มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
13 มิถุนายน 2549
 
 
กำเนิดดวงจันทร์ของพลูโต

กำเนิดดวงจันทร์ของพลูโต (12 มิถุนายน 2549) ด้วยการสำรวจครั้งใหม่จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ทีมวิจัยที่นำโดย Hal Weaver จากห้องทดลองฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกินส์ และ Alan Stern จากศูนย์วิจัยเซาท์เวสต์ พบว่าดวงจันทร์ทั้งสามของพลูโตมีสีใกล้เคียงกัน สนับสนุนทฤษฏีที่ว่าระบบพลูโตก่อตัวขึ้นจากการชนครั้งใหญ่ครั้งเดียว การค้นพบนี้เผยแพร่ใน International Astronomical Union Circular no.8686 ทีมได้ตรวจสอบว่าดวงจันทร์ใหม่ทั้งสองของพลูโตที่ค้นพบเมื่อเดือนพฤษภาคม 2005 และมีชื่อชั่วคราวว่า S/2005P1 และ S/2005P2 ต่างก็มีสีเหมือนกันและยังมีสีขาวเหมือนสีของคารอน(Charon) ซึ่งเป็นดวงจันทร์ขนาดใหญ่ของพลูโตที่ค้นพบเมื่อปี 1978

ดาวบริวารทั้งสามมีพื้นผิวที่สะท้อนแสงอาทิตย์อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันในทุกช่วงความยาวคลื่น ซึ่งหมายความว่าพวกมันมีสีใกล้เคียงกับดวงจันทร์ของโลก เมื่อเปรียบเทียบกับพลูโตซึ่งมีโทนสีออกแดงซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกิริยาระหว่างแสงอาทิตย์กับไนโตรเจนแข็งและมีเธนแข็งบนพื้นผิว การสำรวจใหม่ทำเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ด้วยช่องความละเอียดสูงของกล้องเพื่อการสำรวจชั้นสูง(ACS) ของฮับเบิล ทีมได้ตรวจสอบสีของวัตถุโดยเปรียบเทียบความสว่างของพลูโตกับดวงจันทร์แต่ละดวงในภาพที่ถ่ายผ่านฟิลเตอร์สีฟ้ากับที่ถ่ายผ่านฟิลเตอร์สีเขียวและแดง
Weaver กล่าวว่า ข้อมูลที่มีคุณภาพสูงทิ้งความสงสัยไว้เพียงน้อยนิดว่าซีกโลกของ P1 และ P2 ที่เราสำรวจจะมีสีเหมือนกันคือสีขาว ผลสรุปใหม่ยังสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าพลูโตและดาวบริวารของมันก่อตัวขึ้นหลังจากการชนระหว่างวัตถุขนาดเท่าพลูโต 2 ดวงเมื่อเกือบ 4.6 พันล้านปีก่อน Stern กล่าวว่า ทุกๆ อย่างดูเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น ถ้าทั้งสามก่อตัวขึ้นจากวัสดุเดียวกันหลุดเข้าสู่วงโคจรรอบพลูโตจากการชนครั้งใหญ่ คุณก็อาจคาดได้ว่าพื้นผิวของดาวบริวารทั้งสามจะมีสีคล้ายกัน
นักวิจัยหวังว่าจะทำการสำรวจสีพื้นผิวเพิ่มเติมด้วยฮับเบิลผ่านฟิลเตอร์อีกหลายๆ แบบ เพื่อจะเห็นว่ามีความคล้ายคลึงจากบรรดาดาวบริวารเมื่อมีช่วงความยาวคลื่นมากขึ้น(สีแดงมากขึ้น) อย่างไร พวกเขายังยื่นข้อเสนอทำการสำรวจข้อมูลองค์ประกอบของดวงจันทร์ใหม่เพิ่มเติมโดยการสำรวจในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดใกล้ ซึ่งจะพบการดูดกลืนแสงของน้ำแข็งและแร่ธาตุ นักวิจัยยังหวังว่าจะปรับปรุงข้อมูลวงโคจรของ P1 P2 ได้ดีขึ้นและวัดรูปร่างและคาบการโคจร
การสำรวจของฮับเบิลทำขึ้นเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการ New Horizons ของนาซ่าสู่พลูโตและแถบไคเปอร์ ยาน New Horizons ถูกส่งออกสู่อวกาศเมื่อวันที่ 19 มกราคม ปีนี้ และจะบินผ่านระบบพลูโตในเดือนกรกฏาคม 2015 ซึ่งจะให้ภาพดาวเคราะห์ดวงที่เก้าและดวงจันทร์ทั้งหลายของมันในระยะใกล้ Stern ซึ่งนำทีมปฏิบัติการและทีมวิทยาศาสตร์ในฐานะหัวหน้าโครงการนี้ Weaver เป็นนักวิทยาศาสตร์โครงการของปฏิบัติการ

ภาพที่ถ่ายจากฮับเบิลเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ และวันที่ 2 มีนาคม แสดงการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ของพลูโต




แหล่งข่าว
astronomynow.com : Hubble supports a common birth of Pluto’s moons
space.com : Hubble finds Pluto’s moons less than colorful

rook (sararook@hotmail.com) : รายงาน



Create Date : 13 มิถุนายน 2549
Last Update : 13 มิถุนายน 2549 13:53:03 น. 0 comments
Counter : 1124 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com