Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

สนทนาเรื่องรัฐสวัสดิการกับอาจารย์บุญส่ง ชเลธร ... โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย

ผมนำบทความมาจากเวบนี้นะครับ ..

//www.thaiappraisal.org/thai/market/market_view.php?strquery=market234.htm


สนทนาเรื่องรัฐสวัสดิการกับอาจารย์บุญส่ง ชเลธร


ดร.โสภณ พรโชคชัย *






ผมได้พบกับอาจารย์บุญส่งเมื่อคราวไปออกบูธอสังหาริมทรัพย์ในกรุง สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์กิตติมศักดิ์ ผมเป็นคนพานักพัฒนาที่ดินและอาคารชุดไทย ไปขายสินค้าให้กับคนสวีเดน เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2552

อาจารย์บุญส่งเป็นผู้ประสานงานที่แข็งขันอย่างยิ่งของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำหน้าที่ประสานงานด้านการศึกษาทางไกลให้กับคนไทยในต่างประเทศที่สนใจศึกษา ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ซึ่งในอนาคตก็จะมีถึงระดับปริญญาเอกด้วย แต่ในอดีตเมื่อ 30 ปีก่อน อาจารย์บุญส่งเป็นผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และเป็นหนึ่งใน 13 กบฎเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกจับในระหว่างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในสมัยที่จอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี จนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อาจารย์บุญส่งจึงนับเป็นคนเดือนตุลาคนหนึ่ง



รัฐสวัสดิการในสวีเดน

อาจารย์บุญส่งเล่าให้ฟังถึงสวัสดิการสังคมที่ประเทศสวีเดนจัดให้ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายประการ ดังเช่น:

1. เด็กนักเรียน สามารถเข้าโรงเรียนได้ฟรี อุปกรณ์การเรียนฟรี โดยส่งให้เรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงปริญญาเอกตามกำลังความสามารถของนัก เรียนเอง

2. เด็กทุกคนมีเงินเดือนให้ใช้ เทียบเป็นเงินไทยคงเป็นเงินเดือนละประมาณ 4,000 บาท โดยทุกคนได้รับเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นลูกตาสีตาสาหรือลูกนายกรัฐมนตรีก็ตาม

3. ผู้หญิงสามารถลาคลอดได้ยาวนานเป็นปี แถมยังได้รับรายได้เกือบเท่าเงินเดือนที่รับอยู่ก่อนคลอดเสียอีก

4. สำหรับคนทำงาน จะได้รับเงินเดือนตามลักษณะงานที่ทำ ไม่ใช่ตามวุฒิ เช่น ถ้าทำงานขับรถประจำทาง ไม่ว่าจะจบระดับไหน ก็เริ่มต้นด้วยเงินเดือนที่เท่ากัน และในระยะยาว คนขับรถประจำทางอาจมีรายได้มากกว่าคนจบปริญญาโทที่ทำงานตรงสาขาแต่ยังทำงาน ไม่นาน เป็นต้น

5. ผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือไม่ก็ตาม ต่างก็ได้รับบำนาญ โดยอาจารย์บุญส่งเล่าว่า ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนในโลกก็จะได้รับเงินนี้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้สูงอายุส่วนหนึ่งจึงนิยมมาอยู่ในประเทศไทยหรือประเทศอื่น ๆ เพราะค่าครองชีพถูกกว่า ด้วยบำนาญที่ได้ จึงสามารถอยู่ได้อย่างสบาย

เท่าที่ผมพอจำได้ก็คงมีเท่านี้ แต่นี่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบอย่างสูงที่รัฐบาลมีให้กับประชาชนของตน เอง ถ้าประเทศไทยเราทำได้บ้าง ก็คงจะดียิ่ง



ความสำเร็จมาจากภาษีโหด-เหี้ยม

การที่ประเทศสวีเดนสามารถจัดสวัสดิการได้อย่าง “เหลือเชื่อ” เช่นนี้ ไม่ใช่ของฟรี ไม่ใช่อยู่ดี ๆ รัฐบาลนึกจะทำก็ทำได้ แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนมาจากภาษีอากรที่เก็บจากประชาชน และรัฐบาลของเขาโหด-เหี้ยมกับการเก็บภาษีเป็นอย่างยิ่ง ข้อนี้อาจต่างจากเรา มาก เราอาจเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาให้ต่าง ๆ นานา แต่คนไทยเรากลับพยายามเลี่ยงภาษี ในกรณีสวีเดน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของเขาเก็บ 25% ภาษีรายได้บุคคลธรรมเก็บระหว่าง 30-62% ของรายได้สุทธิ


อย่างกรณีร้านอาหารที่มักมีโอกาสที่ภาษีรั่วไหล เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรจะมีสมุดบันทึกให้พนักงานลงชื่อเข้าทำงาน เพื่อป้องกันการ “มั่ว” จ้างแรงงานโดยไม่มีตัวตน หากวันใดที่เจ้าหน้าที่มาตรวจ ต้องมีจำนวนพนักงานครบตามที่ลงชื่อ บางครั้งมีกรณีที่พนักงานคนหนึ่งคนใดลืม ลงชื่อ แต่มาทำงาน เจ้าของร้านก็จะถูกปรับ “อาน” ไปเลย คือเป็นเงินราว 100,000 บาทนั่นเอง พนักงานที่ไม่ลงชื่อก็ยังถูกปรับเช่นกัน นอกจากนี้กรมสรรพากรยังส่งเจ้าหน้าที่มานับจำนวนขวดเบียร์ นับปริมาณขยะหลังร้านอีกต่างหาก



การปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง

นี่แสดงให้เห็นว่ากฎหมายของสวีเดนมีความโหด-เหี้ยมมาก ผู้คนจึงไม่กล้าเลี่ยงกฎหมาย และรู้สึกเข็ดหลาบที่จะละเมิดกฎหมาย คนสวีเดนกลัวกฎหมาย แต่ไม่กลัวตำรวจ ผิดกับคนไทย กลัวตำรวจ แต่ไม่กลัวกฎหมาย

แน่นอนว่าการโกง การฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็มีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา แต่กระบวนการปราบปรามการโกงก็มีพัฒนาไปอย่างทันท่วงทีเช่นกัน ดังนั้นโอกาสที่ใครจะคิดติดสินบนข้าราชการ จึงมีได้ยากยิ่ง และถือเป็นการ “ฆ่าตัวตาย” มากกว่า เพราะต้นทุนการทำผิดกฎหมาย แพงกว่าการปฏิบัติตามกฎหมายมากมายนัก

ในส่วนของข้าราชการเอง ระบบได้ทำให้เกิดความเข้มงวดมาก แม้แต่ประมุขของประเทศ หากได้รับของขวัญจากพระราชอาคันตุกะ ก็ยังต้องมอบของขวัญเหล่านั้นให้กับทางราชการ จะเก็บไว้ใช้สอยส่วนตัวไม่ได้



การเมืองที่เอื้ออำนวย

อาจารย์บุญส่งเล่าให้ฟังว่า รัฐบาลที่เข้มแข็งของสวีเดนนั้น ในช่วงหนึ่งพรรคสังคมประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้งทุกๆ 3 ปีจนสามารถบริหารงานต่อเนื่องได้ถึง 44 ปี (1932-1976) ซึ่งก็เป็นโอกาสที่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์สำคัญของพรรครัฐบาลรังสรรค์ระบบ สวัสดิการสังคมที่ดีให้กับประเทศชาติได้ ดังนั้นการเมืองที่เข้มแข็งจึงเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็คือการมีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง ตามหลักการที่ว่า สิทธิที่พึงมีพึงได้ ย่อมมาจากการเรียกร้องที่เป็นธรรม ไม่ใช่ได้มาจากการร้องขอแต่อย่างใด

ปัจจัยแห่งความสำเร็จอีกประการหนึ่งของการสถาปนารัฐสวัสดิการก็คือ การที่ประชาชนได้รับการศึกษาดี มีความรู้ มีจิตสำนึก ทำให้การพัฒนาของสังคมเป็นไปในแนวทางที่ก้าวหน้า ไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือของนักการเมือง

อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลของประเทศสวีเดนมีการตอบสนองสูงต่อสังคม เช่น ในคราวเกิดสึนามิเมื่อปลายปี 2547 ชาวสวีเดนเสียชีวิตในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เด็กกำพร้าขาดพ่อแม่ และยังต้องเสียภาษีมรดก รัฐบาลจึงออกกฎหมายยกเลิกภาษีมรดก โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิดังกล่าวตามหลักการที่ ว่ากฎหมายจะมีผลย้อนหลังได้หากเป็นคุณ


หนทางสู่แบบอย่างสวีเดน

มีโอกาสหรือไม่ที่ไทยจะมีรัฐสวัสดิการเช่นสวีเดน ข้อนี้คงต้องเปรียบเทียบประเทศทั้งสองในแง่มุมต่าง ๆ ดังตารางต่อไปนี้:





หากเปรียบเทียบสวีเดนกับไทยจะพบว่า ประเทศทั้งสองมีขนาดใกล้เคียงกันมาก โดยไทยมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย แต่ประชากรไทยที่ 65.493 ล้านคนนั้นมากกว่าสวีเดนถึง 7.24 เท่า ทำให้ความหนาแน่นของประชากรไทยสูงกว่าสวีเดนมาก ขนาดเศรษฐกิจไทยใหญ่กว่าสวีเดน 59% อย่างไรก็ตามหากพิจารณารายได้ต่อหัวจะพบว่าสวีเดนมีรายได้ต่อหัวสูงกว่าถึง 4.55 เท่า

ในกรณีการจัดเก็บภาษีนั้น สวีเดนจัดเก็บได้มากกว่าไทยถึง 5.48 เท่า และงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 4.76 เท่า และหากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า คนไทยเสียภาษีโดยเฉลี่ยปีละ 26,384 บาท ในขณะที่ชาวสวีเดนเสียภาษีปีละ 1,046,667 ล้านบาท ปมตรงนี้เองที่ชี้ให้เห็นว่า ระบบสวัสดิการสังคมที่แสนดีนั้นมีต้นทุนมหาศาลที่ทุกคนต้องช่วยกันจ่าย ถ้า เราจะมีรัฐสวัสดิการที่รับผิดชอบต่อประชาชนทุกคน ผู้เสียภาษีต้องพร้อมใจกันเสียภาษีให้มากกว่านี้

แต่ปัญหาก็คือคนจำนวนมากไม่เสียภาษี ไม่ยอมเสียภาษี และคนอีกจำนวนมาก อ้างว่าเสียภาษีไปก็จะถูกนักการเมืองหรือข้าราชการนำไปโกงกินกัน ผมเชื่อว่านี่คงเป็นข้ออ้าง เราต้องแยกกันระหว่างการที่พลเมืองไทยต้องมีหน้าที่เสียภาษี กับการปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง





* ดร.โสภณ พรโชคชัย เป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนักวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยและ ภูมิภาคอาเซียน ขณะนี้เป็นประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย (www.thaiappraisal.org) และยังเป็นกรรมการหอการค้าสาขาจรรยาบรรณ สาขาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ปรึกษาหอการค้าไทยสาขาอสังหาริมทรัพย์ และกรรมการสภาที่ปรึกษาของ Appraisal Foundation ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินในสหรัฐอเมริกาที่แต่ง ตั้งขึ้นโดยสภาคองเกรส Email: sopon@thaiappraisal.org







ปล. โปรดฟังอีกครั้ง ...


หลายท่าน อาจได้ยินว่า เป็นเรื่อง " หมอ ทะเลาะกัน " หรือ " หมอ ทะเลาะกับ NGO " ... เลยไม่สนใจ

แต่อยากบอกว่า ไม่ใช่เลย .. เรื่องนี้ เป็นเรื่อง ของ ประชาชนไทย ทุกคน .. เพราะ เงินที่จะเข้ากองทุนฯ ก็คือ เงินของทุกคน นั่นเอง

จ่ายทางตรง คือ จ่ายให้กับ สถานบริการ (รัฐ เอกชน) ที่คิดเงินเพิ่ม

จ่ายทางอ้อม คือ จ่ายเป็น ภาษี ให้รัฐ และ จ่ายเป็น ค่าเสียโอกาสที่จะได้รับบริการอย่างอื่นจาก เงินที่เข้ากองทุนนี้ โดยเฉพาะ รพ.รัฐ แทนที่จะเอาเงินไปปรับปรุงสถานบริการ ซื้อยา อุปกรณ์ ฯลฯ ก็ต้องเอาเงินมาเข้ากองทุน ( รพ.รัฐใหญ่ ๆ อาจจ่ายเป็นสิบล้านต่อปี )

ก็คงต้องช่วยๆ กันพิจารณา ช่วยกันติดตามว่า จะเป็นอย่างไร .. เงินของพวกเราทั้งนั้น ที่จะนำไปให้ คนบางกลุ่ม ( โดยเฉพาะ NGO ซึ่งไม่รู้ว่าใครเลือกมา เป็นตัวแทนของใครบ้าง กี่คน ฯลฯ ??? ) นำไปบริหารจัดการแจกจ่าย อย่างนั้นหรือ ???




Create Date : 09 สิงหาคม 2553
Last Update : 9 สิงหาคม 2553 12:23:40 น. 0 comments
Counter : 3832 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]