ยกไม้ การคิด ปริมาณไม้แบบไทยๆ
"ยกไม้" ไม่ใช่หน่วย ของปริมาตรไม้ครับ
แต่ "ยกไม้" เป็นหน่วยของ "พื้นที่" จุดนี้ต้องจำให้ขึ้นใจ
เทียบเท่ากับ ไม้ที่จะนำมาปูพื้นที่ได้ 16 ตารางเมตร
ใช้เป็นหน่วยของไม้กระดาน เพื่อนำมาปูพื้นกระดานครับ
เป็นหน่วยที่แปลกมาก พวกเราที่เรียนมาในโรงเรียน พอรู้แล้วจะงง ผมก็งง มาตลอด กระทั่งได้ อ่านหนังสือ ของคุณเฉลี่ยว เอี่ยมตระกูล ท่านเป็น ผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าไม้ มาเมื่อ ห้าสิบปีก่อน
อธิบายไว้ดังนี้
ปริมาณไม้หนึ่งยก คือ ปริมาณของไม้"กระดาน" ที่กว้าง 1 ศอก ยาว 16 วา
หรือคิดอีกวิธีหนึ่งคือ "ไม้กระดาน" ที่ใช้ปูพื้นที่ได้ 4 ตารางวา มาจาก พื้นที่กว้าง 2 วา ยาว 2 วา ถ้าหา "ไม้กระดาน" มาปูในพื้นที่ที่ว่าได้พอดี ไม้ ปริมาณที่ว่านี้ คือ "ไม้หนึ่งยก"
ข้อสำคัญ ยกของไม้กระดานที่มีความหนาต่างกัน จะมีปริมาตรต่างกันไปด้วย เพราะ เขาคิดเฉพาะ พื้นที่ ไม่ได้คิดความหนาเข้าไปด้วย หากอยากรู้ว่า มีปริมาตรเท่าใด ก็เอาความหนาคูณเข้าไป จะได้ปริมาตรออกมา
ดังนั้น ไม้ที่มีความหนามากกว่า แม้จำนวนยก เท่ากัน จะมีราคาแพงกว่าครับ
ด้วยเหตุเช่นนี้เอง ช่างไม้ จึงคิดไม้กระดานเป็นยก และคิดไม้เสาเป็น ศอก หรือวา หรือท่อน ไม่คิดเป็นยก
หนึ่งศอกนั้น วันนี้มี 20 นิ้ว หรือประมาณ 50 เซ็นต์ แต่ครั้งก่อน หรือบางท้องถิ่น ยังใช้ความยาว 50 เซ็นต์นี้ แบ่งเป็น 24 ส่วน และเรียก 24 ส่วนนี้ว่า 24 นิ้ว
เรียกว่า 24 นิ้วไทย
ส่วน 20 นิ้วที่เราเห็นในไม้บรรทัดนักเรียน หรือในตลับเมตรนั้น เขาเรียกว่า 20 นิ้วฟุต
ก่อนซื้อก่อนขาย ต้องถามกันก่อนว่า หนึ่งศอกมีกี่นิ้ว และหนึ่งเมตรมีกี่ศอก
ไม่งั้นเถียงกันตาย
นี่เป็นการคิดยกแบบภาคกลาง
ส่วนการคิดยก แบบภาคเหนือ นั้น รายละเอียดต่างกันคือ เขาจะนำความหนาของไม้มาคิดด้วย การคิดความหนาเพิ่มเข้าไปนั้น เขานำมาบวกเข้าตรงๆ กับความกว้าง ได้เท่าใด ก็เอาความยาวคูณเข้าไป เช่นไม้กระดานหน้ากว้าง 6 นิ้ว หนา 1 นิ้ว เขาจะคิดเป็นความกว้าง 7 นิ้ว แล้วเอาเลข 7 นี้ไปคิดกับความยาว ได้ออกมาเป็นพื้นที่ไม้หนึ่งแผ่น
ขณะที่ภาคกลาง คิดเพียง 6 นิ้วตรงๆ เท่านั้น ด้วยวิธีคิดยกแบบคนเหนือนี้ ยกของคนเหนือ จะได้ปริมาณไม้น้อย กว่า ยกไม้ ของภาคกลางครับ
มาดูการคิดยกของภาคกลางกัน
ตัวอย่างเช่น ไม้กระดาน หน้ากว้าง 6 นิ้วฟุต หนา 1 นิ้ว ยาว 1 วา การคิด จำนวนแผ่นของไม้หนึ่งยก ของภาคกลางจะคิดได้ อย่างนี้ครับ (ไม่นำความหนา 1 นิ้วมาคิดด้วย)
ก่อนอื่น แปลงหน่วยทำความกว้าง 6 นิ้ว เป็น หน่วย ของความยาว วา ได้ = 6นิ้ว / 20 นิ้ว (เพื่อให้เป็นศอก) = 6/ 20 / 4 (ทำศอกเป็นวาอีกครั้ง) ความยาว 1 วา หรือสองเมตร ก็ใช้เลข 1 ได้เลย
จำนวนไม้กระดานหนึ่งยก = พื้นที่ไม้ 4 ตารางวา / พื้นที่ไม้กระดานหนึ่งแผ่น = 4 / { ( 6 / 20 / 4 ) x 1 } = 53.3 แผ่น
ทีนี้ จะคิดเป็น ลบ. ฟุต ได้อย่างไร ไม่ยากครับ หนึ่ง ลบ.ฟุต มี 1,728 ลบ.นิ้ว
เรามีพื้นที่แล้ว คือ 4 ตารางวา ก็แปลง 4 ตารางวา เป็น ตารางนิ้วเสียก่อน ได้ = (2 x 39.37) x (2 x 39.37 ) ..... มาจาก สองวา คูณสองวาครับ หนึ่งวา มี 39.37 นิ้ว = 6199.9876 หรือ = 6,200 ตารางนิ้ว
เอาความหนามาคูณ = 6,200 ตารางนิ้ว x 1 นิ้ว(มาจากความหนาที่มีหนึ่งนิ้ว) = 6,200 ลบ.นิ้ว
แล้วนำ 1,728 มาหาร ตัวเลขข้างบน = 6,200 / 1,728 = 3.58796 ลบ ฟุต
ก้อประมาณ สาม ลบ. ฟุตครึ่งครับ
ผมอธิบายให้โดยละเอียดแล้ว คงเข้าใจดีนะครับ
ขอบคุณ คุณบุญถิ่นมากครับ ที่ผิด คือข้างล่างนี่ครับ ....................................................................
เรามีพื้นที่แล้ว คือ 4 ตารางวา ก็แปลง 4 ตารางวา เป็น ตารางนิ้วเสียก่อน ได้ = (2 x 39.37) x (2 x 39.37 ) ..... มาจาก สองวา คูณสองวาครับ หนึ่งวา มี 39.37 นิ้ว = 6199.9876 หรือ = 6,200 ตารางนิ้ว
เอาความหนามาคูณ = 6,200 ตารางนิ้ว x 1 นิ้ว(มาจากความหนาที่มีหนึ่งนิ้ว) = 6,200 ลบ.นิ้ว
แล้วนำ 1,728 มาหาร ตัวเลขข้างบน
= 6,200 / 1,728 = 3.58796 ลบ ฟุต
ก้อประมาณ สาม ลบ. ฟุตครึ่งครับ
.........................................................................
แก้เป็น
ได้ = (2 x 78.74) x (2 x 78.74 ) ..... มาจาก สองวา คูณสองวาครับ หนึ่งวา มี 78.74 นิ้ว = 24,799.95 หรือ = 24,800 ตารางนิ้ว
เอาความหนามาคูณ = 24,800 ตารางนิ้ว x 1 นิ้ว(มาจากความหนาที่มีหนึ่งนิ้ว) = 24,800 ลบ.นิ้ว
แล้วนำ 1,728 มาหาร ตัวเลขข้างบน
= 24,800 / 1,728 = 14.35 ลบ ฟุต
ก้อประมาณ สิบสี่ ลบ. ฟุตครึ่งครับ
ขอบคุณ คุณ บุญถิ่นมากครับ ที่กรุณามาท้วง และช่วยบอกที่ผิดให้ครับ
ขออธิบายความ เป็นสองตอน ตอนแรก
*******การคิดยกไม้แบบชาวเหนือขนานแท้*********
ก่อนอื่นขออธิบายคำว่า ยก ก่อนครับ ที่มาที่ไป ยากจะเดา หากจะเดาเอาแบบคิดเอง เออเอง น่าจะหมายถึง พื้นกระดาน ที่ไม่กว้างหนัก ที่พอจะเรียกคน 15 - 20 คน มาช่วยกันยก ไปได้
เอาหละ ยก หมายถึง พื้นที่ กว้าง 8 ศอก ยาว 8 ศอก คิดเป็นพื้นที่ได้ 64 ตารางศอก เทียบเป็นเมตริกได้คือ กว้าง 4.0 เมตร ยาว 4.0 เมตร คิดเป็น 16 ตารางเมตร ทีนี้ถ้านำ 16 ตารางเมตร มาเทียบกับ 1 ไร่ (ซึ่งมีพื้นที่ 1,600 ตารางเมตร) เราจะได้ 1 % ของหนึ่งไร่พอดี นับว่าเป็น ปริมาณที่แยบคายมากทีเดียว
ยกทางภาคเหนือ จะน้อยกว่าทางภาคกลางเล็กน้อย วิธีคิด มาจาก ความกว้าง 8 ศอก อยู่ตามเดิม เพียงแต่แปลงจากศอกเป็นนิ้วให้สอดคล้องกับความกว้างของ หน้าไม้กระดานที่เราซื้อมานั่นเอง
หนึ่งศอกมี 20 นิ้ว ดังนั้น แปดศอก จะมี 160 นิ้ว เอา 160 มาคูณกับ 8 ศอก จะได้พื้นที่เป็น 1,280 ตารางนิ้ว- ศอกครับ เรียกสั้นๆ ว่า 1,280 นิ้ว ครับ
มาถึงทางเหนือ มีการคิดแบบ ศรีธนณท์ชัยนิดๆ นิ้ว- ศอกนี่ ดูแล้ว คนไม่คุ้นอาจงงบ้าง ท่านคิดโดย เอาความกว้าง เป็นนิ้ว + ความหนาเป็นนิ้ว แล้วนำตัวเลขที่ได้ มาคูณ กับความยาวเป็นศอก ได้ตัวเลขออกมาเป็น ตาราง ของ "นิ้ว- ศอก" เนื่องจาก ช่างทางเหนือ มีการ นำความหนามาบวกเข้ากับ ความกว้าง ดังนั้น พื้นที่จะลดลงหนึ่งนิ้ว เสมอในทุกๆ แผ่นที่ซื้อมา (ถ้าไม้แผ่นนั้นยาว 8 ศอก)
ตัวอย่าง ถามว่า ....ไม้หนึ่งแผ่น กว้าง 1.50 เมตร หนา 0.05 เมตร ยาว 2.00 เมตร คิดเป็นกี่ยก ขั้นตอนการคิด 1. หาความกว้าง + ความหนา เป็นนิ้ว ไม้หน้ากว้าง 1.50 เมตร เปลี่ยนเป็นนิ้วได้ 59 นิ้ว + หนา 0.05 เมตร ความหนา 0.05 เมตรคือ 2 นิ้ว รวมกับความกว้าง 59 นิ้วจะได้เป็น 61 (มาจาก59 + 2) นิ้ว
2. หาความยาวเป็นศอก เทียบ 2.00 เมตร ได้ 4 ศอก
นำตัวเลขที่ได้มาคูณกัน 61 x 4 = 244 "ตารางนิ้ว-ศอก"
การคำนวณแบบนี้ ใช้กับไม้กระดานเท่านั้น เพราะ ผลออกมาเป็นพื้นที่ ไม่ได้ออกมาเป็น ลูกบาศก์ และเช่นกัน จะได้ ออกมาเป็น ยกด้วย หนึ่งยกเท่ากับ 1,280 "ตารางนิ้ว- ศอก"
จากข้างบนเรามีไม้ 244 ตารางนิ้ว-ศอก จะคิดเป็นยก ได้กี่ยกกันล่ะ ? คิดได้อย่างนี้ 244 / 1,280 = 0.19 ยก
อีกแบบหนึ่ง เราได้ ไม้หน้ากว้าง แผ่นละ 8 นิ้ว หนา 1 นิ้ว ยาว 6 ศอก ต้องการซื้อ หนึ่งยก จะได้ไม้กี่แผ่น
คิดอย่างนี้ครับ นำความกว้าง + ความหนา = 8 + 1 ได้ 9 นิ้ว นำศอกมาคูณ ได้ 9 x 6 = 54 นิ้วศอก (ต่อหนึ่งแผ่น) นำไปหาร 1,280 นิ้วศอก ได้อย่างนี้ครับ 1,280/54 = 23.7 แผ่น เขาจะจัดไม้ให้ 24 แผ่น ครับ เขาปัดขึ้นให้ คือ ปัด 23.7 เป็น 24 แผ่น
-----------------------------------------------------
ตอนที่สอง
************ทีนี้มาดูภาคกลางบ้าง****************
ไม้ หน้ากว้าง 8 นิ้ว หนา 1 นิ้ว ยาว 6 ศอก ซื้อหนึ่งยกจะได้กี่แผ่น คิดแบบเดียวกัน แต่ไม่มีการนำความหนามาบวกเข้าไป กว้าง x ยาว = > 8 x 6 = 48 นิ้วศอก นำไปหาร 1,280 นิ้วศอก ได้อย่างนี้ครับ 1,280/48 = 26.67 เขาจะจัดไม้มาให้ 26 แผ่น กับไม้สั้น อีกหนึ่งแผ่น หรือไม่ จะจัดไม้ให้ 27 แผ่น และคิดเงินเพิ่มอีก 1.25 %
จะเห็นว่า ถ้าคิดเป็นยก ทางภาคเหนือจะได้ไม้น้อยกว่าภาคกลาง แต่ไม้ภาคเหนือจะราคาถูกกว่าภาคกลาง 25 30 %
ตัวเลขที่ว่า จำยากมาก เอาแบบนี้ดีกว่า คำว่า 1 ยก หมายถึง ไม้กระดาน ที่สามารถปูพื้นที่ได้ 4 ตารางวา หรือ จะเทียบเป็นเมตริกได้ว่า ไม้กระดานหนึ่งยก ปูพื้นที่ได้ 16 ตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ พื้นที่ 4 x 4 ตารางเมตร แบบนี้ง่ายที่สุด จำได้ง่าย ลืมยาก
เอาหละ เดี๋ยวมีคนมาถามอีก ว่า นิ้วไทย กะนิ้ว ฟุต เป็นอย่างไร
นิ้ว ฟุต นั้นเรารู้กันดีอยู่แล้ว ก็ หนึ่งนิ้ว สองนิ้ว สามนิ้ว ....สิบสองนิ้วเป็นหนึ่งฟุต ที่อยู่ในไม้บรรทัดนั่นไง เรียกว่านิ้วฟุต
เอาหละ ความยาว 1 ศอกไทย เทียบเป็นเมตริกได้ 50 ซม จึงมี 20 นิ้วฟุต (ขาดเกินนิดหน่อย)
ทีนี้ ความยาวเท่ากัน คือ 1 ศอกไทย เทียบเป็นนิ้วไทยได้ 24 นิ้วครับ คือความยาวเดียวกัน 50 ซม. นี่แหละ มาแบ่งเป็นนิ้วไทย จะได้จำนวนช่อง มากกว่า หมายความว่านิ้วไทยนั้น สั้นกว่านิ้วฟุตครับ ดังนั้น ในภาคกลาง เมื่อ 40 - 50 ปีก่อน ถ้าจะซื้อไม้กระดาน ต้องถามกันก่อนว่า นิ้วที่ว่านั้น เป็นนิ้วไทย หรือนิ้วฟุต ไม่ก็ต้องเอาตลับเมตรไปวัดเอาว่าเป็นอย่างไร ความจริง ตลับเมตรนั้น เพิ่งเข้ามาเมื่อ 40 ปีก่อน ช่วง ก่อนปี 2510 นั้นยังไม่มี หรือมี ก็แพงมาก ไม่มีคนใช้ ช่างจะใช้ไม้วัดระยะ กะเอาพอได้เค้า ไม้วัดนั้นเขาพับมาเป็นพับๆ ยาวท่อนละ 6 นิ้วฟุต พับมา 5 แผ่น จะได้ 30 นิ้ว
ส่วนนิ้วไทยนั้น ที่มาไม่ทราบจริงๆ ถ้าจะเดาแบบดำน้ำ คงจะมาจากความกว้างของหัวแม่มือของใครสักคน แล้วถือว่าเป็นหนึ่งนิ้ว หรือไม่ก็เอาระยะ 1 วา มาซอยลงเป็นช่องเล็กๆ ได้ 96 ช่อง แต่ละช่อง เรียกว่า หนึ่งนิ้ว
เทียบนิ้วไทยกับนิ้วฟุต คือ นิ้วไทย จะเป็น 5/6 ของนิ้วฟุต
นิ้วฟุต 1 นิ้ว ยาว 2.54 ซม นิ้วไทย 1 นิ้ว ยาว 2.1167 ซม.
แต่วันนี้ไม่ใช้แล้ว มั้ง ไม่เคยเห็นใครพูดกัน
Create Date : 02 มกราคม 2552 |
|
22 comments |
Last Update : 2 มกราคม 2552 0:49:40 น. |
Counter : 93592 Pageviews. |
|
|
|
ที่ จัดการข้อความ
ให้คลิกที่กล่องสี่เหลี่ยมท้ายสุด
แล้ว คลิก(browse) แล้วก็ใส่ไฟล์
วันนี้ดึกแล้ว ไปนอนละเน้อ
ขอให้มีความสุขกับการเขียนบล็อก