Ladakh 2019 - หนึ่งวันกับดอลม่า (1)
รถรอบแรกที่จะวิ่งไปถึง Spituk ช่วงเช้าคือ 8.30 น. ที่นั่นอยู่ไกลจากเลห์เพียง 8 กิโลเมตรเท่านั้น เราเดินออกมารอตรงจุดรอรถแถว Leh Gate ก่อนเวลานิด ๆ เพราะกลัวการมะรุมมะตุ้มพากันแย่งขึ้นรถของกลุ่มคนงานอินเดีย ที่รีบเร่งจับรถ ไปให้ทันเวลา ก็อย่างที่บอก...ในหลาย ๆ พื้นที่ของเลห์และเมืองอื่นยังต้องคอย พึ่งพาแรงงานเหล่านี้ ทั้งงานก่อสร้าง งานโยธา ฯลฯ ของกลุ่มคนจากเมืองทาง ด้านล่างอยู่ไม่ขาด ไม่รู้ว่าปลายทางที่กำลังจะไปนั้นจะมีผู้คนติดรถไปเยอะเช่น เดียวกับสายอื่น ๆ มั้ยนะ?
ช่วงระยะเวลาของการรอคอยบวกผสมกับความไม่แน่ใจเรื่องจุดจอดรถที่ควร ไปยืนรอ มันทำให้เราต้องคิดไปถามหาคำตอบยืนยันจากใครสักคนแถวนั้น
“โทษที...นี่ใช่จุดรอรถไป Spituk หรือปล่าว” เราเดินเข้าไปหาหญิงสาวแปลกหน้ารายหนึ่งที่ดูเหมือนจะมาคอยรถ ท่าทาง การถือโทรศัพท์และสายสมอลทอล์คที่เสียบไว้เพื่อใช้พูดคุยกับผู้ติดต่อ คล้าย กับเพิ่งจบการสนทนาไปหมาด ๆ เธอตอบรับว่ามายืนรอรถตรงนี้เพื่อที่จะไปที่ เดียวกันกับเราเช่นกัน...ซึ่งไม่นานเกินรอก็เจอรถมาจอดเทียบ พร้อมกับยกป้าย หน้ารถแจ้งถึงคิววิ่งถัดไปพอดี สาวแปลกหน้าและเราต่างขึ้นรถและหาที่ว่างเพื่อนั่งด้วยกัน เธอแนะนำตัวว่าชื่อ ‘ดอลม่า’ น้องเป็นชาวเนปาล มีบ้านอยู่แถว ๆ Bhodinath ที่มีเจดีย์องค์โตตั้ง อยู่ใจกลาง ที่น่าแปลกใจก็คือเธอเดินทางมาที่เลห์เพื่อเยี่ยมแม่ โดยอยู่ที่นี่มา นานร่วมเดือนแล้ว อ้อ น้องมีนามสกุลพ่วงท้ายว่า Sherpa ซึ่งก็เดาไม่ยากเลย ว่าเป็นชาติพันธุ์ไหน เราคงไม่ใช้เวลามานั่งซักถามหรือไล่เรียงถึงความเป็นมาของพงศ์พันธุ์เชอร์ปา ผู้พิชิตยอดเขาสูงอันไกลลิบกันเท่าไหร่ เพราะเจ้าดอลม่ามักใช้เวลาว่างไปกับการ เล่น TikTok เสียมากกว่า ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเจ้านี่ได้ไปกี่คอนเทนต์ในวันนั้น (ฮา)
⭗ รถโดยสารขนาดเล็กที่วิ่งไปยังสปิตุกรอบเช้า ปัจจุบันนี้คนขับรถและกระเป๋ารถฯ ต่างก็เป็นชาวลาดักแทบหมดแล้ว
มันคงดูเป็นเรื่องปกติ ที่จะเห็นชาวเนปาลหลายคนเข้ามาทำงานอยู่ในอินเดียแต่ เราก็ไม่เคยคิดว่า พวกเขาขึ้นมาไกลจนถึงลาดัก ไม่รู้ว่าเป็นความบังเอิญ หรือ อย่างไรไม่ทราบ ดอลม่าจะบินกลับกาฐมาณฑุในวันพรุ่งนี้ นี่คือวันสุดท้ายที่เธอ จะตะลอนเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ทั้งเพื่อบอกลาญาติและตระเวนไหว้พระขอพร โดยหลังจาก Spituk ก็มีแผนจะไปที่ Shey ต่อ รถโดยสารวิ่งผ่านมายังบริเวณที่ตั้งของค่ายทหารที่ตั้งอยู่ทั่วไปในลาดัก ที่ซึ่ง มีป้ายแจ้งเตือนบอกล่วงหน้าบนกำแพงถึงการห้ามบันทึกภาพไว้ ตัวรถแล่นฉิว ผ่านพิธภัณฑ์ทางทหารอย่าง Hall of Fame ก่อนจะเริ่มชะลอเพื่อเบี่ยงเข้า ตรงทางแยกใกล้กับลานโล่ง ๆ ที่มีเครื่องบินลดระดับเพดานเตรียมลงจอด ไม่ก็ กำลังเหินขึ้นบนท้องฟ้า
⭗ ป้ายหน้าทางเดินเข้าสู่ Spituk Gompa อนึ่งเรามักชินกับเขียนคำที่เรียก 'วัด' เป็น Gompa มาตลอดอาจดูขัด ๆ กับคำเขียนที่ ปรากฏตรงให้เห็นหน้างานที่บางแห่งจะใช้ Gonpa แต่ก็ใช้แทนได้เหมือนกันค่ะ
"เดี๋ยวพวกเราจะต้องลงป้ายนี้"
ดอลม่าสะกิดบอก ตรงหน้าป้ายทางเข้า Spituk อย่างมั่นใจ มีคนจำนวนหนึ่ง เดินลงพร้อม ๆ กับพวกเราด้วย ส่วนมาก ขนนำวัสดุอุปกรณ์จำพวกสิ่งก่อสร้าง กระสอบใส่ขาว ถังแก๊ส ยักย้ายถ่ายเทลงมาจากรถเพื่อส่งไปยังผู้มารับปลาย ทางโดยเฉพาะกลุ่มคนงาน ในขณะที่ผู้โดยสารหลายคนยังคงนั่งติดเบาะกัน
ที่นี่แทบจะติดอยู่กับสนามบิน จึงไม่แปลกที่จะมีเที่ยวบินต่าง ๆ แล่นผ่านโฉบหัว ให้เห็นแบบชิดใกล้ แต่เราไม่นึกตื่นเต้นกับสิ่งเหล่านี้เท่าไหร่เพราะมีเรื่องให้ ประหลาดใจกว่า เมื่อเห็นรถบัสคันเดิมที่นั่งมาทำการเคลื่อนตัววิ่งไปข้างหน้าอีก ระยะหนึ่ง ใช่แล้ว … มันไปหยุดจอดตรงหน้าปากทางขึ้นวัด ก่อนที่จะเลี้ยววก กลับออกมาเพื่อตีกลับไปยังถนนใหญ่
ปัดโธ่!
พูดแล้วก็เจ็บใจ นี่เราจะไม่ตำหนิตัวเองเลยนะ ถ้าอ้างว่าไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน เมื่อไม่นานมานี้ก่อนไปลาดัก เราเคยแวะเข้าไปอ่าน : Ladakh แบบเรื่อย เปื่อย บทที่ 4/1 ของคุณ Azurite ผ่านทางบล็อกแก๊งนี่แหละค่ะ ผู้เขียนก็ได้ เล่าถึงการเดินทางไป Spituk เองแบบนี้ แต่อาจจะต่างเวลาไปจากปัจจุบัน หลายปีอยู่ -- แน่นอนว่ามีสาระที่เยอะกว่าบล็อกนี้หลายเท่า และจุดที่รถ บัสมาหยุดจอดตรงหน้าปากทางที่ว่า ก็คงจะเป็นตรงนี้เช่นกัน
พวกเราเดินเท้าจากปากทางอันแสนไกล จนไปถึงทางขึ้นช่วงหนึ่งที่ดันมีสอง ทางให้เลือก ไม่รู้อะไรดลใจให้ไปจ้ำเดินยังทางที่เขียนเตือนว่าห้ามผ่านและมี ค่าปรับที่ต้องเสียถึงหนึ่งพันรูปี ชายอินเดียสองคนที่ใส่ชุดวอร์มคล้ายกับเป็น หนึ่งในชุดลำลองของทหาร เดินสวนลงมาเห็นเข้าและพวกเขาบอกทักให้เรา เปลี่ยนเส้นทางเดินซะ ไม่งั้นระวังเจอค่าปรับ ~ นะน้องนะ
⭗ พบทางแยกที่มีป้ายห้ามเข้า บริเวณทางเนินทางขึ้นวัด
⭗ ชายอินเดียสองรายที่เดินสวนผ่านมา เดาว่าน่าจะเป็นทหารได้บอกเตือนไม่ให้พวกเราเดินขึ้นไปอีกทาง
⭗ เครื่องบินพานิชย์จะบินโฉบมาให้เห็นบ่อย ๆ เพราะที่นี่อยู่ไม่ไกลจากสนามบิน
⭗ งานก่อสร้าง สิ่งปลูกสร้างที่เป็นอาคาร และกลุ่มเจดีย์ ที่อยู่ระหว่างแนวกำแพง และเส้นถนน
(คลิป) เสียงฉาบและกลองที่ดังมาจากด้านในของวัด และพื้นที่สีเขียวด้านล่างที่มีแม่น้ำสินธุไหลผ่าน
*** วางเมาส์ที่ภาพเพื่อดูรูปใหญ่นะคะ ***
(1) (2) (3)
(4) (5) (6) (7) (8) (9)
⭗ คำอธิบายประกอบภาพ
(1) เรื่องของ Spituk โดยคร่าว (2) ที่อยู่ติดต่อของสำนักงานฯ (Pethub เป็นอีกชื่อหนึ่งของ Spituk) (3) ผู้เฝ้าประตูกำลังงีบหลับอยู่ (4) แผ่นหินสลัก ที่เรียกว่า Mani stone, ตรีศูล, กรอบไม้ใส่เหรียญ ธนบัตร, ภาพถ่ายของ ทะไลลามะ องค์ที่ 14 สองภาพที่วางไว้ด้านบน และผ้า Katak สีขาวที่วางด้านหลัง (5) ทางที่ลาดติดไหล่เขา (แต่มีระเบียงกั้นไว้) (ุ6) ประตูเข้าพื้นที่ด้านใน กับสองป้ายไวนิลที่ติดขนาบ ทางซ้ายน่าจะเป็นโครงการบูรณะวัด ส่วนทางขวา เป็นข้อคิดและคำสอนจากองค์ทะไลลามะ (7) ท่อนไม้ที่นำมาวางเรียงเป็นฝ้าเพดาน (8) ภาพวาดทางศาสนาที่อยู่ตรงมุมด้านบนของประตูทางเข้า (9) รูปทรงอาคารเก่าแก่ ที่ถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นหินของภูเขา
หลังจากเดินดูโน่นนี่จนพอใจแล้ว ดอลม่าก็ขอตัวไปไหว้พระตามภาระกิจหลักที่ เธอตั้งใจไว้ ทีแรกก็กะว่าจะถ่ายรูปตอนน้องไหว้พระมาด้วย แต่ด้านในนั้นห้าม เก็บภาพค่ะ ก็เลยต้องบรรยายมาเล่าสู่กันฟังว่าวิธีไหว้พระของดอลม่า จะดู คล้ายกับการกราบอัษฏางคประดิษฐ์ แต่มีความต่างกันนิดหน่อยตรงจังหวะ สุดท้ายที่ไม่ได้ลงไปนอนราบกับพื้น เธอแค่นั่งบนเส้นเท้ากางมือเสมอไหล่ยัน พื้นแล้วก้มศีรษะลงแตะเท่านั้น แล้วก็กลับไปสู่ท่ายืน ทำแบบนี้อยู่เกินสาม หนได้มั้ง (ลืมนับ55) ไม่แน่ใจว่าคนเนปาลทำแบบนี้กันโดยปกติมั้ยนะ ส่วน ชาวลาดักและชาวทิเบตรายอื่น ที่กำลังสวดภาวนาและกราบไหว้ต่างก็ลงไป นอนกราบกันอย่างเต็มรูป ส่วนตรงมุมด้านหนึ่งในอาคาร เช้านี้มีพระมานั่งสวดอยู่เพียงหนึ่งรูป พร้อมกับ บรรเลงฉาบและกลอง หากได้ยินมาจากข้างนอก อาจคิดไปเองว่าคงมีมากกว่า นั้นแน่ ๆ จากต้นเสียงที่ดังขึ้นมาให้ได้ยินตั้งแต่แรกเริ่มที่พวกเราก้าวเดินขึ้นมา ถึงบนวัด (อ้างอิงจากในคลิปที่ลงไว้ด้านบนนะ)
เบื้องหน้าที่นั่งของพระจะมีสิ่งหนึ่งที่วางไว้ เป็นวัตถุทรงกลมที่มีชั้นวางไล่ระดับ บางช่วงจังหวะการสวดพระจะหยิบขวดน้ำหวาน ที่จัดวางเตรียมไว้มาเทราดลง บนส่วนยอดของวัตถุที่ว่า...สีแดงของน้ำนั้นก็ไหลลงสู่ฐานล่าง
เมื่อถึงช่วงเว้นจังหวะหยุดหยุดสวดลง ก็จะสลับเปลี่ยนมาเป็นการหยิบไม้มา เคาะกลอง กลองที่ว่านี้มีขนาดย่อมตั้งไว้อยู่ด้านข้างฝั่งซ้ายที่ต้องใช้ไม้ปลาย งอที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเคาะเป็นจังหวะ หรืออาจจะมีบางช่วงที่ลงเสียงฉาบ ไปพร้อมกัน มีการนำฉาบมาหงายบนตักและใช้มือที่ยังว่างอยู่จับตีประสาน เราไม่ทราบชื่อหรือคำเรียกพิธีดังกล่าวว่าคืออะไร รู้แค่ว่าดูอะเมซิ่งดี ^^ ที่พระท่านบรรเลงเดี่ยวได้แบบนั้น ดอลม่า จบขั้นตอนสุดท้ายของการขอพรตรงห้องจุดตะเกียงเนย ที่ ๆ มีการนำ เอาภาชนะทองเหลืองที่มีฐานสำหรับวางไส้เทียน และใส่น้ำมัน(พืช)เพื่อหล่อ เป็นเชื้อเพลิงไปวางยังห้องดังกล่าว ที่ดูมืดทึบและเต็มไปด้วยกลิ่นไอน้ำมัน และการเผาไหม้
หลังวางตะเกียงแล้วก็ออกมาเด็ดยอดไม้เล็ก ๆ จากต้น willow ที่ขึ้นอยู่ด้าน นอกเพื่อนำมาพรมน้ำและแตะที่ศีรษะตัวเองไม่รู้ว่าเพื่ออะไรอีกแหละ ในบรรดา เหล่าตะเกียงของคนอื่น ๆ ก็ไม่ยักจะเห็นกิ่งไม้ ยอดหญ้ามาวางกัน....จากนั้น เธอก็วางมันลงข้างตะเกียงของตัวเอง
⭗ รูปทรงของสิ่งที่เรียกว่า Butter Lamp ทั้งสาม ที่ดอลม่าเดินไปขอมาจากผู้ดูแลฯ
⭗ ห้องจุดตะเกียง เมื่อมองดูจากด้านนอก ค่อนข้างทึบ...อบอวลไปด้วยกลิ่นของน้ำมันและคราบเขม่าควันไฟ
⭗ ดอลม่ากับกลุ่มตะเกียงเนยที่ตั้งอยู่บนแท่นมีทั้งเพิ่งถูกจุดขึ้นและมอดดับลงจากผู้ที่มาวางไว้ก่อนหน้า
⭗ ธงมนตรา (Prayer flag หรือ Lung-ta) ที่ถูกนำมาผูกเอาไว้
⭗ ฟากฝั่งสีเขียวอีกด้านหนึ่งของสปิติ บริเวณที่ลุ่มอยู่ติดแม่น้ำสินธุ มีอาคารบ้านเรือนให้เห็นบางส่วน ตลอดจนผืนนา และถัดไปไกลกว่านั้นก็คือพื้นที่ของภูเขาทะเลทรายที่แห้งแล้ง
พวกเราใช้เวลาบนวัดใน Spituk ไม่นานเท่าไหร่ เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยเห็น วัดวาอารามแนวนี้มาพอสมควรแล้ว เลยไม่คิดจะอยู่ดูอะไรต่อ อีกอย่างหนึ่งมันก็ ยังเช้าอยู่มาก ๆ (หิว) เลยขอแวะกินอะไรรองท้องสักนิดจากร้านน้ำชาที่อยู่ตรง หน้าทางเข้าวัดก็แล้วกัน มีเมนูอาหารเช้าที่ทำขายในแบบง่าย ๆ เลยสั่งมาสอง ชุดเพื่อกินกับดอลม่า ที่สั่งมาก็มีโยเกิร์ต ชาเนย แล้วก็คัมบีร์ (Khambir) ที่เป็น ชื่อของขนมปังท้องถิ่น
⭗ ไม่มีช้อนมาวางให้ เราก็ตักโยเกิร์ตกินกันแบบนี้เลย
จากเนินเขาที่ตั้งของ Spituk พวกเราเดินกลับออกมาจากทางเดิม ที่มันช่างดู ไกลแสนไกล ตรงมายังที่รอรถฝั่งตรงข้าม แต่ก็ไม่มีรถมาจอดเทียบรอตรงปาก ทางสักที ถนนเส้นนี้คงไม่ค่อยมีคิวให้มินิบัสวิ่งผ่านตลอดทั้งวันเมื่อ เทียบกับ รถของทหาร การมาขึ้นรถกลางทางแบบนี้คงต้องเผื่อใจกับจำนวนคนบนรถที อาจเต็มและไม่มีที่เหลือ
"ฉันจะไปที่ Shey ต่อ แต่ว่าต้องกลับไปหาแม่ก่อน พี่จะไปด้วยกันมั้ย?"
ดอลม่า เอ่ยปากชวนไปเที่ยวด้วยกัน ซึ่งเราก็ไม่ขัดข้องอะไรนะ ถึงก่อนหน้านี้ เราเคยไปเยือน Thiksay มาแล้วก็ตามแต่ Shey ที่เป็นทางผ่านและอยู่ไม่ไกล จากกันนี่สิ ที่ไม่ได้แวะลงเที่ยวเพราะความจำเป็นที่ต้องรีบเราตอบรับคำชวนไป อย่างไม่คิดอะไรมาก แล้วเดี๋ยวก็ต้องไปเจอแม่ของเธออีกด้วย เรื่องนี้ไม่จำเป็น ต้องมีเหตุผลใดมารองรับการตัดสินใจ มันเป็นความ ส.ท.ร.(ย่อมาจาก ใส่ใจทุก เรื่อง) ล้วน ๆ 555 ⭗ ปากทางเข้าสปิตุก ที่มักจะมีรถทหารวิ่งผ่านมาเสมอ ๆ และตอนขามาเราก็ได้ลงรถกันตรงนี้นั่นเอง
พวกเรายืนรอรถกันอยู่พักใหญ่แต่รถประจำทางก็ไม่มีผ่านมาสักคัน อาจเป็น เรื่องดีที่สัญชาตญาณและทางหนีทีไล่ของดอลม่ามีมากกว่าเรา ด้วยเรื่องภาษา และความคุ้นเคยในพื้นที่ การที่เธอพูดฮินดีได้นั่นก็ทำให้อะไร ๆ ดูง่ายขึ้นหาก ต้องมีการเจรจา
ดอลม่าลองยกมือส่งสัญญาณเรียกรถปิ๊กอัพขนาดเล็กคันหนึ่งที่วิ่งฉิวผ่านมา พวกเขากำลังนำอุปกรณ์ก่อสร้างและเอกสารไปส่งที่สำนักงานแห่งหนึ่งแถว Skazaling ไม่ไกลจากนี้ แล้วต่อจากนั้นถึงจะวิ่งรถไปที่เลห์
⭗ บนรถปิ๊กอัพขนาดเล็กที่พวกเราขอติดไปลงที่เลห์
⭗ แวะจอดแถว ๆ Skazaling อยู่พักใหญ่
คงต้องบอกว่า นี่เป็นครั้งแรกที่ตัวเองเริ่มรู้จักการโบกรถในลาดัก ถือว่าเป็น ประสบการณ์ที่แปลกดีเหมือนกัน ที่พูดแบบนี้เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกและครั้ง สุดท้ายยังไงล่ะ :)
ถึงบนรถจะมีที่นั่งสำหรับพวกเราพอดี แต่พอเมื่อไปจอดพักตรง Skazaling อยู่ ครู่ใหญ่และให้พวกเราอยู่เฝ้ารถกัน ก็นึกสนุกอยากจะย้ายไปนั่งด้านนอกมากกว่า ส่วนดอลม่าก็ตามมานั่งสมทบเป็นเพื่อนด้วย
เมื่อพี่คนขับและผู้ร่วมงานจบธุระที่สำนักงานแล้ว ทั้งสองคนนั้นก็กลับมายังรถ เพื่อเดินทางกันต่อ พร้อมกวักมือเรียกให้มานั่งประจำที่ตามเดิม หากกฏหมายใน เมืองนี้ไม่ได้มีข้อห้ามในเรื่องการบรรทุกคนหลังกระบะ เราก็ขอนั่งตรงนี้ต่อละ กันเนอะ
⭗ วิวจากท้ายรถ เมื่อออกมายังถนนเส้นหลักก่อนเข้าสู่ตัวเมืองเลห์
"พวกเธอจะนั่งท้ายรถกันจริง ๆ เรอะ?"
ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์พี่คนขับก็โผล่หน้ามาชะโงกถามอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ
"ลมแรง แดดแรง แต่ก็ตามใจนะ"
พวกเขาไม่ขัดข้องแถมแอบหัวเราะไปกับความพยายามอันบ้าบอของพวกเราที่ คิดอยากไปนั่งชิล ตากลมชมวิวจากท้ายรถที่โล่งโจ้งไร้ที่กำบังลมและร่มเงาบัง- แดด นั่งกันจนหัวกระเซิงไปจนถึงปลายทางสมใจอยาก
Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2564 |
Last Update : 8 มีนาคม 2564 13:15:33 น. |
|
9 comments
|
Counter : 1039 Pageviews. |
|
|
นั่งนึกอยู่ 10 วิ ถึงจะนึกออกว่าคือชาวเชอร์ปา-เอเวอเรสต์ นี่เอง
เคยเห็นแต่ชาวเชอร์ปาที่เป็นลูกหาบผู้ชาย เพิ่งเคยเห็นผู้หญิงนี่แหละ
ถึงแม้จะเห็นแค่ข้างหลังก็เถอะ (น้องเค้าน่าจะเป็นคนสวยมั้ง ^^)
แต่การที่ชอบนั่งกระบะท้ายนี่เข้าใจนะ
การเห็นวิวจากกระบะท้าย น่าจะเห็นชัดเจนกว่ามองจากในรถแน่ ๆ
น่าจะคุ้มค่ากับการถูกลมตีหัวฟูเนอะ 55
ป.ล. ขอบคุณมาก ๆ สำหรับคำอวยพร