<<
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
15 กันยายน 2549
 
 
ครึ่งทางปฏิบัติการแคสสินี .....

เมื่อยานแคสสินี(Cassini) เข้าสู่ครึ่งทางการสำรวจระบบดาวเสาร์ การค้นพบที่เกิดขึ้นจากครึ่งแรกของปฏิบัติการก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์ใจจดจ่อที่จะหาว่ายังมีอะไรรออีกในครึ่งหลัง แคสสินีโคจรรอบดาวเสาร์ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2004 ได้ศึกษาดาวเคราะห์, ระบบวงแหวน และดวงจันทร์


ดาวเสาร์และวงแหวนของมัน


Robert T. Mitchell ผู้จัดการโครงการแคสสินีจาก JPL กล่าวว่า ยานได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งเพื่อศึกษาดวงจันทร์ไททัน(Titan) ในการบินผ่าน 15 ครั้ง และในครึ่งหลังของปฏิบัติการหลักที่จะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน 2008 ก็จะบินผ่านอีก 30 ครั้ง ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเป็นแค่การอุ่นเครื่อง Toby Owen นักวิทยาศาสตร์แคสสินีที่มหาวิทยาลัยฮาวาย ที่มาเนา กล่าวว่า เราสนใจไททันเป็นพิเศษเนื่องจากเราคิดว่ามันอาจจะบอกเราเกี่ยวกับโลกในช่วงแรกได้ เขากล่าวเพิ่มว่า การทดสอบโลกเยือกแข็งใบนี้ เราได้พบหลักฐานว่าโลกอาจจะเริ่มต้นขึ้นมาโดยมีชั้นบรรยากาศมีเธน -แอมโมเนียเหมือนไททัน เนื่องจากโลกของเราอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ โลกจึงมีมหาสมุทรน้ำของเหลวในขณะที่ไททันไม่มี สารเคมีที่ได้จากการที่โลกอุ่นมีส่วนสำคัญที่นำไปสู่กำเนิดของชีวิต ในขณะที่ไททันเราพบเพียงภาพสะท้อนของโลกในยุคแรกซึ่งถูกแช่แข็งไว้เป็นโมเลกุลมีเธน, ไนโตรเจน และโมเลกุลสารอินทรีย์ขนาดเล็กอื่นๆ ความสมดุลละเอียดอ่อนบนโลกของเรา, สภาวะอากาศที่อุ่นเป็นเหตุผลที่เราได้สำรวจไททัน แทนที่พวกไททันจะได้สำรวจโลก
การท่องระบบดาวเสาร์ของแคสสินีก็กำลังจะเข้าสู่หนทางใหม่ๆ Jerry Jones หัวหน้าทีมนำร่องของแคสสินีที่ JPL กล่าวว่า ฤดูร้อนนี้เราจะเริ่มการท่องแบบด่วน ในช่วง 11 เดือนจะผ่านเข้าใกล้ไททัน 17 ครั้งและมีการปรับเส้นทางยานอีก 51 ครั้ง กล่าวก็คือ มีการปรับเส้นทางมากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งอาทิตย์ การผ่านเข้าใกล้ไททันครั้งแรกในช่วงครึ่งหลังเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฏาคม ตามมาด้วยการผ่านเข้าใกล้ไททันมากที่สุดในวันที่ 22 กรกฏาคมที่ระยะ 950 กิโลเมตรเหนือพื้นผิว
ในเดือนกรกฏาคม ผู้นำร่องจะเริ่มปรับเส้นทางการโคจรของโลกเทียบกับดวงอาทิตย์ให้เป็นเกือบ 180 องศา เป็นผลให้เห็นระบบวงแหวนดาวเสาร์จากมุมสูง จะใช้เวลาหนึ่งปี Bill Kurth นักวิทยาศาสตร์แคสสินีจากมหาวิทยาลัยไอโอวา กล่าวว่า หนึ่งในปริศนาที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งที่ท้าทายแคสสินีก็คือการเปลี่ยนแปลงที่เราได้เห็นในการเปล่งคลื่นวิทยุจากดาวเสาร์ เราเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นคาบ ความถี่ของการเปล่งคลื่นบอกเราว่าดาวเคราะห์หมุนรอบตัวเร็วหรือช้าแค่ไหน การเปลี่ยนแปลงมีมากถึง 1% (หรือประมาณ 1 นาที) ในช่วง 10 ปี และเราก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร การจับตาดูว่าวันบนดาวเสาร์ยาวนานแค่ไหนจะเป็นกุญแจเพื่อเข้าใจสิ่งอื่นๆ เช่นความเร็วลม
แคสสินียังมีงานที่ต้องทำในช่วงครึ่งหลังของปฏิบัติการที่ต้องผสมผสานการค้นพบในช่วงครึ่งแรก ข้อมูลจำนวนมหาศาลจากยานแคสสินีและจากยานฮอยเกนส์(Huygens probe) ของอีซ่า(ESA) ซึ่งดิ่งลงผ่านชั้นบรรยากาศขมุกขมัวของไททัน แสดงให้เห็นว่าไททันเหมือนกับโลก มีหลักฐานฝนมีเธน, การกัดเซาะ, คลองที่แห้งขอด, ก้นทะเลสาบแห้ง, สิ่งที่อาจเป็นภูเขาไฟ และทุ่งเนิน(dune) ที่กว้างเป็นไมล์ นอกจากการค้นพบบนไททันแล้ว แคสสินียังพบดวงจันทร์ใหม่อีก 3 ดวง และดวงจันทร์เก่าที่พบมาก่อนหน้าก็มีเรื่องให้อัศจรรย์ใจอีก หนึ่งในการค้นพบที่น่าพิศวงคือ ภูเขาขนาดใหญ่ที่วางตัวตามแนวศูนย์สูตรของดวงจันทร์ไอเอพีตัส(Iapetus) เทียบได้กับภูเขาโอลิมปัส(Olympus Mons) บนดาวอังคารซึ่งสูงกว่ายอดเอเวอร์เรสต์เกือบ 3 เท่า ดวงจันทร์อื่นๆ ก็ดูเหมือนจะเป็นกองหินเกาะกัน
แคสสินียังให้ภาพวงแหวนดาวเสาร์ที่ละเอียดสูงที่สุดเท่าที่เคยถ่ายมา โครงสร้างประหลาดในวงแหวนปรากฏขึ้นให้เห็นตั้งแต่วันแรกของการท่องระบบดาวเสาร์ ละแวกคลื่นในวงแหวนซึ่งโครงสร้างปมและแถบสร้างมันขึ้น ปรากฏกระจุกน้ำแข็งความกว้างหลายกิโลเมตรให้เห็น นักวิทยาศาสตร์ยังเห็นอิทธิพลของดวงจันทร์ต่อวงแหวน ดวงจันทร์โพรมิเธียส(Prometheus) ถูกพบว่ากำลังขโมยอนุภาคจากวงแหวน F ขณะที่เอนเซลาดัส(Enceladus) ก็ดูเหมือนจะปล่อยอนุภาคให้กับวงแหวน E ที่กว้างของดาวเสาร์ ดวงจันทร์ขนาดเล็กประเภทใหม่ที่อาจจะอยู่ภายในวงแหวนของดาวเสาร์ การค้นพบวงแหวนใหม่ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของดวงจันทร์ขนาดเล็กมาก
สิ่งที่เป็นสีสันที่สุดก็คือการค้นพบน้ำพุน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่พุ่งจากพื้นผิวของเอนเซลาดัส หลักฐานนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าอาจมีน้ำของเหลวอยู่ใกล้พื้นผิวดวงจันทร์ดวงนี้ จากการค้นพบทั้งหมดในช่วงสองปีแรก นักวิทยาศาสตร์แคสสินีก็ยังเฝ้ารอจะเห็นว่ายังเหลืออะไรให้เครื่องมือของพวกเขาได้ตรวจจับในอีกสองปีข้างหน้า



แหล่งข่าว
jpl.nasa.gov : NASA’s Cassini spacecraft marks mission halfway point

rook (sararook@hotmail.com) : รายงาน




Create Date : 15 กันยายน 2549
Last Update : 22 กันยายน 2549 16:20:48 น. 1 comments
Counter : 962 Pageviews.

 
ดาวเสาร์จัดเป็นดาวเคราะห็วงนอก ปะเภทกลุ่มก๊าซขนาดใหญ่...


โดย: pooktoon วันที่: 22 กันยายน 2549 เวลา:18:06:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com