Riding on the waves: การบริหารธุรกิจวันนี้ เหมือนกับการเล่นวินเซิร์ฟโต้คลื่น ซึ่งผู้เล่นต้องทรงตัวอยู่บนกระดานโต้คลื่นให้ได้ ยิ่งวันคลื่นก็ยิ่งแรงและสูงมากขึ้นและมาจากหลายทิศทาง ธุรกิจใดที่สามารถประคองตัวอยู่บนคลื่นได้ตลอดเวลา คือ ผู้ชนะ เพราะธุรกิจจะต้องยืนอยู่ได้ ทั้งขาขึ้นและขาลง จาก รายงานประจำปี 2542 บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่นส์
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
19 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 

331. หนังสือ เรื่อง: นักบริหารสร้างสรรค์ คู่มือ ที่เป็นยิ่งกว่าคู่มือของนักบริหารร่วมสมัย

ชุดบริหารธุรกิจทางเลือก


นักบริหารสร้างสรรค์

คู่มือ ที่เป็นยิ่งกว่าคู่มือของนักบริหารร่วมสมัย

โรเจอร์ อีแวนส์, ปีเตอร์ รัสเซลล์ เขียน
เจษณี สุขจิรัตติกาล แปล
วิศิษฐ์ วังวิญญู บรรณาธิการ
ลิขสิทธิ์ภาษาไทย : สำนักพิมพ์ สวนเงินมีมา 2545
ISBN 974-91116-7-2
พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2546 จำนวน 2,500 เล่ม

ราคา 250.00 บาท






แปลจาก

The Creative Manager
: Finding Inner Vision and Wisdom in Uncertain Times
by Peter Russsell and Roger Evans.
Published by Jossey-Bass, 1992, 168 pages


ปัจจุบันนี้ ชีวิตกำลังก้าวรุดไปรวดเร็วกว่าที่เคยเป็น ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการขยายตัวของข้อเท็จจริง ความรู้ เทคนิค และ การประดิษฐ์คิดค้น เราจึงต้องการมนุษย์ประเภทที่แตกต่างออกไป ซึ่งจะสามารถอยู่ได้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และ จะเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาอย่างที่จะรู้สึกสบายใจกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่มาแบบไม่เคยคาดถึงมาก่อน สังคมที่สามารถผลิตผู้คนพวกนี้ออกมาได้จะอยู่รอด และ เป็นสังคมซึ่งจะไม่ล้มหายตามจากไป

อับราฮัม มาสโลว์ (ค.ศ. 1976)


มีแต่ปัจเจกบุคคลเท่านั้นที่สามารถจะคิด และ ด้วยเหตุนั้น จึงสามารถสร้างค่านิยมแบบใหม่ให้กับสังคม หรือ กระทั่งก่อตั้งมาตรฐานทางศีลธรรมแบบใหม่ ซึ่งชีวิตชุมชนจะต้องดำเนินตาม หากปราศจากบุคลิกภาพอันสร้างสรรค์ที่สามารถจะคิดและตัดสินได้อย่างอิสระ เราก็ไม่อาจจะคิดถึงการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นได้ เหมือนๆกับที่ไม่อาจจะคิดถึงการพัฒนาบุคลิกภาพของปัจเจกบุคคล โดยปราศจากการหล่อเลี้ยงจากชุมชน

ดังนั้น สุขภาวะของสังคม จึงขึ้นอยู่กับความเป็นอิสระของปัจเจกบุคคลที่อยู่ร่วมในสังคม มากเท่าๆกับความแน่นแฟ้นกลมเกลียวกันทางสังคมเลยทีเดียว

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (ค.ศ.1955)


สารบัญ

คำนำ โดย สุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง
เกี่ยวกับผู้เขียนและงานในองค์การต่างๆ
กิตติกรรมประกาศ
บทนำ

1. ตอบสนองอย่างสร้างสรรค์ต่อการเปลี่ยนแปลง

2. ใครคือนักบริหารที่สร้างสรรค์

3. กระบวนการสร้างสรรค์

4. เราสร้างโลกตามที่เราเห็น

5. ปลดปล่อยความคิดเป็นอิสระเพื่อจะสร้างสรรค์

6. สร้างสรรค์ท่ามกลางความเครียด

7. สร้างสรรค์สังคมอีกครั้ง

8. โลกด้านในของนักบริหารที่สร้างสรรค์

9. นักบริหารสร้างสรรค์กับคนอื่นๆ

บทส่งท้าย
เรื่องสร้างสรรค์ของหนังสือเล่มนี้
หนังสืออ่านเพิ่มเติม


บทนำ

มนุษย์เป็นเหยื่อของวิธีคิดและทัศนคติที่ตายตัวของตนเอง

จักรกลในการคิด คือ สมองของเรา ถูกตั้งโปรแกรมไว้ให้ใช้กับโลกที่สูญสิ้นไปแล้ว

โลกเก่าจำเป็นต้องจัดการกับสิ่งต่างๆ อย่าง หิน ไม้ เหล็ก

ส่วนโลกใหม่จำเป็นต้องจัดการกับความสลับซับซ้อน ซึ่งความสลับซับซ้อนก็เป็นเนื้อแท้ของโลกปัจจุบัน

เครื่องมือสำหรับจัดการความสลับซับซ้อนก็คือ การจัดระเบียบ

แต่แนวคิดเรื่องการจัดระเบียบเป็นของโลกเก่าที่ซับซ้อนน้อยกว่านี้มาก ไม่ใช่โลกที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นอย่างทุกวันนี้

และ แนวคิดเหล่านั้น ก็ยังไม่เพียงพอที่จะจัดการกับความซับซ้อนในโลกยุคหน้า ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงปะทุอยู่

สแตฟฟอร์ด เบียร์ (ค.ศ.1975)



บทที่ 1. ตอบสนองอย่างสร้างสรรค์

ในกาลสมัยที่ความรู้ทั้งในเชิงสร้างสรรค์และทำลาย กำลังก้าวหน้าไปแบบก้าวกระโดดอย่างไม่น่าเชื่อมากที่สุด และ ผูกเข้ากับยุคปรมาณูที่น่ามหัศจรรย์ ดูเหมือนว่าทางเป็นไปได้เพียงประการเดียวที่มนุษย์จะสามารถไล่ทันการเปลี่ยนแปลงอันพลิกผันดุจกล้องกาไลโดสโคปในโลกของตน คือ การปรับตัวอย่างสร้างสรรค์โดยแท้จริง...

ปัจเจกบุคคล กลุ่ม หรือ ประเทศใดๆ จะต้องสามารถคาดการณ์สร้างและปรับปรุงความสัมพันธ์ของตนกับการเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อนเหล่านี้อย่างสร้างสรรค์ด้วยวิถีใหม่ๆ มิฉะนั้นแล้ว ก็คงจะมืดมนหมดหนทาง

คนเราจะต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมของตนเองเสียใหม่ในแบบที่ไม่เหมือนใคร ให้รวดเร็วพอๆกับที่ความรู้ของเราสามารถจะเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม ไม่อย่างนั้น วัฒนธรรมของพวกเราก็คงจะพังทลาย ...เพราะราคาค่างวดที่เราจะต้องจ่ายให้กับการขาดความสร้างสรรค์ก็คือการทำลายล้างนั่นเอง

คาร์ล โรเจอร์ (ค.ศ.1954)



บทที่ 2. ใคร คือ นักบริหารที่สร้งสรรค์

วิธีแห่งชีวิต กำลังทำให้เราต้องละทิ้งทัศนะที่ตายตัวและล้าสมัยที่มีอยู่ มันกำลังทำให้เราทอดทิ้งภาพลวงตา แนวคิดในเรื่องธรรมชาติและบรรทัดฐานของความก้าวหน้าก็กำลังเปลี่ยนแปลงไป คงจะเป็นเรื่องไร้เดียงสา ถ้าคิดว่าปัญหาที่เกาะกุมทรมานมนุษยชาติอยู่ทุกวันนนี้ จะสามารถแกไขได้ด้วยวิถีทางและการปฏิบัติซึ่งเคยใช้ได้ผล หรือ ดูเหมือนจะได้ผลในอดีต

ทุกวันนี้ เราเผชิญอยู่กับโลกที่แตกต่างไปจากเดิม จึงต้องค้นหาถนนสู่อนาคตสายที่แตกต่างออกไป แน่ละ ถ้าจะค้นหามัน เราก็ต้องดึงเอาประสบการณ์ที่สะสมไว้ออกมาใช้ประโยชน์ แต่ถึงอย่างนั้น เราก็ยังต้องรู้ถึงความแตกต่างขั้นพื้นฐานระหว่างสถานการณ์ของเมื่อวานและสิ่งที่เรากำลังเผชิญในวันนี้ด้วย

มิคาอิล กอร์บาชอฟ (ค.ศ. 1988)



บทที่ 3. กระบวนการสร้างสรรค์

แนวความคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ กับแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพพลานามัย การบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน และ ความเป็นมนุษย์อย่างเต็มเปี่ยม ดูเหมือนกำลังจะเข้ามาใกล้กันมากขึ้นทุกที จนบางทีก็อาจจะกลายเป็นสิ่งเดียวกัน

อับราฮัม มาสโลว์ (ค.ศ. 1976)



บทที่ 4. เราสร้างโลกตามที่เราเห็น

ความวิเศษอย่างแท้จริงของการค้นพบ ไม่ได้อยู่ที่การแสวงหาทัศนียภาพใหม่ๆ แต่อยู่ที่การมีสายตาแบบใหม่ต่างหาก

มาร์เซล พรูสต์ (ค.ศ.1899)



บทที่ 5. ปลดปล่อยความคิดเป็นอิสระ เพื่อจะสร้างสรรค์

การตั้งคำถามใหม่ๆ ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพิจารณาปัญหาเก่าๆ จากมุมใหม่ เรียกร้องให้ต้องมีจินตนาการที่สร้างสรรค์ ซึ่งทำให้เกิดความก้าวหน้าทางความรู้อย่างแท้จริง

ไอน์สไตน์ (ค.ศ. 1938)



บทที่ 6. สร้างสรรค์ท่ามกลางความเครียด

ชีวิตของผมอยู่ในมือของคนพาลที่เลือกจะก่อกวนหรือยั่วหยอกผม

ดร. จอห์น ฮันเตอร์ (ประมาณ ค.ศ.1790)


ผู้คนถูกรบกวนจิตใจ ไม่ใช่จากสิ่งหนึ่งสิ่งใด
หากแต่ เป็นทัศนะที่เขายึดถึออยู่กับบรรดาสิ่งเหล่านั้น

อีพิคเตตุส (ศตวรรษที่ 1 แห่งคริสต์ศักราช)



บทที่ 7. สร้างสรรค์สังคมอีกครั้ง

ไม่จำเป็นจะต้องวิ่งออกไปข้างนอก
เพื่อจะมองอะไรๆ ได้ดีขึ้น
ไม่ต้องแอบดูจากหน้าต่าง หากเพียงยืนหยัดอยู่
ที่จุดสำคัญของสิ่งที่จำเป็น
เพราะยิ่งท่านละทิ้งมัน ท่านก็จะยิ่งเรียนรู้น้อยลง
จงค้นหาหัวใจของท่านแล้วมองดู
ถ้าหากว่า เป็นคนฉลาดเผชิญหน้ากับความแปรผัน
วิธีที่ทำ ก็คือ วิถีที่เป็น

เหลาจื้อ (ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช)



บทที่ 8. โลกด้านใน ของนักบริหารที่สร้างสรรค์

"จงวางใจในตัวคุณเอง"
ทุกหัวใจย่อมสั่นไหวไปกับใยโลหะนั้น
ผุ้ยิ่งใหญ่ทำเช่นนั้นเสมอ
บัดนี้ เราต้องยอมรับเป้าหมายปลายทางที่ข้ามพ้นเรื่องราวต่างๆทั้งหลาย

ราล์ฟ วัลโด อีเมอร์สัน (ค.ศ. 1841)



บทที่ 9. นักบริหารที่สร้างสรรค์กับคนอื่นๆ

"ไม่มีใครจะฉลาดพอ ด้วยตัวเอง"

ติตุส แมคเซียส เปลาตุส (ประมาณ พ.ศ.200)


เด็กๆ ที่กำลังวิ่งเล่นอยู่บนถนนสามารถแก้ปัญหาขั้นสุดยอดทางฟิสิกส์บางข้อของผมได้ เพราะพวกเขามีแบบแผนของการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ซึ่งผมสูญเสียไปนานแล้ว

เจ. โรเบิร์ต ออฟเพนไฮเมอร์




หนังสือเล่มนี้:
ซื้อที่ งาน "Book Fair"สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำปี พ.ศ.ไม่ได้




 

Create Date : 19 กรกฎาคม 2551
0 comments
Last Update : 3 ธันวาคม 2556 20:16:23 น.
Counter : 1514 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Merchant Dream
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




Happiness Lies in the job of achivement and the thrill of "CREATIVE EFFORT"

ความสุขซุกซ่อนอยู่ในความสำเร็จ ในหน้าที่การงาน และ ความรู้สึกว่า ได้ทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่แล้ว.
New Comments
Friends' blogs
[Add Merchant Dream's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.