Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

สรุปผลการสัมมนาร่างพรบ.คุ้มครองฯ ของ บุคลากรทางการแพทย์เขตภาคเหนือ ณ คณะแพทย์ศาสตร์ มช. เมือ ๓พย๕๓




สรุปผลการสัมมนาร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ของบุคลากรทางการแพทย์ในเขตภาคเหนือ

3 พฤศจิกายน 53

ณ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

หลักการ การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาลเป็นสิ่งดี แต่การช่วยเหลือจะเป็นช่วยเหลือในรูปแบบใดต้องพิจารณาให้เหมาะสมไม่จำเป็นต้องพิจารณาแต่เรื่องการเงินอย่างเดียว



ชื่อของร่างพรบ. บ่งบอกถึงผู้ร่างมีอคติต่อบุคลากรทางการแพทย์

เพราะใช้คำว่าคุ้มครอง ซึ่งต้องการสื่อว่า ผู้ป่วยเป็นผู้ถูกรังแก เอารัดเอาเปรียบจากคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งก็คือบุคลากรทางการแพทย์ เพราะเป็นผู้ทำให้ผู้ป่วยเสียหาย ทั้งๆที่ความจริงแล้วบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย มิได้มีเจตนาร้ายต่อผู้ป่วย และความเสียหายส่วนเกือบทั้งหมดเป็นเหตุสุดวิสัย



“สถานพยาบาล” ที่อยู่ภายใต้ร่างพรบ.นี้ ประกอบไปด้วยทั้งสถานพยาบาลรัฐและเอกชน รวมทั้งคลินิค ร้านขายยา และสถานพยาบาลอื่นๆ (มาตรา 3)
บุคลากรที่อยู่ภายใต้การกำกับของร่างพรบ. มีทั้งแพทย์ พยาบาล ทันตะแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด แม้แต่ เจ้าหน้าที่อนามัย อสม. และอื่นๆ (มาตรา 3)



ร่างพรบ.นี้มีการตัดสินถูกผิดการประกอบวิชาชีพของบุคลากรด้านสาธารณสุข

แม้ว่าจะกล่าวไว้ใน “มาตรา 5” ว่า “ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ... ไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด”
แต่ “มาตรา 6” กล่าวว่า “บทบัญญัติในมาตรา 5 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติธรรมดาของโรคนั้น ...
(2) ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้ ...
(3) ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุข แล้วไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต...”

ซึ่งหมายความว่า จะให้เงินช่วยเหลือก็ต่อเมื่อความเสียหายนั้นไม่เข้าข่ายข้อแม้ตาม มาตรา 6 คือ ความเสียหายนั้นต้องไม่ได้เกิดขึ้นตามปรกติ หรือความเสียหายนั้นต้องหลีกเลี่ยงได้ หรือความเสียหายนั้นต้องไม่สามารถหายได้เป็นปรกติ แสดงว่าก่อนการจ่ายเงินช่วยเหลือต้องมีการตัดสินมาตรฐานการรักษาพยาบาลของบุคลากรทางการแพทย์ หรือสถานพยาบาลก่อน


สัดส่วนคณะกรรมการและอนุกรรมการ ไม่เป็นธรรม

ในร่างพรบ.นี้มีคณะกรรมการและอนุกรรมการต่างๆ ได้แก่ “คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข” “คณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น” “คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชย” และ “คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์” (มาตรา 7 12 และ 13) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้เสียหาย พัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือ เป็นต้น

แต่คณะกรรมการและอนุกรรมการเหล่านี้ กลับประกอบไปด้วยผู้ประกอบบุคลากรทางการแพทย์เป็นส่วนน้อย หรือไม่มีเลย ทั้งๆที่มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานทางด้านสาธารณสุข และพิจารณามาตรฐานการประกอบวิชาชีพของบุคลากรทางการแพทย์ และสถานพยาบาล

ดังนั้นถ้าตัดสินว่ามีการกระทำความผิด บุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะคณะกรรมการและอนุกรรมการที่ตัดสินถูกผิดส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางด้านการแพทย์ แต่ผลการตัดสินสามารถนำไปเป็นมูลฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลอาญา และอื่นๆได้



ใช้จ่ายงบประมาณของประเทศอย่างไม่เหมาะสม

“มาตรา 16 ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์การรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ประธานอนุกรรมการ หรืออนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และประโยชน์ตอบแทนอื่น...

“มาตรา 20 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น... เรียกว่า “กองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข”...
คณะกรรมการอาจจัดสรรเงินจากกองทุนที่ได้รับ...เป็นค่าใช้จ่ายในการบริการของสำนักงาน ...ได้แต่ไม่เกินร้อยละสิบต่อปี...”

“มาตรา 22 กองทุนประกอบด้วย
(1) เงินที่โอนมาจากเงินตามมาตรา 41 แห่งพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(2) เงินที่สถานพยาบาลจ่ายสมทบ
(3) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
...
เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน”

เท่ากับจะมีกองทุนมหาศาลอยู่เป็นหมื่นเป็นแสนล้าน และไม่ต้องส่งคืนคลัง กองทุนจะเพิ่มขึ้นทุกปีและตรวจสอบยาก น่าเป็นห่วงที่คณะกรรมการสามารถกำหนดเงินเดือน และค่าตอบแทนอื่นๆได้เองตามสบาย และอาจนำเงินกองทุนนี้ไปใช้แสวงหาผลประโยชน์แอบแฝงอย่างอื่นได้ เช่น ซื้อหุ้นจากบริษัทของพวกพ้องตนเอง นำไปลงทุนอย่างไม่คุ้มค่าแต่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นการส่วนตัว เป็นต้น



มีการเลือกปฏิบัติกับบุคลากรทางการแพทย์

ตาม “มาตรา 21” สถานพยาบาลไม่ว่าสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน รวมทั้งคลินิค ร้านขายยา และสถานพยาบาลอื่นๆ จะต้องจ่ายเงินเข้าสมทบในกองทุนนี้ และหากไม่ปฏิบัติตามก็จะมีการปรับในอัตราร้อยละสองต่อเดือน หรือถึงร้อยละยี่สิบสี่ต่อปี

แสดงว่า สถานพยาบาลทั้งหมดทั้งของรัฐ และเอกชน ต้องรับภาระในการจ่ายเงินเข้ากองทุนนี้ ทั้งๆที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือคือคนทั้งประเทศ แต่บุคลากรทางด้านการแพทย์ซึ่งเสียสละตนเองเพื่อผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถอยู่แล้ว กลับถูกผลักภาระให้ต้องมารับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองไม่ได้ก่อขึ้นอีก ทั้งภาระทางด้านการเงินซึ่งต้องจ่ายให้กองทุนนี้ และภาระด้านความรับผิดชอบทางกฎหมาย




ผลเสียต่อส่วนรวม

ปัญหาแก่ประชาชน ได้แก่ หากผู้ประกอบวิชาชีพไม่กล้าปฏิบัติงานเต็มความสามารถเพราะไม่กล้าเสี่ยง โรคต่างๆที่เคยได้รับการรักษาด้วยวิธีหนึ่งก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปรักษาด้วยวิธีอื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าแม้ว่าผลของการรักษาจะดีน้อยกว่าด้วยก็ตาม อาจมีการส่งต่อมากขึ้นจนคนไข้ไปแออัดอยู่ตามรพ.ใหญ่ๆ เป็นต้น

ปัญหาต่อประเทศชาติ เช่น ถ้าคนเรียนแพทย์ ทันตะแพทย์ เภสัชกร ฯลฯ น้อยลง หรือลาออกเพิ่มขึ้น ก็จะไปซ้ำเติมปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเข้าไปอีก ยังไม่นับปัญหาการเงินระดับประเทศที่ต้องคอยป้อนเงินเข้าสู่กองทุนนี้ทุกปี จนประเทศชาติต้องสูญเสียเงินเป็นหมื่น เป็นแสนล้าน เป็นต้น



ผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 300 คน จากคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รพ.ชุมชน รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป ในเขตภาคเหนือ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตะแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด

ผลการลงประชามติ

ไม่เห็นชอบร่าง พรบ.นี้ 100%


โดยมีความเห็นว่าไม่ควรมีร่างพรบ.นี้ 65% และเห็นว่าควรนำไปปรับปรุงก่อน 35%


ความเห็นอื่นๆ ได้แก่ ควรใช้กฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น มาตรา 41 ตามพรบ.หลักประกันสุขภาพ, ร่างพรบ.นี้ไม่เป็นธรรมกับบุคลากรทางการแพทย์, คณะกรรมการควรเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านสาธารณสุข, ร่างพรบ.นี้จะทำลายระบบสาธารณสุข, ร่างพรบ.นี้ยังไม่มีความชัดเจนและมีวาระซ่อนเร้น เป็นต้น




นพ.ภีศเดช สัมมานันท์
รพ.นครพิงค์ เชียงใหม่
คณะทำงาน พิจารณาร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ... ของแพทยสภา
ผู้สรุปผลการสัมมนา









ปล. ก็เป็นอีกมุมมองหนึ่ง ของผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก พรบ.นี้ .. จากคนที่ยังทำหน้าที่เป็น ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วย อยู่ตลอดทุกวัน ...

ผู้ที่สนับสนุน .. ไม่คิดจะรับฟ้ง ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ บ้างหรือ




Create Date : 12 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2553 19:58:20 น. 1 comments
Counter : 2651 Pageviews.  

 


ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:05:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]