Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ระบบสุขภาพสหรัฐฯ ทำ แพทย์-พยาบาล ‘หมดไฟทำงาน’ เหตุจากภาระงานเกินตัว เทคโนโลยีล้าหลัง ( เน้น สหรัฐ )

อ่านพาดหัวข่าว ให้ชัด ๆ  " สหรัฐอเมริกา " ...  ไม่ใช่ " ไทยแลนด์ " นะครับ   
เหตุการอาจคล้าย ๆ กัน แต่ยืนยันว่าเป็นเรื่องที่อเมริกา

ระบบสุขภาพสหรัฐฯ ทำ แพทย์-พยาบาล ‘หมดไฟทำงาน’ เหตุจากภาระงานเกินตัว เทคโนโลยีล้าหลัง

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 businessinsider.com รายงานผลสำรวจโดยสถาบันแพทยศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกาเผยแพทย์และพยาบาลราวร้อยละ 30-50 กำลังประสบปัญหาหมดไฟในการทำงาน สาเหตุสำคัญมาจากภาระงานเกินตัว เทคโนโลยีล้าหลัง และขาดการสนับสนุน ขณะที่พยาบาลรวมตัวประท้วงผละงานแล้วใน 4 รัฐ

ความเสี่ยงภาวะหมดไฟการทำงานในวงการแพทย์อเมริกันสูงสุดเป็นประวัติการณ์

รายงานจากสถาบันแพทยศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกาพบว่า แพทย์และพยาบาลราวร้อยละ 35-54 มีอาการของภาวะหมดไฟการทำงาน

การศึกษาระบุว่าสาเหตุของภาวะหมดไฟที่ระบาดในบุคลากรสาธารณสุขประกอบด้วยภาระงานล้นมือ เทคโนโลยีที่ล้าหลัง และขาดการสนับสนุน รายงานความยาว 321 หน้ายังได้แนบข้อมูลการศึกษาทบทวนปัญหาหมดไฟในบุคลากรสาธารณสุขด้วย

นักวิจัยเปิดเผยว่า ภาวะหมดไฟในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขเป็นปัญหาเชิงระบบที่เกิดขึ้นทั่ววงการสาธารณสุข เช่น เทคโนโลยีล้าหลัง นักศึกษาแพทย์ต้องรับภาระงานเกินตัว ค่าเล่าเรียนราคาแพงซึ่งทำให้นักศึกษาแพทย์ต้องแบกหนี้สินก้อนใหญ่ และขาดการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานในโรงพยาบาล

ปัญหาหมดไฟการทำงานในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขดำเนินมาถึงจุดวิกฤติในปีนี้ ภาวะหมดไฟในกลุ่มแพทย์ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2562 หลังมีรายงานว่าแพทย์โรงพยาบาลระดับปฐมภูมิร้อยละ 79 กำลังประสบปัญหาความเครียดจากการทำงาน อีกด้านหนึ่งพยาบาลใน 4 รัฐรวมตัวประท้วงผละงานแล้วในช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมาเพื่อเรียกร้องให้จัดสรรอัตรากำลังให้สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วย

ตัวแทนพยาบาลเผยว่าสาเหตุสำคัญมาจากการต้องรับผิดชอบผู้ป่วยจำนวนมากพร้อมกัน โดยมีการศึกษาวิจัยจากออสเตรเลียเสนอว่าการจัดสรรให้พยาบาลดูแลผู้ป่วยไม่เกิน 4 คนสัมพันธ์กับผลลัพธ์ด้านการรอดชีพที่ดีขึ้นและอัตราการนอนโรงพยาบาลที่ลดลง และจนถึงขณะนี้แคลิฟอร์เนียเป็นเพียงรัฐเดียวในสหรัฐอเมริกาที่มีระเบียบกำหนดจำนวนผู้ป่วยสูงสุดที่พยาบาลสามารถรองรับได้

บาร์บารา แมคแอนนีย์ อดีตประธานสมาคมแพทย์อเมริกันชี้ให้เห็นความจำเป็นที่ระบบสุขภาพจะต้องหามาตรการลดภาวะหมดไฟและความอ่อนล้าในหมู่แพทย์ โดยชี้ว่าแพทย์ที่กระปรี้กระเปร่าและกระตือรือร้นเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายด้านสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา

ปัญหาหมดไฟในการทำงานกำลังเป็นวิกฤติในประชากรวัยทำงาน

ปัญหาหมดไฟกำลังไหม้ลามไปทั่วทุกภาคธุรกิจของสหรัฐ ผลสำรวจล่าสุดรายงานว่าแรงงานกว่าครึ่งมองว่างานที่ทำอยู่ส่งผลกระทบตอสุขภาพจิต องค์การอนามัยโลกเองก็เล็งเห็นถึงความสำคัญของภาวะหมดไฟในการทำงานและระบุว่าเป็น ‘ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาวะและอาจนำไปสู่โรคต่างๆ ได้’ อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก

(Burn out หรือภาวะหมดไฟเป็นปรากฏการณ์ทางอาชีพ (occupational phenomenon) ไม่ใช่เป็นโรค (medical condition) และเกิดจากความเครียดเรื้อรังจากการทำงาน ซึ่งได้จัดอยู่ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรค และปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับที่ 11 โดยมีรหัสกำหนดในหมวด Z คือ “ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาวะ” เพราะเล็งเห็นว่าประเด็นนี้มีความสำคัญ คุกคามสุขภาวะ และอาจจะนำไปสู่โรคต่าง ๆ ได้ เช่น ภาวะโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือแม้กระทั่งปวดหัวชนิดเทนชั่น หรือโรคนอนไม่หลับ เป็นต้น)

ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าจากการทำงานยิ่งสูงขึ้นในผู้ที่ทำงานเป็นกะ โดยเฉพาะในกลุ่มแพทย์ โดยมีการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์รายงานว่าผู้ที่มีชั่วโมงการทำงานเปลี่ยนไปมาหรือทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าสูงกว่าคนทั่วไปราวร้อยละ 33

ความทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้าและหมดไฟการทำงานอาจส่งผลร้ายแรง ข้อมูลจากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานดิเอโกพบว่าความเสี่ยงการฆ่าตัวตายสูงกว่าในกลุ่มพยาบาลเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป

เจอราด โบรแกน พยาบาลวิชาชีพและผู้อำนวยการสถาบันการฝึกหัดพยาบาลเผยว่า ปัญหาหลายอย่างล้วนมีสาเหตุจากนโยบายของโรงพยาบาลหรือผู้บริหารสาธารณสุขที่ไม่เป็นผลดีต่อบุคลากรด้านการแพทย์ ตัวอย่างเช่น การกำหนดรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยซึ่งทำให้แพทย์และพยาบาลไม่สามารถให้การดูแลรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

“แพทย์ พยาบาล และบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพไม่ได้เข้ามาทำงานเพราะหวังชื่อเสียงนะครับ” โบรแกนเผย “พวกเขาเป็นผู้ที่อุทิศตนเพื่อสังคมและเข้าสู่วิชาชีพพยาบาลเพื่อช่วยเหลือสังคมของตน และค่านิยมของพวกเขาก็แตกต่างจากระบบสุขภาพที่ขับเคลื่อนด้วยกำไร มันไม่ใช่เลยครับ”

แปลและเรียบเรียงจาก

Half of all US nurses and doctors are burned out — and they say the healthcare system is to blame [www.businessinsider.com]

ที่มา    https://www.hfocus.org/content/2019/10/17970




Create Date : 05 พฤศจิกายน 2562
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2562 21:28:35 น. 0 comments
Counter : 1812 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]