Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ประเด็นที่น่าสงสัย ใน พรบ.คุ้มครอง ฯ ..และ..ลิงค์กระทู้บทความที่น่าสนใจ จะได้เข้าใจตรงกันมากขึ้น

ผมใช้ข้อมูล จาก ร่าง ๑ ที่เสนอโดย รัฐบาล ในการอ้างอิงมาตรา นะครับ ..ร่างที่เสนอเข้าสภา มีทั้งหมด ๗ ร่าง ซึ่งรายละเอียดต่างกันนิดหน่อย .. ถ้าไม่อ้างอิงจาก ร่างฯ เดียวกัน จะทำให้สับสน นะครับ



เรื่องแรก มต.๕ กับ มต.๖





เห็นด้วยกับ มต.๕ ผู้ได้รับความเสียหาย ควรได้รับการช่วยเหลือ ประเด็นนี้ คงไม่มีใครเห็นต่าง ..

ปัญหาก็คือ มต.๖ ข้อยกเว้น ที่จะช่วยไม่ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถ้าจะช่วยเหลือได้ก็ต่อเมื่อ

๑ ความเสียหาย ไม่ใช่สิ่งปกติธรรมดา ทั่วไป .. ( ถ้าทั่วไป เกิดได้ แบบนี้ ยกเว้น )

๒ ความเสียหาย หลีกเลี่ยงได้ ( ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ แบบนี้ ยกเว้น)

๓ รักษาสิ้นสุดแล้ว มีผลกระทบต่อชีวิตตามปกติ

...........ดูแล้ว ก็คือ " ผิดพลาด " (ไม่ปกติ ทั่วไปไม่เกิด) ใช่หรือเปล่าครับ ???

มันขัด ๆ กันหรือเปล่า ???

ประเด็นนี้ ถือว่าเป็นที่ ค้างใจ กับ ผู้ประกอบวิชาชีพ ที่ยังดูแลรักษาผู้ป่วยอยู่

ซึ่ง ผู้ (เคย) ประกอบวิชาชีพ ตอนนี้ ไม่ได้ดูแลรักษาผู้ป่วย ไม่ได้ดูแลสุขภาพ ประชาชน ไม่เข้าใจ แล้วก็ไม่ต้องมารับผลกระทบที่เกิดขึ้น



เรื่องที่ ๒ ที่มาของกองทุน ตาม มต.๒๑




สถานบริการของรัฐ ก็ต้องจ่ายเพิ่มด้วยนะครับ ... แถม รัฐ ก็ไม่มีงบให้เพิ่ม (จากหนังสือตอบของ สน.งบประมาณ) แล้ว สถานบริการของรัฐ จะเอาเงินจากไหน ..ก็ต้องเอาเงินจากงบที่จัดสรรมา (ซึ่งไม่พออยู่แล้ว) มาแบ่งให้กองทุนนี้ .. รพ.ใหญ่ ๆ ก็เป็นสิบล้านต่อปีเลยนะครับ ???



นอกจากนั้น ยังมีส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมจ่ายด้วย ถึงแม้ว่าจะดูแล้วไม่มีอะไร แต่ สิ่งที่แอบแฝงไว้ก็คือ " ประชาชน คนไทยทุกคน ก็จะเป็น " ผู้จ่ายเงิน " เข้ากองทุนนี้ ทางอ้อม "



- รพ.รัฐ เงินที่เข้ากองทุน นี้ก็คือ เงินที่รัฐ ( ซึ่งก็คือ ภาษี ที่เก็บไปจากทุกคน เป็นการจ่ายทางอ้อม ) จัดสรรให้กับ รพ. เป็นเงินที่จะนำไปจ้างเจ้าหน้าที่ ซื้อวัสดุอุปกรณ์ ยารักษาโรค ปรับปรุงฯลฯ ทำให้เงินส่วนหนึ่ง ต้องหายออกไป จากระบบ เข้าไปสู่กองทุน ??? แทนที่จะนำเงินนั้น มาให้บริการกับผู้ป่วย ก็ต้องส่งไปเก็บไว้สำรอง เผื่อมีการชดเชยที่เกิดน้อยมาก ๆ ๆ ๆ

- คลินิก + รพ.เอกชน ... ก็จะเพิ่มค่าบริการ ( ซึ่งก็คือ เงินที่ผู้รับบริการ ประชาชน จ่ายทางตรง กับ คลินิก + รพ. ) เพื่อนำไปเข้ากองทุนนี้ เช่นกัน


ไม่ว่าจะเป็นทางไหน ประชาชน ก็เป็น ผู้จ่าย อยู่ดี ก็คงต้องขึ้นอยู่กับ ประชาชนคนไทยทุกคนว่า ยินยอมจ่ายตรงนี้หรือเปล่า ???





ปัญหา ก็ตามมาคือ ระบบการเก็บข้อมูล ซึ่งมหาศาลมาก เพราะต้องเก็บจากสถานบริการทุกแห่ง ทุกครั้งที่มีผู้ป่วยไปรับบริการว่าไปรักษาที่ไหนบ้าง โรคอะไร ได้รับการรักษาอะไรไปบ้าง (ยา ผ่าตัด ฯลฯ ) เพื่อจะได้ " เก็บเงิน เข้ากองทุนได้ครบถ้วน " และ " เป็นหลักฐานยืนยันว่า ผู้ป่วยไปรับบริการจริง "

ลองคิดถึง ระบบข้อมูลที่ต้องรวม ทั้ง ข้าราชการ ประกันสังคม สปสช. ซึ่งรวมคนไทยทั้งหมด ๗๐ ล้านคน ข้อมูลก็อาจต้องโยงไปที่ กรมการปกครอง เพื่อใช้ เลขที่บัตรประชาชน เป็นตัวกลางในการเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะไปตรวจรักษาที่ไหน ก็จะใช้เลขที่บัตรประชาชน จะได้เป็นข้อมูลของแต่ละคนครบถ้วน

ใครที่งานเกี่ยวกับ ระบบข้อมูลฯ คงนึกภาพออกว่า มันจะยุ่งยากซับซ้อน ขนาดไหน ทั้งจำนวนข้อมูล ระบบโปรแกรม การเชื่อมโยงข้อมูล

แต่ยังมีอีกอย่างหนึ่งก็คือ " ความปลอดภัยของข้อมูล " ลองคิดถึง ถ้าไปรักษาโรคเอดส์ หรือ รักษาเกี่ยวกับการทำแท้ง ฯลฯ แล้วข้อมูลที่ไปเก็บไว้ มีคนเข้าไปดูได้ ( ซึ่งก็ทราบกันดีว่า ไม่มีระบบไหนที่ปลอดภัย ) แล้วนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ ในทางที่ มิชอบ จะเป็นอย่างไร


พรบ.นี้ ยังมีข้อสงสัย ข้อถกเถียงกันอยู่มาก แล้วทำไม ไม่ชะลอ แล้วนำมาพูดคุยชี้แจงกันให้เข้าใจตรงกันก่อนละครับ ???

จะบอกว่า ทำมาแล้ว ๓ ปี ... แล้วจะรอไปอีกสองเดือนสามเดือน ไม่ได้หรือ ???



ผม เชื่อว่า ผู้ประกอบวิชาชีพ ( แพทย์ ทันตะแพทย์ พยาบาล เภสัช เทคนิก กายภาพ ฯลฯ ) เป็นผู้ที่มีเหตุผล มีการศึกษา ถ้าคุยกันด้วยเหตุด้วยผล เขาก็รับฟังอยู่แล้ว ..

ในเมื่อมีความขัดแย้งแบบนี้ จะดันทุรังไป ผมว่า ก็คงไม่เหมาะนะครับ ..

ยืนยันอีกครั้งว่า " เห็นด้วยกับการชดเชยให้กับผู้เสียหายฯ " แต่ก็อยากให้ปรับบางประเด็นที่อาจเป็นปัญหา ..




ผมลองเสนอ แนวทางเผื่อมีใครสนใจ ..


๑ .เรื่อง เงินกองทุน ถ้าจะระบุไปเลยว่า " ยกเว้น สถานบริการของรัฐ " ได้หรือเปล่าครับ ???

ผม คิดว่า เป็นบริการพื้นฐาน ที่รัฐ ต้องดูแล จัดให้กับประชาชนทุกคน และ รพ.ของรัฐ ก็เป็น หน่วยงานของรัฐ อยู่แล้ว มันก็แปลก ๆ เหมือนกันที่จะต้องให้ รพ.รัฐ เอาเงินที่ได้จัดสรรมาจากรัฐ มาแบ่งเข้ากองทุนอีกที ???

ถ้ายกเว้นไปเลย รพ.รัฐ ก็จะได้สบายใจว่า "ไม่ต้องหาเงินมาเข้ากองทุน ไม่ต้องเอาเงินที่ได้รับจัดสรร ซึ่งไม่ค่อยพออยู่แล้ว มาแบ่งเข้ากองทุนอีก "

แล้วรัฐ ก็จัดงบ เพิ่มเป็นก้อนใหญ่ ให้กับ กองทุนไปเลย ทีเดียว

แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่า จะซ้ำซ้อนกับ งบที่รัฐจัดสรรให้ตาม มต.๔๑ หรือเปล่านะครับ ..



๒. คณะกรรมการ

ในเมื่อบอกว่า เป็นการขยายมาจาก มต.๔๑ การพิจารณาของคณะกรรมการ การดำเนินการช่วยเหลือดีอยู่แล้ว เลย อยากขยายให้ครอบคลุมทั้งหมดทุกคน

แต่ ตาม มต.๔๗ กลับให้ย้าย "เงิน" มาอย่างเดียว ( เปลี่ยน คณะกรรมการใหม่ เปลี่ยนวิธีดำเนินการใหม่ ) มันขัดกับที่อ้างหรือเปล่า.. รู้สึกแปลก ๆ อยู่นะครับ

ผมเสนอว่า ยกมาทั้งหมดเลย ทั้งรูปแบบ คกก. และ วิธีดำเนินการชดเชย ตาม มต.๔๑

ไม่ต้องเปลี่ยน .. ก็บอกว่า ดีอยู่แล้วนี่นา ไม่เห็นต้องเปลี่ยน ให้เกิดปัญหา ความไม่ไว้วางใจ คกก.ชุดใหม่ (เป็น NGO ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่า ใครเป็นคนเลือก มีสมาชิกเท่าไหร่ ฯลฯ )





๓. ตัด มต. ๖ ทิ้งไป

ในเมื่อบอกว่า ไม่พิสูจน์ถูกผิดอยากช่วยเหลือ ง่าย เร็ว .. ก็ไม่ต้องมีแล้ว มต. ๖ เพราะ ถ้ามี ก็ต้องมีการสอบถามข้อมูล ส่งเอกสาร หรือ อาจต้องไปให้ปากคำกับ คกก. อีกอยู่ดี ( ไม่ให้ความร่วมมือ ก็ถูกปรับ หรือติดคุกได้ ตาม มต.๔๖ ) แล้วการตีความข้อยกเว้น ก็กลายเป็นว่าจะจ่ายได้ก็ต่อเมื่อ ผิดพลาด

ในกรณีตัด มต. ๖ ออกไป ก็อาจทำให้บางคนไม่สบายใจ เพราะเหมือนกันเซนต์เช็คเปล่าให้กรอกเงินเอง อยากจะเอาไปใช้อะไรก็ตามสบาย .. แต่ผมว่า ไหน ๆ อยากจะช่วย เห็นดีด้วยกันทุกฝ่ายว่า ผู้ได้รับความเดือดร้อน ควรได้รับความช่วยเหลือ ก็ให้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการไปเลย .. ดี ไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับ คกก. และ คนตั้ง รับผิดชอบไป

เสียเงินอีกปีละพันสองพันล้าน ให้ คณะกรรมการ ใน พรบฯ นี้ แจก คงไม่เท่าไหร่มั๊ง ??? ( ไม่รวมค่าบริหารจัดการ จัดการ อีก ไม่เกินร้อยละสิบของกองทุน (มต.๒๐)


ปล. ตามที่มีการเสนอข้อมูล คาดว่า กองทุนนี้จะมีเงินประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ( อ่านว่า " สี่พันล้าน " ) ในขณะที่ สปสช. ชดเชยตาม มต.๔๑ ไป ไม่ถึง ร้อยล้านบาท ต่อปี มีเงินที่เหลือกันไว้ ตาม พรบ.สุขภาพฯ อีก สองสามพันล้าน แล้วกองทุนใหญ่ขนาดนี้ เอาเงินมาทำไมเยอะแยะ ???






๓ ใน มต.๓๔ ตัดวรรค ๓ ออก ..

ในเมื่อไม่ยอมรับตามที่คกก.ชดเชยให้ ไปฟ้องศาล ถ้าศาลยกฟ้อง หรือ ตัดสินว่า " ไม่ผิด" ก็ไม่ควรได้รับการพิจารณาจ่ายชดเชย อีกแล้ว แบบนี้ ผมว่า น่าจะลดการฟ้องร้องลงไปได้ ตามเจตนารมย์ ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่า ฟ้องไป ถ้าแพ้ ก็กลับมาขอชดเชยได้อีกรอบ ( คกก.ที่เป็น NGO ก็อาจให้เงินเพิ่ม )

ถ้าตัดความหวังนี้ไป คนที่จะไปฟ้องก็ต้องคิดหนักหน่อย

ชี้แจง เพิ่มนิดหน่อย .. ตาม พรบ.นี้ ผู้ร้องเรียนจะเงิน ๒ ส่วน

๑ เงิน ช่วยเหลือเบื้องต้น ( มต. ๒๗ ) จ่ายภายใน ๖๐ วัน

๒ เงิน ชดเชย ความเสียหาย ( มต. ๓๐ ) ซึ่งถ้าไม่พอใจที่ คณะอนุกรรมการให้ ก็มีสิทธิ์อุธรณ์ ได้



เอาแค่ ๓ ประเด็นนี้ ถ้าทำได้ ผมว่า แรงต้านก็หายไปเกือบหมดแล้ว .. พรบ.นี้ก็ออกมาใชได้ สมกับที่หลายคนตั้งใจ ..


ปล.

ปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งก็เนื่องจาก ความไม่ไว้วางใจของ NGO ต่อ การให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพ ระบบการพิจารณาของสภาวิชาชีพ ..

ผู้ประกอบวิชาชีพ ก็มีสิทธิ์ไม่ไว้วางใจ NGO ที่มาเป็นกรรมการ เฉกเช่นเดียวกัน มิใช่หรือ ...




แถม ..

ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ...

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9460294/L9460294.html


ถาม - ตอบ ทุกประเด็นเกี่ยวกับ "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข"

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9524623/L9524623.html



ผมนำไปลงในบล๊อกผมด้วย ....

ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-07-2010&group=7&gblog=61

ถ้าไม่มีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขแล้ว ประชาชนจะยังได้รับความคุ้มครองอยู่หรือไม่ ?

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2010&group=7&gblog=63ข่าวปชส.

กิจกรรมความเคลื่อนไหว สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท แห่งประเทศไทย
(มีร่าง พรบ. ทั้ง ๗ ร่าง ให้โหลดไปอ่านกันด้วย)

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2010&group=7&gblog=64

ปีกสองข้างของการบริการสุขภาพและการสาธารณสุขไทย ปัญหาที่ท้าทาย .... เขียนโดย นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์

ตอน ๑
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2010&group=7&gblog=65

ตอน ๒
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2010&group=7&gblog=67

ตอน ๓
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2010&group=7&gblog=68









Create Date : 02 สิงหาคม 2553
Last Update : 2 สิงหาคม 2553 17:35:29 น. 1 comments
Counter : 4165 Pageviews.  

 
ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:23:58 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]