สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

มารู้จัก "โรคไอบีเอส" หรือลำไส้แปรปรวน

โรคไอบีเอส หรือ โรคลำไส้ทำงานแปรปรวน คือโรคอะไร

โรคลำไส้ทำงานแปรปรวน เป็นโรคของลำไส้ที่ทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดการปวดท้องร่วมกับมีอาการท้องเสียหรือท้องผูก หรือท้องเสียสลับกับท้องผูก โดยที่ตรวจไม่พบพยาธิสภาพที่ลำไส้ เช่น ส่องกล้องตรวจลำไส้จะไม่มีอาการอักเสบ ไม่แผลไม่มีเนื้องอกหรือมะเร็ง รวมทั้งไม่มีโรคของอวัยวะอื่น ๆ ที่จะมีผลให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติ เช่นโรคต่อมทัยรอยด์เป็นพิษ หรือโรคเบาหวานเป็นต้น โรคลำไส้ทำงานแปรปรวนจะเป็นโรคเรื้อรังอาจเป็นปี ๆ หรืออาจเป็นตลอดชีวิต เป็นโรคที่ไม่ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม แม้จะเป็นมาหลาย ๆ ปี และไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่เป็นโรคที่สร้างความรำคาญ และความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยอย่างมากได้ เนื่องจากผู้ป่วยจะวิตกกังวลมากว่าทำไม่โรคไม่หายแม้ได้ยารักษา ในบางรายอาการท้องเสียบ่อยจะรบกวนการทำงานอย่างมาก ทำให้ไม่อยากออกไปทำธุระหรือเดินทางนอกบ้านหรือนอกที่ทำงาน

โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคเดียวกับโรคไอบีเอส (IBS) หรือไม่

โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคเดียวกับโรคไอบีเอส Irritable Bowel Syndrome ซึ่งเรียกย่อ ๆ ว่า (IBS) นั้นเอง แพทย์มักจะใช้คำว่าโรคไอบีเอส ส่วนโรคลำไส้ทำงานแปรปรวนเป็นชื่อที่แพทย์จะใช้อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ

โรคไอบีเอส พบบ่อยหรือไม่

ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปพบร้อยละ 10-20 ของประชากร ในประเทศญี่ปุ่นพบร้อยละ 25 ของประชากร ในประเทศไทยมีข้อมูลค่อนข้างน้อยในการศึกษาเรื่องนี้ ข้อมูลที่มีอยู่คือ พบได้ประมาณร้อยละ 7 ของประชากร แต่ถ้าศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียเรื้อรังแล้วมาพบแพทย์จะพบว่าเป็นโรคไอบีเอส ถึงร้อยละ 10-30 จากตัวเลขดังกล่าวในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยไอบีเอส ประมาณไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน ซึ่งอาจจะเป็นการประมาณที่ต่ำกว่าเป็นจริง เพราะว่าในรายที่มีอาการไม่มากอาจคิดว่าตนเองไม่ได้เป็นโรคนี้ ในต่างประเทศโดยทั่วไปพบโรคนี้ได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 : 1 ส่วนข้อมูลในบ้านเราพบในผู้หญิงและผู้ชายในจำนวนใกล้เคียงกัน

โรคไอบีเอส มีสาเหตุจากอะไร

แม้โรคไอบีเอส จะเป็นโรคที่พบบ่อย และมีการศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้อย่างมากมานานแล้วก็ตามใน ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอน จึงยังไม่มียาที่ดีหรือเฉพาะโรคนี้ที่จะกำจัดสาเหตุของโรคไอบีเอสได้ ซึ่ง อันนี้เป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมผู้ป่วยจึงเป็นเรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ

จากหลักฐานที่มีอยู่เชื่อว่ามีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคไอบีเอส ซึ่ง 2 ปัจจัยที่สำคัญได้แก่
1. การบีบตัวหรือการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติซึ่งเป็นผลจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนบางอย่างในผนังลำไส้ผิดปกติไป นำไปสู่อาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก
2. ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ เช่น หลังกินอาหารซึ่งในคนปกติจะกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวหรือเคลื่อนตัวเพิ่มขึ้นอยู่แล้วแต่ในผู้ป่วยไอบีเอส จะมีการตอบสนองมากผิดปกติมีการบีบตัวและเคลื่อนตัวของลำไส้มากขึ้น จนมีอาการปวดท้องและท้องเสีย เป็นต้น นอกจากอาหารแล้วตัวกระตุ้นอื่นที่สำคัญ คือ ความเครียดหรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ก็มีส่วนหนุนเสริมภาวะดังกล่าว

โรคไอบีเอส จะกลายเป็นมะเร็งหรือไม่

โรคไอบีเอส ไม่ใช่โรคมะเร็งและจะไม่กลายเป็นมะเร็งแม้จะมีประวัติเป็น ๆ หาย ๆ มานาน ยิ่งผู้ ป่วยมีอาการมานานเป็นปี ๆ โอกาสเป็นโรคมะเร็งยิ่งน้อยมาก ที่ต้องระวังคือ ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือเพิ่งมามีอาการท้องเสียหรือท้องผูก หลังอายุ 40-50 ปี อาจมีโอกาสที่จะมี สาเหตุจากโรคมะเร็งลำไส้ได้สูงขึ้น (คือมีโรคมะเร็งลำไส้มากเกิดร่วมกับโรคไอบีเอส) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับ การตรวจและสืบค้นโดยแพทย์ให้รู้สาเหตุที่แน่นอน

อะไรคืออาการของโรคไอบีเอส

ในคนปกติการถ่ายอุจจาระของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันมาก บางคนจะถ่ายอุจจาระทุกวัน บางคนถ่ายอุจจาระเป็นบางวัน โดยทั่วไปถือว่าการถ่ายอุจจาระที่ปกติคือจำนวนครั้งไม่เกิน 3 ครั้งต่อวัน หรือไม่น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ลักษณะอุจจาระที่ปกติจะต้องเป็นก้อนแต่ต้องไม่แข็งเป็นลูกกระสุน หรือ เหลวมากหรือเป็นน้ำต้องไม่มีเลือดปน และไม่มีปวดเกร็งท้องร่วมด้วย
อาการสำคัญของผู้ป่วยไอบีเอส คือปวดท้องส่วนใหญ่มักปวดที่ท้องน้อย ลักษณะจะเป็นปวดเกร็ง อาการปวดจะดีขึ้นหลังถ่ายอุจจาระพร้อม ๆ กับปวดท้องผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของการถ่ายอุจจาระร่วม ด้วย อาจเป็นท้องเสียหรือท้องผูกก็ได้ หรือเป็นท้องผูกสลับกับท้องเสียลักษณะอุจจาระจะเปลี่ยนไปเป็น ก้อนแข็ง หรือเหลวจนเป็นน้ำ ผู้ป่วยอาจถ่ายอุจจาระลำบากขึ้นต้องแบ่งมากหรืออาจรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ ทันทีกลั้นไม่อยู่ ผู้ป่วยจะรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ แม้เพิ่งจะไปถ่ายอุจจาระมา มีความรู้สึกเหมือนถ่าย ไม่สุด จะมีถ่ายเป็นมูกปนมากับอุจจาระมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีท้องอึดมีลมมากในท้องเวลาถ่ายอุจจาระมักมีลม ออกมาด้วย ผู้ป่วยมักมีอาการเหล่านี้เป็น ๆ หาย ๆ รวมเวลาแล้วมักเป็นนานเกิน 3 เดือน ในช่วง 1 ปีที่ผ่าน มากส่วนใหญ่มักมีประวัติเป็นมานานหลายปี

ถ้าผู้ป่วยมีอาการถ่ายเป็นเลือด มีไข้ น้ำหนักลด ซีดลง มีอาการช่วงหลังเที่ยงคืนหรือมีอาการปวด เกร็งท้องมากตลอดเวลาอาการเหล่านี้บ่งชี้ว่าไม่ใช่โรคไอบีเอส

โรคไอบีเอสวินิจฉัยได้อย่างไร

โรคไอบีเอสจะได้รับการวินิจฉัยก็ต่อเมื่อแพทย์ได้วินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆ แล้วหรือหาโรคอื่นที่จะ อธิบายว่าเป็นสาเหตุของโรคไม่ได้โดยแพทย์ซักประวัติและตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจ อุจจาระ เป็นต้น ในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 45 หรือ 50 ปี จะได้รับการตรวจเอกซ์เรย์ลำไส้ใหญ่ หรือส่องกล้อง ตรวจลำไส้ใหญ่ ซึ่งผลการตรวจร่างกายและการสืบค้น
ต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ

โรคไอบีเอสรักษาหายหรือไม่

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่เป็นมาตรฐานหรือได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ แพทย์จะให้การรักษาไปตาม อาการ เช่นให้ยาระบายในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่นหรือให้ยาแก้ท้องเสียถ้ามีอาการท้องเสีย เป็นอาการเด่น ให้ยาลดการเกร็งตัวของลำไส้เพื่อช่วยเรื่องปวดท้อง ดังนั้นผลการรักษาจึงยังไม่ได้ผลดี ผู้ ป่วยจึงมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ไม่หายขาด เมื่อเร็ว ๆ นี้เริ่มมียาใหม่ซึ่งมีศักยภาพในการรักษาอาการปวดท้อง และท้องเสียของผู้ป่วยไอบีเอสได้ดีขึ้น โดยออกฤทธิ์ตรงกับพยาธิกำเนิดซึ่งเราเรียนรู้และมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น

อาหารและความเครียดมีผลต่อโรคไอบีเอสหรือไม่

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการหลังมื้ออาหาร หรือเมื่อเครียด ซึ่งมีการศึกษาว่ามีหลักฐานยืนยันในเรื่อง ดังกล่าว ปกติการกินอาหารจะกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 30 นาที ถึง 1 ชม. หลังอาหาร แต่ ในผู้ป่วยไอบีเอส จะมีการกระตุ้นให้มีการบีบตัวของลำไส้เร็วขึ้นและรุนแรงมากขึ้น จนมีอาการปวดท้อง เกร็งและมีท้องเสียเกิดขึ้น ส่วนประกอบของอาหารได้แก่ ไขมัน ไม่ว่าจะเป็นไขมันจากสัตว์หรือพืชจะเป็น ตัวกระตุ้นที่รุนแรงของการบีบตัวของลำไส้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน เช่น เนื้อสัตว์ทุกชนิด หนังเป็ด หนังไก่ นม ครีม เนย น้ำมันพืช และอะโวคาโด
อาหารที่มี fiber จะช่วยลดอาการของไอบีเอสได้ โดยการบีบตัวหรือเกร็งตัวของลำไส้ลดลง นอก จากนี้ fiber ยังช่วยดูดน้ำไว้ในตัวอุจจาระ ทำให้อุจจาระไม่แข็งและถ่ายได้ง่ายขึ้น อาหารที่มี fiber มาก จะ ทำให้มีท้องอืดมีแก๊สในท้องได้ แต่จะเป็นเฉพาะช่วง 1 - 2 สัปดาห์แรก ต่อไปร่างกายจะปรับตัวได้เอง

การกินอาหารควรกินทีละน้อยแต่กินให้บ่อยขึ้นไม่ควรกินจนอิ่มมาก เพราะว่าจะกระตุ้นให้มี อาการปวดท้องและท้องเสียได้ง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน โดยกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่นแป้ง และน้ำตาลให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด กาแฟ ของดอง น้ำอัดลม และยาบางชนิด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้นด้วยความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้มีการเกร็งตัว ของลำไส้เพิ่มขึ้น จึงควรผ่อนคลายความเรียดทำจิตใจให้สบาย และ พักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ ถือเป็น ส่วนสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยไอบีเอสด้วยส่วนหนึ่ง

เนื่องจากโรคไอบีเอสมักมีแนวโน้มจะกลับมามีอาการอีกเมื่อได้รับการรักษาให้ดีขึ้นแล้วการปรับ การดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตนดังกล่าวแล้วควรทำไปตลอด ซึ่งนอกจากจะทำให้อาการลดลงแล้วยังช่วย ป้องกันไม่ให้เกิดอาการขึ้นใหม่และจะได้ไม่ต้องกินยามากอีกด้วย

โรคไอบีเอสชนิดท้องผูก แตกต่างจากอาการท้องผูกธรรมดาอย่างไร
ความแตกต่างที่สำคัญ คือ นอกจากมีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่นแล้วจะต้องมีอาการปวดท้อง (ส่วนใหญ่จะปวดเกร็งที่ท้องน้อยเป็นระยะ ๆ) ร่วมด้วย และมักเป็น ๆ หาย ๆ อาการปวดจะดีขึ้นเมื่อได้ถ่ายอุจจาระ แต่ผู้ป่วยต้องใช้แรงเบ่งค่อนข้างมากเพราะอุจจาระมีลักษณะแข็ง บางรายอาจถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ และมักเป็นต่อเนื่องติดต่อกันราว 3 เดือน

สาเหตุการเกิดโรคมาจาก 3 ปัจจัย คือ

1. การบีบตัวหรือเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ ซึ่งเป็นผลจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนบางอย่างในผนังลำไส้ผิดปกติไป นำไปสู่อาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก
2. ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ เช่น หลังรับประทานอาหารซึ่งในคนปกติจะกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวหรือเคลื่อนตัวเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่ในผู้ป่วยโรคไอบีเอส จะมีการตอบสนองมากผิดปกติ โดยมีการบีบตัวและเคลื่อนตัวของลำไส้มากขึ้นทำให้ปวดท้องและท้องเสีย หรือท้องผูก นอกจากนี้ยังมีตัวกระตุ้นอื่น ๆ ที่สำคัญ คือ ความเครียด หรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
3. เกิดความผิดปกติของสารที่ควบคุมการทำงานซึ่งมีหลายชนิดและทำหน้าที่แตกต่างกัน ทำให้การควบคุมการทำงานของแกนที่เชื่อมโยงระหว่างประสาทรับความรู้สึก ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้ และสมองผิดปกติทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคนี้

1. รับประทานอาหารที่มีกากหรือเส้นใยมาก ๆ เช่น เปลือกข้าวสาลี ผัก ผลไม้ เพราะกากและเส้นใยจากอาหารจะช่วยลดการบีบตัวหรือเกร็งของลำไส้รวมทั้งลดความดันภายในช่องลำไส้ นอกจากนี้ยังช่วยดูดน้ำไว้ในอุจจาระทำให้ปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้นและไม่แข็ง
2. ดื่มน้ำมาก ๆ (วันละประมาณ 2 ลิตร) และออกกำลังกายแต่พอเหมาะ
3. ฝึกนิสัยการอุจจาระให้เป็นไปตามสบาย อย่ารีบเร่ง กรณีต้องใช้ยาระบายช่วย แนะนำให้ใช้ยาระบาย Milk of Magnesia หรือ Lactulose

สำหรับอาการปวดท้อง สามารถทำให้ทุเลาด้วยการ…

- รับประทานอาหารแต่พอเหมาะ ไม่อิ่มจนเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันเพราะไขมันจะเป้นตัวกระตุ้นที่รุนแรงของการบีบตัวของลำไส้
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมทั้งกาแฟ ของดอง น้ำอัดลม และยาที่ทำให้มีอาการท้องผูกมากขึ้น เช่น ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียม ยาแก้ปวด และยาต้านการหดเกร็งของลำไส้ เป็นต้น
- ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย มองโลกในแง่ดี ไม่เครียด

แม้โรคไอบีเอสจะเป็นโรคเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ บางรายอาจเป็น 5 – 8 ปี แต่โรคนี้ก็มิใช่โรคร้ายแรง และไม่ทำให้เสียชีวิต ดังนั้นหากท่านปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด อาการก็จะทุเลาอย่างรวดเร็ว



ขอบคุณข้อมูลจาก//www.si.mahidol.ac.th




 

Create Date : 26 กันยายน 2552
11 comments
Last Update : 26 กันยายน 2552 8:20:26 น.
Counter : 5020 Pageviews.

 

สงสัยเน็ตคุณกบคงค้างครับ
เม้นท์มา 4 รอบเลยครับ อิอิอิ


 

โดย: กะว่าก๋า 26 กันยายน 2552 9:34:18 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณกบ แวะมาส่งเสียงจร้า
ว่ากุ๊กไก่กลับมาแล้วนะค่ะ ธุ ระก็เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ แต่ตอนนี้คุณพ่อไม่สบายค่ะเป็นมะเร็งตับระยะสุ ดท้าย
ผ่าตัดแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้นเลย

 

โดย: ยายกุ๊กไ่ก่ 27 กันยายน 2552 0:03:50 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


แวะมาทักทายกันวันจันทร์สุดท้ายของเดือนจ้าคุณกบ
เคยค้นเรื่องนี้อยู่เหมือนกันค่ะ แต่นานมาแล้ว

 

โดย: หอมกร 28 กันยายน 2552 9:08:02 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
สวัสดีค่ะคุณกบ ดิฉันขอขอบคุณกำลังใจที่มีให้ ทำให้ครูเกศคนนี้มีแรงฮึดสู้อีกครั้งค่ะและขอโทษที่แวะมาทักทายช้านะคะเพราะว่าอาทิตย์ที่ผ่านมามีงานเกษียนอายุราชการเข้ามาเยอะพอสมควรเลยต้องเร่งๆทำงาน แต่ตอนนี้เริ่มเบาแล้วล่ะค่ะ ขอให้คุณกบมีความสุขมากๆนะคะและเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดไป........ครูเกศเองจ๊ะ

 

โดย: เกศสุริยง 28 กันยายน 2552 9:09:49 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์ค่ะ

 

โดย: หมูปิ้งไม้ละ 5 บาท 28 กันยายน 2552 11:22:21 น.  

 

แวะมาหาความรู้ใส่สมองจ๊ะ

 

โดย: ถั่วงอกน้อยค่ะ 29 กันยายน 2552 9:48:10 น.  

 

โรคนี้น่ากลัวจริงๆ แต่โรคใจแปรปรวนน่ากลัวกว่า

ขอบคุณที่นำมาฝาก จ๊ะ

 

โดย: บ้าได้ถ้วย 29 กันยายน 2552 11:59:31 น.  

 

ขอบคุณ สำหรับข้อมูลดีดีนะคะ

อ่านแล้วได้ความรู้ดีจัง

 

โดย: นางฟ้าของชาลี 30 กันยายน 2552 4:53:39 น.  

 

โรคนี้น่ากลัวเหมือนกันนะค่ะกบ
แต่ไม่เป็นดีที่สุดเลย

 

โดย: ดอกฝิ่นในสายลมหนาว 30 กันยายน 2552 7:28:58 น.  

 

สวัสดีครับคุณกบ

 

โดย: กะว่าก๋า 30 กันยายน 2552 8:12:53 น.  

 

สวัสดีครับคุณกบ

 

โดย: กะว่าก๋า 30 กันยายน 2552 8:13:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
26 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.