Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

อาหารเสริม ดีจริงหรือ ??? กินกูลต้าไธโอน ขาวจริงป่ะ ???



มีผู้ตั้งกระทู้ ในห้องสวนลุม ผมเข้าไปตอบ ก็เลยนำมาลงไว้ในนี้ด้วย เพราะคิดว่า น่าจะมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ เรื่องทำนองนี้ ...

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L6877120/L6877120.html#2

ถามคุณหมอ .. legalon เป็น milk thistle ซึ่งช่วยคงระดับของกลูต้าไธโอน ก็แปลว่ากินแล้ว ขาว และanti aging ใช่ไหมครับ

เห็นเพื่อนกิน legalon เพื่อบำรุงตับ
ก็เลยได้อ่านฉลาก อ้าว มันช่วยเรื่อง กลูต้าไธโอน ด้วย
งั้นก็ เหมือนที่สาวๆโต๊ะแป้งเค้าฮิต กินวิตามินกลูต้าไธโอนกันสิ

เลยอยากรู้ว่า ถ้ากิน legalon ก็ได้ 2 เด้ง ทั้งตับ ทั้ง anti aging ... เข้าใจถูกไหมครับ

จากคุณ : บัตรผ่าน - [ 10 ส.ค. 51 00:53:53 ]


ผมก็ตอบไป ... 

ก่อนอื่นเลยต้องคุยกันก่อนว่า

๑." กูลต้าไธโอน " ไม่ได้มีผลงานวิจัยที่น่าเชื่อถือได้ ยืนยันว่า กินแล้ว ทำให้ผิวขาวขึ้น .. ที่มีวิจัยกันก็เป็น แบบ " ฉีด " ทำให้ขาวขึ้นได้ แต่ว่า มีผลต่อตับและมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนัง และ ยาฉีด ในประเทศไทยถือว่า ผิดกฏหมาย ...

คิดง่าย ๆ ก็คล้าย ๆ กับ ความเชื่อเรื่อง อาหารเสริมบางอย่าง ที่เคยฮิตในอดีต เช่น น้ำโนนิ กระดูกอ่อนปลาฉลาม ฯลฯ ซึ่งตอนนี้ก็เลิกฮิตไปแล้ว ???

๒. ผลของ สารอาหาร หรือ สารเคมี (ยา) ในร่างกายมนุษย์ มันไม่ได้ตรงไปตรงมา เหมือนกันทุกคน โรคเดียวกัน บางคนกินยาแบบนี้เบา แต่อีกคน กินแล้วไม่เบา ..

การสรุป แบบที่ จขกท.คิด มันก็ค่อนข้างจะกำปั้นทุบดินไปหน่อย ..

๓. ผลของ สารอาหาร หรือ สารเคมี (ยา) ในร่างกายมนุษย์ ถ้าจะได้ผลก็ต้องมีปริมาณที่เหมาะสมด้วย ถ้ามีปริมาณน้อยเกินไป ก็ไม่ได้ประโยชน์ ในอาหารเสริมบางยี่ห้อ บอกมีสารโน้น สารนี้ สาระพัด เยอะแยะไปหมด แต่ว่า มีปริมาณน้อยมาก ซึ่งกินไปก็ไม่พอ ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ..

๔. การโฆษณา หรือ ข้อมูลจากฉลากต่าง ๆ ก็ต้องชั่งใจไว้หน่อยว่า " ควรจะเชื่อ หรือไม่ ? " เพราะส่วนใหญ่ ก็จะบอกกว้าง ๆ (เกินจริง) เช่น ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันดีขึ้น ช่วยทำให้ตับทำงานดีขึ้น ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ฯลฯ

สังเกตว่า มักจะใช้คำว่า " ช่วย " หรือ " เสริม " ไม่ระบุชัดเจน ไม่ได้รับรองว่า จริง ตามนั้น ถ้าไม่ได้ผล เขาก็จะบอกว่า ก็เข้าไปช่วย เข้าไปเสริม เท่านั้นไม่ได้บอกว่า หาย ... กลายเป็นว่า คนซื้อ เข้าใจผิดไปเอง เป็นความผิดของคนซื้อ ซะงั้น ...


๕. อะไรที่เรารู้สึกว่า "ไม่น่าเชื่อ ไม่น่าเป็นไปได้ " ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่า " ไม่จริง " ยกตัวอย่างเช่น

ลดน้ำหนักเห็นผลใน ๑ เดือน ง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ยา ... ถ้าดีจริง ป่านนี้ ก็ไม่มีคนอ้วนไปแล้วสิ ใช่ป่ะ ?

กิน (ทา) แล้วทำให้ผิวขาว กระจ่างใส ... ถ้าดีจริง ป่านนี้ ก็ไม่มีคนผิวคล้ำ ผิวดำแล้ว ขาวทั้งประเทศ ใช่ป่ะ ?

เงินด่วน กู้ได้ ไม่ต้องใช้หลักประกัน สะดวกรวดเร็ว ... ถ้าดีจริง ธนาคาร ก็เจ๊งหมดแล้ว ใช่ป่ะ ?

๕. แล้ว ผมจะแนะนำให้ใช้หรือเปล่า ???

หลักการง่าย ๆที่ใช้สำหรับการพิจารณา เรื่องทำนองนี้ก็คือ หาข้อมูลว่า สิ่งที่จะกินจะฉีด ไม่ว่าจะเป็น อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ ยา นั้น

- มีผลข้างเคียง มีอันตรายจริงหรือไม่ ???
- ถ้าไม่มี แล้วอยากใช้หรือไม่ ???
- ถ้าอยากใช้ ก็ใช้ไป ส่วนว่าจะได้ผลคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป หรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ..


เขียนไป ชักยาว ว่าจะเขียนเรื่องทำนองนี้ นานแล้ว จะได้เอาลงบล๊อกด้วยซะเลย ..

ปล. เชื่อหรือไม่ ก็พิจารณากันเองนะครับ แต่ อย่าพึ่งเชื่อผมว่า สิ่งที่ผมคิดนั้น ถูกต้อง ..

มีผู้เขียนไว้ น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง ทำนองนี้ ผมเอาลงไว้ในบล๊อก ว่าง ๆ ก็ลองแวะไปอ่านดูนะครับ


ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณพึงระลึกอยู่เสมอเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-04-2008&group=4&gblog=33

บทความเรื่อง : สาร Glutathione สำหรับทำให้ผิวขาวที่กำลังเป็นที่นิยม

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=05-01-2009&group=7&gblog=9

กลูต้าไทโอน ทำให้ผิวขาวจริงหรือไม่.. โดย...สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-02-2009&group=7&gblog=16


แถม .. ข้อมูลเพิ่มเติม จาก คุณสังเกตการณ์

ประเด็นเรื่องแคลเซียมที่มีขนาดเล็กลงกว่า 10 เท่านั้น ดูเหมือนว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย ยังไม่มีการออกมาเตือนแต่อย่างใด

ส่วนประเด็นเรื่องน้ำดื่มนั้น พบว่ามีข่าวของ อย. ดังนี้
อย. เตือน! อย่าหลงเชื่อน้ำดื่มจากเครื่องผลิตน้ำที่อวดอ้างรักษาโรค
//www.fda.moph.go.th/www_fda/view_news.php?Submit=Clear&ID_Inf_Nw_Manager=0000000124

อย. ย้ำ! อย่าตกเป็นเหยื่อซื้อเครื่องกรองน้ำขี้โม้ อ้างผลิตน้ำรักษาโรค
//www.fda.moph.go.th/www_fda/view_news.php?Submit=Clear&ID_Inf_Nw_Manager=0000000210

สธ. เตือน อย่าหลงเชื่อน้ำแร่นาโนโฆษณาเว่อร์
//www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/1307875140_น้ำแร่นาโน.pdf

จากคุณ : ผู้สังเกตการณ์ - [ 25 ม.ค. 52 23:59:59 ]



"""""""""""""""""""""""""""""""""""""

รู้ให้ทัน อาหารเสริมที่บอกว่า ผอมชัวร์ ขาวชัวร์ หายชัวร์!!
//marketeer.co.th/2016/04/2529-supplement-knowhow/

คนไทยอยากผอม แต่ไม่ยอมออกกำลังกายและกินอาหารให้พอดี หลายคนจึงเลือกใช้ทางลัดโดยการกินยาลดความอ้วน ซึ่งปัจจุบันมียาลดความอ้วนที่ไม่ได้มาตรฐานและอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง วางจำหน่ายอยู่ทั่วไป เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ ข่าวผู้ที่เสียชีวิตจากการกินยาลดความอ้วน ให้เราเห็นอยู่เรื่อยๆ

กรณีแบบนี้ไม่ไดเกิดเฉพาะกับยาลดความอ้วน แต่มีทั้ง ยาเร่งขาว ยารักษาทุกโรค ยาครอบจักรวาล ที่อาศัยช่องทางต่างๆ สร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้บริโภค

ดังนั้น เราจึงมีข้อสังเกตเบื้องต้นโฆษณาเกินจริงของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะยาลดความอ้วน หากอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงเหล่านี้ ให้สงสัยได้เลยว่าไม่ปลอดภัย

1.ครอบจักรวาล ไม่มียาตัวไหนบนโรคนี้ที่รักษาได้ครอบคลุมทุกโรค ถ้ายาตัวไหนบอกว่ารักษาได้หลายๆ โรคพร้อมๆ กัน ถ้าเจอถ้อยคำ “รักษาได้สารพัดโรค” ให้เอะใจ

2.โรคยาก รักษาไม่ง่าย โรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดัน หัวใจ หรือไต ต้องใช้เวลาในรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่มียาใดๆ ที่กินแล้วหายขาดทันที ถ้าเจอถ้อยคำว่า “กินแล้วหายขาดทันที” “เห็นผลภายใน 7 วัน” ให้เอะใจ

3.อาหารรักษาโรคไม่ได้ อาหารคือหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้คำว่า “อาหาร” ใดๆ ที่สามารถรักษาโรค หรือเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายได้ อาหารเสริมทุกชนิดจึงไม่สามารถรักษาโรคได้ ถ้าเจอถ้อยคำว่า “อาหารเสริมรักษา…” ให้เอะใจ

4.ผอมได้ ไม่ง่ายแน่นอน น้ำหนักส่วนเกิน ลดลงได้ด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การทานอาหารเสริมใดๆ ยาใดๆ โดยไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ให้ระวังไว้อาจมีการเติมสารต้องห้ามในนั้น ถ้าเจอถ้อยคำว่า “ผอมได้ภายใน 7 วัน” “สลายไขมันเฉพาะส่วน” ให้เอะใจได้เลย

5.เปลี่ยนดำเป็นขาว สีผิว เป็นเรื่องของพันธุ์กรรม ยังไม่มียา หรือครีมใดสามารถเปลี่ยนสีผิวคนเราได้ ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเปลี่ยนได้ จึงมักพบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ถ้าเจอผลิตภัณฑ์ที่ใช้ถ้อยคำว่า “ขาวใสภายใน 7 วัน” ให้เอะใจ


จะรู้เท่าทันโฆษณาเกินจริงของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ ได้นั้น ต้องมีสติ รู้จักตีความ วิเคราะห์ แยกแยะ เนื้อหาสาระของสารที่ผู้ผลิตหรือคนขายสื่อออกมา ตั้งคำถามว่าสื่อถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร เช่น ใครเป็นเจ้าของสื่อ ใครผลิต และผลิตภายใต้ข้อจำกัดใด และเชื่อถือได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าหากต้องการลดน้ำหนักส่วนเกิน วิธีที่ได้ผลที่สุดคือ การออกกำลังกายและควบคุมอาหาร หากอยากมีผิวสวย ให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำสะอาด พักผ่อนให้เพียงพอ แถมสุขภาพที่แข็งแรง ยังเป็นผลพลอยได้ที่ตามมาอีกด้วย


ที่มา : จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ฉบับสร้างสุข สสส.

........................................


หนังสือ เคล็ด(ไม่)ลับ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างรู้เท่าทันโฆษณา ( หนังสือ pdf แจกฟรี)   
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2012&group=7&gblog=160

หนังสือ ทุกข์ล้นเหลือ เหยื่อโฆษณา ............ของดี ฟรีด้วย โหลดอ่านกันได้เลยครับ    
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-10-2012&group=7&gblog=163





Create Date : 10 สิงหาคม 2551
Last Update : 28 เมษายน 2559 13:34:09 น. 9 comments
Counter : 9355 Pageviews.  

 
เข้ามาเก็บข้อมูลดี ๆมีประโยชน์ ขอบคุณคุณหมอด้วยค่ะ


โดย: girlroom13 วันที่: 10 สิงหาคม 2551 เวลา:12:47:59 น.  

 
ขอบคุณค่ะคุณหมอ


โดย: pekei วันที่: 10 สิงหาคม 2551 เวลา:16:43:18 น.  

 
ขอบคุณหมอคะ


โดย: vintage วันที่: 10 สิงหาคม 2551 เวลา:17:42:59 น.  

 
แถม ... กระทู้ของคุณ ลูกเป็ดขี้เกียจ

งานวิจัยในโฆษณา น่าเชื่อถือแค่ไหน

//topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2008/12/L7317497/L7317497.html


อ่านแล้วจะได้ข้อคิด ข้อมูล เยอะเลยครับ ...



โดย: หมอหมู วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:15:34:38 น.  

 
จากกระทู้ห้องสวนลุม

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L8517942/L8517942.html#1

Yoko Height ใส่แล้วทำให้ส่วนสูงเพิ่มขึ้นจริงหรือเปล่าครับ

พอดีสนใจอยู่อ่ะครับ
ไม่แน่ใจว่ามันจะ work จริงหรือเปล่า
//www.yoko-thailand.com/index.php?step=page1
้เคยลองดูตามเว็บต่างประเทศ ก็มีมาตอบเหมือนกัน
บางคนบอกเพิ่มจริงซึ่งผมดูแล้วก็ไม่น่าใช่หน้าม้า
แต่บางคนก็บอกไม่เห็นเพิ่มเลย
ผมเลยอยากรบกวนผู้รู้ ผู้ที่เคยใช้ หรือคุณหมอที่เชี่ยวชาญมาให้ความรู้หน่อยครับ
ขอบคุณครับ

จากคุณ : ฺBlizzing
เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 52



ความคิดเห็นที่ 1


ไม่จริงครับ ....


" สิ่งที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลังทั้ง 24 ชิ้น นี้คือกระดูกอ่อน (Cartilaginous Pads) ที่เรียกว่า Disks และเนื่องจาก Disks เป็นกระดูกอ่อนที่ยังไม่ถูกปิด ดังนั้นมันสามารถที่จะถูกทำให้หนาขึ้นได้จากการกระตุ้นของ Growth Hormone (ที่ได้มาจากใช้ YOKO) ดังนั้น ความหนาของ Disks ที่เพิ่มขึ้น "


........ ที่เขาบอกว่า Disk [ Disc ] เป็นกระดูกอ่อนนั้นก็ถูกครับ แต่ว่า เป็นกระดูกอ่อนที่บางมาก ๆ ส่วนใหญ่จะเป็น หมอนรองกระดูก (ลักษณะคล้ายเจลลี่) และ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(พังผืด) ซึ่งไม่เกี่ยวอะไร กับความสูง เลย แล้วก็ไม่มีการทำให้เพิ่มขึ้น มีแต่บางลงตามธรรมชาติ

....... ที่อ้าง ๆ การวิจัยอะไร ก็แค่ใช้คำ เท่านั้นเอง ไม่ได้มีการอ้างอิงผลงานวิจัยที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือเลยแม้แต่นิดเดียว ...


ลองแวะไปอ่านในเวบนี้ ก็ได้ครับ

//www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm



โดย: หมอหมู วันที่: 7 พฤศจิกายน 2552 เวลา:9:50:08 น.  

 
ผมอายุ 24 แล้ว ยังจะสูงได้หรือไม่คับ หรือมีคำแนะนำดีๆ สำหรับวิธีปฏิบัติเพื่อให้สูงขึ้นมั้ยคับ ผมลองงมาทุกวิธีแล้ว ทั้งกินนม โหนบาร์ ไม่สูงขึ้นเลยอะ

จะขอคำแนะนำจากคุณหมอหน่อยคับ
ขอบคุณค้าบบ


โดย: catwave (catwave ) วันที่: 30 มกราคม 2553 เวลา:22:01:30 น.  

 

//www.doctor.or.th/node/5667

นิตยสาร หมอชาวบ้าน เล่ม :350
เดือน-ปี :06/2551
คอลัมน์ :คุยกับ หมอ 3 บาท
นักเขียนหมอชาวบ้าน :นพ.พินิจ ลิ้มสุคนธ์

เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจปนน่าเวทนาที่ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อย นิยมใช้วิธีซื้อสุขภาพแทนการสร้างสุขภาพด้วยตนเองตามวิถีธรรมชาติ ดังจะเห็นได้จากความนิยมในการกินอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และ วิตามินต่างๆ โดยทำตามกระแสบริโภคนิยมที่รับมาจากประเทศที่พัฒนาแล้ว

บางคนกินวิตามินเป็นกำๆ หลังอาหารแต่ละมื้อก็ต้องมีวิตามินหรืออาหารเสริมเพราะกลัวว่าร่างกายจะได้รับไม่พอหรือคิดว่ากินเสริมให้มากไว้ก่อนจะทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วย โดยลืมคำนึงว่าการได้รับสารอาหารที่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มหรือร่างกายมีเพียงพอ แล้วนั้นอาจเกิดโทษตามมาได้

ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศผู้นำทาง เศรษฐกิจ ซึ่งเริ่มจากทางซีกโลกตะวันตกอย่างอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ผู้คนจะใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบเพราะมีการแข่งขันกันมาก เวลาในการดูแลตนเองมีน้อย วิถีชีวิตต่างๆ ก็ยังเสี่ยงต่อสุขภาพ จึงเป็นโอกาสให้เกิดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากมาย

ตลาดของผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมเพื่อสุขภาพได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีทั้งที่วางขายทั่วไปและใช้ระบบขายตรงซึ่งจะแข่งขันกันเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยจะพยายามสร้างความรู้สึกให้คนกลัวความเจ็บป่วย กลัวว่าร่างกายจะเสื่อมถอย นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของความสวยความงามอีกด้วย จนทำให้หลายๆ คนต้องสรรหาวิตามินหรืออาหารเสริมมากมายมากินโดยไม่จำเป็น ในขณะที่บริษัทผู้ผลิตมีรายได้และผลตอบแทนจากกระแสสุขภาพนี้มากมายมหาศาล

การกินวิตามินหรืออาหารเสริมต่างๆ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมเฉพาะบุคคล ไม่ใช่กินตามกระแส บางคนกินวิตามินเกือบทุกชนิดพ่วงด้วยอาหารเสริมอีกหลายตัวเลยไม่ค่อยกล้ากินอาหารตามปกติเพราะกลัวอ้วน กลายเป็นว่าต้องใช้ชีวิตกับอาหารแบบเม็ดไปเลย บางคนแข็งแรงดีแต่กินเป็นกำๆ เสริมกับอาหารตามปกติ อย่างนี้ก็มากเกินไป

การใช้วิตามินหรืออาหารเสริมโดยทั่วไปแล้วมักใช้กับผู้ที่ขาดสารอาหารจริงๆ ซึ่งอาจเกิดจากการเจ็บป่วย การกินอาหารได้น้อยกว่าปกติ เด็ก ผู้สูงอายุ หรือสตรีมีครรภ์ที่จำเป็นต้องได้สารอาหารเพิ่ม เป็นต้น ดังนั้นคนทั่วไปที่กินอาหารได้ครบ 5 หมู่ จึงไม่จำเป็นต้องใช้

วิตามิน หรืออาหารเสริมไม่ว่าชนิดใดๆ ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะเกิดโทษได้ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะเกิดพิษต่อระบบไหนของร่างกาย เช่น

วิตามินซี กินมากไปอาจทำให้ผิวหนังแห้ง เกิดโรคผิวหนัง ปัสสาวะเป็นกรดมากเกินไป

วิตามิน เอ ได้รับมากไปอาจเกิดสมองบวม ผิวแห้ง ผมร่วง ปวดศีรษะ

วิตามิน บี 6 กินมากไปอาจทำให้ปลายประสาทเสื่อม เกิดโรคเหน็บชา

วิตามิน ดี ได้มากไปจะทำให้แคลเซียมในเลือดสูง ตกตะกอนในไต ทำให้ไตพิการ หรือเกิดนิ่ว
ฯลฯ

ส่วนผู้ที่กินวิตามินหรืออาหารเสริมเพื่อผิวพรรณและความสวยงามซึ่งปัจจุบันนี้มีกระแสแรงขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจเสี่ยงต่อการแพ้หรือพิษจากการได้รับมากเกินไป นอกจากนั้นก็ยังต้องใช้เป็นเวลานานและต่อเนื่อง โอกาสเกิดพิษต่อร่างกายก็จะมากขึ้น

การใช้เครื่องสำอางหรือครีม บำรุงภายนอกจะปลอดภัยกว่ามาก และไม่ต้องสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

สุขภาพเป็นสิ่งที่ต้องสร้างด้วยวิถีของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ไม่ควรหวังพึ่งพาแต่วิตามินหรืออาหารเสริมเท่านั้น ให้ยึดหลักความจำเป็นพื้นฐานตามปัจจัยสี่ มีการกินอยู่อย่างถูกสุขอนามัย พยายามกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยแต่ละมื้อให้มองดูอาหารบนโต๊ะว่ามีครบทั้งแป้ง น้ำตาล โปรตีนจากพืชหรือสัตว์ ไขมัน ผักผลไม้ แล้วหรือยัง

นอกจากอาหารแล้ว การดื่มน้ำสะอาดมากๆ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ทำจิตใจให้เบิกบานก็จะช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ดี พยายามเดินสายกลาง ทุกอย่างต้องไม่มากไปหรือน้อยไป เมื่อปฏิบัติได้ตามนี้แล้ว เราก็จะมีสุขภาพที่ดีได้โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินทอง และ ไม่ต้องใช้ชีวิตแบบเกาะกระแสให้เกิดความเสี่ยงต่อร่างกายโดยไม่จำเป็น

ควร ระลึกอยู่เสมอว่า...

"สุขภาพดีนั้นต้องสร้างด้วยตนเอง ไม่ใช่ซื้อหามา"




โดย: หมอหมู วันที่: 20 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:38:44 น.  

 

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L11504772/L11504772.html


ข้อแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สำหรับผู้บริโภค


ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกำลังเป็นธุรกิจที่นิยม และกำลังมีมากขึ้นเรื่อยๆ หากแต่การให้ความรู้ในการเลือกซื้อนั้นยังมีน้อย ขอเขียนข้อคำแนะนำในการดูผลิตภัณฑ์เบื้องต้น เพื่อให้สามารถเลือกซื้อได้อย่างปลอดภัยครับ

เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้น แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ประเภท อาหาร ขนมขบเคี้ยว หรือ เครื่องดื่มทั่วไป การเลือกดูสินค้าจึงแตกต่างกัน โดยปกติอาหารทั่วไปที่เรารับประทานกัน สามารถเลือกบริโภคได้ง่ายกว่า โดยอาศัยหลักง่ายๆ เช่น สะอาด ปลอดภัย คุณภาพอาหารดีหรือไม่ แต่หากจะเลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งปัจจุบันมีอยู่มากมาย ทุกยี่ห้อล้วนโฆษณาว่ามีการรับประกัน มีหมายเลขอาหารถูกต้องตามกฏหมาย

หากเราจะบริโภคสินค้าประเภทนี้ ควรมีวิธีในการเลือกมากกว่าอาหารธรรมดา ทั้งนี้เนื่องจากเป็นสินค้าที่ผลิตมาเพื่อมีวัตถุประสงค์พิเศษ ไม่ได้เพียงเพื่อให้อิ่มอร่อย จึงควรพิจารณาเพิ่มเติมใน 2 ประการคือ

1. ผลิตภัณฑ์นั้นมีประโยชน์ สมจริงดังคำโฆษณาหรือไม่

2. ผลิตภัณฑ์นั้น มีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง หมายถึง เรากำลังจะกินอะไรเข้าไป



1. ผลิตภัณฑ์นั้นมีประโยชน์ สมจริงดังคำโฆษณาหรือไม่

ธรรมชาติของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม คือ ไม่ใด้จดทะเบียนยา เป็นเพียงอาหาร แต่ตั้งใจผลิตเพื่อประโยชน์เฉพาะต่อสุขภาพบางอย่าง ดังนั้นจึงต้องใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ นำมาใช้อ้างอิง

แต่เนื่องจากไม่ใช่ยา ผลิตภัณฑ์ต่างๆจึงไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบ ทดลองว่าได้ผลจริงหรือไม่ ขอเพียง สะอาด ปลอดภัย ไม่เป็นพิษ วัตถุที่ใช้ตรงกับฉลากที่ขออนุญาต ก็สามารถได้รับใบอนุญาตขายผลิตภัณฑ์

เราจะเห็นว่าในผลิตภัณฑ์บางประเภทที่โฆษณาขายในทีวี หรือ ที่อื่นๆ จึงโฆษณาให้หนักแน่นมากขึ้นว่า หากไม่เห็นผล คืนเงินทันที ด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ได้ผลจริงๆ ซึ่งก็เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภค ทั้งตัวผู้ผลิตสินค้าก็ได้รับความเชื่อถือ

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมส่วนใหญ่นั้น มักอ้างเกินจริงบ้าง บ้างก็บอกความจริงเฉพาะส่วนที่ดี บางครั้งคนที่โฆษณาตัวผลิตภัณฑ์ก็เข้าใจผิดเองในตัวผลิตภัณฑ์ เนื่องเพราะฟังแต่บริษัทบอกต่อๆกันมา โดยไม่ได้ค้นดูว่าเป็นจริงตามนั้นจริงหรือไม่ บางผลิตภัณฑ์จงใจหลอกก็มี

การดูว่าสิ่งที่โฆษณาเป็นจริงหรือไม่ ควรพิจารณาคำโฆษณาใน 2 ส่วนสำคัญ คือ ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ และ คำบอกเล่าเชิงประสบการณ์ ต้องแยกทั้งสองเรื่องนี้ออกจากกัน เพื่อทำความเข้าใจต่อตัวผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น

1.1 ข้อเท็จจริง หรือ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ของผลิตภัณฑ์
เพื่อบอกว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีความน่าเชื่อถือ เป็นไปได้จริงด้วยเหตุใด แม้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทั้งหมดไม่ได้จดทะเบียนเป็นยา แต่ส่วนมากแล้ว มักโฆษณาอ้างวิทยาศาสตร์ อวดอ้างสรรพคุณมากมาย

หากเราอ่านสรรพคุณแล้วพบว่า มีสรรพคุณมากกว่า 3 ประการขึ้นไป ให้เราย้อนกลับไปดูว่า มีหลักฐานทางวิทยาศาตร์ใดๆรับรองว่าผลิตภัณฑ์ ว่าทำได้อย่างนั้นจริงหรือไม่ หากไม่มี ก็อย่าเชื่อเสียหมด

การโฆษณาสรรพคุณมากมาย อ่าน บรรทัดแรกถึงบรรทัดสุดท้าย 10 รอบ ยังงุนงงระคนสับสน ในผลิตภัณฑ์ ว่าทำอะไรกันแน่ ทำไมเยอะแยะขนาดนี้ เป็นยาเทวดาหรือเปล่า ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่า อาจโฆษณาเกินจริง เอาทุกอย่างที่ขวางหน้ามารวมกัน ขออ้างไว้ก่อน

อีกประเด็นหนึ่งคือ ดูความเป็นไปได้ จาก กลไกการทำงานของผลิตภัณฑ์ เช่น การโฆษณา เรื่อง การเกิดเซลใหม่ๆ การล้างอวัยวะต่างๆ หรืออื่นๆ ควรดูว่ามีหลักฐานกลไกการทำงานใดๆทางวิทยาศาสตร์ตามคำกล่าวอ้างหรือไม่ หากแม้แต่นิยามยังไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร จะพิสูจน์อย่างไรในทางวิทยาศาสตร์คงทำไม่ได้ แต่หากมีจริง ควรขอจากผู้จำหน่ายมาดูให้รู้แจ้ง


1.2 คำบอกเล่าประสบการณ์

คำบอกเล่าตามประสบการณ์มักเป็นส่วนสำคัญในการขายผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เนื่องจากจะอ้างเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แต่ไม่เน้นแสดงหลักฐานของผลิตภัณฑ์ จึงมักใช้ประสบการณ์ของคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องยืนยันประสิทธิภาพของสินค้า เนื่องจาก ประสบการณ์เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ผลการทดลอง จึงมีข้อควรระวังในเรื่องนี้ 2 ประการคือ

ก. อาจเกิดผลกับบางคน แต่อาจไม่เกิดผลกับบางคน ทั้งนี้หากเป็นงานวิจัยเหมือนที่ปฏิบัติในทางการแพทย์ จะมีการควบคุมการทดสอบ โดยการคัดเลือกตัวอย่างที่เหมาะสมอย่างไม่อคติ ไม่เลือกอย่างลำเอียง การทดลองทำโดยการสุ่มเพื่อไม่ให้รู้ว่าใครเป็นใคร ผลที่ได้ นำมาคำนวณทางสถิติ และ บอกว่า หากมีคนกินเข้าไป 10000 คน หาย 9500 คน จึงพอคาดการณ์ได้ว่าจะมีโอกาสที่จะได้ผลตามเป้าหมายกี่ % เช่น 95% ด้วยหลักฐานรับรองจากการทดสอบ

แต่คำบอกเล่าจากประสบการณ์นั้น แม้ว่าได้ผล ก็ไม่ได้หมายความว่า อีก 9500 คนต่อมา จะต้องได้ผลเหมือนกัน และไม่มีข้อมูลพอที่จะบอกได้ว่า มีคนที่ใช้ได้ผลอีกเท่าใด จากคนที่ใช้จำนวนเท่าใด เพราะไม่ได้ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์

ข. เป็นเรื่องที่ไม่มีใครรู้ นอกจากตัวผู้พูดเอง อาหารเสริม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลประโยชน์ จากหลายภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งจากของตัวผู้ให้ข้อมูลหากเป็นผู้ที่ขายของด้วย จากผู้ที่นำไปกล่าวอ้างต่อ ซึ่งอาจจริงบ้างหรือไม่จริงบ้าง จริงบางส่วนเติมบางส่วน ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละคน



2. ผลิตภัณฑ์นั้น มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

ทั้งนี้เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม มิได้ผลิตขึ้นเพียงเพื่อรับประทานให้อิ่ม หรือ อร่อย แต่หวังผลบางอย่างต่อร่างกายของเรา ดังนั้นจึงควรดูว่า สิ่งที่รับประทานเข้าไป มีอะไรบ้างที่เป็นส่วนประกอบบ้าง ทำอะไรกับร่างกายของเรา ตัวไหนมีผลอย่างไร หากเป็นข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว คงไม่ต้องคิดอย่างนี้ เพราะไม่ได้ต้องการอะไรเจาะจง นอกจากให้ อิ่ม อร่อย สารอาหารครบ สะอาด ถูกหลักอนามัย

ผมขอยกกรณี ตัวอย่าง ว่าทำไมจึงต้องรู้ว่าเรารับประทานอะไรเข้าไป เพื่อให้เห็นได้ชัดมากขึ้น เช่น หากเป็นคนที่รักสุขภาพ และรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยไม่รู้ว่าในผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบอะไรบ้าง อาจทำให้ได้สารอาหารเกิน เช่น คนที่ทาน โปรตีนถั่วเหลือง + กาแฟสุขภาพ + ผงลูกยอ ในวันเดียวกัน

โปรตีนถั่วเหลือง ยี่ห้อหนึ่ง ตามคำแนะนำ ให้ทานได้วันละ 2-3 แก้ว แต่หากไม่ได้อ่านรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ดีๆ จะไม่รู้ว่ามีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่ 39.556 % หมายถึง จะได้รับน้ำตาลประมาณ 12.6-19.2 กรัม ต่อวัน

หากเป็นคนชอบทานกาแฟ และทานวันละ 2 แก้ว เลือกกาแฟผสมสมุนไพรพิเศษ ตามคำโฆษณา หากไม่ได้ดูรายละเอียดข้างกล่องบรรจุ อาจไม่ทราบว่ามีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ 9 กรัมต่อซอง จะได้รับน้ำตาลเพิ่มอีกวันละ 18 กรัม

หากกินผงลูกยอ เข้าไปด้วย ใน 1 แก้ว มีน้ำตาลอยู่ 17 กรัม หรือ 4 ช้อนชาเศษ

การรับประทานอาหารเสริมทั้ง 3 ตัวนี้ ในวันเดียวกัน จะได้รับน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 12-14 ช้อนชา ( น้ำตาล 4 กรัม เท่ากับ 1 ช้อนชา )

แต่หากรู้ก่อนกินผลิตภัณฑ์ จะได้เลือกกินได้ บางอย่าง บางตัว บางเวลา หรือลดน้ำตาลจากอาหารหรือขนมอื่นๆลง ตามสไตล์ชีวิตของแต่ละคน


ข้อคิดในเรื่องนี้ คือ ต้องดูดีๆ และต้องรู้ว่าเรากำลังกินอะไรเข้าไป ต้องดูในรายละเอียดที่เขียนเอาไว้ที่ใดที่หนึ่ง อาจเป็นที่ข้างกล่อง ข้าง pack ในคู่มือผลิตภัณฑ์ หรือที่ใดๆ ต้องอ่านฉลากสินค้าให้รอบคอบ ก่อนบริโภคสินค้า

วิธีป้องกันอย่างง่ายๆ คือ ลองไปค้นดูข้อมูลผลิตภัณฑ์ดูผลิตภัณฑ์ของเราดีๆอีกที จะได้รู้ถึงสิ่งที่ทานเข้าไป และจะได้รับประทานได้อย่างสบายใจ





Eight Ways to Spot Online Health Scams

The Internet is full of useful, sound health information. But it is also chock-a-block with scams that prey on your health concerns and your pocketbook.

Unfortunately, when it comes to being well, there really are no shortcuts. So, if it sounds too good to be true, it probably is. The good news is that if you know what to look for, it’s easy to protect your family from deceptive marketing and online health rip-offs.

8 Scam-Spotting Secrets

1. Be Wary of Celebrity Endorsements Famous people, especially well-known medical experts, are powerful sales generators, so unscrupulous business people often use celebrity likenesses to sell products.

2. Be Mindful of Miracle Cures If a pill could cure baldness or help us lose 30 pounds overnight, we would have all heard about it. Any company that makes extravagant claims is selling hype not hope.

3. Don’t Buy into Bogus Blogs When individuals share their health stories online, they can help millions of others facing the same challenges. Advertisers know this and create fake blogs that appear to be personal stories, but instead are just marketing tools. Another common tactic is to emulate news sites with articles that extol the virtues of a particular product. Be suspicious if only one solution is being recommended by any site.

4. Don’t Trust Trial Periods If the product is as good as it says, there should be no rush to buy it. Any site asking to you “act now” or warning that there’s a “limited quantity,” is trying to get you to buy now and think later. Trial periods are often rigged so that it’s almost impossible for you to get out of the agreement before they end, leaving you open to additional charges.

5. Don’t Trust “Testiphonials” Look for product endorsements supposedly written by real people. If you notice that all of the comments are grouped around the same date and there’s no way for you to add comments, that’s a giveaway that the creators of the site put them up.

6. Read The Fine Print (No, really) Most of us accept terms and conditions online all the time without actual reading what we’re agreeing to. But when you’re buying a product online, it’s critical, especially when the site creator has made them hard to read by putting them in tiny type or in a color that blends with the background. You may think you’re only paying $2.95 for shipping and handling, but you’re actually agreeing to sign up for a membership. If you don’t cancel in time, you’ll be charged much more than $2.95. Look for a clearly stated company name and address. If they have nothing to hide, it shouldn’t be hidden.

7. Look for the Seal of Approval Supplements that carry the seal of the United States Pharmacopeia (USP) have been tested and verified for quality, purity, and potency.

8. Do Your Own Research Check company and website names with the Better Business Bureau, which aggregates complaints from consumers and grades companies on a scale from A to F. Don’t do business with a company that scores a C or lower.



What to Do If You Think You’ve Been Scammed

1. Call Your Credit Card Company Explain what’s happened and tell them you do not authorize any more charges from that company. If you’re concerned that they may rack up big charges, cancel the card.

2. File a Complaint If you fell for a scam, others will too. Help shutdown fraudulent companies by reporting them to the Better Business Bureau, the Federal Trade Commission, your state attorney general’s office, or the Internet Crime Complaint Center.

*Source: Doctor Oz

จากคุณ : yaklek [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 26 ธ.ค. 54 15:39:52 [แก้ไข]
ถูกใจ : oncodog, หมอหมู




โดย: หมอหมู วันที่: 29 ธันวาคม 2554 เวลา:16:19:18 น.  

 
บุกจับ!ยึดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชื่อดัง

'ดีเอสไอ' บุกโรงงาน-สถานที่จำหน่าย ยึดผลิตภัณฑ์ชื่อดัง พบอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ไม่บริสุทธิ์ ผิดมาตรฐาน จ่อขยายผลอีกมากกว่า 100 ยี่ห้อ

4 ก.พ. 58 นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พร้อมด้วย พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล ผบ.สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ แถลงข่าวการเข้าตรวจสอบโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในจังหวัดสมุทรสาคร โดยสนธิกำลังกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบผลิตภัณฑ์ไม่บริสุทธิ์ อาหารปลอม อาหารผิดมาตรฐาน และโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง โดยเข้าตรวจค้นสถานที่เป้าหมาย 2 แห่ง ปรากฏผลการตรวจค้น ดังนี้ ​

1. ตรวจค้น บริษัท ตั้งอยู่ ซ.นาคนิวาส ถ.นาคนิวาส แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ตรา MEZO ผลการตรวจสอบได้ทำการอายัดผลิตภัณฑ์ MEZO

2. ตรวจค้น โรงงาน-บริษัท ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ต.คอกกระบือ อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ผลการตรวจสอบได้อายัดผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ตรา MEZO , ผลิตภัณฑ์ตรา FOMO V Shape Body , ผลิตภัณฑ์ตรา ดับบริวพีพลัส และผลิตภัณฑ์เอฟบีแอลพลัส

พ.ต.ต.สุริยา กล่าวต่อว่า การยึดอายัดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทั้งหมดแสดงชื่อไม่ตรงกับที่จดแจ้งไว้ มีการแสดงฉลากข้อความอวดอ้างสรรพคุณต่างๆ ที่ฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารและยา มาตรา 6 (10) และมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 คิดเป็นเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 45 ล้านบาท นอกจากนี้พบว่า มูลค่าการซื้อขายอาหารเสริมดังกล่าวมียอดการจำหน่ายต่อปีประมาณกว่า 600 ล้านบาทต่อปี ซึ่งต้องดำเนินการตรวจสอบเกี่ยวกับการยื่นเสียภาษีตามกฎหมายอีกด้วย จากการสืบสวน และตรวจค้นสถานที่ผลิต และจำหน่ายหลายแห่ง พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในท้องตลาดมีกระบวนการผลิตที่ใช้ยาควบคุมปนเปื้อน หรือเป็นส่วนผสมอยู่ และมีการดำเนินการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมทั้งมีการกระทำความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

พ.ต.ต.สุริยา กล่าวว่า โรงงาน-บริษัท ข้างต้นจดทะเบียนถูกต้อง มีรูปแบบการทำธุรกิจโดยเป็นเจ้าของสูตรยา แล้วโฆษณาให้คนที่มีต้นทุน และสนใจที่จะเข้ามาลงทุน โดยระบุข้อความขอเพียงมีเงินลงทุนเท่านั้น บริษัทจะเป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ ทำการตลาด กำหนดยี่ห้อสินค้าให้ แต่ใช้สูตรตัวยาเดียวกัน ทั้งนี้ ดีเอสไอจะเร่งรวบรวมหลักฐาน และพิสูจน์รายละเอียดของตัวยาทั้งหมด เพื่อออกหมายจับผู้เกี่ยวข้องต่อไป เบื้องต้นพบว่า มีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมากกว่า 100 ยี่ห้อ อยู่ในข่ายถูกตรวจสอบ


//www.komchadluek.net/detail/20150204/200784.html



โดย: หมอหมู วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:13:27:11 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]