Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าประกาศ นอกเวลาราชการโรคไม่ฉุกเฉินเก็บ 200









ลางานดีสุด! รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าประกาศ นอกเวลาราชการโรคไม่ฉุกเฉินเก็บ 200
โดย MGR Online       

7 กุมภาพันธ์ 2559 09:57 น.

 โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ออกประกาศ 1 มีนาคมนี้ ผู้ป่วยโรคไม่ฉุกเฉินนอกเวลาราชการ เก็บค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มเป็น 200 บาท ส่วนใหญ่เห็นด้วย แต่บางความเห็นบอก ไม่ควรเก็บคนทำงาน น่าจะผ่อนผัน บางคนเหมารวม รพ. รัฐแย่

       ประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป โรงพยาบาลมีความจำเป็นต้องปรับค่าบริการทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ฉุกเฉินนอกเวลาราชการ เพิ่มเป็น 200 บาทต่อครั้ง ซึ่งไม่สามารถเบิกคืนได้ เนื่องจากทางโรงพยาบาลไม่สามารถรับภาระต้นทุนการให้บริการนอกเวลาราชการต่อไปได้

       พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดนิยาม "ผู้ป่วยฉุกเฉิน" หมายความว่า บุคคล ซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นภยันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการและการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างรุนแรงขึ้น ของการบาดเจ็บหรืออาการป่วยนั้น

ทั้งนี้ หลังจากที่ทางโรงพยาบาลโพสต์ประกาศดังกล่าว ความเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วย และมองว่าเก็บถูกไปด้วยซ้ำ เนื่องจากที่ผ่านมามีคนไข้ที่ไม่ฉุกเฉินจริงเข้ารับบริการห้องฉุกเฉินนอกเวลาราชการ เช่น โรคที่ไม่ร้ายแรง ปวดหัว ไม่สบาย แต่ไม่อยากเข้ารับบริการในเวลาราชการเพราะต้องต่อคิว การขอยาเพิ่ม ใบรับรองแพทย์ หรือเจาะเลือด ส่วนผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ โดยปกตินอกเวลาราชการคิดค่าบริการทางการแพทย์ 50 บาท สามารถเบิกได้ตามสิทธิ์ ซึ่งวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งเบาภาระงานที่ไม่จำเป็นของแพทย์ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ 36 ชั่วโมงต่อเวรแพทย์

แต่บางความเห็นที่แชร์จากโพสต์นี้ระบุว่า ไม่ควรเก็บเงินเช่นนี้หมดทุกคน เพราะบางทีคนทำงาน มาในเวลาลำบาก น่าจะผ่อนผันวันธรรมดาถึง 2 ทุ่ม จะได้ไม่ต้องลางาน ส่วนคนที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ มาในเวลาได้ ก็อีกประเด็นนึง บางความเห็นระบุว่า โรงพยาบาลของรัฐบางที่บริการแย่ ยาแบ่งชั้นวรรณะ โดยเฉพาะระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค บางความเห็นระบุว่า แม้จะปรับค่าบริการแต่การให้บริการต้องดูแลเอาใจใส่คนไข้ให้เหมาะสม และบางความเห็นระบุว่า ถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐในต่างจังหวัดจะต้องถูกตำหนิว่า หมอเห็นแก่เงิน ไม่มีเงินไม่รักษา แล้วออกมาโวยวายโดยอ้างว่าเอาระเบียบที่ไหนมาเก็บ

       สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ป่วยที่มีภาวะหรืออาการดังต่อไปนี้

       1. ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุทุกชนิดภายใน 24 ชั่วโมง

       2. ผู้ป่วยหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น

       3. ผู้ป่วยที่มีระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง หรือผู้ป่วยที่มีภาวะการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออย่างทันทีทันใด

       4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อค

       5. ผู้ป่วยหายใจลำบาก

       6. ผู้ป่วยชัก (ภายใน 24 ชั่วโมง)

       7. ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บอก คล้ายอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงเฉียบพลัน มีใจสั่นมาก หรือมีการเต้นของหัวใจผิดปกติ

       8. ผู้ป่วยที่มีเลือดออกมาก ได้แก่ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระออกมาเป็นเลือดสดๆ เป็นต้น

       9. ได้รับสารพิษ สารเคมีหรือได้รับยาเกินขนาด

       10. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย เช่น เศษอาหารติดคอ ก้างปลาติดคอ

       11. มีภาวะทางจิตเฉียบพลันหรืออยู่ในภาวะก้าวร้าวมาก

       12. มีภาวะความไม่สุขสบายหรือมีความเจ็บปวดมาก

       13. เด็กหรือหญิงที่ถูกกระทำอนาจารทางเพศ เด็กที่ถูกละเลย เพิกเฉย ไม่ดูแลหรือกระทำทารุนต่อเด็ก (Child abuse โดยนับอายุตั้งแต่แรกเกิดุถึง 18 ปี)

       14. ผู้ป่วยคดี เช่น ผู้ที่ตำรวจพามาเพื่อต้องการตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือ ผู้ป่วยต้องสงสัยที่ตำรวจ ต้องการตรวจหาเขม่าดินปืน เป็นต้น

       15. ผู้ป่วยเด็กที่มีไข้สูง เสี่ยงต่อการชัก

........................



รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าประกาศ ตั้งแต่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ... ผ่านไป ๕ เดือน ผลเป็นอย่างไร .. ใครพอรู้บ้างครับ ?




Create Date : 28 สิงหาคม 2559
Last Update : 28 สิงหาคม 2559 22:42:58 น. 0 comments
Counter : 4094 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]