มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
25 มิถุนายน 2549
 
 
พายุบนดาวพฤหัสบดี

พายุใหญ่บนดาวพฤหัสเตรียมประทะกัน
(21 มิถุนายน 2549) พายุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ 2 ลูกกำลังใกล้จะชนกันให้เห็นในกล้องโทรทรรศน์ พายุลูกแรกคือ จุดแดงใหญ่(Great Red Spot) ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของโลก ด้วยแรงลมที่พัด 560 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุลูกมหึมานี้หมุนรอบดาวพฤหัสมานานหลายร้อยปีแล้ว ส่วนพายุลูกที่สองคือ Oval BA หรือที่รู้จักกันในชื่อ จุดแดงเล็ก(Red Jr.) ซึ่งเป็นพายุที่เกิดมา 6 ปีที่มีขนาดเพียงครึ่งเดียวของลูกใหญ่ แต่แรงลมของมันก็พัดร้ายกาจพอๆ กัน

Amy Simon-Miller นักดาราศาสตร์ที่ศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ดในแมรี่แลนด์ ซึ่งจับตาดูพายุทั้งสอง กล่าวว่าพายุทั้งสองกำลังเคลื่อนที่เข้าใกล้อีกลูกมากขึ้น และคาดว่าจะเข้าใกล้กันมากที่สุดในวันที่ 4 กรกฏาคม เธอกล่าวว่า นี่จะไม่เป็นการชนแบบพุ่งเข้าหากัน จุดแดงใหญ่จะไม่กินจุดแดงเล็กหรืออะไรทำนองนั้นแน่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าแถบนอกของพายุจะผ่านเฉียดแถบของพายุอีกลูก และนั้นก็เป็นสิ่งที่ใครๆ คาดเดาว่าจะเกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลานั้น
นี่ไม่ได้เป็นครั้งแรกที่มีการเฉียดเข้าใกล้เกิดขึ้น ในความเป็นจริง พายุทั้งสองมักจะผ่านอีกลูกหนึ่งทุกๆ สองปีหรือประมาณนั้น การผ่านเข้าใกล้ลักษณะนี้เกิดขึ้นในปี 2002 และ 2004 แต่มันก็ไม่น่าสนใจอะไร นอกจากจะเฉี่ยวกันไป พายุทั้งสองลูกก็ไม่บุบสลายแต่อย่างใด แต่ครั้งนี้อาจจะแตกต่าง Simon-Miller บอกว่าจุดแดงอาจจะเปลี่ยนกลับไปเป็นสีเดิม และเปลี่ยนจากแดงไปเป็นขาว ตั้งแต่ปี 2000 จนถึง 2005 จุดแดงเล็กที่มีสีขาวและไม่ต่างจากจุดรีสีขาว(white oval) ขนาดเล็กอื่นๆ ที่โคจรไปรอบดาวเคราะห์
ในปี 2006 นักดาราศาสตร์ก็สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เกิดกระแสหมุนวน(vortex) สีแดงก่อตัวขึ้นในพายุ สีใกล้เคียงกับจุดแดงใหญ่ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเปลี่ยนสีเป็นสัญญาณว่าพายุกำลังพัฒนาความรุนแรงขึ้น นักวิทยาศาสตร์คิดว่าจุดแดงใหญ่อาจจะผลัก Oval BA เข้าหากระแสเจททางใต้บนดาวเคราะห์ในระหว่างที่เข้าใกล้กัน กระแสเจทจะพัดต้านการหมุนทวนเข็มนาฬิกาของ Oval BA และอาจจะชะลอการหมุนของพายุลง อาจจะเปลี่ยนสีของพายุกลับไปเป็นสีขาวได้
สีของจุดแดงใหญ่ก็เป็นปริศนาอยู่ จากทฤษฏีที่ได้รับความนิยมอันหนึ่งบอกว่า พายุคุ้ยสสารจากเบื้องลึกในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสขึ้นมา พัดมันขึ้นมาเหนือชั้นเมฆสูงสุดที่ซึ่งรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนสารประกอบมีสีที่เรียกว่า chromophores ให้กลายเป็นสีแดง



ภาพแสดงจุดแดงทั้งสอง ซึ่งถ่ายเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2006 โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่น Christopher Go จากฟิลิปปินส์





Oval BA สีแดงถ่ายภาพโดยนักดาราศาสตร์ที่ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล





แหล่งข่าว
science.nasa.gov : huge storms converge

rook (sararook@hotmail.com) : รายงาน




Create Date : 25 มิถุนายน 2549
Last Update : 25 มิถุนายน 2549 6:42:22 น. 6 comments
Counter : 1939 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แปลเอามาให้อ่านกันนะคะ น่าสนใจมาก สิ่งที่อยู่พ้นออกไปไกลจากท้องฟ้าที่เราเห็นกัน ดูลี้ลับและน่าค้นหามากค่ะ


โดย: ริมยมนา วันที่: 25 มิถุนายน 2549 เวลา:8:16:00 น.  

 
ต้องให้เครดิต คุณ rook เค้าละครับ..ที่เอาข่าวมาเล่าสู่กันฟัง


โดย: spirit (pooktoon ) วันที่: 25 มิถุนายน 2549 เวลา:20:48:44 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข่าวสารครับ ถ้าจุดแดงใหญ่หายไปคงใจหายพิลึก ที่เห็นตั้งแต่เล็กผ่านภาพถ่ายถาพจำลองจะไม่มีอีกแล้ว หุๆๆ


โดย: นายเบียร์ วันที่: 26 มิถุนายน 2549 เวลา:1:38:50 น.  

 
ถ้าผมคิดว่าพายุที่ดาวพฤหัสบดีผมอยากจะไปดูใกล้ๆว่ามันแรงมากหรือไหม


โดย: มิก(ชายที่หาความรู้) IP: 203.144.140.250 วันที่: 29 ธันวาคม 2550 เวลา:21:33:09 น.  

 
อยากไปดูดาวพุธ เเตว่ามันหนาวม๊าก มากเลยอ่ะ


โดย: 55555555 IP: 117.47.45.174 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:19:39:01 น.  

 
อยากไปดูให้เห็นจะจะกับตาจัง


โดย: ปิงปอง IP: 125.27.113.39 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:13:16:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com