Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

คลังสั่งถอน “กลูโคซามีนซัลเฟต” จากระบบเบิกค่ายา ขรก. ..ห้ามเบิกตั้งแต่ ๑ พย. ๕๕

คลังสั่งถอน “กลูโคซามีนซัลเฟต” จากระบบเบิกค่ายา ขรก.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 ตุลาคม 2555 14:50 น


//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000123762

ก.คลัง ร่อนจดหมายด่วนถึง สธ.มีมติยกเลิกเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต ในสวัสดิการ ขรก.ตั้งแต่ 1 พ.ย.นี้ เป็นต้นไป เหตุไม่คุ้มค่าในบริบทประเทศไทย

วันนี้ (9 ต.ค.) แหล่งข่าวในกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว116 เรื่อง การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต ลงนามเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 โดย น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ถึงหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ หลังกระทรวงการคลัง มีมติให้ยกเลิกการเบิกจ่ายค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต ในระบบสวัสดิการพยาบาลข้าราชการ

สำหรับเนื้อหาภายในหนังสือ ส่วนหนึ่งระบุว่า คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า 1.กลุ่มยากลูโคซามีนเป็นยาที่คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติไม่คัดเลือกบรรจุเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ 2.เอกสารวิชาการที่ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยจัดส่งมา ไม่มีข้อมูลใหม่ที่สามารถหักล้างเอกสารงานวิจัยและข้อสรุปของคณะทำงานวิชาการทางการแพทย์ ภายใต้คณะกรรมการที่ได้มีการรวบรวมและมีข้อสรุปว่ากลุ่มยาบรรเทาอาการข้อเสื่อมมีประสิทธิผลในการรักษาไม่ชัดเจน และไม่มีความคุ้มค่าอย่างเพียงพอที่จะให้เบิกจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และ 3.ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ได้ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยากลุ่มกลูโคซามีนแล้ว มีข้อสรุปว่า การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีอนุรักษ์ที่มีความคุ้มค่าทางอรรถประโยชน์ ได้แก่ การบริหารข้อเข่า แอโรบิก การรับประทานยา NSAIDS ส่วนการให้ยากลูโคซามีนซัลเฟตนั้น พบว่า มีต้นทุนอรรถประโยชน์สูงกว่า 3 เท่าของรายได้ประชากรไทยต่อคนต่อปี จึงยังไม่มีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทย คณะกรรมการจึงมีมติให้ยกเลิกการผ่อนคลายการเบิกค่ายาดังกล่าว

กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นว่า จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นสมควรยกเลิกการผ่อนคลายการเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต และไม่ให้แพทย์ผู้รักษาออกหนังสือรับรองการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้ผู้มีสิทธินำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกเงินจากส่วนราชการต้นสังกัด โดยให้มีผลบังคับใช้สำหรับการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้น คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและกระทรวงการคลังได้กำหนดให้ยากลูโคซามีนซัลเฟต เป็นรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ แต่ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวน กระทรวงจึงให้ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขของกลุ่มยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม ภายในระยะเวลา 1 เดือน และระหว่างที่รอผลการศึกษากระทรวงการคลังได้ผ่อนคลายให้ผู้มีสิทธิสามารถเบิกจ่ายค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต โดยผู้ป่วยจ่ายเงินไปก่อนแล้วนำใบเสร็จไปเบิกจากต้นสังกัด กระทั่งมีมติให้ยกเลิกการเบิกจ่าย



.................................

ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติม ...

" 3.ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ฯ ได้ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยากลุ่มกลูโคซามีนแล้วมีข้อสรุปว่า การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีอนุรักษ์ที่มีความคุ้มค่าทางอรรถประโยชน์ ได้แก่ การบริหารข้อเข่า แอโรบิก ส่วนการให้ยากลูโคซามีนซัลเฟตนั้น พบว่ามีต้นทุนสูงกว่า 3 เท่าของรายได้ประชากรไทยต่อคนต่อปี ยังไม่มีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทย "


เนื้อหาข่าว ส่วนนี้ .. อ่านแล้วเหมือนว่า ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ฯ ให้ยกเลิก ?
.. ซึ่งเท่าที่มีข้อมูล เป็นอีกแบบ นำมาฝากไว้พิจารณา








ใครสนใจ ก็โหลดเอกสาร มาลองอ่านดูนะครับ ..

หนังสือ จากกระทรวงการคลัง ห้ามเบิกยาฯ
//www.mediafire.com/?royisoz10ntq8ce


รายละเอียด สรุปการประชุมร่วม กรมบัญชีกลาง และ ราชวิทยาลัยออร์โธฯ พค ๒๕๕๔ (เท่าที่สอบถามราชวิทยาลัย ยังไม่มีการประชุมร่วมกันอีก)
//www.mediafire.com/?u3db15ydmza13oc


แถม.. ข้าราชการ และ หมอที่อยู่ รพ.รัฐ ..  จำเป็นต้องอ่าน เพื่อตัวของท่านเอง ..

การระบุเหตุผลใช้ยานอกบัญชียาหลักฯ.pdf
//www.mediafire.com/?8t81ucey17btfc3

การลงทะเบียนในระบบเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอกกับสถานพยาบาล.pdf
//www.mediafire.com/?w80tjdrgj5549sy

จ่ายยาต้นแบบให้ข้าราชการ (เบิกได้) แต่หมออาจต้องจ่ายเงินตัวเองให้ DSI ..
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-07-2012&group=7&gblog=159






Create Date : 10 ตุลาคม 2555
Last Update : 10 ตุลาคม 2555 16:03:44 น. 6 comments
Counter : 6618 Pageviews.  

 




คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม ..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132

คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134

คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2011&group=7&gblog=146



แนวปฏิบัติ บริการ ดูแลรักษา ข้อเข่าเสื่อม พศ. ๒๕๕๓ ของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์
//www.mediafire.com/?q6jqyvyci46b51s

คลังคุมเข้มเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ขรก. ... กรมบัญชีกลาง ยังไม่ให้เบิกยารักษาข้อเข่าเสื่อม ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-06-2011&group=7&gblog=139

คลังไฟเขียวเบิกจ่ายยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเหมือนเดิม ... ( ไม่รู้จะมีคดีพลิก อีกหรือเปล่า ??? )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-06-2011&group=7&gblog=141

คลัง ส่งหนังสือด่วนถึง รพ.อนุมัติเบิกจ่ายยาข้อเสื่อมได้แบบมีเงื่อนไข
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2011&group=7&gblog=142


ข้อเข่าเสื่อม
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15


L12737354 ด่วนที่สุด โรงพยาบาลรัฐและผู้ใช้บริการโปรดทราบ [สุขภาพกาย] SET50.com (10 - 3 ต.ค. 55 14:00)
//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L12737354/L12737354.html

จ่ายยาต้นแบบให้ข้าราชการ (เบิกได้) แต่หมออาจต้องจ่ายเงินตัวเองให้ DSI ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2012&group=7&gblog=159


โดย: หมอหมู วันที่: 10 ตุลาคม 2555 เวลา:16:27:10 น.  

 

ข้าราชการไทย เตรียมทำใจไว้ เพราะ รายการนี้เป็นเพียงเริ่มต้น เท่านั้นครับ .. ยังมีอีกหลายกลุ่มที่จะตามมา


คลังสั่งห้ามจ่าย9ยานอก คนเป็นมะเร็ง-ไขมัน-ความดันกระอัก


นาย รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางจะเข้มงวดการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการให้มากขึ้น โดยจะควบคุมการจ่ายยานอกบัญชีหลักใน 9 กลุ่มโรคให้ครบภายในปีนี้ โดยจะทยอยห้ามใช้นอกบัญชีทีละกลุ่ม หลังจากปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปแล้วใน

การห้ามจ่ายยาในกลุ่มกลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต และไดอะเซอเรน ทุกรูปแบบ ที่ใช้รักษาโรคข้อและกระดูกเสื่อม เพราะพบว่ากลุ่มยาดังกล่าวเป็นอาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค คาดประหยัด 442 ล้านบาท

สำหรับยาอีก 8 กลุ่มจะทยอยพิจารณายกเลิกการจ่ายยานอกบัญชีหลักทีละกลุ่ม โดย 2 กลุ่มแรกที่จะเร่งดำเนินการต่อจากนี้ คือ

กลุ่มยาลดไขมันในเลือดประหยัด 1,009 ล้านบาท และ

กลุ่มยาป้องกันโรคกระดูกพรุน ประหยัดได้ 712 ล้านบาท



ส่วน อีก 6 กลุ่มจะทยอยพิจารณา ประกอบด้วย

กลุ่มยาลดการเป็นแผลและเลือดออกในกระเพาะอาหาร คาดประหยัดได้ 599 ล้านบาท

กลุ่มยาต้านอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ คาดประหยัด 415 ล้านบาท

กลุ่มยาเบื้องต้นในการรักษาความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง ประหยัดได้ 87 ล้านบาท

กลุ่มยาลดความดันโลหิตประหยัด 158 ล้านบาท

กลุ่มยาป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือดประหยัด 376 ล้านบาท และ

กลุ่มยารักษามะเร็ง คาดประหยัดได้ 647 ล้านบาท


ทั้งนี้หากทำทั้ง 9 กลุ่มจะประหยัดงบประมาณได้ 4,851 ล้านบาท

//www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHdNVEUzTURFMU5BPT0=§ionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1TMHdNUzB4Tnc9PQ==

จากคุณ: I Promise

เขียนเมื่อ: 20 ม.ค. 54 17:04:40


แถม ..


งานเข้า ข้าราชการไทย " คลังสั่งห้ามจ่าย9ยานอก คนเป็นมะเร็ง-ไขมัน-ความดันกระอัก " .. นำกระทู้มาลงไว้
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-01-2011&group=7&gblog=124

ขรก.จ๊ากแน่ คลังเลิกจ่าย ยานอก9กลุ่ม (ไทยโพสต์) .... นำกระทู้มาลงไว้เป็นข้อมูล
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-01-2011&group=7&gblog=123

สรุปอภิปราย “มาตรฐานการกำหนดค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์ ใน สวัสดิการการ ของ ข้าราชการ”
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-02-2010&group=7&gblog=52

คลังตั้งทีมรื้อค่ารักษา ข้าราชการ 7 หมื่นล. ... คลังหน้ามืด! ค่ารักษาขรก. พุ่ง1.5แสนล.
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-12-2009&group=7&gblog=43

เสนอเลือกเบิกจ่ายยาให้ข้าราชการบางกลุ่ม ??? .... ข้าราชการ ก็เตรียมตัวไว้บ้าง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-05-2009&group=7&gblog=26



โดย: หมอหมู วันที่: 11 ตุลาคม 2555 เวลา:23:45:32 น.  

 
มีผู้ตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ..

L12784449 สืบเนื่องจากการห้ามเบิกจ่ายยากลูโคซามีนซัลเฟตของข้าราชการ [คลินิกหมออาสา] กินลม ชมทะเล (21 - 14 ต.ค. 55 23:45)
//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L12784449/L12784449.html#22

รายละเอียดติดตามที่กระทู้นะครับ

ผมยกมาเฉพาะ ส่วนที่ผม แสดงความเห็นไว้ เท่านั้น ..


๑. ยากลูโคซามีนซัลเฟต ในประเทศไทย ขึ้นทะเบียนเป็นยา โดย อย.


๒. ประเทศทางยุโรป ขึ้นทะเบียนเป็นยา แต่ ทางอเมริกา เป็นอาหารเสริม


๓. ราชวิทยาลัยออร์โธฯ ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานหลักทางวิชาการ ได้ประชุมชี้แจงเหตุผลทางวิชาการไปแล้ว


๔. กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ไม่ได้ห้ามหมอใช้ยา แต่ ห้ามข้าราชการเบิกเท่านั้น

ถ้าหมอจะใช้ตามข้อบ่งชี้ทางวิชาการก็ได้


๕. กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาโดยยึดหลัก " ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ " ร่วมด้วย ต่างจาก ราชวิทยาลัยฯ ซึ่งเสนอข้อมูลทางวิชาการ

ส่วนว่า เสนอแล้ว กรมบัญชีกลางจะนำไปใช้หรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่ว่า ใครถูก อีกฝ่ายต้องผิด


๖. การไม่สั่งยาตัวนี้ ถือว่า เป็นการปฏิบัติที่ต่ำกว่า มาตรฐานที่ควรจะเป็นหรือไม่ ?

อันนี้ตอบยาก หลักสำคัญ น่าจะอยู่ที่ ข้อบ่งชี้ (คำแนะนำของราชวิทยาลัยออร์โธฯ )

ความเห็นส่วนตัวของผม (เน้น ของผม ) ... ในฐานะแพทย์ .. ถ้ามีข้อบ่งชี้ และ มียาอยู่ แล้วไม่สั่งยาให้ ก็น่าจะเป็นการปฏิบัติที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ดังนั้น ถ้ามีข้อบ่งชี้ และมียาอยู่ แพทย์ ก็ควรสั่งยาให้ผู้ป่วย แต่ควรบอกด้วยว่า ยาเบิกไม่ได้ ถ้าคนไข้ ไม่รับยา ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจเลือกของผู้ป่วยเอง


๗. เรื่องบางเรื่อง มันก็ใหญ่เกินที่จะแก้ไขได้ด้วย " หมอ " ... ถ้าพูดกันตรง ๆ ก็คือ คนที่เดือดร้อน ไม่ใช่หมอ แต่เป็นผู้ป่วยต่างหาก ที่เสียโอกาส เสียประโยชน์ คนที่จะเรียกร้องสิทธิ์ จึงควรเป็น ผู้ป่วย (ญาติ) ข้าราชการ ที่เสียสิทธิ์นี

ถ้าหมอ ออกไป ก็จะมีคนบอกอีกว่า " หมอเสียผลประโยชน์ " ไม่เห็นแก่ประเทศชาติ ฯลฯ ..


๘. มีข้อสรุปจากการประชุมร่วมของราชวิทยาลัยออร์โธฯ และ สมาคมรูมาติซึ่มแห่งประเทศไทย แล้วว่า มีประโยชน์ในคนไข้บางกลุ่ม และให้ใช้ตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้





ปล. รายละเอียดต่าง ๆ หาอ่านได้ ... มีข้อมูลให้น่าจะเพียงพอ โดยเฉพาะในทางวิชาการ ที่สรุปออกมาโดยหน่วยงานวิชาการ ..

L12769028 คลังยกเลิกเบิกค่า"ยาข้อเสื่อม" อ้างไม่มีงานวิจัยรองรับผลการรักษา [ข่าวสุขภาพ] หมาป่าดำ (20 - 11 ต.ค. 55 23:50)

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L12769028/L12769028.html



โดย: หมอหมู วันที่: 15 ตุลาคม 2555 เวลา:13:59:52 น.  

 

แนวทางปฏิบัติ ของแพทย์แต่ละคน แต่ละที่ ก็คงต้องเลือกตัดสินใจเอาว่าจะเลือกแบบไหน .. รพท. ทีผมเคยอยู่ เคยมีปัญหาเรื่องยา ข้าราชการ และ บัตรทอง ไม่เหมือนกัน คนไข้เป็นเพื่อนบ้านกัน โรคเดียวกัน แต่ได้ยาคนละแบบ จึงร้องเรียนไปยัง สปสช. .. สปสช. ได้ให้ทำหนังสือชี้แจงว่าทำไมถึงให้ยาไม่เหมือนกัน ไม่เท่าเทียมกัน ... กว่าจะจบเรื่องก็หลายเดือน ..

ต่อมา ผอ.และคณะบริหาร จึงแก้ปัญหาด้วยการ ใช้ยาเหมือนกันทั้งหมด (ตัดยานอกออกไป) ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุดในฐานะผู้บริหาร

แต่ถามว่า สำหรับผู้ใช้สิทธิ์เบิกราชการ เป็นการแก้ปัญหาที่ดีหรือไม่ ?


ปัญหา เฉพาะหน้า สำหรับแพทย์ ใน รพ.รัฐ ก็คือ ต้องหาวิธีชี้แจง ผู้ป่วยข้าราชการให้ทราบว่า เกิดอะไรขึ้น เช่น ทำเป็นเอกสารแจก ทำเป็นบอร์ดชี้แจง หรือ ประกาศเสียงตามสาย ฯลฯ ผมเชื่อว่า ถ้าทำ คนไข้(ญาติ) ก็จะเข้าใจได้ .. ผลดีที่จะเกิดขึ้นคือ ลดการกระทบกันระหว่างหมอที่ตรวจ กับ คนไข้(ญาติ) ซึ่งถือว่าเป็น "เหยื่อ " ด้วยกันทั้งคู่








โดย: หมอหมู วันที่: 15 ตุลาคม 2555 เวลา:14:14:12 น.  

 
//www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=41

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกลูโคซามีน (glucosamine) ในโรคข้อเสื่อม


โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบว่ามีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อน เนื่องจากมีปริมาณของโปรตีโอไกลแคน (proteoglycans) ลดลง ทำให้ความสามารถในการรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อลดลง เกิดอาการปวดขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนัก หรือมีกิจกรรมบนข้อนั้นๆ จากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนที่พบในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมดังกล่าวนี้ จึงทำให้เกิดแนวคิดในการนำเอากลูโคซามีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการสร้างโปรตีโอไกลแคนที่เป็นองค์ประกอบในกระดูกอ่อนมาใช้เพื่อรักษาหรือชะลอการเสื่อมของข้อในโรคข้อเสื่อม

กลูโคซามีน (glucosamine) เป็นสารประกอบประเภทน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ที่ปกติถูกสร้าง และพบในร่างกายของทุกคนอยู่แล้ว กลูโคซามีนจะถูกนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารขนาดโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีโอไกลแคน, ไกลโคโปรตีน (glycoprotein), ไกลโคสามิโนไกลแคน (glycosaminoglycan), กรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) สารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบในเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดของร่างกาย โดยจะพบได้มากที่กระดูกอ่อน (cartilage)ซึ่งจะอยู่ที่บริเวณส่วนปลายของกระดูกโดยเฉพาะที่ข้อต่อ กระดูกอ่อนนั้นประกอบด้วยเมทริกซ์ของเส้นใยคอลลาเจนที่มีโปรตีโอไกลแคนอยู่ภายใน โดยโปรตีโอไกลแคนเป็นสารโมเลกุลใหญ่ที่มีความสามารถในการดึงน้ำเข้ามาหาตัวเองได้ดี จึงทำให้กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อได้ ซึ่งจัดเป็นบทบาทสำคัญของกลูโคซามีนในเรื่องการทำงานของข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังมีผลยับยั้งการทำงานของสารอักเสบได้หลายชนิด จึงมีผลลดการอักเสบของข้อด้วย

กลูโคซามีนที่มีจำหน่ายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ตามการขึ้นทะเบียน คือ (1) ยาอันตราย และ (2) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันในขั้นตอนการยื่นขอขึ้นทะเบียน รวมถึงเอกสารที่จำเป็นในการขอขึ้นทะเบียน กล่าวคือ

กลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม ซึ่งจะต้องมีเอกสารยืนยันถึงการศึกษาทางการแพทย์ที่แสดงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารดังกล่าว และการใช้ยาจะอยู่ภายใต้การสั่งใช้จากแพทย์เท่านั้น

ส่วนกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงใช้รับประทาน นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ และในการขอขึ้นทะเบียนไม่จำเป็นต้องแสดงการศึกษาทางการแพทย์ประกอบ

สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขได้อนุญาตให้มีกลูโคซามีนชนิดที่เป็นยาอันตรายเท่านั้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และจำหน่ายในประเทศได้

ทั้งยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลูโคซามีนมีจำหน่ายในรูปแบบของสารประกอบเกลือหลายชนิด เช่น เกลือซัลเฟต (glucosamine sulfate), เกลือไฮโดรคลอไรด์ (glucosamine hydrochloride), เกลือคลอโรไฮเดรต (glucosamine chlorohydrate หรือ N-acetylglucosamine) ซึ่งทำให้ขนาดโมเลกุลและคุณสมบัติอื่นๆ ของกลูโคซามีนมีความแตกต่างกันไป เช่น ความคงตัวเมื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์ของกลูโคซามีนซัลเฟตยังมีการเติมโซเดียม หรือโปแตสเซียมในสูตรตำรับ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงตัวเพิ่มขึ้น โดยกลูโคซามีนซัลเฟตเป็นกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตรายและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ส่วนกลูโคซามีนในรูปแบบอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ด้านประสิทธิภาพของกลูโคซามีนต่อโรคข้อเสื่อม พบว่าการศึกษาทางการแพทย์ขนาดใหญ่ส่วนมากเป็นการศึกษาโดยใช้กลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine sulfate) ที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้รับกลูโคซามีนซัลเฟตในขนาด 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลานาน 3 ปี ช่วยลดอาการปวด และช่วยลดการแคบของข้อได้เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยา (หรือใช้ยาหลอก)

แต่การใช้กลูโคซามีนซัลเฟตในระยะสั้น เช่น 3-6 เดือน พบว่าผลการศึกษามีทั้งสองแบบ คือ ให้ผลดีในการรักษา และไม่เห็นความแตกต่างในการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยา

นอกจากนี้การศึกษาในผู้ป่วยข้อสะโพกเสื่อมก็ไม่แสดงประโยชน์เหนือกว่าการไม่ใช้ยาเช่นกัน

สำหรับกลูโคซามีนในรูปแบบอื่นนั้น พบว่ามีการศึกษาทางการแพทย์บ้าง แต่เป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็ก จำนวนผู้ป่วยที่ใช้ศึกษาน้อย เช่น การใช้กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่ากลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ให้ประสิทธิภาพในการระงับปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้ไม่แตกต่างจากกลูโคซามีนซัลเฟต

จากข้อมูลการศึกษาทางการแพทย์ของกลูโคซามีนดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของกลูโคซามีนในโรคข้อเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น รูปแบบเกลือของกลูโคซามีน ตำแหน่งข้อที่เกิดการเสื่อม ขนาดยาที่ใช้ ระยะเวลาในการใช้ ซึ่งผู้บริโภค/ผู้ป่วยที่มีความประสงค์จะรับประทานกลูโคซามีน โดยเฉพาะในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สามารถหาซื้อได้เองจากร้านขายยาทั่วไป ควรศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้เข้าใจ หรือปรึกษาแพทย์/เภสัชกรเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับให้มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้กลูโคซามีนแล้ว กลูโคซามีนในทุกรูปแบบยังมีข้อควรระวังและทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ด้วย ดังนี้

- อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากการรับประทานกลูโคซามีน คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง ท้องอืด นอกจากนี้ยังอาจพบอาการง่วงซึม ผื่นแพ้ผิวหนัง แพ้แสง ปากคอบวม (angioedema) หรือกระตุ้นให้เกิดการจับหืดได้

- ควรระมัดระวังการแพ้ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้ง ปู เพราะกลูโคซามีนที่มีจำหน่ายสังเคราะห์มาจากเปลือกของสัตว์ดังกล่าว

- ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะถ้าไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายการรักษา เพราะมีรายงานในสัตว์ทดลองว่ากลูโคซามีนทำให้การหลั่งอินซูลินลดลงได้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบรายงานดังกล่าวในคนก็ตาม


บทความโดย: อาจารย์ ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์

ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


โดย: หมอหมู วันที่: 11 พฤษภาคม 2556 เวลา:21:22:11 น.  

 
สมาคม ESCEO ชี้คริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) แตกต่างจากกลูโคซามีนชนิดอื่นๆ และควรเป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม

ลีแยร์ฌ, เบลเยียม--2 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

คณะทำงานเฉพาะกิจของสมาคม European Society for Clinical and Economic Aspects of Osteoporosis and Osteoarthritis (ESCEO) และแพทย์ผู้เชียวชาญจากทั่วโลก ได้มีมติร่วมกันในการใช้แนวทางการรักษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของ ESCEO ในทางปฏิบัติและหาข้อสรุปร่วมกันในข้อมูลทั้งหมดของกลูโคซามีน เพื่อชี้ชัดถึงความแตกต่างระหว่างคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งผ่านการรับรองทางคลินิก กับกลูโคซามีนชนิดอื่นๆที่ไม่ได้ผลในทางคลินิก



(โลโก้: //photos.prnewswire.com/prnh/20151124/290592LOGO )

(Place and date)-แม้ว่าจะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับการรักษาโรคข้อเสื่อมที่คำนึงด้านหลักฐ านทางการศึกษาจากองค์กรต่างๆทั้งในยุโรป อเมริกา และทั่วโลกแต่ก็ยังไม่สามารถสร้างมาตรฐานการรักษาร่วมกันได้

แต่เดิมการรักษาโรคข้อเสื่อมนิยมใช้ยาระงับปวดและยาต้านการอักเสบ โดยมีพาราเซตามอลเป็นยาพื้นฐานที่ใช้บรรเทาอาการปวด แต่ก็เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ยา ซึ่งรวมถึงผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารและตับ

นอกจากนี้แนวทางการรักษาเกือบทั้งหมดไม่ได้ระบุชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่าง กลูโคซามีนที่ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิก (จากเกณฑ์ที่มีหลักฐานการศึกษารองรับและ Cochrane Review) กับกลูโคซามีนที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิก ยกเว้นแนวทางการรักษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของ ESCEO ซึ่งระบุถึงความแตกต่างไว้อย่างชัดเจน จึงก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องในแนวทางการรักษาโรคข้อเสือม อีกทั้งทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติด้วย

แนวทางการรักษาอย่างเป็นขั้นตอนของ ESCEO นำเสนอทางเลือกใหม่ ด้วยการใช้ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า (SYSADOAs) ซึ่งมีคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร(pCGS) เป็นยาพื้นฐาน และเสริมด้วยยาพาราเซตามอลเพื่อระงับปวดตามความจำเป็น ศาสตราจารย์ ฌอง-อีฟ รีจินส์เตอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานของ ESCEO กล่าวว่า "แนวทางของ ESCEO แนะนำให้ใช้ยา SYSADOAs โดยเฉพาะคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟตที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) และคอนดรอยติน ซัลเฟต ที่จดทะเบียนเป็นยา ให้เป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม ปัจจุบันเห็นได้ชัดว่ายาต่างๆไม่ได้มีประสิทธิภาพเหมือนกันทั้งหมด และความแตกต่างระหว่างแนวทางการรักษาทั้งหลายสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่ า แนวทางเหล่านี้ไม่ได้พิจารณาการรักษาจากยาตัวเดียวกัน"

"สาระสำคัญประการแรกที่ได้จากการประชุมคือ แนวทางการรักษาทั้งหมดล้วนเห็นตรงกันว่ากลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ไม่ได้ผลในการรักษา ตัวยาดังกล่าวไม่เคยได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการทดลองทางคลินิก และไม่เคยมีการวิจัยใดๆที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการรักษาของกลูโคซามี น ไฮโดรคลอไรด์แต่อย่างใด"

ศาสตราจารย์ รีจินส์เตอร์ กล่าวเสริมว่า "ในส่วนของกลูโคซามีน ซัลเฟตที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่ายังมีความแตกต่างในแต่ละสูตรตำรับ โดยสูตรตำรับยาส่วนใหญ่มักไม่คงตัวและไม่ควรนำไปใช้เพราะถือว่าเป็นยาปลอม ซึ่งอ้างว่าเป็นสูตรตำรับที่มีความ"คงตัว" แต่เป็นเพียงการผสมกลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ และโซเดียม ซัลเฟต เข้าด้วยกันเท่านั้นซึ่งไม่มีความคงตัวแต่อย่างใด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ โมเลกุลจะต้องถูกทำให้คงตัวในรูปของคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร(pCGS) โมเลกุลที่ถูกทำให้คงตัวเท่านั้นที่สามารถทำให้มีระดับความเข้มข้นของยาเพีย งพอที่จะส่งผลในการรักษาทั้งในกระแสเลือดและน้ำเลี้ยงข้อ และมีข้อมูลการทดลองที่แสดงถึงประสิทธิภาพอย่างชัดเจน ในมุมมองของการดำเนินไปตามธรรมชาติของโรคข้อเสื่อม การใช้สั่งใช้ยากลูโคซามีนที่ไม่มีความคงตัว จากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ เพราะเป็นที่ทราบดีว่าในท้ายที่สุดผู้ป่วยจะไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากผลการ รักษานั้นเลย"

สรุป

การประชุมครั้งนี้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการเห็นพ้องร่วมกันถึง ความแตกต่างของแนวทางในการรักษา โดยคณะทำงานเฉพาะกิจต่างเห็นพ้องร่วมกันในความแตกต่างระหว่างคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางคลินิกและจดทะเบียนเป็นยา กับกลูโคซามีนประเภทอื่นๆ

หลักฐานทางคลินิกของคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร

- มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าในแง่ของการลดอาการปวดและการทำงานของเข่า

- ช่วยชะลอการดำเนินไปของโรค

ด้วยเหตุนี้ คริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) จึงเหนือกว่ากลูโคซามีนประเภทอื่นๆที่วางจำหน่ายในตลาด โดยเป็นกลูโคซามีนเพียงชนิดเดียวที่มีความคงตัวและมีความน่าเชื่อถือทางการร ักษา โดยส่งผลให้มีระดับความเข้มข้นของกลุโคซามีนที่ให้ผลในการรักษาทั้งในกระแสเ ลือดและและในข้อ ดังนั้นเมื่อจะสั่งยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม แพทย์ควรพิจารณาคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

แหล่งข่าว: ESCEO


โดย: หมอหมู วันที่: 18 ธันวาคม 2558 เวลา:14:05:11 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]