รีวิวสภาพถนน upper Kinnaur จาก Nako-Reckong Peo | INDIA 2019
⭗ แสงแรกยามเช้าที่ปรากฏบนแนวเขาฝั่งตะวันตก และเทือกเขาสูงด้านหลังที่ขาวโพลนไปด้วยหิมะจากฝนที่ตกหนัก เมื่อคืนนี้--ถ่ายจากดาดฟ้าของที่พักบริเวณชั้นสามในหมู่บ้าน Nako ปี 2019
ตามแผนการเดินทางยอดนิยมบนเส้นทางนี้
หลังจากแวะเที่ยว Nako กันแล้วก็มักจะไปต่อกันที่ Poohหมู่บ้านในเขต Upper Kinnaur ที่เป็น จุดหมายถัดไป แต่ครั้งนี้คงต้องขอเลื่อนไปผ่านไปจริง ๆ เพราะความยืดหยุ่นด้านเวลาสำหรับตัวเอง มันเริ่มจะมีน้อยลงแล้ว หากจะว่าระยะทางคืออุปสรรคก็อาจจะไม่ แต่เป็นความไม่แน่นอนเรื่องสภาพ ดินฟ้าอากาศและภัยธรรมชาติบางอย่างที่อาจต้องเจอระหว่างทาง แถบนี้มีปัญหาดินถล่มบ่อยครั้ง หนำซ้ำเมื่อคืนนี้ที่มีฝนตกกระหน่ำลงมาแบบผิดคาดอีกด้วย
เราออกมาจากที่พักตั้งแต่หกโมงนิด ๆ หลังเก็บภาพแสงแรกที่ไล่แตะบนเขาฟากตะวันตก จากบน ชั้นสามดาดฟ้าของที่พักได้แค่ไม่กี่รูป เพราะกลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดียที่มาพักในที่เดียวกันนี้ ช่างพา กันตื่นกันไวซะจริง พวกเขาต่างขึ้นมาจับจองวางขาตั้งกล้องกันเอาไว้จนเกือบเต็มพื้นที่ตั้งแต่รุ่งสาง
⭗ แปลงนา พื้นที่เพาะปลูกด้านหน้าหมู่บ้าน ระหว่างทางเดินออกไปยังท่ารถ
⭗ บนความห่างระหว่างหมู่บ้านและท่าจอดรถ
⭗ รถบรรทุกที่แวะมาจอดพัก ใกล้ ๆ กับหน้าร้านขายอาหาร
ลานจอดรถตรงหน้าหมู่บ้านอยู่ไกลราวหนึ่งกิโลเมตร บนสภาพอากาศหนาว ๆ แบบที่มีลมโกรกบนช่องเขา ผสมกับไอความชื้นที่แผ่มาสมทบเพิ่มลงมาหลังจากฝนตกเมื่อคืนนี้ ก็ต้องมาประโคมใส่ชุดกันหนาวเพิ่มอีกชั้น จุดแวะพักรอรถดีที่สุดก็คือด้านในของเพิงขายน้ำชาที่นำเอาผ้าใบมาสร้างคลุมไว้เพื่อกันลมไว้ แต่นั่นก็อาจทำ ให้เรามองไม่เห็นเที่ยวรถที่กำลังเข้ามาจอด ด้วยความที่กลัวตกรถมากกว่ากลัวหนาวเลยไปนั่งตากลมข้างนอก ดีกว่า
เมื่อวานนี้รถเสีย
ช่วงที่นั่งจิบชาร้อนตรงโต๊ะด้านนอกปะทะลมโกรกที่พัดแรงจนเสียงเต็นท์ผ้าใบดังพรึ่บ ๆ ก็ได้เจอกับ กั๊ต นักท่อง เที่ยวชาวอิสราเอล คนที่มากับรถโดยสารคันเดียวกันเมื่อวานนี้ เดินวนเวียนป้วนเปี้ยนอยู่ไม่ไกล เขาเข้ามาทักคุย ก็เลยทำให้รู้ว่าเมื่อวานนี้หลังจากที่ถนนเปิดให้รถวิ่งต่อแล้ว มีคนช่วยขยับที่นั่งให้กั๊ตพอหย่อนตัวลงไปพักได้บ้าง แต่ก็หายเมื่อยได้แค่เพียงครู่เดียวเท่านั้น หลังจากไปถึง Sumdo บริเวณจุด Check post เครื่องยนต์ของรถก็มี ปัญหาทำให้เขาออกไปโบกหารถคันอื่นเพื่อมาให้ถึงที่ Nako ด้วยตัวคนเดียว ซึ่งดูทุลักทุเลพอสมควรเลย ทีนี้พวกเราก็ต้องมาวัดดวงกันที่เบาะโดยสารที่นั่งบนรถเที่ยวถัดไปกันดีกว่า รถรอบแรกในรอบเจ็ดโมง ที่เพิ่งวิ่ง มาถึงตอนเจ็ดโมงกว่า แล่นเข้ามาจอดพักที่ลานเป็นที่เรียบร้อย มีผู้คนเดินลงมามากพอประมาณ แต่ว่าพวกเขา เหล่านั้นแทบไม่ได้มาลงรถกันที่ Nako เสียหน่อย นี่คือการจอดพักเพื่อพักดื่มชาและกินอาหารรองท้องก่อนออก เดินทางในเวลาครู่หนึ่งเท่านั้น ดังนั้นบรรดาเบาะนั่งที่ดูเหมือนว่างก็อาจมีเจ้าของหากมันมีอะไรบางอย่างวางกอง เอาไว้เป็นสัญลักษณ์ให้พอได้รู้
⭗ หญิงสาวท้องถิ่นรายนี้กำลังเดินไปมาด้วยความกังวล เธออาจจะต้องยืนโหนรถไปไกลหากไม่มีเบาะไหนว่าง กั๊ต เลือกไปอยู่ที่ส่วนหน้า ส่วนหญิงสาวเสื้อเหลืองที่สวมแจ็คเก็ตกันหนาวสีเขียวขี้ม้าชาวหมู่บ้านนาโกที่เพิ่ง ขึ้นรถมาพร้อม ๆ กันกับเรา ก็ตระเวนเดินหาจุดที่เป็นไปได้ในช่วงตอนกลาง และลองนั่งลงไปก่อนด้วยความไม่ แน่ใจว่ามีเจ้าของที่มั้ย? การที่ต้องมาขึ้นรถกลางทาง ไม่ว่าจะเจ้าถิ่นหรือต่างชาติก็ล้วนมีความเสี่ยงพอกัน
รถเคลื่อนตัวออกจาก Nako ในเวลาแปดโมง กั๊ตได้ที่นั่งซึ่งอยู่หลังเบาะของกระเป๋ารถ หญิงสาวคนพื้นที่ก็ไม่ ต้องยืนโหนรถ ส่วนเราได้นั่งอยู่ตรงท้ายรถที่ไปขอร่วมแทรกด้วย เบียดกันอย่างอบอุ่นร่วม7 คน (ไม่รวมเด็กที่ นั่งตักแม่) สาวนาโกหันมายกนิ้วโป้งให้ที่เราอุตส่าห์หาที่นั่งจนได้
"ถนนฝั่ง Kinnaur ตอนนี้ทำทางไว้ดีมาก ๆ" เสียงลือเสียงเล่าอ้างจากนักท่องเที่ยวอาวุโสชาวอินเดียที่เราเคยเจอพวกเขาในหมู่บ้าน Mudh และอีกครั้งที่ Hotel Deysor ใน Kaza พวกเขาเหมารถนำเที่ยวเข้ามาท่อง Spiti Valley ด้วยเส้นทางนี้ ยืนยันให้เราได้รู้ว่า ในภาพจำเดิมบนเส้นทางฝุ่นฟุ้งตลบนั่น ไม่มีอีกแล้ว ดูเหมือนการได้อยู่เบาะหลังแบบนี้ก็มีอะไรดีอยู่บ้างนะ อย่างเช่นวิวถ่ายรูปจากหลังรถ และขนมถุง(ถั่ว)ที่ได้รับ มาจากเพื่อนร่วมทางเรื่อย ๆ เปิดถุงทีนึงก็เทแบ่งใส่มือเผื่อแผ่คนละนิดคนละหน่อย แม้จะแอบคาดหวังนิด ๆ ว่า ครั้งนี้จะถ่ายรูปได้จากริมหน้าต่างก็เหอะ แต่มันก็คงไม่มีประโยชน์อะไรหากได้เหลิอบไปเห็นผู้โดยสารที่นั่งอยู่ ริมหน้าต่างฟากเดียวกันในโซนหน้า กำลังมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียน มันเป็นภาพบาดตาอย่างมากเมื่อคนที่ว่านี้ ต้องเลื่อนเปิดกระจกเพื่อชะโงกหน้าออกไปอาเจียนเป็นระยะ ๆ ริมหน้าต่างฝั่งซ้ายแทบทุกจุดจึงแทบไม่มีใคร กล้าเปิดบานกระจกออกเพื่อรับลม "เอก พีโอ" ลง Reckong Peo หนึ่งที่
กระเป๋ารถส่ายหน้าแจ้งบอกว่าเขาจะออกตั๋วสำหรับไปลงที่ Spello ก่อน เพราะยังไม่แน่ใจ เรื่องถนนว่ามันถูกเคลียร์ทางเรียบร้อยแล้วหรือยัง แต่หากวิ่งยาวไปจนถึงที่หมายได้ก็ค่อยมาเก็บเพิ่ม
⭗ ปืนยาวที่วางเหน็บไว้ที่หลังเบาะของทหารอินเดียจากต่างถิ่นที่มาประจำการที่เขต upper Kinnaur โดยมากแล้วจะไปอยู่ กันที่ค่ายทหารบริเวณหมู่บ้าน Pooh
⭗ วิวจากด้านหลังรถและความราบเรียบของถนนที่ไม่เหลือเค้าโครงเดิมจากเมื่อ 5 ปีก่อน (ปี 2014)
⭗ คลิปสั้น หลังจากพ้น Nako ไประยะหนึ่งแล้วบน NH-505 บางช่วงถนนก็ยังมีงานทำทางให้เห็นเรื่อย ๆ
⭗ จุดที่รถจอดรับผู้โดยสารจากหมู่บ้านหนึ่ง สัมภาระที่มีชิ้นโตเกินกว่าจะนำมาไว้บนรถได้ก็ต้องนำส่งขึ้นไปมัดไว้บนหลังคา
⭗ จำนวนผู้คนที่มาขึ้นรถเพิ่มเติม
⭗ ย่านชุมชนแห่งหนึ่งก่อนถึง Dubling
⭗ แถว ๆ Dubling และแม่น้ำ Satluj
⭗ คนงานรับจ้างต่างถิ่นที่มาลงรถกันที่นี่
⭗ หลังข้ามผ่าน Dubling Bridge และมุ่งหน้าไปทาง Pooh
⭗ ป้ายเกสเฮาส์ที่หมู่บ้าน Pooh (หรือในอีกชื่อ Spuwa) ที่นี่สูงจากระดับน้ำทะเล 2,662 เมตร
⭗ เลยผ่านไป ครั้งนี้ไม่ได้แวะลงที่ Pooh เช่นเคย
จาก Nako ไล่มาจนถึง Pooh สภาพถนนราบเรียบจนไม่รู้สึกถึงความทุรกันดารแบบเมื่อห้าปีก่อน เจ๋งว่ะ! แทบไม่ต้องเอาผ้าเช็ดหน้ามาปิดกันฝุ่นและเป็นการเดินทางที่ไม่ทรมานจนเกินไป ถึงจะดูเป็นพื้นที่ห่างไกล โพ้นอยู่หลังเขาและมีผู้คนเป็นอีกชาติพันธุ์ ก็ยังสามารถเข้าถึงเส้นทางไปมาหาสู่เชื่อมโยงกับภายนอกได้ อย่างไม่ลำบากเช่นเมื่อก่อน จะเว้นก็แค่จำนวนเที่ยวรถประจำทางที่มีน้อยเกินไป จนต้องมายืนอัดกันเป็น ปลากระป๋องเวลาที่ต้องมาขึ้นจากกลางทางนี่แหละ ส่วนอีกเรื่องนึงก็คือปัญหาหน้าดินถล่มที่ควบคุมไม่ได้ ข่าวคราวการถูกบล็อกเส้นทางไม่ให้รถแล่นผ่านในบางจุด จึงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
⭗ แม่น้ำ Satluj ที่ขนาบข้างเป็นเพื่อนไปตลอดทาง บนเส้นทาง NH-05
⭗ สายน้ำเล็ก ๆ ที่ไหลมาสมทบจากซอกเขา
⭗ เส้นถนนก่อนถึง Spello ที่เริ่มกลับมามีสภาพเดิม (แถว ๆ Up Mohal Gyamil)
พ้นไปจากที่ผ่าน หมู่บ้าน Pooh ที่นั่งริมหน้าต่างว่างลง บรรดาทหารที่ขึ้นรถมาทั้งในเครื่องแบบและนอก เครื่องแบบต่างพากันทยอยลงที่นี่ (รวมถึงพี่คนที่เมารถ) จะว่าไปแถวนี้ก็คือพื้นที่เขตชายแดนดี ๆ นี่เอง ถนนหนทางจากนี้ก็เริ่มเป็นทางลูกรังในบางช่วง ความทรงจำเก่าลอยมาปะทะอย่างแผ่วเบา ป้ายแจ้งเตือน ให้ระวัง shooting stone ปรากฏให้เห็นถี่ขึ้น ตัวรถเริ่มวิ่งด้วยความขลุกขลัก กระทั่งมาถึงที่ Spello ในช่วง สิบโมงเช้า รถได้แวะมาพักจอดชั่วคราวเพื่อสืบข่าวเรื่องถนน ผู้โดยสารต่างลงมายืนรอกันข้างล่างระหว่าง รอคำตอบ แวะซื้อขนม นั่งจิบชา ไม่ก็เดินยืดเส้น และสำหรับที่นี่มีห้องน้ำสาธารณะให้บริการด้วย
⭗ Spello เขตชุมชนที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเยอะกว่าหมู่บ้านโซนด้านใน มีสัญญาณโทรศัพท์ ร้านอาหาร และเกสเฮาส์ให้เลือกเยอะกว่า
⭗ หญิงสาวจากนาโก ที่จะไปลงรถที่ Reckong Peo เช่นกัน
ช่วงที่เดินแกร่ว ๆ แถวนั้น หญิงสาวชาวนาโกก็เดินเข้ามาคุยเป็นเพื่อน เธอบอกว่าตัวเองทำงานอยู่ ที่ Reckong Peo โอ้โห...ไกลบ้านเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน เธอหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาส่งข้อความ ถึงใครสักคนดูเหมือนสัญญาณเชื่อมต่อจะเริ่มใช้การได้ หลังจากได้รู้ว่าเราไม่ได้ติดต่อส่งข่าวให้ทาง บ้านมาหลายวันแล้วตั้งแต่เดินทางเข้ามาในหุบเขาลี้ลับนี่ ก็รู้สึกเห็นใจและอาสาเปิด hotspot เผื่อแผ่ มาให้ใช้ครู่นึง ไม่นานนักกระเป๋ารถก็แจ้งข่าวว่าพวกเราสามารถไปได้ต่อ ได้ยินแบบนี้ค่อยโล่งใจหน่อย! ทีนี้ก็แค่จ่ายค่าโดยสารใหม่ที่เป็นส่วนต่างเพิ่ม “เอก พีโอ!” ประโยคเดิม คำเดิม แต่ที่เพิ่มเติม คือไม่ต้องลุ้นเรื่องถนนแล้ว พอกระเป๋ารถส่งใบเสร็จใหม่ให้ เราก็ใช้เวลาที่เหลืออยู่เก็บรูปอย่าง สบายใจ และรอเวลาไปลงรถรายงานตัวที่ด่านสุดท้ายก่อนที่จะออกจากพื้นที่ upper Kinnaur
⭗ ไปต่อยังทางข้างหน้า ยังคงเป็นเส้นถนน NH-05 เช่นเคย จุดข้ามสะพานข้างหน้าคือ Kiran khadd setu
⭗ ทางที่กำลังทำ
⭗ กลุ่มคนงานที่มาทำถนน และกองหินที่เตรียมนำมาผสม ถนนยุคก่อนก็จะเป็นประมาณนี้เลย เมื่อเทียบกับปัจจุบันนี่ก็ถือว่า ดีขึ้นเยอะแล้ว
⭗ แถวนี้เริ่มมีต้นไม้ริมทางให้เห็นบ้าง
⭗ ป้ายคำคมระหว่างทาง "Three enemies of road Liquor, Speed & Overload"
⭗ จุดกระจายผลผลิตอย่างแอปเปิ้ลที่ถูกขนมาบรรจุลังสีขาวเพื่อเตรียมส่งขาย
⭗ เริ่มใกล้เข้าเขต Jangi
⭗ เส้นถนนฝั่งตรงข้ามและรถบรรทุกที่กำลังวิ่งแล่นลงมา
⭗ ข้ามแม่น้ำมาอีกฝั่ง
⭗ บริเวณ Jangi ที่ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายของ upper Kinnaur
ไม่ใช่คนอินเดีย
จำได้ว่ามีจังหวะนึงที่รถจอดพักครู่ใหญ่ กระเป๋ารถเดินลงไปข้างล่างพร้อม ๆ กับคนบนรถสามคน ท่ามกลางผู้โดยสารอื่นที่มาขึ้นรถเพิ่มเติมจนบดบังการมองเห็นจากโซนด้านหลัง แว้บหนึ่งก็เห็น พวกเขาพากันกลับขึ้นมา และรถก็ทำท่าจะเคลื่อนตัวออกไปต่อ นึกขึ้นได้ว่าน่าจะเป็น Check post สุดท้ายที่ต้องลงไปรายงานตัว เราหยิบแฟ้มใส่เอกสารสำหรับแสดงตัวมา กระเป๋ารถเมล์วิ่งอ้อมมา ทางด้านหลังตรงเข้ามาที่ประตูด้านท้ายเพื่อเก็บค่าโดยสารกับพวกที่เพิ่งขึ้นมาใหญ่
“อย่าเพิ่งไป ยังไม่ได้รายงานตัวเลย”
เขาเห็นเอกสารที่ว่าและยักไหล่ แถมไม่ได้ตะโกนบอกให้รถจอดทั้งที่เพิ่งเลยไปแค่ไม่กี่เมตร "อ้าว ไม่ใช่คนอินเดียเหรอ” เขาเข้าใจไปแบบนั้นจริง ๆ หรือแค่กวนก็ไม่รู้สิ รถเริ่มตีห่างไปไกลเรื่อย ๆ กระทั่งเห็นป้ายว่าที่ตรงนี้คือ Jangi เขตแดนสุดท้ายที่กำหนดให้เป็นพื้นที่พิเศษที่ชาวต่างชาติต้องลง ไปแสดงเอกสาร Inner line Permit ต่อเจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นขาเข้าหรือผ่านออกมา “ไม่เป็นไรหรอก” จากนั้นเขาก็ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น นั่นจึงเป็นเหตุให้เจ้าเอกสารตัวนี้ของเรามีแค่ตราประทับตอน ผ่าน Sumdo เท่านั้น ส่วนพวกที่ลงไปแสดงตัวที่ด่านกับกระเป๋ารถเมล์ เป็นชาวเนปาลที่เข้ามาทำงานในพื้นที่แห่งนี้ โอ๊ย...ไม่เข้าใจ ทำไมเขาแยกหน้าคนเนปาลกับคนอินเดียและคนพื้นที่ออก แต่กลับไม่นึกเอะใจ หรือสงสัยหน้าตาแบบช้านนนนนน ทุกวันนี้ยังแอบคิดอยู่เลยนะว่าเพราะไปพูดฮินดีตอนจ่ายเงิน ค่าตั๋วหรือปล่าวทำให้เกิดการเข้าใจผิด แต่มารู้ทีหลังว่ากั๊ตเองก็ไม่ไ้ด้ลงไปรายงานตัวเช่นกัน อิตากระเป๋ารถรายนี้ท่าทางจะเรดาห์พัง! สภาพถนนตรง Jangi ยังคงดูสะบักสะบอมไม่แพ้กัน หัวสั่นคลอนงึกงักไปตามจังหวะรถได้พักใหญ่ถึง จะเริ่มปรับจนราบเรียบ ยิ่งวันนี้มีฝนตกลงมาระหว่างเดินทางด้วย ทำให้รู้สึกลำบากอยู่ไม่น้อย เริ่มเข้า ใกล้ Reckong Peo ก็ยิ่งหนักขึ้น สภาพพื้นถนนดูเจิ่งนอกจนดูไม่น่าจะออกไปเดินเล่นที่ไหนไกลได้ หากไปถึงยังปลายทาง เมื่อรถหักเลี้ยวขึ้นถนนที่จะโยงเชื่อมไปยังตัวเมืองยังได้เจอกับตัวรถบรรทุกที่ พลิกคว่ำนอนตะแคงค้างเติ่งอยู่ตรงริมถนนให้ได้เสียวสันหลังวาบ
บ่ายโมง รถมาเทียบจอดที่ท่ารถ Reckong Peo ถึงที่หมายกันอย่างปลอดภัย เรามีแผนจะไป Sangla ต่อจากนี้ ส่วน กั๊ตจะยิงยาวไปที่ Chitkul พอได้เข้าไปติดต่อกับ แผนกสอบถามตรงท่ารถ ก็ได้รับแจ้งแค่ว่ามีรถรอบ 16.30 น.ที่จะวิ่งไปทางนั้น เวลาที่เหลือ ต่อจากนี้ก็ได้แค่ตระเวนเดินหาของกินแถว ๆ ท่ารถ ถามว่าทำไมถึงไม่แวะพัก Peo น่ะเหรอ ในมุมมองส่วนตัวของเราคือที่นี่ไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจเท่าไหร่ มันดูมีความเป็นเมืองมากไป การมาลงรถตรงนี้ก็เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการต่อรถที่ง่ายสุดสำหรับพื้นที่ Kinnaur ที่เชื่อม เข้าถึงทั้งส่วน upper Kinnaur ทะลุผ่านไปยัง Spiti Valley และเขตพื้นที่ส่วน lower Kinnaur สถานีรถขนส่งใน Reckong Peo จึงเหมือนเป็นศูนย์กลางหลักในการเดินทางของผู้คนในย่านนี้
(จาก Reckong Peo สามารถต่อรถไปที่ Kalpa เมืองเล็ก ๆ บนเขาตั้งอยู่ไกลแค่ 12 กม. ได้นะ จะมีรถประจำทางออกวิ่งทุกครึ่งชั่วโมง แต่ต้องออกไปยืนรอรถแถว ๆ หน้าที่ทำการไปรษณีย์)
+++ ตารางวิ่งรถที่สถานีขนส่ง Reckong Peo +++ : https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wachii&month=03-2022&date=25&group=23&gblog=49
กลับไป Sangla
16.30 น. รถโดยสารสายที่วิ่งไป Sangla – Rakcham ก็เริ่มหมุนล้อออกเดินทาง เอ๊ะ! อิงจากที่ป้ายหน้ารถ ที่วางไว้ มันวิ่งไปแค่ Rakcham นี่หว่า (ครึ่งทางก่อนถึง Chitkul) ซึ่งมันก็มีแค่เที่ยวเดียวสำหรับวันนี้เสียด้วย กั๊ต นายจะเอาไงต่อ? “ผมคงจะโบกแท็กซี่ต่อไปที่ Chitkul” ไม่มีทางเลือกแล้ว เขาจะไปลงที่ปลายทางนั่นและใช้วิธีที่ว่า เส้นทางต่อจากนี้มันคงจะมืดตึ๊ดตื๋อน่าดู กั๊ตเริ่มออกอาการกังวลเล็ก ๆ ที่ทุกอย่างดูไม่มีอะไรแน่นอนเลย
⭗ เส้นทางไป Sangla จาก Reckong Peo
⭗ ทางเลียบเขาที่ต้องลุ้นอยู่ตลอด
⭗ เส้นถนนพาขึ้นสู่ที่สูง คราวนี้มีฝนโปรยปรายระหว่างทางอีกด้วย
⭗ หมอกหนาเตอะที่เจอในบางช่วง ทัศนวิสัยไม่ค่อยดีเท่าไหร่
⭗ เขื่อนที่แยก Karcham ที่ซึ่งรถจะเลี้ยวไปยังเส้นทางไป Sangla-Chitkul
18.20 น. มาลงตรงท่ารถแห่งใหม่ของเมือง Sangla ตำแหน่งที่ตั้งของอาคารที่ว่านี้ มันอยู่ก่อนถึงตัวสะพาน ข้ามแม่น้ำ (แต่เดิมรถโดยสารจะขึ้นไปเทียบท่าตรงศาลาเล็ก ๆ) ฝนยังคงตกไม่หยุด ทางเดินก็เฉอะแฉะ เราหยิบ เป้ลงจากชั้นวางด้านบนซึ่งเป็นตำแหน่งที่กั๊ตนั่ง พูดอวยพรให้เขาไปถึงที่หมายอย่างปลอดภัย และถ้าหากพรุ่งนี้ ยังอยู่ที่ Chitkul ก็คงอาจได้เจอกันอีก แวะกินมื้อเย็นที่ร้านเล็ก ๆ แถวนั้นก่อนเดินหาที่พัก กับร้านเดิม Buddhist Cafe ที่เคยอุดหนุน ป้าเจ้าของร้านนี้เป็นชาวเนปาล ย้ายมาจากกาฐมาณฑุ ไม่รู้ว่าลูกสาวแกไปไหนแล้ว(ไม่ได้ถาม) ด้วยความที่ร้านอยู่ชั้นสอง ซึ่งเป็นอาคารที่สร้างติดถนนคนเดิน จังหวะที่นั่งรออาหารก็นั่งดูวิวด้าน นอกไปเรื่อยเปื่อย ยิ่งมืดค่ำแล้วฝนก็ยิ่งตกลงอย่างหนัก คงได้เวลาที่รถประจำทางจะออกตัวจาก ท่ารถอีกครั้ง วิ่งข้ามสะพานและแล่นผ่านมายังตำแหน่งที่ตั้งของร้าน เห็นภาพสุดท้ายของกั๊ตที่นั่ง อยู่ตรงริมหน้าต่างฝั่งคนขับดูเหนื่อยหน่ายอย่างบอกไม่ถูก...
คุณมาจากประเทศอะไร?
ฟ้าฝนไม่มีทีท่าจะหยุดตกสักที แทบไม่อยากเดินหาเกสเฮาส์ที่ตั้งไกลจากนี้แล้ว ก็เดินข้ามไปยัง Baspa Guesthouse ที่อยู่เยื้องกับร้านเลยละกัน หลังต่อรองราคาที่พักสำหรับได้แล้ว เราก็ต้องมา ลงประวัติก่อนกัน เจ้าของเกสเฮาส์หยิบนำใบเอกสารมาให้และสอบถามพอเป็นพิธี “ยูเป็นคนประเทศ อะไร ญี่ปุ่น? จีน? เกาหลี?” เขาน่าจะเดาจากนักท่องเที่ยวที่เคยเห็นบ่อยแน่ ๆ “มาจากประเทศไทยค่า”
เราตอบกลับต่อแบบขำ ๆ ว่าทำไมคนแถวนี้ชอบมาเดาสัญชาติไปแถบประเทศที่ว่านั้นบ่อยจริง ทั้งที่หน้าตากับสีผิวมันก็ไม่ค่อยจะเข้าเกณฑ์เท่าไหร่ เจ้าของที่พักได้ยินแล้วก็หัวเราะลั่นทันที
“ฮะ ๆ ที่จริงแล้วเราจำเป็นต้องถามครับ ถ้าเป็นคนจาก จีน,ปากีสถาน,อัฟกานิสถาน แถวนี้จะไม่อนุญาตให้มาเที่ยวโดยอิสระแบบนี้” จากคำตอบนี้ เรานึกถึงป้ายแจ้งเตือนที่ติดไว้ตรง สำนักงาน ADC ทันที ลำพังแค่ ปากีสถาน น่ะพอจะเข้าใจอยู่ แต่จีนกับอัฟกานิสถานนี่สิยังไงหว่า?
“จีนเป็นเพื่อนกับปากีฯ ส่วนปากีฯ ก็เป็นเพื่อนกับอัฟกานิสถาน ยังไงล่ะ!” โอเค ครั้งนี้ได้รู้ซะทีว่าทำไมระหว่างที่ท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่เขตด้านในถึงมีแอบคนถามบ่อย ๆ ที่แท้ก็กลัวสปายนั่นเอง อย่างไรก็ดีพอพูดถึงคนไทย เจ้าของที่พักก็ได้เอ่ยถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว จากเมืองไทย 14 รายที่มาเข้าพักเมื่อเดือนก่อนด้วย-- ณ เวลานี้ Spiti & Kinnaur ก็คงจะเริ่ม เป็นจุดหมายยอดนิยมแล้ว
Create Date : 06 ตุลาคม 2566 |
Last Update : 10 ตุลาคม 2566 15:21:40 น. |
|
7 comments
|
Counter : 1314 Pageviews. |
|
|
เบาะนั่งดูไม่ค่อยสะอาดเท่าไหร่เลย เวลาเปลี่ยนอะไรๆ มันก็เปลี่ยน 5 ปี ก็ครึ่งทศวรรษเลยนะ มันย่อมเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย
ทางดีขึ้นมันรู้สึกปลอดภัยขึ้นนะ เดินทางได้สะดวกขึ้นด้วย
ทางในหลายๆ ส่วนไม่ค่อยดี แถมฝนตกด้วยน่าห่วงชะมัด แต่คนท้องถิ่นคงชินแล้วกระมัง
เวลาเจอถามที่ต่างประเทศ เขาก็เดาไม่ออกเหมือนกันว่าเราชาติอะไร 555