Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตาย จากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย)





เครดิต ภาพ และ เนื้อหา จาก เพจไม่มีใครพูด
ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ปีนี้ไทยสามารถไต่จากอันดับ 2 ขึ้นเป็นประเทศที่มีอัตราการตายจากอุบัติเหตุบนถนนสูงที่สุดในโลกได้สำเร็จแล้ว 👋 #จริงๆไม่เห็นจะต้องลุ้นเลยของตาย

คำตอบตามปกติจากทางการคือ มันเกิดจากนิสัยเสียของคนขับ ไม่ได้เกิดจากถนนซึ่งเค้าสร้างไว้ดีแล้ว ซึ่งคำตอบนี้ก็สื่อว่ารัฐจะไม่แก้เรื่องนี้ เพราะไม่ใช่ความผิดเค้า (พฤติกรรมของคนขับรถไม่ใช่หน้าที่ของรัฐ​!) ดังนั้นปัญหานี้จะคงอยู่ตลอดไป คนจะตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เสียแต่ว่าปีต่อไปเราคงทำตำแหน่งดีกว่านี้ไม่ได้แล้ว 😣

❝ปี 2559 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนราว 22,000 ราย เฉลี่ยวันละ 50 - 60 ราย มีผู้ที่ไปเข้ารับการรักษาที่ รพ. จากกรณีรถชน ประมาณ 1 ล้านคน กลายเป็นผู้พิการราว 6 หมื่นคนต่อปี และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 เว็บไซต์เวิลด์แอตลาส ได้เปิดเผยว่าประเทศไทยมีอัตราตายบนท้องถนนอยู่ในอันดับ 1 ของโลก จากเดิมที่อยู่ในอันดับ 2 รองจากประเทศลิเบีย❞
— mgronline.com/qol/detail/9600000124618

ภาพจาก​: www.worldatlas.com/articles/the-countries-with-the-most-car-accidents.html



:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

ไทยอันดับ1ตายเพราะอุบัติเหตุบนถนน

เผยแพร่: โดย: MGR Online

https://mgronline.com/daily/detail/9600000124823

ในการสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง“ความปลอดภัยทางถนนครั้งที่ 13”ภายใต้แนวคิด ลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน เมื่อเร็วๆนี้ มีการเสวนาย่อย เรื่อง“social media กล้องหน้ารถ สมาร์ทโฟน ใช้อย่างไรเพื่อความปลอดภัยทางถนน" โดย นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวว่า ปี 59 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนราว 22,000 ราย เฉลี่ยวันละ 50- 60 ราย มีผู้ที่ไปเข้ารับการรักษาที่ รพ.จากกรณีรถชนประมาณ 1 ล้านคน กลายเป็นผู้พิการราว 6 หมื่นคน ต่อปี และ เมื่อเดือนพ.ย. 60 เว็บไซต์เวิลด์แอตลาส ได้เปิดเผยว่าไทย มีอัตราตายบนท้องถนน อยู่ในอันดับ 1 ของโลก จากเดิมที่อยู่ในอันดับ 2 รองจาก ลิเบีย ขณะที่รายงานล่าสุด กลับไม่มีชื่อประเทศลิเบีย ติดใน 30 อันดับแรก เนื่องจากมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบพบว่า ภายในประเทศมีการสู้รบ จึงมีคนตายบนถนนมาก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขับขี่รถ จึงไม่นับรวมในกรณีนี้ เมื่อประเทศลิเบียหลุด ประเทศไทยที่อยู่อันดับ 2 จึงขยับขึ้นเป็นอันดับ 1 มีอัตราการตาย 36.2 ต่อ แสนประชากร แต่องค์การอนามัยโลก หรือ ฮู ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ



เมื่อรัฐบาลประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 คำตอบในการลดอุบัติเหตุบนถนน คือ การติดกล้องหน้ารถให้ได้ 70-80% ของรถในประเทศไทย โดยจะเป็นการส่งผลทางอ้อม ทำให้ผู้ขับขี่ไม่กล้าที่จะกระทำผิดบนถนน เพราะรู้ว่ามีกล้องหน้ารถคันอื่นจับภาพอยู่ แม้จะไม่โดนเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจจับ แต่จะโดนสังคมออนไลน์ ประณาม ซึ่งหนักกว่า เพราะจะมีการสืบสาวประวัติ ถึงตระกูล ฉะนั้น หากรถในไทยมีกล้องทุกคัน เชื่อว่าพฤติกรรมคนที่ทำไม่ดีบนถนนจะลดลง

นพ.แท้จริง กล่าวอีกว่า การผลักดันเรื่องการติดกล้องหน้ารถ ทางมูลนิธิฯ เคยทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ท่านก็เห็นด้วย และให้เป็นนโยบายโดยสั่งการใน 2 เรื่อง คือ มอบกระทรวงการคลัง พิจารณาระบบภาษีที่จะช่วยให้คนไทยติดกล้องหน้ารถได้ และมอบ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในการหาวิธีให้ถือเป็นนโยบายลดอุบัติเหตุ ซึ่งนายกฯ สั่งการตั้งแต่เดือนพ.ค.59 จนถึงวันนี้ ยังไม่มีใครสนองนโยบายนายกฯ เลย

ด้าน พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 3 กล่าวว่า เมื่อเกิดเหตุบนท้องถนน ภาพ และเสียง จากกล้องหน้ารถสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ หลักฐานจากคู่กรณี และจากพยานบุคคลอื่น

นอกจากนี้ การติดกล้องยังก่อให้เกิดประโยชน์ 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1. ปกป้องตัวเองและครอบครัว เพราะพยานหลักฐานนี้โกหกไม่ได้ และเชื่อถือได้มากกว่าคน
2. ช่วยเหลือคนอื่นๆในสังคม กรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนถนน หากผู้ขับขี่ติดกล้องและบันทึกเหตุการณ์ไว้ได้ สามารถนำมาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นการปกป้องคนดี ไม่ให้เป็นจำเลย โดยเฉพาะปัจจุบันมีการชนแล้วหนีจำนวนมาก หากไม่มีหลักฐาน ก็เอาผิดไม่ได้ ทำให้คนชั่วลอยนวล
และ 3. เมื่อรถทุกคันติดกล้อง ก็จะเป็นการป้องปรามไม่ให้คนทำผิด เพราะรู้ว่าหากทำ กล้องก็จะถ่ายไว้ จึงควรมีการส่งเสริมให้ติดสติกเกอร์ photo in car เหมือนกับที่มี baby in car เพื่อให้คนรู้ว่า รถคันนี้มีกล้องติดไว้ ทำให้คนไม่กล้าทำผิด เป็นการกระตุ้นเตือนกระตุกความคิดผู้ที่คิดจะทำผิด

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

โครงการจักรยานยนต์ขับขี่ปลอดภัย (Safety Bike)” จักรยานยนต์ไทยปลอดภัยไร้อุบัติเหตุ

https://www.roadsafetythai.org/plan-detail.php?id=47&subid=82&cid=554

คุณรู้หรือไม่ใน 1 ปี มีเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ เฉลี่ยปีละ 1 โรงเรียนใหญ่ ทำไมเด็กในประเทศนี้…..ตายก่อนวัยอันควร!! แล้วเราจะมีหนทางป้องกันแก้ไขอย่างไรบ้าง!!?

ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.)มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย(มนป.)ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)สนับสนุนการทดสอบและกำหนดมาตรฐานแนะนำภายใต้โครงการจักรยานยนต์ขับขี่ปลอดภัย (Safety bike)เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน เลือกใช้มาตรฐานรถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์  ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า “แผนงานรถจักรยานยนต์เป็นแผนงานหนึ่งของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ที่มุ่งเน้นการทำงานเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ข้อมูลสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนทั่วโลก บ่งชี้ว่าเกิดขึ้นจาก 3 ปัจจัย คือพฤติกรรมคน ปัจจัยด้านรถ และปัจจัยด้านถนนหรือสิ่งแวดล้อม การทำงานเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน จึงต้องทำในทุกปัจจัยทั้ง คน รถ และถนน

อย่างที่ทุกท่านทราบกันดี ว่า สถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยถูกจัดอันดับจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก มากไปกว่านั้นข้อมูลบ่งชี้ว่า 3 ใน 4 ของการบาดเจ็บรุนแรงเกิดจากรถจักรยานยนต์ ในขณะที่ รถจักรยานยนต์เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิต (มากถึง 65%) มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละกว่า 5,500 ราย สอดคล้องกับจำนวนจดทะเบียนรถจักรยานยนต์สูงขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากตัวเลขปี 2559 ของกรมการขนส่งทางบกมีรถจดทะเบียนสะสมสูงถึง 20 ล้านคันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และประเด็นที่น่าสังเกตคือ รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยมีมาตรฐานการผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรมแต่ยังขาดการตระหนักเรื่องมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการขับขี่ สังเกตได้จาก รถยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน แต่การผลิตเพื่อจำหน่ายในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น หรือ ทางยุโรป จะไม่เหมือนการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ด้านโครงสร้างกายภาพของรถ ทั้งขนาดหน้ายาง ความกว้างวงล้อ ที่มีส่วนสัมพันธ์กับความเร็วและระยะเบรก

ดังนั้นวัตถุประสงค์ของโครงการจักรยานยนต์ขับขี่ปลอดภัยในครั้งนี้ เพื่อทบทวนและกำหนดมาตรฐานแนะนำสำหรับรถจักรยานยนต์ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ เด็กและเยาวชน ผู้ปกครอง เลือกซื้อรถจักรยานยนต์โดยคำนึงถึงประเด็นความปลอดภัยมากขึ้น และผลักดันให้ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ที่เป็นเจ้าหลักในประเทศไทยออกแบบและผลิตรถจักรยานยนต์โดยคำนึงถึงความปลอดภัยมากขึ้น”

ผศ.ดร.จินดา เจริญพรพาณิชย์  อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบมาตรฐานรถของประเทศไทย กล่าวว่า “ การทดสอบจักรยานที่ได้มาตรฐานแนะนำด้านความปลอดภัยภายใต้โครงการจักรยานยนต์ขับขี่ปลอดภัย (Road safety bike)  นั้นจะทำการทดสอบ

  • ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพ เช่น เครื่องยนต์ ระบบเบรก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางล้อ ความกว้างของหน้ายาง
  • ทดสอบความเร็วสูงสุด โดยใช้วิธีทดสอบบน Chassis Dynamometer หรือทดสอบบนถนน
  • ทดสอบระยะเบรก โดยเทียบเคียงและนำบางส่วนของ มาตรฐาน FMV122 ของประเทศสหรัฐอเมริกา มาประยุกต์ใช้ โดยทดสอบแบบถนนแห้ง ที่ความเร็ว 40 km/h สำหรับจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาด 50 cc หรือจักรยานยนต์ที่มีความเร็วสูงสุดไม่เกิน 50 km/h และทดสอบที่ความเร็ว 60 km/h สำหรับจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กว่า 50 cc หรือที่มีความเร็วสูงสุด เกิน 50 km/h

นอกจากนี้ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย(มนป.)ที่ผ่านมา ยังได้มีการจัดทำคลิปวิดิโอรณรงค์มาตรฐานของการใช้รถใช้ถนนและคำนึงถึงจิตสำนึกสาธารณะร่วมกันโดยจะเผยแพร่คลิปออกสู่ประชาชน ทาง Page  : OHPA TV  https://th-th.facebook.com/ohpatv/

ที่มาข้อมูล : https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_291749


::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T ( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา ? ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-04-2017&group=30&gblog=2

7 วันอันตราย ปีใหม่เทศ 2561 (28ธค.60-3มค.61) มาตรการเพียบรอลุ้นผลว่าจะเป็นอย่างไร https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-12-2017&group=30&gblog=4

รวม 7วันอันตรายปีใหม่เทศ 2561 เสียชีวิต 423 คน ลดลงจากปี 60 ร้อยละ 11 ( น่าพอใจ???) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-01-2018&group=30&gblog=8

รวม 7วันอันตรายปีใหม่ไทย (สงกรานต์) 2561 เสียชีวิต 418 ราย (เจ็บตายมากกว่าปีที่แล้ว) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-04-2018&group=30&gblog=9

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตายจากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3

ล้านแล้วจ้า .. สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง "หนึ่งล้านคน" https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2018&group=30&gblog=5

แก้ปัญหาวินัยจราจร ต้องไม่ใช้ตำรวจ ... ByDr.Adune https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7

อุบัติเหตุไม่ลด เพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6


7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T จากข้อมูลย้อนหลังจำง่าย ๆ ...ตายสี่ร้อย เจ็บสี่พัน แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ?

สงกรานต์ 2561เกิดอุบัติเหตุ 3,724 ครั้ง ตาย 418ราย เจ็บ 3,897 ราย

สงกรานต์ 2560เกิดอุบัติเหตุ 3,690 ครั้ง ตาย 390ราย เจ็บ 3,808 ราย

สงกรานต์ 2559เกิดอุบัติเหตุ 3,447 ครั้ง ตาย 442ราย เจ็บ 3,656 คน

สงกรานต์ 2558เกิดอุบัติเหตุ 3,373 ครั้ง ตาย 364ราย เจ็บ 3,559 คน

สงกรานต์ 2557เกิดอุบัติเหตุ 2,992 ครั้ง ตาย 322ราย เจ็บ 3,225 คน

ปีใหม่ 2561เกิดอุบัติเหตุ 3,841 ครั้ง ตาย 423ราย เจ็บ 4,005 ราย

ปีใหม่ 2560เกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง ตาย 478ราย เจ็บ 4,128 ราย

ปีใหม่ 2559เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380ราย เจ็บ 3,505 ราย

ปีใหม่ 2558เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341 คนเจ็บ 3,117 คน

ปีใหม่ 2557 เกิดอุบัติเหตุ3,174 ครั้ง ตาย 367 คน เจ็บ 3,344คน





Create Date : 15 ธันวาคม 2560
Last Update : 18 เมษายน 2561 15:48:45 น. 1 comments
Counter : 5740 Pageviews.  

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:15:11:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]