Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

กฏหมาย แพทย์ต้องรู้ ( ผู้ป่วยและญาติ ก็ควรรู้ )

กฏหมาย แพทย์ต้องรู้ ( ผู้ป่วยและญาติ ก็ควรรู้ )

ปัญหาเรื่องการฟ้องร้องแพทย์ ยังเป็นประเด็นที่ร้อนแรงอยู่เสมอ บางช่วงก็ร้อนมาก บางช่วงก็ร้อนน้อย

ท่านใดที่ยังทำหน้าที่เป็น แพทย์รักษาผู้ป่วย และ ยังอยากจะประกอบวิชาชีพแพทย์ ต่อไป .. สิ่งที่ท่านต้อง "เรียน รู้ " ก็คือ กฏหมาย

โดยเฉพาะ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์  เพื่อที่คุณหมอ จะได้ไม่พลาดพลั้ง ทำผิดกฏหมายด้วยความไม่รู้ ซึ่งหมอบางท่าน จ่ายค่าเรียนรู้ ด้วย เงินหลายแสนหลายล้านบาท หรือแม้กระทั่งจ่ายค่าเรียนรู้ ด้วย "วิชาชีพแพทย"

ความรู้วิชาการทางการแพทย์ ความตั้งใจดี ปรารถดี อาจไม่เพียงพอสำหรับปัจจุบัน อย่างที่เห็นในสื่อต่าง ๆ ทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ และ อินเตอร์เนต โลกเปลี่ยนไปแล้ว อย่ายึดมั่นกับ โลกสวยในอดีต หรือ คำพูดที่ว่า " ถ้าหมอทำดี ไม่มีใครฟ้องหมอหรอก "

เรียนรู้ กฏหมาย เรียนรู้จากข่าวสาร เพื่อที่ ท่านจะได้ทำหน้าที่แพทย์ รักษาผู้ป่วย ต่อไปนาน ๆ ...

สำหรับผู้ป่วยและญาติ การเรียนรู้กฏหมาย ก็มีประโยชน์ต่อตัวท่านเอง ในการที่จะปกป้องสิทธิที่ท่านมี และ อาจเข้าใจมากขึ้นว่า บางอย่างทำไม แพทย์ ถึงต้องทำแบบนั้น


แนะนำ หนังสือ "สารพันปัญหาข้อกฏหมาย การบริการทางการแพทย์"  อ่านแป๊บเดียวจบ แต่มีประโยขน์มาก ใช้ได้ตลอดชีวิต และที่สำคัญ " ฟรี " ^_^

กลุ่มงานคดีทางการแพทย์ กลุ่มกฎหมาย ได้จัดทำหนังสือ "สารพันปัญหาข้อกฏหมาย การบริการทางการแพทย์" เพื่อรวบรวมปัญหา ข้อสงสัยที่บุคลากรทางการแพทย์ประสบอยู่และยังไม่เข้าใจทั้งหลักกฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม โดยจัดทำเป็นคำถามตอบในเรื่องที่ประสบอยู่เป็นประจำในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้กฎหมายที่เกี่ยวกับการให้บริการและวิธีดำเนินการที่ถูกต้อง ทั้งนี้ได้ทำการจัดส่งไปให้ทุกโรงพยาบาลแล้ว และท่านสามารถ Download หนังสือฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์กลุ่มกฎหมาย ตามลิงค์นี้นะครับ







ยกตัวอย่าง เรื่องที่น่าสนใจ ..

ถ่ายภาพ ถ่ายคลิป ผิดกาละเทศะ  อาจ ติดคุก โดยไม่รู้ตัว ..








ประเด็นนี้น่าสนใจ ..  ผู้ป่วย ใส่ท่อช่วยหายใจ ..ถ้าจะเอาออก ใครควรเป็นคนเอาออก ?



ใบยินยอมรับการรักษา .. ย้ำกันอีกที ...จะได้เข้าใจตรงกัน ทั้งแพทย์ และ ผุ้ป่วย (ญาติ)





เวบ กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
//www.legal.moph.go.th/

เวบ กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รวมหนังสือบทความน่าสนใจ
//www.legal.moph.go.th/index.php?option=com_remository&Itemid=813&func=select&id=81&orderby=3

เฟส กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/thailegalmoph

การระมัดระวังการใช้Social Media สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข ... โดย หมอแมว    
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-06-2014&group=7&gblog=179

แพทยสภา เตือน แพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง social media      
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=7&gblog=178

"Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์ .... โดย doctorlawyer"   
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-06-2014&group=7&gblog=181

จรรยาบรรณนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย   
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-07-2013&group=15&gblog=60

แพทย์ต้องมี จรรยาแพทย์ (จรรยาบรรณ) แล้วคนอื่น อาชีพอื่น ไม่ต้องมีหรือ ???   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-08-2009&group=7&gblog=31

เวลาเปลี่ยน คนไข้ (ญาติ) เปลี่ยน แต่ หมอ (บางคน) ไม่ยอมเปลี่ยน ...   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-06-2011&group=15&gblog=39

ห้องตรวจในโรงพยาบาลของรัฐ ... กับ ... ความลับของผู้ป่วย   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-05-2010&group=7&gblog=55

โพสชื่อ นามสกุล จริง ทำให้คนอื่นเสียหาย .. ทั้งคนโพส ทั้งเจ้าของเวบ ก็เดือดร้อนได้ ระวังหน่อย...    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-12-2009&group=15&gblog=12

โรคหรือสภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจ ซึ่งจะ ไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ ตามมาตรา 41    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-04-2009&group=7&gblog=22

หมอ ... มีสิทธิ... ที่จะปฏิเสธ .... คนไข้ที่ไม่ฉุกเฉิน..... หรือเปล่า ???   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-08-2009&group=7&gblog=29

ช่องทางร้องเรียน เกี่ยวกับ เรื่อง ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18

ความรู้เกี่ยวกับ ใบรับรองแพทย์    
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5







Create Date : 07 ตุลาคม 2557
Last Update : 7 ตุลาคม 2557 14:27:38 น. 1 comments
Counter : 33806 Pageviews.  

 
นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์
12 มีนาคม 2016 ·

มีคนสอบถามผมมาหลังไมค์ ว่า กรณีที่คนไข้ขอถ่ายรูปการวินิจฉัยของหมอ ที่หมอเขียนในเวชระเบียนหรือ OPD Card จะตอบไปอย่างไรดี และหากไม่ให้ แล้วคนไข้ถามด้วยความไม่เข้าใจว่า "มันมีอะไรเป็นความลับเหรอคะ" (ซึ่งก็อาจเป็นคำถามซื่อๆ ด้วยความไม่เข้าใจ ไม่ได้มีเจตนาจะท้าทายอะไรก็ได้) เราจะตอบอย่างไรดี และหลักการเรื่องนี้ควรเป็นอย่างไร

ในฐานะนักวิชาการด้านสารสนเทศสุขภาพที่สนใจเรื่องกฎหมายและ information privacy ส่วนตัวผมมีความเห็นดังนี้ และขอแชร์มาเผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นด้วยครับ

1. โดยหลักการ ข้อมูลในเวชระเบียนหรือ OPD Card (ไม่ว่าจะในรูปแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์) เป็นข้อมูลที่โรงพยาบาลจัดเก็บเพื่อใช้ในการดูแลรักษาคนไข้เป็นหลัก แต่คนไข้มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลของตนเอง (และผู้แทนโดยชอบธรรมก็มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลของคนไข้ตามกฎหมาย) ดังนั้น โรงพยาบาลไม่มีสิทธิปกปิดการให้ข้อมูลในเวชระเบียนแก่คนไข้

แต่...แต่...แต่...ทุกโรงพยาบาลจะมีกระบวนการที่คนไข้หรือผู้แทนต้องยื่นขออนุมัติ ผอ.รพ. เพื่อขอสำเนาเวชระเบียน อยู่ดีๆ คนไข้จะถือเวชระเบียนตัวเองไปถ่ายเอกสาร หรือหยิบ smart phone ขึ้นมาถ่ายภาพเวชระเบียนตัวเองไม่ได้ครับ เพราะอาจผิดนโยบายการขอสำเนาเวชระเบียน และ/หรือ นโยบายการถ่ายภาพใน รพ. ซึ่งเป็นนโยบายที่ รพ. ชอบที่จะออกมาในการบริหารจัดการโรงพยาบาลของตน และคุ้มครองสิทธิและ privacy ของคนไข้ต่างๆ ได้

กระบวนการที่คนไข้ต้องขออนุมัติ ผอ. ในการขอถ่ายสำเนานี้ มีขึ้นเพื่อการตรวจสอบว่าคนไข้หรือผู้แทน มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวจริง รวมทั้งอาจเป็นช่องทางในการพูดคุยระหว่างคนไข้กับผู้บริหาร เผื่อมีความคับข้องใจหรือมีประเด็นที่ผู้บริหารสามารถรับเรื่องร้องเรียนหรือชี้แจงได้ เพื่อเป็นการลดการเผชิญหน้าหรือทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยแย่ลง นอกจากนี้ยังช่วยให้ รพ. มีหลักฐานเอาไว้อ้างอิงว่าได้เปิดเผยข้อมูลอะไร ให้ใคร เมื่อไหร่ อย่างไร ซึ่งเป็นระบบสำหรับการ accountable ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และเป็นหลักการทั่วไปในการคุ้มครอง privacy ครับ

2. ดังนั้น ถ้าเป็นผม ผมก็คงตอบคนไข้ไปว่า

"ไม่ใช่เรื่องความลับอะไรหรอกครับ แต่เอกสารนี้เป็นเอกสารที่ทาง รพ.ใช้ในการดูแลคนไข้ และสื่อสารกันระหว่างบุคลากรด้วยกัน และทางเรามีการควบคุม เพราะไม่งั้นใครจะหยิบมือถือขึ้นมาถ่ายของใครก็ได้ หรือใครจะเอาไปถ่ายสำเนาอะไรก็ทำได้ โดยไม่มีการตรวจสอบ เราก็จะไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร เป็นคนไข้ตัวจริงหรือเปล่า คนไข้อนุญาตหรือเปล่า หรือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือเปล่า และจะเอาสำเนาไปทำอะไร มีอะไรที่ทาง รพ. ควรอธิบาย ชี้แจง หรือเปล่า

ดังนั้น รพ.จึงมีนโยบายที่ต้องมีการขออนุญาต เพื่อให้ตรวจสอบได้ชัดเจน และมีหลักฐานอ้างอิงหากมีภาพหลุดไปแล้วคนไข้มาฟ้อง รพ. ทีหลังว่าไม่รักษาความลับผู้ป่วย เราจะได้มีหลักฐานไว้อธิบายด้วย

แต่ข้อมูลคนไข้ เป็นสิทธิของคนไข้ที่เข้าถึงได้อยู่แล้ว ดังนั้น เราไม่ได้บ่ายเบี่ยง เพียงแต่มันเป็นขั้นตอนปกติในการขอสำเนา ที่ต้องทำตามระบบของ รพ. เพื่อบริหารจัดการให้กระบวนการนี้คุ้มครองความลับของผู้ป่วยได้รัดกุมและไม่เกิดปัญหากับ รพ. เองในภายหลังด้วย

แต่ถ้าหากคนไข้อยากจะทราบเพียงคำวินิจฉัยเป็นภาษาหมอ เผื่อจะเอาไปค้น หรือเอาไปสอบถามผู้รู้ หมอให้ได้อยู่แล้วครับ ไม่ต้องถ่ายรูปหรือขออนุญาตอะไรให้วุ่นวายหรอกครับ หมอเขียนในกระดาษโน้ตให้เลยก็ได้ ถ้าไม่ได้เอาไปใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานอะไรที่จำเป็นต้องเอาสำเนาเวชระเบียนจริงๆ จังๆ ก็ไม่ต้องถ่ายหรอกครับ หมอเขียนเป็นโน้ตให้ก็น่าจะใช้ได้ สะดวกกว่าด้วย เอามั้ยครับ"

ก็หวังว่าคำตอบแบบนี้จะช่วยอธิบายให้คนไข้ที่มีเหตุมีผลเข้าใจได้บ้างนะครับ หากคนไข้ยังไม่ยอมรับเหตุผล หรือยังคงไม่เข้าใจ ก็ส่งต่ออย่างสุภาพให้คนไข้ไปคุยกับผู้บริหาร รพ. ก็ได้ครับ

การฝึกตอบคำถามเหล่านี้ เป็นทักษะที่หมอทุกคนควรฝึกครับ อย่าทำตัวเป็นไก่ตาแตก ลุกลี้ลุกลน หรืออย่าทำท่า defensive เกินเหตุ หรือท่าทีเป็น authority เช่น "หมอบอกว่าถ่ายไม่ได้ ก็ไม่ได้สิ" "เรามีนโยบายห้ามถ่ายภาพนะครับ หยุดถ่ายเดี๋ยวนี้นะ" (โดยไม่ชี้แจงเหตุผลหรือความจำเป็นในฝั่งของเรา)

ทำแบบนี้ มีแต่ตายกับตาย แทนที่จะส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกัน จะยิ่งทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ ไม่เข้าใจ และไม่เปิดใจรับการอธิบายเหตุและผล และจะส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยในที่สุดครับ

ขอบคุณคำถามดีๆ จากหลังไมค์ นะครับ

นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์
12 มี.ค. 2559

(ความเห็นนี้ เป็นความเห็นส่วนตัวในฐานะนักวิชาการครับ ไม่ใช่ความเห็นหรือจุดยืนของหน่วยงานหรือองค์กรใด)

ที่มา https://www.facebook.com/nawanan/posts/10107328736749740


โดย: หมอหมู วันที่: 16 กรกฎาคม 2560 เวลา:22:04:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]