มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
13 มิถุนายน 2549
 
 
มวลดาวแคระน้ำตาล

มวลดาวแคระน้ำตาล (12 มิถุนายน 2549) เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์ประสบความสำเร็จในการคำนวณมวลดาวแคระน้ำตาลคู่หนึ่งและวัดเส้นผ่าศูนย์กลางที่แน่นอนของพวกมันได้ การตรวจวัดที่เที่ยงตรงไม่อาจทำได้เลยถ้าสำรวจดาวแคระน้ำตาลดวงโดด เนื่องจากวงโคจรของพวกมันเอียงโดยหันข้างเข้าหาโลก ดาวแคระน้ำตาลจึงผ่านหน้าอีกดวง เกิดคราสขึ้น นี่เป็นการค้นพบระบบคู่คราสดาวแคระน้ำตาลระบบแรก คู่นี้ยังให้โอกาสที่หาได้ยากในการตรวจสอบมวลและเส้นผ่าศูนย์กลางของดาวแคระได้อย่างถูกต้อง ซึ่งช่วยทดสอบแบบจำลองทางทฤษฏีได้
ดาวแคระน้ำตาลเป็นกลุ่มเทหวัตถุช่วงกลางที่มีความรู้เกี่ยวกับมันน้อย มันมีขนาดเล็กเกินกว่าจะทำให้เกิดการหลอมไฮโดรเจนอย่างที่ให้พลังงานในดวงอาทิตย์ได้ อย่างไรก็ตาม ดาวแคระน้ำตาลก็ยังมีมวลมากกว่าดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเราคือ ดาวพฤหัส ถึงหลายสิบเท่า และยังใหญ่เกินกว่าจะเป็นดาวเคราะห์ การค้นพบดาวแคระน้ำตาลคู่และการตรวจสอบรายงานใน Nature โดยทีมนักดาราศาสตร์ที่ประกอบด้วย Jeff Valenti จากสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ(STScI), Robert Mathieu จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน- เมดิสัน และ Keivan Stassun จากมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์
ดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่งมีมวล 55 เท่าดาวพฤหัส ขณะที่อีกดวงมีมวล 35 เท่าดาวพฤหัส(ค่าเบี่ยงเบน 10%) เพื่อที่จะเป็นดาวฤกษ์และเผาไหม้ไฮโดรเจนผ่านนิวเคลียร์ฟิวชั่นได้ ดาวแคระจะต้องมีมวล 80 เท่ามวลดาวพฤหัส เมื่อเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ที่มีมวล 1 พันเท่าดาวพฤหัส นักดาราศาสตร์ประหลาดใจว่าพบว่าดาวแคระน้ำตาลที่มีมวลมากกว่าจะเย็นกว่าคู่ของมัน เมื่อเปรียบเทียบกับการทำนายเกี่ยวกับดาวแคระน้ำตาลในช่วงอายุเดียวกัน แต่ละดวงไม่ได้มีอายุใกล้เคียงกันและอาจจะเป็นวัตถุที่ถูกจับไว้ หรือไม่เช่นนั้น แบบจำลองทางทฤษฏีก็ผิด
คู่ดาวแคระน้ำตาลโคจรรอบกันและกันอย่างใกล้ชิดจนดูเหมือนเป็นวัตถุดวงเดียวเมื่อมองจากโลก เนื่องจากระบบที่หันข้าง วัตถุทั้งสองจึงผ่านหน้าอีกดวงเป็นช่วงเวลาที่แน่นอน คราสที่เกิดทำให้ความสว่างจากวัตถุทั้งสองลดลง เมื่อหาเวลาที่เกิดบังกันได้ นักดาราศาสตร์ก็สามารถวัดวงโคจรของวัตถุทั้งสองได้ ด้วยข้อมูลนี้ นักดาราศาสตร์ได้ใช้กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สามของนิวตันเพื่อคำนวณมวลของดาวแคระทั้งสอง ในขณะเดียวกัน นักดาราศาสตร์ก็ใช้การคำนวณขนาดโดยวัดช่วงเวลาที่มืดลงในกราฟแสง เนื่องจากพวกมันยังอายุน้อยมาก ดาวแคระจึงยังใหญ่ ประมาณเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับดวงอาทิตย์ ทั้งคู่อยู่ในเนบิวลานายพรานซึ่งเป็นแหล่งเพาะฟักดาวฤกษ์ที่มีดาวอายุน้อยกว่า 10 ล้านปี
การวิเคราะห์แสงจากคู่ดาวแคระบ่งชี้ว่าดาวแคระมีสีแดง แบบจำลองปัจจุบันยังทำนายว่าดาวแคระน้ำตาลควรจะมีสภาวะอากาศ แถบคล้ายเมฆและจุดอย่างที่เห็นในดาวพฤหัสและดาวเสาร์ ด้วยการวัดการแปรผันในสเปคตรัมแสงที่มาจากทั้งคู่ นักดาราศาสตร์ยังวัดอุณหภูมิพื้นผิวของดาวแคระได้ด้วย ทฤษฏีทำนายว่าสมาชิกดวงใหญ่กว่าของคู่ดาวแคระควรจะมีอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงกว่า แต่พวกเขาพบในสิ่งตรงกันข้าม ดาวแคระที่ใหญ่กว่ากลับมีอุณหภูมิ 2650 เคลวิน และดวงเล็กมีอุณหภูมิ 2790 เคลวิน เปรียบเทียบกับอุณหภูมิพื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่ 5800 เคลวิน
Stassun กล่าวว่า คำอธิบายที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งก็คือวัตถุทั้งสองมีกำเนิดและอายุที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นกรณีนี้จริง มันก็จะสนับสนุนผลที่ได้จากการสร้างแบบจำลองการก่อตัวดาวฤกษ์ ซึ่งทำนายว่าดาวแคระน้ำตาลถูกสร้างใกล้กันมากจนดูเหมือนจะรบกวนการก่อตัวซึ่งกันและกัน การสำรวจใหม่สนับสนุนการทำนายทางทฤษฏีว่าดาวแคระน้ำตาลเริ่มต้นเป็นวัตถุขนาดเท่าดาวฤกษ์ แต่หดตัวและเย็นและมีขนาดใกล้ดาวเคราะห์มากขึ้นเมื่อมันมีอายุมากขึ้น ก่อนจากนี้ มีดาวแคระน้ำตาลเพียงดวงเดียวที่มีการตรวจสอบมวลโดยตรงและพบว่าเก่าแก่กว่าและมืดกว่า
นักดาราศาสตร์หลายคนคิดว่าแท้จริงแล้วดาวแคระน้ำตาลอาจจะเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปที่สุดจากกระบวนการก่อตัวดาวฤกษ์ ข้อมูลเกี่ยวกับดาวแคระน้ำตาลสามารถให้มุมมองที่ดีขึ้นเกี่ยวกับกลไกกระบวนสร้างดาวฤกษ์จากฝุ่นก๊าซที่หมุนวนและยุบตัวลง เนื่องจากดาวแคระน้ำตาลจะเล็กกว่าและมืดกว่าดาวฤกษ์แท้จริง เมื่อไม่กี่ปีนี้เองที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีกล้องโทรทรรศน์ที่ช่วยให้นักดาราศาสตร์พบวัตถุสลัวหลายร้อยดวงที่พวกเขาคิดว่าอาจจะเป็นดาวแคระน้ำตาล แต่การหาดาวแคระน้ำตาลจากวัตถุสลัวประเภทอื่น ก็ต้องการวิธีที่จะประเมินมวลของมัน เนื่องจากมวลจะเป็นตัวกำหนดดาวฤกษ์และวัตถุคล้ายดาวประเภทอื่น
การมีอยู่ของดาวแคระน้ำตาลถูกเสนอในช่วงทศวรรษ 1980 แต่จนกระทั่งปี 2000 ที่มีการตรวจจับดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่งอย่างชัดเจน ขณะที่ดาวแคระน้ำตาลเป็นเพียงวัตถุในสมมติฐาน นักดาราศาสตร์แบ่งแยกมันออกจากดาวเคราะห์โดยใช้วิธีที่มันก่อตัวขึ้น ดาวแคระน้ำตาลและดาวฤกษ์ก่อตัวในวิธีเดียวกัน จากการยุบตัวของเมฆฝุ่นก๊าซในอวกาศ ดาวเคราะห์ถูกสร้างจากดิสก์ฝุ่นก๊าซที่ล้อมรอบดาวฤกษ์ที่กำลังก่อตัว เมื่อนักดาราศาสตร์ค้นพบว่าที่ดาวแคระน้ำตาลดวงแรก พวกเขาก็ตระหนักว่าดาวแคระนั้นแบ่งแยกจากดาวเคราะห์ได้ยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันมีดาวข้างเคียง ดังนั้นกลุ่มนักดาราศาสตร์จึงนิยามดาวแคระน้ำตาลว่าเป็นวัตถุที่มีมวลตั้งแต่ 13 จนถึง 80 เท่าดาวพฤหัส นักวิจัยทำการสำรวจครั้งนี้ด้วยกล้องโทรทรรศน์สองชุดที่อยู่ในเทือกเขาแอนดีสในชิลี

ภาพวาดแสดงดาวแคระน้ำตาลคู่หนึ่งกำลังเกิดคราสเมื่อมองจากโลก





แหล่งข่าว
hubblesite.org : astronomers measure precise mass of a binary brown dwarf

rook (sararook@hotmail.com) : รายงาน



Create Date : 13 มิถุนายน 2549
Last Update : 13 มิถุนายน 2549 13:47:20 น. 2 comments
Counter : 975 Pageviews.

 
ทีแรกอ่านนึกว่าดาวเป็นน้ำตาลที่หวานๆน่ะค่ะ


โดย: quin toki วันที่: 13 มิถุนายน 2549 เวลา:19:26:25 น.  

 
ขอบคุณคับที่แวะเข้ามาเคาะประตู


โดย: spirit IP: 58.147.51.132 วันที่: 15 มิถุนายน 2549 เวลา:13:23:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com