<<
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
7 มีนาคม 2551
 
 
กล้องรุ่นใหม่ใหญ่ขึ้นอีก ............

การแข่งขันกันสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาดยักษ์กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก



กระจกของ ELT จะกว้าง 42 เมตร ใหญ่กว่ากระจกของกล้องใดๆ ที่มีในขณะนี้ 4 เท่า มีกำหนดจะดำเนินงานในปี 2017:


นักดาราศาสตร์กำลังวาดฝันแผนการสร้างเครื่องมือที่ใหญ่ที่สุดและทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา เพื่อที่จะสามารถเจาะเอกภพได้ลึกมากขึ้น และย้อนเวลากลับไปได้ไกลมากกว่าที่เคยๆ ทำกันมา

การแข่งขันซึ่งคาดว่าจะเริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างในทศวรรษหน้าและมีค่าก่อสร้างหลายพันล้านดอลลาร์ ถูกขับเคลื่อนโดยการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ส่งผลให้ได้ความใสกระจ่างและกำลังขยายที่สูง นักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่ามันจะเป็นเหมือนการเปลี่ยนจากโทรทัศน์ธรรมดาไปเป็นโทรทัศน์แบบความละเอียดสูง

ในความเป็นจริง กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่มากๆ จะให้ภาพที่ละเอียดยิ่งกว่าภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรในปี 1990 และรักษาความสุดยอดของมันไว้เนื่องจากทัศนวิสัยที่ปราศจากการรบกวนจากชั้นบรรยากาศของโลก แต่ขณะนี้ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินก็สามารถปรับการรบกวนนั้นออกไปได้

แค่ชื่อของหอสังเกตการณ์ที่จะสร้างหลายแห่งก็บอกถึงการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ยักษ์แมกเจลแลน, กล้องโทรทรรศน์สามสิบเมตร และกล้องโทรทรรศน์ใหญ่สุดยอดของยุโรป(European Extremely Large Telescope) ซึ่งลดขยายลงมาจาก OverWhelmingly Large Telescope และนอกจากกล้องภาคพื้นขนาดใหญ่ทั้ง 3 ตัวที่กล่าวมาแล้ว กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ของนาซ่าเอง ก็จะถูกส่งออกสู่อวกาศในปี 2013 ด้วยกล้องขนาดยักษ์ที่ถูกเสนอเหล่านี้ นักดาราศาสตร์หวังว่าจะได้ภาพดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเรา, เฝ้าดูดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ถือกำเนิดขึ้น และจับช่วงเวลาที่เกิดขึ้นใกล้การเกิดบิกแบงได้เป็นครั้งแรก

Wendy Freedman ผู้อำนวยการหอสังเกตการณ์คาร์เนกี้ ประธานคณะกรรมการกล้องยักษ์แมกเจลแลน(GMT) ที่กำลังก่อสร้างอยู่ กล่าวว่า เราเกือบจะไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเอกภพในช่วงแรกๆ กล้อง GMT กำลังจะได้เห็นดาวฤกษ์ดวงแรกๆ, กาแลคซีแห่งแรกๆ, ซุปเปอร์โนวาแรก และหลุมดำแห่งแรกๆ ก่อตัวขึ้น

เมื่อนักวิทยาศาสตร์เฝ้าไปที่เทหวัตถุที่อยู่ไกลโพ้น พวกเขากำลังได้เห็นมันอย่างที่มันเป็นเหมือนหลายล้านหรือหลายพันล้านปีก่อน เนื่องจากแสงจากวัตถุต้องใช้เวลาในการเดินทางมาถึงโลก กล้องโทรทรรศน์ในปัจจุบันสามารถมองย้อนไปได้ถึงเมื่อเอกภพมีอายุประมาณ 1 พันล้านปี แต่กล้องใหม่ๆ จะทรงพลังมากจนพวกมันน่าจะสามารถย้อนเวลากลับไปได้ถึงไม่กี่ร้อยล้านปีหลังจากบิกแบง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อ 13.7 พันล้านปีก่อน นั้นเป็นที่ที่เริ่มทุกอย่างขึ้น

Henri Boffin นักวิทยาศาสตร์จากหอสังเกตการณ์ทางใต้ของยุโรป(ESO) กล่าวว่า เราหวังที่จะตอบคำถามเหล่านี้คือ เราอยู่โดดเดี่ยวในเอกภพหรือไม่ ธรรมชาติของสสารมืดและพลังงานในเอกภพเป็นอย่างไร เทคโนโลยีใหม่ 2 อย่างจะช่วยให้ตอบคำถามเหล่านี้ได้ ประการแรกคือการใช้เลเซอร์และพลังการคำนวณ อีกประการได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานของกรีกและโรมันโบราณ

เทคโนโลยีแรกคือ ระบบปรับกระจก adaptive optics ซึ่งจะช่วยให้กล้องบนภาคพื้นดินตัดการรบกวนที่เกิดจากการมองอวกาศผ่านชั้นบรรยากาศหนาๆ ของโลกออกไปได้ ระบบนี้ขึ้นอยู่กับเลเซอร์ซึ่งจะสร้างดาว”เทียม” ขึ้นในท้องฟ้า จากนั้นนักดาราศาสตร์จะตรวจสอบดาวเทียมและใช้คอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณว่ามีการรบกวนจากชั้นบรรยากาศเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนในช่วงเวลานั้น จากนั้นพวกเขาจะปรับกระจกเพื่อชดเชย ซึ่งก็เหมือนกับการใส่แว่นตา การปรับนี้จะเกิดขึ้นหลายร้อยครั้งต่อวินาทีโดยอัตโนมัติ

ระบบ adaptive optics ถูกใช้กับกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กก่อน แต่การที่จะให้มันใช้กับกล้องใหญ่ๆ ได้ยังเป็นปัญหาอยู่ ความสำเร็จครั้งแรกกับการใช้กับกล้องใหญ่เกิดขึ้นในปี 2003 ที่กล้องโทรทรรศน์แฝด เคก ในฮาวาย ความพยายามนี้ใช้เวลาถึง 9 ปี

เทคโนโลยีที่สอง เกี่ยวข้องกับการสร้างกระจกให้ใหญ่ขึ้น แทนที่จะหล่อกระจกบานยักษ์เพียงบานเดียวซึ่งจะยากและมีขนาดที่จำกัด ขณะนี้ นักดาราศาสตร์สามารถทำชิ้นส่วนกระจกขนาดเล็กลงและรวมเข้าด้วยกัน Jerry Nelson นักวิทยาศาสตร์เคก ซึ่งขณะนี้ทำงานกับกล้องโทรทรรศน์ 30 เมตร เป็นผู้บุกเบิกเทคนิคนี้และบอกว่าเขาได้แนวความคิดมาจากการดูว่าชาวกรีกและโรมันประดับกระเบื้องอ่างอาบน้ำอย่างไร เทคนิคนี้เริ่มมาจากชิ้นส่วน 36 ชิ้นในกล้องปัจจุบัน จะเพิ่มเป็น 492 ชิ้นสำหรับโครงการใหม่

ในทางดาราศาสตร์ กระจกยิ่งใหญ่ขึ้น ก็จะรวบรวมแสงจากเอกภพได้มากขึ้น เมื่อทศวรรษก่อน กล้องเคกเคยเป็นกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดบนโลก ด้วยชิ้นส่วนกระจกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางรวม 33 ฟุต(10 เมตร) อย่างไรก็ตาม หอสังเกตการณ์ขนาดยักษ์ทั้งสามแห่งที่กำลังร่างแผนการสร้าง จะทำให้เคกดูเล็กลงไปถนัดตา
- กล้องโทรทรรศน์ยักษ์แมกเจลแลน ซึ่งเป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยอเมริกัน 6 แห่ง, วิทยาลัยออสเตรเลีย 1 แห่ง, หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์สมิธโซเนียน และสถาบันคาร์เนกี้แห่งวอชิงตัน จะสร้างกล้องนี้ที่ ลาส คัมพานาส ในชิลี ประมาณปี 2016 กระจกมีขนาด 80 ฟุต ค่าใช้จ่ายประมาณ 500 ล้านดอลลาร์
- กล้องโทรทรรศน์สามสิบเมตร(The Thirty Meter Telescope) เป็นสมบัติร่วมของ สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย(CALTECH), มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และกลุ่มมหาวิทยาลัยแคนาดาเพื่อการวิจัยดาราศาสตร์ กระจกมีขนาด 98 ฟุต สร้างเสร็จในปี 2018 แต่ยังไม่ได้เลือกสถานที่สร้าง ค่าใช้จ่ายประมาณ 780 ล้านดอลลาร์
- กล้องโทรทรรศน์ใหญ่สุดยอด(ELT) ของยุโรป เป็นความร่วมมือของประเทศยุโรปที่เรียกว่า หอสังเกตการณ์ทางใต้ของยุโรป(ESO) ซึ่งมีกล้องอยู่ที่ชิลีแล้ว และกำลังตั้งเป้าที่จะมีกล้องใหม่ที่มีกระจกใหญ่ถึง 138 ฟุต ซึ่งลดขนาดมาจากที่เคยวางแผนที่ 328 ฟุต ทางยุโรปตั้งเป้าว่าจะแล้วเสร็จในปี 2018 แต่ยังไม่ได้เลือกสถานที่เลย ค่าใช้จ่ายน่าจะถึง 1.17 พันล้านดอลลาร์

ผู้จัดการของโครงการเหล่านี้ค่อนข้างมั่นใจว่าพวกเขาจะได้เงินทุนที่ต้องการเพื่อสร้างหอยักษ์จนแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์บางคนเป็นห่วงว่าอาจจะไม่มีเงินทุนจากเอกชนหรือรัฐบาลมากพอที่จะเกื้อหนุนโครงการทั้งหมดไว้ ดังนั้นจึงต้องช่วยตัวเองด้วยการแข่งขันกันหาเงินทุน

ถ้าแล้วเสร็จ กล้อง ELT จะเป็นกล้องที่ใหญ่ที่สุดและน่าจะสามารถเห็นภาพได้คมชัดกว่ากล้องภาคพื้นดินในปัจจุบัน 20 ถึง 100 เท่า กล้องฮับเบิลเองจะด้อยกว่าด้วยซ้ำ John Mather นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลปี 2006 นักวิทยาศาสตร์อาวุโสโครงการกล้องเจมส์ เวบบ์ กล่าวว่า โห คุณยังไม่ได้เห็นอะไรเลย กล้องเวบบ์มูลค่า 4.5 พันล้านดอลลาร์ ออกแบบมาให้เดินทางสูง 9 แสนไมล์เลยจากวงโคจรโลกออกไปอีก เพื่อที่จะไม่เจอกับการรบกวนจากชั้นบรรยากาศเหมือนกับกล้องภาคพื้น มันเองก็จะใช้ระบบ adaptive optic ในแบบของมันด้วย เนื่องจากความปั่นป่วนเรื่องอุณหภูมิในห้วงอวกาศ กล้องจะต้องปรับรูปร่างกระจกของมันโดยอัตโนมัติ กระจกของเวบบ์ ซึ่งจะใหญ่กว่ากระจกของฮับเบิลประมาณ 2.5 เท่า มี 18 ชิ้น

ขณะที่สถานที่อย่างอริโซน่า และฮาวาย เป็นแหล่งสร้างภาพจากอวกาศคุณภาพสูง ชิลีเองก็เป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับกล้องในรุ่นถัดไป ทั้งกล้อง 30 เมตรและกล้องของยุโรปก็กำลังมองหาสถานที่หลายๆ แห่ง แม้ว่าทีมกล้อง 30 เมตรจะกำลังเลือกระหว่าง Baja ในเมกซิโก กับฮาวาย สิ่งที่ต้องการก็คือส่วนผสมที่ถูกต้องระหว่างสภาพชั้นบรรยากาศ, สภาพอากาศ, ระดับความสูง, ลมบน และท้องฟ้ามืดๆ

แต่ยังมีงานอื่นที่นอกเหนือจากกล้องขนาดเบิ้มด้วย กล้องขนาดเล็กกว่าเพื่อใช้กับงานเฉพาะก็กำลังอยู่ในช่วงออกแบบและก่อสร้างในช่วงต่างๆ

กล้อง Large Synoptic Survey มูลค่า 400 ร้อยดอลลาร์จะสร้างในชิลีในปี 2014 เพื่อสำรวจท้องฟ้า, เก็บภาพวัตถุ 20 พันล้านดวงในเอกภพ และมองหาเป้าหมายสำหรับกล้องใหญ่ โครงการหนึ่งที่วางแผนสร้างในฮาวายจะมองหาดาวเคราะห์น้อยพิฆาต และในชิลีเอง ก็มีจานรับสัญญาณความแม่นยำสูงหลายสิบจานกำลังติดตั้งเพื่อหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุขนาดใหญ่ที่เรียกว่า ALMA ซึ่งจะเฝ้าดูเอกภพในแบบที่แตกต่างออกไป อย่างไรก็ตาม กล้อง 30 เมตรก็เป็นโครงการกล้องใหญ่ที่สุดที่กำลังผลักดันกันอยู่ จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากเกี่ยวกับภาพของเอกภพ Nelson กล่าวถึงโครงการกล้อง 30 เมตรว่า จะทำให้คุณอ้าปากค้างด้วยภาพวัตถุสลัวๆ ที่แม้แต่ฮับเบิลก็มองไม่เห็น






แหล่งที่มา:
space.com : eyes to the skies getting bigger





ด้วยรัก....


Create Date : 07 มีนาคม 2551
Last Update : 7 มีนาคม 2551 14:49:54 น. 2 comments
Counter : 1079 Pageviews.

 
very good come to my blog too
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=youitonnie&group=4


โดย: youi (kanita_ket ) วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:16:38:14 น.  

 


โดย: 15 ธันวา IP: 125.24.137.131 วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:16:48:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com