Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ไม่ยากหาก "นายกฯอภิสิทธิ์" คิดจะทำ ... โดย ลม สลาตัน (ไทยรัฐ) .. (เป็นเรื่อง พรบ.คุ้มครองฯ)

ไม่ยากหาก "นายกฯอภิสิทธิ์" คิดจะทำ

//www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/104221

จากสถิติของธนาคารโลกระบุว่า ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในด้านการ ดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน แค่ 136 เหรียญสหรัฐฯต่อคนต่อปี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ประมาณ 802 เหรียญสหรัฐฯต่อคนต่อปี

ใน ขณะที่มาเลเซียมีค่าใช้จ่ายนี้ 309 เหรียญ สิงคโปร์ 1,148 เหรียญ ญี่ปุ่น 2,751 เหรียญ ออสเตรเลีย 3,968 เหรียญ สหรัฐอเมริกา 7,285 เหรียญ

สาเหตุ หนึ่งที่ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพประชาชนต่ำมาก ก็คือนโยบายประชานิยมที่ทำให้ประชาชน 47 ล้านคน มีสิทธิรับการรักษาพยาบาล ฟรีในระบบหลักประกันสุขภาพ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะจัดงบประมาณให้โรงพยาบาลที่ต้องรักษา ผู้ป่วย 600 บาท หรือน้อยกว่า 20 เหรียญสหรัฐฯต่อคนต่อปี

จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่โรงพยาบาลของรัฐ ที่ต้องรับผิดชอบดูแลรักษาประชาชน 47 ล้านคน จะมีสภาพการเงินติดลบถึง 2 ใน 3 และกว่า 300 แห่ง ขาดสภาพคล่องทางการเงิน

นอก จากความขาดแคลนงบประมาณแล้ว ยังขาดบุคลากรในปริมาณที่เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วย เห็นได้ชัดว่าพยาบาลต้องทำงานควบเวร 16 ชั่วโมง แพทย์ต้องทำงานติดต่อกันกว่า 32 ชั่วโมง โดยไม่ได้พักผ่อนนอนหลับอย่างเต็มที่

เพราะแพทย์มีหน้าที่เวรที่ต้อง ตื่นตลอดในห้องฉุกเฉิน และยังมีเวรที่หลับๆตื่นๆดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลอีก หมดหน้าที่แพทย์เวรแล้วก็ยังกลับไปพักผ่อนไม่ได้ ต้องทำหน้าที่แพทย์ประจำในเวลาราชการต่อไปอีก จนหมดเวลาราชการจึงจะไปพักผ่อนนอนหลับได้

เชื่อหรือไม่ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนแพทย์ต่อประชาชน 1 ต่อ 30,000 คน ในขณะที่ประเทศสวีเดนสัดส่วนคือ 1 ต่อ 322

ไม่ต้องกล่าวถึงบุคลากรในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันตลอดปี แต่ไม่สามารถบรรจุบุคลากรเข้าทำงานได้ เพราะข้อจำกัดของ ก.พ. โรงพยาบาลจึงต้องเจียดเงินในลิ้นชักมาจ้างบุคลากรต่างๆมาช่วยงาน แต่ก็ยังไม่พออยู่ดี

จึงไม่แปลกอะไรที่โรงพยาบาลของรัฐบาล จะจัดงานระดมทุนหรือขอรับบริจาค โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงก็หาเงินบริจาคได้มาก แต่โรงพยาบาลเล็กๆจะไปหาเงินจากที่ไหน

โดยสรุปก็คือโรงพยาบาล ของกระทรวงสาธารณสุข ขาดทั้งคน เงิน ยารักษาโรคและเครื่องไม้เครื่องมือ แต่ทุกคนก็ยังก้มหน้าก้มตาทำงานตามหน้าที่อย่างมีจรรยาบรรณ ดูแลรักษาประชาชนจนเกินกำลังความสามารถ ยอมทำงานยาวนานติดต่อกันจนร่างกายจะรับไม่ไหว จนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความผิดพลาด และส่งผลเสียหายต่อผู้ป่วย

ความจริงที่เกิดขึ้นคือหมอเหนื่อย เครียด สื่อสารกับคนไข้ไม่ดี รักษาหายแต่คนไข้อาจจะไม่พอใจ หรือตรวจคนไข้มากๆโอกาสพลาดก็มาก

ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขนั้น โดยเจตนารมณ์แล้วถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ที่บอกว่าถ้าประชาชนได้รับการเยียวยาคือได้เงินชดเชยแล้ว จะทำให้การร้องเรียนฟ้องร้องลดลงนั้นคงไม่จริง เพราะตราบใดที่แพทย์ไทยยังต้องดูแลคนไข้จนมือเป็นระวิงแบบนี้ นั่นก็คือโอกาสที่หมอจะเหนื่อย เครียด และสื่อสารกับคนไข้ไม่ดี แม้จะรักษาหาย แต่คนไข้ก็อาจจะไม่พอใจ หรือตรวจคนไข้มากจนเกินความพอดีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดก็มากขึ้น

ขณะ ที่ นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มองปัญหาไม่ตรงจุด เอะอะก็โยนให้กระทรวงสาธารณสุขไปดูแล ทั้งๆที่กระทรวงสาธารณสุขมีแพทย์แค่ 1,200 คน บางคนก็ไม่ได้ทำงานตรวจรักษาคนไข้แล้ว ในขณะที่ทั้งประเทศมีแพทย์เกือบ 30,000 คน ทำไมไม่ให้หมอที่ปฏิบัติงานอยู่รู้เห็นปัญหาออกมา ช่วยกันให้ข้อมูลระดมสมองเพื่อปรับแก้กฎหมายให้ดีที่สุด ลดช่องว่างความไม่ไว้วางใจระหว่างหมอกับคนไข้ให้ได้มากที่สุด

หาก นายกฯยังไม่เข้าใจปัญหาในจุดนี้ แนะนำว่าให้ไปถามคุณหมอ ท่านหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี เคยเป็นอดีต รมช.สาธารณสุข รับรู้ปัญหาเป็นอย่างดี อาจได้รับคำแนะนำที่ดีกว่าจะฟังแต่เฉพาะหมอเอ็นจีโอที่ไม่เคยตรวจคนไข้

คุณหมอคนนั้นชื่อ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ครับ คิดว่านายกฯคงติดต่อพูดคุยกับท่านได้ไม่ยาก.

"ลม สลาตัน"






Create Date : 19 สิงหาคม 2553
Last Update : 19 สิงหาคม 2553 17:36:27 น. 1 comments
Counter : 2841 Pageviews.  

 
ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:16:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]