Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ เลือกอย่างไร ไม่ให้ถูกหลอก ?






บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ เลือกอย่างไร ไม่ให้ถูกหลอก

เนื่องด้วย พระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ว่าด้วยเรื่องการขึ้นสถานพยาบาล ซึ่งหมายถึง สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะ ซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ และจากประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542)ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การยกเว้นสถานพยาบาลซึ่งไม่ต้องอยู่ในบังคับ ของ พรบ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ข้อที่ 1.3 เป็นสถานพยาบาลเคลื่อนที่ของสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนที่ใช้ ยานพาหนะเป็นที่ให้บริการและออกให้บริการไปยังหน่วยงานที่ร้องขอเพื่อการตรวจดูแลสุขภาพพนักงาน นักศึกษา ควรเป็นไปตามสัญญาประกันสุขภาพหรือการตรวจสุขภาพประจำปีระหว่างสถานพยาบาลกับหน่วยงานเท่านั้น

    ดังนั้น จึงมีประกาศจากกระทรวงฯ เรื่องแนวทางการให้บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่สำหรับสถานศึกษาและสถานประกอบการ โดยสถานพยาบาลเอกชนที่เรียกเก็บค่าบริการ สถานพยาบาลเอกชนนั้นต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีเตียงผู้ป่วยไว้ค้างคืนเท่านั้น

    ซึ่งพิจารณาได้จากใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลที่ออกให้โดยกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น และ หากต้องออกบริการจะต้องมีหน่วยงานร้องขอให้ไปตรวจ และเป็นไปเฉพาะกรณีเพื่อการตรวจดูแลสุขภาพพนักงานนักศึกษา ตามสัญญาประกันสุขภาพหรือตรวจประจำปีระหว่างสถานพยาบาลกับหน่วยงานเท่านั้น

ทั้งนี้ หากสถานศึกษา/ผู้ประกอบกิจการ สงสัยหรือต้องการตรวจสอบว่าสถานพยาบาล เอกชนนั้นสามารถให้บริการได้หรือไม่
- ในเขตกรุงเทพมหานครสอบถามได้ที่สํานักสถานพยาบาลและการ ประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โทร 0 2590 1997 ต่อ 405,406 
- ในส่วน ภูมิภาค สอบถามได้ที่ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ทุกจังหวัด
- สอบถามที่สายด่วนคุ้มครองบริการสุขภาพ หมายเลข  0 2193 7999 ตลอด 24 ชั่วโมง

( ในขณะนี้มีสถานพยาบาล(เอกชน) ประเภทที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ จํานวน 326 แห่งเท่านั้น )

มีคำแนะนำใน 3 ประการ ได้แก่
1. การให้บริการตรวจสุขภาพนักเรียน ผู้ใช้แรงงาน เพื่อเป็นสวัสดิการ จะต้องตรวจโดยสถานพยาบาลภาครัฐหรือเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยพักค้างคืนเท่านั้น และก่อนดำเนินการ ควรแจ้งขออนุญาตที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ
2. บุคลากรที่ดำเนินการตรวจสุขภาพจะต้องเป็นผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ เท่านั้น
3. หากไม่แน่ใจว่าหน่วยบริการที่ไปตรวจสุขภาพถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ขอให้แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่เพื่อร่วมกันตรวจสอบก่อน หรือสอบถามสายด่วนคุ้มครองบริการสุขภาพ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ โทร. 0-2193-7999 ตลอด 24 ชั่วโมง.

สำหรับ บริษัทที่ตรวจสุขภาพเถื่อน จะมีความผิด 2 ข้อหา ได้แก่
1.ข้อหา สถานพยาบาลเถื่อน ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี จำคุกไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.ข้อหา แพทย์เถื่อนและเทคนิคการแพทย์เถื่อน ผู้ที่ดำเนินการตรวจสุขภาพและเจาะเลือด ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและเทคนิคการแพทย์ ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม และ พ.ร.บ.เทคนิคการแพทย์ มีโทษเท่ากัน คือจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



Create Date : 28 มิถุนายน 2557
Last Update : 28 มิถุนายน 2557 22:20:39 น. 0 comments
Counter : 5648 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]