Group Blog
 
<<
กันยายน 2566
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
14 กันยายน 2566
 
All Blogs
 
SPITI (ปี 3) Tabo อชันตาแห่งหิมาลัย #2



สวนแอปเปิ้ล มิตรภาพเก่า และการระลึกถึง



ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางมาเยือนครั้งแรกหรือครั้งล่าสุด สิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้สึกว่าหมู่บ้าน Tabo
มีความเขียวชอุ่มเกินหน้าพื้นที่อื่นในหุบเขาสปิติ เพราะมีสวนแอปเปิ้ลที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย
เห็นแล้วก็อดนึกไม่ได้ว่าพวกเขาเริ่มเพาะปลูกกันตั้งแต่ตอนไหนกันนะ ถึงแม้ว่าที่ตั้งของหมู่บ้าน
จะมีสถานภาพที่สำคัญทางประวัติศาสตร์นับพันปี แต่สวนแอปเปิ้ลเหล่านี้ต้องเป็นของใหม่แน่นอน
ยิ่งเมื่อได้ย้อนกลับไปดูวีดิโอเก่า ๆ ช่วงปี ค.ศ. 1996 ที่มีการบันทึกเอาไว้ จะเห็นได้ว่าที่หมู่บ้านนี้
มีแต่นาปลูกข้าว พวกไม้ยืนต้นประจำถิ่นก็มีเพียงป็อปลาร์และวิลโลว์เท่านั้น 


Link : 
https://youtu.be/DHz5EmoGaH4?si=zmrmEMo336WMsXG4&t=347
สภาพแวดล้อมของ Tabo เมื่อปี 1996 ระหว่างที่มีงาน Kalachakra ผู้คนจากสารทิศต่างแห่กันมาที่นี่
ในช่วงนาทีที่ 5.47-8.54 และจากภาพมุมสูงของหมู่บ้าน(นาทีที่ 8.54) จะเห็นแปลงทดลองปลูกแอปเปิ้ล
รุ่นแรกอยู่ใกล้ ๆ กับเขตวัดและลานจอด ฮ. ในขณะนั้นยังมีขนาดลำต้นเล็กจิ๊ดเดียว 






⭗ ทางเดินเข้าหมู่บ้านจากฝั่งที่ทำการไปรษณีย์ ที่หลังกำแพงต้นแอปเปิ้ลเริ่มออกผลและกลุ่มต้นไม้รุ่นใหม่ที่ปลูกเพิ่มขึ้น
บริเวณด้านหลังวัด





⭗ ต้นแอปเปิ้ลอีกรุ่น ที่ยังมีขนาดลำต้นที่เล็กอยู่



⭗ ทางเข้าหมู่บ้านอีกฝั่งหนึ่ง ตรงโซนนี้จะมีที่ตั้งของสถานีอนามัย ร้านค้า ตู้เอทีเอ็ม ธนาคาร และโรงเรียน



 ทางเชื่อมไปยังจุดจอดเฮลิคอปเตอร์



ถัดจากลานจอด ฮ. จะมีช่องทางลงไปยังแม่น้ำข้างล่างได้ นี่คือแม่น้ำสปิติที่ไหลผ่านหมู่บ้าน Tabo



 ลานกิจกรรม ที่มีกลุ่มเด็กนักเรียนมาใช้สถานที่นี้กันอยู่ ในฤดูหนาวมันจะถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นลานน้ำแข็งด้วยนะ

 

คงเป็นความบังเอิญเล็ก ๆ ที่เราได้พยายามเดินหาจุดลงไปยังแม่น้ำสปิติด้านล่าง เมื่อเดินผ่าน
ไป
แถวลานจอดเฮลิคอปเปอร์ ด้วยทางเดินลงที่ลาดชันทำให้ต้องเปลี่ยนใจกลับไปเปลี่ยนรองเท้า
ที่เกสเฮาส์ก่อน (พื้นรองเท้าแตะไม่น่าจะเอาอยู่) แต่ระหว่างทางก็ได้กับเจ้าของสวนแอปเปิ้ลรายนึง
ขับรถผ่านมาหยุดจอดทักเรา
ว่ามาจากประเทศอะไร? แล้วจากนั้นชักชวนให้แวะไปเยี่ยมสวนฯ ที่อยู่
ไม่ไกลจากตรงนี้เท่าไหร่นัก


ชูดัม เป็นชาวตาโบมาตั้งแต่เกิด แต่ต้องขับรถไป ๆ มา ๆ ระหว่าง Kaza และ Tabo ผลัดเวรกับ
คน
ที่บ้านมารดน้ำต้นแอปเปิ้ล สลับกับอาชีพการงานที่เป็นทันตแพทย์ที่ Kaza โดยบางครั้งก็รับ
บท
 PR กิจการโรงแรมของพี่ชายที่เปิดในตัวเมืองด้วย
  (วิ่งงานเยอะเนาะ 555)




 แอปเปิ้ลสีแดงที่เริ่มออกผลให้รอเก็บเกี่ยว เจ้าของสวนบอกว่าในระยะนี้ยังไม่ค่อยหวานต้องรออีกนิด   



 น้ำที่ปล่อยมาตามท่อส่ง โดยมีการขุดร่องไว้บริเวณรอบโคน 



  ส่วนที่ปลูกเป็นขั้นบันได ตรงทางที่ลาดลงไปยังบริเวณแม่น้ำสปิติเบื้องล่าง



 แปลงปลูกบนพื้นที่ราบ 



 มีการทำทางขั้นบันไดเอาไว้ด้วย 


สายพันธุ์ที่ปลูกในสวนหลัก ๆ คือ Red Royal และ Golden Royal
แต่ก็ยังเห็นมีพันธุ์สีเขียวปลูกแซมด้วย เขาว่าเอาไว้สำหรับผสมเกสร
ไม่งั้นมันจะไม่ติดผล ส่วนน้ำที่ใช้รดจะเปิดวาล์ลจากพื้นที่กักเก็บน้ำ
ต่อท่อส่งไปยังร่องดินที่ขุดไว้รอบต้น

 

ถึงแม้ว่าการทำสวนแอปเปิ้ลในรัฐหิมาจัลประเทศจะเริ่มปลูกกันเป็นล่ำเป็นสันนานแล้ว
นับจากที่อดีตมิชชันนารีชาวอเมริกัน
Samuel Evan Stokes(1) ผู้ที่มีฉายา Apple Man
นำเมล็ดพันธุ๋รุ่นแรกจากสหรัฐอเมริกามาทดลองปลูกอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปีค..1916
เมื่อผลลัพท์จากผลผลิตรุ่นแรกที่ถูกวางสู่ท้องตลาดเป็นที่น่าพอใจ ทางการอินเดียจึงได้
วางแผนขยับขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเติมอีก

กลุ่มนักวิจัยด้านการเกษตรก็ได้เริ่มทำการหาแหล่งทดลองการเพาะปลูกพืชเมืองหนาว
ในเขต
พื้นที่ห่างไกลอย่างเช่นหุบเขาสปิติ ที่มีภูมิประเทศแบบภูเขาทะเลทรายที่หนาวเย็น
ด้วยข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง ที่เอื้อต่อการทำงานเกษตรได้เพียงแค่ช่วงสั้น ๆ
(เดือนเมษายน-ตุลาคม) เมื่อถึงฤดูหนาวต้นไม้เหล่านั้นก็จะต้องทนรับกับอุณหภูมิที่จะลดต่ำ
ลงไปจนถึง -30 ํC ต่อเนื่องหลายเดือน โดยแปลงสาธิตฯ 
ของTabo เริ่มขึ้นในปี ค..1981
(2)
 
พื้นที่สวนของคุณชูดัมกว้างใหญ่พอควร กว่าจะให้น้ำครบหมดก็ใช้เวลานานหลายชั่วโมง
หลังจากแนะนำข้อมูลให้พอรู้คร่าว ๆ เขาก็ขอตัวไปดูแลต้นไม้และปล่อยให้เราเดินเล่นตาม
สบาย ด้านล่างของสวนมีบันไดทางลงไปที่แม่น้ำซะด้วย เลยถือโอกาสลงไปเก็บก้อนหินที่ริมน้ำ
ป้วนเปี้ยนวนเวียนอยู่แถวนี้ได้พักใหญ่ก็ขอตัวกลับ เพื่อที่จะแวะไปนั่งวาดรูปที่ด้านในวัดเก่าต่อ
คุณเจ้า
ของสวนได้แบ่งแอปเปิ้ลมาให้ไปกินจำนวนนึงอีกด้วย



ริมน้ำที่ดูเหมือนจะตื้นเขิน แต่ก็มีกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวพอสมควร 



ช่วงเวลาสุดท้ายที่เหลือในหมู่บ้านนี้ นอกเหนือไปจากการรอฟังข่าวของพระโซนัมที่ว่าจะกลับมาถึง Tabo
ตอนเย็นตามที่หลวงพี่อุกเยนแจ้งไว้ ในช่วงบ่ายแก่เราจึงเดินเก็บภาพรอบ ๆ หมู่บ้านเป็นที่ระลึกและเผื่อไว้
เทียบเคียงกับวันข้างหน้าที่มันจะเปลี่ยนไป
(อาจมีซ้ำมุมกับปี 2014 บ้างนะ)



บริเวณท้องนา วัว และต้นไม้ที่ถูกตัดออกไป ที่ตรงนี้อยู่ไกลออกไปจากวัดประมาณครึ่งกิโลเมตร 



⭗ ผลเล็ก ๆ ของ sea buckthorn ที่เดินเก็บกินได้อย่างเรื่อยเปื่อย



⭗ อาคารหลังใหม่ ๆ ที่กำลังสร้างขึ้นมา สำหรับเป็นเกสเฮาส์



สองฝั่งทางที่มีสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นเยอะแยะไปหมด



ต้นไม้ที่ขึ้นอย่างโดดเดี่ยว บนเนินสูงใกล้ ๆ กับบริเวณถ้ำนั่งสมาธิ -- ดีใจที่ยังได้กลับมาเห็นมันอีก 



⭗ ต้นป็อปลาร์รุ่นปู่ทวด ที่น่าจะอยู่กับหมู่บ้านนี้มานานมากแล้ว หนนี้ได้เห็นใบเขียว ๆ แซมอยู่บ้าง 



แนวกำแพงที่มีกงล้ออธิษฐาน สมัยที่เคยมาครั้งแรกจำได้ไม่ลืม เพราะโดนหมาแม่ลูกอ่อนวิ่งไล่แถว ๆ นี้

⭗ พวกลูกหมาที่พยายามจะหาทางเข้าบ้าน



⭗ หน้าทางเข้าไปยังพื้นที่ของวัดเก่า 



⭗ ลานวัดปัจจุบัน ในช่วงเย็นของวันนี้มีการซักซ้อมโต้กระทู้ธรรมกันของเหล่าเณร 



ลูกหมาที่เข้าไปป่วน จนเณรแทบไม่มีสมาธิตอบคำถาม ซึ่งในภาพนี้สงบศึกกันเรียบร้อยแล้วนะ ^^
หลังรั้วเขียวนั่นก็เป็นดงแอปเปิ้ลที่เป็นแปลงสาธิตฯตามที่เล่าไว้ข้างต้น แอบเห็นว่ามีผลไม้เมืองหนาวตัวอื่น
อย่างพลัมปลูกแทรกไว้ด้วย




ถ่ายคลิปเก็บไว้ในช่วงที่เจ้าหมาวิ่งเข้าไปวุ่นวายพอดี



⭗ ลานพื้นที่จอดรถหน้าวัดใหม่และแสงสุดท้ายของวันที่ส่องพาดลงบนเนินเขา



ด้านในวิหารของวัดใหม่ที่ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ รู้สึกว่าต้องตื่นมาให้ทัน 6 โมงเช้า ถึงจะได้เห็นพระมาทำพิธี



มีการทำรูปปั้นลอยนูนคล้าย ๆ กับด้านในวิหารวัดโบราณ แต่ว่ารูปลักษณ์เป็นคนละแบบ



สรุปแล้วไม่ได้เจอกับพระโซนัมตามคาด จากข่าวคราวของถนนฝั่ง Kinnaur ยังไม่ถูกเคลียร์ให้รถวิ่งได้ตามปกติ
หลวงพี่อุกเยนได้เดินมาบอกในขณะที่เรากำลังเดินถ่ายภาพอยู่แถว ๆ เจดีย์องค์ขาวพอดี หลังจากที่เพิ่งรับสายพูด
คุยกันไม่ได้นานนัก น่าเสียดายที่ไม่ได้มีโอกาสเจอกันอีก พรุ่งนี้เราจำเป็นต้องย้ายไปที่อื่นต่อ เลยต้องฝากรูปถ่าย
เอาไว้กับหลวงพี่ท่านนี้แทน 
พระแนะนำให้เขียนบันทึกอะไรลงไปสักหน่อย

อืม เขียนอะไรดีล่ะ มันก็เป็นรูปของพระโซนัมที่ยืนอยู่ตามลำพัง จะจำคนถ่ายได้หรือเปล่าก็ไม่รู้สิ
ในกระเป๋าพกมาแต่ดินสอ ก็พยายามลงลายมือให้พอมองเห็นบนด้านหลังกระดาษล้างรูปที่มีผิวมันวาว


ภาพถ่าย ตุลาคม ปี 2014
ฟ้า จากประเทศไทย, ปี 2019



กลายเป็นว่าต้องฝากฝังให้หลวงพี่อุกเยนเป็นคนมอบส่ง ท่านบอกว่าเต็มใจรับอาสา
ถึงแม้จะดูไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร แต่อย่างน้อยมันก็เป็นหลักฐานยืนยันของการพบปะกัน
ในครั้งหนึ่งระหว่างการเดินทางนั่นเอง




⭗ มุมภาพจากด้านบนเนินเขา อาณาเขตของวัดและหมู่บ้านท่ามกลางแมกไม้ที่ใกล้จะเปลี่ยนสีในช่วงเดือนกันยายน 



 


(เพิ่มเติม)

(1)เรื่องราวของ Samuel Evan Stokes เคยเขียนถึง Apple Man แทรกไว้ในเอนทรี่ : KINNAUR : Sangla Valley

(2) นับจากปี ค.ศ. 2017 พื้นที่ทดลองการเพาะปลูกเพื่อการวิจัย ก็อยู่ภายใต้การดูแลของ YSP University
ชื่อเต็ม ๆ คือ  Dr. Y. S. Parmar University of Horticulture and Forestry  ตั้งอยู่ในเมือง Solan 


 







 

 




Create Date : 14 กันยายน 2566
Last Update : 24 กันยายน 2566 20:01:22 น. 5 comments
Counter : 605 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtoor36, คุณSweet_pills, คุณดอยสะเก็ด, คุณทุเรียนกวน ป่วนรัก


 
บ้าน กับพื้นที่แตกต่างกับบ้านเราเยอะเลย ถ้าอากาศร้อนแบบ
บ้านเราก็คงจะท้อแน่เลย เพราะพื้นดินมีก้อนหินเยอะ ปลูกพืช
คงจะยาก


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 15 กันยายน 2566 เวลา:5:46:18 น.  

 
พูดถึงการเดินทางมาเยือนครั้งแรกหรือครั้งล่าสุด มันทำให้ผมรู้สึกอยากไปเยือนที่เก่าๆ ที่เคยไปเหมือนกันนะ ในภาพนี่แดดแรงน่าดู

แม้จะไม่ใช่ภูมิประเทศแบบที่ผมรู้สึกอยากไปเท่าไหร่นัก แต่ก็รู้สึกได้ว่ามันดูมีเอกลักษณ์ในตัวของมัน

กงล้อ แบบนี้ตอนไปจีนวัดทิเบตของเขาก็มีนะ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 15 กันยายน 2566 เวลา:23:07:42 น.  

 
@toor36 : เป็นวัฒนธรรมร่วมน่ะ พื้นที่ก็อยู่ติดกับทิเบตด้วย เรากลับมาที่หุบเขาสปิติช่วงปี 2015
ตั้งใจแวะมา Tabo อยู่แล้ว แต่มันก็มีเหตุให้ต้องรีบ
ออกมา เลยไม่ได้ทำอย่างที่ตั้งใจไว้ ... ครั้งนี้ก็เลยเหมือนได้ปลดล็อค ไม่รู้สึกติดค้างอะไรแล้ว


โดย: กาบริเอล วันที่: 16 กันยายน 2566 เวลา:14:13:21 น.  

 
@ไวน์กับสายน้ำ : มันขึ้นอยู่กับมุมมองและวิสัยทัศน์ ว่าจะหาทางปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้ดีขึ้นยังไงได้


โดย: กาบริเอล วันที่: 17 กันยายน 2566 เวลา:11:18:29 น.  

 
น่าเสียดายคลาดกับพระโซนัมในท้ายที่สุด เกือบได้เจอกันแล้วเชียว


ใครจะเชื่อว่าแอปเปิลที่ทดลองปลูกเมื่อ 100 ปีก่อน
จะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของที่นี่ในปัจจุบันได้!
มิสเตอร์แอปเปิลช่างเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์จริง ๆ

แต่ถ้าไม่ปลูกแอปเปิลก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่า
จะปลูกอะไรที่สามารถสร้างรายได้และทนต่อสภาพอากาศแบบนี้ได้
(ว่าจะยุชาวบ้านให้ปลูกทุเรียนก็ไม่น่ารอด :D)

แอบทึ่งคุณฟ้านะ ขนาดเค้าแช่ภาพในวิดีโอให้ดูแค่ไม่กี่วินาที
ยังอุตส่าห์ขุดเจอภาพสวนแอปเปิลที่นี่ตอนปลูกใหม่ ๆ ด้วย ^^


โดย: ทุเรียนกวน ป่วนรัก วันที่: 20 ธันวาคม 2566 เวลา:20:50:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กาบริเอล
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]




ชอบต้นไม้, แมว, หนังสือ
และออกเดินทางท่องเที่ยวบ้าง

ไม่ชอบพบปะผู้คนมากนัก
เป็นมนุษย์จำพวก introvert

การเขียนบล็อก
คืออีกพื้นที่บอกเล่าผ่านตัวอักษร
และตัวตนของเราก็อยู่ในสิ่งที่เขียนค่ะ

ขอบคุณ Bloggang
สำหรับพื้นที่แบ่งปันตรงนี้

....

เริ่มต้นลงบันทึกอย่างเป็นทางการ
ณ วันที่ 16 ม.ค. 2014


###ไม่สะดวกพูดคุยหลังไมค์นะคะ###

© ขอสงวนลิขสิทธิ์ ภาพถ่าย 
ห้ามนำไปใช้ ดัดแปลง แก้ไข 
โดยไม่แจ้งที่มา ก่อนได้รับอนุญาต


New Comments
Friends' blogs
[Add กาบริเอล's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.