Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

WHO ชี้ไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 2 หมื่นคนต่อปี สูญเสียมากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี

WHO ชี้ไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 2 หมื่นคนต่อปี สูญเสียมากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี

08 พ.ค. 2019
 
ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน พบข้อมูลกลุ่มอายุ 15-19 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุด้วยรถจักรยานยนต์มากเป็นอันดับ 1 ของไทย สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก ระบุสาเหตุการเสียชีวิตของไทยมาจากอบุติเหตุทางถนน

จากรายงานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO และข้อมูล 3 ฐานของประเทศไทยระบุว่า อุบัติเหตุทางถนน คือสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยมากกว่า 20,000 คนต่อปี หรือประมาณ 60 คนต่อวัน โดยเฉพาะในกลุ่มเพศชายอายุ 15-24 ปี และสถิติที่ผ่านมาพบว่า 1 ใน 3 ของผู้พิการหรือเสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัว



ความเสียหายทางเศรษฐกิจจึงมีมูลค่ามหาศาล โดยผลการศึกษาเรื่องมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากอุบัติเหตุพบว่า มีความสูญเสียมากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี กรณีเสียชีวิตความสูญเสียมีมูลค่าเฉลี่ย 5,300,000 บาท แต่หากพิการมูลค่าความสูญเสียจะสูงกว่าคือเฉลี่ยประมาณ 6,200,000 บาทโดยเฉลี่ย เห็นได้ชัดว่าความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นประเด็นใหญ่ของประเทศไทย



น.พ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ระบุว่า ปัจจัยหลักของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเกิดจากปัจจัย 3 อย่างคือ
1. คน พบสถิติมากถึง 95.5 เปอร์เซ็น
2. ยานพาหนะ 21.5 เปอร์เซ็น
3. ถนนหรือสิ่งแวดล้อม 27.6 เปอร์เซ็น
 
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น คือ
1.ความเร็ว
2.การไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย
3.หลับใน และดื่มแล้วขับ ถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรง
4.สภาพถนนอันตรายข้างทาง
 
ส่วนอันดับหนึ่งในการเสียชีวิตคือ รถจักรยานยนต์ พบในคน 2 กลุ่ม ช่วงอายุระหว่าง 15-19 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ 2,071 รายต่อปี และ กลุ่มอายุ 10-14 ปี ซึ่งกลุ่มนี้มีแนวโน้มสูงขึ้น
น.พ.ธนะพงศ์ ระบุด้วยว่า การเกิดอุบัติเหตุป้องกันและลดการสูญเสียได้ด้วยการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ใน 3 กรณี คือ
1. จัดการระบบที่ดี จะลดความสูญเสียได้ ซึ่งมนุษย์ มักผิดพลาดได้เสมอ แต่หากมีการสื่อสารจะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ 
2. ลดหรือเลิก สื่อสารเพื่อโยงโชคชะตาอาถรรพ์
3. เพิ่มการสอบสวน และสื่อสาร เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้สังคม โดยการเจาะลึกถึงรากของปัญหา ปัจจัยเชิงระบบ เช่น กรณีเกิดอุบัติเหตุแล้วคนขับรอด ควรเสนอในเรื่องการคาดเข็มขัด หรือมีระบบ safety ที่ดี ไม่ใช่พุ่งเป้าไปที่ห้อยพระอะไร วัดไหน
 
 


Create Date : 09 พฤษภาคม 2562
Last Update : 9 พฤษภาคม 2562 17:06:42 น. 0 comments
Counter : 2099 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]