Bloggang.com : weblog for you and your gang
Group Blog
คลังฯ
แก็งเด็กมีหาง
DIARY
[R]นั่งรถไฟไปรัสเซีย - 2013
INDIA-2014/1
INDIA-2014/2
HINDUSTAN-2015
Ladakh & Spiti Valley -2019
หกสัปดาห์ของฤดูร้อนและลูกค้างคาวผู้ไม่ยอมบิน
<<
ตุลาคม 2562
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
8 ตุลาคม 2562
Manali (อีกครั้ง)
All Blogs
บันทึกสุดท้ายที่ Chitkul หมู่บ้านสุดท้ายในอินเดีย | INDIA 2019
Sangla, KINNAUR 2019 : โรงเรียนเก่า
รีวิวสภาพถนน upper Kinnaur จาก Nako-Reckong Peo | INDIA 2019
เดินทางเข้าสู่ upper Kinnaur รอบนี้แวะลงหมู่บ้าน Nako แล้วนะ | INDIA 2019
SPITI (ปี 3) Tabo อชันตาแห่งหิมาลัย #2
SPITI (ปี 3) Tabo อชันตาแห่งหิมาลัย #1
SPITI (ปี 3) Dhankar ที่ไม่เคยมา
SPITI (ปี 3) Kaza บนความทรงจำบทใหม่
SPITI (ปี 3) Demul, Lidang และเดินเท้าเข้า Pin Valley
SPITI (ปี 3) เทรกย้อนทิศไป Demul
SPITI (ปี 3) จิบอารักที่ Lalung
SPITI (ปี 3) ขึ้นดอย ลงดอย
SPITI (ปี 3) หมู่บ้านสัญจร #Hikkim
SPITI (ปี 3) ค่ำคืนที่ครึกครื้นใน Kaza
SPITI (ปี 3) สปิติรำลึก
ตารางการเดินรถประจำทาง Spiti Valley & Kinnaur (2019)
Ladakh 2019 - การเดินทางออกจากเลห์
Ladakh 2019 - Hemis Monastery และ Naropa Festival รอบเตรียมงาน
Ladakh 2019 - ไปร่วมกลุ่มเก็บเกี่ยวฯ ที่หมู่บ้าน Saboo
Ladakh 2019 - หมู่บ้าน Rumbak ที่อ่านว่า รุมบัค
Ladakh 2019 - Matho Monastery
Ladakh 2019 - หมู่บ้าน Sakti
Ladakh 2019 - Thiksay Monastery
Ladakh ฉบับเบา ๆ - เดินเก็บภาพไปตามเส้นทาง Leh Heritage Walk
Ladakh ฉบับเบา ๆ - Chutayrangtak Street
Ladakh 2019 - Day of Ashura (วันอาชูรอ)
Ladakh 2019 - Gya (2)
Ladakh 2019 - Gya (1)
Ladakh 2019 - ไป Stok แบบไม่มีรถประจำทาง
Ladakh 2019 - หนึ่งวันกับดอลม่า (2)
Ladakh 2019 - หนึ่งวันกับดอลม่า (1)
EUREKA !!!! เจอชื่อซอสพริกนิรนามซะที
ตารางการเดินรถโดยสารของ Keylong 2019
วันงานเทศกาลผ่านมา - Ladakh Marathon 2019
Ladakh ฉบับเบา ๆ - อาหารท้องถิ่นของลาดัก
วันงานเทศกาลผ่านมา - Ladakh Festival 2019
Ladakh 2019 - ร่องรอยอดีตที่ Basgo
Ladakh 2019 - สถานีต่อไป Likir
Ladakh ฉบับเบา ๆ - Churpi ชีสแห้ง
Ladakh 2019 - แวะ Hemis Shukpachan เมื่อฉันยังไม่อยากกลับเลห์ (2)
Ladakh 2019 - แวะ Hemis Shukpachan เมื่อฉันยังไม่อยากกลับเลห์ (1)
Ladakh 2019 - หนึ่งคืนที่หมู่บ้านชาวอารยัน
Ladakh 2019 - เดินทางไกลไป Hanu และ PAP เจ้าปัญหา (อีกแล้ว)
Ladakh 2019 - เส้นทางสู่ Lamayuru
ตารางการเดินรถโดยสารของเลห์ (Leh)
Ladakh ฉบับเบา ๆ - ผิดที่ผิดเวลา
Ladakh ฉบับเบา ๆ - ว่าด้วยเรื่อง PAP เจ้าปัญหา
ถนนทุกสายมุ่งสู่เลห์ (6)
ถนนทุกสายมุ่งสู่เลห์ (5)
ถนนทุกสายมุ่งสู่เลห์ (4)
ถนนทุกสายมุ่งสู่เลห์ (3)
ถนนทุกสายมุ่งสู่เลห์ (2)
Manali (อีกครั้ง)
ถนนทุกสายมุ่งสู่เลห์ (1) เที่ยวรถประจำทาง มะนาลี-เลห์
Ladakh ฉบับเบา ๆ - คำเรียกคนในครอบครัว
Manali (อีกครั้ง)
ฉันรู้ตัวว่าไม่ใช่คนที่เป๊ะเท่าไหร่
และบางครั้งก็ชอบแอบหละหลวมกับ
การกำหนดตัวเลือกสำหรับเที่ยวรถที่จะโดยสารไปยังเลห์ผ่านเส้นทางเมือง
มะนาลีแห่งนี้....เรื่องของราคาค่าโดยสาร บวกรวมกับที่พักใน keylong ที่อยู่
ภายใต้การดูแลของ HPTDC ก็ดูน่าสนใจดี ถ้าหากว่าวันเดินทางออกจะไม่ใช่
วันนี้ วันที่ฉันเพิ่งเดินทางมาถึงมะนาลีแบบหมาด ๆ ชนิดที่ว่าเพิ่งก้าวขาลงจาก
รถไม่ทันครบ 15 นาที หลังจากที่ใช้เวลาไปกับเที่ยวรถ เดลี - มะนาลี รอนแรม
มายาวไกลจนถึง 14 ชั่วโมงเนี่ย!
พนักงานผู้คอยให้คำปรึกษานักท่องเที่ยวในสำนักงาน HPTDC ส่งตารางการ
เดินรถจาก
มะนาลี - เลห์
/
เลห์ - มะนาลี
มาให้ฉันดู...พร้อมกับบอกว่า
"ถ้าไปวันนี้ก็ยังมีที่นั่งเหลืออยู่ แต่ถ้าจะรอรถเที่ยวถัดไปก็จะต้องเป็นวันมะรืน"
เที่ยวรถโดยสารพิเศษนี้ จะวิ่งออกจากมะนาลีในเวลาสิบโมงเช้า ซึ่งในตอนนี้
มันก็เพิ่งจะเก้าโมงเอง
ฉันเหลือบมองแผนผังที่ทำเป็นรูปสัญลักษณ์ของที่เบาะรถ Deluxe ขนาดที่
นั่ง 2x2 ดูท่าจะนั่งสบายกว่าพวกรถโดยสาร Ordinary 2x3 (47 ที่นั่ง) แถมยัง
อาจคาดหวังกับการจองที่นั่งไม่ได้อีกเป็นไหน ๆ และไม่แน่ว่าอาจจะต้องไป
เบียดกับคนอื่นตรงเบาะที่เป็นสามที่นั่งอีก
"ถ้ายังไงช่วงบ่าย ๆ ฉันอาจจะกลับมา
จองเที่ยวรถไปเลห์สำหรับมะรืนนี้ก็แล้วกัน"
ความจริงแล้วจะว่าไม่รีบก็ไม่ใช่ แต่ฉันอยากพักเอาแรงก่อนที่จะเดินทางไกล
ข้ามรัฐ ที่มันจะต้องวิ่งรถผ่านพื้นที่ภูเขาสูงไปอีกหลายชั่วโมงกระทั่งข้ามวัน
แถมยังไม่รู้อีกว่าจะมีปัญหาเรื่องแพ้ความสูงกะเค้ามั้ย? ถึงที่ผ่านมาจะไม่เคย
เป็นแต่ก็ใช่ว่ามันจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นนี่นา ทำให้ตัวเลือกการเดินทางที่ดูดีที่สุด
สำหรับการไปเลห์ทางรถของฉันจึงต้องถูกขีดทิ้งไป
ว่าแต่ ไหน ๆ ก็มีเวลาพักอยู่ในมะนาลีเพียงแค่หนึ่งวันเต็ม เพื่อจัดการแลกเงิน
ซื้อข้าวของที่จำเป็นเพื่อพกติดไประหว่างทางแล้ว และใช้สัญญาณ wifi ส่ง
ข้อความสั่งเสียสั่งลากับทางบ้าน เพราะมันจะต้องหายไปนานถึงสองวันแน่ ๆ
(ก็อย่าเพิ่งรีบไปโทรแจ้งประกันฯ หรือแจ้งคนสูญหายนะ)
อีกอย่างหนึ่ง ก่อนที่
การเดินทางจะเริ่มต้นขึ้นในเช้าวันรุ่งขึ้น ฉันก็อยากเจอใครสักคนอีกครั้ง
ถ้าจะต้องย้อนความไปถึงเมื่อสี่ปีก่อน มันก็ไม่มีอะไรสำคัญมากมายเท่าไหร่
ฉันเจอป้าดาวเรืองที่ย่านมะนาลีเก่า ในขณะที่แกกำลังนั่งชมวิวบนพื้นหญ้า
ถัดไปไม่ไกลจากวัดมานู ชุดพื้นเมืองของป้าดึงดูดให้ฉันเดินเข้าไปหา และถัด
มาก็ได้ไปถ่ายรูปของป้า สามี และลูกสาว ถึงหน้าบ้านสีฟ้าที่มีดอกดาวเรืองมัด
เป็นช่อใหญ่ห้อยแขวนประดับอยู่
ฉันไม่รู้ว่าป้าชื่ออะไรด้วยซ้ำ เพราะสื่อสารกันแบบไม่รู้ความ รวมถึงการระบุที่อยู่
เพื่อที่จะส่งภาพให้ก็ไม่มี ทำให้หลังจากนั้นเราก็ไม่มีทางติดต่อกันได้อีก ก่อน
มาอินเดียหนนี้ ฉันเลยจัดการอัดรูปที่ถ่ายป้าเอาไว้หนึ่งใบและรูปครอบครัวที่นั่ง
กันสามคนหน้าบ้านอีกหนึ่งใบเพื่อเตรียมยื่นส่งให้เองกับมือ
ตรงที่พักของฉันในย่านมะนาลีเก่า จะมีทางเชื่อมโยงไปยังวัดมานูโดยไม่
จำเป็นจะต้องไปเดินผ่าน mall road ให้รถบีบแตรใส่
(นึกภาพออกมะ 55)
มันจะลัดเข้าพื้นที่อันแสนจะเงียบสงบ บางทีก็จะอาจเจอกับชาวบ้านที่สวมชุด
ท้องถิ่นเดินสวนผ่านมาพร้อมกับหญ้าฟ่อนใหญ่สำหรับเลี้ยงวัว หรือเศษไม้ที่จะ
นำเอามาเป็นฟืน มัดใส่ลงตระกร้าที่ห้อยสะพายไว้ที่หลัง ซึ่งมันเป็นอะไรที่ตรง
กันข้ามกับภาพของมะนาลีที่ตั้งบนเส้นถนน ที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายและ
คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว รวมถึงคนถิ่นอื่นที่เข้ามาทำธุรกิจท่องเที่ยวและ
การค้า
ฉันเดินคิดอะไรไปเรื่อยเปื่อย จนกระทั่งมาถึงบริเวณที่ใกล้กับบ้านของป้า...
ทุกอย่างดูรก ๆ เพราะมันมีสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม อย่างเช่น เกสเฮาส์
และร้านอาหาร เพื่อรองรับผู้มาเยือน แต่ยังไง ฉันก็ดีใจนะ ที่บ้านของป้ายังคง
ตั้งอยู่เหมือนเดิม แม้ว่าจะไม่ได้เจอกับมัดดาวเรืองดอกเหลืองช่อโตเหมือน
คราวก่อน
"นมัสเต!"
มีผู้หญิงคนหนึ่งกำลังกวาดพื้นหน้าบ้านอยู่ เดาว่าน่าจะเป็นพี่สาวของเด็กคนนั้น
เลยเดินขึ้นไปทัก ก็แหงล่ะ เธอมองฉันด้วยความงงเพราะยังไงก็นึกไม่ออก
หรอกว่า ไอ้นี่เป็นใครแล้วเดินมาหาเธอทำไมกัน?
"ฉันรู้ว่าเธอจำฉันไม่ได้ แต่เมื่อสี่ปีก่อนนี้ฉันเคยมาที่นี่"
เพื่อไม่ให้เกิด dead air จนเสียบรรยากาศ ระหว่างนั้นฉันเลยพูด ๆๆๆ แม้จะรู้ว่า
เธออาจไม่เข้าใจนัก แต่ก็พยายามค้นรูปจากในเป้ออกมาให้ทันก่อนที่จะโดนไล่
(หากเธอเข้าใจผิดว่าฉันจะควักปืนหรือมีดออกมาปล้น)
"ฉันอยากเอารูปมาให้"
หลังจากยื่นภาพทั้งสองให้ดู เธอก็เอามือทาบอกด้วยอาการตกใจ
ฉันหวังถึงนาทีถัดไปที่จะได้พบป้าดาวเรืองอีกครั้งเสียที ไม่รู้ว่ายังแอบไปนั่ง
อาบแดดชมวิวที่เนินหญ้าตรงที่เก่าเหมือนเดิมมั้ย ลูกสาวคนเล็กโตแค่ไหนแล้ว
แล้วลุงยังสบายดีอยู่หรือปล่าว ... ฉันยืนรอคำตอบนั้นอยู่ แม้ว่าเราจะยืนเงียบ
ไปครู่หนึ่ง
โมรี กำลังนั่งดูภาพถ่ายสองใบที่ฉันตั้งใจนำมาให้ป้าดาวเรือง
"นี่เป็นรูปของมาตาจี"
หญิงสาวคนนั้นชี้มาที่รูปเดี่ยวของป้าดาวเรือง
"มาตาจี (คุณแม่)
ศานติ...ศานติ"
เธอบอกประโยคนี้มา พร้อมกับทำมือไม้ประกอบบอกใบ้ให้รู้
แม้จะไม่ใช่คำที่ตรงตัวนัก Shanti ก็แปลคร่าว ๆ ได้ว่า สงบสุข หรือในที่นี้อาจ
สื่อว่า แกไปสบายแล้ว ฉันแอบใจหายพร้อมกับถามต่อทันทีว่าเมื่อไหร่?
"สี่ปี"
และถัดมาก็ชี้มาที่รูปของลุง
"ปิตาจี...เมื่อปีก่อน"
ฉันยืนอึ้งไปพักหนึ่งก่อนที่จะเผลอน้ำตาซึม ไม่ได้เตรียมใจที่จะมาเจอคำตอบ
แบบนี้สักนิด ถ้างั้น คุณป้าจากโลกนี้ไปหลังจากที่เราพบกันไม่กี่เดือนสินะ
โมรี
หญิงสาวที่ฉันได้เจอ ที่จริงแล้วมีฐานะเป็นลูกสะใภ้ เธอไม่ใช่ชาวมะนาลี
แต่มาไกลจากรัฐราชาสถาน ส่วนลูกสาวของป้าในภาพถ่ายนั้นชื่อ
โซเนีย
ฉันยัง
ไม่มีโอกาสได้เจอเพราะในเวลานั้นต้องไปโรงเรียน แต่ก็ได้พบกับลูกชายคนโต
ของป้าที่ชื่อ
ศุกราม
บริเวณเนินหญ้าที่อยู่ถัดไปจากบ้านป้าดาวเรือง ที่ ๆ ฉันเคยเจอกับป้าที่นี่ พบว่าในตอนนี้
ขนาดพื้นที่ว่างเปล่าที่เป็นสีเขียวอย่างในภาพ กำลังจะถูกกลืนหายไปกับสิ่งก่อสร้างใหม่ ๆ
ฉันขอตัวเดินออกไปด้านนอกหลังจากที่ใช้เวลาคุยและนั่งดื่มชาที่หน้าบ้านโมรี
มาพักใหญ่ เพื่อสำรวจพื้นที่เดิมที่คุ้นเคย...ซึ่งในอีกสิบปีข้างหน้ามันจะมีหน้าตา
เป็นยังไงก็ไม่รู้
หลังจากเดินย้อนกลับไปยังบ้านของโมรีเพื่อบอกลา ก็พบว่าเธอยังถือภาพถ่าย
สองใบนั้นมานั่งดูเหมือนกับว่าได้เห็นป้ากับลุงอีกครั้งยังไงงั้น พร้อมกับนั่งคุยถึง
ฉันและที่มาของภาพให้ป้าคนหนึ่งที่เป็นเพื่อนบ้าน ซึ่งกำลังทำการถักทอผ้าใน
แบบพื้นเมืองด้วยเครื่องมือที่แสนเรียบง่าย แต่มันคงดูน่าวุ่นวายสำหรับคนที่ไม่
เคยทำงานฝีมือจำพวกเย็บปักถักร้อยล่ะนะ
คุณป้าชาวมะนาลีผู้เพื่อนบ้านของโมรี กับเครื่องมือทอผ้าขนาดเล็ก
มาขอดูการถักทอแบบใกล้ ๆ สักหน่อย (ป้าบอกว่าทำไว้ใช้เองไม่ได้ขาย)
พอพูดถึงเรื่องงานทอผ้าแล้ว ก็นึกได้ว่าที่ย่านนี้ยังมีโรงทอเล็ก ๆ ตรงบริเวณที่
อยู่ถัดจากวัดมานูแห่งหนึ่ง มันซ่อนตัวอยู่ที่หลังต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งบังตาไว้ หาก
ไม่สังเกตก็อาจมองหาไม่เจอ ฉันเคยแวะมาดูแบบผ่าน ๆ เมื่อสี่ปีก่อน เลยได้
เห็นคนในโรงทอผ้าท้องถิ่นต่างดูขะมักเขม้นกันแบบจริงจังกันหมด และที่น่า
ประหลาดใจ คือคนทอผ้าที่นั่งประจำกี่แต่ละเครื่อง ก็ล้วนแต่เป็นผู้ชาย!
พวกเขาต่างทอผ้าคลุมไหล่ (Shawl) ที่มีลายปักเฉพาะถิ่นกันอย่างคล่องแคล่ว
นอกเหนือจากนี้ ยังมีจุดขายน้ำแอปเปิ้ลคั้นสดหนึ่งร้านที่ตั้งอยู่ด้านนอกอีกด้วย
เลยว่าจะแวะมาดูโรงทอผ้ากับอุดหนุนน้ำแอปเปิ้ลมาดื่มเสียหน่อย เพราะอยู่ใน
ช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตพอดี
เครื่องมือปั่นด้ายที่ดัดแปลงมาจากจักรยาน ตั้งโชว์อยู่ตรงด้านหน้าโรงทอผ้า
กระดานที่ใช้ขึ้นรูปแสดงตัวอย่างการทอผ้า (ซ้าย)
และวัตถุดิบเส้นด้ายที่นำมาใช้ทอ โดยมากก็ทำมาจากขนจามรี (ขวา)
กลุ่มด้าย สีต่าง ๆ ที่น่าจะนำมาใช้ปักลาย
ตัวอย่างงานทอผ้าขั้นพื้นฐานจาก Tevet ผู้ที่เพิ่งมาเรียนวันแรก
เนื้อผ้าที่ทอจากขนกระต่ายแองโกร่า (บ๊าง...บาง และแพงด้วย)
จำไม่ได้แล้วว่าเป็นผ้าประเภทไหน แต่มันมีความบางและนุ่มพอตัว
เรื่องความแพงหลัก ๆ ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของผ้าบวกกับความประณีตในการทอ
สุนีล
เป็นผู้ดูแลโรงทอและผู้สอนในเวลานั้น ได้เขียนที่อยู่ติดต่อสำหรับผู้ที่สนใจมาเรียน
แต่พอฉันถามถึงเรื่องร้านขายน้ำแอปเปิ้ลที่เคยตั้งอยู่ตรงข้าง ๆ โรงทอ เขาบอกว่า มันเป็น
ร้านที่สุนีลเคยทำกับเพื่อน ตอนนี้ก็เลิกกิจการไปแล้ว
(โห เสียดายธุรกิจท้องถิ่นแบบนี้อ่ะ!)
ที่โรงทอ
ฉันได้ยินเสียงการพูดคุยของคนสองคนระหว่างผู้ชายคนหนึ่งที่ทำ
หน้าที่สอน และผู้เรียนที่เป็นชาวอิสราเอลแค่หนึ่งราย แว่วดังมาจนถึงด้านนอก
เอ๊ะ...ไม่เห็นรู้มาก่อนว่ามีการสอนทอผ้าแบบนี้ด้วย เนื่องจากวันนั้นมีคนไม่มาก
ฉันเลยขออนุญาตถ่ายรูปด้านใน รวมถึงคุยกับ
เทเวท
ที่เพิ่งมาหัดเรียนทอผ้า
วันแรก
หะ...วันแรก?
คนอะไรมาเรียนวันแรกก็เริ่มขึ้นลายปักเลย
แต่ เทเวท บอกว่านี่เป็นลายพื้นฐานมันไม่ยากอย่างที่คิด
และอีกอย่างหนึ่งถ้าจะเรียนจริง ๆ ก็ควรมีเวลาอย่างน้อยสามวัน
"แล้วเธอจะอยู่มะนาลีกี่วัน"
เธอถามฉันกลับบ้าง
"แค่วันนี้แหละ พรุ่งนี้จะไป keylong แล้ว...สำหรับ เลห์"
ฉันตัดสินใจว่าจะไม่อยู่นานให้ยืดเยื้อ แม้จะต้องทนนั่งรถธรรมดา ๆ
จนหัวฟูไปถึงเลห์ก็เหอะ เพราะมะรืนนี้มันช้าเกินกว่าที่จะรอแล้ว
"อืม ไม่แน่ว่าเราอาจเจอกันที่นั่นนะ"
เทเวท มีแผนจะไปยังเลห์ทางรถโดยสารเหมือนกับฉัน ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ
เท่าไหร่นัก ที่ในฤดูกาลนี้จะมีคนเดินทางมายังมะนาลีเพื่อเป็นทางผ่านไปยัง
ลาดักกันแทบทั้งนั้น
"อื่น ๆ"
- ตารางการเดินรถและค่าโดยสาร ขอหยิบยกมาจากเอนทรี่แรกนะคะ :
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=wachii&month=14-09-2019&group=23&gblog=1
- เรื่องราวของป้าดาวเรืองและภาพถ่ายที่เขียนถึง
:
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wachii&month=03-2017&date=21&group=17&gblog=22
- ที่อยู่ติดต่อสำหรับการเรียนทอผ้าและสินค้า
Email : hadimbaweavers23@gmail.com
Facebook :
Great hadimba weavers welfare
Create Date : 08 ตุลาคม 2562
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2564 11:53:53 น.
11 comments
Counter : 1263 Pageviews.
Share
Tweet
ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณเริงฤดีนะ
,
คุณอุ้มสี
,
คุณhaiku
,
คุณKavanich96
,
คุณmultiple
,
คุณชีริว
,
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ
,
คุณทุเรียนกวน ป่วนรัก
อ่านบันทึกการท่องเที่ยวเดินทางของน้องฟ้า
แล้วนึกว่ากำลังอ่านนวนิยายท่องเที่ยว
ที่มีนางเอกแสนเก่งทะมัดทะแมง พาเราไปยังสถานที่เก๋ๆ แปลกตาแต่น่าสนใจทุกคราวไปค่ะ
แถมอ่านง่ายเข้าใจในเนื้อหาที่สื่อสารได้ดี
จึงขอแสดงความเสียใจกับการสูญเสีย" มาตาจี" ด้วยค่ะ
OMG!! ผ้าสีขาวนวลที่ทอจากขนกระต่าย
มันคงจะนวลนุ่มมือมากๆนะคะ
โดย:
เริงฤดีนะ
วันที่: 9 ตุลาคม 2562 เวลา:13:03:55 น.
อึ้งเลยเนาะน้องฟ้า
ตั้งใจนำภาพไปฝากป้า
แต่คุณป้าจากโลกนี้ไปล่ะ
เสียดาย
โดย:
อุ้มสี
วันที่: 9 ตุลาคม 2562 เวลา:15:34:31 น.
ไม่อยากเลียนแบบคุณอ้อเลย... คุณฟ้าไปเที่ยวแบบนั้นจริง ๆ
เจอชีวิตคน การจากไปของคน...เขียนเล่าแบบนี้อีกนะครับ
โดย:
ไวน์กับสายน้ำ
วันที่: 9 ตุลาคม 2562 เวลา:17:54:44 น.
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย:
Kavanich96
วันที่: 11 ตุลาคม 2562 เวลา:3:28:15 น.
ไม่รู้ว่าเลย์ นี่คือ Leh Ladakh ที่เค้าเรียกกันว่า ทิเบต น้อย หรือเปล่า ถ้าใช่จะรอชมภาพน้า
ส่วนเรื่อง รูปภาพที่เอาไปฝากนี่ น้อยคนที่จะได้กลับไปสถานที่เดิม เจอคนเดิม แต่อย่างน้อย เราก็ได้พยายามแล้ว
ผลลัพธ์เป็นอีกเรื่องนึงเนอะ
แล้วก็ โรงงานทอผ้า โอทอปนี่ อุปกรณ์จาก อะไหล่ จักรยาน อเมซิ่ง จิงเกอเบลล์มาก สังสัยอยู่อย่าง ว่า แขนที่เห็นในภาพ สวยมาก หวังว่าไม่ใช่แขนของ พี่หนวดในรูปนะจ๊ะ 555
โดย:
multiple
วันที่: 11 ตุลาคม 2562 เวลา:8:12:55 น.
ไปเที่ยวต่างแดนในโซนที่นักท่องเที่ยวไม่ค่อยไปกันคนเดียวก็น่าห่วงแล้ว นี่ไปโซนไม่มี wifi ต้องขาดการติดต่อไปอีกหลายวันอีก
มาไกลขนาดนี้ก็กลับมาหาบ้านป้าดาวเรืองถูกอะนะ ช่างมีความสามารถในการจดจำสถานที่และผู้คน
เป็นผมนี่เดินทางครั้งไหนขาด GPS เหมือนขาดใจ แค่ออกจากที่พักเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาก็ผิดแล้ว
น่าเสียดายที่ได้เจอป้าดาวเรืองนะครับ แต่อย่างน้อยก็ได้มอบรูปถ่ายความทรงจำต่อให้ลูกสะใภ้
เครื่องปั่นด้าย.... อืม มันเคยเป็นจักรยานจริงๆด้วย ผ้าขนกระต่ายเพิ่งจะเคยเห็นเนี่ย
โดย:
ชีริว
วันที่: 12 ตุลาคม 2562 เวลา:14:53:48 น.
@เริงฤดีนะ -- กำลังคิดว่าจะได้กลับไปเจอค่ะพี่อ้อ
พอไปถึงบ้านแล้วก็ตั้งตัวไม่ทันเลยตอนที่รู้คำตอบ
@อุ้มสี -- ช็อคมากค่ะพี่อุ้ม
@ไวน์กับสายน้ำ -- โอย ไม่ได้ลึกซึ้งกับการเดินทางถึงขั้นนั้นค่ะ
@Kavanich96 -- ขอบคุณค่าา
@Multiple -- แม่นแล้วค่า อ.เต๊ะ เป็น "เลย์" รสมาซาล่า เย้ยยย...
Leh Ladakh ที่ว่าแหละ แต่ว่าอาจไม่มี landscape ให้ดูนะฮะ
ปอลิง
แขนสวย ๆ นั่นเป็นของน้องเทเวท สาวอิสราเอลค่ะ เห็นว่า
อายุ 22 ปี...งั้นก็น่าจะผ่านการเกณฑ์ทหารไปแล้วแหละ อิอิ
@ชีริว -- ขาด GPS เหมือนขาดใจ !!!???
อย่าพูดเรื่องเทคโนโลยีแถวนี้สิ นี่ยังเปิดแผนที่แผ่นพับอยู่เลยนะ
(โอ๊ะ...เผลอเขียน "สะใภ้" ผิดได้ไงเนี่ย เดี๋ยวต้องกลับไป ม้วน
สระไอให้ขดกลมอีกรอบ)
โดย:
กาบริเอล
วันที่: 15 ตุลาคม 2562 เวลา:10:06:36 น.
ตอนนี้ซึ้งจัง T^T
ดูรูปกระดานโรงทอผ้า ท่าทางเขาดูเอาจริงเอาจังดีเนอะ
ตอนแรกนึกไม่ออกว่า Yak มันคือตัวอะไร อ๋อ มันคือจามรีนี่เอง
เกิดมาไม่เคยเห็นจามรีตัวเป็น ๆ เลยอะ (กรุงเทพมันจะไปมีได้ยังไง)
ไม่รู้ว่ามันดูน่าเกรงขามเหมือนในรูปมั้ย ^^
โดย:
ทุเรียนกวน ป่วนรัก
วันที่: 24 ตุลาคม 2562 เวลา:21:42:25 น.
^
^
กลับไปอ่านเอนทรีย์เก่าที่มาของเอนทรีย์นี้
คนที่ตั้งชื่อ "ป้าดาวเรือง"ว่า "ป้าดาวเรือง" คือคนข้างคนนี้นี่เอง ^^"
โดย:
ทุเรียนกวน ป่วนรัก
วันที่: 24 ตุลาคม 2562 เวลา:21:51:30 น.
"คนข้างบน" (เขียนผิด ^^")
โดย:
ทุเรียนกวน ป่วนรัก
วันที่: 24 ตุลาคม 2562 เวลา:21:58:24 น.
^
โทษ ๆ ลืมอ้างอิงที่มาของชื่อ
โดย:
กาบริเอล
วันที่: 30 ตุลาคม 2562 เวลา:1:07:00 น.
ชื่อ :
Comment :
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
BlogGang Popular Award#20
กาบริเอล
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [
?
]
ชอบต้นไม้, แมว, หนังสือ
ออกเดินทางท่องเที่ยวตามโอกาส
และเคยมีลูกค้างคาวในอุปการะหนึ่งตัว
การเขียนบล็อก
คืออีกพื้นที่บอกเล่าผ่านตัวอักษร
และตัวตนของเราก็อยู่ในสิ่งที่เขียนค่ะ
ขอบคุณ Bloggang
สำหรับพื้นที่แบ่งปันตรงนี้
....
เริ่มต้นลงบันทึกอย่างเป็นทางการ
ณ วันที่ 16 ม.ค. 2014
###ไม่ได้ใช้ Facebook แล้วนะคะ###
© ขอสงวนลิขสิทธิ์ ภาพถ่าย
ห้ามนำไปใช้ ดัดแปลง แก้ไข
โดยไม่แจ้งที่มา ก่อนได้รับอนุญาต
New Comments
Friends' blogs
Webmaster - BlogGang
[Add กาบริเอล's blog to your web]
Links
BlogGang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.
แล้วนึกว่ากำลังอ่านนวนิยายท่องเที่ยว
ที่มีนางเอกแสนเก่งทะมัดทะแมง พาเราไปยังสถานที่เก๋ๆ แปลกตาแต่น่าสนใจทุกคราวไปค่ะ
แถมอ่านง่ายเข้าใจในเนื้อหาที่สื่อสารได้ดี
จึงขอแสดงความเสียใจกับการสูญเสีย" มาตาจี" ด้วยค่ะ
OMG!! ผ้าสีขาวนวลที่ทอจากขนกระต่าย
มันคงจะนวลนุ่มมือมากๆนะคะ