สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

สเตมเซลล์จากสายสะดือมรดกที่พ่อแม่ให้ลูก

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การนำสเตมเซลล์ (Stem Cells) ไปใช้มีความสำคัญมากขึ้น การเก็บสเตมเซลล์ของลูก อาจเป็นโอกาสเดียวในชีวิต และเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการรักษาชีวิตของลูกและสมาชิกในครอบครัวที่คุณรักในอนาคต


สเตมเซลล์คืออะไร

สเตมเซลล์ คือ เซลล์ต้นกำเนิด หรือ เซลล์ต้นแบบของร่างกายที่สามารถสร้างหรือฟื้นฟูไปเป็นเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์หัวใจ เซลล์ประสาท เป็นต้น


สเตมเซลล์รักษาโรคอะไรได้บ้าง

ปัจจุบันได้มีการนำสเตมเซลล์มาใช้ปลูกถ่ายไขกระดูก เพื่อรักษาโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับไขกระดูก นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยที่ถูกนำมาเผยแพร่มากมายเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางการแพทย์ อาทิเช่น การศึกษาวิจัยด้านการใช้สเตมเซลล์ในการรักษาโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ (Stroke) เบาหวานและโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน ภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน โรคทางระบบประสาทเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและอาการสั่น (โรคพาร์กินสัน) โรคความจำเสื่อม (อัลไซเมอร์)


การปลูกถ่ายสเตมเซลล์

ในการปลูกถ่ายสเตมเซลล์ อาทิเช่น ไขกระดูก สิ่งที่จำเป็นต่อการรักษาที่ได้ผล คือ การเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ (HLA typing) มิเช่นนั้น ร่างกายอาจเกิดการปฏิเสธสเตมเซลล์ของผู้อื่นได้ รหัสเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้ของคนในครอบครัว คือ 1 ใน 4 แต่สำหรับคนนอกครอบครัวจะเท่ากับ 1 ใน 50,000 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่เป็นลูกครึ่งจะหารหัสเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้ยาก เนื่องมาจากลักษณะเฉพาะของเนื้อเยื่อในเด็กลูกครึ่ง

ดังนั้น ไม่มีสิ่งใดดีกว่าสเตมเซลล์ของตัวเราเองหรือคนในครอบครัวเดียวกัน เพราะถึงแม้ว่าอาจมีรหัสเนื้อเยื่อไม่ตรงกันทั้งหมด แต่โอกาสของการปฏิเสธอาจเกิดได้น้อยกว่าการใช้สเตมเซลล์จากคนนอกครอบครัวถึงร้อยละ 30


สเตมเซลล์สามารถพบที่ไหนได้บ้าง

สเตมเซลล์ผู้ใหญ่มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ สายสะดือ (Umbilical Cord Blood-UCB) กระแสโลหิต (Peripheral Blood Stem Cells-PBSC) และ ไขกระดูก (Bone Marrow Stem Cells-BMSC)


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสเตมเซลล์จากสายสะดือ

สายสะดือเป็นสายใยแห่งความรักที่เชื่อมโยงระหว่างทารกในครรภ์กับมารดา ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหารและของเสียจนกว่าทารกจะคลอดแล้วยังเป็นแหล่งของสเตมเซลล์ที่มีค่าสูง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคพันธุกรรมและโรคอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด

การเก็บเลือดจากสายสะดือ สามารถทำได้ในช่วงแรกคลอดเท่านั้น ซึ่งเลือดที่เก็บนั้นไม่ได้มาจากมารดาหรือทารก จึงมีความปลอดภัย ไม่มีอันตราย วิธีการจัดเก็บง่าย และมีเซลล์ต้นกำเนิดที่เป็นหนึ่งเดียวกับทารกและมีรหัสเนื้อเยื่อใกล้เคียงกับคนในครอบครัว


ทำไมต้องเก็บสเตมเซลล์จากสายสะดือ

ถึงแม้ว่าความชัดเจนในการนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆ ยังเป็นเรื่องของอนาคต แต่วันนี้ชีวิตของลูกคุณมีทางเลือก เพราะการเก็บสเตมเซลล์ไว้ก่อนเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับวันที่โรคร้ายมาเยือนการเตรียมสเตมเซลล์ไว้จะทำให้ไม่ต้องหาและรอคอยสเตมเซลล์ที่เข้ากันได้จากผู้อื่น




ขอบคุณข้อมูลจากบริษัท ไทย สเตมไลฟ์ จำกัด
//www.gnc.co.th/index.php?id=19&t=1&page=notes






 

Create Date : 30 มิถุนายน 2552
7 comments
Last Update : 30 มิถุนายน 2552 8:48:50 น.
Counter : 2181 Pageviews.

 

ความรู้อีกแล้ว ถ้าอีกหน่อยพัตนาได้เยอะๆก็ดีนะครับ มีประโยชน์มากสเตมเซลล์เนี่ย

 

โดย: rugby34 30 มิถุนายน 2552 11:08:23 น.  

 

พยายามเอาชนะธรรมชาติ

 

โดย: tuk-tuk@korat 30 มิถุนายน 2552 14:48:17 น.  

 

ตอนหมิงหมิงคลอด
คุณหมอไม่ไ่ด้ถามเรื่องนี้
ก็เลยไม่ได้เก็บไว้ครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 30 มิถุนายน 2552 15:51:04 น.  

 

สวัสดีครับคุณกบ






 

โดย: กะว่าก๋า 1 กรกฎาคม 2552 13:10:35 น.  

 

สวัสดีค่ะ

ทานข้าวให้อร่อยนะคะคุณกบ


 

โดย: ญามี่ 1 กรกฎาคม 2552 13:36:50 น.  

 

 

โดย: เกศสุริยง 2 กรกฎาคม 2552 0:21:55 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับคุณกบ








 

โดย: กะว่าก๋า 2 กรกฎาคม 2552 8:11:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
30 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.