Group Blog
All Blog
### การฝึกสมาธินี้เป็นการฝึกปล่อยวางร่างกาย ###








“การฝึกสมาธินี้เป็นการฝึก

ปล่อยวางร่างกาย”

การฝึกสมาธินี้เป็นการฝึกปล่อยวางร่างกายนี่เอง

 เวลาเราทำใจให้สงบตอนนั้นใจจะไม่สนใจเรื่องร่างกาย

เรื่องตาหูจมูกลิ้นกายนี้จะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับใจ

 ใจสงบใจจะปล่อยวาง ร่างกายจะเจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้

 หรือจะได้ยินเสียงอะไรก็ตาม หรือได้ดมกลิ่นอะไรก็ตาม

 ใจก็จะไม่เดือดร้อนไม่วุ่นวาย

 เพราะตอนนั้นใจเข้าไปสู่ความสงบ

ที่เรียกว่าอุเบกขา วางเฉยได้ นั่นแหละคือที่ปลง

 ถ้ามีที่ปลงแล้ว พอเกิดความทุกข์ขึ้นมา

 ก็ดึงใจให้กลับเข้าไปที่ตรงอุเบกขานี่เอง

ด้วยการใช้ปัญญา ด้วยการพินิจพิจารณา

อนิจจังทุกขังอนัตตา

 พอใจเข้าใจว่าตอนนี้ทุกข์ ไม่อยู่ในอุเบกขา

 ก็เพราะว่ามีความอยาก

พอมีความอยากมันก็จะออกจากจุดของอุเบกขาไป

 ก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

 ถ้าอยากจะให้ความทุกข์ใจหายไป

ก็ต้องย้อนกลับเข้ามาที่อุเบกขา

วิธีที่จะกลับเข้าสู่อุเบกขาก็ต้องละความอยากนั่นเอง

 ปล่อยวางความอยาก เพราะความอยากไม่มีคุณ

 ไม่มีประโยชน์กับใครเลย ไม่มีคุณประโยชน์กับร่างกาย

 ไม่มีคุณประโยชน์กับใจ อยากไม่ตายมันก็ตายอยู่ดี

แต่อยากไม่ตายมันก็ทำให้เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

พอเรายอมรับความจริงว่าร่างกายจะต้องตาย

แล้วเราหยุดความอยากไม่ตายได้

ใจก็กลับเข้าสู่อุเบกขา

 ใจก็เย็น พอปลงได้แล้วใจก็เย็นสบาย

ไม่ทุกข์กับความตายอีกต่อไป

อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าเป็นภาวนามยปัญญา

ภาวนาก็บอกแล้วว่าจะต้องมีสมถภาวนาก่อน

จึงจะเป็นภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่แท้จริง

 เป็นปัญญา ที่จะดับความทุกข์ใจได้

ส่วนจินตามยปัญญา จินตาก็มาจากจินตนาการ

คือสังขารความคิดปรุงแต่งของเรา

 เราจินตนาการไปก่อนว่า เราเกิดมาแล้ว

เราต้องแก่ต้องเจ็บ ต้องตายเป็นธรรมดา

 ล่วงพ้นความแก่ ความเจ็บความตายไปไม่ได้

เราต้องพลัดพรากจากบุคคล

จากสิ่งที่เรารักไปเป็นธรรมดา

 อันนี้เป็นการซ้อมไว้ก่อน ทำการบ้านไว้ก่อน

 เหมือนกับทหารที่เขาซ้อมรบกัน

 เขายังไม่ได้ใช้กระสุนจริงกัน แต่เขารู้ว่า

มันต่อไปในอนาคต เขาจะต้องเจอกระสุนจริงแน่นอน

แล้วถ้าเขาเตรียมไว้ก่อนซ้อมไว้ก่อน

 พอเจอกระสุนจริงเขาจะได้รู้จักวิธี หลบวิธีสู้

อันนี้ก็เหมือนกัน

ก่อนที่เราจะเข้าสู่ภาวนามยปัญญาได้

 เราก็ต้องอยู่ที่จินตามยปัญญาก่อน

แต่เราอย่าไปหลงว่ามัน เป็นปัญญาที่แท้จริง

 หรือสุตตมยปัญญานี้ก็เหมือนกัน

สุตตมยปัญญาก็คือปัญญาที่เกิดจาก การได้ยินได้ฟัง

คำสอนของพระพุทธเจ้า

 แต่เรายังไม่สามารถที่จะดับความทุกข์ได้

 นอกจากว่าตอนที่เราฟังธรรมเรามีความทุกข์ใจ

 เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วพอท่านแสดงว่า

 ให้พิจารณาว่าเรื่องนั้นว่าเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา

 แล้วเราพิจารณาตามได้แล้วปล่อยวางเรื่องนั้นได้

 อันนั้นก็เป็นภาวนามยปัญญาขึ้นมาได้

เช่นทุกข์กับลูกทุกข์กับสามีทุกข์กับภรรยา

พอพิจารณาว่าเป็นไตรลักษณ์

 แล้วก็ปล่อยวางเขาได้ปั๊บก็หายทุกข์เลย

ไม่ทุกข์กับลูกอีกต่อไป

ไม่ทุกข์กับภรรยาหรือสามีอีกต่อไป

 อย่างนี้ก็เป็นปัญญาได้ อย่างนี้เรียกว่าบรรลุธรรม

ในขณะที่ฟังธรรมเลย

คนบางคนมีความทุกข์ใจพอฟังธรรมแล้วหายทุกข์

แสดงว่าเขาบรรลุธรรมได้ในขั้นนั้นในเรื่องนั้น

 นี่ก็คือเรื่องของปัญญาที่มีอยู่ ๓ ระดับด้วยกัน

 แต่ปัญญาที่สำคัญที่สุดก็ต้องเป็น ภาวนามยปัญญา

 และการที่จะมีภาวนามยปัญญาได้ก็ต้องมีสมถภาวนาก่อน

 ต้องมีสมาธิมีความสงบก่อน

ดังนั้นการปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนี้

 จึงข้ามขั้นไม่ได้ ตัดออกไปไม่ได้ เหมือนกับกินยา

 เราเลือกกินยาชนิดนี้ยาชนิดนั้นเราไม่กิน

หมอให้มา ๕ – ๖ ชนิดขอกินแค่ชนิดเดียว

 เพราะคิดว่ายานี้สำคัญที่สุดยาอย่างอื่นไม่สำคัญ

 แต่ไม่รู้ว่ายาต่างๆนั้นเขามีหน้าที่ต่างกัน ฉันใด

 ธรรมต่างๆที่พระพุทธเจ้าให้เราก็มีหน้าที่ต่างกัน

การทำทานก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง

การรักษาศีลก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง

ารเจริญสมาธิเจริญสติก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง

การพิจารณาไตรลักษณ์พิจารณาอริยสัจ ๔

ก็มีหน้าที่อีกหน้าที่หนึ่งต่างกันไปไม่เหมือนกัน

ขาดไม่ได้ต้องมีให้ครบบริบูรณ์ให้ครบสูตร

เมื่อครบสูตรแล้วการหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างถาวร

 ก็จะเป็นผลอย่างแน่นอน

 ถ้าไม่ครบสูตรก็อาจจะดับความทุกข์ได้ชั่วครั้งชั่วคราว

เช่นถ้าใช้สมาธิก็ดับได้ เวลาที่ใจเข้าไปในสมาธิใจสงบ

 ความทุกข์เกี่ยวกับเรื่องต่างๆก็หายไป

 แต่พอออกจากสมาธิมา พอมารับรู้เรื่องราวต่างๆ

ก็กลับทุกข์ขึ้นมาใหม่ เพราะไม่ได้ไปถอนรากถอนโคน

ของเรื่องราวเหล่านั้น แต่ปัญญานี้

จะแก้ด้วยการถอนรากถอนโคน

ของเรื่องที่ทำให้เราทุกข์

รากโคนของเรื่องที่ทำให้เราทุกข์ ก็คือความหลง

 ความหลงทำให้เราเกิดความอยากขึ้นมา

 พอเกิดความอยากก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

ถ้าเราแก้ความหลงได้ ความอยากก็จะหายไป

 ความหลงคืออะไร ก็คือไม่เห็นไตรลักษณ์นี่เอง

ไม่เห็นอนิจจังทุกขังอนัตตา

ท่านจึงสอนให้เราพิจารณา

 อนิจจังทุกขังอนัตตาอยู่เรื่อยๆ

เพื่อให้เราเห็นอนิจจังทุกขังอนัตตาที่มีอยู่ตลอดเวลา

มีอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เรากลับมองไม่เห็นกัน

ไม่เห็นอนิจจัง เห็นอะไรก็เห็นเป็นนิจจังไปหมด

 เห็นอะไรก็เป็นสุขขังไปหมด

เห็นอะไรก็เป็นอัตตาไปหมด เป็นของเราไปหมด

 แล้วพอมันไม่เป็นอย่างที่เราเห็น

ก็เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

 เพราะเราอยากให้เป็นนิจจังสุขขังอัตตา

แต่มันบอกไม่ใช่ เราเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา

เราก็ไม่ยอมเชื่อมัน ใช่ไหม เหมือนกับเราไปเจอ คนนี้

เขาบอกเขาชื่อสมชาย เราบอกไม่ใช่คุณชื่อสมศักดิ์

 เขาบอกไม่ใช่ผมชื่อสมชาย ก็เถียงกันอยู่นั่น

 เราไม่รู้ความจริง ไม่รู้ว่าของต่างๆในโลกนี้

เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตากัน

 เราจึงต้องคอยพิจารณาอยู่เรื่อยๆ

 แต่การที่เราจะพิจารณาอนิจจังทุกขังอนัตตาได้นี้

เราต้องมีสมาธิ เพราะอะไร เพราะถ้าไม่มีสมาธินี้

กิเลสมันมีแรงมาก มันจะไม่ยอมให้เราพิจารณา

มันจะให้เราพิจารณาแต่นิจจังสุขขังอัตตา

แต่พอเราทำใจให้สงบนี้กิเลสถูกตัดกำลังลงไป

เราก็สามารถสั่งให้ใจ

คิดไปในทางอนิจจังทุกขังอนัตตาได้

นี่แหละคือ สมาธิที่สนับสนุนปัญญา

จะทำให้สามารถพิจารณาอนิจจังทุกขังอนัตตา

ได้อย่างต่อเนื่อง

ความจริงไม่ใช่เราไม่รู้นะ อนิจจังทุกขังอนัตตา

 เราก็รู้กัน แต่รู้น้อย รู้เป็นพักๆรู้เป็นบางครั้งบางเวลา

ไม่รู้อย่างต่อเนื่อง ถ้ารู้อย่างปัญญานี้ต้องรู้อยู่ตลอดเวลา

 มองเห็นอะไรนี้ต้องเห็นว่าเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาเลย

 ถ้าเห็นแล้วมันจะไม่อยากได้

เห็นเงินก็เห็นเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาปั๊บ

ก็ไม่อยากได้เงิน

 เห็นยศฐาบรรดาศักดิ์ก็จะไม่อยากได้

 เห็นสรรเสริญก็ไม่อยากได้

 ใครอยากจะชมไม่ชมก็ไม่สนใจ

 เขาชมได้เดี๋ยวบางวันเขาไม่ชมก็ได้

เวลาเขาไม่ชมแล้วจะรู้สึกอย่างไร

นี่เราต้องเห็นอนิจจังทุกขังอนัตตาตลอดเวลา

 ถึงจะเป็นปัญญาที่แท้จริง

เป็นปัญญาที่ละตัณหาความอยากได้

เป็นปัญญาที่ดับความทุกข์ได้

นี่คือเรื่องของธรรมโอสถ

ที่พวกเราได้มารับไปรับประทาน

 รับไปเพื่อรักษาโรคของความทุกข์ใจกัน

 ขอให้พวกเราเอาไปรักษากันอย่างจริงจังเถิด

เพราะนี่ก็รักษากันมาตั้ง ๙ ปีแล้ว

จนกระทั่งหมอก็เบื่อขี้หน้าแล้ว มาทีไรก็มารับยา

 ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย ไม่ได้โกนศีรษะให้เห็นเลย

 ไม่ได้นุ่งขาวห่มขาวให้เห็นมั่ง

นั่นแหละคือคนที่หายทุกข์

 คนที่หายทุกข์เขาก็ไม่รู้จะเก็บผมไว้ทำไม

 เขาเห็นว่าผมมันเป็นทุกข์ เกะกะลำบากลำบน

 ต้องคอยสระ ต้องคอยเซท ต้องคอยหวี

 ต้องคอยแต่งอยู่เรื่อยๆ ถ้าโกนหัวตัดมันทิ้งไปก็สบาย

 เวลาอาบน้ำก็สบายไม่ต้องมาเช็ด ปั๊บเดียวก็แห้งแล้ว

 ไม่ต้องใช้แชมพงแชมพู

ไม่ต้องใช้ยาอะไรรักษารังคงรังแคอะไรต่างๆ

เป็นความทุกข์ทั้งนั้นแต่มองไม่เห็นกัน

เพราะไม่กินยานั่นเอง

ไม่กินยาธรรมโอสถของพระพุทธเจ้า

 ก็คืออนิจจังทุกขังอนัตตา ร่างกายมีความแก่เป็นธรรมดา

 ล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.............................

กัณฑ์ที่ ๔๗๘ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๗

“ธรรมโอสถ”







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพต่ะ




Create Date : 19 สิงหาคม 2559
Last Update : 19 สิงหาคม 2559 8:57:05 น.
Counter : 929 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ