Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

(เก็บมาฝาก) สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิต เกล็ดโลหิต เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (สเต็มเซลล์)

 
 

 





บริจาคโลหิต

โลหิต เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยกำลังสูบฉีดของหัวใจ

อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต คือ ไขกระดูก

โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ

ส่วนที 1 คือ เม็ดโลหิต ซึ่งมี 3 ชนิด คือ เม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว เกล็ดโลหิต

ส่วนที่ 2 คือ พลาสมา (Plasma) คือส่วนที่เป็นของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตทั้งหลายลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำสีเหลือง


ปัจจุบันยังไม่สามารถหาสารประกอบใด ที่มาใช้ทดแทนโลหิตได้ดี ฉะนั้นเมื่อยามที่ร่างกายเสียโลหิตจากอุบัติเหตุ ผ่าตัด หรือโรคที่จำเป็นต้องรักษาด้วยโลหิต จึงจำเป็นต้องรับบริจาคโลหิตจากบุคคลหนึ่งเพื่อนำไปให้อีกบุคคลหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือชีวิตให้ทันท่วงที

ความจำเป็นต้องใช้โลหิต

โลหิต 77% ที่ได้รับบริจาคถูกนำไปใช้เพื่อทดแทนโลหิตที่สูญเสียไปในภาวะต่างๆ อาทิ อุบัติเหตุ การผ่าตัด โรคกระเพาะอาหาร การคลอดบุตร ฯลฯ

อีก 23 % เป็นการนำโลหิตไปใช้เฉพาะโรค อาทิ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เกล็ดโลหิตต่ำ ฮีโมฟีเลีย เป็นต้น

ความต้องการโลหิต

ปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ต้องจัดหาโลหิตให้ได้วันละ 1,500 ยูนิต เดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 42,000 ยูนิต จึงจะเพียงพอจ่ายให้กับผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ

โดยแบ่งเป็น หมู่โลหิตที่จำเป็นต้องจัดหาโลหิตในแต่ละวัน ดังนี้คือ
หมู่ A วันละ 400 ยูนิต
หมู่ B วันละ 400 ยูนิต
หมู่ O วันละ 600 ยูนิต
หมู่ AB วันละ 100 ยูนิต

การบริจาคโลหิต

การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้

โลหิตสามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไปไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้น มาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว เพราะหมดอายุออกมาทางปัสสาวะ อุจจาระ

กระบวนการบริจาคโลหิตตั้งแต่เริ่มลงทะเบียน จนกระทั่งบริจาคโลหิตเสร็จสิ้น ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเลือกเจาะโลหิตที่เส้นโลหิตดำ บริเวณแขน แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค

บริจาคโลหิตและบริจาคพิเศษ
1. โลหิตรวม (Whole Blood)
2. พลาสมา (Single Donor Plasma)
3. เกล็ดโลหิต (Single Donor Platelets)
4. เม็ดโลหิตแดง (Single Donor Red Cell)
5. เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell)
6. สถานที่บริจาค

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.blooddonationthai.com

https://www.blooddonationthai.com/index.asp?ContentID=10000001&catid=10

มีบทความในคอลัมน์บริจาคโลหิต ทั้งหมด 8 บทความ
- ขั้นตอนการบริจาคโลหิต
- คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
- การเตรียมตัวก่อน-หลังบริจาคโลหิต
- แบบทดสอบความพร้อมก่อนบริจาค
- บริจาคโลหิต
- การบริจาคพลาสมา (Single donor plasma)
- การบริจาคเกล็ดโลหิต (Single Donor Platelets)
- บริจาคเม็ดโลหิตแดง(Single Donor Red Cell)
 

การเตรียมตัวก่อน-หลัง

https://blooddonationthai.com/content/การเตรียมตัวก่อน-หลัง

การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต

            -นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  ในเวลานอนปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต

-สุขภาพสมบูรณ์ทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใดๆ 

            -รับประทานอาหารมื้อหลัก  ก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ แกงต่างๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ  เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้

            -ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณ โลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต

           -งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

-งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

 

ขณะบริจาคโลหิต

            -สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว

            -เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้ง เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า

            -ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล

            -ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต

            -ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการ ผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที

            -หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อยนอนพักบนเตียงสักครู่ ห้ามลุกจากเตียงทันที อาจทำให้เวียนศีษะเป็นลมได้ ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง

 

หลังบริจาคโลหิต

            -ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1 วัน

            -หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต เพื่อป้องกันการบวมช้ำ

            -ไม่ควรรีบร้อนกลับ ควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที

            -ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล

            -ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน

            -รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และรับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก



ศูนย์บริการ โลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ถ.อังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
Email : webmaster@blooddonationthai.com
โทรศัพท์ : 0-2263-9600-99 ต่อ 1752,1753
โทรสาร : 0-255-4567


 
 


เรื่อง : ประโยชน์ของการเป็นสมาชิกสภากาชาดไทย

รายละเอียด : ผู้ที่เป็นสมาชิกสภากาชาดทุกประเภท มีสิทธิดังนี้

1. เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของสภากาชาดไทย คือ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชาจะได้ลดอัตราค่าห้อง ค่าผ่าตัด ร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนด

2. เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
จะ ได้ลดอัตราค่าห้องร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนด (ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข)

หลักฐานที่สมาชิกสภากาชาดไทยจะต้องนำไปแสดงในการขอรับการรักษาพยาบาลต่อเจ้า หน้าที่ของโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้แก่ ประกาศนียบัตรของสมาชิกประเภทนั้นๆ และถ้าเป็นสมาชิกสามัญประจำปีต้องมีใบเสร็จรับเงินไปแสดงด้วย

3. ถ้าบิดาและมารดาเป็นสมาชิก เอกสิทธิของสมาชิกรวมถึงบุตรที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ด้วย

4. การลดหย่อนค่าธรรมเนียมตามข้อ 2 จะมีผลต่อเมื่อสมาชิกมิได้ค้างชำระ
หนี้แก่สภากาชาดไทยในขณะที่ขอรับประโยชน์ดังกล่าว และต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกำหนด ดังนี้

(1) สมาชิกพิเศษ จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลตั้งแต่วันที่เป็นสมาชิก

(2) สมาชิกกิตติมศักดิ์ จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาล เมื่อมีชื่ออยู่ในทะเบียนสมาชิกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน

(3) สมาชิกวิสามัญ จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลต่อเมื่อมีชื่อ
อยู่ในทะเบียนสมาชิกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน

(4) สมาชิกสามัญตลอดชีพ จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาลต่อเมื่อ
มีชื่ออยู่ในทะเบียนสมาชิกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 9 เดือน

(5) สมาชิกสามัญ จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่ารักษาพยาบาล ต่อเมื่อมีชื่ออยู่ในทะเบียนสมาชิก เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี


5. บุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภากาชาด แต่ได้ประโยชน์บางอย่าง ได้แก่

(1) ผู้บริจาคโลหิต ให้แก่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย หรือ
สาขาบริการโลหิต ตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป รวมจำนวนโลหิตแล้วไม่น้อยกว่า 140 ซีซี

มีสิทธิเทียบเท่าสมาชิกสามัญตลอดชีพ

(2) ผู้บริจาคโลหิต ให้ศูนย์บริการโลหิต หรือสาขาบริการโลหิต ตั้งแต่
24 ครั้งขึ้นไป


สถานบริการสาธารณสุขรักษาพยาบาลให้โดย ไม่คิดมูลค่า

แต่ถ้าอยู่ห้องพิเศษให้เรียกเก็บ ค่าห้องเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดและให้มีสิทธิเฉพาะตัว

(ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2525 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2527) และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532)



(3) สมาชิกอาสากาชาดที่ได้รับการอบรมหลักสูตรอาสากาชาดปฏิบัติภารกิจ
ของ อาสากาชาดอย่างสม่ำเสมอจนครบ 1 ปี

ตามระเบียบปฏิบัติของอาสากาชาดเมื่อเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ของสภากาชาดไทย อาทิ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชาจะได้รับสิทธิลดค่าห้อง ค่าผ่าตัด ร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนด

ประกาศเมื่อ วันที่ 21 มกราคม.2552

ที่มา : https://www.trangredcross.com/datacenter/detail.php?news_id=136


 
 

แถม

บริจาคโลหิต เพื่อการผ่าตัดของตนเอง

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=05-07-2008&group=6&gblog=19





 
บริจาคเกล็ดโลหิต

https://www.blooddonationthai.com/content/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95


เกล็ดโลหิต (Platelets) เป็นเซลล์เม็ดโลหิตชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็กมาก แต่มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างยิ่ง เพราะช่วยทำให้โลหิตแข็งเป็นลิ่ม และอุดรอยฉีกขาดของเส้นโลหิตเวลาที่ถูกของมีคมบาด โดยปกติเกล็ดโลหิต มีอายุในการทำงานประมาณ 5-10วัน ในร่างกายมนุษย์เราจะมีเกล็ดโลหิตประมาณ1-5 แสนตัว/ลูกบาศก์มิลลิลิตร ถ้ามีภาวะเกล็ดโลหิตต่ำมากจะทำให้เกิดโลหิตออกง่าย นอกจากนี้ยังมีหลายโรคที่ทำให้เกล็ดโลหิตต่ำ เช่น โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว โรคที่เกี่ยวกับไขกระดูกไม่ทำงาน โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคไข้เลือดออก เป็นต้น

เกล็ดโลหิตใช้รักษาโรคในผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดโลหิตต่ำ และมีปัญหาเลือดออกไม่หยุด เช่น โรคไข้เลือดออก มะเร็งเม็ดโลหิตขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น



การบริจาคเกล็ดโลหิต (Single Donor Platelets)

ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้เกล็ดโลหิตรักษา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จะเปิดรับบริจาคเกล็ดโลหิต เฉพาะที่มีการร้องขอจากโรงพยาบาลเท่านั้น ไม่ได้เปิดรับบริจาคทั่วไปเหมือนรับบริจาคโลหิต หรือพลาสมา ทั้งนี้เพราะเกล็ดโลหิตเมื่อเจาะออกมานอกร่างกายแล้ว จะมีอายุเพียง 24 ชั่วโมง - 5 วัน ตามลักษณะและกรรมวิธีในการเจาะเก็บและต้องเก็บรักษาไว้ในตู้ซึ่งควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 22 องศาเซลเซียสพร้อมกับมีการเขย่าเบาๆ ตลอดเวลา

การรับบริจาคเกล็ดโลหิต จะใช้เครื่องมือเฉพาะที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ผู้บริจาคเกล็ดโลหิตจะถูกเจาะโลหิตจากแขนข้างหนึ่งผ่านเข้าเครื่องแยกอัตโนมัติ เพื่อแยกเกล็ดโลหิตออกจากเม็ดโลหิตแดง เมื่อได้เกล็ดโลหิตแล้ว ส่วนประกอบอื่นๆ จะถูกคืนกลับเข้าสู่ร่างกาย ระยะเวลาในการบริจาคเกล็ดโลหิต ประมาณ 1.30 - 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องมือ

ผู้บริจาคเกล็ดโลหิตจะไม่อ่อนเพลีย สามารถปฏิบัติภารกิจการงานได้ตามปกติ หลังจากบริจาคเกล็ดโลหิตไปแล้ว 1เดือน สามารถบริจาคโลหิตได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณีจำเป็น อาจให้บริจาคได้ทุก 3-5 วัน แต่ไม่เกิน 24 ครั้ง/ปี และค่าเกล็ดโลหิตก่อนบริจาคไม่ต่ำกว่าเกณฑ์กำหนด



คุณสมบัติผู้บริจาคเกล็ดโลหิต

อายุ 17-50 ปี
น้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไป
ควรเป็นผู้ที่บริจาคโลหิตสม่ำเสมอ
หมู่โลหิตจะต้องตรงกับผู้ป่วยที่ต้องการเกล็ดโลหิต
เส้นโลหิตตรงข้อพับแขนชัดเจน
ไม่รับประทานยาแก้ปวดแอสไพริน ในระยะเวลา 5 วันก่อนบริจาค
มีจำนวนเกล็ดโลหิต 2.5 แสนตัว/ลูกบาศก์มิลิลิตร (ก่อนบริจาคจะขอเจาะโลหิตเพื่อตรวจนับจำนวนเกล็ดโลหิตก่อน)



วัน เวลาทำการบริจาคเกล็ดโลหิต
จันทร์,พุธ,ศุกร์ เวลา 08.30 - 15.00 น.
อังคาร,พฤหัสบดี เวลา 07.30 - 17.00 น.
เสาร์, อาทิตย์ เวลา 08.30 - 11.30 น.
ปิดทำการวันหยุดนักขัตฤกษ์

*นัดหมายการบริจาคเกล็ดโลหิต หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2263 9600 ต่อ 1143,1144





ชมรมผู้ปลูกถ่ายไขกระดูก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

https://www.thaibmc.org/index.htm

https://www.thaibmc.org/story.htm


บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell)

https://www.blooddonationthai.com/content/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95-stem-cell

https://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2006/04/L4305585/L4305585.html

*****************************************

บริจาค “สเต็มเซลล์” ไม่อันตราย ดั่งหาคู่แท้ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้เสมือนเกิดใหม่

29 มิถุนายน 2019

https://workpointnews.com/2019/06/29/donate-stem-cell/

ความหวังเดียวที่จะรักษาผู้ป่วยโรคทางโลหิตให้หายขาดได้ในปัจจุบัน คือการบริจาคสเต็มเซลล์ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค

“การบริจาคเลือด” หรือ “การบริจาคโลหิต” เป็นคำที่เราต่างได้ยินกันจนคุ้นชิน แต่ “การบริจาคสเต็มเซลล์” เชื่อว่าหลายคนอาจไม่เคยได้ยิน หรือเคยได้ยินแล้ว แต่พอรู้ความหมายเพียงแค่ว่า “สเต็มเซลล์” (Stem Cell) เป็นเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ซึ่งเป็นเซลล์ตัวอ่อนของเลือดที่อาศัยในไขกระดูก และจะเจริญเติบโตไปเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งหล่อเลี้ยงอยู่ในร่างกาย ก็กลัวกันแล้ว ไหนจะ “เขา” ว่ากันว่ายุ่งยาก น่ากลัว จากที่กลัวอยู่แล้ว ก็เลยพลอยไม่กล้าบริจาคตาม “เขา” ไปด้วย ซึ่ง “เขา” ไหนว่ามา ก็ไม่มีใครรู้

ทราบหรือไม่ว่า ที่จริงแล้ว “การบริจาคสเต็มเซลล์” ไม่น่ากลัว และไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคเลย ทั้งยังได้ทำบุญครั้งใหญ่ เสมือนต่อชีวิตให้ผู้ป่วยได้เกิดใหม่ เนื่องจากการบริจาคสเต็มเซลล์เป็นความหวังเดียว ที่จะรักษาผู้ป่วยโรคทางโลหิตให้หายขาดได้ในปัจจุบัน ซึ่งโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย, โรคโลหิตจางชนิดไขกระดูกฝ่อ, โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวเฉียบพลัน / เรื้อรัง, โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

ปัจจุบันสเต็มเซลล์ขาดแคลนมาก นอกจากไม่ค่อยมีผู้บริจาคแล้ว สเต็มเซลล์ที่มีผู้บริจาคมา ก็ต้องเข้ากันได้กับสเต็มเซลล์ของผู้ป่วยด้วย ดุจการตามหา “คู่แท้” ก็ไม่ปาน

ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการให้ชีวิตใหม่แก่ผู้ป่วยที่รอคอยอยู่ สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบคุณสมบัติของคุณก่อน ได้แก่

  1. ต้องมีอายุระหว่าง 18 ปีบริบูรณ์ – 50 ปี
  2. เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง
  3. ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง และไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว ก็เดินทางไปบริจาคสเต็มเซลล์ได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โดยเริ่มจากการลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ หลังจากผ่านขั้นตอนการลงทะเบียนบริจาคโลหิต, ตรวจความเข้มข้นโลหิต, ตรวจวัดความดันโลหิตแล้ว ให้ติดต่อเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ก่อนไปบริจาคโลหิต ชั้น 2

จากนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะทำการเก็บตัวอย่างโลหิตของคุณประมาณ 5 ml. พร้อมการบริจาคโลหิต เพื่อนำไปตรวจลักษณะเนื้อเยื่อ (HLA or Tissue typing) และเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้ก่อน หากผู้บริจาคมีลักษณะเนื้อเยื่อ HLA เข้ากันได้กับผู้ป่วยแล้ว ศูนย์บริการโลหิตฯ จะเชิญอาสาสมัครมาบริจาคสเต็มเซลล์ในภายหลัง

สำหรับ วิธีบริจาคสเต็มเซลล์ นั้นมี 2 วิธี ซึ่งปัจจุบันนี้นิยมวิธีการบริจาคสเต็มเซลล์ทางหลอดเลือดดำ (Peripheral Blood Stem Cell Donation) เพราะง่ายและสะดวกสำหรับผู้บริจาค โดยผู้บริจาคสามารถเลือกวิธีบริจาคได้ หรืออาจจะได้รับการร้องขอจากแพทย์ให้บริจาคด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง (ก่อนการบริจาคต้องมีการตรวจสุขภาพของผู้บริจาค) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. การบริจาคสเต็มเซลล์ทางหลอดเลือดดำ (Peripheral Blood Stem Cell Donation)

โดยปกติในกระแสเลือดจะมีสเต็มเซลล์อยู่น้อยมาก ในขั้นแรกจึงต้องฉีดยา G-CSF 4 วัน เพื่อกระตุ้นให้สเต็มเซลล์ ออกจากไขกระดูก (Bone Marrow) มากระจายในกระแสเลือดให้มากพอ จึงจะเข้ากระบวนการเก็บสเต็มเซลล์ ซึ่งคล้ายกับวิธีการเก็บเกล็ดเลือด หรือน้ำเหลือง (Plasma) โดยนำเลือดผ่านเข็มที่แทงอยู่ในเส้นเลือดดำ (Vein) เข้าสู่เครื่อง Automated Blood Cell Separator ที่จะแยกเฉพาะสเต็มเซลล์ ทั้งนี้ จะใช้เวลาเก็บครั้งละ 3 ชั่วโมง และอาจจะต้องมาเก็บ 2-3 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้ป่วยด้วย

  1. การบริจาคไขกระดูก (Bone Marrow Donation)

เป็นกระบวนการเก็บสเต็มเซลล์จากโพรงไขกระดูก โดยใช้เข็มและกระบอกฉีดยาเจาะเก็บจากบริเวณสะโพกด้านหลัง (บริเวณขอบกระดูกเชิงกราน) ซึ่งดำเนินการเก็บในห้องผ่าตัด กระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งก่อนที่จะถึงกระบวนการเจาะเก็บข้างต้น ผู้บริจาคอาจต้องบริจาคโลหิตเก็บไว้ และจะนำมาให้หลังจากที่ได้เจาะเก็บไขกระดูกเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ร่างกายสามารถสร้างสเต็มเซลล์ขึ้นมาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว และหลังทำแผลแล้วผู้บริจาคสามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น และควรพักฟื้นร่างกายประมาณ 5-7 วัน

ในวันที่คุณยังมีโอกาสให้ความช่วยเหลือผู้อื่นได้ อย่าลืมให้ ใครจะรู้ วันหนึ่งคุณอาจเป็นผู้รอคอยรับการบริจาคเช่นกัน

ผู้สนใจบริจาคสเต็มเซลล์ สามารถไปบริจาคได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. วันเสาร์, อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 15.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร. 0-2256-4300 หรือ 0-2263-9600 ต่อ 1770, 1771 และ 1777 หรือ e-mail: stemcell@redcross.or.th เว็บไซต์: www.stemcellthairedcross.com


 

“สเต็มเซลล์ ปาฏิหาริย์ให้ชีวิต”
▶️สเต็มเซลล์ คือ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ที่เจริญเติบโตไปเป็น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด อาศัยอยู่ในไขกระดูกและบางส่วนอยู่ในกระแสเลือด
▶️สเต็มเซลล์ นำไปรักษาผู้ป่วยโรคเลือด อาทิ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคที่มีความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือด
📝เราสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเลือดได้ ด้วยการลงทะเบียนเป็นอาสามัครบริจาคสเต็มเซลล์ แต่โอกาสที่สเต็มเซลล์จะตรงกันกับผู้ป่วย มีเพียง 1 ใน 10,000 คน เท่านั้น
.
🔴อาสาสมัครลงทะเบียนบริจาคสเต็มเซลล์ จำนวน 241,238
🔴ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนเพื่อรอรับสเต็มเซลล์ จำนวน 1,941 ราย
🔴ผู้บริจาคสเต็มเซลล์ให้กับผู้ป่วยได้จริง จำนวน 321 ราย
หมายเหตุ ข้อมูลจำนวนอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ ตั้งแต่ปี 2545-ปัจจุบัน
.
📌สามารถลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์
☎️สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2256 4300








******************************************
Rupporn Tuksinvaracharn
11 พฤศจิกายน เวลา 15:21 น. ·

ขอประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจาคสเต็มเซลล์ค่ะ

สามีของดิฉัน นพ.วีกิจ กิตติศุภมงคล อายุ 37 ปี เป็นแพทย์ผ่าตัดกระดูก รพ.เทียนฟ้า กำลังป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษา คือ การปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งการปลูกถ่ายไขกระดูก จำเป็นจะต้องได้สเต็มเซลล์จากผู้บริจาค โอกาสที่คนเราจะมีสเต็มเซลล์ตรงกับผู้อื่นนั้น มีแค่ 1/50,000 ดังนั้น ยิ่งประเทศไทยเรามีจำนวนคนที่ขึ้นลงทะเบียนสเต็มเซลล์มากเท่าไหร่ โอกาสที่จะตรงกับผู้ป่วยมากขึ้นเท่านั้น

ซึ่งวิธีการบริจาคสเต็มเซลล์ จะเหมือนการบริจาคเลือดทั่วไปค่ะ ไม่ได้เจ็บตัวเพิ่ม เพราะเอาตัวอย่างเลือดแค่ 5 ซีซี ไปตรวจว่าตรงกับผู้ป่วยหรือไม่ แต่ต้องบริจาคโดยตรงที่สภากาชาด ตรงอังรีดูนังต์

ถ้าตัวอย่างเลือดตรงกับผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไขกระดูก ทางกาชาดก็จะติดต่อนัดหมายผู้บริจาคให้นอนรพ 3-5 วัน เพื่อ มานอน รพ ฉีดยากระตุ้นสเต็มเซลล์ และเจาะดูดเลือด ขั้นตอนทั้งหมดสำหรับผู้บริจาคไม่เจ็บตัวมากเลยค่ะ แต่อาจต้องเสียเวลานอนโรงพยาบาลสักหน่อย แลกกับประโยชน์ในการช่วยเพื่อนมนุษย์เพราะโรคมะเร็งเม็ดเลือดเป็นมะเร็งที่รุนแรงที่สุด การได้ปลูกถ่ายไขกระดูกสำหรับคนไข้ คือการได้ให้ชีวิตใหม่แก่เขา

สนใจบริจาคสเต็มเซลล์ สามารถติดต่อได้ที่ 02-256-4300 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ กทม
เปิดทำการทุกวัน ยกเว้น 1 มกราคม
วันจันทร์ ศุกร์ เปิด 8.00-16.30
อังคาร พุธ พฤหัสบดี เปิด 7.30-19.30
วันเสาร์ อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เปิด 8.30-15.30

ท่านที่บริจาคไม่ต้องระบุชื่อ ผู้รับนะคะ ทุกหนึ่งแชร์ของท่าน ทางครอบครัวของดิฉัน ขอบริจาคหนึ่งบาท เพื่อ กองทุนผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดศิริราช จนครบห้าหมื่นบาท

ครอบครัวของดิฉัน กำลังรอคอยปาฏิหาริย์ จากทุกท่านค่ะ ขอบคุณค่ะ

https://www.facebook.com/ruppornt/posts/3209415169131460

 


Create Date : 03 มกราคม 2557
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2562 23:08:50 น. 5 comments
Counter : 21981 Pageviews.  

 


(เก็บมาฝาก) สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาค ร่างกาย อวัยวะ ดวงตา

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-01-2009&group=7&gblog=10


โดย: หมอหมู วันที่: 3 มกราคม 2557 เวลา:14:44:07 น.  

 

กระทู้ห้องสวนลุม พันทิบ
//pantip.com/topic/32013918
สอบถามเกี่ยวกับการบริจาคเลือดค่ะ


ถ้าเราบริจาคเลือดนอกสถานที่ไม่สามารถระบุชื่อผู้รับได้เหรอคะ ????

พอดีวันนี้มีคนป่วยต้องการเลือดกรุ๊ป A ซึ่งตรงกับของเราและมีรถรับบริจาคมาที่ออฟฟิศพอดี เราก็เอาชื่อผู้ป่วยไปแจ้งเจ้าหน้าที่แต่เค้าบอกว่าเป็นแค่หน่วยแทนไม่สามารถระบุชื่อผู้รับได้ เลยถามต่อไปว่าต้องไปตรงศูนย์อังรีอย่างเดียวถึงระบุได้หรือคะ เค้าก็ตอบมาอีกว่า "ที่ไหนก็เหมือนกันระบุไปก็เท่านั้น มันเป็นการเอาเลือดของเราไปแทนในธนาคารเลือดเฉยๆ กว่าจะเอาไปตรวจสอบอีกไม่ทันหรอก"

ตามความคิดเรานะคะ ถ้าเป็นตามเจ้าหน้าที่บอกแล้วที่เคยเห็นตามข่าวต่างๆ มันยังงัยแน่ คือเลือดมันต้องขาดถูกมั๊ยคะ หรือว่าเจ้าหน้าที่ขี้เกียจเดินเรื่องให้ เราแค่เสียดายที่ผู้ป่วยต้องการใช้เลือดด่วนกลายเป็นอดไปซะงั้น แต่จะให้ไปถึงศูนย์ฯ ก็ไม่สะดวกเพราะติดงาน

รบกวนผู้รู้ช่วยตอบหน่อยนะคะ

คุมะ คุมะจัง
วันอังคาร เวลา 21:40 น.

....................

เลือดที่บริจาคไม่ได้นำไปใช้ได้ทันทีค่ะ
จะต้องมีกระบวนการตรวจสอบก่อนว่ามีโรคหรือความผิดปกติหรือไม่
-ถ้าเป็นกรณีฉุกเฉิน เช่น กำลังจะเข้าผ่าตัดแล้ว ที่มาขอบริจาคเลือด คือ เอาเข้าไปสำรองในคลังแทนค่ะ
เพราะอาจจะต้องไปเอาลือดที่จะใช้กับคนอื่นมาให้ใช้ไปก่อน ก็ต้องช่วยกันหาคืนเพื่อช่วยคนอื่นต่อไป

-อีกส่วนที่บริจาคแบบระบุผู้รับแล้วจะไปถึงจริงๆ ต้องเป็นการใช้แบบทราบล่วงหน้าค่ะ เช่นอีกเดือนจะผ่าตัด ก็ต้องไปบริจาคก่อนผ่าตัดเป็นสามสี่วันอย่างน้อย เค้าก็จะสำรองเลือดของเราไว้ให้คนนั้นๆ แต่ต้องไปบริจาคที่ที่จะทำการผ่าตัดเลยนะคะส่วนใหญ่ที่เป็นแบบนี้

สมาชิกหมายเลข 1165506




โดย: หมอหมู วันที่: 8 พฤษภาคม 2557 เวลา:20:43:40 น.  

 
การจำแนกหมู่โลหิตระบบอาร์เอช (Rh)
หมู่โลหิตนี้จะมีสารโปรตีนที่อยู่บนผิวของเม็ดโลหิตแดง ซึ่งเรียกว่า แอนติเจน-ดี (Antigen D) เป็นตัวบ่งบอกหมู่โลหิตระบบนี้ (Rh) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 หมู่ คือ
1. หมู่โลหิตระบบอาร์เอช บวก (Rh positive) คือ หมู่โลหิตที่มีแอนติเจน ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยมีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก ประมาณ 99.7 %
2. หมู่โลหิตระบบอาร์เอช ลบ(Rh negative) คือ หมู่โลหิตที่ไม่มีแอนติเจน ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยพบว่ามีหมู่โลหิตนี้เพียง 0.3 % หรือ 1,000 คน จะพบเพียง 3 คนเท่านั้น เราจึงมักเรียกว่า ?หมู่โลหิตหายาก? หรือ ?หมู่โลหิตพิเศษ? นั่นเอง
ในการรับโลหิตนั้นถ้าผู้ป่วยมีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก จะไม่ค่อยมีปัญหาเพราะมีถึง 99.7 % แต่ถ้าผู้ป่วยมีหมู่โลหิตอาร์เอชลบ จะมีปัญหา เพราะมีน้อยมากในคนไทย ฉะนั้นผู้ที่มีหมู่โลหิตชนิดนี้ต้องสนใจและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

ความสำคัญของหมู่โลหิตอาร์เอชลบ (Rh-negative)
ถ้า ผู้ป่วยที่มีหมู่โลหิตอาร์เอชลบ (Rh-negative) จำเป็นต้องรับโลหิตในการรักษาพยาบาลจะต้องรับโลหิตอาร์เอชลบเหมือนกัน เพื่อป้องกันการกระตุ้นผู้ป่วยให้สร้างแอนติบอดีต่อสารดี แต่ถ้าหากจำเป็นต้องรับโลหิตกรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถจัดหาโลหิตอาร์เอชลบให้ ได้และตรวจไม่พบแอนติ-ดีในโลหิตผู้ป่วย ผู้ป่วยรายนั้นสามารถรับโลหิตอาร์เอชบวก (หมู่โลหิตปกติ Rh-positive) เป็นการช่วยชีวิตได้ แต่ครั้งต่อ ๆ ไปจะรับโลหิตอาร์เอชบวกไม่ได้อีกแล้วจำเป็นต้องรับโลหิตอาร์เอชลบเท่านั้น เพราะผู้ป่วยอาจจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาแล้ว ซึ่งถ้าหากรับโลหิตอาร์เอชบวกเข้าไปอีกจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านขึ้นมา คือ ภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างจะไปทำลายเม็ดโลหิตแดงอาร์เอชบวก อาจทำให้ผู้ป่วยเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ในกรณีที่มีมารดาที่มี หมู่โลหิตอาร์เอชลบ แต่บิดามีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก ในกรณีมารดาตั้งครรภ์แรกและลูกในครรภ์มีหมู่โลหิตอาร์เอชบวกเหมือนพ่อ เม็ดโลหิตแดงของลูกมีโอกาสเข้าไปสู่กระแสโลหิตของมารดาได้ในระหว่างมีการ หลุดลอกตัวของรก มารดาก็จะสร้างภูมิต่อต้านเม็ดโลหิตของลูกขึ้นลูกแรกจะปลอดภัย ถ้าตั้งครรภ์ในท้องถัดมาหากลูกในครรภ์มีหมู่โลหิตอาร์เอชลบเหมือนแม่ก็จะไม่ มีปัญหา แต่ถ้าลูกมีหมู่โลหิตอาร์เอชบวกจะส่งผลให้ภูมิต่อต้านที่มารดาสร้างขึ้นหลัง คลอดลูกคนแรกไปทำลายเม็ดโลหิตแดงของลูกคนที่สองและคนต่อๆ ไปได้ ถ้ามีหมู่โลหิตอาร์เอชบวก ทำให้ลูกเกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลืองและรายรุนแรงอาจตายในครรภ์ได้ ดังนั้นก่อนที่จะตั้งครรภ์ มารดาที่มีหมู่โลหิตอาร์เอชลบ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่ลูกได้

การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
โดย ทั่วไปเมื่อพูดถึงหมู่โลหิต Rh แล้วจะหมายถึงเฉพาะยีนคู่แรก ซึ่ง D เป็นยีนที่ทำให้คนเรามีหมู่โลหิตเป็น Rh บวก หรือถ้าไม่มียีน D จะเป็น Rh ลบ คนที่มียีน DD หรือชนิด Dd จะเป็น Rh บวก กล่าวคือ มี D แอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง ส่วนคนที่มียีนชนิด dd จะเป็น Rh ลบ ซึ่งมาจาก 3 กรณี ซึ่ง ศ.พญ.พิมล เชี่ยวศิลป์ ผู้ชำนาญการพิเศษ และผู้จัดการระบบคุณภาพ ก็ได้อธิบายไว้ดังนี้ค่ะคือ
1) พ่อและแม่มีหมู่โลหิต Rh บวก ทั้งคู่ เป็นยีนด้อยแฝงอยู่ (Dd)
2) พ่อ หรือ แม่ คนใดคนหนึ่ง มีหมู่โลหิต Rh บวก เป็นยีนด้อยแฝงอยู่ (Dd) และอีกฝ่ายหนึ่งมีหมู่โลหิต Rh ลบ
3) พ่อ และ แม่ ทั้งคู่มีหมู่โลหิต Rh-negative ซึ่งมียีนด้อย dd ทั้งสองคน

สำหรับ การป้องกันนั้น ทุกคนควรที่จะไปตรวจเลือดให้ได้แน่นอนเสียก่อนว่าโลหิตมีอาร์เอช ลบหรือไม่ อย่างไรก็ตามการดำเนินชีวิตก็เหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป เพียงแต่ต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุร้างแรง หรือทำอะไรเสี่ยง ๆ จนทำให้เกิดเลือดตกยางออก เพราะว่าหากเสียโลหิตมากๆ การหาโลหิตทดแทนค่อนข้างลำบาก เป็นที่ทราบแล้วคนไทยมีหมู่โลหิตพิเศษนี้น้อยมาก การบริจาคก็น้อยด้วย ปัจจุบันจากทะเบียนจำนวนผู้บริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตฯ มีเพียงประมาณ 5,000 คน เท่านั้น ฉะนั้นก็ขอฝากประชาชนชาวไทยทุกคน ไม่ควรจะตั้งอยู่บนความประมาณ เสียเวลาสักนิดไปตรวจหมู่โลหิตตามสถานพยาบาลต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ทราบว่าท่านมีหมู่โลหิตอะไร หากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องใช้โลหิต จะได้ช่วยได้อย่างทันท่วงที แต่ถ้าอยากจะทำบุญกุศลเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่นด้วยแล้ว ก็มาบริจาคโลหิต การบริจาคโลหิตจะตรวจหมู่โลหิต ทั้งระบบ ABO ระบบ Rh- และยังตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อทางโลหิต อีก 4 ตัวด้วยกัน คือ ไวรัสตับอับเสบบี , ไวรัสตับอับเสบ ซี, ซิฟิลิส, ไวรัสเอดส์ ให้อีกด้วย แต่คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิตได้ ต้องอายุ 17-60 ปี, น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป, ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ ทั้งสิ้น, นอนพักผ่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง,รับประทานอาหารมาก่อนบริจาคโลหิต ฯลฯ

การบริจาคโลหิตเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้รู้ว่าโลหิตของท่านเป็นหมู่โลหิตใด ทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต
โทร. 0-2252-1637,0-2255,4567 / //www.rh-negative.com/tips.php


โดย: หมอหมู วันที่: 8 พฤษภาคม 2560 เวลา:14:13:08 น.  

 
รายการยาที่ผู้รับประทาน ห้ามบริจาคเลือด
https://sites.google.com/site/rxbanglamung/สาระน่ารู้/รายการยาที่ผู้รับประทานห้ามบริจาคเลือด
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tommi&month=12-2005&date=05&group=5&gblog=4

1 AccuprilR (Quinapril HCl)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม. ปรอท

2 Acetaminophen (พาราเซตามอล)
สามารถบริจาคโลหิตได้

3 Aldactone (Spironolactone)
สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้าผู้ป่วยไม่เป็นโรค Congestive Heart failure

4 Aldomet (Methyldopa)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิต ถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

5 Antafit Tab (Carbamazepine)
บริจาคโลหิตได้ถ้าควบคุมอาการชักได้ดีภายในระยะ 5 ปี

6 Anti-thyroids (ยารักษาโรคไทรอยด์)
ไม่รับบริจาคโลหิต

7 Anti- Inflammatory; NSAIDS; (ยาลดการอักเสบ)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- สามารถบริจาคโลหิตได้ หลังหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

8 Antibiotics (ยาปฏิชีวนะ)
บริจาคโลหิตได้หลังจากหยุดกินยาครั้งสุดท้ายได้ 14 วัน

9 Anticoagulants (ยากันเลือดแข็งตัว)
ไม่รับบริจาคโลหิต

10 Anticonvulsants (ยากันชัก)
บริจาคโลหิตได้ ถ้าควบคุมอาการชักได้ดีภายในระยะ 5 ปี

11 Antidepressants (ยารักษาโรคซึมเศร้า)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้าใช้ยาในปริมาณต่ำ

12 Antifungals (ยารักษาเชื้อรา)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ ถ้าใช้ยาในรูปยาทาเฉพาะที่
- ไม่รับบริจาคโลหิต ถ้าใช้ยาในรูปยากิน

13 Antihistamins (ยาแก้แพ้)
สามารถบริจาคโลหิตได้แต่ควรซักถามเพิ่มเติมเรื่องสุขภาพของผู้บริจาค เช่น อาการของไข้หวัด ผื่น

14 Antihypertensive (ยาลดความดันโลหิต)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

15 ApresolineR (Hydralazine HCl)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

16 AprovelR (Irbesartan)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

17 AtaraxR (Hydroxyzine HCl)
สามารถบริจาคโลหิตได้แต่ควรซักถามเพิ่มเติมเรื่องสุขภาพของผู้บริจาค เช่น อาการของไข้หวัด ผื่น

18 Bacillus Calmette Guerin Vaccine (BCG)วัคซีน บีซีจี
ไม่รับบริจาคโลหิต ต้องรอหลังรับวัคซีน 2 สัปดาห์แล้วจึงบริจาคได้

19 BaypressR (Nitrendipine)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

20 BenadrylR (Diphenhydramine HCl)
สามารถบริจาคโลหิตได้แต่ควรซักถามเพิ่มเติมเรื่องสุขภาพของผู้บริจาค เช่น อาการของไข้หวัด ผื่น

21 BeramolR (Paracetamol)
สามารถบริจาคโลหิตได้

22 BionutrinR
สามารถบริจาคโลหิตได้

23 Blood products (ผลิตภัณฑ์โลหิต)
ไม่รับบริจาคโลหิต ต้องรอหลังได้รับผลิตภัณฑ์โลหิต 12 เดือนจึงบริจาคได้

24 BlopressR (Candesartan Cilexetil)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

25 BrinerdinR (Reserpine + Clopamide + Dihydroergocristine)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

26 CAC-1000 sandozR
สามารถบริจาคโลหิตได้

27 Calcium -D-RedoxonR
สามารถบริจาคโลหิตได้

28 Calcium gluconateR
สามารถบริจาคโลหิตได้

29 Caltrate-600R (Calcium carbonate)
สามารถบริจาคโลหิตได้

30 CarduraR (Doxazosin mesylate)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

31 CelebrexR (Celecoxib)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้หลังหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

32 Chalkcap-835R (Calcium carbonate)
สามารถบริจาคโลหิตได้

33 Chlorpheniramine Maleate
สามารถบริจาคโลหิตได้แต่ควรซักถามเพิ่มเติมเรื่องสุขภาพของผู้บริจาค เช่น อาการของไข้หวัด ผื่น

34 CimetidineR (ยาลดกรด)
รับบริจาคโลหิต ถ้าผู้บริจาคไม่มีอาการปวดท้องแล้ว

35 ClarityneR (Loratadine)
สามารถบริจาคโลหิตได้แต่ควรซักถามเพิ่มเติมเรื่องสุขภาพของผู้บริจาค เช่น อาการของไข้หวัด ผื่น

36 CodeineR (ยาโคเดอีน)
รับบริจาคโลหิต

37 ColchicineR (ยาโคลชิซีน)
รับบริจาคโลหิตแต่ในขณะที่บริจาคต้องไม่มีอาการของโรคเก๊า (gout)

38 Contraceptive Pill (ยาคุมกำเนิด)
รับบริจาคโลหิต

39 Corticosteroids (ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์)
-รับบริจาคโลหิตถ้าใช้ยาฉีดเข้าข้อ แต่ต้องเว้น 4 สัปดาห์ ก่อนบริจาค
-ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ามีการใช้ยาในรูปของยากิน

40 CoversylR (Perindopril)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

41 CozaarR (Losartan potassium)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

42 DilatrendR (Carvedilol)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

43 DiovanR (Valsartan)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

44D iureticR (ยาขับปัสสาวะ)
สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้าผู้ป่วยไม่เป็นโรค Congestive Heart failure

45 DosanacR (Diclofenac)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ หลังหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

46 DouzaboxR (Vit B1 + B6 + B12)
สามารถบริจาคโลหิตได้

47 DuranR (Ibuprofen)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ หลังจากหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

48 Dynacirc SROR (Isradipine)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

49 Eye drops (ยาหยอดตา)
รับบริจาคโลหิต

50 FeldeneR (Piroxicam)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ หลังจากหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

51 Fertility drugs (ยากระตุ้นการตั้งครรภ์)
ไม่รับบริจาคโลหิตชั่วคราวเพราะอาจรบกวนการตั้งครรภ์ ได้

52 FlamicR (Piroxicam)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ หลังจากหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

53 FlucozoleR (Fluconazole)
ไม่รับบริจาคโลหิตถ้าใช้ยาในรูปยากิน

54 FureticR (Furosemide)
สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้าผู้ป่วยไม่เป็นโรค Congestive Heart failure

55 FurosemideR
สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้าผู้ป่วยไม่เป็นโรค Congestive Heart failure

56 Geriatric pharmatonR
สามารถบริจาคโลหิตได้

57 GrisflavinR (Griseofulvin)
ไม่รับบริจาคโลหิตถ้าใช้ยาในรูปยากิน

58 Hepatitis B Immune Globulin
รอ 12 เดือน หลังฉีดยาจึงจะบริจาคโลหิตได้

59 HizinR (Hydroxyzine HCl)
สามารถบริจาคโลหิตได้แต่ควรซักถามเพิ่มเติมเรื่องสุขภาพของผู้บริจาค เช่น อาการของไข้หวัด ผื่น

60 HylesR (Spironolactone)
สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้าผู้ป่วยไม่เป็นโรค Congestive Heart failure

61 HypocaR (Barnidipine HCl)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

62 IndomethacinR
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ แต่ต้องหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

63 InhibaceR (Cilazapril)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

64 Insulin
ไม่รับบริจาคโลหิตถาวร

6 5Isoptin SRR (Verapamil HCl)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

66 Japanese Encephalitis Vaccine (วัคซีนไข้สมองอักเสบ)
ไม่รับบริจาคโลหิต ต้องรอหลังรับวัคซีน 2 สัปดาห์แล้วจึงบริจาคได้

67 JunifenR (Ibuprofen)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ แต่ต้องหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

68 KetazonR (Ketoconazole)
ไม่รับบริจาคโลหิตถ้าใช้ยาในรูปยากิน

69 LasixR (Furosemide)
สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้าผู้ป่วยไม่เป็นโรค Congestive Heart failure

70 LicarbR (Lithium carbonate)
ไม่รับบริจาคโลหิต ต้องหยุดยาก่อนจึงสามารถบริจาคได้

71 Lithium carbonate
ไม่รับบริจาคโลหิต ต้องหยุดยาก่อนจึงสามารถบริจาคได้

72 LonitenR (Minoxidil)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

73 LoritaR (Loratadine)
สามารถบริจาคโลหิตได้แต่ควรซักถามเพิ่มเติมเรื่องสุขภาพของผู้บริจาค เช่น อาการของไข้หวัด ผื่น

74 LoxoninR (Loxoprofen)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ แต่ต้องหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

75 MadiplotR (Manidipine HCl)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

76 Measles ,Mumps,Rubella Vaccine
รอ 1 เดือนหลังฉีดยาจึงจะบริจาคโลหิตได้

77 MethycobalR (Mecobalamin)
สามารถบริจาคโลหิตได้

78 Metronidrazole
สามารถบริจาคโลหิตได้

79 MicardisR (Telmisartan)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

80 MinipressR (Prazosin)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

81 MobicR (Meloxicam)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ แต่ต้องหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

82M odureticR (Amiloride + HCTZ)
สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้าผู้ป่วยไม่เป็นโรค Congestive Heart failure

83 MonoprilR (Fosinopril)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

84 Multivitamin
สามารถบริจาคโลหิตได้

85 Mycostatin oral suspensionR (Nystatin)
ไม่รับบริจาคโลหิตถ้าใช้ยาในรูปยากิน

86 NaprosineR (Naproxen)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ แต่ต้องหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

87 NeotigasonR (Acitretin)
บริจาคโลหิตได้หลังจากหยุดกินยาครั้งสุดท้ายได้ 1 ปี

88 NeurobionR (Vit B1 + B6 + B12)
สามารถบริจาคโลหิตได้

89 NeurometR (Mecobalamin)
สามารถบริจาคโลหิตได้

90 NidolR (Nimesulide)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ แต่ต้องหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

91 NizoralR (Ketoconazole)
ไม่รับบริจาคโลหิตถ้าใช้ยาในรูปยากิน

92 NurofenR (Ibuprofen)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ แต่ต้องหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

93 NutroplexR
สามารถบริจาคโลหิตได้

94 Obimin A.F.R
สามารถบริจาคโลหิตได้

95 OrfarinR (Warfarin)
ไม่รับบริจาคโลหิต

96 OruvailR (Ketoprofen)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ แต่ต้องหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

97 Panvitan-MR
สามารถบริจาคโลหิตได้

98 PeriactinR (Cyproheptadine)
สามารถบริจาคโลหิตได้แต่ควรซักถามเพิ่มเติมเรื่องสุขภาพของผู้บริจาค เช่น อาการของไข้หวัด ผื่น

99 PhanateR (Lithium Carbonate)
ไม่รับบริจาคโลหิต ต้องหยุดยาก่อนจึงสามารถบริจาคได้

100 PhenerganR (Promethazine HCl)
สามารถบริจาคโลหิตได้แต่ควรซักถามเพิ่มเติมเรื่องสุขภาพของผู้บริจาค เช่น อาการของไข้หวัด ผื่น

101 PlendilR (Ferodipine)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

102 PremarinR (Conjugated estrogens)
รับบริจาคโลหิต

103 Prima - calR (Calcium carbonate)
สามารถบริจาคโลหิตได้

104 Propylthiouracil (ยารักษาโรคไทรอยด์)
ไม่รับบริจาคโลหิต

105 ProscarR (Finasteride)
บริจาคโลหิตได้หลังจากหยุดกินยาครั้งสุดท้ายได้ 30 วัน

106 QuinineR (ยาควินิน)
- รับบริจาคโลหิต ถ้าเป็นการใช้ยาเพื่อป้องกันมาลาเรีย

- ไม่รับบริจาคโลหิต ถ้าเป็นการใช้ยาเพื่อรักษามาลาเรีย

107 Rabies Vaccine ( วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า)
รับบริจาคโลหิต ถ้าเป็นการใช้ยาเพื่อป้องกันโดยไม่ได้ถูกสัตว์กัด แต่ต้องรอหลังรับวัคซีน 2 สัปดาห์แล้วจึงบริจาคได้ ถ้าถูกสัตว์กัดต้องเว้น 1 ปี หลังฉีดครบ

108 RoaccutaneR (Retinoid)
ไม่รับบริจาคโลหิต ต้องหยุดใช้ยาอย่างน้อย 2 เดือนจึงสามารถบริจาคได้

109 Sedatives (ยาลดความเครียด ยานอนหลับ)
Tranquilizer และ Anti- depressant รับบริจาคโลหิต ถ้าได้ยาในปริมาณน้อย แต่ถ้าได้ปริมาณมากหรือได้รับยาเป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์

110 Smallpox Vaccine
รอ 3 เดือนหลังฉีดยาจึงจะบริจาคโลหิตได้

111 SpazolR (Itraconazole)
ไม่รับบริจาคโลหิตถ้าใช้ยาในรูปยากิน

112 SporalR (Itraconazole)
ไม่รับบริจาคโลหิตถ้าใช้ยาในรูปยากิน

113 Stresstabs 600 + ZincR
สามารถบริจาคโลหิตได้

114 SynflexR (Naproxen)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ แต่ต้องหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

115 TapazoleR (Methimazole)
ไม่รับบริจาคโลหิต

116 TegretolR (Carbamacepine)
บริจาคโลหิตได้ถ้าควบคุมอาการชักได้ดีภายในระยะ 5 ปี

117 TelfastR (Fexofenadine HCl)
สามารถบริจาคโลหิตได้แต่ควรซักถามเพิ่มเติมเรื่องสุขภาพของผู้บริจาค เช่น อาการของไข้หวัด ผื่น

118 Tetanus Toxoid (บาดทะยักวัคซีน)
ไม่รับบริจาคโลหิต ต้องรอหลังรับวัคซีน 2 สัปดาห์ แล้วจึงบริจาคได้

119 TilcotilR (Tenoxicam)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ แต่ต้องหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

120 TritaceR (Ramipril)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

121 Unlicensed drug /research study (ยาที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน จาก อ.ย)
บริจาคโลหิตได้หลังจากหยุดกินยาครั้งสุดท้ายได้ 30 วัน

122 UreticR (Amiloride + HCTZ)
สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้าผู้ป่วยไม่เป็นโรค Congestive Heart failure

123 Vaccination (วัคซีน)
ไม่รับบริจาคโลหิต ต้องรอหลังรับวัคซีน 2 สัปดาห์แล้วจึงบริจาคได้

124 Verapin SRR (Verapamil HCl)
- สามารถบริจาคโลหิตได้ถ้ายาควบคุมอาการได้ดี
- ไม่รับบริจาคโลหิตถ้ายาไม่สามารถควบคุมความดันลงมาอยู่ในช่วงต่ำกว่า180 /100 มม.ปรอท

125 Vioxx R(Rofecoxib)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ แต่ต้องหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

126 Vitamin /Herbal Supplements (วิตามิน/สมุนไพร)
สามารถบริจาคโลหิตได้

127 Vitamin B ComplexR
สามารถบริจาคโลหิตได้

128 Vitamin B1R
สามารถบริจาคโลหิตได้

129 Vitamin B6R
สามารถบริจาคโลหิตได้

130 Vitamin CR
สามารถบริจาคโลหิตได้

131 VoltarenR (Diclofenac)
- ไม่รับบริจาคโลหิตเนื่องจากยาจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเกล็ดโลหิต
- บริจาคโลหิตได้ แต่ต้องหยุดยาอย่างน้อย 3 วันก่อนการบริจาค

132 Z-BecR
สามารถบริจาคโลหิตได้

133 ZertineR (Cetirizine DiHCl)
สามารถบริจาคโลหิตได้แต่ควรซักถามเพิ่มเติมเรื่องสุขภาพของผู้บริจาค เช่น อาการของไข้หวัด ผื่น

134 ZincapsR (Zinc sulfate heptahydrate)
สามารถบริจาคโลหิตได้

135 ZyrtecR (Cetirizine DiHCl)
สามารถบริจาคโลหิตได้แต่ควรซักถามเพิ่มเติมเรื่องสุขภาพของผู้บริจาค เช่น อาการของไข้หวัด ผื่น

136 สเตียรอยด์ ชนิดกิน
สามารถบริจาคโลหิตหลังจากหยุดยาได้ 3 วัน

137 สเตียรอยด์ ชนิดทา
สามารถบริจาคโลหิตได้

เอกสารอ้างอิง
พญ. สร้อยสอางค์ พิกุลสด, นพ. วุฒิพันธ์ ศุภจัตุรัส, จุรี ไววนิชกุล. คู่มือการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัทธรรมสาร จำกัด: 2543.
Product Information
Annonymous.The Blood Connection. [Online] Available from //www.thebloodconnection.org. Accessed On: 3th January, 2004.
Annonymous.Blood Bank of alaska. [Online] Available from //www.bloodbankofalaska.org. Accessed On: 3th January, 2004.


โดย: หมอหมู วันที่: 17 สิงหาคม 2560 เวลา:14:33:55 น.  

 

14 มิถุนายน วันผู้บริจาคโลหิตโลก

วันผู้บริจาคโลหิตโลก (World Blood Donor Day) ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.คาร์ล ลันด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) แพทย์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1868-1943 ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการจำแนกหมู่โลหิต A, B และ O ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบที่มีความสำคัญยิ่งต่องานบริการโลหิตทั่วโลก ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยา หรือแพทยศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1930 อีกทั้งยังพบว่าการถ่ายเลือดให้กับผู้ที่มีหมู่เลือดเดียวกันไม่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดถูกทำลาย การค้นพบเหล่านี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการต่อยอดในวงการแพทย์มาจนถึงทุกวันนี้ ขณะเดียวกันก็ยังสามารถช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้อีกเป็นจำนวนมาก

เพื่อให้ชาวโลกตระหนักและเห็นความสำคัญของการบริจาคโลหิต พร้อมกับเพื่อแสดงความขอบคุณต่อผู้บริจาคโลหิต องค์การอนามัยโลก สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ จึงได้ขอความร่วมมือให้สภากาชาดทั่วโลก จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการขอบคุณผู้บริจาคโลหิตทั่วโลก และส่งเสริมงานบริการโลหิตให้เป็นที่แพร่หลายในวันผู้บริจาคโลหิตโลก 14 มิถุนายนของทุกปี โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2004 และจัดกิจกรรมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ปี 2562 สภากาชาดไทย รณรงค์คนไทยสร้างความตระหนักโลหิตปลอดภัย ทั้งผู้ให้และผู้รับ ด้วยการบริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจไม่หวังสิ่งตอบแทน เนื่องในวันผู้บริจาคโลหิตโลก 2562 ( World Blood Donor Day 2019) วันที่ 15 มิถุนายน 2562 เวลา 08.00 - 16.00 น. ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีสโลแกนว่า “Safe blood for all - โลหิตปลอดภัย ทั้งผู้ให้ และผู้รับ” เพื่อสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นของโลหิตที่ปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริจาคโลหิตเข้าใจถึงกระบวนการ และเตรียมพร้อมด้านสุขภาพก่อนบริจาคโลหิต ส่งผลให้โลหิตมีความปลอดภัยทั้งผู้ให้ และผู้รับ

สอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต โทร. 02256 4300 ,0 2263 9600-99 ต่อ 1101,1760,1761
ติดตามรายละเอียดได้ที่ เฟซบุ๊กเพจศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

*************************************

" บริจาคโลหิต การให้ชีวิต ที่คุณก็ทำได้ "
เชิญชวนร่วมทำความดี บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสาขาบริการโลหิต โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ

(เก็บมาฝาก) สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาค โลหิต เกล็ดโลหิต
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2014&group=7&gblog=176

บริจาคโลหิต บริจาคอวัยวะ ที่ โรงพยาบาลกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.482651328417215&type=1&l=bf18dc5c79

(เก็บมาฝาก) สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาค ร่างกาย อวัยวะ ดวงตา
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-01-2009&group=7&gblog=10



โดย: หมอหมู วันที่: 14 มิถุนายน 2562 เวลา:16:26:38 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]