Ladakh 2019 - เดินทางไกลไป Hanu และ PAP เจ้าปัญหา (อีกแล้ว)
หากเทียบตารางการเดินรถ จากที่เอามาลงเป็นแนวทางไว้ในเอนทรี่เก่า ๆ เที่ยวรถไป Dha – Baima (อ่านว่า บีม่า) จะมาในรอบ 9 โมงเช้า ของทุกวัน แต่หากเป็นเที่ยวรถไป Hanu จะมีเพียงแต่รอบเดียวต่อสัปดาห์ คือทุกวันศุกร์ ในเวลา 9 โมงเช้าเท่านั้น ฉันเลือกเดินทางในวันศุกร์เพราะดูมีตัวเลือกที่มาก กว่าหนึ่ง แล้วก็ยังแอบคาดหวังว่าจะเจอกับกลุ่มนักท่องเที่ยวสักสองสามคนที่ พลัดหลงเข้ามาบนเส้นทางนี้ Permit (PAP) เข้าพื้นที่พิเศษ ที่เพิ่งได้รับมาจากตัวแทนฯ รายใหม่เมื่อวานนี้ ถูกย้ำนักน้ำหนา ว่าต้องระบุเขต Dha, Hanu ให้ได้นั้น ก็มีอยู่ในมือเรียบร้อย โดยหนนี้ได้มีรายนามนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้สองรายเข้ามาอยู่รวมในจำนวน ผู้ร่วมทาง (แบบหลอก ๆ) บนหน้ากระดาษ เช้าวันนี้ที่ฝั่งคิวรถของเอกชน ก็มีรถโดยสารคันใหญ่จอดเรียงรายกันตามปกติ รถประจำทางเหล่านี้ มักไม่มีป้ายติดบอกไว้หากไม่ใช่จังหวะใกล้ออกแบบที่มี เสียงกระเป๋ารถเมล์มายืนตะโกนเรียกลูกค้าก็เดายาก – แต่ในขณะนั้นอาจช้า เกินกว่าจะได้ที่นั่งดี ๆ แล้วล่ะ...
ฉันเดินไล่ถามรถแทบทุกคันที่ติดเครื่องจอดเรียงกันอยู่ บางคันก็มีชาวบ้านขึ้น ไปนั่งรอกันแล้ว บางคันก็ว่าง และที่แน่ ๆ ตัวคนขับรถหายไปไหนกันหมดก็ไม่รู้ มีกระเป๋ารถเมล์คนหนึ่งเดินอยู่ที่ลานจอด เลยเข้าไปถามเขาถึงเที่ยวรถไป Hanu ลุงแกก็เหมือนจะไม่รู้เหมือนกันเลยพามาที่ จุดรายงานตัวของบรรดา- รถโดยสารฯ ที่มีเหล่าคนเดินรถประจำทางมายืนออกันรอบโต๊ะเพื่อแจ้งชื่อและ ป้ายทะเบียนต่อคนดูแล (ขอเรียกว่า'หัวหน้าวิน'ละกัน) ท่ามกลางความชุลมุน ในห้องจัดคิวเดินรถ ลุงกระเป๋ารถฯ คนนั้น ตะโกนบอกหัวหน้าวินช่วยเช็คข้อมูล ให้เจ้านี่มันหน่อย
“จะไปที่ไหน” หัวหน้าวิน ชะโงกหน้ามาถาม
“ฮนู” ฉันตะโกนกลับ เพราะยืนไกลเป็นเมตร
เขาเปิดคู่มือประจำกาย เป็นสมุดเล่มยาวซึ่งกำลังใช้จดหมายเลขทะเบียนรถ โดยไล่นิ้วตรวจหาทะเบียนรถที่กำลังจะวิ่งมาจอดให้
“ไปรอขึ้นที่จุดจอดริมซ้ายสุดทะเบียน xxxx นะ” พอหมดธุระแล้ว ก็หันไปวุ่นวายกับการรายงานตัวของบรรดาคิวรถในรอบเช้าต่อ รถที่จะวิ่งไปยัง Dha – Baima มีผู้โดยสารทั่ว ๆ ไป คละปนกัน หลายคนก็ดู เป็นคนพื้นที่ทั่วไป มีชาวอินเดียสองรายที่นั่งเบาะหลังคนขับ ทั้งคู่ตัดผมได้ เนี้ยบ แต่งตัวเรียบร้อยด้วยเสื้อเชิ้ตที่รีดเรียบกริบ พร้อมกับสัมภาระใบใหญ่ที่ วางข้างตัว – มาทรงนี้ก็เดาได้ว่ากำลังเดินทางกลับเข้ากรมฯ
นอกเหนือจากนั้นก็คงนั่งรถไปลงกลางทางนอกเลห์กันเสียมากกว่า (จะมีสักกี่ คนที่เดินทางไปจนสุดสาย) เว้นเสียแต่ก็ผู้หญิงร่างท้วมรายหนึ่งที่เดินขึ้นไป บนรถคันดังกล่าว แกไว้ผมยาวเฟื้อยและรวบเก็บโดยการถักเปียเป็นปอยเล็ก ๆ หลายเส้นพร้อมกับสวมเครื่องประดับศีรษะที่ดูแปลกไปจากคนแถวนี้ หน้าตาคม เข้มและจมูกที่โด่งเป็นสันชัดเจน
ป้าเป็นคนขายผลไม้ที่บริเวณทางเท้าของ Main Bazaar แน่นอนว่า เป็นคนที่ มีหน้าตาโดดเด่นคนหนึ่งทีเดียว จากการแต่งตัวที่รักษาเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ ตัวเองตลอดเวลาแบบนี้ ก็ยิ่งทำให้ฉันจำได้แม่นเลย
ในวันนี้ แกอาจเดินทางไกลไปรับผลไม้จากนอกเมืองเพื่อนำกลับมาขาย ไม่ก็กลับไปที่หมู่บ้านตัวเอง น่าเสียดายที่ป้าเดินทางไปกับรถคันแรกที่จะวิ่งไป Dha-Baima ทำให้อดรู้เลยว่า แกเป็นชาวอารยันที่มาจากหมู่บ้านไหนกัน…
ก่อนรถบัสนั้นจะตีออกจากท่ารถฯ ก็มีอีกคันหนึ่งเพิ่งวิ่งมาจอดข้าง ๆ ซึ่งเป็นรถ สำหรับวิ่งไป Hanu นั่นเอง…มาเลทกว่ากำหนดในตารางมากทีเดียว ประมาณ เก้าโมงเช้า นั่นก็หมายความว่ากว่ารถจะเคลื่อนออกก็คงใช้เวลานานเกือบครึ่ง ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ฉันจองที่นั่งริมหน้าต่างไว้ แม้ว่าวิวจากการเดินทางหนนี้ จะไปซ้ำกับเส้นทางเดียวกันกับ Lamayuru แต่ฉันก็ยังอยากเห็นภาพของสังคัม อีกรอบ
มีสาวต่างชาติผมสีบลอนด์รายหนึ่งเดินดุ่มขึ้นมาบนรถ ที่นั่งของฉันอยู่ตำแหน่ง เบาะทีสองรองจากที่นั่งหน้าประตูทางขึ้น เลยถือโอกาสยื่นหน้าไปถามว่าจะไป ลงที่ฮนูหรือปล่าว เธอยิ้มและพยักหน้าตอบรับ “จะไปเหมือนกันใช่ป่ะ” …. ใจชื้นขึ้นมานิดนึง มีคนลงที่เดียวกันละ
แต่ถัดมาก็มีชายชาวอินเดียหนึ่งรายเดินขึ้นรถไล่หลังมา เขามากับสาวต่างชาติ คนนั้น....ดูแล้วไม่น่าจะเคยไปเที่ยวที่หมู่บ้านดังกล่าวมาก่อนแน่ ๆ ฉันได้ยินเขา ยืนถามชายที่นั่งเบาะหน้าตรงริมประตูทางขึ้นถึงการเดินทางและที่พัก กว่ารถจะเริ่มออกจากท่ารถฯ ก็ใช้เวลานานพอสมควรราวหนึ่งชั่วโมง เพราะรอ คนมาฝากสัมภาระ เป็นลัง กระสอบ อะไรนักหนาก็ไม่รู้ ขึ้นไปมัดไว้บนหลังคา ไม่ก็เอามาจัดวางบนรถ คงเป็นการฝากส่งของไปยังนอกเมือง เอาน่ะ รถเที่ยวนี้ เขามีวิ่งแค่สัปดาห์ละหน
นอกเหนือจากนี้ยังมีคนต่างชาติอีกสามรายที่มาด้วยกันเป็นผู้ชายสองและหญิง อีกหนึ่งที่แบกเป้ใบใหญ่โตเหมือนเตรียมตัวจะไปเข้าป่าสักสองอาทิตย์ พวกเขา มีปลายทางไปยังที่ไหนก็ไม่รู้ ฉันได้แต่ภาวนาขอให้ไปลงฮนู (นับจำนวนต่าง ชาติบนรถคันนี้ก็ 5 คน) แล้วเวลาเดินทางก็มาถึงตอน 10 โมงตรง...นี่ก็นั่งรอซะ จนหายตื่นเต้นไปละ
“ฮัลโล่” ลุงกระเป๋ารถฯ ส่งสัญญาณเสียงเรียกฉัน พร้อมทำท่าเชิดหน้าขึ้นเล็กน้อยเพื่อรอคำตอบว่าจะไปลงที่ไหน “ฮนู” ฉันรู้แค่ว่าหมู่บ้านที่จะไปคือ ฮนู
“ฮนู ไหน?”
อ้าว … มันมีกี่ฮนูล่ะเนี่ย “Hanu thang, Hanu Yokma, Hanu Gongma” ลุงแจกแจงตัวเลือกมาให้สามหมู่บ้าน
เอ๊อะ …. ดีนะที่ไม่มี Hanu man แถมอีก
เอาหล่ะ มันคงเป็นเรื่องจนปัญญาเกินกว่าจะทราบได้ ทีแรกลุงออกตั๋วสำหรับ Hanu Yokma ให้มันมีราคา 230 รูปี แต่ฉันเปลี่ยนใจขอไปลงปลายทางที่ชื่อ Hanu Gongma แบบว่าจะตระเวนเที่ยวไล่ลงมาเรื่อย ๆ หลังจากนี้ เลยต้อง อัพเพิ่มราคาอีก 47 รูปี หากคะเนจากค่าตั๋ว ก็เท่ากับว่าระยะทางระหว่างสอง หมู่บ้านนี้ก็ไกลเอาเรื่องพอสมควร เนื่องจากเราได้เดินทางกันในช่วงสาย ประมาณเที่ยงกว่า ๆ จึงมีการหยุดรถเพื่อ พักกินอาหารที่ร้านริมทางแห่งหนึ่งแถว ๆ เขต Nimoo ถ้าใครไม่อยากรออะไร นานหรือมีพิธีรีตองในการกินมาก ก็แนะนำให้สั่ง โมโม่ (Momo) จะได้ไวสุด…
หนึ่งในกลุ่มแบกเป้ที่มากันสามราย พวกเขาพากันลงที่ Nimoo หลังจากกลุ่มแบกเป้สามรายนั้นลงจากรถไปแล้ว ก็ไม่มีชาวต่างชาติรายอื่นมา ขึ้นรถกลางทางเพิ่มเติมอีก คงเหลือแค่สาวผมบลอนด์รายนั้นและฉันเท่านั้น แต่ว่าจะหาทางเข้าไปคุยกับเธอเกี่ยวกับเรื่องด่านตำรวจที่ Khaltsi ยังไงดีหนอ ดูเหมือนว่าชาวอินเดียที่มาด้วยกันจะเกาะติดแจ ...แบบว่า ณ ห้วงเวลานี้พวกข้า จะคุยกันแค่สองคน ตามกฏของเจ้า PAP ตัวนี้เนี่ย ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปแบบ อิสระเสรีตามลำพังได้ ซึ่งถ้าจะไปขอเตี๊ยมกับสาวต่างชาติ หรืออาจต้องพ่วง นายคนนั้นไปด้วยก็ตาม ว่าพวกเราเดินทางมาด้วยกันก็อาจจะช่วยให้สะดวกขึ้น
ช่วงเวลาประมาณบ่ายแก่ เมื่อมาถึงด่านตำรวจตรง Khaltsi ที่เก่าเวลาใหม่… เป็นที่เดียวกับที่เคยลงจากรถมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่เมื่อหนก่อน แต่รอบนี้ ต้องมีเอกสารประกอบด้วย เราสามคนเดินลงจากรถพร้อมกันโดยมีกระเป๋ารถฯ เป็นคนนำไป ส่วนคนขับรถก็นั่งหลังพวงมาลัยที่ยังคงติดเครื่องยนต์รอ ฮึ่ม ๆๆๆ มีชาวบ้านบนรถเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งก็มีแค่ไม่กี่สิบรายกันแล้ว ฉันแอบเห็นใบอนุญาตของชาวอินเดียที่ถือเตรียมไว้ นั่นก็ทำให้รู้ว่าสำหรับพื้นที่ พิเศษ ไม่เพียงแค่ชาวต่างชาติเท่านั้นที่ต้องทำ – แต่ดูเหมือนจะเป็นคนละ ประเภทกัน ด่าน Khaltsi มีตำรวจทำหน้าที่หน้างานสองคน ส่วนภายในอาคารไม่แน่ใจว่า มีคนนั่งประจำการเพิ่มอีกมั้ย ฉันยื่นพาสปอร์ตและอนุญาตฯ ต่อเจ้าหน้าที่พร้อม กับสาวคนนั้น อืม … มาจากบราซิลนี่เอง และไม่นานเราก็พบกับปัญหา คราวนี้ มันคือปัญหาโคตรใหญ่สำหรับเราสุด ๆ “ทำไมมาคนเดียวแล้วเพื่อนที่อยู่ในรายชื่ออีกสองรายหายไปไหน?” ฉันถูกซักถาม
เอิ่ม … จะให้บอกว่า ทางตัวแทนบริษัทนำเที่ยว จัดทำให้โดยรวมรายชื่อผู้เดิน ทางคนอื่นมาใส่เสริมแบบปลอม ๆ เพื่อออกใบอนุญาตนี้ มันก็คงไม่เข้าท่า
“เมื่อเช้านี้ฉันนัดพวกเขามาที่ท่ารถ...แต่ไม่เจอกันค่ะ คงไปที่อื่นกันแล้ว” โอ๊ย...พอก่อนอย่าถามเยอะ เดี๋ยวรู้ว่าพูดไม่จริง!
ระหว่างนั้น เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่คืนหลักฐานที่ยื่นไปพร้อมกับชี้ที่บรรทัดล่าง ๆ ซึ่งมีคำเตือนบอกกำกับไว้ตรงข้อหนึ่งช่วงท้าย
“….no individual foreign tourist may be permitted to enter the restricted area...มันก็มีระบุบอกนะว่าห้าม” “งั้นพวกเราก็เข้าไปพร้อม ๆ กันเป็นกลุ่มก็ได้นี่”
ฉันชี้ไปที่สาวบราซิลและชาวอินเดีย อันความซวยนั้น ก็ยังดำเนินต่อไป PAP ของสาวบราซิลและชาวอินเดีย มีเกิดผิดพลาดในเรื่องบางอย่างเข้าให้ ทายถูกมั้ยล่ะว่าเป็นเรื่องอะไรกัน “ไหนตราประทับสำหรับ Dha, Hanu ครับ” เจ้าหน้าที่พลิกหน้าโน้นนี้ เพื่อค้นดูเส้นทางที่ตามที่ระบุไว้ตรงตาราง tour circuit
“ก็ทางตัวแทนฯ ที่เดินเรื่อง...บอกเราว่าใช้ใบนี้ได้หมดทุกพื้นที่”
ว้ายยย.... เหตุการณ์คุ้น ๆ
สาวบราซิลเจอปัญหาเดียวกับที่ฉันโดนไปหนแรกเป๊ะ และฉันก็คิดว่า ชาวอินเดียคนนี้ ก็ได้ทำเรื่องมาจากตัวแทนฯ เดียวกันกับเธอแน่ ๆ เจ้าหน้าที่จึงยกใบอนุญาตฯ ของฉันขึ้นมาโชว์
“ดูนี่นะ พวกคุณไม่มีตราประทับแบบนี้”
สรุปคือหากจะเข้าพื้นที่ไหน ก็ต้องมีระบุบอกอย่างชัดเจนตามนั้น... ตัวแทนบริษัทนำเที่ยวฯ หลายแห่งมักจะพูดเหมารวมไปว่า ทำใบเดียวเข้า ได้ทุกที่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผิด! เนื่องจากเวลาที่พวกเขากรอก ข้อมูลลงแบบฟอร์มนี้ จะไม่ได้มีเพียงแค่ ชื่อ หมายเลขหนังสือเดินทาง และ วีซ่า แต่จำเป็นจะต้องใส่เส้นทางที่จะไปลงในตาราง tour circuit ด้วย
ในกรณีที่อยากเดินทางด้วยเองแบบนี้ (ไม่ได้เหมารถนำเที่ยว) เอเจนซี่บางราย ก็ชอบเดาสุ่มความน่าจะเป็นเองว่านักท่องเที่ยวจะไปที่ไหน หากมาเที่ยวลาดัก ก็คงไม่แคล้วที่จะเลือกรูทยอดนิยมให้ก่อน – Dha, Hanu มันไม่ค่อยป๊อบ จึงมักไม่ค่อยได้ถูกเลือกสักเท่าไหร่ – ส่วนนักท่องเที่ยวที่ไม่รู้ อิโหน่อิเหน่ ก็อาจเข้าใจผิดคิดไปว่าใบอนุญาตฯ ตัวเดียวสามารถเที่ยวได้ทุกที่ เช่นกัน
ชายอินเดียเริ่มหน้าเสียเขาหยิบเอามือถือมากดโทรถึงตัวแทนบริษัทนำเที่ยว แล้วพูดใส่อารมณ์ถึงเรื่องเอกสาร ว่าทำไมถึงไม่ลงเขตพื้นที่นี้ให้ด้วยบลา ๆๆๆๆ มันเป็นเหตุการณ์ที่ยืดเยื้อนานมาก ๆ ส่วนชาวบ้านที่รออยู่บนรถคงได้นั่งดูเรื่อง ราวแบบนี้กันจนบ่อยแล้วมั้ง
สักพักหนึ่ง พระที่นั่งบนรถฯ ก็ออกมาดูสถานการณ์ที่เวิ่นเว้อกันมาครู่ใหญ่ โดยเดินขึ้นมาที่จุดตรวจ…หลวงพ่อน่าจะสงสัยว่าคุยอะไรกันนักรอนานละนะ เจ้าหน้าที่คงรู้จักกับพระ พวกเขาหันไปยกมือไหว้แล้วพูดถึงปัญหาที่เกิด
เอ...แล้วเรื่องของฉันล่ะ?
ใบอนุญาตฯ มีตราประทับครบก็จริง แต่ดันติดที่ไม่มีเพื่อนมาด้วยกันจะทำไงดี “ยู ต้องกลับเลห์” ตำรวจหันมาบอกฉัน ว่าไม่สามารถให้เข้าไปได้ เฮ้ย...ช็อค ตายตรงนี้เลยได้มั้ย ถ้าจะต้องตีรถกลับเลห์อ่ะ “พวกคุณต้องนั่งรถกลับ” เขาบอกผลการพิจารณาครั้งนี้ “เรามาถึงครึ่งทางแล้วนะ อยู่ ๆ จะให้กลับงี้ได้ไง” ชาวอินเดียพยายามขอต่อรอง จากนั้นพวกเขาก็ถูกเชิญไปคุยที่อาคาร เหลือฉันกับลุงกระเป๋ารถฯ ที่ยังต้องรอข้อสรุป … พวกเขายังคงเจรจากับใคร ในนั้นก็ไม่รู้ ไม่นานนัก ตำรวจเดินมาเปิดสมุดเพื่อคัดชื่อของฉันลงในไปเล่ม
“ยู ช่วยสัญญาได้มั้ยว่าจะออกมาจากพื้นที่พรุ่งนี้เช้ากับรถคันนี้” โห นาทีนี้ยังไงก็ได้แล้วจ้า … ฉันตกลง ต่อจากนั้นก็ได้เดินกลับไปนั่งรอบนรถ และแอบรอลุ้นแทนคู่นั้นอย่างใจจดจ่อ
พวกเขาเดินกลับมาที่รถ ฉันโผล่หน้าไปถามตามเคย “เป็นไงบ้าง?” สาวบราซิล ดูไม่สดใสเหมือนหนแรกเสียแล้ว “พวกเราต้องอยู่ที่นี่” เธอและ ชาวอินเดีย วกกลับมาเพื่อเก็บกระเป๋า...ทั้งคู่ไม่ได้ไปต่อ แล้วรถประจำทางก็ได้ วิ่งออกตัวไปจากด่านตรวจของ Khaltsi เสียที
....
สู่เขตแดนของหมู่บ้านชาวอารยัน
ในช่วงครึ่งแรก ฉันแทบไม่ได้หยิบกล้องออกมาถ่ายรูปเก็บสักเท่าไหร่ เพราะวิว มันจะซ้ำ ๆ กับตอนเดินทางไป Lamayuru แต่พอหลุดจากการตรวจตราที่ชวน เครียดแล้ว รถจะวิ่งตรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ขนานข้างไปกับแม่น้ำสินธุ มันเป็นภาพ เส้นถนนที่วิ่งผ่านหุบเขาไปไกลออกไปจากตัวเมือง Khaltsi เรื่อย ๆ เหมือนกับ ว่าจะแล่นพาไปในพื้นที่ลึกลับที่ไหนสักแห่ง ฉันมองวิวข้างทางและคิดอะไรไป ไกลว่าถ้าหากครั้งนี้มีคนร่วมทางมาด้วยนะ มันก็คงทำให้ ฉันสามารถตระเวนดู ภูมิประเทศแถบนี้มากกว่าหนึ่งคืนแน่ ๆ
หุบเขาที่ดูแห้งแล้งและแม่น้ำสินธุ บนเส้นทางที่เข้าลึกไปไกล
นาน ๆ ทีถึงจะเจอสิ่งก่อสร้างที่เป็นบ้านเรือนหรือตัววัด
พอหมดวาระเรื่องด่านตรวจก็ใช่ว่ารถจะวิ่งฉิว บางครั้งก็ต้องจอดยาวเพื่อทำการ จัดส่งสินค้าให้คนที่มารอรับปลายทาง อย่างเช่นตรงสะพานที่มีคนงานยืนกันอยู่ ฟากตรงข้าม รถของเราได้แต่จอดบนเนินแล้วลุงกระเป๋ารถฯ ก็หยิบชิ้นอะไหล่ เครื่องยนต์มายืนเรียกโบกไม้โบกมือ ตะโกนเรียกจนแทบหมดเสียง
สะพานและถนนที่เชื่อมต่อไปที่ไหนสักแห่ง
หมู่บ้านแรกที่รถวิ่งผ่านหลังจากนี้หากเทียบจากแผนที่ก็คือ Domkhar จำได้ว่าพระลงจากรถที่ Skurbuchan จึงพาปะติดปะต่อได้บ้างว่าภาพถ่าย เหล่านี้จะอยู่ช่วงตำแหน่งไหน เพราะยากมากที่จะยกกล้องตลอดทาง บางจุด ก็ถือเป็นเขตหวงห้าม ทำให้ลุงกระเป๋ารถฯ ต้องคอยเตือนอยู่บ่อย ๆ
ความยาวไกลของเส้นทาง ที่ขนาบกับแม่น้ำที่เคยได้ยินชื่อมาตั้งแต่สมัยเรียน ภูมิประเทศที่ดูประหลาด เหมือนจะแห้งแล้งแต่ก็มีการสร้างชุมชนและมีการ ดำรงอยู่ พืชในนาที่ปลูกไว้ออกดอกสีขาวคือต้นอะไรก็ไม่รู้ ที่นี่มี แอปริคอต ปลูกกันอย่างดาษดื่น ช่วงนี้คงเป็นฤดูเก็บผลผลิต พวกเขานำเอามันมาตากแดด ตามเนินหินบ้าง ไม่ก็บนผืนผ้ากระสอบ ผลของมันมีขนาดเล็กและมีชื่อเรียกใน ภาษาถิ่นว่า Chuli (ชูลี่)
พระที่โดยสารมาบนรถ ส่วนเด็กเบาะหน้าเดินทางมากับแม่
อาจเป็น Domkhar ไม่ก็ Skurbuchan
พืชที่ปลูกบนผืนนา
จุดลงรถที่ Skurbuchan
เรามักพบคนสูงอายุถือกงล้ออธิษฐานและลูกประคำเพื่อใช้ภาวนาอยู่ตลอดเวลา
ที่ตั้งของโรงเรียน และรถโดยสารขนาดเล็กที่วิ่งไปมาระหว่างพื้นที่
แนวกำแพงหินและเจดีย์ขาว
"ฮัลโล่"
ฉันถูกเรียกให้ลงจากรถอีกครั้งเมื่อมาถึง Hanu thang ที่ตรงนี้มีค่ายทหารที่ เขียนชื่อไว้ว่า Aryan Valley Camp เป็นอีกจุดที่ต้องลงไปรายงานตัวกับทหาร โดยกระเป๋ารถฯ ต้องทำหน้าที่พาไป ด้านในซุ้มนั้นมีนักท่องเที่ยวรายหนึ่งเป็น ชาวอินเดียที่ขับรถมอเตอร์ไซด์ตระเวนเที่ยวตามภูมิภาคนี้ ยืนรอตรวจเอกสาร กับทหารผู้ทำหน้าที่อยู่เพียงนายเดียว
เมื่อถึงตาฉันบ้าง เขาตรวจสอบ PAP ที่ตอนนี้มีผู้เดินทางแค่คนเดียวจากสาม รายชื่อ เขาถามว่าฉันจะไปไหน อยู่นานเท่าไหร่ พอทราบว่าจะอยู่แค่หนึ่งคืน ตามคำขอของตำรวจที่ Khaltsi ทหารก็ยกโทรศัพท์ต่อสายเช็คข้อมูลอีกรอบ ก่อนที่จะปล่อยให้กลับไปขึ้นรถ....
แต่ทั้งนี้รถของเราก็ยังออกไม่ได้อยู่ดี พี่ผู้ชายที่นั่งเบาะหน้ากำลังทำการขนข้าว ของต่าง ๆ ที่นำมาจากเลห์มาไว้ที่ค่ายทหารนี้ ขนถ่ายลงจากรถเยอะแยะไป หมดและยังต้องเคลียร์ค่าระวางกับทางรถโดยสารก่อน
หลังผ่านจุดตรวจ จุดรับส่งสินค้า ที่ทำให้รถต้องหยุดจอดกันแทบตลอด พวกเขาก็เริ่มหวาน เย็นกันต่อ เช่นมีรถขนมะเขือเทศผ่านมา คนขับก็จอดอีก เพื่อให้กระเป๋ารถเมล์ไปยืนเลือก ก็ได้มาจำนวนหนึ่ง (พวกเขาบอกว่าจะเอาไว้กินเป็นมื้อค่ำ)
เหมือนจะสร้างทางกั้นน้ำหรืออะไรสักอย่าง
พี่มอเตอร์ไซค์คันนี้นี่เอง ที่เข้าไปรายงานตัวตรงเขตทหารพร้อมกับฉัน
มาถึงหมู่บ้านที่ชื่อว่า Hanu Yokma ที่ ๆ เคยจัดงาน Aryan Festival ที่ผ่านมา ยังมีคนสูงอายุที่ยังคงสวมเครื่องประดับบนศีรษะแบบชาว Drokpa กันอยู่บ้าง
ถัดจาก Hanu Yokma รถก็พาขึ้นเขาต่อ ... ฉันนึกไม่ออกว่าเมื่อไหร่จะถึงปลายทาง
ผู้โดยสารชุดสุดท้ายบนรถ ลุงกระเป๋ารถฯ เริ่มเดินไปหยิบแอปเปิ้ลที่วางในกระสอบหลังรถ มาเดินแจกคนละลูกสองลูก กว่าจะถึง Hanu Gongma ก็ได้รวมไปทั้งหมดห้าลูก ฮ่ะ ๆๆๆ
ปลายทางของเราอยู่ตรงโน้น แสงสุดท้ายที่แตะบนยอดเขาตรงกลางนั้นคือความหวัง
"นั่นไง Hanu Gongma ถัดไปจากนี้ตรงหลังเขานั่นก็คือปากีสถาน" ฉันได้รับคำตอบจากคนบนรถแล้วว่า จุดหมายปลายทางมันมีหน้าตาเป็นยังไง ก็ได้แต่ฝากความหวังไว้กับแสงอาทิตย์ในฤดูร้อนนี้ ขอให้มันช่วยส่องสว่างไป นาน ๆ หน่อยเถอะนะ
---------------------
Tour circuit สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ : (ส่วนพื้นที่พิเศษบางแห่งที่มีนอกเหนือจากเส้นทางนี้ อาจไม่เปิดให้คนต่างชาติเข้า เช่น Hanle & Chusul และอื่น ๆ)
Khaltsi Sub Division (Drokpa Area) หรือ Aryan
Khaltsi-Domkhar-Skurbuchan-Hanu-Baima-Dha
Nubra Sub Division
a) Khardung La - Khalsar - Trith upto Panamik b) Khardung La - Khalsar- Hunder- Turtuk-Pachathang -Tyakshi c) Saboo- Digarla - Digar Labab - Khungru Gompa - Tangyar (Only for trekking)
Nyoma Sub Division
a) Upshi-Chumathang-Mahey-Puga-Tsomoriri Lake/Korzok b) Upshi-Chumathang-Mahey upto Loma Bend c) Upshi-Dipling-Puga-Tsomoriri Lake/Korzok d) Kharu-Changla-Durbuk-Lukhung-Spangmik - Man-Merak (Pangong Lake)
อ้างอิงจาก : https://www.lahdclehpermit.in/pap.pdf ** ขอปรับเปลี่ยนการสะกดตามความเหมาะสมนะคะ รถประจำทางที่วิ่งไปยังหมู่บ้านอารยันจากเลห์มีเพียงสองสาย *** จาก Leh ไป Dha - Baima ออกทุกวันรอบ 9 โมงเช้า *** จาก Leh ไป Hanu ออกทุกวันศุกร์ เวลารถออกจะช้ากว่า Dha (ราว ๆ 10 โมง)
Dha, Hanu ~ ดาห์, ฮนู อาจเรียกติดกันตามความเข้าใจของนักท่องเที่ยว เมื่อพูดถึงที่ตั้งหมู่บ้านชาวอารยัน แต่ความจริงทั้งสองหมู่บ้านนี้อยู่ห่างกันค่ะ
Create Date : 08 เมษายน 2563 |
Last Update : 27 กรกฎาคม 2563 23:20:58 น. |
|
8 comments
|
Counter : 1631 Pageviews. |
|
|
พี่อุ้มว่าพี่อุ้มห้าวแล้วนะเรื่องเที่ยว
น้องฟ้าห้าวกว่า
สุกยอด
กว่าจะถึงจุดหมายได้เนี่ย
ไหนจะเจอด่าน
ไหนจะรถหวานเย็น
นึกถึงตอนที่ไปเที่ยวสังขละบุรี
ด้วยรถ บขส.
มีจอดกินข้าว มีจอดพักรถ
มีจอดให้ตำรวจขึ้นมาตรวจบนรถ 3 รอบ
พี่อุ้มนั่งไปคนเดียว
เพราะผุ้โดยสารลงที่อ.ทองผาภูมิ
ไม่มีใครนั่งยาวไปสังขละฯ