Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคตายคาถนน! หายนะภัยทางสังคม-เศรษฐกิจไทย ..ตายวันละ 50 คน ไม่เห็นมีใครกลัว ? .. คัดลอกจาก Isranews

โรคตายคาถนน! หายนะภัยทางสังคม-เศรษฐกิจไทย

เขียนวันที่
วันอังคาร ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 17:48 น.
เขียนโดย
ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์
หมวดหมู่
1.3k Shares
Share
Tweet

"...ณัชชาระบุว่า อุบัติเหตุทางถนนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสบภัยเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยโดยรวมอย่างมหาศาล เพราะการเสียชีวิตจากและบาดเจ็บทั้งทางกายและใจจากอุบัติเหตุ ทำให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวสูญเสียผลิตภาพ ส่งผลต่อผลิตภาพโดยรวมของประเทศ..."

 prasong500x300

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมโพสต์ลงเฟซบุ๊ก ‘prasong_lert’ เกี่ยวกับการตายบนท้องถนนในประเทศไทยว่า เป็นอันตรายร้ายแรงกว่าโรคใดๆ ทั้งสิ้น

ข้อความแรกเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2563 “คนไทยตายวันละ 50-60 คน ปีละ 2 หมื่นจากอุบัติเหตุบนถนน ไม่เห็นมีใครกลัว?”

ปฎิกิริยาที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นไปในทางบวก บางคนไม่ทราบว่า สังคมไทยสูญเสียมากมายขนาดนี้เพราะภาพจำคือมีการรณรงค์การลดอุบัติเหตุเฉพาะในช่วง 7 วันอันตราย ปีใหม่และสงกรานต์เท่านั้น

มีเพียงคนเดียวแสดงความเห็นว่า “ไม่รู้จักกาลเทศะ”อ้างว่า เรื่องไวรัสโคโรนาเป็นเรื่องใหม่ สังคมไทยต้องศึกษาและเรียนรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักและป้องกันตนเอง

ผมชี้แจงว่า ไม่ได้ห้ามมิให้ใครศึกษาเรียนรู้เรื่องการแพร่ระบาด การติดต่อและการป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัส แต่ที่โพสต์เรื่องการตายบนท้องถนนในช่วงเวลานี้เพื่อให้สังคมไทยและผู้มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายตระหนักในเรื่องการตายบนท้องถนนที่เป็นปัญหาใหญ่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สังคม-เศรษฐกิจไทยต่อเนื่องมานานนับสิบๆปีในลักษณะเดียวกับการตื่นตัวเรื่องไวรัสโคโรนา

วันต่อๆมา ผมนำสถิติเรื่องการตาย-บาดเจ็บบนท้องถนนที่มีการแจ้งผ่าน ‘ศูนย์รับแจ้งเหตุ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด( www.thairsc.com )มานำเสนออย่างต่อเนื่องพบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563-3 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ตายรวมกันถึง 1,589 ศพ หรือเฉลี่ยวันละประมาณ 47 ศพ(บางวันสูงถึง 77 ศพ) ในจำนวนนี้เกิดจากมอเตอร์ไซค์ประมาณ 70-80%

prasong2

ในจำนวนผู้ตายเกือบ 1,600 คนนั้น ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน วัยรุ่น และมีเด็ก(อายุต่ำกว่า 15 ปี)รวมอยู่ด้วย 45 ศพ และชาวต่างชาติ 51 ศพ

ถ้าเรายังไม่ทำอะไร ปล่อยให้อัตราการตายอยู่วันละประมาณ 50 ศพ ทั้งปีคงมีคนเป็น ‘โรคตายคาถนน’ประมาณ 20,000 ศพ เท่ากับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นในช่วง 10 ปี สังคมไทย เป็น ‘โรคตายคาถนน’มากกว่า 200,000 คน

ร้ายแรงกว่าอุบัติภัยใดๆในประเทศไทยที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ แต่สังคมไทยยังอยู่กับมันเป็นปกติสุข?

ตัวเลขการตายข้างต้น ยังไม่รวมตัวเลขผู้บาดเจ็บที่เฉลี่ยวันละกว่า 2,000-3,000 คน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้บาดเจ็บสะสม 104,207 คน ในจำนวนนี้ไม่มีรายงานว่า บาดเจ็บสาหัสจำนวนเท่าไหร่

แต่ถ้าอัตราการบาดเจ็บเฉลี่ยวันละประมาณ 3,000 คนเช่นนี้ ทั้งปีจะมีผู้บาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 1.1 ล้านคน

ถ้าเสียชีวิต อาจจะมีครอบครัวที่กำพร้าพ่อแม่ สูญเสียลูกๆ คนอันเป็นที่รัก แต่ถ้าบาดเจ็บพิการ นอกจากต้องเจ็บปวดทรมานแล้ว ต้องกลายเป็นภาระของสังคมในการดูแลรักษา

ความสูญเสียเหล่านี้ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่าไหร่ในแต่ละปี จากการศึกษาของณัชชา โอเจริญ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)ระบุว่าไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านบาทต่อปี

ณัชชาระบุว่า อุบัติเหตุทางถนนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสบภัยเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยโดยรวมอย่างมหาศาล เพราะการเสียชีวิตจากและบาดเจ็บทั้งทางกายและใจจากอุบัติเหตุ ทำให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวสูญเสียผลิตภาพ ส่งผลต่อผลิตภาพโดยรวมของประเทศ

นอกจากนี้ อุบัติเหตุยังก่อให้เกิดต้นทุนอื่นๆ เช่น ต้นทุนในการดำเนินคดี ต้นทุนจากผลกระทบต่อสภาพการจราจร เป็นต้น

ข้อมูลสถิติผู้เสียชีวิตที่บูรณาการจากข้อมูลจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แสดงให้เห็นว่า มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรประมาณ 22,281 คนต่อปี ส่วนผู้บาดเจ็บสาหัส ซึ่งอ้างอิงจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีจำนวนเฉลี่ย 107,542 คนต่อปี ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนทั้งหมด

ทีดีอาร์ไอ ได้คำนวณมูลค่าความสูญเสียจากการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุจราจรจากพื้นที่ในจังหวัดสระบุรี ด้วยวิธีการประเมินความเต็มใจที่จะจ่ายในการลดอุบัติเหตุทางถนนของคนในพื้นที่ พบว่า การเสียชีวิตมีมูลค่าเท่ากับประมาณ 10 ล้านบาทต่อราย ในขณะที่การบาดเจ็บสาหัสมีมูลค่าเท่ากับประมาณ 3 ล้านบาทต่อราย

ผู้วิจัยได้อ้างอิงมูลค่าดังกล่าวในการประเมินความสูญเสียของทั้งประเทศ เนื่องจากพื้นที่ที่ทำการสำรวจเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท จึงสามารถเป็นพื้นที่ตัวแทนของทั้งประเทศได้ จากข้อมูลดังกล่าว คณะผู้วิจัยพบว่า ในช่วงปี 2554-2556 มูลค่าของอุบัติเหตุเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 545,435 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) (ดูตารางประกอบ)

StatRoadSafety

(อ่านรายละเอียด https://tdri.or.th/2017/08/econ_traffic_accidents/)

เมื่อ ‘โรคตายคาถนน’ เป็นอุบัติภัยร้ายแรง เป็นหายนะภัยเช่นนี้ สังคมไทยยังจะทบอยู่กับมันอย่าง ‘ชาชิน’เช่นนี้ต่อไปอีกหรือ

https://www.isranews.org/isranews-article/85237-prasong-85237.html?fbclid=IwAR0KBX0Zqp3P3nq61DIz-ha78NTZiCIbDNYAScs2k4OT2nXBbB7qH5Ww-b4


*********************************************

แถม

 

7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T ( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา ? ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-04-2017&group=30&gblog=2
7 วันอันตราย ปีใหม่ 2561 (28ธค.60-3มค.61) มาตรการเพียบ รอลุ้นผลว่าจะเป็นอย่างไร https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-12-2017&group=30&gblog=4
รวม 7 วันอันตรายปีใหม่เทศ 2562 เจ็บน้อย แต่ ตายเยอะกว่าปีก่อน  https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2019&group=30&gblog=12
รวม 7 วันอันตรายปีใหม่เทศ 2561 เสียชีวิต 423 คน ลดลงจากปี 60 ร้อยละ 11 ( น่าพอใจ ???) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-01-2018&group=30&gblog=8
รวม 7 วันอันตรายปีใหม่ไทย (สงกรานต์) 2561 เสียชีวิต 418 ราย (เจ็บตายมากกว่าปีที่แล้ว) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-04-2018&group=30&gblog=9
เปิดข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน บาดเจ็บปีละ 6.6 หมื่นราย ตาย 3.4 พัน (ปี 2558-2561) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-11-2019&group=30&gblog=14
WHO ชี้ไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 2 หมื่นคนต่อปี สูญเสียมากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-05-2019&group=30&gblog=13
คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน  https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1
ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตาย จากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3
ล้านแล้วจ้า .. สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี ๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง "หนึ่งล้านคน"  https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2018&group=30&gblog=5
ปี 2561ประเทศไทยของเราทำลายสถิติ " มีคน เจ็บตาย บนถนน เกินหนึ่งล้านคน " ครองแชมป์โลกอีกหนึ่งสมัย  https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2018&group=30&gblog=11
โรคตายคาถนน! หายนะภัยทางสังคม-เศรษฐกิจไทย ..ตายวันละ 50 คน ไม่เห็นมีใครกลัว ? .. คัดลอกจาก Isranews https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=05-02-2020&group=30&gblog=15
แก้ปัญหาวินัยจราจร ต้องไม่ใช้ตำรวจ ... By Dr.Adune https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7
อุบัติเหตุไม่ลด เพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6
ขับขี่ปลอดภัย มีอะไรมากกว่า "จิตสำนึก" 9 เหตุผลที่สวีเดน ลดการเสียชีวิตบนท้องถนนได้อย่างน่าทึ่ง https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=18-04-2018&group=30&gblog=10




 

Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2563   
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2563 15:22:10 น.   
Counter : 2229 Pageviews.  

เปิดข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน บาดเจ็บปีละ 6.6 หมื่นราย ตาย 3.4 พัน (ปี 2558-2561)

 

เปิดข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน บาดเจ็บปีละ 6.6 หมื่นราย ตาย 3.4 พัน คนเดินถนนเสี่ยงตายกว่าผู้ขับขี่

สปสช.เปิดข้อมูล “ผู้ได้รับบาดเจ็บ-เสียชีวิต” จากอุบัติเหตุ พบยอดบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนปีละกว่า 6.6 หมื่นราย ตาย 3.4 พันราย คนเดินเท้ามีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ขับขี่ โดยอัตราการตายจะเพิ่มสูงขึ้นตามช่วงวัย

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอุบัติภัยบนท้องถนนสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่าปัญหาอุบัติเหตุทางถนนนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของไทย และจากข้อมูลการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการขนส่งทางบกที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นข้อมูลประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น (อปท.) ระหว่างปี 2558-2561 พบว่า รวม 4 ปี มีผู้บาดเจ็บ 265,243 ราย เสียชีวิต 13,861 ราย ค่ารักษากว่า 6,015 ล้านบาท แยกเป็นแต่ละปี ดังนี้ ปี 2558 บาดเจ็บ 62,773 ราย เสียชีวิต 3,509 ราย ค่ารักษา 1,308 ล้านบาท, ปี 2559 บาดเจ็บ 63,981 ราย เสียชีวิต 3,486 ราย ค่ารักษา 1,534 ล้านบาท, ปี 2560 บาดเจ็บ 67,517 ราย เสียชีวิต 3,440 ราย ค่ารักษา 1,529 ล้านบาท และ ปี 2561 บาดเจ็บ 70,972 ราย เสียชีวิต 3,426 ราย ค่ารักษา 1,644 ล้านบาท

ตลอดระยะเวลา 4 ปี ของการเก็บข้อมูล มีประชาชนคนเดินเท้าที่ได้รับบาดเจ็บ 10,672 ราย เสียชีวิต 916 ราย คิดเป็น 8.6% ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในหมวดอุบัติเหตุ เมื่อเทียบเคียงระหว่างการบาดเจ็บและเสียชีวิต ทั้งยังพบว่าเมื่อเกิดการบาดเจ็บ ผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี) มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าทุกช่วงวัย และอัตราการเสียชีวิตจะลดหลั่นลงมาตามลำดับช่วงอายุ กล่าวคือผู้ที่มีอายุน้อยจะมีอัตราการเสียชีวิตที่น้อยกว่าผู้ที่มีอายุมาก

สำหรับกลุ่มผู้ที่มีจำนวนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมากที่สุดในหมวดอุบัติเหตุ ได้แก่ ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ บาดเจ็บ 210,963 ราย เสียชีวิต 11,177 ราย คิดเป็น 5.3% ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ รองลงมาคือผู้ที่ใช้จักรยาน บาดเจ็บ 28,728 ราย เสียชีวิต 608 ราย คิดเป็น 2.1 ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

ในส่วนของประเภทการชนนั้น พบว่าอันดับหนึ่งคือขับขี่ล้มหรือคว่ำเองโดยไม่เกี่ยวกับการชน บาดเจ็บ 135,980 ราย เสียชีวิต 4,899 ราย คิดเป็น 3.6% ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ รองลงมาคือชนกับรถยนต์ รถกระบะบรรทุกเล็กหรือรถตู้ บาดเจ็บ 63,692 ราย เสียชีวิต 4,348 ราย คิดเป็น 6.8% ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนสิ่งที่ทำให้เปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตสูงที่สุดคือการชนกับรถไฟ มีผู้บาดเจ็บ 333 ราย เสียชีวิต 35 ราย คิดเป็น 10.5% ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

นอกจากนี้ เมื่อสำรวจสถิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง พบว่าคนเดินเท้ามีสัดส่วนการเสียชีวิตที่สูงกว่าผู้ขับขี่ โดยตลอด 4 ปี มีคนเดินเท้าบาดเจ็บทั้งสิ้น 10,672 ราย เสียชีวิต 916 ราย คิดเป็นสัดส่วน 8.58% ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ขณะที่ผู้ขับขี่ได้รับบาดเจ็บ 215,794 ราย เสียชีวิต 10,752 ราย คิดเป็น 4.98% ของผู้ที่ได้บาดเจ็บ

“เมื่อเปรียบเทียบผู้บาดเจ็บระหว่างปี 2558-2561 พบว่ามี 9 จังหวัดที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ได้แก่ บึงกาฬ ชัยภูมิ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตรัง พัทลุง สตูล ปัตตานี นราธิวาส และอีก 3 จังหวัดที่ลดน้อยลงกว่า 5% ได้แก่ อุบลราชธานี สุพรรณบุรี และชัยนาท” เลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับรักษาพยาบาล พบว่าในปีงบประมาณ 2561 มีผู้ป่วย 70,972 ราย โดย สปสช. จ่ายชดเชยไปทั้งสิ้น 1,644 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีผู้ป่วย 62,773 ราย จ่ายชดเชยเป็นจำนวน 1,308 ล้านบาท

นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวต่อว่า จากข้อมูลดังกล่าวซึ่งเก็บเฉพาะประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น (อปท.) ก็จะเห็นว่าปัญหาอุบัติภัยทางถนนเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย และมีแนวโมเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมาภาครัฐและเอกชนพยายามแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นมาตรการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การรณรงค์ต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นวาระแห่งชาติของไทยที่ต้องทำเป็นระบบและดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อลดความสูญเสียดังกล่าว


 

https://www.hfocus.org/content/2019/11/18045?fbclid=IwAR1GxDAZyuHpqDC3fh_2RpfrVC8AthRZEYVd8lJ4c8iPgJGySpEfs2VhP8I


สรุปตัวเลขให้จำง่าย ๆ ... ตาย ๑๐ คน ต่อวัน ( ๓,๕๐๐ คนต่อปี ) ... ไม่ตกใจ กันบ้างหรือ ?

ปล. ปี 2558-2561 พบว่า รวม 4 ปี มีผู้บาดเจ็บ 265,243 ราย เสียชีวิต 13,861 ราย ค่ารักษากว่า 6,015 ล้านบาท ... แล้วก็ยังน่าจะตายต่อเนื่อง แบบนี้ไปอีกนานหลายปี T_T

เปิดข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน บาดเจ็บปีละ 6.6 หมื่นราย ตาย 3.4 พัน (ปี 2558-2561)    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-11-2019&group=30&gblog=14

WHO ชี้ไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 2 หมื่นคนต่อปี สูญเสียมากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=09-05-2019&group=30&gblog=13

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน     
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

ปี 2561ประเทศไทยของเราทำลายสถิติ " มีคน เจ็บตาย บนถนน เกินหนึ่งล้านคน " ครองแชมป์โลกอีกหนึ่งสมัย     
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2018&group=30&gblog=11

แก้ปัญหาวินัยจราจร ต้องไม่ใช้ตำรวจ ... By Dr.Adune    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7

อุบัติเหตุไม่ลด เพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6
 




 

Create Date : 16 พฤศจิกายน 2562   
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2562 14:41:20 น.   
Counter : 1650 Pageviews.  

WHO ชี้ไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 2 หมื่นคนต่อปี สูญเสียมากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี

WHO ชี้ไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 2 หมื่นคนต่อปี สูญเสียมากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี

08 พ.ค. 2019
 
ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน พบข้อมูลกลุ่มอายุ 15-19 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุด้วยรถจักรยานยนต์มากเป็นอันดับ 1 ของไทย สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก ระบุสาเหตุการเสียชีวิตของไทยมาจากอบุติเหตุทางถนน

จากรายงานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO และข้อมูล 3 ฐานของประเทศไทยระบุว่า อุบัติเหตุทางถนน คือสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยมากกว่า 20,000 คนต่อปี หรือประมาณ 60 คนต่อวัน โดยเฉพาะในกลุ่มเพศชายอายุ 15-24 ปี และสถิติที่ผ่านมาพบว่า 1 ใน 3 ของผู้พิการหรือเสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัว



ความเสียหายทางเศรษฐกิจจึงมีมูลค่ามหาศาล โดยผลการศึกษาเรื่องมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากอุบัติเหตุพบว่า มีความสูญเสียมากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี กรณีเสียชีวิตความสูญเสียมีมูลค่าเฉลี่ย 5,300,000 บาท แต่หากพิการมูลค่าความสูญเสียจะสูงกว่าคือเฉลี่ยประมาณ 6,200,000 บาทโดยเฉลี่ย เห็นได้ชัดว่าความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นประเด็นใหญ่ของประเทศไทย



น.พ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ระบุว่า ปัจจัยหลักของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเกิดจากปัจจัย 3 อย่างคือ
1. คน พบสถิติมากถึง 95.5 เปอร์เซ็น
2. ยานพาหนะ 21.5 เปอร์เซ็น
3. ถนนหรือสิ่งแวดล้อม 27.6 เปอร์เซ็น
 
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น คือ
1.ความเร็ว
2.การไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย
3.หลับใน และดื่มแล้วขับ ถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรง
4.สภาพถนนอันตรายข้างทาง
 
ส่วนอันดับหนึ่งในการเสียชีวิตคือ รถจักรยานยนต์ พบในคน 2 กลุ่ม ช่วงอายุระหว่าง 15-19 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ 2,071 รายต่อปี และ กลุ่มอายุ 10-14 ปี ซึ่งกลุ่มนี้มีแนวโน้มสูงขึ้น
น.พ.ธนะพงศ์ ระบุด้วยว่า การเกิดอุบัติเหตุป้องกันและลดการสูญเสียได้ด้วยการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ใน 3 กรณี คือ
1. จัดการระบบที่ดี จะลดความสูญเสียได้ ซึ่งมนุษย์ มักผิดพลาดได้เสมอ แต่หากมีการสื่อสารจะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ 
2. ลดหรือเลิก สื่อสารเพื่อโยงโชคชะตาอาถรรพ์
3. เพิ่มการสอบสวน และสื่อสาร เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้สังคม โดยการเจาะลึกถึงรากของปัญหา ปัจจัยเชิงระบบ เช่น กรณีเกิดอุบัติเหตุแล้วคนขับรอด ควรเสนอในเรื่องการคาดเข็มขัด หรือมีระบบ safety ที่ดี ไม่ใช่พุ่งเป้าไปที่ห้อยพระอะไร วัดไหน
 
 




 

Create Date : 09 พฤษภาคม 2562   
Last Update : 9 พฤษภาคม 2562 17:06:42 น.   
Counter : 2092 Pageviews.  

รวม 7 วันอันตรายปีใหม่เทศ 2562 เจ็บน้อย แต่ ตายเยอะกว่าปีก่อน





ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน(ศปภ.) ได้สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2561 –2 มกราคม 2562

เกิดอุบัติเหตุรวม3,791 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 463 ราย และผู้บาดเจ็บรวม 3,892 คน

จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตมี 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ตาก สมุทรสงคราม สตูล

จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราช 118 ครั้ง

จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุดเป็นจังหวัดนครราชสีมา 25 ราย

จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุดเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราช 137 คน

ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงกว่าปีที่แล้วส่วนอุบัติเหตุและผู้บาดเจ็บลดลง

สาเหตุหลักเกิดจากการดื่มแล้วขับ และขับรถเร็ว รวมถึงผู้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นกลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง

ปล.มาตรการที่ทำกันมาหลายปี น่าจะต้องหาวิธีอื่นได้แล้วนะครับ หาวิธีใหม่ ๆนำมาลองใช้ได้เลย ได้ผลหรือไม่ได้ผลก็ค่อยว่ากัน ดีกว่าจะปล่อยให้เป็นแบบนี้

ปีใหม่ 2562เกิดอุบัติเหตุ 3,791 ครั้ง ตาย 463 ราย เจ็บ 3,892 คน

ปีใหม่ 2561เกิดอุบัติเหตุ 3,841 ครั้ง ตาย 423 ราย เจ็บ 4,005 คน

ปีใหม่ 2560เกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง ตาย 478 ราย เจ็บ 4,128 ราย

ปีใหม่ 2559เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380 ราย เจ็บ 3,505 ราย

ปีใหม่ 2558เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341คน เจ็บ 3,117 คนน

*********************************************************

" เทศกาลแห่งความสุขแต่กลายเป็นวันสูญเสียของหลายร้อยครอบครัว จากอุบัติเหตุบนถนน ...วันหนึ่งอาจเป็นครอบครัวเรา ? "

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน(ศปถ.) กำหนดแนวทางปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2561 – 2มกราคม 2562 (รวม 7 วัน) โดยใช้ชื่อว่า “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร” โดยให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก คือการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด การดื่มแล้วขับ และการไม่สวมหมวกนิรภัย

ร่วมเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกัน-ลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงปีใหม่ทุกท่าน ใครผ่านไปก็นำของกิน-ขนม-น้ำดื่ม ฝากคนทำหน้าที่อยู่บ้างก็ดีนะครับ ทั้งตำรวจ ทหาร อพปร กู้ภัย หมอพยาบาลเจ้าหน้าที่ ฯลฯ อยู่กันเพียบ จะได้มีแรงกายแรงใจสู้งานหนักกันต่อไป

เดินทางใกล้ไกลแค่ระมัดระวังตนเองยังไม่พอต้องคอยดูคอยระวังรถคันอื่นด้วย เราขับดีแต่คนอื่นอาจไม่ ?

รถเยอะ คนแยะขับช้าๆ ใจเย็นๆ เดินทางปลอดภัยทุกท่าน นะครับ

ปล.มาตรการที่ทำกันมาหลายปี น่าจะต้องหาวิธีอื่นได้แล้วนะครับ หาวิธีใหม่ ๆนำมาลองใช้ได้เลย ได้ผลหรือไม่ได้ผลก็ค่อยว่ากัน ดีกว่าจะปล่อยให้เป็นแบบนี้

ปีใหม่ 2562 เกิดอุบัติเหตุ 3,791 ครั้ง ตาย 463 ราย เจ็บ 3,892คน

ปีใหม่ 2561 เกิดอุบัติเหตุ 3,841 ครั้ง ตาย 423 ราย เจ็บ 4,005คน

ปีใหม่ 2560 เกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง ตาย 478 ราย เจ็บ 4,128ราย

ปีใหม่ 2559 เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380 ราย เจ็บ 3,505ราย

ปีใหม่ 2558 เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341 คน เจ็บ 3,117คนน

ทั้งนี้ ข้อมูลของ"ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.)"มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุการเสียชีวิต และบาดเจ็บ (Admit)ช่วงการควบคุมเข้มข้น (7วัน) จำนวน 3 ปี ระหว่างปี 2558- 2560 พบว่า มีอุบัติเหตุเฉลี่ยวันละ 490 ครั้งมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 57ราย มีผู้บาดเจ็บเฉลี่ย วันละ 512คน "ปัจจัยเสี่ยง" พบว่ามีอยู่ 4ด้าน ได้แก่

1. ด้าน"คน" พฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนน อาทิความสามารถของผู้ขับขี่ลดลงเนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม/ การไม่ชำนาญเส้นทาง /การไม่เคารพกฎจราจร / ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน

2. ด้าน "ยานพาหนะ"ยานพาหนะไม่มีมาตรฐาน อาทิ ขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์พื้นฐานในรถยนต์ /อุปกรณ์ความปลอดภัย / การปรับแต่งสภาพยานพาหนะ/ การบรรทุกที่ไม่ปลอดภัย

3. ด้าน"ถนน"ลักษณะทางกายภาพของถนนไม่สมบูรณ์อาทิ ถนนชำรุด ผิวถนนเป็นหลุม บ่อ/สภาพการจราจรที่หนาแน่น / อุปกรณ์การควบคุมการจราจร ป้ายเตือน ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆมีสภาพไม่สมบูรณ์ และติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ชัดเจน/จุดเสี่ยงจุดอันตรายจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยและจุดตัดทางรถไฟยังไม่ได้รับการแก้ไข

4. ด้าน"สิ่งแวดล้อม" ไฟฟ้าส่องสว่างชำรุดและไม่เพียงพอ / อุปสรรคทางธรรมชาติและลักษณะภูมิอากาศ/ สิ่งกีดขวางตกหล่นบนช่องทางจราจร /วัตถุอันตรายขวางทาง / สิ่งกีดขวางทัศนวิสัย

7 วันอันตรายปีใหม่ไทยเทศตายเจ็บเพียบ T-T ( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา? )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-04-2017&group=30&gblog=2

ข้อมูลรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนนในรอบ24 ชั่วโมง

https://www.thairsc.com/

จังหวัดกำแพงเพชรจำนวนผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และลำดับความเสี่ยง

https://www.thairsc.com/p77/index/62

มาลุ้นกัน ปี 2561ว่า ประเทศไทยของเราจะทำลายสถิติ "มีคน เจ็บตาย บนถนน เกินหนึ่งล้านคน " ได้หรือเปล่า

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2018&group=30&gblog=11

ล้านแล้วจ้า ..สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี ๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง"หนึ่งล้านคน"

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2018&group=30&gblog=5

ไทยชนะแล้ว ...ประเทศที่มีการตาย จากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก(ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ1.5 หมื่นรายกระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

แก้ปัญหาวินัยจราจรต้องไม่ใช้ตำรวจ ... By Dr.Adune

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7

อุบัติเหตุไม่ลดเพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6

ขับขี่ปลอดภัยมีอะไรมากกว่า "จิตสำนึก" 9เหตุผลที่สวีเดน ลดการเสียชีวิตบนท้องถนนได้อย่างน่าทึ่ง

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=18-04-2018&group=30&gblog=10

*******************************

แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่พ.ศ. 2562 (ศปถ.)คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ข่าวการเมืองมติคณะรัฐมนตรี -- อังคารที่ 4ธันวาคม 2561 19:48:31 น.

เรื่องแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 (ศปถ.)คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการ ความปลอดภัยทางถนนเสนอแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2561ได้มีมติเห็นชอบแผนบูรณาการดังกล่าว เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัดและอำเภอ ใช้เป็นกรอบแนวทางใน การดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

1. หัวข้อในการรณรงค์“ขับรถมีน้ำใจรักษาวินัยจราจร”

2. ช่วงเวลาการดำเนินการกำหนดเป็น 2 ช่วง ดังนี้

2.1ช่วงเตรียมความพร้อมและการรณรงค์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 26ธันวาคม 2561

2.2ช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 27ธันวาคม 2561 – 2 มกราคม 2562

3. วัตถุประสงค์

3.1 เพื่อกำหนดเป้าหมายมาตรการ แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆในการบูรณาการการดำเนินงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและป้องกันการเกิดอุบัติภัยอื่นๆ ในช่วงเทศกาลปีใหม่

3.2เพื่อให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องนำแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562ไปเป็นแนวทางการบูรณาการการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและมีเอกภาพรวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานตามอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบ

3.3เพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติรวมทั้งการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน(ศปถ.) ทุกระดับในช่วงเทศกาลปีใหม่

4. การประเมินความเสี่ยง

ศปถ.ได้นำหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงในระดับพื้นที่ตามระบบการเตือนภัยของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติพ.ศ. 2558 มาวิเคราะห์จากจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2559 – 2561) โดยกำหนดให้มีระดับของความเสี่ยง 4 ระดับ ดังนี้

สีแดง หมายถึงสถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูงสุดโดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้งต่อวันขึ้นไป

สีส้ม หมายถึงสถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูงโดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลตั้งแต่ 1.00 – 1.99 ครั้งต่อวัน

สีเหลือง หมายถึงสถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย โดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลตั้งแต่ 0.01 – 0.99 ครั้งต่อวัน

สีเขียว หมายถึงสถานการณ์อยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงน้อยโดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลเท่ากับ 0.00

ผลการประเมินความเสี่ยงในช่วงเทศกาลปีใหม่เฉลี่ย3 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2559– 2561

ลำดับระดับความเสี่ยง ช่วงเทศกาลปีใหม่

1อำเภอในระดับความเสี่ยงสีแดง จำนวน 35อำเภอ

2อำเภอในระดับความเสี่ยงสีส้ม จำนวน 109อำเภอ

3อำเภอในระดับความเสี่ยงสีเหลือง จำนวน 687อำเภอ

4อำเภอในระดับความเสี่ยงสีเขียว จำนวน 47อำเภอ

5. มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน

ได้กำหนดมาตรการในการดำเนินการช่วงเทศกาลปีใหม่พ.ศ. 2562เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนทั้งด้านคน ถนน ยานพาหนะและสิ่งแวดล้อมจำนวน 6 มาตรการหลัก และ 1 มาตรการเสริม ดังนี้

มาตรการ /สาระสำคัญ / หน่วยงานหลัก

1. มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน

- การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจัง และต่อเนื่อง

- ด้านสังคมและชุมชนเช่น ให้สมาชิกในครอบครัว คอยตักเตือน และเฝ้าระวังคนในครอบครัว

- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนน

- การดำเนินการด้านมาตรการองค์กรของหน่วยงานภาครัฐเช่นให้หน่วยงานรัฐกำชับเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีด้านวินัยจราจร

- กระทรวงมหาดไทย

- กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)

- กระทรวงคมนาคม(คค.)

- กรมสรรพสามัต

- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตช.)

- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)

- จังหวัด

- อำเภอ

- กรุงเทพมหานคร(กทม.)

- สำนักงานเขต

- หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

- ทุกส่วนราชการ

2. มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม

- มาตรการถนนปลอดภัย“1 ท้องถิ่น 1 ถนนปลอดภัย”โดยให้ อปท. ทุกแห่งจัดให้มีถนนปลอดภัยและสร้างวินัยจราจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน

- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและตรวจสอบลักษณะกายภาพของถนนจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดตัดรถไฟ และดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมให้มีความปลอดภัย

- ให้จัดเตรียมช่องทางพิเศษทางเลี่ยงทางลัดและจัดทำป้ายเตือนป้ายแนะนำต่าง ๆ ให้ชัดเจน

- ให้จังหวัดจัดให้มีจุดพักรถและจุดบริการต่างๆ

- ให้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างสัญญาณไฟจราจร เสาป้าย

- คค.

- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- ตช.

- กรมชลประทาน

- จังหวัด

- กทม.

- อปท.

3. มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ

- กำหนดมาตรการแนวทาง เพื่อกำกับ ควบคุม ดูแลรถโดยสารสาธารณะ และรถโดยสารไม่ประจำทางพนักงานขับรถโดยสาร พนักงานประจำรถ

- ขอความร่วมมือกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งให้หยุดประกอบกิจการหรือหลีกเลี่ยงการใช้รถบรรทุกในการประกอบกิจการในช่วงเทศกาลปีใหม่

- เข้มงวดกวดขันกับผู้ใช้รถกระบะที่บรรทุกน้ำหนักเกิน

- รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ผู้ขับขี่ ตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทางรวมถึงอันตรายจากการบรรทุกผู้โดยสารในกระบะท้าย

- คค.

- จังหวัด

- กทม.

4. มาตรการด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ

- จัดเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลแพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยกู้ชีพ และกู้ภัยทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือระบบการติดต่อสื่อสาร การสั่งการ ประสานงานและการแบ่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเครือข่ายและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน

- จัดเตรียมความพร้อมของระบบการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบเหตุณ จุดเกิดเหตุของแต่ละพื้นที่

- ประชาสัมพันธ์ระบบการช่วยเหลือต่างๆ ที่ผู้ประสบเหตุควรจะได้รับ

- สธ.

- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

- ตช.

- กระทรวงยุติธรรม

- สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมธุรกิจประกันภัย

- บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

- กทม.

- จังหวัด

- อำเภอ

- อปท.

5. มาตรการความปลอดภัยทางน้ำ

- ให้ คค.บูรณาการทำงานร่วมกับจังหวัด(เฉพาะจังหวัดที่มีการสัญจรทางน้ำและแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ) กทม. อปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการกำหนดมาตรการแนวทางการดูแลความปลอดภัยทางน้ำเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติต่าง ๆ

- คค.

- จังหวัด(เฉพาะจังหวัดที่มีการสัญจรทางน้ำและแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ)

- กองบังคับการตำรวจน้ำ

- กทม.

- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

6. มาตรการดูแลความปลอดภัย

- ให้จังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและกทม.พิจารณาหามาตรการหรือแนวทางในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็นพิเศษตามความเหมาะสมของพื้นที่เพื่อดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในช่วงเทศกาลปีใหม่

- จังหวัด

- กทม.

7. มาตรการเสริม

- ในพื้นที่อำเภอสีแดงและสีส้มให้เข้มงวด กวดขัน และกำหนดมาตรการ แนวทางการดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ

- ให้มีรางวัลสนับสนุนการปฏิบัติงานกับจังหวัดและอำเภอที่มีสถิติผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนดีเด่น

- ให้ ศปถ.จังหวัดและกทม.จัดตั้งคณะทำงานวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปประเด็นสำคัญและข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา นำเสนอต่อคณะกรรมการศปถ. จังหวัด/กทม.เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการแนวทางในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนต่อไป

- จังหวัด

- อำเภอ

ทั้งนี้ให้ใช้งบประมาณปกติของแต่ละหน่วยงานในการดำเนินงานช่วงเทศกาลปีใหม่ สำหรับ อปท.ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนตามคำสั่งของอปท.

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 ธันวาคม 2561--

อ่านต่อได้ที่ : https://www.ryt9.com/s/cabt/2924564

***********************************************





 

Create Date : 03 มกราคม 2562   
Last Update : 3 มกราคม 2562 21:51:06 น.   
Counter : 967 Pageviews.  

ปี 2561ประเทศไทยของเราทำลายสถิติ " มีคน เจ็บตาย บนถนน เกินหนึ่งล้านคน " ครองแชมป์โลกอีกหนึ่งสมัย







19 ธันวาคม 2561 ประเทศไทยของเรา ทำลายสถิติ " มีคน เจ็บตาย บนถนน เกินหนึ่งล้านคน " แล้วครับ .. น่าจะได้ตำแหน่ง  ประเทศที่มีการตาย จากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก มาครองอีกหนึ่งปี .. คาดว่า ปีต่อไปก็ไม่ต่างกัน ? เราจะปล่อยให้เป็นแบบนี้ ?

ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตาย จากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย)   
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3
ล้านแล้วจ้า .. สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี ๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง "หนึ่งล้านคน"    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2018&group=30&gblog=5
คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1
แก้ปัญหาวินัยจราจร ต้องไม่ใช้ตำรวจ ... By Dr.Adune   
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7
อุบัติเหตุไม่ลด เพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune   
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6
ขับขี่ปลอดภัย มีอะไรมากกว่า "จิตสำนึก" 9 เหตุผลที่สวีเดน ลดการเสียชีวิตบนท้องถนนได้อย่างน่าทึ่ง
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=18-04-2018&group=30&gblog=10

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC
https://www.thairsc.com/




*******************************



ยังมีเวลาอีกสองอาทิตย์มาลุ้นกัน ปี 2561ว่าประเทศไทยของเราจะทำลายสถิติ " มีคน เจ็บตาย บนถนน เกินหนึ่งล้านคน "ได้หรือเปล่า ?

ตอนนี้ ทั้งปีมีคนตายไปเกือบ 15,000 คนปีก่อนก็ประมาณนี้ .. คาดว่า ปีต่อไปก็ไม่ต่างกัน ? เราจะปล่อยให้เป็นแบบนี้ ?

ไทยชนะแล้ว ...ประเทศที่มีการตาย จากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก(ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3

ล้านแล้วจ้า ..สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี ๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง"หนึ่งล้านคน"

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2018&group=30&gblog=5

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ1.5 หมื่นรายกระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

แก้ปัญหาวินัยจราจรต้องไม่ใช้ตำรวจ ... By Dr.Adune

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7

อุบัติเหตุไม่ลดเพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6

ขับขี่ปลอดภัยมีอะไรมากกว่า "จิตสำนึก" 9เหตุผลที่สวีเดน ลดการเสียชีวิตบนท้องถนนได้อย่างน่าทึ่ง

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=18-04-2018&group=30&gblog=10




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2561   
Last Update : 24 ธันวาคม 2561 20:28:10 น.   
Counter : 842 Pageviews.  

1  2  3  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]