Riding on the waves: การบริหารธุรกิจวันนี้ เหมือนกับการเล่นวินเซิร์ฟโต้คลื่น ซึ่งผู้เล่นต้องทรงตัวอยู่บนกระดานโต้คลื่นให้ได้ ยิ่งวันคลื่นก็ยิ่งแรงและสูงมากขึ้นและมาจากหลายทิศทาง ธุรกิจใดที่สามารถประคองตัวอยู่บนคลื่นได้ตลอดเวลา คือ ผู้ชนะ เพราะธุรกิจจะต้องยืนอยู่ได้ ทั้งขาขึ้นและขาลง จาก รายงานประจำปี 2542 บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่นส์
Group Blog
 
<<
มกราคม 2558
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
9 มกราคม 2558
 
All Blogs
 

09.01.2558 หิรัญนครเงินยางเชียงราว หรือ หิรัญนครเงินยางเชียงแสน # 3

วันศุกร์ ที่ 9 เดือน มกราคม พ.ศ.2558

วันนี้ ฝนตกทั้งวัน (ฝนตกติดต่อกันเป็นวันที่สอง) @อ.สันทราย จ.เชียงใหม่









Namo@Chiangmai


หิรัญนครเงินยางเชียงราว (พ.ศ.1181 - 1805)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หิรัญนครเงินยางเชียงราว หรือ หิรัญนครเงินยางเชียงแสน (Hiran Nakhon Ngoen Yang.png) เป็นอาณาจักรหนึ่งในประเทศไทย


เหตุการณ์

หลังจากเวียงปรึกษาได้ปกครองพื้นที่แถวๆนั้นได้ 93 ปี ก็เป็นอันอวสานของเวียง เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 1181 พระยากาฬวรรณดิศราช หรือ พญาอนิรุทธ กษัตริย์ แห่งทวารวดีได้เสด็จขึ้นมาสนับสนุนพญาลวจักรราช ผู้มีเชื้อสายของปู่เจ้าลาวจก หรือผู้ที่ขายดอยตุงให้นครโยนกนาคพันธุ์ สร้างพระธาตุดอยตุง ขึ้นเป็นกษัตริย์ ของเวียงปรึกษา พญาลวจักรราช จึงตั้งชื่อให้ราชวงศ์ใหม่ของพระองค์นี้ว่า ราชวงศ์ลวจักรราช หรือ ราชวงศ์ลาว

หลังจากขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์จึงทรงเปลี่ยนนาม จากเวียงปรึกษา เป็นเมืองหิรัญนคร โดยมีศูนย์กลางอยู่แถวๆแถบแม่น้ำสาย และดอยตุง ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย หลังจากนั้นในสมัยพระเจ้าลาวเคียง พระองค์ได้สร้างเมืองเงินยาง หรือ เมืองเชียงแสน หรือตรงเวียงเชียงแสนในปัจจุบัน และย้ายเข้าไปปกครองที่นั่น มีกษัตริย์ปกครองสืบเนื่องมาอีกถึง 621 ปี รวม 24 รัชกาล

ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อ พญาลาวเมง พระบิดาของ พญามังราย สร้างเมืองเชียงราย และ พญามังรายขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์ที่ 25 ของหิรัญนครเงินยางเชียงแสนในปี พ.ศ. 1805 พระองค์ทรงมีแนวพระราชดำริ่จะรวบรวมแคว้นน้อยใหญ่ในอาณาบริเวณเดียวกันให้เป็นปึกแผ่น

เมื่อพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราช พระองค์ก็ได้โปรดให้เมืองเชียงราย เป็นราชธานีแห่งใหม่ เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์ลวจักรราช แห่ง หิรัญนครเงินยาง เริ่มต้น ราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา



พระยาลวจักรราช

พระยาลวจักรราช นั้น คาดว่าเดิมมีอำนาจอยู่ในเมืองเชียงลาว บริเวณดอยตุง และ แม่น้ำสาย ต่อมาจึงได้ขยายมาสู่เมืองเงินยาง หรือเงินยัง ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง พระองค์ มีราชบุตร ๓ พระองค์ ได้แก่ ลาวครอบ ลาวช้าง และ ลาวเก๊าแก้วมาเมือง โดยให้บุตรของพระองค์ครองเมืองดังนี้

ลาวครอบ ครอง เมืองเชียงของ
ลาวช้าง ครอง เมืองยอง
ลาวเก๊าแก้วมาเมือง ครอง เมืองเชียงลาว สืบต่อมา
กษัตริย์ราชวงศ์นี้มีกษัตริย์สืบต่อมาถึง 24 องค์ ในระหว่างนั้นหลายองค์ได้มีการส่งราชบุตรของตนออกไปครองเมืองต่าง ๆ เช่น พะเยา เชียงของ เชียงคำ ล้านช้าง น่าน ฯลฯ ดังนั้น เมืองทั้งหลายเหล่านี้จึงเป็นเครือญาติกัน


รายพระนามกษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงแสน

ยุคเมืองหิรัญนคร

1.พญาลวจักราช (ลาวจก)
2.พญาลาวเก๊าแก้วมาเมือง
3.พญาลาวเส้า (ลาวเสา)
4.พญาลาวตัง (ลาวพัง)
5.พญาลาวกลม (ลาวหลวง)
6.พญาลาวเหลว
7.พญาลาวกับ
8.พญาลาวคิม (ลาวกิน)

ยุคเมืองเงินยาง

1.พญาลาวเคียง
2.พญาลาวคิว
3.พญาลาวเทิง (ลาวติง)
4.พญาลาวทึง (ลาวเติง)
5.พญาลาวคน
6.พญาลาวสม
7.พญาลาวกวก (ลาวพวก)
8.พญาลาวกิว (ลาวกวิน)
9.พญาลาวจง
10.พญาจอมผาเรือง
11.พญาลาวเจิง (ลาวเจื๋อง)
12.พญาลาวเงินเรือง
13.พญาลาวซิน (ลาวชื่น)
14.พญาลาวมิง
15.พญาลาวเมือง (ลาวเมิง)
16.พญาลาวเมง (พระบิดาพญามังราย แห่งล้านนา)

Source://th.wikipedia.org/wiki/หิรัญนครเงินยางเชียงราว


--------------------------------------------------------------


ยุคหิรัญนครเงินยาง

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ. ๑๑๘๑ พญาลาวจักราชราชาภิเษกเป็นนักกษัตริย์แห่งแคว้นโยนกนาคพันธุ์ โดยพญาลาวจักราชทรงได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์แห่งทวารวดีให้ราชาภิเษกขึ้น เป็นกษัตริย์แห่งแคว้นโยนกนาคพันธุ์ เป็นการเริ่มต้นราชวงศ์ใหม่พญาลาวจักราชเข้ามาอยู่ที่ “เวียงปรึกษา” ชุมชนสำคัญที่ถือว่าเป็นศูนย์กลางการปกครอง แคว้นแทนเมืองเดิมที่ถล่มจมหายไป และมีประชากรหนาแน่นกว่าที่อื่น อีกทั้งได้เปลี่ยนชื่อเมืองจากเมืองนาคพันธุ์มาเป็น เมืองเงินยางช้างแส่น หรือ หิรัญนครเงินยางศรีช้างแส่น เรียกชื่อในภาษาบาลีว่า “ ยางคปุระ ”

พ.ศ. ๑๕๓๔ พญาลาวด้าน สถาปนาเวียงยางเงิน (อำเภอแม่สายในปัจจุบัน) พญาลาวด้านกษัตริย์รัชกลหนึ่งของแคว้นนครเงินยาง ได้ประพาสบ้านเมือง ไปถึงเชียงดอยตุง บริเวณนั้นเรียกว่า “ บ้านยางเสี้ยว” ทรงทอดพระ เนตรเห็นต้นโพธิ์ต้นหนึ่งมีสีขาวดั่งแร่เงิน ก็ทรงพอพระทัยและมีพระราชประสงค์ จะประทับอยู่ ณ ที่นั้น จึงมีบัญชาให้ตังเป็นเวียงที่มีชื่อว่า “ เวียงยางสาย ” หรือ “ เวียงยางเงิน ” เหตุเพราะตั้งอยู่บนแม่น้ำแม่สาย ซึ่งเป็นพื้นที่ของ “ เวียงผางคำ ” หรือ “ เวียงสีขาวเดิม ” โดยมีเจตนาให้เป็นศูนย์กลาง ในการปกครองบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่สาย เวียงยางสายนี้ปัจจุบันคืออำเภอแม่สาย และยังคงปรากฏแนวคันกำแพงเมืองและคูเมืองอย่างชัดเจน นับได้ว่าเมือง แม่สายวันนี้มีอายุถึง ๑๐๐๐ ปีเศษ

พ.ศ. ๑๖๐๔ พญาตรีลานคำยกกองทัพเมืองน่านโจมตีเมืองเงินยาง พญาตรีลานคำ เจ้าเมืองน่านมาโจมตีและยึดเมืองเงินได้ พร้อมปลงพระชนม์ พญาลาวจะกลาเรือนคำ กษัตริย์รัชกาลหนึ่งของเมืองเงินยาง พญาลาวครัวโอรส ซึ่งขณะนั้นครองเมืองฝาง ยกกองทัพเมืองฝางมาช่วยเหลือและได้ทำศึกกับ พญาตรีลานคำ พญาตรีลานคำต้านกองทัพเมืองฝางไม่ได้ เสียชีวิตในที่รบ กองทัพน่านจึงแตกพ่ายไป พญาลาวครัวจึงไดขึนครองเมืองสืบต่อมา

พ.ศ. ๑๖๓๙ พญาลาวจอมผาเรืองสถาปนาเมืองเชียงเรือง ( พะเยา ) พญาลาวจอมผาเรือง หรือพระยาลาวจอมธรรม โอรสองค์ที่ ๒ ของพญาลาวเงิน กษัตริย์แคว้นเงินยางรัชกาลที่ ๑๘ ทรงได้รับมอบหมายให้ไปปกครองดินแดนทาง ทิศใต้ของแคว้นซึ่งเวลานั้นมีประชากรเพิ่มพูนมาก ทรงพบว่าบริเวณดังกล่าว เป็นภูมิสถานอันประเสริฐ เหมาะที่จะสร้างเป็นเวียง จึงเกณฑ์ไพร่พลมาแล้ว สร้างเป็นเวียงขึ้น มีลักษณะคล้ายก้ามปู จึงขนานนามเวียงใหม่นี้ว่า “ เมืองภูกามยาว ” แต่ประชาชนพากันเรียกสั้น ๆ ว่า พะเยา แล้วก็ราชาภิเษกขึ้นครองเมือง

พ.ศ. ๑๖๖๔ พญาลาวชันทรงขอตัวพญาลาวยี่เจื๋องไปปกครองเมืองฝาง พญาลาวชัน พระเชษฐาของพญาลาวจอมธรรมทรงขอตัวพญาลาวยี่เจื๋องโอรสองค์ที่ ๒ ของพญาลาว จอมผาเรืองไปปกครองเมืองฝาง อันเป็นเมืองลูกหลวงของแคว้นเงินยาง ซึ่งขณะนั้นมีพระชนม์มายุ ได้ราวๆ ๑๙ พรรษา เนื่องจากพญาลาวชันทรงมีพระธิดา คือ “ นางโอคาแพงเมือง ” และ “ นางงามแฝงจันทร์ผง ”

พ.ศ. ๑๖๗๐ พญาลาวน่าน พญาลาวจันทบุรีหลวงพระบาง และพญาแกว ประกันยกกองทัพประชิดติดเมืองเงินยาง เพื่อบังคับให้พญาลาวชินมอบพระราชธิดาทั้งสองพระองค์ให้ ขณะนั้นพญาลาวจอมธรรมสิ้นพระชนม์ไปแล้ว พญาลาวชิน จึงขอความช่วยเหลือไปยังพญาลาวอ้ายเจื๋องโอรสองค์แรกของพญาลาวจอมธรรม ซึ่งได้ปกครองเมืองพะเยาต่อจากพระราชบิดา และพญาลาวยี่เจื๋องที่ปกครองเมืองฝาง เหตุการณ์นั้นทำให้พญาลาวอ้ายเจื๋อง ถูกปลงพระชนม์ในที่รบพญาลาวยี่เจื๋องมาถึงก็พบว่ากองทัพพะเยาเสียให้กับข้าศึกแล้ว จึงรวบรวมทหารโจมตีข้าศึก พญาแกวประกันและพระจันทบุรีหลวงพระบางเสียชีวิตในการรบสงครามจึงสิ้นสุด พญาลาวชินจึงอภิเษกนางโอคาแพงเมืองและนางงามแฝงจันทร์ผง ให้เป็นพระมเหสีซ้ายและขวาและพญาลาวยี่เจื๋องปกครองสืบต่อไป แคว้นเงินยางได้กลับมามีเอกภาพภายใต้การปกครองของพระเจ้าแผ่นดินเพียง
พระองค์เดียวทำให้มีพลานุภาพมาก แว่นแคว้นใกล้เคียงต่างก็หวั่นเกรงอำนาจของเมืองเงินยาง หลายๆเมืองก็มาสวามิภักดิ์ เป็นเมืองออกมากมาย

พ.ศ. ๑๗๒๐ พญายี่เจื๋องหรือพญาขุนเจื๋องสิ้นพระชนม์ ขณะนั้นมีพระชนม์มายุได้ ๗๕ พรรษา ทรงกรีฑาทัพไปยังที่อันไกลพ้น ซึ่งตำนานระบุว่าเมืองตาตอกขอฟ้าตายืน พญาขุนเจื๋องต้องประสบกับความพ่ายแพ้ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย ด้วยทรงชราภาพมากแล้ว ซึ่งถือได้ว่ารัชกาลอันยาวนานของพญาขุนเจื๋อง เป็นช่วงที่แคว้นเงินยางมีอำนาจมากที่สุด

พ.ศ. ๑๗๘๐ เจ้าชายมังรายโอรสของพญาลาวเมงและนางเทพคำข่ายประสูติ การขึ้นครองราชย์ของพญามังรายเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าแคว้นเงินยางที่ดำรงความสงบสุขใน เขตมาตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง ๖๒๑ ปี


Source://www.chiangrai108.com/board/index.php?topic=1040.0

--------------------------------------------------------------


นครหิรัญนครเงินยาง

พ.ศ. ๑๑๘๑ พญาลาวจักราชราชาภิเษกเป็นนักกษัตริย์แห่งแคว้นโยนกนาคพันธุ์

โดยพญาลาวจักราชทรงได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์แห่งทวารวดีให้ราชาภิเษกขึ้น
เป็นกษัตริย์แห่งแคว้นโยนกนาคพันธุ์ เป็นการเริ่มต้นราชวงศ์ใหม่พญาลาวจักราชเข้า
มาอยู่ที่ “เวียงปรึกษา” ชุมชนสำคัญที่ถือว่าเป็นศูนย์กลางการปกครอง
แคว้นแทนเมืองเดิมที่ถล่มจมหายไป และมีประชากรหนาแน่นกว่าที่อื่น
อีกทั้งได้เปลี่ยนชื่อเมืองจากเมืองนาคพันธุ์มาเป็น เมืองเงินยางช้างแส่น หรือ
หิรัญนครเงินยางศรีช้างแส่น เรียกชื่อในภาษาบาลีว่า “ ยางคปุระ ”

พ.ศ. ๑๕๓๔ พญาลาวด้านสถาปนาเวียงยางเงิน (อำเภอแม่สายในปัจจุบัน)

พญาลาวด้านกษัตริย์รัชกลหนึ่งของแคว้นนครเงินยาง ได้ประพาสบ้านเมือง
ไปถึงเชียงดอยตุง บริเวณนั้นเรียกว่า “ บ้านยางเสี้ยว” ทรงทอดพระ
เนตรเห็นต้นโพธิ์ต้นหนึ่งมีสีขาวดั่งแร่เงิน ก็ทรงพอพระทัยและมีพระราชประสงค์
จะประทับอยู่ ณ ที่นั้น จึงมีบัญชาให้ตังเป็นเวียงที่มีชื่อว่า “ เวียงยางสาย ”
หรือ “ เวียงยางเงิน ” เหตุเพราะตั้งอยู่บนแม่น้ำแม่สาย ซึ่งเป็นพื้นที่ของ
“ เวียงผางคำ ” หรือ “ เวียงสีขาวเดิม ” โดยมีเจตนาให้เป็นศูนย์กลาง
ในการปกครองบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่สาย เวียงยางสายนี้ปัจจุบันคืออำเภอแม่สาย
และยังคงปรากฏแนวคันกำแพงเมืองและคูเมืองอย่างชัดเจน นับได้ว่าเมือง
แม่สายวันนี้มีอายุถึง ๑๐๐๐ ปีเศษ

พ.ศ. ๑๖๐๔ พญาตรีลานคำยกกองทัพเมืองน่านโจมตีเมืองเงินยาง

พญาตรีลานคำ เจ้าเมืองน่านมาโจมตีและยึดเมืองเงินได้ พร้อมปลงพระชนม์
พญาลาวจะกลาเรือนคำ กษัตริย์รัชกาลหนึ่งของเมืองเงินยาง พญาลาวครัวโอรส
ซึ่งขณะนั้นครองเมืองฝาง ยกกองทัพเมืองฝางมาช่วยเหลือและได้ทำศึกกับ
พญาตรีลานคำ พญาตรีลานคำต้านกองทัพเมืองฝางไม่ได้
เสียชีวิตในที่รบ กองทัพน่านจึงแตกพ่ายไป พญาลาวครัวจึงไดขึนครองเมืองสืบต่อมา

พ.ศ. ๑๖๓๙ พญาลาวจอมผาเรืองสถาปนาเมืองเชียงเรือง ( พะเยา )

พญาลาวจอมผาเรือง หรือพระยาลาวจอมธรรม โอรสองค์ที่ ๒ ของพญาลาวเงิน
กษัตริย์แคว้นเงินยางรัชกาลที่ ๑๘ ทรงได้รับมอบหมายให้ไปปกครองดินแดนทาง
ทิศใต้ของแคว้นซึ่งเวลานั้นมีประชากรเพิ่มพูนมาก ทรงพบว่าบริเวณดังกล่าว
เป็นภูมิสถานอันประเสริฐ เหมาะที่จะสร้างเป็นเวียง จึงเกณฑ์ไพร่พลมาแล้ว
สร้างเป็นเวียงขึ้น มีลักษณะคล้ายก้ามปู จึงขนานนามเวียงใหม่นี้ว่า “ เมืองภูกามยาว ”
แต่ประชาชนพากันเรียกสั้น ๆ ว่า พะเยา แล้วก็ราชาภิเษกขึ้นครองเมือง

พ.ศ. ๑๖๖๔ พญาลาวชันทรงขอตัวพญาลาวยี่เจื๋องไปปกครองเมืองฝาง

พญาลาวชัน พระเชษฐาของพญาลาวจอมธรรมทรงขอตัวพญาลาวยี่เจื๋องโอรสองค์ที่ ๒ ของพญาลาว
จอมผาเรืองไปปกครองเมืองฝาง อันเป็นเมืองลูกหลวงของแคว้นเงินยาง ซึ่งขณะนั้นมีพระชนม์มายุ
ได้ราวๆ ๑๙ พรรษา เนื่องจากพญาลาวชันทรงมีพระธิดา คือ “ นางโอคาแพงเมือง ” และ
“ นางงามแฝงจันทร์ผง ”

พ.ศ. ๑๖๗๐ พญาลาวน่าน พญาลาวจันทบุรีหลวงพระบาง และพญาแกว
ประกันยกกองทัพประชิดติดเมืองเงินยาง
เพื่อบังคับให้พญาลาวชินมอบพระราชธิดาทั้งสองพระองค์ให้ ขณะนั้นพญาลาวจอมธรรมสิ้นพระชนม์ไปแล้ว พญาลาวชิน จึงขอความช่วยเหลือไปยังพญาลาวอ้ายเจื๋องโอรสองค์แรกของพญาลาวจอมธรรม ซึ่งได้ปกครองเมืองพะเยาต่อจากพระราชบิดา และพญาลาวยี่เจื๋องที่ปกครองเมืองฝาง เหตุการณ์นั้นทำให้พญาลาวอ้ายเจื๋อง ถูกปลงพระชนม์ในที่รบพญาลาวยี่เจื๋องมาถึงก็พบว่ากองทัพพะเยาเสียให้กับข้าศึกแล้ว จึงรวบรวมทหารโจมตีข้าศึก พญาแกวประกันและพระจันทบุรีหลวงพระบางเสียชีวิตในการรบสงครามจึงสิ้นสุด พญาลาวชินจึงอภิเษกนางโอคาแพงเมืองและนางงามแฝงจันทร์ผง ให้เป็นพระมเหสีซ้ายและขวาและพญาลาวยี่เจื๋องปกครองสืบต่อไป แคว้นเงินยางได้กลับมามีเอกภาพภายใต้การปกครองของพระเจ้าแผ่นดินเพียง
พระองค์เดียวทำให้มีพลานุภาพมาก แว่นแคว้นใกล้เคียงต่างก็หวั่นเกรงอำนาจของเมืองเงินยาง หลายๆเมืองก็มาสวามิภักดิ์ เป็นเมืองออกมากมาย

พ.ศ. ๑๗๒๐ พญายี่เจื๋องหรือพญาขุนเจื๋องสิ้นพระชนม์

ขณะนั้นมีพระชนม์มายุได้ ๗๕ พรรษา ทรงกรีฑาทัพไปยังที่อันไกลพ้น ซึ่งตำนานระบุว่าเมืองตาตอกขอฟ้าตายืน พญาขุนเจื๋องต้องประสบกับความพ่ายแพ้ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย ด้วยทรงชราภาพมากแล้ว ซึ่งถือได้ว่ารัชกาลอันยาวนานของพญาขุนเจื๋อง เป็นช่วงที่แคว้นเงินยางมีอำนาจมากที่สุด

พ.ศ. ๑๗๘๐ เจ้าชายมังรายโอรสของพญาลาวเมงและนางเทพคำข่ายประสูติ การขึ้นครองราชย์ของพญามังรายเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าแคว้นเงินยางที่ดำรงความสงบสุขใน
เขตมาตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง ๖๒๑ ปี



ขอบคุณที่มา //www.thaigoodview.com
Source://talk.mthai.com/topic/354860

-------------------------------------------------------------


เวียงเชียงแสน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เวียงเชียงแสน (คำเมือง: LN-Wiang Chiang Saen.png) คือ เวียง ก่อนที่จะมาเป็นอาณาจักรล้านนา ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่บ้านสบคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายแคว้นที่สำคัญที่สุดและมีเมืองหลวงอยู่ในอำเภอเชียงแสน ก็คือ แคว้นโยนกนาคพันธุ์ ซึ่งเป็นแคว้นโบราณที่เก่าแก่ที่สุดบนอาณาจักรล้านนา มีอายุประมาณ 2000 ปี ปัจจุบันนี้ก็คือ ทะเลสาบเชียงแสน และรอบๆนั้นอีกแคว้นหนึ่งก็คือ แคว้นหิรัญนครเงินยาง ซึ่งเป็นแคว้นผู้ก่อตั้งเวียงเชียงแสน เป็นแคว้นสืบต่อเนื่องจากแคว้นโยนกนาคพันธุ์ และเป็นถิ่นประสูติของพญามังรายมหาราช


ประวัติ

หิรัญนครเงินยางเชียงแสน ที่ประสูติของพระเจ้ามังรายมหาราช
หลังจากนครโยนกนาคพันธุ์ถูกถล่มด้วยแผ่นดินไหวล่มสลายลง เมื่อปี พ.ศ. 1088 ก็สิ้นราชวงศ์สิงหนวัติ หลังจากนั้นอีกหลายปี บรรดาชุมชนบริเวณรอบๆที่หลงเหลืออยู่ จึงต้องหาผู้นำใหม่ ปรากฏว่าได้ "ขุนลัง" เป็นผู้นำ ก่อนจะย้ายศูนย์กลางการปกครองมาตั้งบนเวียงริมฝั่งแม่น้ำโขง ปกครองด้วยการประชุมหารือกันในหมู่หัวหน้าชุมชน ทำให้เวียงแห่งใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า "เวียงปรึกษา" วิธีปกครองแบบปรึกษา ซึ่งนักวิชาการบางท่านก็จะคิดว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยครั้งแรกในเมืองไทยนี้ สามารถใช้มาจนถึง พ.ศ. 1181 เป็นเวลาถึง 93 ปี ก่อนที่พระยากาฬวรรณดิศราช หรือ พญาอนิรุทธ กษัตริย์แห่งทวารวดีจะเสด็จขึ้นมาสนับสนุน "พญาลวจักรราช" ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่แทนราชวงศ์สิงหนวัติ


เจ้าผู้ครองเวียงปรึกษา

ราชวงศ์โกชกเวียงปฤกษา

1.ขุนลัง
2.ขุนจาง
3.ขุนลาน
4.ขุนถาน
5.ขุนตาม
6.ขุนตง
7.ขุนแตง
8.ขุนดัน
9.ขุนกง
10.ขุนจอม
11.ขุนชง
12.ขุนชิต
13.ขุนอิทธิ
14.ขุนสิทธะ
15.ขุนศุกขะ

Source://th.wikipedia.org/wiki/เวียงเชียงแสน

--------------------------------------------------------------


หิรัญนครเงินยางเชียงแสน ที่ประสูติของพระเจ้ามังรายมหาราช

หลังจากนครโยนกนาคพันธุ์ถูกถล่มด้วยแผ่นดินไหวล่มสลายลง เมื่อปี พ.ศ. 1088 ก็สิ้นราชวงศ์สิงหนวัติ หลังจากนั้นอีกหลายปี บรรดาชุมชนบริเวณรอบๆที่หลงเหลืออยู่ จึงต้องหาผู้นำใหม่ ปรากฏว่าได้ "ขุนลัง" เป็นผู้นำ ก่อนจะย้ายศูนย์กลางการปกครองมาตั้งบนเวียงริมฝั่งแม่น้ำโขง ปกครองด้วยการประชุมหารือกันในหมู่หัวหน้าชุมชน ทำให้เวียงแห่งใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า "เวียงปรึกษา" วิธีปกครองแบบปรึกษา ซึ่งนักวิชาการบางท่านก็จะคิดว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยครั้งแรกในเมืองไทยนี้ สามารถใช้มาจนถึง พ.ศ. 1181 เป็นเวลาถึง 93 ปี ก่อนที่พระยากาฬวรรณดิศราช หรือ พญาอนิรุทธ กษัตริย์แห่งทวารวดีจะเสด็จขึ้นมาสนับสนุน "พญาลวจักรราช" ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่แทนราชวงศ์สิงหนวัติ


--------------------------------------------------------------




โรงแรม Siam Triangle Hotel อ.เชียงแสน จ.เชียงราย.








 

Create Date : 09 มกราคม 2558
0 comments
Last Update : 10 มกราคม 2558 19:22:18 น.
Counter : 15083 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Merchant Dream
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




Happiness Lies in the job of achivement and the thrill of "CREATIVE EFFORT"

ความสุขซุกซ่อนอยู่ในความสำเร็จ ในหน้าที่การงาน และ ความรู้สึกว่า ได้ทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่แล้ว.
New Comments
Friends' blogs
[Add Merchant Dream's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.