<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
24 กุมภาพันธ์ 2555
 
 
MESSENGER เข้าสู่วงโคจรรอบดาวพุธ



หลังจากวนเวียนผ่านระบบสุริยะส่วนในมาสิบกว่าเที่ยว ยาน MESSENGER ของนาซ่าได้เข้าสู่วงโคจรรอบดาวพุธในวันที่ 17 มีนาคม 2012 ยานได้นำอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ 7 อย่างและเตรียมตัวเผชิญกับสภาวะแวดล้อมทารุณใกล้ดวงอาทิตย์ มันเป็นยานลำแรกที่โคจรรอบดาวเคราะห์วงในสุด






ยาน MESSERGER ได้ถ่ายภาพประวัติศาสตร์แสดงดาวพุธโดยเป็นครั้งแรกที่ถ่ายจากยานในวงโคจรรอบดาวเคราะห์วงในสุดของระบบสุริยะ

เมื่อเวลา 8.45 pm ตามเวลาฝั่งตะวันออก MESSENGER ได้หันจรวดใหญ่ที่สุดของมันให้ใกล้มากกับทิศทางการเดินทาง เพื่อจุดระเบิดจรวดเกือบ 14 นาที พร้อมกับจรวดตัวอื่นๆ เสริมบ้าง เพื่อชะลอความเร็วของยานลงไป 862 เมตรต่อวินาที และกินเชื้อเพลิง 31% ของที่ยานนำไปด้วย มีเชื้อเพลิงเหลือไม่ถึง 9.5% ให้ใช้ได้หลังจากเสร็จสิ้นการเข้าสู่วงโคจรนี้ แต่ยานยังมีเชื้อเพลิงมากพอที่จะใช้ปรับวงโคจรในอนาคต ขณะนี้ดาวพุธมีดาวเทียมโคจรแล้วเป็นครั้งแรก


การเข้าสู่วงโคจรจะนำยานเข้าสู่การโคจร 12 ชั่วโมงรอบดาวพุธด้วยระดับความสูงต่ำสุดที่ 200 กิโลเมตร ในช่วงที่เข้าสู่วงโคจร MESSENGER อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 46.14 ล้านกิโลเมตร และห่างจากโลก 155.06 ล้านกิโลเมตร MESSENGER ใช้เวลา 6 ปีเพื่อกลายเป็นยานลำแรกที่โคจรรอบดาวพุธ ยานได้เดินทางผ่านระบบสุริยะวงในซึ่งประกอบด้วยการบินผ่านโลก 1 ครั้ง, ดาวศุกร์ 2 ครั้งและดาวพุธ 3 ครั้ง การเดินทางอันน่าประทับใจนี้เป็นการนำยานกลับไปสู่ดาวพุธอีกครั้งนับตั้งแต่ปฏิบัติการมาริเนอร์ 10 เมื่อสามสิบกว่าปีก่อน


ในวันที่ 7 มีนาคม เสาอากาศจากสถานีภาคพื้นดินเครือข่ายอวกาศห้วงลึก(Deep Space Network) จากทั้งสามจานได้เริ่มจับตาดู และช่วยให้วิศวกรควบคุมการบินที่ห้องทดลองฟิสิกส์ประยุกต์(APL) มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกินส์ ได้สำรวจ MESSENGER ในช่วงสุดท้ายที่เข้าใกล้ดาวพุธอย่างต่อเนื่อง ยานยังเริ่มดำเนินการตามคำสั่งปฏิบัติการ เมื่อชุดคำสั่งประกอบด้วยการจุดจรวดเข้าสู่วงโคจร


Eric Finnegan วิศวกรระบบ MESSENGER กล่าวว่า นั้นเป็นหลักชัยสำคัญสำหรับทีมดำเนินการเล็กๆ แต่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ของเรา กลายเป็นจุดจบที่ประสบความสำเร็จในการประคับประคองยานตลอดหกปีครึ่ง, ผ่านการบินผ่านดาวเคราะห์ 6 ครั้ง และปรับเส้นทางอีก 16 ครั้ง เดินทางทั้งหมดประมาณ 7.9 พันล้านกิโลเมตร ทั้งหมดทำเพื่อเตรียมเข้าสู่วงโคจรและทำงานตามปฏิบัติการหลักไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่ทีมวิศวกรที่อุทิศตนอย่างมากมายก็ได้ทำงานอย่างเป็นปรากฏการณ์ทั้งสร้าง, ทดสอบและใส่คำสั่งให้กับยาน นำ MESSENGER ไปอยู่ในที่ที่มันอยู่ในวันนี้


Sean Solomon หัวหน้าโครงการ MESSENGER ที่สถาบันคาร์เนกี้แห่งวอชิงตัน กล่าวว่า ช่วงการเดินทางของปฏิบัติการ MESSENGER ได้เดินมาถึงจุดจบ การเข้าสู่วงโคจรเป็นความพยายามขั้นสุดท้ายเพื่อเข้าสู่เกมในอีกระดับหนึ่ง คือการดำเนินงานยานลำแรกที่โคจรรอบดาวเคราะห์วงในสุดของระบบสุริยะ นั้นเป็นการเริ่มปฏิบัติการของจริง และเราก็พร้อมสำหรรับการเรียนรู้เกี่ยวกับเพื่อนบ้านที่ใกล้โลกมากที่สุดอีกดวงเป็นครั้งแรก ยานจะเริ่มงานวิทยาศาสตร์ในวันที่ 4 เมษายน และสำรวจดาวเคราะห์จากวงโคจรไปอีก 12 เดือน


MESSENGER จะทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธแสดงรายละเอียดและสำรวจองค์ประกอบ, สนามแม่เหล็ก, ประวัติทางธรณีวิทยาของดาวเคราะห์ และชั้นบรรยากาศที่บางเบาของมัน นักวิทยาศาสตร์หวังว่ายานจะช่วยให้พวกเขาเข้าใจสิ่งต่างๆ บนดาวเคราะห์ดวงนี้ได้มากขึ้น Solomon กล่าวว่า ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่มีอะไรหลายๆ อย่างเกิดขึ้น สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากช่วงบินผ่านเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงทุกๆ สิ่งเข้าด้วยกัน


เป้าหมายโดยรวมของปฏิบัติการ MESSENGER ก็เพื่อใช้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับดาวพุธเพื่อเรียนรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับว่าระบบสุริยะของเรา(และระบบสุริยะอื่นโดยทั่วไป) ก่อตัวและพัฒนาอย่างไร ในช่วงหลายอาทิตย์หลังจากนั้น ทีมปฏิบัติการจะเปิดเครื่องและตรวจสอบชุดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ทั้งเจ็ดของ MESSENGER เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างทำงานได้สมบูรณ์แบบ


ยานได้ถ่ายภาพดาวพุธจากวงโคจรเมื่อวันที่ 29 มีนาคม เมื่อเวลา 0920 ตามมาตรฐาน GMT ภาพแสดงภูมิประเทศสีเทาทางใต้ของดาวพุธ ภาพนี้มีหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่แห่งหนึ่งปรากฎโดดเด่น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการอธิบายในแถลงการณ์ว่า ภาพนี้เป็นภาพแรกที่เคยถ่ายจากยานในวงโคจรรอบดาวเคราะห์วงในสุดของระบบสุริยะ


ภาพใหม่แสดงพื้นที่รอบขั้วใต้ของดาวพุธ โดยมีหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า เดอบุสซี่(Debussy) กว้าง 85 กิโลเมตรปรากฎโดดเด่นทางขวาบนของภาพ โดยมีรัศมีสว่างจากใจกลางหลุม หลุมที่มีขนาดเล็กกว่าชื่อว่า มาทาไบ(Matabei) ซึ่งมีความกว้าง 24 กิโลเมตรและทราบกันว่ามีรัศมีสีมืดซึ่งผิดปกติ ก็ปรากฎในภาพทางตะวันตกของเดอบุสซี่




rook :รายงาน

แหล่งที่มา:
astronomy.com : MESSENGER poised for Mercury orbit insertion

space.com : NASA probe becomes first spacecraft to orbit Mercury

space.com : NASA spacecraft snaps 1st photo of Mercury from orbit



Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2555 1:24:30 น. 2 comments
Counter : 957 Pageviews.

 

เวลคุมทูบล็อกแก๊งค์จ้าน้องตูน


โดย: อุ้มสี วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:21:56:05 น.  

 
ไปได้ถึงดาวพุธนี่ทนทานมั่กๆ
หลังจากโซเวียตเจ๊งไปนี่วงการดาราศาสตร์สหรัฐคงวิจัยต่อไปอย่างเงียบเหงาๆเนอะ


โดย: ชีริว วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:11:15:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com