Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ชี้แนวโน้มการฟ้องร้องทางการแพทย์สูงขึ้นเรื่อยๆ



ชี้แนวโน้มการฟ้องร้องทางการแพทย์สูงขึ้นเรื่อยๆ

ผอ.ศูนย์สันติวิธี สธ.ชี้แนวโน้มการฟ้องร้องทางการแพทย์สูงขึ้นเรื่อยๆ เผยข้อมูลย้อนหลัง 20 ปี สธ.ชนะคดีฟ้องร้องทางการแพทย์ 45 คดี ไกล่เกลี่ยจบชั้นศาล 164 คดี และแพ้ 21 คดี ต้องจ่ายเงินให้ผู้ร้อง 36 ล้านบาท แจงมาตรการ 2P safety ช่วยแก้ไขปัญหาได้ พร้อมจับมือ สปสช. – ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอิสระ – สถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล คัดเลือกศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพดีเด่นระดับเขต

นพ.อิทธิพล สูงแข็ง

วันที่ 9 มกราคม 2562 ณ โรงแรมอวานี อ.เมือง จ.ขอนแก่น นพ.อิทธิพล สูงแข็ง ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข และผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุม 4 จังหวัด ร้อยแก่นสารสินธุ์ (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์) บรรยายพิเศษเรื่องการบริหารจัดการความขัดแย้งในหน่วยบริการ ในการประชุมพัฒนาศักยภาพศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ ซึ่งจัดโดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น ว่าสถานการณ์เรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ด้านสาธารณสุขมีเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ประมาณ 1,000 ราย/ปี หลังจากรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม มาตรา 41 ไปแล้ว ผู้เสียหายได้ไปฟ้องร้องทั้งทางแพ่ง และคดีผู้บริโภคประมาณ 20 คดีต่อปี หรือ 2% ของผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ

นพ.อิทธิพล กล่าวต่อว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 หลังจาก พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เป็นต้นมา การฟ้องร้องด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่จะเป็นการฟ้องคดีผู้บริโภค ไม่ใช่การฟ้องในคดีแพ่งเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมด้วยการให้ความรู้ อบรมเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล การกำหนดนโยบายความปลอดภัย ฯลฯ เนื่องจากคดีผู้บริโภคนั้นไม่มีอายุความ ผู้ฟ้องไม่ต้องวางเงินมัดจำกับศาล และเป็นหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาจะต้องเป็นผู้หาหลักฐานมาหักล้างคำฟ้อง

นพ.อิทธิพล กล่าวว่า จากสถิติการฟ้องร้องทางการแพทย์ย้อนหลัง 20 ปี ( 2539 - 31 ตุลาคม 2560) พบว่ามีการฟ้องร้องคดีฟ้องแพ่ง จำนวน 287 คดี คดีผู้บริโภค จำนวน 168 คดี คดีปกครอง 3 คดี รวมเป็น 499 คดี ทุนทรัพย์ที่ฟ้องรวมประมาณ 3,192 ล้านบาท จากคดีทั้งหมดที่ฟ้องร้อง มีคดีที่ศาลตัดสินถึงที่สุดแล้ว 66 คดี กระทรวงสาธารณสุข ชนะ 45 คดี แพ้ 21 คดี และมีการถอนฟ้องด้วยการไกล่เกลี่ยได้จบในชั้นศาล จำนวน 164 คดี

จากสถิติพบว่าสาเหตุการฟ้องคดีกว่าครึ่งหนึ่งของคดีเป็นการรักษาผิดพลาด วินิจฉัยผิดพลาด รองลงมาเป็นการคลอด พฤติกรรมบริการ แพ้ยา รักษาผิดมาตรฐาน และคดีที่ศาลตัดสินจนถึงที่สุดและกระทรวงสาธารณสุขต้องชำระเงินให้กับผู้ฟ้องตามคำพิพากษาแล้ว 36 ล้านบาท

นพ.อิทธิพล กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้วางกรอบยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย Patient and Personal safety (2P safety) โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประเทศไทยมีระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสำหรับทุกคน ทั้งผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข โดยมุ่งเน้นการแก้ไขเพื่อการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล และลดปัญหาการฟ้องร้องทางการแพทย์ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งผู้ป่วย ภาคประชาชน บุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

นพ.อิทธิพล กล่าวว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ 2P safety ในโรงพยาบาล คือ ผู้บริหารจะต้องกำหนดให้ 2P safety เป็นนโยบาย และมีการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และมีการรายงานความเสี่ยง จัดเวทีสร้างการเรียนรู้ และมีการติดตาม ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการคัดเลือกศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ และการบริหารจัดการความขัดแย้งในหน่วยบริการดีเด่นระดับเทศ ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง ศูนย์สันติวิธี กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), หน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียนตามมาตรา 50(5) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งขาติ พ.ศ. 2545, และ สถานบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) โดยมีเป้าหมายที่จะต้องมีศูนย์บริการฯ ที่ดีเด่นระดับเขต จำนวน 13 เขต แบ่งเป็น โรงพยาบาลขนาดเตียงไม่เกิน 150 เตียง และ โรงพยาบาลที่มีขนาดเตียงตั้งแต่ 150 เตียงขึ้นไป

ทั้งนี้ กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สรุปสาเหตุการฟ้องร้องทางการแพทย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2560) พบว่า มีสาเหตุ คือ

1. รักษาผิดพลาด จำนวน 143 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 108 คดี โรงพยาบาลชุมชน 35 คดี

2. การคลอด จำนวน 69 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 41 คดี โรงพยาบาลชุมชน 28 คดี

3. ไม่เอาใจใส่ดูแล (พฤติกรรมบริการ) จำนวน 23 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 21 คดี โรงพยาบาลชุมชน 2 คดี

4. วินิจฉัยผิดพลาด จำนวน 27 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 21 คดี โรงพยาบาลชุมชน 6 คดี

5. แพ้ยา จำนวน 11 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 4 คดี โรงพยาบาลชุมชน 11 คดี

6. รักษาผิดมาตรฐาน จำนวน 6 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 3 คดี โรงพยาบาลชุมชน 3 คดี

7. อุปกรณ์ในการรักษา จำนวน 2 คดี แบ่งเป็น ใน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 2 คดี

กดถูกใจแฟนเพจ Hfocus.org บน Facebook ติดตามข่าวสารระบบสุขภาพทุกความเคลื่อนไหว
https://www.hfocus.org/content/2019/01/16725?fbclid=IwAR1uwa_abDM40ijVycKJqBGhdHYwTJoj9PZgh-AqpGYCsVb12zPxOgwV4TI




Create Date : 11 มกราคม 2562
Last Update : 11 มกราคม 2562 12:35:39 น. 0 comments
Counter : 1024 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]