มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
28 มิถุนายน 2549
 
 
ภาพแรกจากยานวีนัสเอกเพรส

ภาพแรกจากยานวีนัสเอกเพรส (28 พฤษภาคม 2549) ยานวีนัส เอกเพรส(Venus Express) ขององค์กรอวกาศยุโรป(ESA) ได้ไปถึงดาวศุกร์เมื่อวันที่ 11 เมษายน แม้ว่ายานจะตีวงโค้งเข้าสู่วงโคจรแรก นักวิทยาศาสตร์ผู้กระหายความรู้ก็ยังพยายามยืดเส้นยืดสายเครื่องมือบนยาน ภาพที่เผยเป็นครั้งแรกที่เห็นกระแสหมุนวน(vortex) ในชั้นบรรยากาศมืดที่ขั้วใต้ของดาวเคราะห์




ภาพประกอบสีเพี้ยนจาก VIRTIS แสดงฟากกลางวัน(ซ้าย) และกลางคืน(ขวา) ของดาวศุกร์ ครึ่งที่อาบแสงเป็นภาพประกอบที่ถ่ายภาพฟิลเตอร์หลายอย่างและแสดงแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากเมฆชั้นบนของดาวเคราะห์ประมาณ 65 กิโลเมตรเหนือพื้นผิว ครึ่งกลางคืนเผยให้เห็นดาวเคราะห์ในช่วงอินฟราเรดและแสดงโครงสร้างเมฆหมุนวนสว่างในชั้นบรรยากาศต่ำกว่า ที่ประมาณ 55 กิโลเมตรเหนือพื้นผิว

ภาพซีกโลกใต้ของดาวศุกร์ ถ่ายเมื่อวันที่ 12 เมษายน เมื่อยานผ่านใต้ดาวเคราะห์ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อวกาศ ภาพมีความละเอียดค่อนข้างต่ำเนื่องจากยานยังอยู่ไกลจากดาวเคราะห์มากกว่าตอนก่อนยานปรับวงโคจร ซึ่งกำลังดำเนินกระบวนการอยู่ Hakan Svedhem นักวิทยาศาสตร์โครงการวีนัส เอกเพรส กล่าวว่า เราจะได้ความละเอียดดีกว่านี้ร้อยเท่าเมื่อเราเข้าใกล้ดาวศุกร์มากขึ้น
สเปคโตรมิเตอร์ถ่ายภาพความร้อนในช่วงตาเห็นและอินฟราเรด(VIRTIS) ของยานได้ภาพที่ประหลาดที่สุด มันแสดงกลางคืนบนดาวเคราะห์ผ่านฟิลเตอร์อินฟราเรด 1.7 ไมครอน สีเพี้ยนที่เป็นสีแดงแสดงถึงโครงสร้างเมฆหมุนวนในชั้นบรรยากาศล่างๆ ที่ประมาณ 55 กิโลเมตรเหนือพื้นผิว Svedhem กล่าวว่า เราคาดว่าจะเห็นโครงสร้างหมุนวนพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก เขตสว่างเป็นบริเวณที่มีเมฆบางกว่าปกคลุมซึ่งทำให้ถ่ายภาพการเปล่งความร้อนที่ระดับความสูงต่ำลงไปได้
เมฆหนาหมุนวนสีมืดปรากฏเกือบจะเหนือขั้วใต้โดยตรง นักวิทยาศาสตร์ทราบว่ามีโครงสร้างเมฆปั่นป่วนบนขั้วดาวคล้ายกันนี้ที่ขั้วเหนือดาวเคราะห์ด้วย และพวกเขายังสงสัยว่าจะมีการก่อตัวเหนือขั้วใต้ด้วยเช่นกัน วีนัส เอกเพรส ได้ช่วยยืนยันการมีอยู่
จากจุดที่ไกลที่สุดในวงโคจรเริ่มต้นของยาน กล้องของวีนัส เอกเพรส สามารถถ่ายภาพดาวเคราะห์ได้ทั้งดวงในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นบางอย่างที่ไม่สามารถทำได้เมื่อยานเข้าสู่วงโคจรสมบูรณ์ มีการวางแผนจะจุดเครื่องยนต์และจรวดขับดันในระหว่างอีก 16 วงโคจรซึ่งจะนำยานเข้าใกล้ดาวศุกร์ได้มากขึ้น ยานจะเข้าสู่วงโคจรสุดท้ายกินเวลา 24 ชั่วโมงผ่านขั้วดาวในวันที่ 7 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

แหล่งข่าว
astronomy.com : first views from Venus Express

rook (sararook@hotmail.com) : รายงาน





Create Date : 28 มิถุนายน 2549
Last Update : 28 มิถุนายน 2549 10:27:35 น. 3 comments
Counter : 1390 Pageviews.

 
แจ่ม


โดย: Duo วันที่: 28 มิถุนายน 2549 เวลา:10:50:37 น.  

 



เข้ามาดูดาวจ๊ะ



โดย: อย่ามาทำหน้าเขียวใส่นะยะ วันที่: 28 มิถุนายน 2549 เวลา:10:51:53 น.  

 


โดย: นิก IP: 222.123.121.102 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:21:53:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com