Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

"จุรินทร์" ไม่รู้เท่าทันเอ็นจีโอ (หรือ แกล้งโง่..) ... โดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา




"จุรินทร์" ไม่รู้เท่าทันเอ็นจีโอ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 ตุลาคม 2553 13:24 น.


บทความโดย: พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)

นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศรับรองกับเอ็นจีโอสาธารณสุขว่า จะผลักดันให้พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... เข้าสู่สภาและสามารถผ่านการรับรองจากสภาออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับได้ล้านเปอร์เซ็นต์

โดยไม่เคยอ่านพ.ร.บ.คุ้มครองฯฉบับร่างโดยรัฐบาลให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ซ่อนเร้นอะไรไว้เบื้องหลังบ้าง ซึ่งมีหลายมาตราในพ.ร.บ.ฉบับร่างของรัฐบาลเอง ที่เนื้อหาในแต่ละมาตราขัดกันเอง หรือเนื้อหาในมาตราเดียวกันแต่คนละวรรคก็ขัดกันเอง รวมทั้งมาตรา 50 ก็เขียนไว้แบบล็อคสเป็คอย่างโจ๋งครึ่มเลยว่า ให้เอ็นจีโอด้านสาธารณสุขเป็นกรรมการรักษาการ 6 ใน 11คน ที่เหลืออีก 5 คนนั้น รัฐมนตรีก็คงฝันหวานว่าจะเอาคนที่ตัวเองสั่งซ้ายหัน/ขวาหันได้ (เช่นข้าราชการระดับสูงของกระทรวง สาธารณสุข) มาเป็นกรรมการในบทเฉพาะกาล เพื่อจะออกระเบียบต่างๆ รวมทั้งระเบียบการบริหารกองทุน ที่คงจะเอื้อประโยชน์ให้เอ็นจีโอและพวกพ้องของรัฐมนตรี และที่สำคัญที่สุดก็คือคงจะออกระเบียบเพื่อมาล็อคสเป็คการเลือกกรรมการมาบริหารกองทุนต่อไปในอนาคต

ซึ่งถ้าใครไม่อ่านร่างกฎหมายฉบับของรัฐบาลอย่างละเอียด และทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ตามตัวอักษรทุกตัวแล้ว ก็อาจจะหลงเชื่อเอ็นจีโอ ที่แอบอ้างว่า เป็นเสียงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่ต้องการสนับสนุนให้ผ่านร่างกฎหมายนี้ออกมาบังคับใช้ เพื่อประโยชน์ของประชาชน แต่ที่จริงแล้วมันจะให้ประโยชน์แก่เอ็นจีโออย่างมากมายมหาศาล มากกว่าประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เนื่องจากเอ็นจีโอต่างก็หวังว่าพวกตนจะได้เข้ามาเป็นกรรมการ 6 ใน 11 คน ตามที่เขียนไว้ในมาตรา 50 และรัฐมนตรีรวมทั้งข้าราชการระดับสูงที่อาจจะได้มาเป็นกรรมการในบทเฉพาะกาลอีกอย่างน้อยก็คือ 3 ใน 5 คนที่เหลือ เพราะก็เขียนล็อคสเป็คไว้เช่นเดียวกันในมาตรา 50

สรุปแล้ว คนทั้ง2 พวกที่กล่าวมานั้น มีความต้องการมา “หาผลประโยชน์” จากเงินกองทุน เป็นเบี้ยประชุม เบี้ยเลี้ยงเดินทาง และผลประโยชน์อื่นๆอีกมากมายจากเงิน 10% ของกองทุน

ท่านผู้อ่านบทความนี้อาจจะนึกไม่ถึงว่า เงินกองทุน 10% นี้มันจะมากมายมหาศาลแค่ไหน? ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างให้ท่านลองพิจารณาดู จากบทเฉพาะกาล ก็เขียนไว้ว่า ให้โอนเงินตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เหลืออยู่โอนเข้ากองทุนตามพ.ร.บ.ใหม่นี้ และให้เรียกเก็บเงินจากโรงพยาบาล/คลินิก และสถานประกอบการเกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุขทุกแห่งเข้ากองทุน ซึ่งจะเป็นจำนวนทั้งสิ้นดังนี้

1. เงินตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นเงิน 1,200 ล้านบาทในปีงบประมาณพ.ศ. 2554

2. เงินจากผู้ป่วยนอกครั้งละ 5 บาท เป็นเงินเท่ากับจำนวนครั้งของผู้ป่วยที่ไปโรงพยาบาลในแต่ละปีคูณด้วย 5 จะเท่ากับ (63,000,000 x 2.7 x 5) = 850,500,000 บาท เงินจำนวนนี้คิดตามสถิติของพ.อ.(พิเศษ)นพ.กิฎาพล วัฒนะกุล กรรมการควบคุมคูณภาพมาตรฐานหน่วยบริการของสปสช. ที่มีสถิติว่าประชาชนไทยไปตรวจรักษาแบบผู้ป่วยนอกปีละ 2.7 ครั้งต่อคนต่อปี และไปโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน(นอนในโรงพยาบาล) 11 % ของจำนวนประชาชนทุกคน

3. เงินจากผู้ป่วยในครั้งละ 80 บาท เท่ากับ (80 x 63,000,000 x 0.11) = 554,400,000 บาท

ฉะนั้นเมื่อรวมเงินกองทุนทั้งหมดแล้วจะเป็นเงินทั้งสิ้นปีละ1,200,000,000 +850,500,000+554,400,000 = 2,604,900,000 บาท

และกรรมการกองทุนที่น่าจะมาจากเอ็นจีโอ และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข จะมีสิทธิใช้เงิน 10% เท่ากับ 260,490,000 บาท ในการบริหารและการทำงานตามที่พวกเขาได้เขียนเอาไว้ในพ.ร.บ.ใหม่นี้


อนึ่ง จำนวนเงินที่คิดนี้ ยังไม่รวมเงินในมาตรา 41 ปีละประมาณ 800 -900 ล้านบาท ที่มีเหลือจากการช่วยเหลือประชาชน ตามมาตรา 41 ที่ใช้เงินช่วยเหลือปีละไม่ถึง 100 ล้านบาท ฉะนั้นตามความเป็นจริงแล้ว เงินตามมาตรา 41 นี้ ยังมีเหลืออีกประมาณปีละ 700 X 8 = 5,600,000 ล้านบาท (หมายเหตุ เลข 8 มาจากจำนวน 8 ปีของการมีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545- 2553)ซึ่งกรรมการในพ.ร.บ.ใหม่นี้จะสามารถเอา 10% มาใช้ เท่ากับ 560,000,000 บาท (หมายเหตุ เลข 8 มาจากจำนวน 8 ปีของการมีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545- 2553)



เมื่อรวมจำนวนเงินทั้งสิ้นที่พวกผลักดันพ.ร.บ.ต้องการเข้าไปบริหารเป็นประเดิมเมื่อสามารถผลักดันให้พ.ร.บ.นี้ผ่าน สภาได้สำเร็จ จะมีโบนัสก้อนโตคือ 260,490,000 + 560,000,000 =820,490,000 ล้านบาท (มากกว่างบประมาณที่นพ.ประเวศ วสี ขอจากรัฐบาลเป็นงบประมาณการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยเสียอีก)



ฉะนั้นทั้งเอ็นจีโอและรัฐมนตรี รวมทั้งข้าราชการระดับสูงที่ไปร่วมร่างพ.ร.บ.ฉบับของรัฐบาล ต่างก็มีความหวังว่า จะได้มีส่วนไปใช้เงินกองทุนก้อนโตนี้ตามอำเภอใจ เพราะพวกมากลากไปตามที่เขียนล็อกสเป็คอย่างโจ๋งครึ่มในพ.ร.บ.ฉบับใหม่ตามร่างของรัฐบาลอยู่แล้ว

การกล่าวอ้างว่าประชาชนทั้ง 63 ล้านคน จะได้ประโยชน์จากพ.ร.บ.นี้ จึงเป็นการแบอ้างเอาประชาชนมาบังหน้า แต่พฤติการณ์มันส่อเจตนาอย่างชัดเจนว่า ต้องการเขียนพระราชบัญญัติ เพื่อให้เอ็นจีโอและรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข หาเงินมาใช้ได้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเงินที่เหลือก็ไม่ต้องคืนกระทรวงการคลัง เงินก็อาจจะเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ กรรมการกองทุนก็อาจจะมีมติให้เอาเงินกองทุนไปลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อกองทุนจะได้มีเงินเพิ่มขึ้นมากๆ เงินบริหาร 10% ก็จะได้เพิ่มพูนเป็นเงาตามตัว กรรมการก็จะได้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้น

กองทุนนี้ จึงน่าจะมีผลประโยชน์มากมายมหาศาล จนทำให้พวกที่สนับสนุนการผลักดันพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... นี้ มีความพยายามใช้มวลชนจัดตั้งทุกวิถีทาง มากดดันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอาจจะไม่รู้เท่าทันเอ็นจีโอ เพื่อให้รัฐมนตรีรักษาสัญญาลูกผู้ชาย(หรือเปล่า?) ในการที่จะผลักดันพ.ร.บ.นี้เข้าสภาให้ได้ล้านเปอร์เซ็นต์ตามที่สัญญาไว้

เอ๊ะ หรือผู้เขียนอาจจะตีราคารัฐมนตรีต่ำเกินไปว่า รัฐมนตรีไม่รู้เท่าทันเอ็นจีโอ? เพราะคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีได้ น่าจะต้องเป็นคนฉลาดหลักแหลม และมีความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาการบริหารราชการแผ่นดินในกระทรวงที่ตัวเองรับผิดชอบ บ้านเมืองจึงจะเจริญรุ่งเรือง ประชาชนจึงจะมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี

หรือว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะแกล้งโง่ ?????

//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000138495&#Comment




Create Date : 03 ตุลาคม 2553
Last Update : 3 ตุลาคม 2553 11:39:28 น. 1 comments
Counter : 2014 Pageviews.  

 
นักการเมืองกับผลประโยชน์ เป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก
ส.ส.ข้างมาก เห็นด้วย กฏหมายก็ผ่าน ใครซวย
นี่แหละ ประชาธิปัต.. เอ้ย. ประชาธิปไตย
ผมขออณุญาต นำข้อความนี้ ไปให้คนอื่นอ่านต่อนะ


โดย: nuyect วันที่: 12 ตุลาคม 2553 เวลา:19:26:24 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]