<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
4 กุมภาพันธ์ 2553
 
 
กระจุกดาวกำพร้า .............

กระจุกดาวกำพร้า .............

พบหยดสีฟ้าสว่างที่มีมวลหลายหมื่นเท่าดวงอาทิตย์ในอวกาศระหว่างกาแลคซี สายตาของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้แยกแยะวัตถุเหล่านี้ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นกระจุกดาวสีฟ้าที่ก่อตัวขึ้นในเกลียววนของกาแลคซีชนกันเมื่อประมาณ 2 ร้อยล้านปีก่อน



ซ้าย: กาแลคซีที่อยู่ไกลออกไป 12 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่ กล้องฮับเบิลแสดงกระจุกดาวสีฟ้าสว่างตามทางก๊าซพลิ้วที่พาดระหว่างกาแลคซี 2 แห่งและกาแลคซีข้างเคียงแห่งที่สามซึ่งไม่เห็นในภาพนี้ สิ่งที่เรียกว่า หยดสีฟ้า รวมตัวอยู่ด้วยกันในโครงสร้างที่เรียกว่า Arp’s Loop :

กระจุกดาวปริศนานี้เป็นกำพร้า เมื่อพวกมันไม่ได้สังกัดอยู่ในกาแลคซีแห่งใดเลย แต่พวกมันเกาะตัวอยู่ด้วยกันเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า Arp’s Loop ตามทางพลิ้วของก๊าซที่พาดคล้ายสายไหมระหว่างกาแลคซีที่กำลังชนกัน 3 แห่งคือ M81, M82 และ NGC3077 กาแลคซีเหล่านี้อยู่ห่างจากเราประมาณ 12 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่(Ursa Major)

Duilia de Mello จากมหาวิทยาลัยคาทอลิคแห่งอเมริกาในวอชิงตัน ดี.ซี. และศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ดของนาซ่า กล่าวว่า เราไม่อยากจะเชื่อเลย ดาวพวกนี้อยู่ๆ ก็โผล่ขึ้นมา De Mello รายงานการค้นพบในการประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์อเมริกัน(AAS)

นักดาราศาสตร์ไม่คิดว่ากระแสก๊าซนั้นหนาพอที่จะสะสมสสารได้มากพอที่จะสร้างดาวฤกษ์ได้มากอย่างนี้ แต่ภาพใหม่เผยให้เห็นว่าพวกมันมีดาวอยู่เทียบเท่ากับ 5 เท่าของเนบิวลานายพราน ขณะที่พวกมันมีมวลสูงกว่ากระจุกดาวเปิดเกือบทุกแห่งที่อยู่ภายในกาแลคซี แต่เจ้าหยดสีฟ้าก็มีมวลเพียงเศษเสี้ยวของกระจุกดาวทรงกลมที่โคจรอยู่รอบกาแลคซี นักดาราศาสตร์ประเมินว่ากระจุกนี้มีอายุ 2 ร้อยล้านปีและดาวในกระจุกหลายดวงมีอายุน้อยถึง 10 ล้านปี และอ่อนกว่านั้น ดวงอาทิตย์ของเราเองมีอายุ 4.6 พันล้านปีแล้ว

De Mello และเพื่อนร่วมงานของเธอบอกว่าการชนกันของกาแลคซีและความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นภายหลังอาจจะจุดประกายให้เกิดดาวฤกษ์ ในความเป็นจริงแล้ว M81 และ M82 เพิ่งจะผ่านเข้าใกล้กันเมื่อ 2 ร้อยล้านปีก่อน การชนกันของกาแลคซีอย่างที่เห็นนี้ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระแสก๊าซนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในเอกภพช่วงแรกอย่างกว้างขวางมากกว่า และดังนั้นหยดสีฟ้าก็น่าจะมีอยู่มากกว่าด้วยในเอกภพช่วงแรกๆ

เมื่อดาวในกระจุกหมดเชื้อเพลิงลงหรือระเบิด ธาตุหนักจะถูกผลักกระจายไปในอวกาศ ความจริงที่ว่ากระจุกหยดสีฟ้าเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกาแลคซีใดๆ เลยก็หมายความว่าธาตุที่สร้างขึ้นจากการหลอมนิวเคลียสของเตาเผานิวเคลียร์จะกระจายได้ง่ายด้วย


แหล่งที่มา:
space.com : cosmic blue blobs discovered
astronomy.com : star from the middle of nowhere
........................................................................................................................................................................................




Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 8 มีนาคม 2553 17:29:53 น. 4 comments
Counter : 1567 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แวะไปทักทายนะคะ

น่าอิจฉาจังเลยที่มะยมแดงติดลูกเต็มต้นน่ะค่ะ
ของอ้อยต้นยังเล็กอยู่ติดให้ดูลูกนึกถือว่าเป็นบุญแล้วค่ะ อิอิ
รอบหน้าถ้าติดลูกอีกจะไม่รอให้สุกมากแล้วค่ะ กลัวมันร่วงเดี๋ยวอดชิมอีก


โดย: ooy (ooybangyom ) วันที่: 8 มีนาคม 2553 เวลา:22:26:41 น.  

 


โดย: i'm not superman วันที่: 11 มีนาคม 2553 เวลา:20:14:45 น.  

 
อ่านเรื่องราวเหล่านี้แล้วอยากไปอยู่
บนดาวเคว้างคว้างเชียวค่ะ น่ากลัว
ปนกับความอยากลอง


ขอบคุณสำหรับคอมเม้นท์ดีๆ ที่ฝากให้กำลังใจ
และความคิดอ่านต่อเนื่องที่บล็อก
ด้วยนะคะ่ อ่านแล้วเห็นดีเห็นตามด้วยเลยว่า
"กิเลศ ... ของตัวเองถ้ายังมีและตัดยังไม่ขาด"
ยังไงก็คงต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์จริงๆ ..

ตัวเองต้องตัดที่ตัวเองก่อนเน๊าะ ไม่งั้นลำบาก
แน่นอนเลยคะ่ ..


โดย: JewNid วันที่: 14 มีนาคม 2553 เวลา:15:29:40 น.  

 
คิดถึงพี่ตูนเหมือนกานนนนนนน..หลานเป็นหนุ่มเป็นาสแล้วอ่า..ฮ่าๆ



โดย: grippini วันที่: 16 มีนาคม 2553 เวลา:3:34:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com