปธรรมที่ดีที่สุดคือสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคม สิทธิที่จะกำหนดทิศทางของสังคม ผมคิดว่านี่เป็นสิทธิที่สำคัญที่สุด ไม่มีใครแย่งชิงสิทธินี้ไปจากตัวคุณได้ และสิทธินี้จะแสดงออกผ่านกิจกรรมทางการเมือต่างๆ ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง

สิทธิในการกำหนดแนวทางในการดำเนินชีวิตและสังคม นี่คือสิทธิที่เป็นพื้นฐานที่สุด ส่วนเสรีภาพคือสิ่งที่คุณจะแสดงออกมาผมอยากให้สังคมไทยมองสิทธิที่เป็นพื้นฐานเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะกำหนดชีวิตคุณเองได้ นั่นคือการที่คุณมีบทบาททางสังคมมากขึ้น วัฒนธรรมทางการเมืองนี้มันเริ่มเกิดขึ้นในบางส่วนของสังคมและที่น่าสนใจก็คือมันเกิดขึ้นในระดบรากหญ้ามากว่าสังคมเมือง

การมีโลกทัศน์แบบมองขาวดำมีส่วนกลบปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพ และภราดรภาพหรือไม่
มันกดทับ พูดง่ายๆ ว่าการเมืองขาวดำมันสร้างลำดับชั้นให้กับสังคม และกดทับสิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้ การกดทับก็คือการบอกว่า คนดีนั้นมีความสำคัญมากกว่าคนที่มีความสามารถ เพราะเราอนุมานกันว่า ถ้าคุณเป็นคนดีแล้วทำอะไรก็ดีตามไปหมด นี่คือสิ่งที่น่ากลัว และสิ่งเหล่านี้ไม่ได้บ่มเพาะบนพื้นฐานของเหตุผลแต่บ่มเพาะบนพื้นฐานของ Sentiment ของสังคม

เพราะว่าด้วยการที่อ้างอิงด้วยหลักการของหลักธรรมหรือทศพิธราชธรรม จึงมองความดีมีคุณค่ามากกว่าความสามารถ
ปัญหาของสังคมไทย ถ้าพูดในที่ว่าทำอย่างไรที่จะให้คนที่มีความสามารถในการบริหารประเทศมีบทบาทมีศักยภาพในการทำงานร่วมกันได้ และขณะเดียวกันเราสามารถตรวจสอบการทำงานของเขาได้ นี่คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประชาธิปไตยมันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในส่วนของภราดรภาพ ผมเชื่อใน Concept พื้นฐานคือ ภราดรภาพนั้นคือความเป็นพี่เป็นน้องกันอย่างน้อยที่สุดมันสร้างสายสัมพันธ์ทางสังคมให้เกิดขึ้น เวลาที่ผมมองภราดรภาพ ผมไม่ได้มองในแง่ของความเป็นพี่น้องหรือความเป็นครอบครัวเดียวกัน คือผมมองสายสัมพันธ์ของสังคมที่มันเชื่อมต่อกันและเมื่อมีสายสัมพันธ์ทางสังคมแล้ว การสร้างความยอมรับซึ่งกันและกันนั้นมันง่าย และการยอมรับที่สำคัญก็คือการยอมรับความแตกต่าง ไม่ว่าคุณจะแตกต่างจากผม คุณไม่เหมือนผม
ไม่ว่าจะด้วยชาติกำเนิด เชื้อชาติศาสนา หรืออะไรต่าง พูดง่ายๆ ว่าเวลาที่คุณเป็นพี่เป็นน้องกัน เมื่อมีอะไรกระทบกระทั่งกันคุณก็ยอมๆ กันได้ แต่ถ้าพูดในระดับของสังคมภราดรภาพของสังคมก็คือการอยู่ร่วมกันของสังคมและยอมรั­บความแตกต่างระหว่างกันโดยพื้นฐานของ Rule of law ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการยอมรับความหลากหลายอันนั้น นี่คือโจทย์สำคัญ

และสุดท้ายเรื่องความเสมอภาคหรือเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของกฎหมาย เสมอภาคในส่วนนี้ คือทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันในการที่จะใช้มัน ไม่ใช่ว่าผมมีสิทธิที่จะพูดมากหรือพูดดังกว่าคุณ ไม่ใช่ผมคิดว่าเสียงต่างๆที่พูดออกไปควรจะให้น้ำหนัก และความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน มันจะผลักดันการเมืองของผู้นำไปสู่การเมืองที่เป็นมีส่วนร่วมของคนมากขึ้น ผมไม่อยากใช้คำว่าการเมืองภาคประชาชน แต่เป็นการเมืองที่คนมีโอกาสหรือว่ามีแนวทางในการแสดงออก ไม่ใช่ใครมาชี้นำ ไม่ใช่ใครเป็นตัวเลือกทางสังคม

อาจจะมองว่าเรื่องนี้เป็นอุดมคติจนเกินไป แต่ผมคิดว่าสังคมไทยกำลังเดินไป ผมไม่เคยบอกว่าประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด แต่ผมบอกว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ดีกว่าระบอบอื่นๆ เพราะว่าคุณมีสิทธิเสรีภาพที่คุณสามารถใช้กำหนดทิศทางของคุณได้และดีกว่าตรงที่­คุณพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน พร้อมที่จะผลักดันให้มันดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องผ่านการสะสมของเวลาและประสบการณ์ของสังคม สังคมต้องยอมรับการเรียนรู้ผิดถูก ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ที่จะเป็นไปในแนวทางนั้นแนวทางนี้ และการเรียนรู้ของสังคมคือสิ่งที่บ่มเพาะเนื้อหาให้กับคนในสังคมในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่ผมอยากจะบอก

ทักษิณทำให้คนระดับรากหญ้ามีสำนึกของความเป็นCitizenshipมากขึ้นหรือเปล่า แน่นอน ผมไม่ได้มองว่านโยบายประชานิยมเป็นสิ่งที่เลวร้าย ผมคิดว่านโยบายประชานิยมเป็นสิ่งที่ตอบคำถามต่อหัวข้อของการเมืองชั้นนำอย่างชัดเจน เป็นครั้งแรกที่คนส่วนใหญ่ของประเทศได้เห็นดอกผลของการเมืองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เราอาจจะมองกองทุนหมู่บ้าน
เอสเอ็มแอล เอสเอ็มอี อะไรต่างๆ ในแง่ร้าย

แต่ผมคิดว่ามีพัฒนาการประการหนึ่ง ก็คือว่าประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจที่อยู่กับตัวเขาเอง เช่น คุณให้งบประมาณหมู่บ้านละหนึ่งล้านบาท หนึ่งล้านบาทนี้คุณจะเอาไปทำอะไรก็ได้ แต่ถ้ามันไม่ดี เช่นคุณเอาไปซื้อมือถือ ซื้อเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ แล้วเมื่อเงินมันหมดไป คุณก็ต้องถูกตรวจสอบถูกตัดสินจากสังคม แต่ถ้าเงินหนึ่งล้านบาทมันแก้ปัญหาของสังคม มันก็ได้รับการยอมรับ

ผมคิดว่าทิศทางหรือแนวทางนั้นเราพูดโจมตีในด้านร้ายมากกว่าที่จะมองในภาพรวม สำหรับผมแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นจะดีหรือเลวมันคนละเรื่องกับการเรียนรู้ทางสังคม ผมคิดว่าชาวบ้านรากหญ้าเรียนรู้ที่จะกำหนดแนวทาง เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตในหนทางที่ตัวเองเลือกอย่างไร นี่คือตัวชี้วัดที่เห็นชัดที่สุด

ผมไม่ได้บอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้ดี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า มันได้สอนให้คนระดับรากหญ้าซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศเรียนรู้และเข้าใจหลักก­ารประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานซึ่งเริ่มต้นจากตัวเขาเอง เริ่มต้นจากสิทธิเสรีภาพ การกำหนดแนววิถีชีวิตที่ตัวเองต้องการ โอเค ผิดถูกอีกเรื่องหนึ่งมันก็ต้องสั่งสมกันไป

สังคมและชุมชนนั้นสั่งสมบทเรียน ผมคิดว่าเราต้องมีสิ่งเหล่านี้

สังคมไทยสั่งสมบทเรียนเกี่ยวกับเรื่องธรรมราชา เรื่องผู้ปกครองที่มีทศพิธราชธรรมมายาวนานกว่า แต่อย่างน้อยที่สุดคุณก็ต้องยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้มันมีพลัง ที่มันมีพลังก็เพราะมันมีการสั่งสม คุณก็ต้องให้ประชาธิปไตยสั่งสมบทเรียนเช่นกัน

และผมไม่ได้มองว่าชาวบ้านโง่เขลา หรือว่าไม่รู้ ไม่เข้าใจ อย่างที่คนส่วนหนึ่งบอกว่าชาวบ้านขาดการศึกษาไม่รู้ไม่เข้าใจ
ผมคิดว่าชาวบ้านเข้าใจ โลกทัศนของชาวบ้านคือโลกทัศน์ที่เกี่ยวกับชีวิตที่เขาอยู่ ไม่ใช่เรา

ขณะเดียวกันชาวบ้านก็มีเหตุผลที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเอง ทำไมล่ะ ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขา ถ้ามันไม่ดี
วันหนึ่งเขาก็ไม่เลือก แต่ปัญหาก็คือว่า คุณสร้างทางเลือกให้คนเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน สังคมไทยยังไม่ได้สร้างทางเลือกอันใดให้กับคนอื่นนอกจากสิ่งที่รัฐบาลทักษิณทำ ถ้ามองในแง่ของการเมืองเชิงนโยบายหรือการหาเสียงเชิงนโยบาย ผมยังไม่เห็นนโยบายอื่นที่มีทางเลือกให้กับคน นี่ไม่นับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นไปได้ยาก

ในขณะที่ชาวบ้านปกป้องประโยชน์ของตัวเองตามกลุ่มที่ตัวเองสังกัด ในขณะที่ชนชั้นกลางนั้น...ประเด็นปัญหาของการขับไล่ทักษิณนั้นมันอยู่ในกระบวนการที่เรียกว่า การทำให้เป็นสุนทรียะทางการเมือง คือมันเป็นเรื่องของ perception และไม่ได้อยู่บนเนื้อหาสาระพื้นฐาน การเมืองมันถูก dramatize ผ่าน sentiment ผมคิดว่าประเด็นเรื่องจริยธรรมหรือจริยศาสตร์ของผู้นำต่างๆเหล่านี้ เรามันสร้างมันบนฐานของSentiment มากกว่าเนื้อหาทางจริยศาสตร์
ปัญหาคือคุณโจมตีทักษิณในเรื่องของคุณธรรมของผู้ปกครองหรือผู้ปกครองที่ดี แต่คุณก็ไม่ได้บอกว่าคุณธรรมที่ดีมันเป็นอย่างไร ผู้ปกครองที่ดีควรทำอะไร ผมคิดว่าไม่ แล้วสังคมก็ตอบสนองอย่างเลวร้าย ตอบสนองผ่าน Sentiment มากกว่าผ่านกระบวนการการตรวจสอบ

สำหรับผมๆ ไม่เชื่อว่าทักษิณเป็นทรราช เพราะว่าทักษิณยังอยู่ในกติกาประชาธิปไตย แน่นอนว่าทักษิณ Abuse
เรื่องอำนาจ ผมไม่เถียง แต่สังคมกำลังตรวจสอบ สังคมกำลังดำเนินไปในทิศทางนั้นและเขาไม่สามารถเผด็จอำนาจ
(Dictate) ได้ทั้งสังคม ถ้าเขาสามารถ Dictate สังคมได้ทั้งสังคม คำนี้อาจจะใช้ได้ แล้วทรราชในระบอบประชาธิปไตยนั้น
เป็นทรรราชที่เกิดมาพร้อมกับ Sentiment

ที่คนเปรียบเทียบทักษิณกับฮิตเล่อร์นั้น ผมขอบอกว่าไม่ใช่ ผมอาจจะไม่ได้มีประสบการณ์โดยตรง แต่ว่าอาจารย์ของผมส่วนหนึ่งเป็นเหยื่อของฮิตเล่อร์ และการขึ้นมาของฮิตเล่อร์คือการขึ้นมาผ่าน Sentiment ของสังคม ไม่ได้ขึ้นมาผ่าน Knowledge base ไม่ได้ขึ้นมาผ่านกระบวนการประชาธิปไตย Sentiment ของสังคมเยอรมันในเวลานั้นก็คือประเทศเต็มไปด้วยปัญหา คุณต้องการผู้นำที่มี charisma เป็นผู้นำที่สามารถดึงอารมณ์ร่วมของสังคมได้ แล้วนั่นแหละ หลังจากที่คุณดึงอารมณ์ร่วมของสังคมได้ คุณก็อาศัยกระบวนการประชาธิปไตยสร้างตัวเองขึ้นมาเป็นผู้นำ

สิ่งหนึ่งที่ทักษิณทำอยู่ตลอดเวลาก็คือ การที่เขารู้ว่าหลักการประชาธิปไตยอยู่ตรงไหนแล้วก็เล่นบนกติกา และขณะเดียวกันก็กำหนดกติกา

สิ่งที่ทักษิณทำอันดับแรกก็คือการรู้กติกา อันดับต่อมาก็คือการเล่นตามกติกา และระดับที่ 3 ก็คือ กำหนดกติกา อันดับที่สามนี่แหละคือสิ่งที่เราต้องตรวจสอบ แต่ปัญหาคือคุณไม่ได้ตรวจสอบอันดับที่สาม กรณีที่เห็นได้ชัดก็คือการเปลี่ยนนโยบายให้เป็นกฎหมาย นี่เป็นสิ่งที่เลวร้าย และสังคมไม่เคยตรวจสอบหรือการอาศัยช่องว่างหรือการได้เปรียบในการร่างหรือกำหนดกติกา นี่คือปัญหาที่แท้จริงที่รัฐบาลทักษิณสร้าง

-----------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท
วันที่ : 19/10/2549




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2549    
Last Update : 10 มกราคม 2550 16:08:16 น.
Counter : 543 Pageviews.  

ฝรั่งมองไทย

บทความของ ดร.โกร่ง.. วีรพงษ์ รามางกูร
จาก คอลัมน์คนเดินตรอก
เรื่อง คนไทย กับประชาธิปไตย บางช่วงบางตอนมาให้อ่าน

เป็นเรื่องความเห็นของเพื่อนชาวอเมริกันที่เป็นอาจารย์สอนวิชารัฐศาสตร์ที่อเมริกา ที่ตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับเหตุการณ์การเมืองไทย ตั้งแต่ปี 2549

ข้อแรก

เขาตั้งข้อสังเกตคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยที่เป็นคนชั้นกลาง และคนในระดับสูง รวมทั้งปัญญาชน ครูบาอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยที่สะท้อนออกมาจากปฏิกิริยาต่อกระแสทางความคิดทางการเมือง ยังไม่พร้อมที่จะเป็นผู้นำทางความคิดในระบอบประชาธิปไตย

สังเกตได้จากกระแสความคิดที่ไม่เชื่อขบวนการทางการเมืองประชาธิปไตย เช่น ขบวนการทางกฎหมาย ขบวนการตัดสินข้อขัดแย้งต่างๆ โดยองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง .....ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรต่างๆ หากการชี้ขาดขององค์กรต่างๆ ตัดสินไม่ตรงกับความคิดเห็นของตน..........

ข้อที่สอง

คนไทยมีอารมณ์ทางการเมืองรุนแรงไม่แพ้ประเทศทางตะวันตก แต่คนทางตะวันตกนั้นจะดำเนินการตามกรอบของระบบกฎหมายในกรอบของรัฐธรรมนูญ
แต่คนไทยระดับสูงและระดับกลางให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายของตนน้อยมาก จะสังเกตได้จากการรายงานหรือความคิดเห็นที่ออกมาผ่านสื่อมวลชน การเรียกร้องบีบบังคับเป็นไปในทิศทางนอกกรอบรัฐธรรมนูญนอกระบอบประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง..........

แท้จริงลึกๆ ในใจของคนที่มีการศึกษา แม้กระทั่งครูบาอาจารย์ทางรัฐศาสตร์และกฎหมาย ยังนิยมระบบอำนาจนิยม การยึดอำนาจรัฐโดยไม่ผ่านขบวนการตามระบอบประชาธิปไตย
ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้นำขบวนการชุมนุมกระทำการเสมือนว่าตนได้ยึดอำนาจรัฐสำเร็จแล้ว สามารถออกคำสั่งให้รัฐบาลก็ดี องค์กรอิสระต่างๆ กระทำการหรือตัดสินไปตามทิศทางที่ตนต้องการ ฟังดูเหมือนกับการออกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จแล้ว คล้ายกับเป็นการยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จแล้ว.... เพียงแต่ไม่ใช่การยึดอำนาจรัฐโดยกองทัพ

ถ้าเป็นประเทศที่ระบอบประชาธิปไตยหยั่งรากลึกแล้วประชาชนจะไม่ยอมรับการออกคำสั่งอย่างนี้

จะยอมรับเฉพาะการชุมนุมเรียกร้องแสดงความคิดเห็นอย่างสงบ เพื่อให้รัฐบาลหรือรัฐสภาดำเนินการให้ตามกรอบของรัฐธรรมนูญและขบวนการยุติธรรม อันเป็นสถาบันที่เขายอมรับนับถือ ว่าเมื่อเรื่องถึงรัฐบาล ถึงรัฐสภา และสถาบันยุติธรรมแล้ว
ก็เป็นอันยุติ ..........
แต่ของเราไม่เป็นเช่นนั้น อาจจะเป็นเพราะประวัติศาสตร์การเมืองของเรามีปฏิวัติรัฐประหารบ่อย ยกเลิกและร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่อยู่เรื่อยๆ รัฐธรรมนูญและระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับขบวนการประชาธิปไตย จึงไม่มีใครสนใจให้ความสำคัญ ให้ความเคารพเหมือนกับยุโรปหรืออเมริกา........

ข้อที่สาม

การเมืองและธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องกันมานานแล้ว ในสมัยก่อนตอนที่โลกมีสงครามเย็น ประเทศไทยก็มีรัฐบาลที่ตั้งโดยทหาร คณะรัฐมนตรีส่วนมากมาจากระบบราชการ เป็นบุคคลที่มีประวัติชื่อเสียงดี
แต่ทหารก็ให้การอุปถัมภ์แก่พ่อค้านายทุนในการที่จะได้การผูกขาด เพื่อแสวงหากำไรจากการผูกขาด หรือที่ภาษาเศรษฐศาสตร์ อดัม สมิธ เรียกว่า "ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ" หรือ "economic rent" .....

ส่วนผู้นำทางทหารทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่มีธุรกิจของครอบครัว อย่างมากก็ไปนั่งเป็นประธานธนาคาร หรือธุรกิจใหญ่ๆ
ทุกเช้าพ่อค้านายทุนก็ไปนั่งเฝ้าบันไดบ้าน.. สังคมรับได้
พ่อค้าตระกูลเก่าๆ ก็เริ่มมาอย่างนั้น รุ่นลูกหลานอาจไม่เคยเห็น เพราะกำลังไปเรียนหนังสืออยู่เมืองนอก

ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป ระบบการเมืองเป็นแบบประชาธิปไตยแบบเปิด
ประชาชนผู้ออกเสียงลงคะแนนกลับเป็นฝ่ายเรียกร้องเงินทอง เรียกร้องให้ช่วยเหลืออุปถัมภ์ในรูปแบบต่างๆ นายทุนพ่อค้าแทนที่จะต้องเข้าไปซูฮก เค้าเต๋า ผู้มีอำนาจ ก็รวมตัวกันตั้งพรรคส่งลูกหลานลงสมัครรับเลือกตั้งเสียเอง
ตระกูลนายทุนเก่าจึงยอมรับได้.........

สมาชิกสภาผู้แทนจึงเต็มไปด้วยชนชั้นพ่อค้านายทุนทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด แทบจะไม่มีลูกหลานชนชั้นอื่นเลย กว่าร้อยละ 90 เป็นคนไทยเชื้อสายพ่อต้านายทุนทั้งนั้น
ด้วยเหตุนี้วัฒนธรรม พฤติกรรมทางการเมืองจึงเปลี่ยนไป ค่านิยมและคุณค่าทางการเมืองก็เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว.. แต่ก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น...ตัดสินรวดเร็วมากขึ้นไม่ "เชื่องช้า" แบบเก่า ข้าราชการถูกจี้ให้ทำงานเร็วขึ้น มิฉะนั้นจะถูกย้าย ภาพลักษณ์ของผู้นำก็เปลี่ยนไป.. คนไทยไม่คุ้นเคย

คนไทยจึงอยู่ในช่วงสับสน ในหมู่ข้าราชการย่อมไม่ชอบใจแน่ เพราะปลัดกระทรวงเป็นที่พึ่งอย่างเดิมไม่ได้แล้ว .........รัฐมนตรีเข้ามาตัดสินใจไล่จี้งานเอง

ส่วนคนร่ำรวยตระกูลเก่าก็ยังรับนักการเมืองและผู้นำรุ่นใหม่ไม่ได้ เพราะยังติดกับผู้นำและรัฐบาลที่อ่อนแอ ผสมกันหลายพรรค พูดจามีมารยาท ไม่อหังการ ยังยอมรับการเป็นรัฐบาลที่มาจากชนชั้นพ่อค้าซึ่งเป็นชนชั้นเดียวกับตนไม่ได้

เหตุการณ์ที่ผ่านมา ถ้าทหารปฏิวัติรัฐประหาร ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ขับไล่รัฐบาลออกไป ใช้อำนาจปฏิวัติยึดทรัพย์นักการเมือง คนในกรุงเทพฯจะยินดีปรีดา .........

แล้วอีกปีหนึ่งก็ชุมนุมขับไล่รัฐบาลกันใหม่

ข้อที่สี่

คนไทยชั้นสูงยังยึดถือที่ตัวบุคคลมากกว่าระบบ ซึ่งขัดแย้งกับระบอบประชาธิปไตย
เมื่อไม่ชอบหรือเกลียดชังเสียแล้ว ก็ไม่คำนึงถึงระบบจะทำอย่างใดก็ได้ขอให้บุคคลผู้นั้นพ้นๆ ไป ถ้าจะอยู่ต่ออีกสักวันหนึ่งก็เหมือนบ้านเมืองจะล่มสลาย.......

ข้อกล่าวหาบางอย่าง แม้จะรู้ว่าไม่ได้ผิดกฎหมายก็พร้อมจะเชื่อ และข้อกล่าวหาบางข้อที่กล่าวหาว่าฝ่ายตรงกันข้ามทำผิดกฎหมาย ก็ไม่สนใจที่จะติดตามให้ได้ข้อมูลลึกเพื่อที่จะสามารถเอาผิดได้ตามกฎหมาย คนกลุ่มนี้ไม่ได้สนใจแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิด เวลารักทุกอย่างก็ถูกไปหมด........ เวลาเกลียดเวลาไม่ชอบทุกอย่างก็ผิดหมด

เป็นสังคมแบบไฟไหม้ฟาง

ข้อที่ห้า

สังคมชั้นสูงและชั้นกลางมีแนวโน้มที่จะเชื่อข่าวลือมากกว่าข่าวจริง หลายเรื่องถ้าหยุดคิดแล้วก็จะไม่เชื่อ
แต่คนไทยชอบเชื่อข่าวลือที่ถูกใจตัว ข่าวจริงที่ไม่ถูกใจตัวจะไม่ยอมเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวร้ายและข่าวโจมตีกัน......

สื่อมวลชนซึ่งเข้าใจจิตวิทยาเช่นว่านี้ ก็ถือโอกาสกระพือข่าวลือเพื่อประโยชน์ทางการค้า เพิ่มยอดขายหนังสือพิมพ์...... แล้วผู้จัดรายการวิทยุ ก็เอาข่าวหนังสือพิมพ์ไปอ่านและขยายข่าวลือต่อ...........

สื่อมวลชนไทยนั้นมีอิสระเสรีภาพมากที่สุดในโลก แม้จะเทียบกับอเมริกาหรือยุโรป ไม่ถูกควบคุมโดยใครเลย
ไม่ว่าจะเป็นทางการหรือสมาคมวิชาชีพของตนเอง ผู้คนแม้แต่รัฐมนตรีข้าราชการผู้ใหญ่ นักธุรกิจล้วนแต่เกรงกลัวและเกรงใจ
นักข่าวเด็กๆ อายุ 20-30 ปี สามารถนัดพบรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี นายธนาคาร นักธุรกิจใหญ่ๆได้ เพราะไม่มีใครอยากขัดใจสื่อมวลชน...........

ผู้ที่เสียหายจากการลงข่าวที่จริงและไม่จริง หรือจริงเพียงครึ่งเดียว มักจะต้องทำเฉยเสีย .....
หากทำอะไรไปและยิ่งเป็นผู้มีอำนาจก็จะถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงสื่อมวลชน แม้กระทั่งการใช้สิทธิตามกฎหมายฟ้องร้องทางศาลถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงปิดกั้นสื่อมวลชนทันที ซึ่งสื่อมวลชนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่มีอภิสิทธิขนาดนี้........

การที่สื่อมวลชนไทยมีอิสระเสรีภาพและอภิสิทธิสูงมากอย่างนี้
ประเทศไทยจึงเป็นที่สื่อมวลชนต่างๆทั่วโลก ส่งนักข่าวเด็กๆ นักข่าวมือใหม่มาฝึกงานก่อนจะรับเข้าบรรจุ เพราะถ้ามาอยู่เมืองไทยแล้วยังทำข่าวไม่ได้ก็จะไม่ได้รับการบรรจุ เพราะสังคมไทยเปิดกว้างอย่างที่สุด และสื่อมวลชนมีอภิสิทธิสูงที่สุดในโลกแล้ว........

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลไทยและรัฐบาลทหาร ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ รัฐบาล พล.อ.เปรม รัฐบาลคุณอานันท์ รัฐบาลคุณบรรหารและคุณชวน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาเป็นต้นมา
ไม่มีทางเป็นรัฐบาลเผด็จการได้เลย .......เป็นได้แต่รูปแบบ...เนื้อหาเป็นไม่ได้

แต่ผลเสียก็มี....เพราะหลายคนหลายครั้งก็ถูกหนังสือพิมพ์ละเมิดสิทธิเสรีภาพ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ หรือไม่กล้าแม้แต่การใช้สิทธิตามกฎหมายทางศาล...

ข้อที่หก

เพื่อนผมค่อนข้างผิดหวังนักวิชาการ ครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูบาอาจารย์ทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ รวมทั้งสมาคมทนายความ และผู้ที่มีวิชาชีพทางกฎหมายและรัฐศาสตร์ ซึ่งในประเทศอื่นจะเป็นผู้ที่เรียกร้องให้ประชาชนยืนหยัดในหลักของการปกครองในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
ปัญญาชนไทยทางด้านนี้กลับชี้นำให้สังคมละทิ้งหลักการปกครองตามกฎหมาย โดยการอ้างจริยธรรมบ้าง... ความชอบธรรมบ้าง.........

หลักความชอบธรรมตามกฎหมายนั้นเป็นหลักที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร มีสถาบันซึ่งจะชี้ขาดเป็นที่ยุติของปัญหาความขัดแย้งได้เป็นรูปธรรม
เนื้อหาของกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ดี กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็ดี ปกติก็จะสะท้อนจริยธรรม ขนมธรรมเนียมประเพณีของระบอบการปกครองอยู่แล้ว
แต่การไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระบอบการปกครอง รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ก็เท่ากับเป็นการเรียกร้องบีบบังคับตามอำเภอใจ.......

ส่วนหลักความชอบธรรมที่อ้าง "จริยธรรม" ที่เกินกว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประเพณีขนบธรรมเนียม
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น เป็นเรื่องที่เป็นนามธรรม เลื่อนลอย ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มชน เช่น ชั้นสูง ชั้นกลาง มีมาตรฐาน จริยธรรมอย่างหนึ่ง ชั้นล่างอย่างหนึ่ง ....

เปลี่ยนแปลงไปตามภูมิภาค ภาคใต้ว่าอย่าง ภาคเหนือ ภาคอีสานว่าอย่าง และเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เช่น ปี 2547 ว่าอย่าง ปี 2549 ว่าอย่าง ต่อไปปี 2550 อาจจะว่าอีกอย่างก็ได้
การตัดสินความชอบธรรมบนพื้นฐานของ"จริยธรรม"จึงเลื่อนลอย ไม่เหมือนความชอบธรรมที่อยู่บนพื้นฐานของ "ระบบ" "หลักการ" และ "กฎหมาย" ซึ่งเป็นรูปธรรม อ้างอิงได้

ถ้าระบบและหลักการควรจะเปลี่ยนเพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป กฎหมายก็เปลี่ยนได้ตามขบวนการ แต่ระหว่างที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงก็ต้องใช้ความชอบธรรมบนพื้นฐานของกฎหมายที่ยังใช้บังคับอยู่.........

ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจจะเป็นเพราะว่า เรามีรัฐบาลทหาร ที่มีทหารเป็นนายกรัฐมนตรีเองหรือมีนายกรัฐมนตรีที่ทหารแต่งตั้ง ซึ่งไม่มีความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ หรือตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข

หรือบางครั้งจะชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ แต่ก็เป็นรัฐธรรมนูญที่คณะปฏิวัติหรือสภาร่างรัฐธรมนูญที่คณะทหารตั้งขึ้นมา
การต่อต้านจึงต้องต่อต้านนอกรอบของรัฐธรรมนูญ โดยอ้างความไม่ชอบธรรมของระบอบหรือระบบได้ชัดเจน ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มคน ภูมิภาค และกาลเวลาในโลกสมัยใหม่

แต่เหตุการณ์ที่ผ่านมาเที่ยวนี้ไม่เหมือนกัน เป็นการอ้างความไม่ชอบธรรมที่ไม่ใช่ความชอบธรรมของระบอบหรือที่มาของรัฐบาล แต่การอ้างความไม่ชอบธรรมบนพื้นฐานของ "จริยธรรม" ซึ่งเลื่อนลอย
ถ้าทำได้สำเร็จก็จะเป็นความเสียหายต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระยะยาวอย่างยิ่ง

ข้อที่เจ็ด

เพื่อนอเมริกันตัวแสบของผมยังแสดงความผิดหวังต่อพรรคการเมืองของไทย ทั้งพรรคการเมืองที่เก่าแก่ พรรคที่เก่ากลาง พรรคที่กลางเก่ากลางใหม่ พรรคการเมืองควรจะเป็นสถาบันที่เป็นผู้นำทางความคิด เผยแพร่ปรัชญา จิตสำนึก และปฏิบัติตนเป็นนักประชาธิปไตย

แต่วิกฤตการณ์การเมืองครั้งนี้ ผู้นำพรรคการเมืองกลับไปร่วมเรียกร้องให้มีการละเมิดรัฐธรรมนูญ ละเมิดกฎหมาย ละเมิดข้อเท็จจริง รวมทั้งปฏิเสธขบวนการรัฐสภา ปฏิเสธขบวนการให้กลับไปสู่การตัดสินใจของประชาชนผ่านการเลือกตั้ง โดยอ้างว่าขบวนการเลือกตั้งนั้นไม่ชอบธรรม ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ปฏิเสธกรรมการเลือกตั้ง รวมทั้งคว่ำบาตรการเลือกตั้ง

ที่เหลือเชื่อก็คือสื่อมวลชน ซึ่งควรจะเป็นสถาบันที่ต่อต้านการปฏิเสธขบวนการประชาธิปไตย กลับไปเห็นด้วยและสนับสนุน..........

ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเป็นการสร้างประเพณี และวัฒนธรรมที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบอบรัฐสภา การเรียกร้องกดดันทั้งหมดที่ผ่านมาเป็นการเรียกรองและกดดันให้มีการดำเนินการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเลย

และที่แปลก "นักประชาธิปไตย" ทั้งหลายกลับรับได้ ไม่ตะขิดตะขวงใจเลย..........

ข้อที่แปด

การกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยอ้างความไม่ชอบธรรมบนพื้นฐานของ "จริยธรรม" นั้น
เป็นอันตรายที่สามารถสร้างความแตกแยกในสังคม เพราะมาตรฐานของจริยธรรมของผู้คน ต่างหมู่เหล่าต่างภูมิภาคจะต่างกัน ไม่เหมือนความชอบธรรมที่ตั้งอยู่บนรากฐานของรัฐธรรมนูญ กฎหมายและระบบ เพราะกฎหมายและระบบมีอันเดียว.... อย่างมากก็อาจจะตีความแตกต่างกันเท่านั้นและยุติได้โดยการยอมรับการตัดสินขององค์กรที่มีอำนาจหน้าที่

ข้อที่เก้า

เพื่อนผมเคยตั้งข้อสังเกตว่าการเมืองระบอบประชาธิปไตยแบบมีสองพรรคใหญ่ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ได้พัฒนาไปเร็วมาก...

แต่ตอนนี้ชักจะไม่แน่ใจเสียแล้ว เพราะความไม่มีจิตวิญญาณประชาธิปไตยตามระบอบรัฐสภาของพรรคการเมืองของปัญญาชน ของครูบาอาจารย์ รวมทั้งสื่อมวลชนที่เป็นกระแสหลักของประเทศที่จะเป็นผู้นำทางความคิด..........

ที่เห็นชัดก็คือ ยังชอบระบบการเมืองที่เละๆ มีรัฐบาลที่อ่อนแอ คอยเอาใจคนโน้นคนนี้ อ่อนน้อมถ่อมตน พูดจามีคารมคมคาย จะมีผลงานหรือไม่ก็ไม่เป็นไร ชอบที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยๆ ไม่ต้องทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน..........

คุยกับเพื่อนอเมริกันเที่ยวนี้ผมรีบตัดบทแล้วรีบลากลับก่อนเขาจะพูดจบ




 

Create Date : 30 กรกฎาคม 2549    
Last Update : 10 มกราคม 2550 17:15:47 น.
Counter : 1368 Pageviews.  

กรรมกรกระทู้กับเรื่องการเมือง

ในช่วงที่สถานการณ์การเมืองอึมครึมอยู่ในตอนนี้ ทำให้เริ่มหันมาสนใจเก็บและเซฟกระทู้ในราชดำเนินไปอ่านประกอบการพิจารณาไปมากขึ้น เนื่องจากผมเริ่มรู้สึกขึ้นมาแล้วว่าสื่อในปัจจุบันนี้เสนอข่าวทั้งในเรื่องของการบิดเบือน หรือ ไม่นำเสนอในอีกมุมมองหนึ่ง
ซึ่งสิ่งที่ผมเห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือสื่ออย่างเมเนเจอร์หรือผู้จัดการนั้นเอง ซึ่งผมได้อ่านพาดหัวอยู่ทุกวี่ทุกวัน ยอมรับครับว่ามีเจตนาปลุกระดมมวลชน จงใจให้ประชาชนผู้บริโภคสื่อบีบบังคับให้ต้องเลือกข้างแบ่งฝั่งแบ่งฝ่าย ไม่เว้นกระทั่งในครอบครัวผมเอง
โดยเฉพาะคุณแม่ผมและคุณป้า เกิดอาการที่ผมเห็นแล้วมันคือวิกลจริตทางการเมืองตามที่กระทู้แนะนำในราชดำเนินได้บ่งบอกไว้ โดยไม่ได้นึกถึงคดีทุจริตมโหฬารที่ยิ่งกว่ามูลค่าหุ้นชินคอร์ปอย่างปรส. แม่กลับบอกว่าไม่รู้เรื่อง

และยิ่งเมื่อกกต.ถูกตัดสินใจจำคุกไม่รอลงอาญา แม่ผมนี่ดีใจ สะใจอย่างกะอะไรดีเลยครับ ผมว่าคุณแม่ผมนี่เลี้ยงลูกอย่างผมมานี่ก็ถือว่าดีมากแล้วครับ แต่มาเสียตรงการบริโภคสื่อการเมืองนี่แหละ ทำให้พอพูดถึงการเมืองผมแทบไม่อยากจะพูดอะไรในเรื่องนี้เลย ปล่อยให้ท่านพล่ามของท่านให้สบายอารมณ์สาแก่ใจท่านไป ทั้งยังดูถูกผมว่าเข้าข้างหน้าเหลี่ยม ไม่คิดจะเลือกฝ่ายค้านเอาไว้คานอำนาจ ทั้งที่จริงแล้วในการเลือกตั้งผมก็ไม่ได้เลือกทรท. หรือปชป.หรอก ไปเลือกชาติไทยช่วงที่ชูวิทย์กำลังรุ่ง(แต่ในตอนนี้ผมคิดว่าจะเลือกพรรคเล็กอย่างเช่น พรรคสันติภาพไทย กับพรรคคนขอปลดหนี้ ซึ่งเขาทำตามกติกาเรื่อยมา เพราะฝ่ายค้านในตอนนี้ผมบอกได้เลยว่าค้านกันแบบไม่สร้างสรรค์แม้ว่าจะเปลี่ยนหัวหน้าพรรคเป็นนายมาร์ค แต่ก็มาพลาดจนถูกตั้งฉายา ม.7ไป)
ในขณะที่พ่อและพี่ผมเอง ก็ไม่เชื่อว่าสื่อในปัจจุบันนี้มันเน่าจนไม่น่าเชื่อถือแล้ว สื่อไม่มีจรรยาบรรณมีอิสระมากที่สุดจนต่างชาติเขายังส่งคนของสำนักข่าวตัวเองมาฝึกงานหาข่าวในประเทศไทยเรานี่เป็นฐานหลักเลยครับ คิดว่าสื่อถูกรัฐบาลปิดกั้นโดยเฉพาะโทรทัศน์ ถึงขนาดต้องไปเปิดสถานีASTV

เรื่องของกกต.ถูกจำคุกนี่ ผมยอมรับในคำตัดสินของศาลครับ แต่ในขณะเดียวกันช่วงที่กกต.ประสบปัญหาฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง ไปขอคำแนะนำจากศาลก็ให้กกต.ไปทำงานตามหน้าที่ไม่ให้คำแนะนำอะไร พอได้สส.ไม่ครบก็ต้องจัดเลือกตั้งใหม่คราวศาลบอกว่าผิด แล้วแบบนี้ใครหน้าไหนจะกล้ามาเป็นกกต.ละครับเนี่ย คนดีไม่ว่าใครก็ไม่คิดจะเป็นแน่นอน ไม่มีใครยอมโดนให้ด่าฟรีหรอกครับ กกต.รุ่นแรกอย่างอ.ยุวรัตน์เอง ก็มีเงื่อนไขว่าถ้าจะให้ท่านเป็นต้องเอาเพื่อนกกต.เดิมอีก2คนมาเป็นด้วย และออกตัวไปก่อนว่าท่านเป็นที่ปรึกษาการเมืองของรองนายกฯ สมคิดด้วยจะมากล่าวหาว่าท่านเป็นนอมินี่ของพรรคไทยรักไทยก็ไม่ได้อีก ดังนั้นผมจึงไม่รู้สึกดีใจเลยที่กกต.ถูกจำคุกแบบไม่รอลงอาญาและให้ออกเลย
ผมเดาว่าคนที่กล้าจะมาเป็นได้มีแต่คนที่มีแนวคิดสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรเท่านั้น ซึ่งเป็นกกต.ที่ถือว่าเอียงอย่างชัดเจนที่สุด และต่อให้ได้กกต.ที่เอียงกะเทเร่แค่ไหนก็ตามผลการเลือกตั้งก็ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงได้หรอกครับ แม้ว่าจะมีการสอยให้ใบเหลืองใบแดงกันเป็นว่าเล่นก็ตามที

วันนี้ผมเพิ่งมีโอกาสถกเรื่องการเมืองกับคุณนาฬิกาทราย...ครับ ซึ่งเขาเป็นลูกพี่ลูกน้องของผมเอง แกจบดร.วิศวะฯจากม.โทไดของญี่ปุ่น เรียนหนังสือเก่งกาจหัวไบร์ทมากๆเกรดเฉลี่ย3.80กว่าตั้งประถมยันจบปริญญา เขาประสบปัญหาไม่ลงรอยทางการเมืองกับพ่อแม่ของเขาเช่นกันโดยเฉพาะกับพ่อของเขาเองซึ่งมีลอจิกไปในทางสนับสนุนปชป. เลยไม่แปลกครับที่จะเห็นตั้งกระทู้ระบายอารมณ์ตัดพ้อว่าตัวเองโง่สิ้นดี ออกมาในโต๊ะราชดำเนินในตอนนี้ และผมเองซึ่งตามเซฟเก็บกระทู้การเมืองในราชดำเนินก็ได้มีโอกาสไรท์แผ่นเซฟกระทู้แจกไปให้เขาด้วย เพราะเขาเองก็อยากจะเผยแพร่ให้รุ่นน้องที่คณะวิศวะจุฬาฯได้อ่านด้วย




 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2549    
Last Update : 15 มกราคม 2550 13:29:10 น.
Counter : 471 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.