Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เมื่อร่างพรบ.คุ้มครองฯ เป็นกฎหมาย การดูแลผู้ป่วยโดยหลักการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป

เมื่อร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. …เป็นกฎหมาย
การดูแลรักษาผู้ป่วยโดยหลักการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ในโรงพยาบาล จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป


นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์ รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงาน
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข แห่งประเทศไทย
๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓



มาตรการ ๕ ข้อที่มีการกล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ใช่คำขู่ หรือเป็นการประท้วงของหมอที่ดูแลผู้ป่วย แต่เป็นการบอกให้สังคมทราบว่า ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขบังคับให้หมอไม่สามารถใช้หลักความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ดูแลคนไข้อีกต่อไปได้

แต่ต้องใช้หลักการจัดสรรทรัพยากรในการดูแลคนไข้แทน เนื่องจากกฎหมายจะบังคับให้การดูแลคนไข้เป็นการขายบริการชนิดหนึ่ง
การขายบริการต้องขายตามทรัพยากรที่ได้รับการจัดสรรมา



ในปีพ.ศ.๒๕๕๒การตรวจผู้ป่วยที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีถึง ๑๕๒ ล้านครั้งและผู้ป่วยในมีถึง ๑๐ ล้านครั้ง(จาก //bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=5 ) เนื่องจาก หมอมีน้อยคนไข้มีมาก (ปัจจุบัน แพทย์ที่ลงทะเบียนและปฏิบัติงานในกระทรวงสาธสารณสุข-ไม่ใช่ผู้บริหาร มีจำนวน๙,๐๙๖คน...แพทยสภา)

คนไข้ ยอมอนุโลมกับหมอและรัฐบาล หมอ ยอมอนุโลมกับคนไข้และรัฐบาล เนื่องจาก รัฐบาลจัดทรัพยากร(คน-เงิน-ของ) มาดูแลประชาชนอย่างจำกัด ประชาชนจำเป็นต้องยอมรับการดูแลจากรัฐบาลเช่นนั้น ผู้ปฏิบัติงานหรือหมอ ก็ยอมทำงานเพื่อประชาชนเช่นนั้น

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยการดูแลที่เต็มที่แล้ว ย่อมเหลือเหตุเพียงอย่างเดียวคือ เหตุจากการจัดสรรทรัพยากรให้แก่โรงพยาบาลอย่างจำกัด

รัฐบาลจัดกำลังคนผ่านกพ.(คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)ซึ่ง ห้ามเพิ่มจำนวนข้าราชการ

รัฐบาลจัดเงินผ่านสปสช.(สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ-ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕) ซึ่งจ่ายเงินไม่ครบตามที่โรงพยาบาลใช้ในการดูแลคนไข้และล่าช้า ทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรอย่างรุนแรง

ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากปัญหาจริยธรรมบกพร่องและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงนั้น น้อยมาก รัฐบาลจะทำการลงโทษอย่างไรก็ทำไป แต่ข้อผิดพลาดจากการอยู่ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดอย่างสาหัสนั้นเกิดจากการดูแลรักษาคนไข้ต้องเป็นไปโดยอนุโลม และการรักษามาตรฐานการทำงานโดยเคร่งครัดนั้นทำไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น



การรับคนไข้ของหอผู้ป่วยแห่งหนึ่ง หากกำหนดไว้ว่า ๓๐ เตียง แต่ความเป็นจริงอาจจะ ๓๕ เตียง มาตรฐานเตียงต้องห่างกันอย่างน้อย ๑ เมตรย่อมเป็นไปไม่ได้ และยังมีที่ระเบียงอีกนับ ๕ นับ ๑๐

คนไข้มีสิทธิที่จะบอกว่า ไม่ยอมอนุโลมให้รัฐบาลเพราะ" ระเบียง "ไม่ใช่มาตรฐานการรักษาในโรงพยาบาล

หมอก็มีสิทธิที่จะบอกว่าไม่ยอมอนุโลมให้รัฐบาลด้วยเหตุผลเดียวกัน





โดยเฉพาะที่ห้องตรวจคนไข้นอก คนไข้อาจบอกว่า เวลาตรวจน้อยไป เพราะเข้าไปในห้องยังไม่ทันนั่งถนัดเลย หมอตรวจเสร็จแล้ว

หมอก็อาจบอกว่า หมอคนหนึ่งจะต้องใช้เวลาตรวจตามมาตรฐานอังกฤษอเมริกาหรือสวีเดน จะต้องใช้เวลาสำหรับคนไข้ประมาณคนละ๑๕-๒๐ นาที วันหนึ่งหมอหนึ่งคนจะตรวจได้อย่างมาก ๒๘ คน(//www.commonwealthfund.org/Content/Performance-Snapshots/Responsiveness-of-the-Health-System/Time-Spent-with-Physician.aspx ) ตามมาตรฐาน

คนไข้กับหมอก็จำยอมและอนุโลมต่อการจัดทรัพยากรที่ขาดแคลนอย่างหนัก โดยรัฐบาล


แต่เมื่อรัฐบาลจะออกกฎหมายบังคับให้หมอที่ปฏิบัติงานโดยอนุโลม แต่เต็มที่ตามจริยธรรมและมาตรฐานเท่าที่จะสามารถทำได้นั้น มีความเสี่ยงถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตลอดชีพมากขึ้น มีความเสี่ยงที่ทรัพยากรโรงพยาบาลจะลดน้อยลงเพราะถูกเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนตามข้องกำหนดในร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

ซึ่งความเสี่ยงนี้ ทำให้หมอทั้งหลายต้องบอกประชาชนว่า ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าว

แต่ถ้าออกกฎหมายนี้มาเมื่อไร การที่หมอจะดูแลคนไข้โดยอนุโลมดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ทำไม่ได้ เพราะการอนุโลมเป็นการเพิ่มความเสี่ยงเป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพชีวิตและครอบครัวของหมอและผู้ร่วมงานอย่างไม่เป็นธรรม

คนเสนอกฎหมายไม่ใช่คนทำงานและไม่ใช่คนที่จะมีความเสี่ยงเช่นหมอกับคนไข้ แต่เป็นคนที่จะไปนั่งบริหารกองทุนและสามารถเลือกสรรโรงพยาบาลให้แก่ตนเองโดยไม่ต้องเสี่ยงอย่างคนไข้ทั่วไป ดังไม่เคยปรากฏว่าผู้สนับสนุนร่างกฎหมายไปนั่งรอตรวจในโรงพยาบาลที่ซอมซ่อแออัดเช่นที่คนไข้ทั่วไปเป็นอยู่กันมา

ด้วยข้อจำกัดของทรัพยากรและกฎหมาย หมอคนหนึ่งจึงต้องตรวจคนไข้เพียงวันละ ๒๘ ราย ตามมาตรฐานที่พึงปฏิบัติ โรงพยาบาลจังหวัดหนึ่งหากมีหมอไม่นับรวมผู้บริหารแล้วจำนวน ๓๓ คน สมมุติว่า ตรวจคนไข้เหมือนกันหมด (แต่ความเป็นจริงไม่เหมือนกัน เพราะต่างสาขาต่างโรค) จะตรวจคนไข้ที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ๕๐๐ ราย ใช้หมอจำนวน ๑๘ คน ตรวจคนไข้นอกใช้หมอที่เหลือคือ ๑๕ คน ตรวจได้เพียงวันละ ๔๕๐ ราย ดังนั้น แต่เดิมโดยอนุโลมโรงพยาบาลสามารถรับตรวจผู้ป่วยนอกวันละ ๑,๒๐๐ ราย จะลดจำนวนคนไข้นอกลงเหลือวันละไม่เกิน ๔๕๐ ราย อีก ๗๕๐ ราย ไม่สามารถรับบัตรคิวได้ นอกเวลาราชการเป็นการตรวจคนไข้อุบัติเหตุและฉุกเฉินเท่านั้น ที่ไม่ได้รับการตรวจก็สามารถไปใช้บริการโรงพยาบาลและคลินิกเอกชนได้ตามอัธยาศัย

ดังนั้น การรักษาคนไข้ตามกำลังความสามารถที่เคยอนุโลมกันมานานก็จะเปลี่ยนไป โดยพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ จะบังคับให้หมอต้องใช้มาตรฐานตามการจัดสรรทรัพยากรเป็นหลัก ไม่สามารถใช้ความเมตตากรุณาที่มีต่อกันได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้การดูแลรักษาคนไข้เป็นการขายบริการ ไม่ใช่การช่วยเหลือกันประสาเพื่อนร่วมทุกข์




บทสรุปเพิ่มเติม


๑.เดิม หมอกับคนไข้อนุโลมกับรัฐบาล คนไข้ยอมรับการตรวจรักษาตามที่โรงพยาบาล(รัฐบาล)สามารถจัดให้ หมอยอมตรวจรักษาคนไข้จนกว่าจะหมด ไม่ได้กำหนดเวลา ไม่มีทรัพยากรก็หาเอง ทอดกฐินผ้าป่า

๒.รัฐบาลมีหน้าที่จัดบริการสาธารณะ ต้องมีคน-เงิน-ของ(เครื่องมือ-สถานที่) แต่รัฐออกนโยบายไม่เพิ่มข้าราชการ เอาเงินให้สปสช.แทนการให้โรงพยาบาล สปสช.ออกมาตรการไม่จ่ายเงินให้โรงพยาบาล

๓.รัฐบาล ออกกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายฯแต่ทำให้ให้เกิดกลไกให้มีการจูงใจให้ร้องเรียน และฟ้องร้องมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงมหาศาลแก่หมอและผู้ร่วมงาน และเกิดช่องทางสูญเสียเงินของโรงพยาบาลมากขึ้นตามกฎหมาย

๔.หมอต้องใช้ มาตรฐานการทำงานตามมาตรฐานสากล คือ ประเทศอังกฤษและอเมริกา แพทย์จะตรวจคนไข้ใช้เวลา ๑๕-๒๐นาที ใช้มาตรการทำงานตามการจัดสรรทรัพยากร โดยหลักธรรมชาติ ไม่มีเงินไม่มีข้าวกิน ไม่มีเครื่องมือ ทำงานไม่ได้







ปล. สิ่งที่เป็นอยู่ ในสภาพตอนนี้ ก็คือ เราขาดแคลนทุกอย่าง แต่ถ้าต้องการมาตรฐานที่ดีขึ้นกว่านี้ ( ซึ่งจริง ๆ ก็ควรเป็นแบบนั้น ) ก็คงต้องมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เคยทำกันมา

บางที ผมก็คิดเหมือนกันว่า หมอเรา เอาคนไข้ ประชาชน มาเสี่ยง กับความไม่พร้อมของระบบสาธารณสุข ..

รพ.รัฐ แห่งไหน ไม่มีหมอดมยา แทนที่จะให้พยาบาลดมยา ก็ควรจะส่งต่อไปยังสถานที่มี หมอดมยา ซึ่งมีมาตรฐานความปลอดภัยมากกว่า ... ดีกับคนไข้ด้วย ???

รพ.รัฐ แห่งไหน หมอน้อย คนไข้เยอะ ตรวจไม่ทัน แทนที่จะตรวจคนละ ๒ - ๓ นาที แบบที่เป้นอยู่ ( คนไข้ก็บ่นว่า รอนาน ตรวจแป๊บเดียว ยังไม่ทันนั่งเลย หมอให้ไปรับยาแล้ว ไม่ได้คุยซักถาม ไม่ได้แนะนำอะไรเลย ) ก็ควรให้เวลามากขึ้นกับ คนไข้(ญาติ) จะได้มีเวลาซักถาม มีเวลาให้คำแนะนำ ดีกับคนไข้ด้วย ???

รพ.รัฐ แห่งไหน ที่เครื่องไม้เครื่องมือไม่พร้อม แทนที่จะดัดแปลง ใช้โน่นนี่แทน ถูไถไปเรื่อย ก็ส่งไปผ่าตัดยัง รพ.ที่เครื่องมือ อุปกรณ์พร้อมกว่า ดีกับคนไข้ด้วย ???

ไม่ว่าจะเลือกแบบไหน ก็มีข้อดีข้อเสียด้วยกันทั้งนั้นแหละครับ .. แต่ก็น่าแปลกใจ ดันเลือก วิธีที่มีข้อขัดแย้ง มีข้อสงสัยว่า นอกจากไม่แก้ปัญหาเดิมแล้วยังจะก่อให้เกิดปัญหาใหม่อีก




Create Date : 11 ตุลาคม 2553
Last Update : 19 ตุลาคม 2553 9:47:20 น. 1 comments
Counter : 5514 Pageviews.  

 
ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:08:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]