เซียนดูพระ


เซียนดูพระ





# 6 อยากเป็น "เซียน" ต้องเรียนวิชา "ดูพระ"
เขียนข่าวโดย สุกัญญา แสงงาม จาก น.ส.พ.ผู้จัดการรายวัน
วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2549



ไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหน ไม่ว่าเศรษฐกิจจะรุ่งโรจน์หรือตกต่ำ และไม่ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคย "ราคาตก" ตลอดกาลก็คือ "พระเครื่อง"




มิหนำซ้ำยังมีการเปิดตัวศูนย์พระเครื่องตามแหล่งต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นย่านเก่าแก่ อย่างท่าพระจันทร์ หรือที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่าง โรงแรมมณเฑียร บางลำภูงามวงศ์วาน และพาต้าปิ่นเกล้า


และด้วยความที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนมหาศาลในวงการ "พุทธพาณิชย์" ประกอบกับมี "ของปลอม" โผล่ขึ้นมาให้เสียเงินอย่างน่าเสียดาย ทำให้ผู้คนจำนวนมากปรารถนาที่จะยกระดับตัวเองให้กลายเป็นคนที่ดูพระเป็น หรือ "เซียนพระ" เพื่อที่จะไม่ถูกหลอก และถ้าเป็นไปได้สวยก็อาจยึดเป็นอาชีพได้


ล่าสุดสถาบันการศึกษาทางไกล สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ก็เตรียมที่จะเปิด "หลักสูตรพระเครื่อง-พระบูชา" ขึ้นอย่างเป็นทางการ





ทำไมต้องหลักสูตรพระเครื่อง

เพียงแค่เอ่ยปากว่า กระทรวงศึกษาธิการกำลังจะเปิด "หลักสูตรพระเครื่อง" ขึ้น ก็เริ่มมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่า กำลังจะดึงคนเข้าสู่วงจร "พุทธพาณิชย์" หรือไม่


บุญส่ง คูวรากุล ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาทางไกล ปฏิเสธด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่า ไม่ใช่พุทธพาณิชย์ แต่ หลักสูตรพระเครื่อง ที่การศึกษาทางไกลจับมือกับ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย สร้างเป็นตำรานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของพระเครื่องพระบูชา พุทธศิลป์ ฯลฯ


โดยมุ่งหวังที่จะสืบทอดความรู้เหล่านี้ ให้ตกทอดไปสู่คนรุ่นหลัง ไม่ได้ต้องการดึงคนไปงมงายกับเรื่องของไสยศาสตร์ หรือธุรกิจพระเครื่องอย่างแน่นอน


และที่สำคัญก็คือ เมื่อได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้อย่างลึกซึ้งแล้ว จะทำให้เราสามารถมองเห็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่สอดแทรกเอาไว้อย่างที่หลายคนนึกไม่ถึงเลยทีเดียว


"ครั้งแรกที่มีคนเสนอให้เปิด หลักสูตรพระเครื่อง เราก็ได้มีการสำรวจความต้องการจากทุกภูมิภาค ปรากฏว่ามีคนหลากหลายอาชีพให้ความสนใจ เราก็คิดว่ายังไม่มีใครทำ ลองทำดูสักทีก็ไม่เห็นเป็นไร แต่ก็มาติดที่องค์กรของเรา ไม่มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านพระเครื่องพระบูชา ชนิดที่ลึกซึ้ง จึงได้สอบถามไปยังหนังสือพิมพ์ที่เปิดหน้าพระ ก็ได้รับการแนะนำให้ไปติดต่อกับสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย พอเขาฟังก็ตอบรับทันที"


"อย่างไรก็ดี กว่าที่จะรวบรวมเนื้อหาแล้วเขียนออกมาเป็นตำรา หรือเป็นคู่มือที่ชื่อว่า มรดกแผ่นดิน ก็ใช้เวลาเกือบปี แล้วก็มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ตามมา


ล่าสุดก็ตกลงกันว่า หากผู้ที่ลงทะเบียนเรียนกับเรา เราจะขายในราคาพิเศษ(ตำรา จะประทับตรากระทรวงฯกับสมาคมฯ ) ส่วนที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด ให้สมาคมฯตั้งราคาเองโดยใช้ตราของสมาคมฯเพียงอย่างเดียว"


พระสมเด็จวัดระฆัง พระประธาน




พระสมเด็จวัดระฆัง ทรงเจดีย์





หลักการดู พระสมเด็จวัดระฆัง

1. จำพิมพ์ พระสมเด็จวัดระฆัง ให้แม่น จะมี 5 พิมพ์ คือ พิมพ์พระประธาน ทรงเจดีย์ เกศบัวตูม ฐานแซม และปรกโพธิ์

2. ดูจากของจริง และเปรียบเทียบกับ พระพิมพ์สมเด็จอื่นๆ เพื่อดูจุดต่าง

3. ดูเนื้อ และมวลสาร ส่วนผสมของ พระสมเด็จวัดระฆัง เกิดจากการนำหินปูน มาเผาไฟ ทุบป่นให้แตกละเอียด เหมือนแป้ง ผสมกับ น้ำมันตังอิ๊วของจีน และมวลสารมงคลต่างๆ อาทิ เม็ดชาด เม็ดพระธาตุ เกสรดอกไม้แห้ง ข้าวสุก เนื้อพระสมเด็จ จึงมักมี มวลสาร ปรากฏให้เห็น และมักจะมีรอยปูไต่



พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ อกวี

ตำหนิเอกลักษณ์




1.พระเกศค่อนข้างเขื่อง

2.พระพักตร์เกือบกลม พระกรรณขวามักติดรำไรเห็นเป็นลำโค้ง จรดบ่า

3.มีลำพระศอ

4.พระอุระเป็นแบบ อกวี

5.ยอดซอกแขนซ้ายองค์พระจะสูงกว่ายอดซอกแขนขวา

6.รอยจีวรที่พาดจากแขนลงมาที่เข่า

7.เข่าแม้จะสึกเลือน แต่ยังเห็นร่องรอยการทับซ้อน ของเข่าซ้ายเหนือเข่าขวา

8.โปรดสังเกตเส้นแซมใต้หน้าตัก

9.ฐานชั้นกลางเป็นฐานขาสิงห์ ขอบบนจะนูนและพับเข้า




พระสมเด็จ บางขุนพรหม ทรงเจดีย์





หลักการดู พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม

1. จำพิมพ์ของ พระสมเด็จบางขุนพรหม ให้แม่น มีจำนวนพิมพ์มากกว่า สมเด็จวัดระฆัง 4 พิมพ์ คือ เส้นด้าย ฐานคู่ สังฆาฏิ และอกครุฑ

2. ดูจากของจริง และเปรียบเทียบกับ พระพิมพ์สมเด็จอื่นๆ เพื่อดูจุดต่าง

3. ดูเนื้อ และมวลสาร เนื้อของพระสมเด็จบางขุนพรหม จะละเอียดกว่า แน่นกว่า มีมวลสารมงคลน้อยกว่า และมีคราบกรุ อันเกิดจากปฏิกิริยาเคมี มีคราบดิน คราบเหล็กจับ

4. ซุ้มของสมเด็จบางขุนพรหม จะเล็กกว่าซุ้มของ สมเด็จวัดระฆัง




บุญส่ง อธิบายต่อว่า สำหรับรายละเอียดของหลักสูตรและการเรียนการสอนนั้น จะใช้เวลาเรียนรู้เนื้อหา 60 ชั่วโมง และเรียนรู้จากการค้นคว้าเพิ่มเติมและการทำกิจกรรมตามที่กำหนดอีก 100 ชั่วโมง รวม 160 ชั่วโมง


ทั้งนี้ โดยมีเนื้อหาสาระครอบคลุม การกำเนิดพระเครื่อง การจำแนกพระพิมพ์ พิมพ์ทรงพระเครื่องยอดนิยม กรรมวิธีและวัตถุดิบในการสร้างพระเครื่อง การใช้อุปกรณ์และการดูแลรักษาพระเครื่อง


"การที่เรากำหนดหลักสูตรเอาไว้ ในระบบการเรียนผ่านสื่อทางไกล ก็เพื่อให้คนทั่วไปสามารถลงทะเบียนเรียนอยู่ที่บ้านได้ โดยสามารถรับข้อมูลที่เผยแพร่ผ่าน อีทีวี อีกส่วนจะทำเป็นแผ่นซีดีประกอบกับตำราเรียนในลักษณะของแพกเกจ คือเมื่อลงทะเบียนจะได้รับตำรา พร้อมซีดี ผู้เรียนจะเรียนตอนไหนก็ได้"บุญส่งแจกแจง




ด้าน พิศาล เตชะวิภาค หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ต้อย เมืองนนท์ อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย บอกว่า “ตำราพระเครื่องเล่มนี้ ต้องนับได้ว่าสุดยอดและสมบูรณ์ที่สุดของเมืองไทย เนื่องจากที่ผ่านมาไม่เคยมีใครเขียนหนังสือตำราสไตล์นี้มาก่อน”


"ยอมรับว่า หืดขึ้นคอทีเดียว กว่าจะคลอดตำราเล่มนี้ออกมาได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย ทางสมาคมอาศัยเครือข่ายจากผู้มีความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีประสบการณ์จำนวนมาก มาให้ข้อคิดข้อแนะนำ เริ่มจากการทบทวนความทรงจำสมัยก่อนเข้าสู่วงการเล่นพระ ว่าอยากรู้อะไรบ้าง แล้วเอาความรู้สึกนั้นมาเขียน เพื่อให้คนอ่านได้รับได้รู้ เช่น อยากรู้ว่าพระองค์นี้ต้นกำเนิดอยู่ที่ไหน เนื้ออะไร มีอายุเท่าไหร่ เก๊-แท้ ดูตรงไหน ขณะเดียวกันได้ค้นคว้าตำรับตำรา ภาพพระมาใส่ไว้ในตำรา เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น"


ขณะที่การทำซีดี ก็ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยขยายองค์ความรู้ของผู้เรียนให้กว้างขวางขึ้น แล้วจำเนื้อหาได้อย่างแม่นยำขึ้นด้วย โดยเชิญผู้มีความรู้ในเรื่องนั้นๆมาเล่ามาขยาย ซึ่งแต่ละเรื่องแต่ละตอนจะลงลึก ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของเกจิอาจารย์องค์นั้น มีชื่อเสียงได้อย่างไร เด่นทางด้านไหน สร้างพระมากี่รุ่น สร้างขึ้นเพราะอะไร ฯลฯ




ยกตัวอย่างที่สมาคมฯ เพิ่งทำเสร็จสดๆร้อนๆ เช่น "หลวงปู่ทวด" ที่เนื้อหาจะเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของสุดยอดตำนานแห่งอริยสงฆ์ผู้สามารถทำให้น้ำทะเลจืดได้ และผู้สร้างสุดยอดวัตถุมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ ถ่ายทอดผ่านประสบการณ์จากบรรดาผู้ชำนาญการด้านพระเครื่องในเมืองไทย รวมทั้งนำเสนอประวัติและเรื่องรางต่างๆของวัตถุมงคลจากหลวงปู่ทวดทุกรุ่น เพื่อให้ท่านผู้มีความศรัทธาในบารมีของหลวงปู่ทวดได้รับรู้ เป็นต้น


นอกเหนือจากตำราและซีดีแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาและเรียนรู้ประสบการณ์โดยตรง จึงได้มีการกำหนดให้ผู้เรียน ไปยังแผงพระซึ่งเป็นสาขาของสมาคมฯที่มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อศึกษาพระจากของจริง เพราะยิ่งศึกษาจากของจริงมากเท่าไหร่ จะเรียนรู้รวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากบางอย่างไม่สามารถจะอธิบายหรือเขียนให้เข้าใจได้ ต้องเห็น ต้องศึกษาด้วยตนเองร่วมด้วย



พระผงสุพรรณ หน้าแก่ (เป็นพระกรุเมืองสุพรรณ)





พระผงสุพรรณ หน้ากลาง (เป็นพระกรุเมืองสุพรรณ)





พระผงสุพรรณ หน้าหนุ่ม (เป็นพระกรุเมืองสุพรรณ)





หลักการดู พระผงสุพรรณ

1. พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องเนื้อผง ที่ผสมด้วยเกสร และว่านวิเศษร้อยแปด มีด้วยกัน 4 สี คือ สีแดง สีเหลือง สีเขียว และดำ

2. มี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม พิมพ์หน้าแก่เป็นพิมพ์ที่นิยมกันมากที่สุด

3. พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องศิลปแบบอู่ทอง



"ตำราพระเครื่อง ซีดี ที่การศึกษาทางการกับสมาคมฯ ร่วมกันทำขึ้น เป็นการย่นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5-10 ปี เหลือเพียง 160 ชั่วโมง กว่าที่ผมหรือคนอื่นๆที่ได้ชื่อว่าเซียนพระ เขาใช้เวลาศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลมากว่า 5 ปี กว่าจะรู้เทียบเท่าที่ถ่ายทอดอยู่ในตำรา ถือว่าคนรุ่นใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้ามาศึกษาเรื่องพระเครื่องพระบูชาโชคดีกว่าพวกผม แต่ทุกคนในสมาคมฯยินดีที่จะ เผยแพร่ความรู้ เพราะถือว่าเป็นการถ่ายทอดมรดกไทย"


"หลักสูตรพระเครื่อง เป็นเพียงการเรียนรู้พื้นฐานแล้วต้องการให้ เข้าถึงแก่นแท้ของพระเกจิอาจารย์ พระเครื่องพระบูชาองค์นั้น แต่ยังไม่สามารถแยกแยะพระแท้ พระเก๊ได้ ส่วนใครต้องการเรียนรู้วิธีการสังเกตพระว่าของแท้หรือไม่แท้ ต้องอาศัยประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม วิทยากรที่อยู่ตามแผงพระ(ทุกสาขา) สามารถจะให้คำแนะนำวิธีการดูได้"


พิศาลบอกด้วยว่า เมื่อหลักสูตรนี้เปิดตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ คาดว่าจะมีผู้ก้าวเข้ามาสู่วงการพระเพิ่มขึ้นนับหมื่น นับแสนคนเลยทีเดียว


พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ เนื้อดิน มีกนก (เป็นพระกรุเมืองกำแพงเพชร)





พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ เนื้อดินสีดำ ไม่มีกนก (เป็นพระกรุเมืองกำแพงเพชร)





พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะเล็ก เนื้อดิน มีกนก (เป็นพระกรุเมืองกำแพงเพชร)





หลักการดู พระซุ้มกอ

1. พระเครื่องศิลปอู่ทองยุคต้น ผสมสุโขทัย

2. พระซุ้มกอ มีสร้างไว้ทั้งชนิด เนื้อดินผสมผง ถ้าเป็นเนื้อว่าน ด้านหนึ่งมักจะมี แผ่นทอง หรือเงิน ประกบไว้ และเนื้อชิน

3. ชนิดเนื้อดินผสมผง มีแยกเป็น:

o มีลายกนกข้าง ซึ่งแยกแบบออกเป็น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก

o ไม่มีลายกนกข้าง มักจะเป็น เนื้อสีดำ น้ำตาล และแดง




เส้นทางของเซียนพระ

สำหรับเส้นทางกว่าจะมาเป็นเซียนพระได้นั้น พิศาล เตชะวิภาค หรือ ต้อย เมืองนนท์ บอกว่า คนที่จะเข้าศึกษาเรื่องพระเครื่องพระบูชาได้ ต้องเกิดจากใจรัก เกิดจากความชอบความสนใจ และก่อนที่จะสนใจ จะต้องได้เห็นได้สัมผัสมาก่อนเสมอ


"ผมเป็นลูกข้าราชการกรมป่าไม้ และในยุคนั้น เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้จะนิยมสะสมพระ จะมีการพบปะแลกเปลี่ยนพระกัน เราก็เห็นอยู่ทุกวัน แล้วสังเกตเห็นว่าเขาหวงพระ เห็นบรรยากาศการแลกเปลี่ยนพบว่า ไม่ใช่จะแลกเปลี่ยนกันง่ายๆ บางทีคุยกันเป็นวัน เป็นคืน บางทีใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ไม่ใช่มีเงินแล้วซื้อได้ ผมก็มองว่าเป็นของที่มีค่า ทำให้ผมเข้าไปสัมผัส และพ่อเปรียบเสมือนครูคนแรก ท่านจะเล่าให้ฟังว่าพระองค์นี้หายาก พระองค์นี้ได้มาจากที่ไหน กว่าจะได้มาต้องฟันฝ่าอุปสรรคอะไรมาบ้าง ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ"


พอปี 2506 เดินทางมาเรียนในกรุงเทพฯ พิศาลก็เริ่มเข้ามาคลุกคลีสนามพระ แถวศาลอาญา ซึ่งขณะนั้นมีผู้นิยมสะสมพระมารวมตัวกัน แต่มีเพียงไม่กี่คน แล้วเผอิญได้รู้จักนักสะสมพระท่านหนึ่งที่เมตตาถ่ายทอดความรู้ให้ สิ่งไหนที่ไม่รู้ก็อาศัยการถามไปเรื่อยๆจนมีความรู้พอกพูนขึ้น กระทั่งตอนหลัง มามีสนามพระวัดมหาธาตุ ทำให้คนนิยมพระเริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน แล้วมีการแลกเปลี่ยนพระเครื่องพระบูชากันมากขึ้น


"อะไรที่เราไม่รู้ ก็จะถามผู้รู้ ซึ่งแต่ละคนจะรู้คนละอย่างสองอย่าง รู้เฉพาะสิ่งที่สนใจ ส่วนผมเป็นคนใฝ่รู้ พูดง่ายๆ อยากรู้ไปซะทุกเรื่องที่เกี่ยวกับพระเครื่องพระบูชา ถามไม่พอยังศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุด ตำรับตำราที่มีอยู่ อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า ส่งผลให้รู้เยอะ ซึ่งไม่ได้หมายความว่ารู้มากกว่าคนอื่น ทั้งนี้ กว่าจะได้รับการยอมรับจากวงการพระ จนเรียกว่าเซียน ผมใช้เวลาในการสั่งสมประสบการณ์มากว่า 40 ปี"


พิศาลให้คำแนะนำด้วยว่า การดูพระ จริงๆ แล้วมันเหมือนเส้นผมบังภูเขา จุดสังเกตของพระไม่มีอะไรลึกซึ้ง จุดใหญ่ๆ ก็คือพิมพ์พระหรือต้นแบบ


อย่างพระเครื่อง จะมาจากแม่บล็อกเดียวกัน เพราะฉะนั้นพระที่พิมพ์ออกมา จะต้องมีส่วนคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นสรีระของพระ จุดตำหนิ รายละเอียดเค้าโครงหน้าตา ก็จะต้องเหมือนกัน สมมติว่ามีพระ 2 องค์ ถ้าต่างกันก็จะต้องคิดแล้วว่ามีองค์หนึ่งแท้องค์หนึ่งเก๊ หรือไม่ก็เทียมทั้งคู่


นอกจากนี้ยังจะต้องศึกษาเนื้อหาพระในแต่ละประเภท เช่น เนื้อดิน ความเก่าของอายุขนาดนี้ควรจะมีลักษณะอย่างไร มีสีสัน และความแห้งอย่างไร หรือมวลสารของการผสมในเนื้อพระ ถ้าของแท้ มวลสารจะมีมาอย่างไรก็ต้องมีอย่างนั้นไปตลอด




ส่วน พระบูชา เป็นอะไรที่ลึกซึ้งกว่าพระเครื่อง และไม่ได้สร้างกันได้ง่ายๆ ช่างจะต้องปั้นแม่พิมพ์ก่อนให้ได้สวยงาม มีกรรมวิธีนำเนื้อโลหะมาหลอมเพื่อให้เข้ากับแม่พิมพ์


"พระบูชาแต่ละองค์จะไม่เหมือนกัน ช่างจะปั้นแม่แบบแล้วหล่อทีละองค์ หล่อเสร็จก็ทุบแบบทิ้ง ในความคิดของผม พระบูชามีความลึกซึ้งมากกว่า แล้วที่เห็นพระบูชาแต่ละยุคต่างกัน เนื่องจากช่างจินตนาการ อย่างศิลปะสุโขทัย พระจะออกมาอวบอ้วน สวยงาม พระอู่ทอง หน้าตาจะเคร่งขรึมดุดัน คือช่างแต่ละยุคแต่ละสมัยไม่เหมือนกัน พูดง่ายๆ ว่าอยู่ยุคไหน ก็ใช้ศิลปะของยุคนั้น"


"เซียนพระแต่ละคน จะมีการดูพระเก๊ -พระแท้ ไม่เหมือนกัน แต่อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน คือการศึกษาพระจากแม่พิมพ์และจากเนื้อพระเป็นหลัก


ถามว่า ทำไมมีพระปลอมออกมาจำนวนมาก ก็คงตอบว่า อะไรก็ตามที่มีราคา มันก็ต้องมีของเทียมของเลียนแบบออกมาจำหน่าย แล้วที่เห็นเกลื่อนมากหน่อย อาจจะเป็นเพราะพระเครื่อง พระบูชา ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง


คนทำปลอมสินค้า ปลอมธนบัตร อาจโดนจับ แต่การปลอมพระ เขาจะออกมาในรูปของพระใหม่ บางคนมีฝีมือทำพระใหม่ให้เป็นพระเก่า ขอให้จำไว้ว่าพระที่มีราคา คนนิยม จะมีคนทำพระปลอมออกมา จะปลอมมากปลอมน้อยเท่านั้น


สำหรับเวลานี้ พระที่มีราคาแพงที่สุดในประเทศไทย คือ พระสมเด็จวัดระฆัง แน่นอนเมื่อมีราคาสูงของเทียมก็มีออกมามากเช่นเดียวกัน ชนิดที่ว่าปลอมมากกว่าของจริงหลายร้อยหลายพันเท่า ดังนั้น ใครที่จะเช่าพระดัง ถ้าตัวเองไม่มีความรู้ ก็ต้องหาเซียนที่รู้จักมักคุ้นไว้ใจได้ มาช่วยดูให้"


พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่ (เป็นพระกรุเมืองลำพูน)





พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์เล็ก (เป็นพระกรุเมืองลำพูน)





หลักการดู พระรอด

1. เป็นพระเครื่องเนื้อดิน ผสมว่าน ฝีมือช่างหริภุญชัย ในแบบศิลปะลพบุรียุคต้น ที่งดงาม และอลังการ

2. เนื้อพระ มีความละเอียด และหนึกนุ่ม บางองค์ใกล้เคียงกับ เนื้อพระทุ่งเศรษฐีมาก มีด้วยกัน 4 สี คือ สีขาว สีเหลือง สีแดง และสีเขียว

3. ขนาดพิมพ์ใหญ่ องค์ประมาณ 1.4 x 2.4 ซม. ส่วนองค์พิมพ์เล็ก ประมาณ 1.2 x 2.2 ซม. พระรอดที่นิยมกันมี 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ (ก้นพับ), พิมพ์กลาง (ก้นแมลงสาป), พิมพ์เล็ก (ก้นตัด), พิมพ์ตื้น (องค์พระ และใบโพธิ์รอบองค์จะตื้น แต่หน้าจะชัด) และพิมพ์ต้อ (องค์จะเตี้ย)




คลี่หัวใจคนอยากเรียน

ทีนี้ ก็มาถึงกลุ่มคนที่อยากเรียนกันบ้างว่า พวกเขามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไรกัน เทพนิภา กันทา พนักงานขายเครื่องสำอาง เล่าให้ฟังว่า การเปิดหลักสูตรพระเครื่อง นับเป็นการพลิกโฉมการศึกษาไทยเลยทีเดียว และน่าจะเปิดเป็นหลักสูตรสไตล์นี้มานานแล้ว เนื่องเพราะคนไทยไม่ค่อยรู้รากเหง้า รู้แต่ว่าพระองค์นี้คือพระสมเด็จ นางพญา หลวงปู่ทวด หลวงพ่อเดิม หลวงพ่อเงินฯลฯ แต่เมื่อถามว่า ชื่อเสียงเพราะอะไร มีกี่รุ่น ทำมาจากอะไร ก็ตอบไม่ได้


"สนใจอยากเรียนหลักสูตรพระเครื่องเอามากๆ เริ่มมาจากพ่อสะสมพระเครื่องพระบูชา ว่างๆ จะเอาพระมาทำความสะอาด แล้วจะเล่าประวัติความเป็นมาของพระองค์นั้นให้ฟังตั้งแต่สมัยยังเด็ก ทำให้ค่อยๆ ซึมซับความรู้เกี่ยวกับพระมาบ้าง แต่ความรู้เท่าหางอึ่ง ไม่เข้าขั้นระบุว่าพระเก๊-ritแท้ ได้ คิดว่าจะไปสมัครเรียนแน่นอน โดยตั้งใจว่าจะนำความรู้มาถ่ายทอดให้ลูกหลานฟัง มากกว่าจะก้าวเข้าสู่การเช่า-จำหน่ายพระ"



พระนางพญา พิมพ์ใหญ่ เข่าโค้ง (เป็นพระกรุเมืองพิษณุโลก)




พระนางพญา พิมพ์ใหญ่ เข่าตรง (เป็นพระกรุเมืองพิษณุโลก)





หลักการดู พระนางพญา

1. พระนางพญาจะมี 2 ขนาด

o พระนางพญา พิมพ์ใหญ่ เป็นพิมพ์ที่นิยมกันมาก มี 3 แบบด้วยกัน คือ "เข่าโค้ง", "เข่าตรง" และ "อกนูน"

o พระนางพญา พิมพ์เล็ก มี 3 แบบ เช่นกัน คือ "สังฆาฏิ" "ทรงเทวดา" และ "อกนูนเล็ก"

2. เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา ผสมด้วยผงเกสร และแร่กรวดทราย (คล้ายกับเนื้อพระขุนแผน วัดบ้านกร่าง) มี 4 สี คือ เหลือง, แดง, เขียว และดำ มีทั้งเนื้อค่อนข้างหยาบ และเนื้อละเอียดนุ่ม (กรวดทรายน้อย)



ด้าน ร.ท.หญิง ฐานิต ร้อยกรแก้ว นักโหราศาสตร์ บอกว่า คลุกคลีกับพระเครื่องพระบูชา มาพอสมควร โดยเกิดจากพี่ชายมักจะไปเช่าพระ โดยเฉพาะพระองค์ไหนดัง ดี มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ก็จะเช่ามาบูชา ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าเป็นพระแท้หรือพระปลอม เพียงแต่ก่อนจะเช่าพระจะหนีบเซียนพระที่รู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี เป็นหูเป็นตาดูให้ แล้ววันไหนเช่าพระมาทีไร จะมาโชว์มาเล่าเสมอ ส่งผลให้ตนเองศรัทธา เสื่อมใส เกจิอาจารย์องค์นั้นมาอย่างต่อเนื่อง


"พอรู้ข่าวว่า จะมีการเปิดหลักสูตรพระเครื่อง ลึกๆก็รู้สึกดีใจมาก แถมยังไปชวนพี่ ชวนเพื่อน หรือคนที่รู้จักมักคุ้นไปสมัครเรียนด้วย โดยมีความคิดว่าสามารถนำความรู้จากหลักสูตรพระเครื่องพระบูชา มาประยุกต์เข้ากับวิชาโหราศาสตร์ได้ แล้วคาดว่าการทำนายจะทำให้เกิดความแม่นยำ สร้างศรัทธาให้แก่ผู้ดูเพิ่มมากขึ้น"


"เคยรู้ว่ามีเอกชนเปิดสอน ประวัติความเป็นมา ขบวนการทำพระ เทคนิคการดูพระเครื่องพระบูชา แต่เขาคิดค่าเรียนแพงมาก ชนิดที่ว่าไม่รักไม่สนใจจริงๆ หลายรายบอกศาลาทันที พอรู้ว่า กศน.เปิดสอน ตัดสินใจเลยโดยไม่ลังเลว่าเรียน แล้วยังต้องการให้ กศน.เตรียมหลักสูตรพระเครื่องพระบูชา ในระดับสูงต่อไป เพราะมั่นใจว่าจะมีผู้สนใจเรียนจำนวนมาก




ด้าน ประสพสุข นาถทัย บอกว่า ตั้งใจจะเรียนหลักสูตรพระเครื่องพระบูชา กับ กศน. เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อน พร้อมกับทบทวนความทรงจำเกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมา ขั้นตอนการสร้างพระ และอื่นๆ มาเล่าให้ลูกหลานฟังมากกว่า ขณะเดียวกันจะกำชับพวกเขาด้วยว่า ให้รักษาพระทุกองค์เอาไว้ พร้อมทั้งตั้งจิตอธิษฐานบูชา เพื่อให้ท่านคุ้มครอง มั่นใจว่าบารมีจะช่วยให้ครอบครัวอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข เจริญในหน้าที่การงาน




หลักสูตรพระเครื่องพระบูชา จะเปิดรับสมัครนักศึกษาได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ ผู้ที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันการศึกษาทางไกล อาคารศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โทร.0-2354-5721,0-2644-9764,0-2354-5730-40 ต่อ 536


หรือที่เวปไซด์สถาบันการศึกษาทางไกล.





โดย yyswim




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2549
36 comments
Last Update : 27 มิถุนายน 2549 1:03:19 น.
Counter : 4439 Pageviews.

 

เจิ่มคนแรกซ่ะเลย ฮิๆ
เดี๋ยวจะเข้ามาอ่าน ขอตัวไปตากผ้าก่อน

 

โดย: merf1970 27 มิถุนายน 2549 1:08:18 น.  

 

กราบคารวะหลวงพ่อทุกองค์ค่ะ
ไม่ใช่เซียนพระนะคะ แต่นับถือพระ
ที่คอมีหลวงพ่อวัดปากน้ำเพียงองค์เดียว
เรื่องวันนี้ดีเยี่ยมจริง ๆ ได้รู้ประวัติและวิธีการดูพระแต่ละองค์
ที่สำคัญคือได้รู้ว่ามีหลักสูตรพระเครื่องด้วย
น่าสนใจมาก แต่คงไม่คิดเรียนหรอกค่ะ

 

โดย: ซออู้ 27 มิถุนายน 2549 1:10:55 น.  

 

คุณสินคะ เพิ่งเสียน้ำตาให้กับออสเตรเลียไปหนึ่งหยด อิตาลีมากับดวงจริง ๆ นะคะ สิบคนยังชนะได้ ดีใจไปกับแฟนอิตาลีด้วยค่ะ
แล้วคุณสินเชียร์ใครคะ

 

โดย: ซออู้ 27 มิถุนายน 2549 1:14:47 น.  

 

wow.. thanks ka..

 

โดย: Baby I love you 27 มิถุนายน 2549 1:17:25 น.  

 

ตามีหลวงพ่อทวด วัดช้างให้...
ใส่ไม่เคยถอดออกจากคอเลยค่ะ...

 

โดย: Tante Ta 27 มิถุนายน 2549 3:07:31 น.  

 

การดูพระพิมพ์ยังยากขนาดนี้
ไม่ต้องพูดถึงการดูพระภิกษุสงฆ์เลยครับ

เพราะว่าดูยากกว่าหลายเท่าจริง ๆ ครับ
ที่เคยโด่งเคยดัง ก็ดับไปหลายราย
ที่เคยจ๊ะจ๋ากับญาติโยม ก็จ๋อยค้างจานดาวธรรมไป

แต่ถึงอย่างไร ธรรมะอยู่ที่ใจ นะครับ

 

โดย: ดำรงเฮฮา 27 มิถุนายน 2549 3:55:31 น.  

 

ไหว้แต่พระเป็นค่ะ ทุกครั้งที่เจอมือจะไปแบบอัตโนมัติด้วยจิตศัรทธาและเคารพค่ะ

 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ 27 มิถุนายน 2549 4:24:12 น.  

 

โอ้...
ม่ายยยยยย น่อ

รู้มั้ยครับคุณสิน คำถามนึงที่ผมเบื่อมากคือ..คนชอบมาบอก มาถามว่า "ดูพระเป็นใช่มั้ย" "ดูพระให้หน่อยได้มั้ย"

ได้ยินแล้วโคตรเซ็งเลย... นึกในใจว่า "กรูไม่ใช่เซียนพระ นะ ถึงจะดูพระเป็นตามแนว พวกพ่อค้าแถวท่าพระจันทร์-พันธ์ทิพ"..

 

โดย: กุมภีน 27 มิถุนายน 2549 5:55:48 น.  

 

เคยได้ยินว่าพระเครื่องเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุด
คือต้นทุนไม่มาก แต่มูลค่าขึ้นไปกี่พันเปอร์เซ็นต์ก็ไม่รู้

คนดูพระเครื่องเป็น (จริงๆ) และดูได้เก่ง (ไม่แหกตา ไม่ตุ๋ยเด็ก...อุ้ย ไม่เกี่ยว-ไม่เกี่ยว) นี่น่านับถือเนาะ
ต้องจำพิมพ์ ต้องดูลายเส้น
ดูเทียบของจริง
เป็นเรา คงเวียนหัวตายก่อนพอดี อิอิ

ปอ-ลอ
ไม่ได้แวะมาหาตั้งนาน สินสบายดีหรือเปล่า

 

โดย: ซีบวก 27 มิถุนายน 2549 8:17:01 น.  

 

เป็นเรื่องละเอียดและใช้ความสามารถสูง ที่ไป๋มม่สามารถจริงๆ

แต่ถ้ามีคนให้ เอา..

 

โดย: err_or 27 มิถุนายน 2549 8:18:09 น.  

 

ไม่ไหวๆ ดูแล้วปวดหัว นึกในใจ "ใครจะไปจำได้หมดวะ"

เค้าว่ากันว่าเซียนพระนี่มักจะเจ้าชู้ ไม่รู้จริงเท็จแค่ไหน

เรื่องพระเครื่องนี่ ที่บ้านพ่อผมเพียบเลย มีร่วมๆ 500 (แบบนี้ก็กลายเป็นว่าพ่อผมเจ้าชู้ด้วยไหมหว่า) เวลาผมกลับไปบ้านที่พ่อผมจะต้องล๊อกกุญแจตู้พระทุกครั้ง เพราะผมชอบเอามาดู แล้วก็ขอพ่อผมมาแจกเพื่อนๆ

ทุกวันนี้ผมเลือกเอา เหรียญพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธ์ (รุ่นไหว้ข้าง) ใส่กรอบเอาขึ้นคอ เค้าว่ากันว่าคนแขวนรุ่นนี้มักจะพูดแล้วเป็นไปตามนั้น.. งั้นก็ขอให้ท่านสินมีสุขภาพแข็งแรงๆนะคร้าบบ (สุขภาพดีก็พอแล้วคนเรา..ว่าไหม)

ตอนที่อยู่ ตจว. ตามร้านกาแฟ มักจะมีเหล่าเซียนเล็กเซียนน้อย เอาพระเครื่องมาโชว์กัน หนังสือพระเครื่องผมก็หยิบมาอ่านอยู่บ่อย ว่ากันว่า วิธีการปลอมพระทุกวันนี้ ก้าวหน้าจนถึงขั้นปลอมด้วยเทคโนโลยี่กันเลย องค์ไหนแท้ องค์ไหนเทียมคงต้องดูกันลำบากหน่อย ขนาดว่าบางองค์ชนะการประกวด พอไปประกวดอีกสนามหนึ่งกลายเป็นพระเก๊ไปซ่ะนี่ บางองค์ได้มาแบบบังเอิญ ที่เค้าเรียกกันว่า รุ่นลาวตกรถ ใครก็ไม่คิดว่าจะเป็นของแท้ แต่กลายเป็นของแท้ไปได้ ...

ใน bloggang ก็มีอยู่ท่านหนึ่งที่ผมชอบเข้าไปดูพระสวยๆ แถมรูปชัดคมมาก นามของ blog ที่ว่าคือ นายไกรสิทธิ์
www.bloggang.com/mainblog.php?id=krisit-tik

 

โดย: merf1970 27 มิถุนายน 2549 9:57:38 น.  

 

ผมเคารพพระพุทธรูปและพระห้อยคอเพราะเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์นะครับ ไม่ค่อยรู้เรื่องพระเครื่องเท่าไหร่ ที่บ้านมีพระที่คุณพ่อชอบสะสมไว้ วันดีคืนดีโดนมือไม่ดียกไปเสียหลายกล่อง ป่านนี้ยังไม่เอามาคืนเลย ถ้ามีหลักสูตรสอนเกี่ยวกับพระเครื่องจริง ๆ ผมอยากให้มีเนื้อหาของธรรมมะเข้าไปสอนด้วย อยากให้มองพระเป็นเครื่องเตือนสติให้ทำดี รักษาศีล มากกว่าเป็นวัตถุที่มีไว้ทำการค้ากำไรได้ดีนะครับ

 

โดย: 90210 27 มิถุนายน 2549 10:47:35 น.  

 

เข้ามากราบพระค่ะ

 

โดย: Petit Patty 27 มิถุนายน 2549 11:01:05 น.  

 

โอ้ว ร้อน ๆๆ ดูม่ายเปง ดูเปงแต่คุกกี้ แหะ แหะ

Photobucket - Video and Image Hosting

 

โดย: ไ่่ก่ย่างคุกกี้กรอบหมีชอบหมด 27 มิถุนายน 2549 11:57:01 น.  

 

ดูไม่เป็นค่ะ
อ่านแล้ว...มึน งง

แต่เคยปักครอสติชภาพหลวงปู่ทวด
ตอนนี้ ใส่กรอบถวายวัดไปแล้วจ้า

 

โดย: เสือจ้ะ 27 มิถุนายน 2549 12:48:56 น.  

 

โห อ่านบล๊อกนี้แล้วจะรู้ทุกอย่างเลยจริงๆ นะเนี่ย...
ผมไม่เคยห้อยพระเลยครับ ดูพระก็ไม่เป็น
นับว่าเรื่องนี้ห่างไกลกับผมมากๆ ( สงสัยจะบาปหนา 555+ )

 

โดย: พลทหารไรอัน 27 มิถุนายน 2549 13:08:27 น.  

 


ขอบคุณมากครับที่นำเสนอเรื่องดีๆมีประโยฃน์มาให้อ่าน ผมเคยเขียนเรื่องพระเครื่องไว้ในบล็อกของผมเมื่อหลายเดือนก่อน ไม่มีเวลาอัพบล็อกให้ทันสมัย ผมเลยปิดไปแล้วครับ

ผม (เคยเป็นผู้นิยมสะสมพระเครื่องมาหลายปี) ตอนนี้หยุดแล้วครับ เงินจมไปกับการสะสมพระเครื่องนับแสนบาท แล้วก็ไม่มีปัญญาที่จะออกตัวได้ เลยหยุดดีกว่า

 

โดย: หนุ่มร้อยปี (หนุ่มร้อยปี ) 27 มิถุนายน 2549 13:47:27 น.  

 

เคยห้อยพระนางพญา แต่ว่าโดนพี่ยึดไปแล่ว

ตอนนี้ก็เลยห้อยเหรียญจำลองพระแก้วมรกต โดยส่วนตัวแล้วจะเป็นคนที่ติดสร้อยห้อยพระนะ ก็ใส่มาตั้งแต่เด็กๆคือยายจะเป็นคนหามาให้น่ะ

 

โดย: ณ มน 27 มิถุนายน 2549 14:26:00 น.  

 

 

โดย: ตลาดสู้ 27 มิถุนายน 2549 16:29:49 น.  

 

พระน่าสนใจมากเลยค๊ะ แต่ดูไม่ค่อยเป็นหรอกค๊ะแต่เห็นแล้วก็ชอบเลยเปิดเข้ามาดู

 

โดย: พจอ3 (ตลาดสู้ ) 27 มิถุนายน 2549 16:29:49 น.  

 

 

โดย: มังกรสยาม 28 มิถุนายน 2549 0:11:07 น.  

 

ผมไม่ค่อยรู้เรื่องพระหรอกครับ
รู้แต่ฟุตบอล ตอนนี้สเปนนำ 1-0 ครับพี่สิน

 

โดย: basbas 28 มิถุนายน 2549 2:26:32 น.  

 

แวะมาดูพระครับ
ไม่ค่อยถนัดเรื่องนี้เท่าไหร่ครับ
ผมกับพระค่อนข้างห่างกันคับ...อิอิอิ
แต่ก็ พระประจำนะค้าบบบ

ปล. เกลียดทีมสเปนจังเลย
เมื่อไหร่จะตกรอบซะทีหว่า
ทำผมเสียตังค์อีกแล้ว .... ฮี่ ๆ

 

โดย: little-joe 28 มิถุนายน 2549 8:48:23 น.  

 


Merf….นายขยันเนาะ ซักผ้าตอนตีหนึ่ง

ขอบคุณ ที่เข้ามาเยี่ยมเป็นคนแรกเลย ที่จริงตอนนั้น ผมก็เพิ่งจะ Publish แต่นายเข้ามาเร็วได้อย่างยอดเยี่ยม

เมื่อคืน ผมตกใจกะบอลอิตาลี ยิงลูกได้เพราะยิงจุดโทษ แล้วก็ชนะ

แต่น่านซิ ลูกนั้นไม่น่าจะจุดโทษเลย นายดูบอลมะคืน รึเปล่า? อ้าว ดูเหมือนกัน ที่รู้เพราะคลิกไปเยี่ยมที่บ้านนาย เห็นนายเขียนว่า

“ระหว่างที่ up blog อยู่ดูบอลคู่ อิตาลี กับ ออสเตรเลีย ใกล้จะหมดเวลาอยู่แล้ว โดนลูกโทษจนได้.. เฮ้อ! สงสัยกรรมการท่านนี้คงไม่สามารถไปเที่ยวประเทศออสเตรเลียได้แล้วล่ะครับ โหดร้ายมากครับ ลูกโทษนาทีสุดท้ายนี่”

คืนนี้ ผมก็ว่าจะดูอีก บราซิลเจอกาน่า เตะตอนสี่ทุ่ม เออ เดี๋ยวต้องไปเข้า Blog ของนายเอก marvelous boy หน่อย ขานั้นเขาเชียร์บราซิลสุดขั้ว


คุณซออู้….ห้อยคอ หลวงพ่อวัดปากน้ำเหรอ? รุ่นไหนล่ะ?

เชื่อมั๊ย ผมไม่ห้อยสักองค์ ไม่ห้อยมานานมากแล้วด้วย ไม่ชอบสวมสร้อย มันรู้สึกรำคาญ ต้องถอด ต้องสวม ออกกำลังทีก็ต้องถอด จะนอนทีก็ต้องถอด ปกติตอนอยู่บ้าน ผมจะถอดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกหมด

ที่จริงแม่ก็เตือนให้หัดห้อยคอบ้าง แต่ก็บอกแม่ไปว่า อยากได้แม่มาห้อยคอมากกว่า ทุ๊กที…ที่แม่เตือน

ในบ้านของผม พระเครื่องก็พอมีนะครับ ได้มาเพราะไปบรรยายต่างจังหวัด ทีนี้ตอนไปเนี่ย คนขับรถจะชอบพาไปวัด และพาไปกราบเจ้าอาวาส พอผมถวายเงินบริจาคให้วัด หลวงพ่อมักจะมอบพระเครื่องให้ครับ แต่ผมดูพระเครื่องไม่เป็นหรอกครับ และคงจะเหมือนกัน คือ ไม่คิดจะเรียนหลักสูตรนี้

เออ ปีนี้มีการร่างหลักสูตรเพื่อเปิดเรียน เป็นตลก ด้วยครับ

หากเพื่อนๆชอบ ผมจะเสาะหานำมาลงให้อ่านกัน

เรื่องบอลเนี่ย ผมเชียร์อยู่หลายทีม เยอรมัน อังกฤษ บราซิล เป็นต้น แต่แปลก ไม่ยักอยากเชียร์อิตาลีเท่าไหร่ ไม่รู้เหตุผลเหมือนกัน

เอ่อ รึว่า เพราะหล่อข้ามหน้าข้ามตา โฮะโฮะโฮะ


 

โดย: yyswim 28 มิถุนายน 2549 9:32:12 น.  

 


คุณBaby I love U…..ขอบคุณนะครับที่เข้ามาเยี่ยม ผมชอบเลดี้ได และพริ๊นซ์แฮรี่ พริ๊นซ์วิลเลี่ยม เหมือนกันครับ


คุณตา…..หวัดดีคร้าบ พระเครื่องของหลวงพ่อทวดมีหลายรุ่นมาก และปลุกเสกมาจากวัดทั้งที่ปัตตานี(วัดช้างไห้) และที่สงขลา ผมเองเคยไปเช่ามาจากทั้งสองวัด แต่ไม่ได้นิมนต์ขึ้นห้อยคอครับ

 

โดย: yyswim 28 มิถุนายน 2549 9:33:39 น.  

 


ดำฮา……เมนต์ได้ถูกใจ ….ธรรมะอยู่ที่ใจ

พี่สาวของผม เธอก็เคร่งธรรมะ และพี่สาวก็ไม่ได้ห้อยพระเหมือนกัน พี่สาวชอบเตือนน้องชายคนนี้ว่า ให้มีสติในการทำอะไรทุกอย่าง เพราะเป็นธรรมะอย่างหนึ่ง


คุณโอเล่….มืออ่อน ไหว้สวยแบบนี้ น่าจะเป็นเจ้าหญิงเนาะ รับรองว่า จะได้รับเสียงกรี๊ดไม่แพ้เจ้าชาย

 

โดย: yyswim 28 มิถุนายน 2549 9:38:45 น.  

 


กุมภีณ…..หุหุ โหงวเฮ้งของนาย คงจะเป็นผู้คงแก่เรียน คนจึงชอบให้ช่วยดูพระ(พระเครื่อง)

อย่างผม มะเคย มะเคยมีใครยื่นพระให้ช่วยดูเล๊ยยยย


ซี……นานๆได้ยินเสียง ซี คิดถึงว่ะ
ผมสบายดี อ่อนเพลียนิดหน่อยเพราะนอนน้อย แต่ก็ยังไปสระทุกเย็น ซี ไปออกกำลังบ่อยๆไม่ง่วงมั่งเห๋อ?

Blog ของคุณแป๋วแหวว ซี อาจจะถูกใจนะ ลองแย๊บๆเข้าไปอ่านของเธอซิ คุณแป๋วแหวว อยู่ที่เฟรนด์บล๊อกของสินครับ


 

โดย: yyswim 28 มิถุนายน 2549 9:42:47 น.  

 


ม๋าเอ๋อ…..ดูพระ ก็คงยากพอๆกะ เลี้ยงม๋าชิ ละ

เพราะหลักสูตร สุนัข ก็คงจะมีในคณะสัตว์แพทย์ แถมหลักสูตรการฝึกสุนัข ก็คงต้องเข้าฝึกอบรมกันนานๆ จึงจะออกมาประกอบอาชีพได้

ม๋าเอ๋อ แกน่ะเก่ง เลี้ยงม๋าชิ จนได้ดี ได้รางวัล สมควรเป็นพ่อ(แม่)ตัวอย่าง หุหุ …ข้าขอชม


Merf…… ขอให้สมพรปาก ที่อวยพรชัยให้จขบ.มีสุขภาพดี(แข็งแรงๆ) ขอบคุณ

ช่วงนี้ ผมนอนน้อย นอนแค่คืนละ 4 ชั่วโมงเอง
นี่… คืนนี้จะได้หลับเต็มตื่น ซะที เพราะได้พักบอล 2 คืน

เหรียญพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธ์ ผมเองก็รู้สึกว่าจะเคยได้ยิน ดีแล้วครับที่นิมนตร์ขึ้นคอ จะได้ทำให้ตัวเองมั่นใจสบายใจ แล้วทำให้มีเสน่ห์ อิอิ สาวเลยชอบ

ขอบคุณที่แนะนำBlogดีๆให้แวะไปเยี่ยม Blogของนายไกรสิทธิ์


 

โดย: yyswim 28 มิถุนายน 2549 9:44:02 น.  

 


90210……”ถ้ามีหลักสูตรสอนเกี่ยวกับพระเครื่องจริง ๆ ผมอยากให้มีเนื้อหาของธรรมมะเข้าไปสอนด้วย”

….หลักสูตรนี้ เกิดขึ้นจริงๆแล้วครับ แต่ผมไม่ทราบว่า จะมีการสอนเรื่อง คุณธรรม จรรยาบรรณ หรือเปล่า?

เมนต์ ของนาย ตรงใจผมอีกละ เจตนาของBlogเรื่องนี้ ก็เพื่อแจ้งข่าวว่ามีหลักสูตร พระเครื่องพระบูชา เกิดขึ้นในเมืองไทยแล้ว เพราะเผื่อว่าบางท่านยังไม่เคยอ่านข่าวนี้


คุณPetit Patty……หวัดดีครับ ขอบคุณนะครับที่มาเยี่ยม
Blog เรื่องวันนี้อาจจะถูกใจ เพราะออกจะเป็นเรื่องที่ไกลตัว

จะขอแก้ตัวเรื่องหน้านะครับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ดร.อภิวัฒน์

 

โดย: yyswim 28 มิถุนายน 2549 9:44:32 น.  

 


คุณหมี….ที่บาร์ซ่า เชียร์บอลกันคึกคักมากมั๊ย? เสียดาย นะครับ ที่มะคืน แพ้ 1:3 ทั้งๆที่สเปนเล่นดี วิ่งทุกคน แถมครองบอลได้เยอะกว่าด้วย สีเสื้อก็จี๊ดจ๊าดได้ใจมากๆ


คุณเสือจ๊ะ….คุณเสือ ปักงานฝีมือด้วยเหรอ? แบบนี้ คงจะเป็นคนเรียบร้อยไปหมด อิอิ

 

โดย: yyswim 28 มิถุนายน 2549 9:45:06 น.  

 


พลอั้น…..เป็นBlog ที่รวบรวมเรื่องจิปาถะครับ พลอั้น

ผมเอง คงจะคล้ายๆกะคุณ คือไม่ชอบห้อยพระ เป็นมาตั้งกะเด็กแล้ว? จะรู้สึกรำคาญทุกครั้ง ตอนเล่นกีฬา เลยมะชอบ


คุณหนุ่มร้อยปี……ขอบคุณคุณด้วยครับ ที่แวะมาเยี่ยมบ่อยๆ

เพิ่งรู้นะครับว่าคุณเป็นอดีตเซียนพระ


 

โดย: yyswim 28 มิถุนายน 2549 9:45:50 น.  

 


คุณ ณ มน…….โฮะโฮะ พี่ของคุณ เขารู้จริง นี่ เขาเลยครอบครองของดี พระนางพญาไป

แต่ห้อยคอเหรียญพระแก้วมรกต ก็สวยนะครับ ดูเหมาะสมกับคนสวย


คุณพจอ3……ขอบคุณคร้าบที่ให้เกียรติมาเยี่ยม เรื่องในBlogนี้ มีหลายแนวครับ

วันนี้ ผมกะว่าจะPublish เรื่องใหม่ด้วยครับ
เด๋ว พอว่าง จะแวะไปเยี่ยมคุณ น๊ะ

 

โดย: yyswim 28 มิถุนายน 2549 9:46:22 น.  

 


มังกรสยาม……ไม่ได้เจอกันนานเลย ขอบคุณมากที่มาเยี่ยม

Up Blog เรื่องใหม่แล้วยัง?


น้องBass…..เมื่อคืน พี่ก็นั่งดูคู่ สเปน-ฝรั่งเศส

ที่จริง เรื่องพระเครื่อง เนี่ย พี่ก็ไม่ชำนาญหรอก ในครอบครัวพี่ ก็ไม่มีใครเล่นพระ
แต่ที่เขียนเรื่องนี้ขึ้น เพราะมีเจตนาจะบอกเพื่อนๆว่า มีหลักสูตร ดูพระ ในเมืองไทยแล้ว

 

โดย: yyswim 28 มิถุนายน 2549 9:46:51 น.  

 


โจเล็ก……หุหุ นายมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดปั๊บ เป็นเรื่องเลย สเปนแพ้ ฝรั่งเศสเข้ารอบ

เสียเงินเล็กน้อยคงไม่เป็นไร ถ้าชอบเล่น
แต่ถ้าเสียมาก ขออาสาแนะนำว่า อย่าตื๊อเล่นต่อ….หายนะ

 

โดย: yyswim 28 มิถุนายน 2549 9:48:13 น.  

 

แวะมาสวัสดีค่ะ
จริงๆ comment ไปหลายหัวข้อแล้ว
แต่ post ไม่ได้ เพราะหายตัวมา

 

โดย: MDA 28 มิถุนายน 2549 10:11:48 น.  

 

คุณเสือจ๊ะ….คุณเสือ ปักงานฝีมือด้วยเหรอ? แบบนี้ คงจะเป็นคนเรียบร้อยไปหมด อิอิ



เข้าใจพูดเนอะคนเรา อิอิ

 

โดย: เสือจ้ะ 28 มิถุนายน 2549 10:37:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


yyswim
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]





บล็อกสรรสาระนี้ จขบ.ไม่ได้เขียน-ไม่ได้ถ่ายภาพ-ไม่ได้อัพโหลดคลิปเอง หากแต่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการบล็อก เสาะหาเรื่องดีๆ รูปสวยๆ คลิปแปลกๆ มาไว้ในบล็อก


ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม ขอเชิญชมหรืออ่านตามสบาย ไม่ต้องคอมเมนต์ก็ได้ จขบ.ชอบการเข้ามาเยี่ยม แบบกันเอง ง่ายๆ สบายๆ




เริ่มเขียนBlog เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2548


เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2550 เวลา 23.30 น.


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม




Latest Blogs

New Comments
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
27 มิถุนายน 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add yyswim's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.