Riding on the waves: การบริหารธุรกิจวันนี้ เหมือนกับการเล่นวินเซิร์ฟโต้คลื่น ซึ่งผู้เล่นต้องทรงตัวอยู่บนกระดานโต้คลื่นให้ได้ ยิ่งวันคลื่นก็ยิ่งแรงและสูงมากขึ้นและมาจากหลายทิศทาง ธุรกิจใดที่สามารถประคองตัวอยู่บนคลื่นได้ตลอดเวลา คือ ผู้ชนะ เพราะธุรกิจจะต้องยืนอยู่ได้ ทั้งขาขึ้นและขาลง จาก รายงานประจำปี 2542 บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่นส์
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
6 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
343. มังรายศาสตร์ : ฉบับ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เรียบเรียงเป็นภาษาปัจจุบัน



มังรายศาสตร์
เป็นหนังสือใบลานที่เก่าแก่ที่สุด ต้นฉบับเดิมเขียนเป็นภาษาไทยเหนือ มังรายศาสตร์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วินิจฉัยมังราย หมายความว่าเป็นคำพิพากษาของพระเจ้ามังราย


ผู้แต่ง
พระเจ้ามังรายหรือพระยามังราย กษัตริย์แห่งอาณาจักรลานนาไทยพระราชโอรสของพระเจ้าลาวเม็ง เจ้าแห่งวงศ์หิรัญนคร ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อเจริญวัย พระราชบิดามีรับสั่งให้ไปครองนครเชียงราย พระเจ้ามังรายก็ทรงทำหน้าที่ในการปกครองได้อย่างดีเยี่ยม ทรงตีเมืองหริภุญไชยที่อยู่ในการครอบครองของมอญได้สำเร็จ ขณะมีพระชนมายุได้ 43 พรรษา เมื่อขึ้นครองราชย์ปกครองอาณาจักรลานนา พระองค์ได้ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลานนา


ความมุ่งหมาย
เพื่อใช้ในการพิจารณาคดีความ

ลักษณะการแต่ง
แต่งเป็นร้อยแก้ว


เนื้อหาสาระ

มังรายศาสตร์เป็นหนังสือกฎหมายที่ได้รวบรวมเรียบเรียงมาจากหนังสือธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์กฎหมายเก่าแก่ของอินเดีย ที่ถูกมอญดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพของตนไปบ้างแล้ว

ตอนแรก
กล่าวถึงการสืบสันตติวงศ์ลานนา การสร้างเมืองเชียงใหม่และวัตถุประสงค์ในการแต่ง คำนำ ใช้คำว่าสิทธิสวัสดี กล่าวถึงกฎหมายที่ได้รู้มาแต่โบราณ พระเจ้ามังรายจึงบัญญัติไว้เพื่อให้ท้าวพระยาทั้งหลายผู้เป็นลูกหลานเหลน และเสนาอมาตย์ผู้ปกครองเมืองสืบไปได้รู้จักผิดรู้จักชอบ

ตอนที่สอง
กล่าวถึงเรื่องระเบียบการปกครอง ซึ่งสมัยนั้นได้มีการจัดการปกครองออกเป็นหมู่ๆ หมู่ละ 10 คนบ้าง 100 คนบ้าง 1,000 คนบ้าง 10,000 คน 100,000 คนบ้าง โดยมีหัวหน้าทำหน้าที่ในการปกครองในแต่ละหมู่


ตอนที่สาม
กล่าวถึงเรื่องของตัวบทกฎหมาย ที่มีคำอธิบายพร้อมเหตุผลประกอบ มีจริยธรรมสอดแทรก และมีลักษณะของความยืดหยุ่นเพื่อความเหมาะสมอีกด้วย

คุณค่า

ทางด้านด้านนิติศาสตร์

มังรายศาสตร์เป็นกฎหมายที่ให้คุณค่าทางนิติศาสตร์หลายประการ ให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ กฎหมายแต่ละบทมีเหตุผลประกอบ และยังสอดแทรกคุณค่าทางจริยธรรมเข้าไปอีก

Resource
://www.thaigoodview.com/library/teachershow/trang/rootjarin_ch/sec04p06.html
















:วัดเจดีย์เหลี่ยม ตั้งอยู่บรเวณ เวียงกุมกาม อ.เมือง จ. เชียงใหม่
เคยได้ยินผู้เฒ่าว่า เวียงกุมกาม นี้ เดิมเรียกว่า "เวียงกุมการ" คือ กุมการงาน หรือ คุมการงาน แต่เกิดการเพี้ยนไปเป็น เวียง "กุมกาม"




ไพร่สิบคน ให้มีนายสิบผู้หนึ่ง ข่มกว้านผู้หนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อ (ล่าม) ป่าวประกาศเรื่องงานการประจำนายสิบทุกคน

นายสิบ 5 คน ให้มีนายห้าสิบผู้หนึ่ง มีปากขวาและปากซ้ายเป็นผู้ช่วยรวม 2 คน

นายห้าสิบ 2 คน ให้มีนายร้อยผู้หนึ่ง

นายร้อย 10 คน ให้มีเจ้าพันผู้หนึ่ง

เจ้าพัน 10 คน ให้มีเจ้าหมื่นผู้หนึ่ง

เจ้าหมื่น 10 คน ให้มีเจ้าแสนผู้หนึ่ง

ปกครองเมืองแบบนี้เพื่อมิให้ขัดเคืองใจ พระเจ้าแผ่นดิน





พ่อขุนเม็งรายเป็นโอรสของพระเจ้าลาวเมงแห่งราชวงค์ ลวจักราชผู้ครองหิรัญนครเงินยาง กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมืองหรือพระนางเทพคำขยาย ราชธิดาของเท้ารุ่งแก่นชาย เจ้าเมืองเชียงรุ้งพระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุนเอกศกจุลศักราช 601 ตรงกับพ.ศ.1781 ในปีพ.ศ.1819 พ่อขุนเม็งรายได้ยกทัพไปประชิดเมืองพะเยา พ่อขุนงำเมือง ผู้ครองเมืองพะเยาออกมารับเสด็จด้วยไมตรีแล้วยกตำบลบ้านปากน้ำให้แก่พ่อขุนเม็งรายแล้วปฏิญาณเป็นมิตรกัน ต่อมาอีกราว 4 ปี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนงำเมืองและพ่อขุนเม็งราย ได้กระทำสัตย์ปฏิญาณเป็นพระสหายกัน โดยทรงเอาโลหิตที่นิ้วพระหัตถ์ผสมกับน้ำสัตย์เสวยทั้งสามพระองค์ สัญญาว่าไม่เบียดเบียนกันตลอดชีวิต

และในปี พ.ศ.1834 พ่อขุนเม็งรายได้เสด็จไปสร้างเมืองใหม่ที่เชิงดอยสุเทพ ใช้เวลาสร้างนาน 5 ปี ในปี พ.ศ.1839 จึงเสด็จและสถาปนานครแห่งนี้ว่า "เชียงใหม่" พ่อขุนเม็งรายทรงประสูติมาเพื่อเป็นผู้กอบกู้และรวบรวมชาวไทยให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน เพื่อระงับทุกข์เข็ญต่างๆ ในแผ่นดินและสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นในแคว้นลานนาเป็นเอนกประการ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์โดยสังเขปมีดังนี้

1.ทรงสร้างเมืองเอกในแว่นแคว้นถึง 3 เมืองได้แก่ เมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ.1805 เมืองกุมกาม ( ปัจจุบันคืออำเภอสารภีจังหวัดเชียงใหม่ ) พ.ศ.1829 เมืองเชียงใหม่ พ.ศ.1834 นอกจากนั้นพระองค์ได้ทรงบูรณะเมืองหิรัญนครเงินยาง ในปี พ.ศ.1811 ได้บูรณะเมืองฝาง เพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมไพร่พลของพระองค์ (ซึ่งแต่เดิมเมืองฝางตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองหิรัญนครเงินยางมาก่อน) และโปรดให้ขุนอ้ายเครือคำลก หรือขุนเครื่อง ราชโอรสองค์ใหญ่ไปครองเมืองฝาง

2.ทรงแผ่พระเดชาในทางการรบ กล่าวคือหลังจากได้ส่งกองทัพไปปราบเมืองมอบ เมืองไร และเมืองเชียงคำไปแล้วในปี พ.ศ.1824 ตีเมืองหิริภุญชัยจากพระยายีบาได้สำเร็จดินแดนภาคเหนือทั้งหมด พ่อขุนเม็งรายได้ครอบครองโดยทั่วอาณาจักรลานนาในรัชสมัยของพระองค์มีอาณาเขตกว้างไกล ดังนี้
ทิศเหนือ จดสิบสองปันนา
ทิศใต้ จดอาณาจักรสุโขทัย
ทิศตะวันออก จดแคว้นลาว
ทิศตะวันตก จดแม่น้ำสาละวิน

3.ทรงนำความเจริญในด้านศิลปกรรรม และพาณิชยกรรมมาสู่แคว้นลานนาโดยเมื่อครั้งที่ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระองค์ได้นำช่างฝีมือต่างๆ เช่น ช่างฆ้องช้าง ช่างทอง และช่างเหล็ก ชาวพุกามเข้ามาฝึกสอนชาวลานนาไทย เพื่อให้เข้าใจในศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ทรงจัดหาทำเลที่เหมาะสมในการเกษตรและการค้าเพื่อให้มีอาชีพทั่วหน้า พระองค์ทรงพระปรีชาในด้านการปกครองด้วยเช่นกัน ได้แก่การวางระเบียบการปกครองหรือกฎที่ทรงตั้งขึ้นไว้เป็นพระธรรมศาสตร์ ใช้ในการปกครองแผ่นดิน เรียกว่า "กฎหมายมังรายศาสตร์" เพื่อให้ลูกขุนใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาในการพิพากษาผู้กระทำผิด สมควรแก่โทษานุโทษ

4.ทรงเป็นนักปกครองที่สามารถ และประกอบด้วยคุณธรรมสูงส่ง พ่อขุนเม็งรายทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยเป็นองค์ศาสนูปถัมภก และทรงนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการปกครองราษฎรของพระองค์ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขมีศีลธรรมอันดี มีความโอบอ้อมอารีย์ แม้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักรบผู้แกล้วกล้าแต่การใดที่เป็นทางนำไปสู่ความหายนะเป็นเหตุให้เสียเลือดเนื้อระหว่างคนไทยด้วยกัน พระองค์ทรงหลีกเลี่ยง ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงรับไมตรีจากเจ้าผู้ครองนครต่างๆ และการกระทำสัตย์ปฏิญาณระหว่างสามกษัตริย์

เจ้าขุนครามหรือพระเจ้าไชยสงคราม พระราชโอรสของพญามังรายได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ หลังจากที่พญามังรายได้สวรรคต เจ้าขุนครามได้โปรดให้สร้างกู่บรรจุอัฐิของพระบิดาไว้ ณ บนดอยงำเมือง นอกจากบนวัดงำเมืองจะมีกู่พ่อขุนเม็งรายแล้ว ยังมีอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราชขนาดเท่าครึ่งตัว ประทับนั่งบนบัลลังก์ ทรงเครื่องทรงแบบเดียวกับอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราชบริเวณห้าแยก ทรงถือดาบด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้าง วางบนพระเพลา ทั้งสองสิ่งนี้เป็นที่นับถือของประชาชนชาวเชียงราย และผู้นับถือท่านอีกแห่งหนึ่งด้วย



อ้างอิง

//www.chiangrai.ru.ac.th/

ข้อมูลโดย : กลุ่มนักศึกษาฝึกงาน งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด



Create Date : 06 สิงหาคม 2551
Last Update : 6 สิงหาคม 2551 12:45:06 น. 15 comments
Counter : 11757 Pageviews.

 
หนีศึก

ในการรบ ผู้ใดหลบหนีละทิ้งผู้บังคับบัญชา ให้ฆ๋าเสีย
ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น มีดังนี้ ไพร่ นายสิบ นายห้าสิบ นายร้อย เจ้าพัน เจ้าหมื่น เจ้าแสน และ พระยา
เมื่อฆ่าแล้ว ให้ริบครอบครัวทรัพย์สินทั้งสิ้นเพื่อมิให้ผู้อื่นดูเยี่ยงอย่าง ให้สักหมึกไว้ที่หน้าผาก ว่ามันผู้นี้เจ้านายไม่รับเลี้ยงเพื่อให้เป็นที่น่าละอายยิ่งนัก

ในทำนองเดียวกัน ให้ฆ่าผู้ซึ่งละทิ้งลูกน้องในที่รบ
ผู้บังคับบัญชามีลำดับลงมาดังนี้ เจ้าแสน เจ้าหมื่น ล่ามหมื่น เจ้าพัน ล่ามพันและพันน้อย ล่าวบ่าว กว้าน ไพร่ เมื่อฆ่าแล้ว ให้ริบเอาครอบครัวทรัพย์สินทั้งสิ้น

ข้อความดังนี้ มีมาแต่โบราณ ผู้เป็นใหญ่และสัปบุรุษก็ควรพิจารณาว่า ชาติสัตว์ทั้งหลายมียศศักดิ์มากนักยังไม่รักเจ้านายตน ขี้ขลาดละทิ้งเจ้านายเสียดังนี้ ผู้ขี้ขลาดอื่นๆก็จะกระทำอย่างเดียวกันนี้ ให้สักหน้าผากด้วยหมึกแล้วปล่อยเสียเถิด

ฉบับวัดเชียงหมั้น อธิบายว่า ทำดังนี้ เสียหาย (ร้าย) ยิ่งกว่าตายเสียอีก

อนึ่ง พระยาเจ้าผู้มีธรรมกรุณา ก็ควรพิจารณาถึงคุณความดีของผู้ขี้ขลาดนี้ หากทำดีไว้ก่อน ก็ควรกรุณาตามควร เพราะคนทุกคนก็ย่อมกลัวตายด้วยกันทั้งสิ้น ควรลงโทษบ้างเพื่อมิให้คนอื่นดูเยี่ยงอย่าง แต่ไม่ควรประหารชีวิต เพราะการเกิดเป็นคนนี้ ยากนัก.

(การลดหย่อนโทษนี้ คงเป็นข้อความที่เติมเข้ามาในชั้นหลัง)


โดย: หนีศึก (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:12:56:10 น.  

 
คนตายกลางสนามรบ

เจ้าขุนผู้ใดกล้าหาญมาก ไม่ถอยหนี ได้รบได้ชน ได้ฆ่าในที่รบ แต่ถูกข้าศึกฆ่าตาย ไม่ควรริบครอบครัว ทรัพย์สินเข้าพระคลัง เพราะคนทั้งหลายมาอาสาต่อท้าวพระยา ก็เพื่อจะคุ้มครองลูกเมีย เมื่อตายเพราะรับอาสาเจ้านาย ก็ไม่ควรให้ลูกเมียผู้ตายได้รับทุกข์ ควรปล่อยให้อยู่ตามใจเขา ถ้ามีลูกหลานควรเลี้ยงไว้สืบเชื้อสายต่อไป


โดย: คนตายกลางสนามรบ (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:13:00:05 น.  

 
รบศึก กรณีได้หัว และ กรณีไม่ได้หัวข้าศึกมา

มาตรา ๑

นายตีนผู้ใดรบศึกในสนามรบ ได้หัวนายช้างนายม้ามา ควรเลี้ยงดูให้เป็นใหญ่ อนึ่ง ถ้าข้าศึกมาล้อมบ้านเมือง ผู้ใดรบชนะได้หัวข้าศึกมาให้รางวัลหัวละ ๓๐๐ เงิน ให้ไร่นาที่ดิน และ เลี้ยงดูให้เป็นใหญ่ หากนายตีนได้หัวนายม้า ควรเลื่อนขึ้นเป็นนายม้า คนตีนได้หัวนายช้างควรเลื่อนขึ้นเป็นนายช้าง ให้มีฉัตรกั้น ให้ภริยา เครื่องทอง ทั้งทองปลายแขน เสื้อผ้าอย่างดี เพราะเขารับอาสาด้วยเต็มใจ จึงควรรางวัลให้อย่างเต็มใจเช่นกัน เพื่อให้คนทั้งหลายอุตสาหะอาสาต่อเจ้านาย


มาตรา ๑

คนตีนได้ฆ่านายช้างนายม้าตายในที่รบจะตัดหัวก็ไม่ทัน แต่มีผู้รู้เห็นก็ควรรางวัลให้ยศศักดิ์แก่เขา


โดย: รบศึก กรณีได้หัว และ กรณีไม่ได้หัวข้าศึกมา (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:13:06:48 น.  

 
เสนาอมาตย์ตาย

ประการหนึ่ง เสนาอมาตย์ผู้ใดช่วยปกครองบ้านเมืองดีมาก รักษากฏหมาย ให้เป็นคุณแก่บ้านเมืองและเจ้านาย หากตายไป ควรปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตาย เกี่ยวกับช้างม้าเงินทองข้าคนทั้งหลาย หากตายไม่ทันสั่งเสีย ให้นำทรัพย์สินแบ่งเข้าพระคลังครึ่งหนึ่ง ให้ลูกเมียครึ่งหนึ่ง หากมีลูกหญิงลูกชาย พระยาเจ้าควรเลี้ยงดูตามคุณความดี อย่าให้เสียวงศ์สกุลผู้ตาย เพราะเชื้อผู้ดีหาได้ยากมาก ถ้าทำผิดครั้งสองครั้ง ก็ไม่ควรประหารชีวิต เพราะนึกถึงบุญคุณของผู้ตาย ควรสั่งสอนดูก่อน แต่ถ้าทำผิดร้ายแรงมาก ไม่มีทางสั่งสอน จึงควรลงโทษตามความผิดนั้น


โดย: เสนาอมาตย์ตาย (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:13:10:58 น.  

 
ให้ไพร่มีเวรผลัดเปลี่ยนกัน

มาตรา๑

ควรจัดให้ไพร่มีเวรผลัดเปลี่ยนกัน มาทำงานหลวง ๑๐ วัน กลับไปสร้างเหมืองฝาย ไร่นาสวนเรือกที่ดิน ๑๐ วัน จัดเช่นนี้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม แต่โบราณแล


โดย: ให้ไพร่มีเวรผลัดเปลี่ยนกัน (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:14:01:34 น.  

 
ไพร่กู้เงินขุน

มาตรา ๑

ไพร่ตกยาก มากู้เงินขุนผู้เป็นนายทำทุน พ้นสามปีแล้วจึงเริ่มคิดดอกเบี้ย อย่างนี้เที่ยงธรรมแล


โดย: ไพร่กู้เงินขุน (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:14:03:33 น.  

 
ไพร่สร้างไร่นา

มาตรา ๑

ไพร่อุตสาหะสร้างป่าคานาร้างสวนร้างให้เป็นนา เป็นสวน เป็นบ้านเมือง ให้กินข้างไปก่อนสามปี ต่อจากนั้นจึงเก็บค่านาค่าสวน เพื่อให้ไพร่ผู้อุตสาหะ สร้างบ้านเมือง ฯลฯ เป็นพลเมืองดี (ฝุ่นบ้านฝุ่นเมืองดี) ได้รับความสุขสบาย

หากมีผู้ใดถือดีว่า มียศศักดิ์มาเพิ่มค่าเช่านาให้แก่ขุนผู้กินนา เพื่อจักแย่งชิงเอานาไปจากผู้สร้างคนเดิมนั้น อย่ายอมให้กระทำได้ มันเป็นคนเลว อย่าปล่อยให้มียศ มีอำนาจ ถ้าเป็นผู้เกียจคร้าน ก็จะทำให้ไร่นาเสียหาย บ้านเมืองก็จะพลอยเสื่อมถอยไปด้วย


โดย: ไพร่สร้างไร่นา (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:14:07:57 น.  

 
ไพร่ที่ขุนไม่ควรรับไปเป็นข้า

ขุนไม่ควรรับไพร่ ๔ ประเภทนี้ไปเป็นข้า คือ

๑. ผู้มีหนี้สินมาก ไม่มีทางชำระหนี้ จะหนีไปเป็นข้าขุนเพื่อให้พ้นหนี้
๒. ผู้กำลังจะแพ้ความ
๓. ผู้เป็นโจรแย่งชิงฆ่าคนลักข้าวของท่าน
๔. ผู้ละทิ้งราชการ


โดย: ไพร่ที่ขุนไม่ควรรับไปเป็นข้า (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:14:23:57 น.  

 
ข้าขอรับมรดก

มาตรา ๑

เดิมเป็นไพร่เอาตัวไม่รอด จึงเข้าไปเป็นข้าของขุนท้าวพระยา ต่อมาพ่อแม่พี่น้องผู้เป็นไพร่ตาย โดยไม่ได้สั่งเสียเรื่องมรดกไว้ หากมันจะไปขอรับมรดก ไม่ควรให้รับ ยกเว้นกรณีที่ผู้ตายสั่งให้ไว้ ก็ให้รับมรดกเท่าที่สั่งไว้ได้ เพราะว่ามันเอาตัวไม่รอด จะพลอยพาพี่น้องอื่นล่มจมไปด้วย


โดย: ข้าขอรับมรดก (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:14:27:12 น.  

 
ข้าพระยา ไปอยู่กินกับ ไพร่

มาตรา ๑

ข้าของท้าวพระยาไปอยู่กินกับไพร่ เกิดลูกหญิงลูกชายจำนวนเท่าใด หากพ่อซึ่งเป็นข้าท้าวพระยาตาย หรือ ทิ้งลูกเมียไว้ ก็ไม่ควรให้ลูกไปเป็นข้าของท้าวพระยา ควรให้อยู่กับแม่เป็นไพร่เมือง เพราะว่าไพร่เมืองหาได้ยาก


มาตรา ๒

ข้าของพระยามาอาศัยอยู่กินกับไพร่ในบ้านเรือนไพร่ มันยังเป็นของเจ้าแผ่นดินอยู่ ให้เมียส่งข้าวห่อเมื่อถึงเวรมาทำงานให้เจ้านายตน เท่านี้ก็ดีพอแล้ว หากข้านั้นตายไม่ควรเอาลูกเมียมันมาเป็นข้า

โบราณกล่าวว่า ท้าวพระยาครองเมืองได้ก็ด้วยไพร่ และ ไพร่ก็หายากนัก ไม่ควรบังคับไพร่มาเป็นข้า เพราะเหตุนี้


โดย: ข้าพระยา ไปอยู่กินกับ ไพร่ (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:14:31:44 น.  

 
ลักษณะนายที่ดี และ นายที่เลว

มาตรา ๑

ขุนในโลกนี้มี ๒ ประเภท คือ ขุนธรรม และ ขุนมาร

ขุนธรรมมีลักษณะดังนี้ ขุนผู้ใด ประกอบด้วย สังคหวัตถุ ๔ ประการ คือ เมตตากรุณาไพร่ไทย ไม่บาปไพร่ไหมไทย ราวีทุบผูกมัดไพร่ไทย ขุนผู้เป็นเช่นนี้ คือ ขุนธรรม

ขุนผู้ใด ไม่ประกอบด้วย สังคหวัตถุ ๔ ประการ คือ ไม่เมตตากรุณาไพร่ไทย ย่อมบาปไพร่ไหมไทย ราวีทุบผูกมัดไพร่ไทย ใส่ขื่อคามัดเชือกแล้วรังแก ข่มขี่เอาข้าวของ บังคับลูกหลานไพร่ไปเป็นเมีย หรือ ข่มขืนเมียไพร่ ขุนเช่นนี้ ชื่อว่าขุนมารอยู่ที่ไหนเมืองฉิบหายที่นั่น คนเช่นนี้ไม่ควรให้เป็นใหญ่ มันเป็นต้นง้วน ต้นพิษ ในกลางเมือง ถ้ามีหน่อลำ ก็จะเป็นพิษร้ายแก่บ้านเมือง เจ้าขุนผู้อาสาต่างหูต่างตาท้าวพระยา ควรทำตามแบบขุณธรรมแล


โดย: ลักษณะนายที่ดี และ นายที่เลว (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:14:37:58 น.  

 
ความผิดร้ายแรง ซึ่งยอมฆ่าผู้กระทำผิดได้

การฆ่าผู้กระทำผิดร้ายแรง โดยผู้ฆ่าไม่ต้องรับโทษ มีดังต่อไปนี้

๑. ฆ่าชู้และเมียด้วยกันในที่รโหฐาน (ที่สงัด)

๒. ฆ่าขโมย ซึ่งไล่จับได้พร้อมทั้งของกลางในมือ

๓. เจ้าบ้านฆ่าผู้ถือหอกดาบมาถึงที่อยู่

๔. เจ้าบ้านฆ่าผู้ที่ลอบเข้ามาในบ้านผิดกาละ คือ กลางคืน

๕. เจ้าบ้านฆ่าผู้ร้าย ในขณะที่มาซัดทุบเรือนตอนกลางคืน

หากผูกมัดผู้กระทำผิดได้แล้ว กลับฆ่าเสียในภายหลัง ผู้ฆ่าก็มีความผิด


มาตรา ๑

ผู้ใดมีความผิดมาก หรือ น้อยก็ตาม เมื่อเจ้าขุนไปเอาตัว หากมันใช้หอกดาบต่อสู้ หรือ ถือหอกดาบวิ่งหนีไปก็ดี ผู้ใดฆ่าตายไม่มีความผิด แต่ถ้าหากมันยอม หรือ วิ่งหนีด้วยมือเปล่าห้ามมิให้ผู้จับฆ่ามัน ผู้ใดฆ่าก็มีความผิด

อนึ่ง ถ้าจับผู้กระทำผิดมัดได้แล้ว ฆ่าเสียไม่นำมาให้เจ้าขุนพิจารณาดูก่อน ผู้ฆ่าก็มีความผิดต้องเสียค่าสินไหม


โดย: ความผิดร้ายแรง ซึ่งยอมฆ่าผู้กระทำผิดได้ (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:14:49:34 น.  

 
โทษประหารชีวิต

ผู้กระทำผิดร้ายแรงควรประหารชีวิต มีดังต่อไปนี้

๑. ฆ่าผู้ไม่มีความผิด
๒. เกาะกุมลูกท่าน หรือ ข้าท่าน ไปฆ่าเอาทรัพย์
๓. ทำลาย กุฏิ วิหาร พระพุทธรูป
๔. รุกล้ำที่ (ผกท่าผ่าทาง)
๕. ชิงทรัพย์ท่าน (ครุบท่าน)
๖. รับผู้คน (แก้วหาญข้า) ของท้าวพระยามาพักในบ้าน
๗. ลักของพระสงฆ์
๘. ลูกฆ่าพ่อ
๙. ลูกฆ่าแม่
๑๐. น้องฆ่าพี่
๑๑. ฆ่าเจ้า
๑๒. เมียฆ่าผัว



โดย: โทษประหารชีวิต (Merchant Dream ) วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:15:16:14 น.  

 
โทษหนักสามสถาน

โทษหนักมีสามสถาน คือ
๑. ประหารชีวิต
๒. ตัดตีนตัดมือ
๓. เอาไปขายเสียต่างเมือง หรือ อีกนัยหนึ่ง ขับออกจากเมือง


โดย: โทษหนักสามสถาน (Merchant Dream ) วันที่: 7 สิงหาคม 2551 เวลา:12:54:42 น.  

 
การพิจารณาความให้ดูเหตุ ๔ ประการ

การพิจารณาความทั้งปวง ให้ดูเหตุ ๔ ประการ คือ
ให้ดูราคาของว่าถูกหรือแพง วัตถุ ถ้อยความหนัก หรือ เบา

๑. ให้ดูเวลาที่เสียข้างของไป ถ้าเสียของไปเมื่อราคาถูก ให้ตัดสินอย่างของราคาถูก ถ้าเสียของไปเมื่อราคาแพง ให้ตัดสินอย่างของราคาแพง

๒. ให้ดูว่า ความที่พิพาทกันนั้น เกิดขึ้นนานแล้วหรือเพิ่งเกิด เหตุเกิดกลางคืนหรือกลางวัน เช้าหรือค่ำ

๓. สอบสวนดูว่า ของราคาถูก หรือ ราคาแพง

๔. ให้ดูว่าของเก่าใหม่ ได้ใช้ไปแล้วเพียงใด ตามคาถาที่มีมาแต่โบราณว่า วัตถุกาลัญจ เวสัญจ ปริโภคัญจนํ ตุลยิตฺวา ปัญจฐานานิ ธาเลยฺยัตถํ วัจจักขิณา


โดย: การพิจารณาความให้ดูเหตุ ๔ ประการ (Merchant Dream ) วันที่: 7 สิงหาคม 2551 เวลา:13:00:10 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Merchant Dream
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




Happiness Lies in the job of achivement and the thrill of "CREATIVE EFFORT"

ความสุขซุกซ่อนอยู่ในความสำเร็จ ในหน้าที่การงาน และ ความรู้สึกว่า ได้ทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่แล้ว.
New Comments
Friends' blogs
[Add Merchant Dream's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.