<<
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
9 พฤศจิกายน 2549
 
 

ดาวพุธทรานสิท ...

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจอันหนึ่ง และหาดูได้ค่อนข้างยากนั่นก็คือ "ดาวเคราะห์ทรานสิท" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ดาวเคราะห์เคลื่อนมาบังดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นได้เฉพาะดาวเคราะห์วงในเท่านั้น นั่นก็คือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ซึ่งโอกาสที่ดาวเคราะห์ดวงเล็กๆนี้จะมาอยู่ในตำแหน่งที่บังดวงอาทิตย์ได้นั้นเกิดขึ้นน้อยครั้งมาก ดาวศุกร์มีจำนวนครั้งในการเกิดน้อยกว่าดาวพุธ ซึ่งทรานสิทของดาวพุธจะคาบการเกิดอยู่ระหว่าง 3 ปีถึง 13 ปี
ล่าสุดดาวพุธทรานสิทเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พศ.2546 ในครั้งนั้นเราสามารถเห็นการบังกันตลอดช่วงกินเวลานาน 5 ชั่วโมง 29 นาที และจะขึ้นอีกครั้งวันที่ 9 พฤศจิกายน พศ.2549 ที่จะถึงนี้ กินเวลานาน 4 ชั่วโมง 58 นาที แต่สำหรับประเทศไทยในครั้งนี้มองไม่เห็นได้ตลอดช่วงปรากฏการณ์ จะเห็นได้ช่วงที่ดวงอาทิตย์กำลังขึ้น บริเวณที่สามารถมองเห็นได้ตลอดช่วงจะอยู่ทางแถบประเทศนิวซีแลนด์ และบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิค หรือแถบหมู่เกาะฮาวาย ดังรูปข้างล่างนี้




ช่วงการเกิดปรากฏการณ์
เราแบ่งการสัมผัสของดาวพุธออกเป็น 5 ช่วงคือ
สัมผัสที่ 1 เมื่อขอบของดาวพุธเริ่มแตะขอบของดวงอาทิตย์ เวลา 19.12 UT ของวันที่ 8 พย.49 หรือ 02.12 น. ของวันที่ 9 พย. 49 ตามเวลาในประเทศไทย ซึ่งดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นจากขอบฟ้า ทำให้เราไม่สามารถเห็นปรากฏการณ์ช่วงนี้ได้
สัมผัสที่ 2 เมื่อดาวพุธทั้งดวงเข้ามาอยู่ในดวงอาทิตย์พอดี เวลา 19.13 UT หรือเวลา 02.13 น. ตามเวลาในประเทศไทย
สัมผัสที่ 1 และ 2 มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Ingress Transit หรือ ทรานสิทช่วงเข้า
Greatest Transit (ตำแหน่งหมายเลข 5) หรือช่วงเวลาทรานสิทมากที่สุด เป็นตำแหน่งที่แนวการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ตั้งฉากกับจุดศูนย์กลางดวงอาทิตย์พอดี เวลา 21.41 UT หรือ 04.41 น. ตามเวลาในประเทศไทย ซึ่งดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ขึ้นจากขอบฟ้า
สัมผัสที่ 3 เมื่อขอบของดาวพุธเริ่มแตะขอบของดวงอาทิตย์อีกครั้งก่อนออก เวลา 00.08 UT หรือ 7.08 น. ตามเวลาในประเทศไทย
สัมผัสที่ 4 เมื่อขอบของดาวพุธแตะขอบนอกของดวงอาทิตย์ เวลา 00.10 UT หรือเวลา 7.10 น. ตามเวลาในประเทศไทย
สัมผัสที่ 3 และ 4 มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Egress Transit หรือ ทรานสิทช่วงออก


ในวันนั้นดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าเวลา 06.15 น. ซึ่งเป็นช่วงต่อระหว่าง Greatest Transit ถึงสัมผัสที่ 3 ก่อนที่ดาวพุธจะออกจากดวงอาทิตย์ (ตำแหน่งเครื่องหมาย V) ทำให้เรามีเวลาเพียง 53 นาทีเท่านั้นที่จะสามารถเห็นปรากฏการณ์นี้ได้หลังจากที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ดังนั้นผู้สังเกตจะต้องเลือกสถานที่ที่เหมาะที่สุด ได้เห็นดวงอาทิตย์เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

การสังเกตปรากฏการณ์
การดูดวงอาทิตย์นั้นจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากแสงอาทิตย์นั้นรุนแรงถึงขั้นทำให้เราตาบอดได้ทันทีเมื่อเรามองดวงอาทิตย์จากกล้องดูดาวไม่ผ่านฟิลเตอร์ที่ได้มาตรฐาน


การใช้กล้องดูดาวผ่านฟิลเตอร์ดูดวงอาทิตย์

ดาวพุธในวันนั้นจะมีขนาดเชิงมุมกว้าง 10 arcsec ขณะที่ดวงอาทิตย์มีขนาดกว้าง 1937 arcsec หรือประมาณ 0.005 เท่าของดวงอาทิตย์เท่านั้น เราจึงเห็นดาวพุธเป็นเพียงจุดเล็กๆสีดำเคลื่อนที่อย่างช้าๆผ่านดวงอาทิตย์ไปเท่านั้น

ครั้งต่อไปดาวพุธจะทรานสิทให้ประเทศไทยได้เห็นอีกวันที่ 9 พฤษภาคม พศ.2559 หรืออีกราว 10 ปีข้างหน้า

รวมภาพดาวพุธทรานสิทเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พศ.2546








สบายกายใจดีคับ..ออิ




 

Create Date : 09 พฤศจิกายน 2549
4 comments
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2549 20:20:14 น.
Counter : 1239 Pageviews.

 

สงสัยต้องเข้ามาหาข้อมูลเรื่องดาวบ่อยละมั้งนี่

 

โดย: P Q BOY 9 พฤศจิกายน 2549 22:40:05 น.  

 

 

โดย: หมวยเล็ก IP: 61.7.182.26 1 มกราคม 2550 16:18:25 น.  

 

ดีจ้า

 

โดย: ดีจ้า IP: 61.19.65.216 29 มิถุนายน 2551 23:26:23 น.  

 

ดีจ้า

 

โดย: ไม่บอก IP: 203.155.2.133 25 ธันวาคม 2551 10:32:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com