Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
14 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 
การเขียนนวนิยาย โดย อาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง

พอดีว่าตัวผมได้มีโอกาสไปอบรมการเขียนในหัวข้อ “เขียนอย่างมืออาชีพ ปี58” ที่ทางสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา โดยการอบรมในครั้งนี้สำหรับผู้ที่เตรียมตัวส่งผลงานเข้าประกวดในโครงการประกวดวรรณกรรมแว่นแก้ว ครั้งที่ 12 ประจำปี 2558

เมื่อผมได้รับการอบรมความรู้ที่เป็นประโยชน์ก็อยากจะบันทึกเนื้อหาความรู้จากการอบรมในครั้งนี้ไว้สำหรับตัวของผมเองและผู้สนใจ โดยเนื้อหาในบล็อกนี้ผมเรียบเรียงเขียนขึ้นมาใหม่จากการที่ผมได้จดบันทึก (เลคเชอร์) ตามความเข้าใจของผม ถึงแม้ว่าจะไม่ครบถ้วนหรือถูกต้องทั้งหมดตามที่ท่านวิทยากรสอน แต่ก็คาดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจก็เป็นได้

โดยท่านวิทยากรผู้สอนในหัวข้อการเขียนนวนิยายนี้ก็คือ อาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง ท่านเป็นเขียนนวนิยายชื่อดังของเมืองไทย อีกทั้งท่านยังเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์อีกด้วย ถือว่าเป็นท่านมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการเขียนนวนิยายเป็นอย่างดี โดยท่านได้สอนเรื่องราวที่เป็นประโยชน์สำหรับการเขียนนวนิยายดังนี้











@การอ่านเป็นกระบวนการหนึ่งของการเขียน ดังนั้นผู้ที่อยากเป็นนักเขียนควรจะต้องเริ่มอ่านกันตั้งแต่วันนี้

@การอ่านเป็นหนทางลัดสู่การเป็นนักเขียน ดังนั้นจึงควรอ่านด้วยสายตาของนักเขียน อ่านแล้วควรเฝ้าสังเกตและจดจำวิธีการเขียนเอาไว้

@การอ่านเป็นการนำเข้า นอกจากจะอ่านหนังสือแล้วนักเขียนควรจะต้องอ่านชีวิตด้วย เพราะนักเขียนจำเป็นต้องเขียนเรื่องของมนุษย์ เขียนโดยที่มีความเข้าใจในความเป็นไปของมนุษย์ ดังนั้นนักเขียนจึงต้องมีดวงตาของนักอ่านชีวิตซึ่งมีความเข้าใจในการอ่านชีวิตมากที่สุด

@นักเขียนควรหมั่นสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งที่เป็นสิ่งชีวิตและไม่มีชีวิต โดยต้องเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นด้วย การจะเป็นนักเขียนนั้นเราต้องรู้ว่าเราเป็นอะไร? และกำลังทำอะไร? ดังนั้นเราจึงต้องสนใจในรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ด้วย

@ประสบการณ์ชีวิตเป็นสิ่งที่ถูกเก็บอยู่ในความทรงจำของสมอง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเขียนได้ โดยความสะเทือนใจเป็นลิ้นชักในความทรงจำที่สำคัญมาก ที่ผ่านมาเรามีความสะเทือนใจมากน้อยขนาดไหน?

@การเขียนคือการถ่ายทอดเพื่อการส่งออก เป็นการนำเรื่องราวและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ข้างใน(ใจ)ของเราออกมาเขียนให้ได้

@การเขียนนวนิยายเป็นการเขียนเรื่องจินตนาการ (ไม่ใช่เรื่องจริง) ดังนั้นนวนิยายจึงเป็นวรรณกรรมที่ประกอบด้วยความเป็นจริงของชีวิต + จินตนาการ

@งานเขียนนั้นเป็นงานที่สร้างด้วยใจ ออกมาจากข้างใน ซึ่งยืดหยุ่นได้และไม่ตายตัวเสมอไป

@เพราะว่าชีวิตแต่ละชีวิตมีความแตกต่างกันไม่เหมือนกัน องค์ประกอบนี้เองที่ทำให้งานเขียนของแต่ละคนออกมาแตกต่างกัน

@การจะเป็นนักเขียนที่ดีนั้นควรจำไว้เสมอว่า “เขียนอะไรก็ได้แต่ต้องเขียนให้สม่ำเสมอ”

@การจะเป็นนักเขียนที่ดีนั้นควรจะหมั่นฝึกเขียนกลอนให้บ่อย ๆ เพราะคำกลอนเป็นงานเขียนที่มีฉันทลักษณ์ซึ่งมีรูปแบบการเขียน จึงต้องมีการเลือกหาคำมาใช้ให้ลงตัว อีกทั้งการเขียนกลอนนั้นจะทำให้เรายอมรับในกรอบกฎเกณฑ์บางอย่างได้ด้วย

@การเขียนนวนิยายต้องมีจินตนาการ โดยนวนิยายซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ

1.) เรื่อง เป็นเรื่องของการกระทำ ในเนื้อหาของเรื่องนั้นจะต้องมีปัญหาหรือความขัดแย้งเสมอ

2.) ตัวละคร พระเอก , นางเอก , ผู้ร้าย , ตัวประกอบ ฯลฯ

3.) ฉาก ซึ่งเป็นสถานที่ที่เกิดเรื่องราว

@ข้อแตกต่างระหว่างเรื่องสั้นกับนวนิยายประการหนึ่งคือ เรื่องสั้นนั้นอาจจะไม่มีสถานที่เลยก็ได้ แต่นวนิยายนั้นจะต้องมีสถานที่เสมอ

@การเขียนนวนิยายนั้นจะต้องคิดก่อนเขียน ต้องคิดตรีม(แนวคิด)สำคัญของเรื่องให้ได้ก่อน คือต้องสรุปความคิดสำคัญให้ได้ก่อน ต้องตอบให้ได้ก่อนว่าเราเขียนเรื่องนี้ทำไม?

@การเขียนนวนิยายนั้นต้องมีการสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นเสมอ จึงจะทำให้เกิดเป็นเรื่องราวขึ้น อีกทั้งความขัดแย้งนั้นจะเป็นตัวสร้างสีสันที่ทำให้เรื่องราวสนุกสนานและน่าติดตาม

@ตัวละครที่ไม่มีความขัดแย้งเลยนั้นเหมาะสมสำหรับการใช้เขียนสารคดี เพราะผู้เขียนสามารถใช้ตัวละครเป็นตัวเล่าเรื่องราวทั้งหมดได้

@ความขัดแย้งในนวนิยายนั้นมีหลายประเภท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้

1.) คน(ตัวละคร)ขัดแย้งกับคน(ตัวละคร)

2.) คน(ตัวละคร)ขัดแย้งกับจิตใจของตัวเอง

3.) คน(ตัวละคร)ขัดแย้งกับสภาพแวดล้อม

4.) คน(ตัวละคร)ขัดแย้งกับนโยบายภาครัฐ

@เวลาที่เราสร้างความขัดแย้งขึ้นมาแล้วเราควรคำนึงถือข้อเท็จจริงด้วย สร้างความขัดแย้งขึ้นมาบนพื้นฐานของความเป็นไปได้จะทำให้เรื่องของเราสมจริง ทำให้ผู้อ่านเชื่อว่าเป็นไปได้

@เรื่องของเราควรจะมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือด้วย จึงจะทำให้ผู้อ่านเชื่อและคล้อยตามไปกับเรื่องของเรา

@นักเขียนส่วนใหญ่มักจะเขียนเรื่องที่เกิดขึ้นจากเรื่องจริงของตัวเองหรือคนใกล้ตัว ซึ่งเรื่องราวเหล่านั้นได้เกิดขึ้นจริงแล้ว จึงทำให้เรื่องที่สร้างขึ้นมานี้มีความน่าเชื่อถือและมีความสมจริงมากยิ่งขึ้นด้วย

@แต่ความสมจริงนั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา เช่น ในสมัยก่อนนางเอกจะออกจากบ้านต้องปลอมตัวเป็นผู้ชาย เพราะว่าสมัยก่อนนั้นผู้หญิงมักจะไม่ค่อยได้ออกจากบ้าน การเดินทางจึงอาจจะเป็นอันตรายแก่ผู้หญิงได้ แต่ในปัจจุบันผู้หญิงไม่ต้องปลอมตัวเพื่อออกจากบ้านแล้ว ในสมัยนี้ผู้หญิงไปปลอมตัวในเฟสบุ๊คส์แทน โดยเอารูปที่ดูสวยและดูดีทำให้คนอื่นเชื่อว่าเป็นคนสวย ซึ่งถือว่ารูปแบบของการปลอมตัวเปลี่ยนแปลงไป

@เรื่องเพศที่ 3 นั้นสามารถนำมาใช้ในพล็อตเรื่องการปลอมตัวได้เช่นกัน เช่นแปลงเพศเป็นผู้หญิงโดยไม่ให้พระเอกรู้

@ในการสร้างความขัดแย้งนั้นเราควรคิดให้ดีก่อน เพื่อที่จะได้สร้างความขัดแย้งออกมาสมจริงมากที่สุด

@การสร้างตัวละครนั้นต้องคิดให้ชัดเจนก่อนเช่นกัน โดยวางบุคลิกลักษณะของตัวละครไว้ให้ชัดเจนก่อนว่า ตัวไหนเป็นพระเอก , เป็นนางเอก , เป็นผู้ร้าย ฯลฯ

@ในการเขียนนวนิยายที่เราเอาตัวเราเองมาใช้เป็นนางเอกหรือพระเอก เราจะไม่สามารถเขียนเพื่อชื่นชมตัวเองได้ เราจึงต้องเขียนแบบถล่มตนอย่างที่สุด

@การสร้างตัวละครนั้นเราอาจจะใช้บุคลิกและลักษณะของคนใกล้ตัวก็ได้ เพราะว่าเราเห็นบุคลิกของเธอหรือเขาชัดเจน และเราประทับใจในตัวเธอหรือเขาด้วย แต่เมื่อนำมาใช้แล้วเราควรเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่เราเอามาเป็นต้นแบบนั้นรู้ เช่น เธอผมยาวเราก็เปลี่ยนให้ตัวละครของเราผมสั้น เป็นต้น

@การเขียนนวนิยายนั้นเริ่มต้นจากการสร้างโครงเรื่องขึ้นมา โดยให้ตัวละครมีความขัดแย้งกัน โดยการสร้างเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องและเป็นเหตุเป็นผลกัน โดยต้องให้เหตุการณ์ทั้งหมดในเรื่องนั้นมีความสัมพันธ์กับตัวละครหลัก คือพระเอก พระรอง นางเอกและผู้ร้ายด้วย

@รวมทั้งการสร้างเรื่องขึ้นมานั้นตัวละครหลักทั้งหมดต้องมีความสัมพันธ์กันด้วย คือรู้จักกันหรือเป็นญาติเป็นเพื่อน หรือเป็นคนที่รู้จักกัน โดยต้องมีเหตุการณ์หรือความเป็นไปอะไรบางอย่างที่ทำให้ตัวละครเข้ามาบรรจบกันได้

@การสร้างโครงเรื่องนั้นอาจจะมีทั้งโครงเรื่องหลักที่เป็นความสัมพันธ์หรือเหตุการณ์ของตัวละครหลัก (พระเอก , นางเอก และผู้ร้าย) และโครงเรื่องรองที่เป็นเรื่องราวของตัวละครรองด้วยก็ได้ โดยให้ทั้งโครงเรื่องหลักและโครงเรื่องรองนั้นมีความสัมพันธ์ควบคู่และสอดคล้องกันไปจนจบเรื่อง

@การวางโครงเรื่องนั้นจำเป็นต้องให้เหตุการณ์ต่าง ๆ เรียงลำดับและเรียงร้อยกัน โดยต้องมีเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดของเรื่อง (ไคลแม็กซ์) เป็นจุดเปลี่ยนของเรื่องด้วย ซึ่งเวลาที่เราจะเขียนนวนิยายนั้นเราควรคิดถึงฉากที่สำคัญที่สุดของเรื่อง (ไคลแม็กซ์) นี้ไว้ก่อนเสมอ

@โดยในฉากที่สำคัญทีสุดนั้น (ฉากไคลแม็กซ์) จะต้องเป็นฉากที่ตัวละครเกิดอารมณ์ (ดราม่า) ที่ทำให้มีความขัดแย้งกันมากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญที่สูงสุดของเรื่อง

@ในการสร้างโครงเรื่องนั้น เราควรสร้างโครงสร้างให้มีความซับซ้อนเกี่ยวพันกันไปโดยตลอด จะทำให้เรื่องของเราสนุกสนานเร้าใจและน่าตื่นเต้นสำหรับผู้อ่าน แต่ถ้าโครงเรื่องของเราราบเรียบไปตลอดเรื่องนั้นตัวละครหลักจะต้องมีความวิเศษมากที่สุด เพื่อทำให้ผู้อ่านเกาะติดไปกับตัวละครที่พิเศษนั้น

@เรื่องสืบสวนสอบสวนจะมีโครงสร้างของเรื่องที่ซับซ้อนมากที่สุด โดยเหตุการณ์ต่าง ๆ มักจะวกวนไปมา แต่ก็สามารถนำไปสู่จุดจบสุดท้ายของเรื่องได้ (รู้ตัวผู้ร้าย/รู้ตัวฆาตกร)

@ถ้าเรามีความรู้หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ ให้เอาสิ่งเหล่านั้นเป็นวัตถุดิบในการเขียนเรื่อง เอาข้อมูลดิบของเรามาสร้างเป็นฐานของเรื่อง จะสร้างเรื่องได้ดีเนื่องจากเรามีวัตถุดิบที่คนอื่นไม่มี เช่น คนเคยทำร้านเสริมสวยมาก่อน จะสามารถสร้างรายละเอียดของเรื่องการทำผมได้ดี เช่น รู้จักเสียงไดร์ฟเป่าผม , มีความรู้เกี่ยวกับการสระผม , วิธีการดัดผม ฯลฯ ซึ่งสามารถนำเอารายละเอียดต่าง ๆ นี้มาสร้างเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในร้านเสริมสวยได้ดีกว่าคนอื่น

@อ.ชมัยภร เคยได้ยินประโยคที่ว่า “ไม่ตายแต่ตาบอดตลอดชีวิต” ซึ่งได้ยินประโยคนี้แล้วเกิดความสะเทือนใจจึงนำมาเรื่องเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนตาบอด โดย อ.ชมัยภร ต้องไปหาข้อมูลเกี่ยวกับคนตาบอดเพิ่มเติม

@เคยมีนักเขียนชื่อดังบอกไว้ว่า “เวลาที่เราจะเขียนเรื่องอะไรนั้น ข้อมูลจะวิ่งมาหาเราโดยไม่รู้ตัว” อาจจะเป็นได้ว่าเพราะเราจดจ่ออยู่กับเรื่องนั้น ๆ ก็เป็นได้

@วิธีการหาข้อมูลสำหรับใช้เขียนเรื่องนั้น เราจำเป็นต้องไปหาข้อมูลดิบมา ไปค้นคว้ามาโดยหามาให้ได้มากที่สุด โดยเมื่อเราได้ข้อมูลดิบมาแล้วเราไม่ต้องใส่ลงไปทั้งหมดหรือใส่ให้ได้ 100% ใส่ลงไปให้เหมาะสมเพียงพอแก่การเล่าเรื่อง ซึ่งการที่เรามีข้อมูลดิบเพียงพอนั้นจะทำให้เรามั่นใจในการเขียนเรื่องด้วย

@การที่เราหาข้อมูลดิบมาได้แต่ไม่ใส่ลงไปทั้งหมดในนวนิยายของเราก็เพราะว่า คนอ่านคงจะรับไม่ได้เนื่องจากข้อมูลมากเกินไป (ยกเว้นในกรณีที่เราหามาเพื่อเขียนสารคดี)











@การจะเป็นนักเขียนนั้นเราไม่สามารถเป็นได้ตั้งแต่เรื่องแรกที่เราเขียน ดังนั้นเราควรจะมีคนใกล้ตัวที่ไว้วางใจได้สำหรับช่วยอ่านงานของเรา เพื่อที่จะช่วยวิจารณ์งานเขียนของเราว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร?

@ในเรื่องของการเขียนนั้นถ้าภาษาผิดก็สามารถแก้ไขได้ แต่ถ้าข้อมูลผิดไม่อาจจะแก้ไขได้ ดังเช่นในกรณีที่เราให้บรรณาธิการช่วยแก้ไขงานให้เรานั้น ถ้าเราเขียนสะกดผิดบรรณาธิการก็ช่วยแก้ไขให้เราได้ แต่ถ้าโครงเรื่องผิดหรือข้อมูลผิดพลาดนั้นจะไม่มีใครที่จะสามารถแก้ไขงานให้เราได้เลย

@เวลาเขียนฉากวาบหวามนั้นอย่าให้เลยเถิดจนเกินไป เพราะถ้าเขียนเกินไปจะกลายเป็นอนาจารได้

@การสร้างตัวละครในเรื่อง ควรสร้างให้มีทั้งตัวละครเอกและตัวละครรอง รวมทั้งต้องมีตัวละครประกอบด้วย

@บทบาทของตัวละครรองจะช่วยส่งเสริมบทบาทของตัวละครเอก ตัวละครรองก็ควรจะมีบุคลิกเป็นของตัวเองพอสมควร (ควรสร้างรายละเอียดให้ตัวละครรองด้วย) โดยตัวละครรองนั้นมีส่วนสำคัญในเรื่องก็คือทำให้เรื่องของเราเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ ทำให้เรื่องไปถึงจุดจบสุดท้ายได้

@การสร้างโครงเรื่องหลักนั้นสำหรับตัวละครเอก ส่วนโครงเรื่องรองนั้นสำหรับตัวละครรอง ส่วนตัวละครประกอบนั้นอาจจะไม่มีโครงเรื่องรองรับก็ได้

@มีนักเขียนใหญ่ท่านหนึ่งบอกไว้ว่า “ถ้าตัวละครที่คิดจะเขียนยังไม่มาเต้นเร้า ๆ อยู่ตรงหน้าก็ยังเขียนเรื่องไม่ได้” เพราะถ้าเรายังเห็นตัวละครของเราไม่ชัดเจนตัวละครนั้นก็ยังไม่อาจจะมาเต้นตรงหน้าเราได้ แต่ถ้าตัวละครของเราชัดเจนแล้วมันจะมาสะกิดบอกตัวเองว่าควรจะเริ่มเขียนเรื่องได้แล้ว

@ก่อนที่จะเขียนเรื่อง เราควรถามตัวเองเสมอว่าเรารู้จักตัวละครดีหรือยัง? เราต้องหาคำตอบให้แก่ตัวละครให้ได้ทุกคำถามโดยที่เราต้องรู้จักตัวละครของเราให้ดีที่สุด

@ตัวละครตัวไหนที่เราจับถนัดที่สุดและเรารู้จักมันดีที่สุด ให้เอาตัวละครนั้นเป็นตัวเล่าเรื่อง โดยใช้วิธีการเขียนที่เล่าเรื่องผ่านตัวละครนั้น หรือไม่ก็เลือกเอาตัวละครที่มีสีสันมากที่สุดในเรื่องเป็นตัวเล่าเรื่องก็ได้

@ถ้าเราจะเล่าเรื่องผ่านตัวละครที่รู้ทุกเรื่องนั้น เราควรจะเล่าโดยให้ตัวละครนั้นเป็นคนที่ไม่รู้เรื่องเลย จะทำให้เรื่องราวมีสีสันมากขึ้น เช่น เรื่องฟอเรส กั๊มป์

@ถ้าเราเลือกตัวละครที่ทำหน้าที่เล่าเรื่องได้ถูกตัวแล้ว การเขียนมันจะลื่นไหลเป็นอย่างมาก เขียนแล้วหยุดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นจึงควรถามตัวเองว่าเล่าเรื่องผ่านตัวละครไหนแล้วดีที่สุด

@อ.ชมัยภร เขียนเรื่อง “อาม่าบนคอนโด” โดยเล่าเรื่องผ่านตัวละครเด็กผู้ชาย ทำให้เรื่องดูสนุกมากขึ้น

@ในการเขียนสถานที่หรือฉากของเรื่องนั้น ถ้าเราคิดไว้ว่าจะให้ตัวละครอยู่ที่ไหน? หรือว่าไปไหน? ให้เราเขียนฉากหรือสถานที่นั้นไว้เลย โดยอาจจะเขียนวาดเป็นแผนผังหรือเขียนเป็นแปลนไว้ก็ได้ เพื่อที่จะทำให้เราไม่หลงและสับสนจนเขียนผิด

@ในการเขียนเราควรหาสัญลักษณ์ส่วนตัวให้แก่ตัวละครเอก โดยอาจจะเป็นสิ่งที่ติดตัวเขาอยู่ตลอดเวลาก็ได้ โดยการหาสัญลักษณ์ให้นั้นจะต้องให้สอดคล้องกับตัวละครและมีเหตุผลรองรับด้วย เช่น พระเอกมีป้ายอาญาสิทธิ์ , พระเอกสตาร์วอร์ถือดาบเลเชอร์ ฯลฯ

@เราต้องรู้วิธีทำให้เรื่องของเราสมจริงด้วย

@เรื่องของภาษานั้นเป็นองค์ประกอบของงานเขียน เราควรสร้างภาษาให้สอดคล้องกับบุคลิกของตัวละครด้วย และควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องด้วย เช่น เขียนเรื่องโบราณก็ต้องใช้ภาษาโบราณ เป็นต้น

@นักเขียนควรรู้ว่าตัวเองเรียนภาษามาจากที่ไหน? และตัวเองมีลีลาภาษาแบบไหน? ยิ่งถ้าเราชอบอ่านหนังสือของใคร ภาษาของนักเขียนท่านนั้นก็อาจจะติดตัวเรามาด้วยก็ได้ เช่น คนที่ชอบอ่านงานของทมยันตรี เวลาเขียนมักใช้คำว่า “แฉกเช่น” เป็นต้น

@ถ้าเนื้อเรื่องเรียบง่ายภาษาที่ใช้ก็ต้องเรียบง่ายด้วย แต่ถ้าเนื้อเรื่องออกแนวติสต์ (อาร์ต/ศิลป์) ภาษาก็ต้องติสต์ตามไปด้วย

@ถ้าเขียนเรื่องเด็กก็ต้องใช้ภาษาเด็กด้วย เช่น เด็กมักพูดว่า “จะไปฉุงฉิง” คือจะไปห้องน้ำ เป็นต้น

@นักเขียนที่ดีต้องจำไว้เสมอว่า “ภาษาที่ใช้ต้องไม่ทำให้อ่านแล้วสะดุด”

@อ.ชมัยภร แนะนำให้อ่านนวนิยายแปลจีนเรื่อง “พี่กับน้อง” ของหยูหัว สำหนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ เป็นนวนิยายที่เขียนได้ดีมาก รวมทั้งเรื่อง “คนตายยาก” และ “คนขายเลือด” ของผู้เขียนคนเดียวกันด้วย

@คนไทยยังเขียนเรื่องสู้คนจีนไม่ได้ สาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากการที่ประเทศจีนมีสังคมที่มีความซับซ้อนมาก นักเขียนของจีนจึงเขียนเรื่องราวออกมาได้ดีมากกว่า

@ประเทศเวียดนามผ่านสงครามที่หนักหนามาแล้ว ทำให้คนในประเทศเขามีการตกตะกอนชีวิตที่ดี

@ประเทศไทย , ลาวและเขมร มีสภาพสังคมที่คล้าย ๆ กัน

@ในการเขียนเรื่องโดยใช้มุมมองของพระเจ้านั้น จะทำให้เล่าเรื่องโดยที่รู้ทุกอย่างไปเสียทั้งหมด เรียกได้ว่าสามารถอธิบายเรื่องราวทุกสิ่งในเรื่องได้ราวกับว่ามีพระเจ้าเป็นผู้วิเคราะห์ เพราะว่ามุมมองของพระเจ้านั้นมองมาจากข้างบนจึงเห็นหมดทุกอย่าง

@สุดยอดของเทคนิคการเขียนคือการที่เล่าเรื่องออกมาแล้วผู้อ่านสามารถเห็นภาพตามไปด้วย เรียกว่าการเล่าเป็นภาพนั้นเอง เราจะเขียนอย่างไรให้ผู้อ่านเห็นตามเป็นภาพเหมือนที่เราเล่า

@งานเขียนนั้นเป็นงานที่อิสระที่สุดในโลก เราควรทำใจให้สบายโดยเขียนเรื่องที่เราถนัดหรือเรื่องที่เราชอบ

@นักเขียนที่ดีควรจะไว้เสมอว่า ต้องลงมือปฏิบัติ ต้องเขียน ต้องเร่งเขียน และต้องรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วย

@การตั้งชื่อเรื่องนั้นต้องตั้งชื่อให้น่าสนใจ ทำให้ผู้อ่านรู้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรแต่ไม่ควรให้รู้ทั้งหมด

@การตั้งชื่อเรื่องนั้นอย่าตั้งให้ตรงไปตรงมาเกิน ควรตั้งชื่อเรื่องให้เป็นโวหารด้วยจะยิ่งดี และควรตั้งชื่อเรื่องไม่ให้ซ้ำกับของคนอื่นด้วย

@“ดอกหญ้าเหนือพื้นดิน” เป็นงานเขียนที่ อ.ชมัยภร เขียนอัตชีวประวัติของ อ.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ลงในนิตยสารสกุลไทย

@มีนักเขียนใหญ่ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ในเวลาเขียนหนังสือ เรื่องราวต่าง ๆ มันจะมาเองเหมือนปาฏิหาริย์”

@ทุกอย่างที่มีลิขสิทธิ์ห้ามนำมาใช้ในการเขียนเพลงเด็ดขาด โปรดระวัง

@เรื่องที่เราจะเขียนนั้นเราควรจะต้องรู้ตอนจบแล้วและรู้โครงเรื่องทั้งหมดแล้วเราจึงเขียน โดยระหว่างที่เขียนนั้นเราสามารถเปลี่ยนแปลงรายละเอียดต่าง ๆ ได้ แต่ห้ามเปลี่ยนใจคือห้ามเปลี่ยนโครงเรื่อง และห้ามเปลี่ยนตอนจบของเรื่องเด็ดขาด (เรื่องที่เราจะเขียนจะได้ไม่แกว่งโดยขาดเหตุผลประกอบที่ควรเป็น)

@“เหยื่ออธรรม” นวนิยายคลาสิคที่มีตัวละครหลักเยอะหลายตัว ต้องลองหามาอ่านเพื่อศึกษาวิธีการเขียนดู

@“ด้วยเสน่ห์รัก” ของ รพินทรนาถ ฐากูร เป็นหนังสือที่น่าอ่าน

@เวลาที่เขียนติดแล้วเขียนต่อไม่ได้ ให้ไปทำอะไรก็ได้ที่ผิดแตกต่างไปจากเรื่องที่เรากำลังเขียนอยู่ ที่ติดเพราะว่าเราคิดไม่ออกพอเราไปทำอย่างอื่นโดยไม่ได้สนใจเรื่องที่เรากำลังเขียนค้างไว้ เมื่อเรากลับมาเขียนอีกครั้งจะทำให้เขียนออกก็เป็นได้

@การจะเป็นนักเขียนที่ดีนั้นควรจำไว้เสมอว่า “เขียนหนังสือต้องเขียนด้วยความสุขเสมอ”

@อ.ชมัยภร บอกว่าทิ้งท้ายไว้ว่า “การเขียนนวนิยายคือการเขียนเพื่อมนุษย์ เป็นการเขียนเพื่อให้สัมผัสถึงความเป็นไปของมนุษย์”




ท้ายสุดนี้ผมต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับผม และผมต้องขอขอบคุณทางสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ส์ด้วย ที่ให้โอกาสผมได้เข้าไปเรียนรู้วิชาการด้านการเขียนสารคดีในครั้งนี้

ขอบคุณครับ










Create Date : 14 ตุลาคม 2558
Last Update : 14 ตุลาคม 2558 17:52:03 น. 29 comments
Counter : 2359 Pageviews.

 
ได้ความรู้มากเลยครับผม ไม่เม้นท์ใครมาเป็นปีแล้วนะเนี่ย อิ อิ


โดย: ปลายแป้นพิมพ์ IP: 171.6.245.94 วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:11:01:03 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณกล่อง การเป็นนักเขียนไม่ง่ายเลยนะคะ หรือเพราะมี้ไม่ถนัดเขียนก็ไม่รูั้เลยรู้สึกแบบนั้น ตอนนี้น้องซีเริ่มเขียนหนังสือเองแล้ว ป.1 ปีใหม่ว่าจะหาสมุดบันทึกให้เธอค่ะ

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมน้องซีนะคะ น้องซีคิดถึงแม่มากค่ะแม่ไปทำงานปิดเทอม กลับบ้านเธอจะรีบมาเปิดประตูรถให้ แล้วกอดหอม ทั้งที่แม่ยังไม่ลงรถเลยค่ะ


โดย: มี้เก๋+ป๊าโอ๋=ซีทะเล (kae+aoe ) วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:11:43:48 น.  

 
เขียนหนังสือต้องเขียนด้วยความสุขเสมอ


เห็นด้วยมากๆเลยครับพี่อาคุง

พี่อาคุงไปอบรมมาหลายครั้งเลยนะครับ
เป็นเรื่องที่ดีมากๆเลยครับ
วิทยากรแต่ละท่านก็เป็นนักเขียนระดับมือรางวัลทั้งนั้นเลย




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:12:00:53 น.  

 
ขอบคุณที่ไปทักทายนะครับ

ทำให้ผมมีโอกาสเข้ามาเห็น ความรู้ ที่เป็นประโยชน์อันนี้

มันมีประโยชน์สำหรับคนที่ไม่ได้เข้าฟังมากเลยครับ


----------------------------


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
the last woman Education Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Literature Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: หางเต่า วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:12:19:51 น.  

 
คุณกล่อง มีโอกาศไป ฟัง ไปรับการอบรม จากนัก
เขียน โดยตรง ยอดเลยครับ..

อ่านข้างบน ได้ความรู้มากมาย..

ผมเองหัดเขียนมา พักหนึ่งแล้ว.. บางครั้งก็เสนอความ
จริง เพื่อหวัง ปฏิกิริยา จากผู้อ่าน แต่ก็ระวังมิให้ผู้
ถูกกล่าวถึงเสียหาย... และหวังว่าเขาจะปรับปรุง
(ความจริงแล้วคนบาปคือตัวผมแหละ) เพราะมีความ
อยากให้คนอื่นแก้ไข

บางครั้งที่เขียน ก็อยากจะรู้ความคิดอ่านของ ผู้อ่าน
จะได้นำมาปรับของเราครับคุณกล่อง

คือกลัวงานเขียน อ่านแล้ว ง่วงนอนครับ

ผมโหวต Diarist ให้แต่ก๊อบไม่มา ไม่รู้เป็นไง



โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:13:54:00 น.  

 




อุ ..

ไปเยี่ยมที่บ้าน ..

ดีใจ จุง ..

และ ที่ดีใจ ยิ่งกว่า .. คือการได้อ่าน .. ความรู้ในด้านการเขียน ..


เอางี้ ..


ขี้เกียจ หา ..



Add friend ล่ะนะ ..





โดย: foreverlovemom วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:14:14:21 น.  

 
ได้ความรุ้เพิ่มขึ้นเลยค่ะ จากที่ไม่เคยคิดถึงมุมจริงๆ ของนักเขียนที่จะเขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาได้สักชิ้น

จากบล๊อก....ไม่บอกค่ะ อิอิ ^ ^


โดย: ณ ปลายฉัตร วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:16:02:58 น.  

 
ขอบคุณ คุณกล่อง ที่แบ่งปัน เรื่องดีๆ ที่ได้อบรมมาด้วยค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
PZOBRIAN Book Blog ดู Blog
mambymam Home & Garden Blog ดู Blog
sawkitty Travel Blog ดู Blog
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Diarist ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


*** ส่วนมากคนไปเที่ยวเชียงใหม่ก็วิ่งยาวผ่านลำปางไปเลยค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:16:41:07 น.  

 

อาคุงกล่อง Diarist ดู Blog


โหวตตามคุณหนูแล้วนะทิดกล่อง



โดย: หอมกร วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:18:42:27 น.  

 
เห็นด้วยกับประโยคที่ว่า ในเวลาเขียนนังสือ เรื่องราวต่างๆมันจะมาเองเหมือนปาฏิหาริย์ นี่เจอกับตัวเองเลยครับ ราวกับการประทับทรงก็ว่าได้
ขอบคุณครับที่ชวนมาอ่าน สรุปได้ชัดและเข้าใจได้ง่ายๆครับ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:21:38:39 น.  

 
นั่น เจอเด็กหงส์อีกคนนึงละ เยอะเหมือนกันนะครับเนี่ย (ทำให้ชีริวมีโจทก์เยอะไปด้วย อะเจ้ย!)

นานมีบุ๊คส์ส่งเชิญอบรมมาเหมือนกัน ไม่รู้เขาเอาเมล์ติดต่อเราจากไหนนะครับ ที่สำคัญคือไม่ได้ไป แต่ก็ยังมาอ่านเอาในบล็อกอาคุงกล่องได้ เย้
และบล็อกนี้ก็เลคเชอร์ได้ละเอียดมากกกกก ถ้าเป็นสมัยเรียนผมต้องขอสมุดจดคุณกล่องไปซีร็อกซ์แน่ๆ
สำหรับผมเขียนบล็อกไปวันๆ แต่หนทางไปสู่การเป็นนักเขียนนิยายนั้นยาวมาก ไม่ค่อยได้อ่านนิยายชาวบ้านด้วยสิ


โดย: ชีริว วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:23:40:16 น.  

 
รู้สึกว่าการอ่านนี่จะเป็นพื้นฐานของหลายๆ อย่างเลย แต่จะว่าไปมันก็ตามนั้นจริงๆ ครับ ยิ่งเราอ่านมากเราก็ยิ่งมีข้อมูลข้อเปรียบเทียบในหัวมากตามไปด้วย ถ้าเรามาเขียนแม้จะไม่ได้อย่างเค้าแต่ถ้ามีข้อมูลมากก็ย่อมดีกว่าข้อมูลน้อย มันเปรียบเทียบได้

ผมไม่ค่อยได้ไปงานลักษณะนี้เท่าไหร่ ประเด็นที่ว่า รู้จักตัวละครดีหรือยัง? นี่กระมังที่ทำให้แม้แต่ตัวการ์ตูนของญี่ปุ่นมีทั้งกรุ๊ปเลือดและวันเกิด


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 15 ตุลาคม 2558 เวลา:0:00:39 น.  

 
โหวต literature ให้นะคะ ไม่รู้ตรงไหม

เราชอบอาจารย์ค่ะ เคยไปเข้าคอร์สฟังแกครั้งหนึ่ง ชอบมากๆ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 15 ตุลาคม 2558 เวลา:8:28:57 น.  

 
ขอบคุณสำหรับการเขียนนวนิยายครับ
อ่านด้วยสายตาของนักเขียน เขียนให้สม่ำเสมอ เล่าเป็นภาพ
บางครั้งก็เขียนออกมาได้เรื่อยๆ บางครั้งก็นึกไม่ออกเลย บางครั้งก็เขียนหาตอนจบไม่ได้ครับ แหะๆ


โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 15 ตุลาคม 2558 เวลา:13:06:13 น.  

 
เขียนนิยายต้องรีเสริชมาแบบเป๊ะๆๆๆจริงๆครับ
บางทีหนังสือเราอาจจะไปตกอยู่ในมือนักวิชาการขึ้นมาเดี๋ยวจะเป็นเรื่องครับ


โดย: PZOBRIAN วันที่: 15 ตุลาคม 2558 เวลา:14:00:46 น.  

 
คุณกล่องสามารถมาก เก็บรายละเอียดได้เยอะเลย ไม่ได้ไปเหมือนได้ไปเองเลย


โดย: sawkitty วันที่: 15 ตุลาคม 2558 เวลา:18:30:28 น.  

 
ขอบคุณคุณกล่องมากที่แวะไปเยี่ยมเยียนทักทาย และอ่านหนังสือของคุณแป๋วนะคะ
คุณแป๋วอ่านเม้นท์ของคุณกล่องต้องปลื้มมากแน่ ๆ ค่ะ


โดย: haiku วันที่: 15 ตุลาคม 2558 เวลา:23:44:38 น.  

 
คุณกล่องก็เขียนมีเอกลักษณ์ของคุณกล่องเองค่ะ
ลงมือเลย


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 16 ตุลาคม 2558 เวลา:13:42:53 น.  

 
อาชีพบุรุษไปรษณีย์เลยไม่มีให้เด็กๆ ค่ะ แต่มีเป็นส่งของค่ะที่คล้ายๆ กัน สนุกมากเลย เด็กชอบมาอาชีพนี้ค่ะ ที่คิดส์ซาเนีย


โดย: kae+aoe วันที่: 16 ตุลาคม 2558 เวลา:14:48:03 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
อาคุงกล่อง Diarist


โดย: kae+aoe วันที่: 16 ตุลาคม 2558 เวลา:14:49:32 น.  

 




งุ งิ .. งุ งิ ..


ความรัก .. ความไว้ใจ .. ความเข้าใจ .. การให้อภัย .. การเสียสละ ..

เฮ้อ .. เยอะ ..



มัน ผูก กันไป โม้ดดดดดด ...





โดย: foreverlovemom วันที่: 16 ตุลาคม 2558 เวลา:16:16:40 น.  

 
เอ้า...ส่งกำลังใจที่ diarist ตามเพื่อน ๆ ไปนะคะคุณกล่อง
เคยอ่านผลงานนักเขียนท่านนี้อยู่เหมือนกันค่ะ
การเป็นนักเขียน พี่ว่าเป็นพรสวรรค์ (ที่พีทำไม่ได้)
เพราะเป็นคนชอบเขียนแบบสั้น ๆ กระทัดรัดได้ใจความ
แต่ชอบอ่านค่า ^__^
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อาคุงกล่อง Diarist ดู Blog


โดย: เนินน้ำ วันที่: 16 ตุลาคม 2558 เวลา:16:17:08 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณกล่อง ขอบคุณมากนะคะที่ไปอ่านกลอนอกหักพร้อมโหวตให้กำลังใจค่ะ ตามมาอ่านรายละเอียดของการอบรมความรู้เกี่ยวกับการเป็นนักเขียนด้วยค่ะ คุณกล่องเก็บรายละเอียดได้ดีมากค่ะอ่านเข้าใจง่ายมากๆค่ะขอบคุณนะคะที่นำมาให้เพื่อนๆได้อ่านและมีความรู้ในการเขียนค่ะ

กิ่งชอบอ่านงานเขียนของทมยันตี มากค่ะติดตามมาโดยตลอดหลายเรื่องแล้วค่ะ

ไว้จะรออ่านงานเขียนของคุณกล่องนะคะ

โหวตให้เลยค่ะ ทำไมโหวตไม่ได้ค่ะ พอก็อบมาแล้วจะวางก็มีข้อความขึ้นมาเหมือนปกป้องการโต้ตอบค่ะ เห็นแล้ว งงๆๆ ค่ะ

หลับฝันดีค่ะ




โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 16 ตุลาคม 2558 เวลา:22:43:23 น.  

 
มาอ่าน เก็บความรู้
ขอบคุณนะคะ


โดย: นัทธ์ วันที่: 17 ตุลาคม 2558 เวลา:21:01:42 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: ชลบุรีมามี่คลับ วันที่: 17 ตุลาคม 2558 เวลา:21:13:03 น.  

 
บล็อกใหม่มาแล้วค่ะคุณกล่อง วันนี้ร้านกาแฟ


โดย: sawkitty วันที่: 18 ตุลาคม 2558 เวลา:17:47:17 น.  

 
ทักทายยามเช้าค่ะ คุณกล่อง


โดย: kae+aoe วันที่: 19 ตุลาคม 2558 เวลา:8:41:38 น.  

 
ขอบคุณนะคะที่แวะไปเม้นท์
ใช่ค่ะงานซีไรท์บางเล่มอ่านยากมาก
แต่พออ่านเข้าใจแล้วก็ทึ่งกับความคิดความอ่านของผู้ประพันธ์
ประมาณว่า คิดได้งัยเนี่ย!!!



โดย: ผีเสื้อยิปซี วันที่: 19 ตุลาคม 2558 เวลา:9:28:09 น.  

 
ปล.ชอบที่อาจารย์ชมัยภรบอกว่า...
"การจะเป็นนักเขียนที่ดีต้องฝึกเขียนบทกวี"

ชอบค่ะ


โดย: ผีเสื้อยิปซี วันที่: 19 ตุลาคม 2558 เวลา:9:30:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อาคุงกล่อง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




อาคุงกล่องเป็นชายไทยนิสัยดีมีความฝัน ผู้ผันตัวมาเป็นทาสวรรณกรรมอย่างแท้จริง ใช้ชื่อกำหนดตัวตนว่า “อาคุงกล่อง” เป็นนามปากกาสร้างสรรค์ผลงานในเชิงหัสนิยาย และงานเขียนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี ความเรียง บทกลอน ไดอารี่เพ้อเจ้อละเมอเพ้อฝันต่างๆ ฯลฯ

ปัจจุบัน “อาคุงกล่อง” เป็นนักอ่าน นักคิดและนักเขียน รวมทั้งเป็นนักจินตนาการออกมาเป็นตัวอักษรด้วย ผู้มีความฝันอันยิ่งใหญ่คือการเป็นนักเขียนมีคุณภาพที่สรรค์สร้างผลงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คาดว่าในเวลาอันใกล้นี้นาม “อาคุงกล่อง” จะเกิดปรากฎชัดในโลกวรรณกรรม จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่หนอนนักอ่านทั่วไทย



"ในชีวิตจริงของคนเรา มีอะไรอีกมากมายที่จะต้องรับรู้และรับผิดชอบ ในแต่ละวันเรามีโอกาสที่จะหัวเราะได้สักกี่ครั้ง? แต่ถ้าเราได้มีโอกาสหัวเราะเสียบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือคลายเครียด ก็คงจะเป็นสิ่งที่ดีนะครับ"

ถ้าคุณเข้ามาในบล็อคของผมแล้ว คุณสามารถอมยิ้มหรือหัวเราะได้ ผมก็คงจะดีใจแล้วครับ (กรุณาช่วยทิ้งคอมเม้นท์วิจารณ์ไว้ให้ผมด้วยนะครับ จักขอบพระคุณมากเลยครับ)

akungklong@gmail.com
Friends' blogs
[Add อาคุงกล่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.