Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ใครว่า องค์การอาหารและยา ( อย. ) ไม่มีผลงาน ... ผมค้านเต็มที่ ... มีผลงานของ อย.มาแสดงด้วย .

ก่อนอื่น ก็เข้าไปในเวบของ อย. เลยครับ ...


//www.fda.moph.go.th/




มองไป ด้านซ้ายมือ กดเลย " ข่าวผลการดำเนินคดี "






ตัวอย่างผลงาน ...



































นี่แค่ตัวอย่าง นะครับ ...


เห็นชัด ๆ ว่า มีผลงาน .....




//www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_27-53.pdf


//www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AF_%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C_25-53.pdf


แต่ว่า เดือน ๆ หนึ่ง ผลงาน มันน้อยไปหรือเปล่าครับ

ผมว่าแค่ ท่าน ๆ เปิดเนต ดูเคเบิลทีวี ........... รับรองเลยว่า มีเรื่อง รอให้ท่านทำเป็นผลงานอีกเพียบ ...


แล้วก็ทำผิดซ้ำๆ เดิม ... อาจหมายความว่า " บทลงโทษ น้อยไป " ทำให้ เขา ไม่เกรงกลัว หรือเปล่า







Create Date : 09 มีนาคม 2553
Last Update : 9 มีนาคม 2553 16:31:48 น. 12 comments
Counter : 15891 Pageviews.  

 
อย.ร่วมกับ ปคบ.บุกจับเครื่องสำอางค์ไฮโซ มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท ทั้งครีมหน้าขาว ขยายหน้าอก

//www.norsorpor.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/r1943616/http%253A%252F%252Fwww.dailynews.co.th%252Fnewstartpage%252Findex.cfm%253Fpage%253Dcontent%2526categoryID%253D419%2526contentID%253D55102


วัน ศุกร์ ที่ 19 มีนาคม 2553 เวลา 14:53 น


อย.ร่วมกับ ปคบ.บุกจับเครื่องสำอางค์ไฮโซ มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท ทั้งครีมหน้าขาว ขยายหน้าอก

ที่กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 19 มี.ค. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการ อย. ร่วมกันแถลง การจับเครื่องสำอางที่มีการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงทางสื่อต่าง ๆ

โดย นายจุรินทร์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 18 มี.ค. เจ้าหน้าที่ อย.ได้ร่วมกับตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เข้าตรวจค้น บริษัท แพลตตินั่ม คอสเมติก จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 252/232 อาคารเมืองไทย-ภัทร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ

พบว่า มีการโฆษณาเครื่องสำอางยี่ห้อ แพลตตินั่ม เข้าข่ายโฆษณาเกินจริง และเป็นเท็จ จึงได้ยึดอายัดของกลางไว้ทั้งสิ้น 5 รายการ จำนวนกว่า 8,000 ชิ้น มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท

ทั้งนี้ เบื้องต้นพบว่า มีการใช้ฉลากอ้างสรรพคุณเป็นเท็จ เช่น ใช้คำว่า “เจลกระชับ และขยายทรวงอกสูตรเห็นผลทันใจ” หรือ “ซ่อมแซมเซลล์ผิว พร้อมกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวเมลามีน เผยผิวหน้าขาวใส ฝ้า กระ ลดลงอย่างได้ผล ใบหน้าขาวใสงดงามอย่างไร้ที่ติ”

นอกจากนี้ ในจำนวนเครื่องสำอาง 5 รายการ มี 3 รายการ ที่พบสารไฮโดรควิโนน ซึ่งสารดังกล่าวหากใช้ในระยะแรกอาจทำให้ผิวขาว แต่ถ้าใช้ในระยะยาวจะทำให้ผิวดำเป็นอันตราย ซึ่งตามกฎหมายไม่อนุญาตให้มีสารดังกล่าวในเครื่องสำอาง

อย.ได้ตั้งข้อหาจำหน่ายเครื่องสำอางแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย ส่วนกรณีโฆษณานั้น ไม่อยู่ในอำนาจของ อย. และกระทรวงสาธารณสุข จึงจะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายดำเนินการต่อไป

ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย. กล่าวว่า เครื่องสำอาง 5 รายการ ในจำนวนนี้ 3 รายการ ได้แก่

1.แพลตตินั่ม นาโน ซีรั่ม คาเวียร์ ควิก ไลฟ์

2.แพลตตินั่ม คาเวียร์ ออล อิน วัน และ

3.แพลตตินั่ม ซูเปอร์ ออร่า จากการตรวจสอบพบสารไฮโดรควิโนน ซึ่งตามกฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้ เพราะเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตราย โดยจะช่วยให้ผิวขาวเพียงชั่วคราวในระยะแรกเท่านั้น แต่หลังจากนั้นจะทำให้หน้าคล้ำเป็นฝ้าถาวร

ส่วนอีก 2 รายการ คือ

1.เจลดับเบิ้ลดี ทาเพื่อกระชับ และขยายทรงอก และ

2.ครีมทากันแดด ไม่ตรวจพบสารใด แต่เป็นการโอ้อวดโฆษณาที่เกินจริง

เช่นเดียวกับ เครื่องสำอางอีก 3 รายการข้างต้น ทั้งยังแสดงฉลากก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยมีการอ้างว่า เป็นเครื่องสำอางจากประเทศฝรั่งเศสทั้ง ๆ ที่ผลิตในไทย ว่าจ้างโรงงานที่เขตบึงกุ่ม กทม. และ อ.สามพราน จ.นครปฐม ผลิต และยังมีการโอ้อวดสรรพคุณที่โอ้อวดเกินจริง.




โดย: หมอหมู วันที่: 20 มีนาคม 2553 เวลา:19:56:53 น.  

 
//www.fda.moph.go.th/

//www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=26526:2010-03-26-09-16-47&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524


อย.เข้ม!สั่งระงับโฆษณาขายยา “จิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนัง”

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2010 เวลา 16:14 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าว

ในวันนี้ (26 มี.ค.) ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า หลังจากได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคหลายราย ให้ อย.ตรวจสอบยาสมุนไพร “จิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนัง” ที่ซื้อมากินแล้วไม่ได้ผลตามสรรพคุณที่กล่าวอ้าง อย. จึงได้ตรวจสอบ พบมีการโฆษณาขายยาสมุนไพรจิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนัง ผ่านทางเคเบิ้ลทีวีหลายช่อง และเว็บไซต์

พร้อมกันนี้ ยังพบการโฆษณาทางแผ่นปลิว นิตยสารและหนังสือพิมพ์บางฉบับ โดยทุกสื่อที่ตรวจพบ ปรากฏว่า มีการโฆษณาในลักษณะเดียวกัน คือ อวดอ้างรักษาได้สารพัดโรค อย่างเช่น ข้อความโฆษณา “....สุขภาพดีแข็งแรงและแข็งแกร่งด้วยสมุนไพรจีนโบราณต้องปู่เซิน เป็นยาบำรุงร่างกาย มีสรรพคุณในการฟื้นฟูตับไต รักษาเบาหวาน ความดัน โรคเก๊าท์ รูมาตอยด์ ต่อมลูกหมากอักเสบ บำรุงระบบเลือด กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย เสริมสมรรถภาพทางเพศ” เป็นต้น

รวมทั้งทางสื่อเคเบิลทีวีมีการนำตัวอย่างบุคคลที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคภูมิแพ้ เลือดลมไม่ดี ไมเกรน ฯลฯ โดยอ้างว่าหลังจากบริโภคยาดังกล่าวทำให้อาการของโรคหรือโรคที่เป็นอยู่ดีขึ้น


อย.ขอชี้แจงว่าไม่เคยอนุญาตหรือรับรองว่ายาสมุนไพรจิ่วเจิ้งปู่เซินเจียว หนังมีสรรพคุณหรือคุณประโยชน์ในทางรักษาโรค ในลักษณะที่ผู้จำหน่ายหรือผู้ขายนิยมไปโฆษณาทางสื่อต่างๆ เนื่องจากไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่เชื่อถือได้ยืนยัน จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อ โดยยาดังกล่าวมีสรรพคุณตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับไว้ คือ บำรุงร่างกาย เท่านั้น

ปัจจุบัน อย. กำลังดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งจะมีโทษข้อหา โฆษณาขายยาโดยแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จหรือเกินจริง และโฆษณาโดยแสดงสรรพคุณยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคหรืออาการของโรคที่รัฐมนตรีประกาศฯ จะถูกระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และได้มีหนังสือสั่งระงับการโฆษณาขายยาดังกล่าวในทุกสื่อทันที

อีกทั้งขณะนี้ อย.ได้จัดทำหนังสือแจ้งเตือนผู้ประกอบการมิให้มีการโฆษณาผิดกฎหมายเช่นนี้ ซ้ำ มิฉะนั้น หากตรวจพบอีก จะนำเข้าคณะกรรมการยา เพื่อพิจารณาเพิกถอนทะเบียนตำรับยาดังกล่าว



รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวว่า ขอให้ผู้ประกอบการทุกรายเห็นแก่ความปลอดภัยของผู้บริโภค อย่าโฆษณาด้วยวิธีต่าง ๆ ในลักษณะที่เกินเลยความเป็นจริง มิเช่นนั้น อย. จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด

สำหรับผู้บริโภคขอให้ช่วยเป็นหูเป็นตา และอย่าหลงเชื่อง่าย นอกจากซื้อยาดังกล่าวในราคาแพงแล้ว อาจไม่ได้ผลในการรักษา แถมเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายโดยไม่รู้ตัวได้

หากพบการโฆษณาขายยาโอ้อวด เกินจริงให้แจ้งร้องเรียนได้ที่

ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชั้น 1 ตึก อย.

หรือ สายด่วน อย. 1556

หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th

หรือ ตู้ ปณ.1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11004



ปล. เหตุการณ์ซ้ำเดิม เปลี่ยนตัวแสดงนิดหน่อย คนขายเก็บเงินใส่กระเป๋ากลับไป ชาวบ้านก็ถูกหลอกอยู่เหมือนเดิม


โดย: หมอหมู วันที่: 27 มีนาคม 2553 เวลา:20:04:14 น.  

 
//www.norsorpor.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/r2010928/http%253A%252F%252Fwww.matichon.co.th%252Fnews_detail.php%253Fnewsid%253D1273563354%2526catid%253D05

วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 14:40:26 น. มติชนออนไลน์

อย.เตือนระวังเครื่องสำอางอันตราย26รายการ ประกาศห้ามใช้-ผลิต-นำเข้า-ขาย เด็ดขาด

อย.เผยเครื่องสำอางอันตรายเพิ่มอีก 26 รายการ หลังตรวจพบสารประกอบของปรอท ไฮโดรควิโนนกรดเรทิโนอิก และ จุลินทรีย์ อันตรายอย่างยิ่ง ประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือขายเด็ดขาด

ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศรายชื่อเครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายไปก่อนหน้านี้ อย.ขอเพิ่มเติมรายชื่อเครื่องสำอางอันตรายเพิ่มเติมอีก 26 รายการ ซึ่งเป็นเครื่องสำอางที่เก็บตัวอย่างจากร้านจำหน่ายเครื่องสำอางใน เขตกรุงเทพฯ และนนทบุรี ตรวจพบสารประกอบของปรอท ได้แก่

1.) S.S.Night Cream ครีมก่อนนอน (1)

2.) ครีมชุดน้ำนมข้าว หน้าเด้ง หน้าใส น้ำนมข้าวแท้ 100%

3.) สุภัชชา โสมสมุนไพร

4.) หน้าเด้ง หน้าใส น้ำนมข้าวแท้ 100%

5.) ครีมนมแพะ

6.) ไพลสดแท้ 100% (ชุดบำรุงหน้า รักษาสิว ฝ้า จุดดำ (คุณหมอจุฬา)

7.) SUO BAI NING Whitening cream NIGHT CREAM

8.) ครีมรกแกะผสมใยไหม

9.) ครีมโสมเห็ดหลินจือกวาวเครือ

10.) BASCHI FADE-OUT CREAM DAY CREAM

11.) BAOJU WHITENING CREAM DAYCREAM

12.) YANKO Fade-out Cream Day Cream YK-868

13.) atlie Day Cream โดยลำดับที่ 1-13 ไม่ระบุผู้ผลิต / ผู้จำหน่าย เลขที่ผลิตและวันที่ผลิต

14) Fruity VITAMIN C ระบุผลิตโดย บริษัท K.K.T. คอสเมติก จำกัด28/24 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ แต่ไม่ระบุเลขที่ผลิตและวันที่ผลิต

15.) Mild & mind ครีมโสมผสมหัวไชเท้าสกัด ระบุผู้ผลิตคือ บริษัท มายด์แอนด์มายด์ คอสเมติคส์ จำกัด เลขที่ 189 ถ.เพชรเกษม 52/2 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ไม่ระบุเลขที่ผลิต แต่ระบุวันที่ผลิตคือ 200409

16.) คลินิกแคร์ไวท์เทนนิ่งไนท์ครีม สูตร 2ระบุผู้ผลิตคือ คลินิกแคร์เทนเดอร์ เลขที่ 189 ถ.เพชรเกษม 52/2 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ไม่ระบุเลขที่ผลิต แต่ระบุวันที่ผลิตคือ 200409ตรวจพบไฮโดรควิโนน ได้แก่

17.) ครีมทาฝ้า-กระ

18.) สมุนไพรสุภัชชา (2) ซึ่งทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ไม่ระบุผู้ผลิต /ผู้จำหน่าย เลขที่ผลิตและวันที่ผลิต ตรวจพบกรดเรทิโนอิก ได้แก่

19.) BASCHI WHITENING CREAMNIGHT CREAM

20.) BASCHI NIGHT POWDER

21.) YANKO Whitening Cream Night Cream YK-883 โดยทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ไม่ระบุผู้ผลิต / ผู้จำหน่าย เลขที่ผลิตและวันที่ผลิต ตรวจพบไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก ได้แก่

22.) S.S.Night Cream ครีมก่อนนอน (2)

23.) FADE OUT ครีมขาวหน้าใส Kiev/Beauty Face USA Original

24.) WL WHITE LADY ครีมรักษาฝ้า ทาหน้าขาว

25.) Pharmacy Cream ครีมขาวเนียน ซึ่งทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ไม่ระบุผู้ผลิต / ผู้จำหน่าย เลขที่ผลิตและวันที่ผลิต นอกจากนี้ยังตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ คลอสตริเดียม (Clostridium spp.)ที่ก่อให้เกิดโรค และพบแบคทีเรีย ยีสต์ รวมทั้งรา ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ได้แก่

26.) ร้อยมาลี AROMATHREPY(Roi Malee (สเปรย์เซรั่ม)) โดยไม่ระบุผู้ผลิต / ผู้จำหน่าย เลขที่ผลิตและวันที่ผลิต ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ร้อยมาลีดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค คืออาจเกิดการติดเชื้อทางผิวหนังและดวงตา โดยเฉพาะการใช้บริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล



ภญ.วีรวรรณ กล่าวว่า ขออย่าได้ซื้อเครื่องสำอางทั้ง 26 รายการนี้ มาใช้อย่างเด็ดขาด เพราะเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ อาจได้รับอันตราย โดยเฉพาะจากสารห้ามใช้ ได้แก่

สารประกอบของปรอททำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง และเมื่อสารปรอทสะสมในร่างกาย จะทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบ

ไฮโดรควิโนน จะทำให้เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หาย

กรดเรทิโนอิกทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบผิวหน้าลอก และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์


จึงขอให้ประชาชนเลือกซื้อเครื่องสำอางด้วยความระมัดระวังจากร้านค้าที่มี หลักแหล่งแน่นอน มีฉลากภาษาไทยตามข้อความที่กฎหมายกำหนด เช่น ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ สารที่ใช้เป็นส่วนผสม ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต เดือนปีที่ผลิตโดยเฉพาะร้านค้าที่ซื้อเครื่องสำอางเพื่อจำหน่าย จะต้องซื้อจากผู้มีหลักแหล่งที่น่าเชื่อถือ มีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน


ทั้งนี้ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ขายเครื่องสำอางที่ผสมสารห้ามใช้ หรือพบเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าว จะมีความผิดต้องโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

หากผู้บริโภคท่านใดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย อย. โทรศัพท์ 0 2590 7277-8 โทรสาร 0 2591 8468 ในเวลาราชการ และเว็บไซต์หน้าหลัก อย. //www.fda.moph.go.th คลิกที่ เครื่องสำอาง



โดย: หมอหมู วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:17:39:07 น.  

 
ไปอ่านกระทู้ ของคุณ ฟ้าหมาดฝน .. มีเรื่องที่น่าสนใจเลยนำมาฝากกัน

ถ้าพอมีเวลาก็แวะไปอ่านกระทู้เต็ม ๆ ได้ทั้งความ ฮา และ ความรู้ ในครั้งเดียว .. คุ้มค่าสุด ๆ ...

ประสบการณ์เรื่องครีมหน้าเด้งของ เรา

//topicstock.pantip.com/woman/topicstock/2009/07/Q8098566/Q8098566.html

ความคิดเห็นที่ 10

เราก็เลยร้อนใจมากค่ะ ถามแฟนเราว่าเขาเอาไปตรวจที่ ไหนกัน
แฟนเราก็บอกว่าเอาไปส่งที่ศูนย์วิทย์
เราก็ขับรถไปวันนั้นเลย ค่ะ เวลาเกือบ 4 โมงเย็น

ปรากฏว่าเอาครีมไปไม่พอค่ะ เขาจะเอา 4 ตลับแน่ะ
วันรุ่งขึ้นก็ไปอีก กวาดครีมของเพื่อนๆมาหลายตลับ

ได้ ความรู้ใหม่ๆมาอีก

-ปรอทที่ผสมในเครื่องสำอางอยู่ในรูปแอมโมเนีย
จึงต้องตรวจโดยการทำให้ระเหยแล้วทดสอบค่ะ อาจเป็นคำอธิบายว่า ที่เพื่อนน้องเอเอาไปตรวจ ไม่ได้ใช้วิธีนี้ (คือคนที่เอาไปตรวจก็ไม่ได้ อยู่ในวงการเครื่องสำอาง อาจไม่เข้าใจในหลักการตรวจสารปรอทในเครื่องสำอาง)

-ผู้ผลิตมักมีการสับขาหลอก บางล็อตก็ผสม บางล็อตไม่ผสม บางทีเอามาตรวจแล้วไม่เจอ คนใช้ก็ดีใจค่ะ ซื้อมาใช้อีก โดยไม่รู้ว่าบางล็อต มีสารอันตราย

- การออกใบรับรองของศูนย์วิทย์ จะมีเขียนกำกับว่า "ผลนี้สำหรับตัวอย่างที่นำมาทดสอบเท่านั้น"

คือ ไม่ได้เป็นการรับรองทุกๆตลับของครีมดังกล่าว แม่ค้าตามตลาดมักเอาใบของ ศูนย์วิทย์ไปแปะหน้าร้าน ถ้าดูเผินๆจะเหมือนปลอดภัย แต่ความจริงไม่ได้รับรองตัวผลิตภัณฑ์ทั้งหมดค่ะ รับรองแค่ "ตลับที่เอาไปตรวจ ตลับเดียว"

...............................จาก คุณ : ฟ้าหมาดฝน


วามคิดเห็นที่ 75

ลืมบอกไป ค่าตรวจสารอันตราย ชนิดละ 800 บาทค่ะ(ต่อสาร 1 อย่าง)

เช่น ครีมกระปุกนี้ อยากหาปรอทแอมโมเนียและไฮโดรควิโนน
ก็ 1600 บ.ค่ะ จะมีเอกสารให้ check ว่าอยากตรวจอะไรบ้าง

แต่ ถ้าจะตรวจเบื้องต้นก่อน ก็เอาไปตรวจที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รู้สึก จะไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือมีค่าธรรมเนียมเล็กน้อย เขาใช้ kit ตรวจหาได้ 3 อย่าง คือ ปรอท ไฮโดรควิโนน อีกอย่างไม่แน่ใจว่าสเตียรอยด์หรือกรดวิตามินเอ

ถ้าเจอก็ส่งตรวจ confirm ที่ศูนย์วิทย์อีกทีค่ะ

จาก คุณ : ฟ้าหมาดฝน



โดย: หมอหมู วันที่: 12 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:42:31 น.  

 



ความคิดเห็นที่ 55

อย.แจงข้อเท็จจริงเครื่องหมาย อย. บนฉลากเครื่องสำอาง

อย. ฝากถึงผู้บริโภค อย่ายึดติดกับเครื่องหมาย อย. บนฉลากเครื่องสำอาง เพราะ เครื่องหมายนี้จะมีได้เฉพาะเครื่องสำอางควบคุมพิเศษกลุ่มเดียวเท่านั้น เตือนอย่าหลงกลผู้ประกอบการที่เจตนาไม่ดี หวังผลให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด อย.อยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดแล้ว พร้อมฝากถึงผู้บริโภคก่อนซื้อเครื่องสำอางให้อ่านฉลากให้ละเอียด และอย่าซื้อเครื่องสำอางที่ อย. เคยประกาศผลวิเคราะห์ว่าตรวจพบสารห้ามใช้

ภก. วัฒนา อัครเอกฒาลิน ผู้อำนวยการสำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย เปิดเผยกับผู้สื่อ ข่าวว่า ขณะนี้มีผู้บริโภคเข้าใจว่าเครื่องสำอางที่ดี ฉลากต้องมีตัวเลขในกรอบเครื่องหมาย อย.

ทั้งที่ความจริง เครื่องสำอางที่จะต้องแสดงเลขทะเบียนในกรอบเครื่องหมาย อย. คือ เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เท่านั้น

เพราะเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อย. จึงมีการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดด้วยการให้มาขึ้นทะเบียนตำรับให้เรียบร้อยก่อนการผลิตหรือนำเข้ามาขาย เช่น น้ำยา ดัดผม ครีมย้อมผม ฟอกสีผม ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ผลิตภัณฑ์ชุดทำเล็บเทียม เป็นต้น

ส่วนเครื่องสำอางประเภทอื่น ๆ คือ เครื่องสำอางควบคุม และเครื่องสำอางทั่วไปนั้น ฉลากไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.

ดังนั้น เครื่องสำอางประเภทครีมทาสิว ทาฝ้า ซึ่งจัดเป็นเครื่องสำอางทั่วไป จึงไม่ต้องมีเลขในกรอบเครื่องหมาย อย. แต่ที่ผ่านมาพบว่าเครื่องสำอางกลุ่มนี้บางรายการ ที่ฉลากมีการแสดงเลขที่ของหนังสือ แจ้งการนำเข้าเครื่องสำอางทั่วไปในกรอบเครื่องหมาย อย. ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นเครื่องสำอางควบคุมพิเศษที่ผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว จึงขอเตือนมายังผู้ประกอบการว่า อย่าดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายในลักษณะนี้อีก เพราะถือว่าเป็นการแสดงฉลากที่ไม่ถูกต้อง ส่อถึงเจตนาไม่ดีที่จะทำให้ ผู้บริโภคเข้าใจผิด ทั้งนี้ อย. ได้รวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดแล้ว

สำหรับ ผู้บริโภค เวลาเลือกซื้อเครื่องสำอาง ขอย้ำให้ซื้อที่มีฉลากภาษาไทย ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าอย่างชัดเจน เพราะหากใช้เครื่องสำอางนั้นแล้วเกิดปัญหาขึ้น จะสามารถติดตามหาผู้รับผิดชอบได้

นอกจากนี้ วันเดือนปีที่ผลิตก็เป็นข้อมูลที่สำคัญ เพราะผู้บริโภคจะทราบได้ว่าเครื่องสำอางนั้นผลิตมานานเท่าใดแล้ว และควรใช้ตามวิธีที่กำหนดด้วยความระมัดระวังตามคำเตือนที่ฉลากด้วย

ที่สำคัญ อย่าซื้อ อย่าใช้เครื่องสำอางที่ อย. เคยประกาศผลวิเคราะห์ว่าพบสารห้ามใช้ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผลิตภัณฑ์อันตรายดังกล่าวได้ที่ //www.fda.moph.go.th เข้าไปที่ “กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง” และ “เครื่องสำอาง อันตราย” ซึ่งจะมีทั้งชื่อเครื่องสำอางพร้อมรูปภาพผลิตภัณฑ์แสดงไว้

กอง พัฒนาศักยภาพผู้บริโภค เดือนเมษายน ข่าวแจก 50/ปีงบประมาณ 2551

.................................จากคุณ : เช้าชื่น




โดย: หมอหมู วันที่: 12 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:45:33 น.  

 
//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1274852081&grpid=&catid=04

วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 12:40:38 น. มติชนออนไลน์

อย. สั่งฟันโฆษณา “หมอมวลชน” อ้างเว่อร์ผลิตภัณฑ์รักษาได้สารพัดโรค ทั้งเบาหวาน หวัด2009 ไมเกรน !!


อย. สั่งฟันโฆษณา “หมอมวลชน” ผิดกฎหมาย แสดงสารพัดข้อความของผลิตภัณฑ์อาหารอ้างรักษาสารพัดโรคทางสื่อสิ่งพิมพ์ โอ้อวดเกินจริงว่าสามารถรักษาโรคได้สารพัด ไม่มีผลการศึกษาวิจัยที่เชื่อถือได้ยืนยัน สั่งห้ามไม่ให้โฆษณาและไม่ได้รับรองประโยชน์

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า หลังจากเจ้าหน้าที่อย. ได้ตรวจสอบโฆษณาของ “หมอมวลชน” ทางสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะทางหนังสือพิมพ์ ที่แสดงข้อความโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ในทางรักษาโรค อย่างเช่น น้ำมันมะพร้าว คุณค่าอันหลากหลาย! .....ช่วยลดการอักเสบสะเก็ดเงินได้เพียงไร? ... เป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานดื้ออินซูลิน... มีกลไกป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009.. หลายคนที่ดื่มน้ำแมกนีเซียมแล้ว หายจากไมเกรน..ครั้นหยุดดื่มกลับเป็นอีก...เป็นต้น.

อย. ขอชี้แจงว่า การโฆษณาในลักษณะดังกล่าวเป็นการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง และ อย.ไม่เคยอนุญาตหรือรับรองว่าผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ มีสรรพคุณหรือคุณประโยชน์ในทางรักษาโรค ในลักษณะที่ผู้จำหน่ายหรือผู้ขายนิยมไปโฆษณาทางสื่อต่างๆ เนื่องจากไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่เป็นกลางน่าเชื่อถือว่ามีประโยชน์ตาม ที่มักอวดอ้างสรรพคุณ

จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อ ถือเป็นการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย โดยไม่ได้รับอนุญาต และเมื่อเร็วๆ นี้ เจ้าหน้าที่ อย. ได้ตรวจสอบร้านศูนย์บริการผลิตภัณฑ์หมอมวลชน ในห้างเดอะมอลล์บางกะปิ พบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ซึ่งฉลากระบุจัดจำหน่ายโดยบริษัท หมอมวลชน 2000 จำกัด รวมทั้งพบเอกสารโฆษณาสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในลักษณะผิดกฎหมาย ไม่ได้ขออนุญาตและอาจมีลักษณะหลอกลวงผู้บริโภค

ตัวอย่างเช่น คุณประโยชน์ของ CoQ10 ในแง่การรักษาโรค โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต สูง...(ผลิตภัณฑ์โคเอ็นไซม์คิวเทน) ; ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ ช่วยขัดขวางการเกิดชีสต์ช่วยลดอาการริดสีดวงทวาร เป็นสารต้านมะเร็ง...(เพอเฟกฮอทไล น้ำมันปลาชนิดแคปซูล) ; ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง ต้านการอักเสบ ลดอาการภูมิแพ้ ป้องกันสมองเสื่อม ป้องกันมะเร็ง...(ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โอพีซี) เป็นต้น

อย. จึงได้มีหนังสือสั่งระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวในทุกสื่อทันที หากฝ่าฝืนจะถูกระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่น้อยกว่าห้าร้อยบาทแต่ไม่เกินหนึ่งพันบาท ตลอดเวลาที่ยังพบการโฆษณาอยู่ แต่หากภายในสามเดือนนับตั้งแต่มีคำสั่งให้ระงับโฆษณา ยังมีการโฆษณาผิดกฎหมายเช่นนี้ซ้ำผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย จะถูกดำเนินคดีขั้นสูงสุด นอกจากโทษปรับและจำคุกแล้ว อาจถึงขั้นมิให้มีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดอีกด้วย

นอกจาก นี้ อย. ยังได้เฝ้าระวังตรวจสอบการโฆษณาแฝงในลักษณะต่างๆ ของหมอมวลชนอย่างใกล้ชิด เพื่อ มิให้มีการหลอกลวงผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์ของหมอมวลชนรักษาโรคต่างๆ ได้สารพัด ซึ่งความคืบหน้าจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบต่อไป

เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนมายังประชาชนผู้บริโภค หากพบเห็นการแสดงข้อความอวดอ้างคุณประโยชน์ของสรรพคุณอาหารต่างๆ ว่าบรรเทาหรือช่วยรักษาโรคต่างๆ แม้จะมีการแสดงสัญลักษณ์ให้เข้าใจว่ามีแพทย์เป็นเจ้าของ อย่างเช่น กรณีโฆษณาที่มีสัญลักษณ์หมอมวลชน อย่าได้หลงเชื่อ ขอให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่าเข้าใจว่ารักษาโรคได้เป็นอันขาด เพราะผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปไม่ใช่ยา จึงไม่มีผลในการป้องกัน บำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค ซึ่งสามารถสังเกต

ฉลาก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ อย.ระบุให้แสดงข้อความว่า “ไม่มีผลป้องกันหรือรักษาโรค” อย่างไรก็ตาม อย.จะเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดในการตรวจสอบการโฆษณาแฝงในลักษณะดังกล่าว เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย รวมทั้งได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นธรรม ซึ่งหากพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและสงสัยว่าเกินจริง ขอให้แจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556



โดย: หมอหมู วันที่: 27 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:39:02 น.  

 

ช่วงนี้ ข่าว อย. จับโน่น นี่ เยอะขึ้น ... ทำดี ก็ต้องช่วยกันโปรโมท ..



//breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=450320

จับ "ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร" โฆษณาเกินจริง

27 พค. 2553 15:41 น.

เมื่อเวลา 11.30 น.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ รมว.สาธารณสุขพร้อมด้วยพล.ต.ต.จตุรงค์ ภุมรินทร์ ผบก.บก.ปคบ.,พ.ต.อ.พฤทธิพงษ์ ประยูรศิริ ผกก. 4 บก.ปคบ.ร่วมกับน.พ.นิพัฒน์ อึ้งเสรี เลขาธิการ อย. นำหมายศาลแขวงพระนครเหนือที่ จ63/2553 เข้าตรวจค้น 1577 Call center บริษัทพร็อพเพอร์ตี้ เทคโนโลยี

หลังจากได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคว่ามีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพโอ้ อวดสรรพคุณเกินจริง ผ่านสื่อเคเบิ้ล ทีวี โดยให้โทรศัพท์สั่งซื้อทาง CallCenter 1577

จากการตรวจค้น พบว่าบริษัทดังกล่าวตั้งเป็นโกดังเก็บและขนสินค้าให้กับบริษัทต่างๆ ที่ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางเบอร์โทรศัพท์ 1577 จากการตรวจสอบพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายเช่น

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กลูตาไธโอน ผสมวิตามินซีหลายกลิ่น เช่น วานิลา เป๊ปเปอร์มิ้น และสลากแสดงชื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ตรงตามที่ขออนุญาตไว้กับอย. ไม่แสดงชื่อที่ตั้งผู้ผลิต

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Biogrow Natural สรรพคุณทำให้เข้าใจผิดว่ารักษาโรค และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่แสดงสรรพคุณช่วยลดความอ้วนกระชับสัดส่วน

รวมทั้งเครื่องสำอางจำนวนมาก ที่ไม่แสดงฉลากภาษาไทย พร้อมพบว่า BL99 ผสมเห็ดหลินจื่อ โสมเกาหลี กระชาย มีโฆษณาซื้อ 3 ขวดแถม 1 กล่อง

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซุปงาดำ อ้างชื่อรักษาโรคหัวใจ นอกจากนี้แผ่นพับโฆษณาทำให้ผิวขาวใสกระจ่าง เจ้าหน้าที่จึงยึดไว้เป็นของกลาง พร้อมดำเนินคดีในข้อจำหน่ายอาหารโดยแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ฉลากอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ฉลากเครื่องสำอางไม่ถูกต้อง และห้ามโฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพก จำหน่ายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต



โดย: หมอหมู วันที่: 27 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:04:18 น.  

 


//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1275797824&grpid=00&catid=

วันที่ 06 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 11:14:28 น. มติชนออนไลน์

“จุรินทร์” สั่งฟัน “จิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนัง-ชาขาว White Nature-เอโดซี่ Majic Iris สมุนไพรหลงหลง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้ง อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ที่ได้เคยมีหนังสือสั่งให้ระงับโฆษณาในสื่อทุกสื่อ และมีการดำเนินคดี เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ไม่ให้ได้รับข้อมูลที่ผิดจากการโฆษณาโอ้อวดหลอกลวง โดยเฉพาะใช้รักษาโรคต่างๆ อวดอ้างสรรพคุณทางเพศ และ สามารถลดความอ้วนได้ นั้น

จากการร้องเรียนหรือจากการตรวจสอบของ อย. เอง พบว่า มีผลิตภัณฑ์ที่ยังคงฝ่าฝืนลักลอบโฆษณาทางสื่อเคเบิลทีวีอยู่ ได้แก่


1. ผลิตภัณฑ์ “จิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนัง” อวดอ้างสรรพคุณฟื้นฟูตับไต ลดอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แก้ปวดเมื่อย ฯลฯ

2. ผลิตภัณฑ์ “ชาขาว White Nature” อวดอ้างสรรพคุณเหมือนอินซูลินธรรมชาติ ทำให้ผนังเส้นเลือดไม่ตีบ ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ฯลฯ

3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “Majic Iris” อวดอ้างสรรพคุณฟื้นฟูกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย ขับนิ่ว บำรุงไต ลดภาวะต่อมลูกหมากโต ฯลฯ

4. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “เอโดซี่ (ADOXY)” อวดอ้างสรรพคุณเหมาะกับผู้มีปัญหาเรื่องสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นแผลเบาหวาน แผลติดเชื้อ แผลที่เกิดจากโรคมะเร็ง ฯลฯ

5. ยาน้ำสมุนไพร หลง หลง อวดอ้างสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อย ปวดประจำเดือน ไมเกรน เก๊าท์ ฯลฯ


ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ ในเบื้องต้น อย. ได้ส่งหนังสือแจ้งระงับโฆษณาทางสื่อทุกสื่อไปยังผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย/ผู้ ดำเนินการโฆษณาแล้ว รวมทั้ง ดำเนินคดี ฐานฝ่าฝืนโฆษณาขายยาผิดกฎหมาย ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

อย่างไรก็ตาม เมื่อพบมีการโฆษณาอยู่ เจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องแสดงความรับผิดชอบ โดยจะมอบหมายให้ อย. ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้


นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย. กล่าวเสริมว่า การโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้น นอกจากจะเป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ว ยังเป็นการโฆษณาเป็นเท็จหรือเกินจริง โดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการรองรับ แล้วยังอวดอ้างสรรพคุณรักษาโรคที่รัฐมนตรีประกาศห้ามโฆษณาอีก ถือเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค

ซึ่ง อย. จะลงโทษปรับซ้ำ โดยเพิ่มโทษเป็นทวีคูณ และหากยังไม่ยุติ อย. จะพิจารณาเพิกถอนทะเบียนตำรับต่อไป ทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายทันที และไม่สามารถวางจำหน่ายในท้องตลาดได้ต่อไป

ทั้งนี้ ถ้าพบวางจำหน่าย มีโทษถึงขั้นจำคุก หากเป็นยาที่ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท สำหรับอาหารที่ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับอาหาร มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอก จากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น อย. กำลังตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ อีกหลายรายการที่โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงผ่านทางเคเบิลทีวีอยู่ในขณะนี้ และอยู่ระหว่างดำเนินการแจ้งระงับโฆษณา ซึ่งจะเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบต่อไป ทั้งนี้ ก็เพื่อคุ้มครองมิให้เกิดการหลอกลวงผู้บริโภคอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ประกอบการทุกรายมีจริยธรรม เห็นแก่ความปลอดภัยของผู้บริโภค อย่าโฆษณาด้วยวิธีต่าง ๆ ในลักษณะที่เกินเลยความเป็นจริง มิเช่นนั้น อย. จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด

สำหรับผู้บริโภคขอให้ช่วยเป็นหูเป็นตา และอย่าหลงเชื่อง่าย หากพบการโฆษณาขายยาโอ้อวด เกินจริงให้แจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11004 หรือที่ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชั้น 1 ตึก อย.





โดย: หมอหมู วันที่: 6 มิถุนายน 2553 เวลา:12:54:25 น.  

 



อย.เชือด3บริษัทโฆษณายาผิดกม.

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา(อย.)กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่าได้ดำเนินการกับผู้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้

1.บริษัท สหชลผลพืช จำกัด จ.ชลบุรี โฆษณา "ยาชงสมุนไพร ตราแคทเธอรีน"

มีความผิดในข้อหาโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต ผลคดีให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรีเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 40,000 บาท เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2547


2.บริษัท เจริญโอสถ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จ.นนทบุรี โฆษณา "ยาน้ำสมุนไพรโหย่งเหิง"

มีความผิดในข้อหาโฆษณาไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต ผลคดี เปรียบเทียบปรับ 40,000 บาท เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547

3.บริษัท เจริญโอสถ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จ.นนทบุรี เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสถานประกอบการ พบเอกสารคู่มือธุรกิจของบริษัท มีข้อความและรูปภาพของ ผลิตภัณฑ์ "ยาน้ำสมุนไพรโหย่งเหิง" และ "ยาแคปซูลเขากวางอ่อน" ซึ่งพบในบริเวณห้องเก็บของของบริษัท และก่อนหน้านี้พบเอกสารดังกล่าวที่ร้านขายยาแผนโบราณ "เปรมประชา" จ.สุราษฎร์ธานี มีความผิดในข้อหาโฆษณาขายยาโดยโอ้อวดสรรพคุณ และแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จหรือเกินจริง ผลคดีเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 40,000 บาท เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547

4.ร้านเศรษฐกิจเภสัช เลขที่ 341/2 หมู่ 10 ซอยหมู่บ้านเศรษฐกิจ ถนนเพชรเกษม แขวงหลักสอง เขตหนองแขม กรุงเทพฯเจ้าหน้าที่ตรวจสถานประกอบการไม่พบบัญชียาที่ซื้อ และขาย ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ผลคดีเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 3,000 บาท เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2547

เก็บจาก มติชน 27 ต.ค.2547


โดย: หมอหมู วันที่: 25 กันยายน 2554 เวลา:14:21:21 น.  

 

//www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/%E0%B9%81%E0%B8%89%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5__%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%B2_%E0%B8%AD%E0%B8%A2._.pdf


อย. แฉ อันตราย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเถื่อน อ้างลดน้ำหนัก และเสริมสมรรถภาพทางเพศ ที่ยึดได้ย่านมีนบุรี มูลค่ากว่า 200 ล้านบาท


อย. เตือนผู้บริโภค ระวังโฆษณาชวนเชื่อหลอกให้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดสรรพคุณในรูปแบบต่างๆ
โดยเฉพาะลดน้ำหนักและเสริมสมรรถภาพทางเพศ ผ่านการขายทางไดเร็กเซลล์ คอลเซ็นเตอร์ เคเบิลทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ อย่างเช่นข้อความ “ลดฮวบฮาบ เร่งด่วน 20 กิโล เห็นผลไวภายใน 7 วัน สะท้านทั้งวงการ” , “อ่อนปวกเปียก ไม่สู้ หมดสมรรถภาพ รับรองตัวนี้แข็งปั๋งแน่นอน” หรือ “รูฟิต หุ่นเฟิร์ม ไร้กลิ่น”

อย่าได้หลงเชื่อผลิตภัณฑ์เหล่านี้เด็ดขาด เพราะล่าสุด อย. ร่วมกับตำรวจกองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี บุก
ทลายแหล่งผลิตและขายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ ย่านมีนบุรี ตรวจพบผลิตภัณฑ์
เสริมอาหารอ้างลดน้ำหนักมีส่วนผสมยาไซบูทรามีน ซึ่งเป็นสารอันตราย มีผลข้างเคียงสูง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ซึ่ง อย.
เพิกถอนยาไซบูทรามีนออกจากท้องตลาดแล้ว รวมทั้งยังพบยาฉีดกลูตาไธโอน และยาลดน้ำหนัก Reduce – 15mg
ผสมไซบูทรามีนด้วย มูลค่าของกลางที่ยึดได้กว่า 200 ล้านบาท

นายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จากนโยบาย
ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายวิทยา บุรณศิริ) ในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้
คุณภาพมาตรฐาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สนองนโยบายดังกล่าวใน
การติดตามเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่จำหน่ายในท้องตลาดอย่างใกล้ชิด มิให้มีแหล่งผลิตและจำหน่ายใดกระทำผิด
กฎหมาย โดยเฉพาะการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณในผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์ยาต่างๆ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการโฆษณาในลักษณะชวนเชื่อ เน้นจุดขายในเรื่องการลดความอ้วน การเสริมสมรรถภาพทางเพศ ทำให้ผิวขาวใส ซึ่งเป็นโฆษณาในลักษณะข้อความ หรือใช้บุคคลเป็นตัวแทนบอกเล่าสรรพคุณการใช้ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่พบโฆษณาในลักษณะขายตรง , ทางเว็บไซต์ , ทางคอลเซ็นเตอร์ , ทางเคเบิลทีวี , ทางวิทยุ หรือตามหนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ เป็นต้น

ซึ่ง อย.ได้ตรวจสอบและดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดมาโดยตลอด เพราะผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเหล่านี้จะเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาตโฆษณาจาก อย. ที่สำคัญ หากผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ผสมยา
ไซบูทรามีน จะเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายสูง โดยผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และหัวใจ
เต้นเร็ว ส่วนผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน อย. ได้เพิกถอนยาไซบูทรามีนออกจากตลาดแล้ว

นอกจากนี้ หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผสมกลูตาไธโอน ก็จะเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายด้วย ทำให้เกิดการอักเสบ หรือทำให้ใบหน้าเสียโฉมได้ โดยเฉพาะการโฆษณาฉีดกลูตาไธโอน ขออย่าได้หลงเชื่อเด็ดขาด เพราะผู้ที่ได้รับการฉีดกลูตาไธโอนขนาดสูง จะเกิดอาการช็อก ความดันต่ำ หายใจไม่ออก และเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อีกทั้งขณะนี้ อย. ไม่ได้มีการรับขึ้น
ทะเบียนตำรับยาที่ใช้สารนี้แต่อย่างใด

ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ อย. ภายใต้การอำนวยการของ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับตำรวจ ดส. กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี นำทีมโดย พ.ต.อ.วิวัฒน์ คำชำนาญ ผกก. ดส. บช.น. ได้นำหมายค้นเข้าตรวจสอบบ้านเลขที่ 123/1 หมู่บ้านเอกบุรี ซ.รามอินทรา103/2 ถ.รามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ ซึ่งจากการตรวจสอบบ้านดังกล่าว ปรากฏพบเป็นแหล่งผลิตและขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศรายใหญ่รายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยาลดน้ำหนัก ที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีนและแอลคานิทีน รวมถึงพบผลิตภัณฑ์ยาฉีดกลูตาไธโอนอีกจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในกล่อง ขวด และใส่ถุงพลาสติกไว้ โดยไม่มีเลขทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย แยกเป็นประเภทดังนี้



1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผสมยาไซบูทรามีน อวดอ้างสรรพคุณลดน้ำหนัก นำเข้าจากต่างประเทศ และ
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขออนุญาตนำเข้า และขึ้นทะเบียนตำรับอาหารกับ อย. เช่น
- Slim Express ผอมขั้นเทพ
- Slim Diet เร่งการเผาผลาญไขมัน ลดความอ้วน
- LIPO 8 BURN SLIM ขายดีที่สุดในขณะนี้ ลดจริง 8 กิโล ผอมจริง เห็นผลจริง 100%
- LIPO 9 BURN SLIM ลดจริง 8 กิโล ขจัดไขมัน
- Fit & Ferm รูฟิต หุ่นเฟิร์ม ท้าพิสูจน์ ลดจริง ฟิตจริง แผงเดียวเห็นผลจริง 100%
- L-Carnitine 1200
- L-Carnitine Plus+ สูตรเร่งรัด เห็นผลภายใน 7 วัน
- Secret Cuve Diet Super Slim รับรองผลภายใน 5 วัน ลดน้ำหนัก เผาผลาญไขมันส่วนเกิน
- Reshapes ผงบุกผสมส้มแขก โฉมใหม่ เห็นผลเร็วกว่าแอลคานิทีน 6 เท่า
- Reshapes สูตร 2 ลดน้ำหนัก
- Konjac 800 ผงบุก 800 ช่วยลดความอ้วน ไม่เกิดโยโย่เอฟเฟ็ค
- New Konjac ผงบุก สูตร-TK สูตรใหม่ลดจริง 10 กิโล

2. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ในลักษณะทางเพศ บางชนิดไม่มี อย. และบางชนิด ฉลากแสดงเลขสารบบอาหารปลอม เช่น
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับสุภาพบุรุษ “กระทิงทอง” Bull Gold ระบุข้อความบนฉลาก – ใหม่สุด ฮิต
มากไม่ว่าหนุ่มเล็กหนุ่มใหญ่ อ่อนปวกเปียก ไม่สู้ หมดสมรรถภาพ รับรองตัวนี้แข็งปั๋งแน่นอน แผงเดียวเห็นผล
100% เพิ่ม Sex Appeal
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร VIAGRA by magic for men ระบุข้อความบนฉลาก “อ่อนปวกเปียก ไม่สู้ หมด
สมรรถภาพ รับรองว่าแข็งปั๋งแน่นอน”
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Sliming DOOMZ by Pretty White อวดสรรพคุณ “ ท้าพิสูจน์ รูฟิต หุ่นเฟิร์ม
กระชับ ไม่มีกลิ่น ขาวอมชมพู เพิ่มเสน่ห์แห่งความสาว เห็นผลทันทีที่ใช้ภายใน 1 แคปซูล”

3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอวดสรรพคุณลดน้ำหนัก และผิวขาวใส ฉลากไม่มีเครื่องหมาย อย. เช่น
- White & Slim L-Glutathione + L- Carnitine สูตรเร่งรัดพิเศษ Berry Mix
- Sexy Slim By Pretty White รูฟิต หุ่นเฟิร์ม ผิวขาวอมชมพู
- PRETTY – SECRET HERB DIET SLIM กลูตาไธโอน 2000 มก.
- L-Glutathione 1 Week ผิวขาวกระจ่างใส ขาวอมชมพู
นอกจากนี้ ยังพบยาลดความอ้วน Reduce – 15mg ผสมยาไซบูทรามีน รวมทั้งยาฉีดกลูตาไธโอน GC 9600 Whitening Gold และ GC 3000 จำนวนมาก

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ยึดผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมายดังกล่าวทั้งหมด ประมาณ 2 แสนกล่อง และอีกกว่า 4 หมื่นขวด คิดเป็นมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท ทั้งนี้จะส่งผลิตภัณฑ์ตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่อไป

สำหรับการดำเนินคดี ในเบื้องต้นแจ้งข้อกล่าวหา ดังนี้

1. ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 10,000 บาท

2. ผลิตและขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ตรวจพบ หากมีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และในกรณีมีการจำหน่ายอาหารซึ่งมีฉลากเพื่อลวง มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 100,000บาท และหากผลการตรวจวิเคราะห์ พบยาลดความอ้วนไซบูทรามีน หรือพบยาเสริมสมรรถภาพทางเพศซิลเดนาฟิล ในผลิตภัณฑ์อาหาร จะจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ด่านอาหารและยาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ทำการตรวจสอบผู้โดยสารซึ่งเดินทางมาจาก GUANGZHOU โดยเที่ยวบินที่ UL 883 และได้พบบุคคลต้องสงสัยชื่อMR.JIANSHENG YU สัญชาติจีน ตรวจสอบกระเป๋าเดินทางสีดำจำนวน 5 ใบ พบยาลักลอบนำเข้า ได้แก่ BLACK ANT KING (ยาเพิ่มขนาดอวัยวะเพศชาย) จำนวน 384 กล่อง , MAXMAN CAPSULES (ยาเพิ่มขนาดอวัยวะเพศชาย)จำนวน 260 กล่อง , SANTI SCALPER PENIS ERECTION CAPSULE จำนวน 26 กล่อง , THE U.S.PASSIONCACHOW (หมากฝรั่งเสียสาว) จำนวน 160 กล่อง และ SPANISH FLY จำนวน 200 กล่อง คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 แสนบาท จึงยึดของกลางทั้งหมดและในเบื้องต้นแจ้งข้อหา 1. นำเข้ายาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท 2. นำเข้าอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการฯ อย. กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีที่ผู้บริโภคไปรับบริการความงามที่คลินิกผิวพรรณ ขอให้สอบถามตรวจสอบก่อนว่ายาที่ทางคลินิกสั่งจ่ายมีทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมายจาก อย.หรือไม่ เพื่อให้ได้รับยาที่ปลอดภัยต่อร่างกาย นอกจากนี้ หากต้องการลดหรือควบคุมน้ำหนักไม่จำเป็นต้องเสี่ยงบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ควรควบคุมการบริโภคอาหารร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ๓ วัน อีกทั้ง ขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาเสริมความงาม เสริมสมรรถภาพทางเพศ เสริมหน้าอก ทำให้ผิวขาว เพราะอาจมีการลักลอบใส่ยาอันตรายลงไปในผลิตภัณฑ์ตามที่กล่าวข้างต้น นอกจากจะเสียโอกาสในการรักษาโรคแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากผู้บริโภคพบเห็นการผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย แจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบปัญหานั้น

-----------------------------------------

กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 แถลงข่าว 16 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555


โดย: หมอหมู วันที่: 19 พฤษภาคม 2555 เวลา:0:02:17 น.  

 
อย. เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาเครื่องสำอางที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ช่วยทำให้ผิวขาว
ขยายขนาดทรวงอก ป้องกันผมหลุดร่วง ฯลฯ หากผู้บริโภคซื้อมาใช้อาจทำให้เสียเงินฟรี และเสี่ยงต่อการได้รับ
ผลิตภัณฑ์ที่มีการลักลอบใส่สารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย

ภก. ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และในฐานะโฆษก อย.
เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาของผลิตภัณฑ์
สุขภาพทางสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย
เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) ปัจจุบันพบการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการอวดอ้าง
สรรพคุณเกินจริงจำนวนมาก ผ่านทางสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และโดยเฉพาะ
สื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยพบว่ามีการอวดอ้างสรรพคุณของ
เครื่องสำอางบำรุงผิว เช่น “... ช่วยให้ผิวขาวทันใจ หน้าใสทันตา เปลี่ยนจากผิวดำเป็นผิวขาว เห็นผล 100%”
“... ช่วยปรับผิวขาวเร่งด่วนได้ใน 2 สัปดาห์ เห็นผลจริง พิสูจน์เลย” เครื่องสำอางบำรุงผิวทรวงอก
เช่น “... ใช้แล้วช่วยขยายทรวงอกให้ทรวงอกอวบอิ่ม” เครื่องสำอางบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ
เช่น “... ป้องกันผมหลุดร่วง กระตุ้นการสร้างเส้นผมใหม่” ซึ่งข้อความโฆษณาเหล่านี้เป็นข้อความที่โอ้อวด
เกินจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อผู้บริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดประสงค์
เพื่อใช้ทำความสะอาดและเพิ่มความสวยงามเท่านั้น ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย
ไม่สามารถทำให้สัดส่วนของรูปหน้าหรือรูปร่างเปลี่ยนแปลงได้ ไม่สามารถยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงการผลิต
เม็ดสีเมลานิน จึงไม่สามารถทำให้สีผิวเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถลบริ้วรอยเหี่ยวย่น ไม่สามารถ
กระตุ้นให้ทรวงอกขยายขนาด หรือไม่สามารถทำให้ผมงอกขึ้นใหม่ได้แต่อย่างใด

ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องสำอางมีการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 โดยมี
บทลงโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนสื่อโฆษณาหรือ
ผู้ประกอบธุรกิจโฆษณา จะมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หากพบ
การกระทำความผิดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 หรือครั้งต่อไป จะถูกส่งดำเนินคดีทางศาล

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าจึงมีช่องทางในการ
โฆษณาเครื่องสำอางเพิ่มขึ้น เช่น การขายเครื่องสำอางทางทีวีดาวเทียม และการขายเครื่องสำอางผ่าน
โซเชียลมีเดีย เช่น ทางเฟสบุค อินสตาแกรม ทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงได้ง่าย มีทั้งการโฆษณาที่อ้างว่าเป็นรีวิวของ
ผู้ใช้ว่าใช้ได้ผลดี สามารถมีผลต่อโครงสร้างของร่างกายดังกล่าว ดังนั้นก่อนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง
ขอให้ซื้อจากร้านที่มีหลักแหล่งเชื่อถือได้ และอ่านฉลากเครื่องสำอางให้ถี่ถ้วน สังเกตเลขที่ใบรับแจ้ง
10 หลัก และต้องมีชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าแสดงอยู่อย่างชัดเจน ถึงแม้จะเป็นเครื่องสำอางที่นำเข้า
มาจากต่างประเทศก็ต้องมีฉลากภาษาไทย และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก
ของเครื่องสำอางได้ทางเว็บไซต์ อย. //www.fda.moph.go.th หรือที่ Oryor Smart Application ว่าเลขที่
ใบรับแจ้งที่ฉลากเครื่องสำอางตรงกับฐานข้อมูลของ อย. หรือไม่ อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณ
เกินจริง ยิ่งถ้าข้อมูลบนฉลากไม่ครบถ้วนก็ไม่ควรซื้อ เพราะอาจทำให้เสียเงินฟรี และเสี่ยงต่อการได้รับ
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน

หากผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง หรือ พบการโฆษณาเครื่องสำอางที่อวดอ้าง
สรรพคุณเกินจริง สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ
ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart
Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินการติดตาม และดำเนินคดี
ตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป
***************************************************************************
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 29 เมษายน 2558 ข่าวแจก 56 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร 0 2 590 7117 , 7123 โทรสาร 0 2 591 8474 //www.fda.moph.go.th/


โดย: หมอหมู วันที่: 1 พฤษภาคม 2558 เวลา:13:34:53 น.  

 
บุกจับสมุนไพรสลายไขมัน มาเมะ อ้างชื่อ อย. รับรอง
//health.kapook.com/view135466.html

อย. พร้อมเจ้าหน้าที่ทหารบุกจับอาหารเสริม "มาเมะ" อ้างเป็นสมุนไพรสลายไขมันของแท้จากกระทรวงสาธารณสุข พบแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ประสาน ICT จับเจ้าของเพจ

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) อุบลราชธานีให้ดำเนินการตรวจสอบและเฝ้าระวังเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ "สมุนไพรสลายไขมัน ของแท้จากกระทรวงสาธารณสุข" หลังมีผู้บริโภคร้องเรียนผ่าน สสจ.อุบลราชธานีว่า มีการบรรจุผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก และสงสัยว่าลักลอบใส่สารลดความอ้วน ลงไปในผลิตภัณฑ์

ภายหลังเจ้าหน้าที่จาก อย. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหาร ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบที่ซอยราชธานี 1 ถนนราชธานี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี พบในบ้านหลังดังกล่าวมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมยี่ห้อ "มาเมะ" แบ่งบรรจุในขวดผลิตภัณฑ์และบรรจุหีบห่อ เตรียมส่งให้ผู้สั่งซื้อสินค้า จึงได้เข้าตรวจสอบ พบว่ามีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง อีกทั้งไม่มีการขออนุญาตจาก อย. อันเป็นการกระทำฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 จึงได้ดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ผลิต

ภก.ประพนธ์ กล่าวอีกว่า เพจดังกล่าวอ้างว่าผลิตภัณฑ์นี้ได้รับอนุญาตจาก อย. ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการได้รับอนุญาตผลิตภัณฑ์ กับอนุญาตเรื่องการโฆษณาไม่เหมือนกัน ซึ่งการอนุญาตในเรื่องผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์ในเรื่องของบุคคลบางกลุ่มอาจต้องการรับสารอาหารอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น เกลือแร่ กรดอะมิโน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยรักษา บำบัดโรค จึงไม่มีสิทธิ์โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ หรือโฆษณาเป็นเท็จได้ หากกระทำผิดจะมีโทษปรับ 5,000 บาท แต่หากโฆษณาเป็นเท็จจะมีโทษปรับ 30,000 บาท และจำคุก 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ดี ขณะนี้กำลังมีการยกร่าง พ.ร.บ.อาหาร เพื่อปรับปรุงบทลงโทษให้มากขึ้น อย่างกรณีการโฆษณาเป็นเท็จจะมีโทษปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 300,000 บาท

นอกจากนี้ทาง อย. ได้ประสานกับคณะอนุกรรมการดําเนินการสืบสวน จับกุม ปราบปราม และกระทําผิดกฎหมายทางอินเทอร์เน็ต กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อให้ร่วมดําเนินการสืบสวนจับกุมผู้กระทําผิดแล้ว

ภาพจาก เฟซบุ๊ก สมุนไพรสลายไขมัน ของแท้จากกระทรวงสาธารณสุข
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา


โดย: หมอหมู วันที่: 30 พฤศจิกายน 2558 เวลา:22:05:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]