Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

รายการ "เวทีสาธารณะ" สนทนา หาทางออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ....เพิ่มความเห็นเบื้องลึกเบื้องหลัง ..

รายการ "เวทีสาธารณะ" ออกอากาศเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 53 ทางช่อง thai PBS
ได้นำเสนอเรื่อง "สนทนา หาทางออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย สาธารณสุข"
ดำเนินรายการโดย ณาตยา แวววีรคุปต์

มีแพทย์ นักศึกษาแพทย์ และฝ่ายยกร่างพ.ร.บ.ฯ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....

บรรยากาศการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจะเป็นอย่างไร หลังจากพ.ร.บ.นี้ออก แพทย์จะถูกดึงเงิน พตส. มาเข้าร่วมกับกองทุนหรือไม่?

//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1281898859

หรือดูจากเวบนี้ ก็ได้ครับ

//tv.kapook.com/replay_channelTPBS.php?c=5&d=14&m=8&yr=2010&h=14&x=107&y=29


มีคุณหมอ หนึ่งในผู้ร่วมออกรายการ โพสกระทู้ไว้ในห้องสวนลุม พันทิบ ..

L9572016 ประชุมแบบจับเข่าคุยกับผู้ร่วมร่างพรบ.ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหาย เราเลิกทะเลาะกันเถอะ

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9572016/L9572016.html

ซึ่งเมื่ออ่านความเห็นในกระทู้ และ ดูจากรายการแล้ว ก็รู้สึก อยากแจม เป็นยิ่งนัก

ข้อความที่เป็นตัวอักษร สีน้ำเงิน เป็น ข้อความที่เขียนโดยคุณหมอ CMV ซึ่งโพสกระทู้ในพันทิบ และได้เป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมรายการ นะครับ

ผมก็จะตัดบางส่วน ออกมาตอบ .. ถ้าอยากอ่านข้อความทั้งหมดของคุณหมอ CMV ก็แวะไปอ่านในกระทู้ได้เลยครับ




ลืมคำตอบไปหรือเปล่าว่ามันมีคำตอบที่สามอีก
3. เห็นด้วย แต่ขอแก้ไขในประเด็นที่ทำให้เกิดปัญหาได้ไหม


.................... ใช่แล้วครับ ...



ก่อนที่จะพูดถึงประเด็นปัญหาตามแต่ละมาตรา ขอชี้แจ้งให้ตรงกันก่อนว่า
จุด ประสงค์หลักของการออก พรบ.ฯ ชุดนี้ ไม่ใช่เพื่อ"ลดการฟ้องร้องแพทย์" อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นการ "ชดเชย และเยียวยา" ผู้ที่ได้รับความเสียหายกันต่างหาก


.............. ถูกต้องครับ จาก ชื่อ พรบ.ฯ ก็เป็นแบบนั้น .. แต่ก็มีบางคนเข้าใจว่า พรบ.นี้ ช่วยลดการฟ้องร้องแพทย์ด้วย .. ซึ่งผมคิดว่า บางคนนั้น ไม่น่าจะเป็น " หมอที่ทำงานในหน้าที่หมอ รักษาผู้ป่วยอยู่ นะครับ "



"ทำไม เราไม่แก้ โดยการส่งน้ำมาดับไฟแทนการดูดควัน?" ส่งเงินที่เยอะขนาดนั้นมาบางส่วนเพื่อปรับปรุงระบบบริการให้มันดีขึ้น เพื่อลดความผิดพลาดซิ

ประเด็นนี้ ทางผู้ร่วมร่างพรบ. รับไปในหลักการ และสัญญาพวกเราว่า
เขาจะหาวิธีการ ที่ทำให้เงินส่วนนี้ ไปแก้ปัญหาทีพวกเราประสบจริงๆ ???


................... สัญญา ???

................... ใน พรบ. หลักประกันสุขภาพ ปี ๒๕๔๕ ก็มีกำหนดไว้เหมือนกัน อาจไม่ระบุชัดนัก แต่ก็ไม่เคยมีการนำเงินจากกองทุนฯ มาใช้ เพื่อส่งน้ำมาดับไฟเลย .. คุณหมอ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผอ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) น่าจะพอมีข้อมูลอยู่บ้าง ละมั๊ง ว่าทำไม ...

( ผมจึงไม่ค่อยเชื่อว่า พรบ. คุ้มครองจะทำได้ตามที่รับปากไป ??? )




จะไม่จ่ายในกรณี
1. ความเสียหายเกิดขึ้นตามปกติธรรมดาของโรคนั้น
2. ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการรักษาแล้วไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ

ฟังดูดีไหม? เพราะไม่จำเป็นต้องหาคนผิด แค่ดูว่า ผลกระทบทำให้เขามีปัญหาในการใช้ชีวิตหรือเปล่า

แล้วงั้น คำว่า "ตามมาตรฐานวิชาชีพ" มันโผล่มาได้อย่างไรละ??
เป็นที่น่าประหลาดใจมากว่า ผู้ที่เสนอ คำๆนี้ลงไปคือ
แพทยสภา ของพวกเรา!! ในการประชุมร่างๆที่ผ่านๆมา

"แล้วเราจะแก้คืนได้ไหม" นศพ.คนหนึ่งถาม
"ได้ซิครับ" หนึ่งในผู้ร่วมร่างตอบ "สิ่งที่ผมต้องการคือมาจับเข่าคุยแบบนี้แหละ ว่าจะให้แก้ตรงไหน ไม่เห็นด้วยตรงไหน
ผมเองก็ว่า ข้อ 6 นี้ ของร่างฉบับรัฐบาล มันไม่ดีจริงๆอย่างที่ว่านั่นแหละ




............................. ถ้ากำหนดไว้แค่ ๒ ข้อนั้น .. อาจหนักกว่านี้ ก็ได้นะครับ เพราะ จะเปิดกว้างมากขึ้น ลองคิดว่า “ ปกติธรรมดาของโรคนั้น “ คืออะไร ??? กระดูกหน้าแข้งหัก ปกติธรรมดา ก็มีได้ตั้งแต่ ปกติ เจ็บตึงขัดนิดหน่อย เดินกะเผลก ขาคดผิดรูป ไปจนกระทั่ง ตัดขา .. ใช่หรือเปล่า ??? รักษาแล้วขาคด เดินกะเผลก ก็ร้องเรียนไปก่อน ได้ชดเชย หรือไม่ได้ก็ว่ากันอีกที .. อย่างนั้นหรือ ...

ถ้าไม่กำหนด ไว้เลย ก็มีข้อดี คณะกรรมการ ก็จะสามารถให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ง่ายขึ้น แต่ก็อาจเป็นตัวอย่างทำให้การร้องเรียนมากขึ้น .. ซึ่งปกติ ก็จำนวนเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ตัวอย่างจากสวีเดน ตามข่าวนี้ ..

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-08-2010&group=7&gblog=73

" ก่อนหน้าระบบประกันสุขภาพจะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1975, มีคนไข้ประมาณ 100 รายต่อปีได้รับค่าชดเชยความเสียหายตามบทบัญญัติในกฎหมายความเสียหาย(tort law rules). ขณะนี้, คนไข้ประมาณ 5,000 รายต่อปี ได้รับค่าชดเชยความเสียหาย "

ผมเสนอให้ตัด มต. ๖ ออกไป แต่ว่า การจ่ายง่ายขึ้นเร็วขึ้น กองทุนจะเป็นอย่างไร ???

มีหมอนักกฏหมายให้ข้อคิดเห็นใน ประเด็น มต.๕ - ๖ ไว้ น่าสนใจ ..

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-08-2010&group=7&gblog=72

ับล๊อกนี้เป็นข้อเสนอของผมเอง ..

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-08-2010&group=7&gblog=69



ปัญหาอยู่ตรงนี้ค่ะ บางครั้งเขาต้องการการชดเชยจริงๆ แต่ไม่ได้รับการใส่ใจ
เขาจึงร้องแพทย์สภา แต่ การดำเนินการล่าช้ามาก
เขาไปร้องแพ่ง แต่ ก็ โดนดึงเรื่องจนหมดอายุความ
ทำให้เขาต้องร้องอาญา



............... ก่อนอื่น ต้องชี้แจงก่อนว่า “ แพทยสภา “ ตรวจสอบมาตรฐานทางวิชาชีพ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการฟ้องแพ่ง หรือ อาญา ... แต่ ส่วนใหญ่จะเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า จะฟ้องแพ่ง ฟ้องอาญา ต้องรอแพทยสภาสรุปมาก่อน ..

ถ้าต้องการฟ้องแพ่ง ฟ้องอาญา ก็สามารถฟ้องได้เลย โดยไม่ต้องรอคำตอบจากแพทยสภา เป็นคนละเรื่องกันนะครับ ...

การอ้างว่า ต้องฟ้องอาญา เพราะ แพทยสภาพิจารณาช้า ทำให้หมดอายุความทางแพ่ง จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เน้นอีกครั้งว่า ไม่เกี่ยวกัน ถ้าจะฟ้องทั้งสามทาง ( แพ่ง อาญา แพทยสภา ) พร้อมกันเลยก็ได้ครับ



มาตรา 45 การฟ้องอาญา ...(โอ้แม่เจ้า จะเอาเราเข้าคุกเหรอ?)

ทางทีมร่างพรบฯ อธิบายให้ฟังว่า
ถ้าผู้ป่วยรับเงิน ก้อนนี้ไป
1. จะไม่มีสิทธิฟ้องทางแพ่งต่อ เพราะจะมีการไกล่เกลี่ยและทำสัญญากัน
2. แต่ยังฟ้องอาญาได้

แต่สามารถเขียนได้ว่า
"ไม่สามารถนำข้อมูลในการพิจารณารับเงินจากพรบ.ชุดนี้ ไปเป็นหลักฐานในศาล" ได้ค่ะ


ข้อ ๑ .. ผมไม่แน่ใจว่า เงินก้อนนี้ หมายถึง ก้อนไหน ... เพราะ พรบ.นี้จะมีเงินสองก้อน คือ เงินช่วยเหลือเบื้องต้น และ เงินชดเชย ... ( ดูสรุปจากภาพประกอบด้วย จะเข้าใจง่ายขึ้น )



ถ้าดูตาม พรบ. นี้ ไม่มีข้อไหนที่ระบุว่า ไม่มีสิทธิฟ้องแพ่งเลยนะครับ ใน มต.๓๓ ก็บอกแต่เพียงว่า ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามคณะกรรมการกำหนด .. ( ซึ่งจะกำหนดอย่างไร ก็บอกไม่ได้ ??? )


ข้อ ๒ เห็นด้วยว่า ฟ้องอาญาได้ ไม่ควรมีข้อยกเว้น ให้กับวิชาชีพ ให้กับใคร ทั้งนั้น ใน มต.๔๖ ระบุเรื่องจำคุกไว้ในกรณีที่ไม่ให้ความร่วมมือ ซึ่งโดยส่วนตัวผมก็ยังคิดว่า “ให้สิทธิกับคณะกรรมการมากไป” อย่าลืมว่า ส่วนหนึ่งของ คณะกรรมการ มาจาก NGO นะครับ ( ต่างจาก คกก. ใน มต.๔๑ ซึ่งหลากหลายมากกว่า)

ส่วน ที่บอกว่า ไม่สามารถนำข้อมูล ฯ ก็มีเขียนไว้ในร่างนี้อยู่แล้วครับ มต.๔๑ ( ส่วนว่า จะทำได้จริง ตามนั้นหรือเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจ ??? )



เงินมาจากไหน???

คำว่าเงินมาจากการหักสถานพยาบาล ทำให้เราหลายคนกังวลใจว่า
แล้วอย่างนี้รพ.รัฐไม่ต้องขาดทุนกันจนหาอุปกรณ์มารักษาคนไข้ได้เหรอ

สิ่งที่บางคนยังไม่รู้คือ เท่าที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2545 และเริ่มมี 30 บาทรักษาทุกโรค
รพ.รัฐทุกแห่งโดนหักเงินเป็นจำนวนหนึ่งเข้ากองทุนของสปสช. ก่อนส่งให้รพ.มาตั้งนานแล้ว

ดังนั้น เมื่อพรบ.นี้ออก ผู้ป่วย 30 บาท เงิน cap per head ของ 30 บาทคงไม่ต่างจากเดิม

แต่ที่ต่างคงเป็นเงินของ "ประกันสังคม" , "ข้าราชการ" เสียมากกว่า
ซึ่งขึ้นอยู่กับทางหน่วยงานนั้นๆ จะหักค่าหัวก่อนส่งที่รพ.เราเท่าไหร่ ???



........... ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน ว่าผมเข้าใจผิดเองหรือเปล่า .... เพราะ ใน พรบ.นี้ มต. ๒๒ เขียนไว้ว่า ข้อ.๑ เงินโอนจาก มต.๔๑ และ ข้อ ๒ เงินจากสถานพยาบาลจ่ายสมทบ

พอย้อนกลับไปดู มต.๓ คำนิยามของสถานพยาบาล รวมถึง สถานพยาบาลของรัฐ ด้วยนะครับ .. แล้วจะตีความว่า รพ.รัฐ ไม่ต้องจ่ายเงิน ตามข้อ ๒ หรืออย่างไร ???


เงิน รายรับ ของ รพ.รัฐ ไม่ว่าจาก สปสช. ประกันสังคม และ ข้าราชการ ไม่น่าจะต่างจากเดิม แต่ ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น เพื่อเข้ากองทุน เพราะคงไม่มีใครเอาเงินมาออกแทน สถานพยาบาลของรัฐแน่ และ ใน พรบ.นี้ ก็เรียกเก็บจาก “ สถานพยาบาล “ ไม่ใช่เก็บจากหน่วยงานนั้นๆ ( สนง.กพ กระทรวงการคลัง และ สนง.ประกันสัมคม ) นะครับ

ถ้าจะให้ดี ผมเสนอว่า กำหนดไว้ใน พรบ.เลยว่า มต.๒๒ วงเล็บ๒ “ ยกเว้น สถานบริการภาครัฐ “




ดังนั้น พรบฯ ควรมีมาตรการชัดเจนในการ ดูแล และพิจารณา อีกทั้งปรับปรุงรพ.ที่มีการร้องเรียนมากๆ (ซึ่งจริงๆแล้ว นี่คือ หน้าที่ของ แพทยสภาที่ต้องทำนะคะ ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาล) ???

ข้อนี้ อาจเข้าใจ คลาดเคลื่อนกันนิดหน่อย เกี่ยวกับการปรับปรุง รพ. (สถานบริการ)

ไม่ใช่แพทยสภาครับ แพทยสภา มีหน้าที่ดูแลมาตรฐานวิชาชีพ “แพทย์” ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง มาตรฐาน รพ. นะครับ

........ จริง ๆ แล้วเป็น หน้าที่ ของ กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ ( สปสช) หรือ อีกนัยหนึ่ง ก็คือ “ รัฐบาล “ นั่นแหละ

..........รวมถึง การเพิ่มโค้วต้าเรียนต่อของแพทย์ และ การเพิ่มศักยภาพ ของ รพ.รัฐ ( รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป ) เพื่อให้มีความสามารถ มีความพร้อม ที่จะเข้าเป็น สถาบันผลิตแพทย์เพิ่ม (เพิ่มจำนวนผลิตแพทย์) ..

รวมถึง คณะแพทย์ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งถ้าจะเพิ่มนักศึกษาแพทย์ให้มากขึ้น .. รัฐ ก็ต้องสนับสนุน ด้านต่างๆ ไม่ใช่ แค่ลมปาก พูดว่า " ให้คณะแพทย์ไปพิจารณารับเพิ่มนักศึกษาแพทย์ " ( หรือจะเรียกว่า " ถ่มน้ำลายทิ้ง" ก็ได้ เพราะไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย ถ่มเสร็จ ก็เดินไปเฉย ๆ ซะงั้น )

แพทยสภา มีหน้าที่ในการควบคุมมาตรฐาน ของ สถานฝึกอบรมแพทย์ เท่านั้นนะครับ ... ไปเพิ่มจำนวนนักศึกษาแพทย์ เองไม่ได้ครับ


และอีกหลายประเด็นที่นำเสนอเช่น

1. วันหลังก็ถ่ายทอดสดการประชุมร่างพรบ. ทั้ง 3 ฝ่าย ออกทีวีไปเลย เราทั้งแพทย์และประชาชนจะได้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นภายในนั้นจริงๆ
ไม่ใช่ว่า ร่างจะดันเข้าสภาอยู่แล้ว แต่หมอหลายคนเพิ่งรู้

2. จัดให้มีการชี้แจง ถกประเด็นปัญหา กันแบบไม่ใช้อารมณ์ หลายๆเวที ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลจังหวัด หรือ อื่นๆ (เข้าใจดีว่ากลุ่มผู้ร่างฯ คงจะเหนื่อย แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
เพราะหนึ่งปากที่เขามาฟัง เขาจะพูดสิ่งที่เขาได้ยิน ไปให้อีกสิบคนแล้วมันจะขยายเป็นลูกโซ่ไปเอง

นั่นเป็นประเด็นคร่าวๆที่เราคุยกัน ตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 5 ทุ่มค่ะ



..................... เห็นด้วยอย่างยิ่ง .. แล้วก็น่าจะทำมาตั้งนานแล้ว เพราะ ถือว่า เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับ ร่าง พรบฯ นี้โดยตรง แต่กลับไม่ค่อยมีใครรู้เรื่อง

ถ้าไม่มีการประท้วงต่อต้าน ก็คงไม่มีใครรู้เรื่องจน พรบ. ออกมาบังคับใช้

ก่อนหน้านี้ ก็มีหลายฉบับ ที่มีปัญหา แต่ก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว เช่น พรบ. ชัณสูตรพลิกศพ ซึ่ง มีเจตนาดี แต่ทำไม่ได้ ในขณะนี้ ถ้าคุณหมอไม่ออกไปชัณสูตรที่เกิดเหตุ ด้วยตนเอง ก็ผิดคดีอาญา ด้วยนะครับ เพียงแต่ยังไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจ เอาจริง ตามกฎหมาย ยวน ๆ กันไปเรื่อย ... ผมว่า คงมีสักวัน ที่ เจ้าพนักงานตำรวจ เอาจริง ฟ้องอาญา คุณหมอ สักคน รับรอง หนาวกันทั้งประเทศ ???




ปล.

ยืนยันอีกครั้งว่า ผมไม่ได้ต้องการล้มร่างฯ ผมเห็นด้วยว่า " พรบ. นี้ มีประโยชน์ " แต่ในเมื่อมีข้อสงสัย ข้อกังขา และ ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งก็คือ ผู้ประกอบวิชาชีพ ( แพทย์ ทันตะ เภสัช พยาบาล เทคนิกการแพทย์ กายภาพ ฯลฯ) โดยส่วนใหญ่ ยังไม่ทราบรายละเอียด ..

ทำไม ไม่ชี้แจง พูดคุยกันให้เข้าใจ ก่อนที่จะนำเข้าสภาฯ ถึงแม้ว่าทางผู้เสนอ บอกว่า ร่างฯนี้ดำเนินการมานานหลายปีแล้ว ผมว่า มันก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะรออีกหน่อยเพื่อพูดคุยให้เข้าใจกันก่อน .. ไม่เช่นนั้น ถ้าเกิดมีผลกระทบ ผลเสียตามมา ใครจะรับผิดชอบ ??? จะแก้ไขอย่างไร ??? ( ผู้ได้รับผลกระทบ ผลเสีย ก็คือ ประชาชนคนไทย ทั้งประเทศ ไม่ใช่ แค่หมอ พยาบาลฯลฯ หรอกครับ )

กลับมาพูดคุยทำความเข้าใจ กันก่อนดีกว่าครับ อย่าดันทุรัง เพื่อเอาชนะ กันเลยครับ .. ในเมื่อทุกฝ่ายก็ทำด้วยความหวังดี มิใช่หรือ




Create Date : 17 สิงหาคม 2553
Last Update : 17 สิงหาคม 2553 12:16:38 น. 1 comments
Counter : 2561 Pageviews.  

 
ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:19:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]