<<
กรกฏาคม 2549
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
26 กรกฏาคม 2549
 
 
ดาวเคราะห์นอกระบบมวลต่ำ.....

กลุ่มนักดาราศาสตร์ 3 กลุ่มได้ร่วมกันค้นพบสิ่งที่อาจเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลต่ำที่สุดเท่าที่เคยพบรอบดาวฤกษ์ปกติดวงหนึ่ง มวลของดาวเคราะห์อยู่ระหว่าง 3 ถึง 11 เท่ามวลโลก โดยน่าจะมีมวลที่ 5.5 เท่า มวลต่ำที่สุดที่เคยพบก่อนหน้านี้คือดาวเคราะห์รอบดาวแคระแดง Gliese 876 มีมวลประมาณ 7.5 เท่ามวลโลก ดาวเคราะห์นอกระบบที่ทราบว่ามีมวลต่ำกว่านี้ที่ถูกค้นพบก็คือดาวเคราะห์ 4 ดวงที่โคจรรอบพัลซาร์แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นซากที่ยุบตัวที่เหลืออยู่จากการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเป็นซุปเปอร์โนวา





ดาวเคราะห์ดวงใหม่เป็นดาวเคราะห์ดวงที่สามที่ถูกค้นพบโดยวิธีไมโครเลนซิงโน้มถ่วง(gravitational microlensing) ซึ่งเป็นผลที่ถูกทำนายโดยทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวัตถุ 2 ชิ้นเรียงตัวอยู่เกือบสมบูรณ์ตามแนวสายตาจากโลก ในกรณีนี้ ดาวแคระแดงพื้นหน้าดวงหนึ่งผ่านหน้าดาวฤกษ์พื้นหลังดวงหนึ่งและดาวแคระแดงทำหน้าที่เหมือนเลนโน้มถ่วง แรงโน้มถ่วงของดาวแคระจะรวมและขยายแสงจากดาวพื้นหลัง ทำให้ดาวพื้นหลังดูสว่างขึ้น 3 เท่าและจากนั้นก็มืดลงในช่วง 1.5 เดือน ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่โคจรรอบดาวแคระแดงทำหน้าที่เหมือนเลนโน้มถ่วงอันที่ 2 ทำให้เกิดความสว่างเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยและมืดลง การขยายตัวนี้คงอยู่ประมาณ 30 ชั่วโมง
ทีม OGLE ซึ่งนำโดย Andrzej Udalski จากหอสังเกตการณ์มหาวิทยาลัยวอร์ซอร์ โปแลนด์ ได้พบการสว่างขึ้นของดาวฤกษ์พื้นหลังเมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2005 OGLE ได้เตือนทีมสำรวจอีก 2 ทีมคือ PLANET(Probing Lensing Anomalies NETwork) และ MOA(Microlensing Observations in Astrophysics) และทั้งสามทีมก็เริ่มจับตาดูดาวฤกษ์ด้วยกล้องทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง พวกเขาตรวจพบการสว่างสูงสุดเมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม เมื่อดาวฤกษ์พื้นหลังมืดลงในวันที่ 9 สิงหาคม ทีมได้สำรวจพบการสว่างที่ยาว 30 ชั่วโมงและมืดลงซึ่งเกิดจากดาวเคราะห์ ซึ่งได้ชื่อว่า OGLE-2005-BLG-390Lb ทีม PLANET ซึ่งนำโดย Jean-Phillippe Beaulieu จากสถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์ปารีส ได้ทำการสำรวจอย่างละเอียดที่สุดในวันที่ 9 และ 10 สิงหาคม
Scott Gaudi จากศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ฮาร์วาร์ด-สมิธโซเนียน ซึ่งศึกษาไมโครเลนซิงโน้มถ่วงแต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้นพบนี้กล่าวว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้มีอยู่จริง และเห็นได้ในชุดข้อมูลจากการสำรวจหลายงาน ไม่น่าเชื่อว่าวิธีการไมโครเลนซิงจะตรวจจับดาวฤกษ์และดาวเคราะห์จากแรงโน้มถ่วงเพียงเท่านั้น สิ่งที่บอกได้ในขณะนี้ก็คือระบบนี้อยู่ไกลออกไป 22000 ปีแสงในทิศทางกลุ่มดาวคนยิงธนู ดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดาวฤกษ์ประมาณ 2.6 AU(ประมาณตำแหน่งของแถบดาวเคราะห์น้อยในระบบของเรา) และอาจจะใช้เวลาสิบปีเพื่อโคจรครบรอบ ดาวฤกษ์ซึ่งเป็นดาวแคระแดงประเภท M มีมวลประมาณหนึ่งในห้าของดวงอาทิตย์เปล่งพลังงานเพียง 1% ของดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์จึงมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ -220 องศาเซลเซียส ซึ่งแน่นอนว่าเย็นเกินกว่าจะมีชีวิตอาศัยอยู่ได้
Beaulieu กล่าวว่า ขณะที่ดาวเคราะห์จากไมโครเลนซิงอีกสองดวงมีมวลไม่กี่เท่าของดาวพฤหัส การค้นพบดาวเคราะห์มวล 5 เท่าโลกจึงเป็นการยากที่จะตรวจจับมากกว่า และยังบ่งบอกว่าวัตถุมวลต่ำนั้นมีอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ David Bennett จากมหาวิทยาลัยนอเทรดัม สมาชิกทีม PLANET กล่าวว่า ถ้าดาวเคราะห์คล้ายพฤหัสมีอยู่ทั่วไป วิธีการไมโครเลนซิงก็ควรจะพบพวกมันอีกหลายสิบดวงแล้ว การค้นพบนี้อาจหมายถึงว่าดาวฤกษ์มวลต่ำอย่างดาวแคระแดงมักจะมีดาวเคราะห์มวลต่ำกว่าดาวฤกษ์อย่างดวงอาทิตย์ ข้อสรุปนี้เข้ากันได้ดีกับการทำนายของนักทฤษฏีซึ่งสร้างแบบจำลองการก่อตัวดาวเคราะห์ที่ว่า รอบดาวแคระแดง ทฤษฏีทำนายว่าจะพบดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกและเนปจูนได้มากกว่าดาวเคราะห์ขนาดเท่าดาวพฤหัส
ไมโครเลนซิงเป็นเทคนิคปัจจุบันเพียงเทคนิคเดียวที่สามารถค้นหาดาวเคราะห์มวลประมาณโลกได้ Gaudi กล่าวว่า ความดีของไมโครเลนซิงไม่ใช่ที่การค้นพบดาวเคราะห์ที่คุณกำลังศึกษา แต่ความดีของมันก็คือมันช่วยให้นักดาราศาสตร์มีสถิติระบบดาวเคราะห์ และช่วยให้พวกเราตรวจจับดาวเคราะห์ที่เราไม่น่าจะตรวจจับได้เลย มันบอกคุณเกี่ยวกับความถี่ของดาวเคราะห์ได้
การค้นพบเผยแพร่ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 26 มกราคม ทีมไมโครเลนซิงทั้งสามทีมประกอบด้วยนักดาราศาสตร์ 73 คนจาก 12 ชาติ การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบก่อนหน้านี้ที่ใช้ไมโครเลนซิงเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของนักดาราศาสตร์สมัครเล่นในนิวซีแลนด์ด้วย การค้นพบนี้ต้องใช้ข้อมูลซับซ้อน และเหตุการณ์สามารถเห็นได้โดยพวกสมัครเล่น มันค่อนข้างสว่าง



แหล่งข่าว
skyandtelescope.com : low-mass exoplanet
space.com : small rocky planet found orbiting normal star
astronomy.com : the most earthlike planet
astronomynow.com : astronomers find smallest extrasolar planet yet

rook (sararook@hotmail.com) : รายงาน




Create Date : 26 กรกฎาคม 2549
Last Update : 26 กรกฎาคม 2549 1:02:22 น. 3 comments
Counter : 857 Pageviews.

 
เอิ๊กส์ๆๆ ไปรูดบัตรที่บล็อกเค๊า ตามมาสอยดาวที่บล็อกตะเองเด้อ
ป.ล.แต่ดาวพระเคราะห์
ม่ายเอานะ


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 26 กรกฎาคม 2549 เวลา:1:37:43 น.  

 


ขอบคุณนะค่ะ แวะมาศึกษาค่ะ


โดย: 304 คอนแวนต์ (304 คอนแวนต์ ) วันที่: 26 กรกฎาคม 2549 เวลา:10:56:19 น.  

 


โดย: กาย IP: 124.157.164.157 วันที่: 22 มิถุนายน 2550 เวลา:17:48:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com