สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

มารู้จักและช่วยเด็กสมาธิสั้นกันเถอะ ตอนที่ 2

ต่อจากตอนที่แล้ว

เด็กจำเป็นต้องรับประทานยาไปนานแค่ไหน?

ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละราย เด็กบางคนที่อาการไม่รุนแรง ไม่มีโรคแทรกซ้อน พ่อแม่ ครูเข้าใจและให้ความช่วยเหลือเต็มที่ มีการฝึกฝนทักษะต่างๆให้เด็ก เช่น ทักษะการควบคุมตัวเอง ทักษะในการจัดระเบียบของการทำงาน สิ่งของ ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเหมาะสม ฯลฯ เด็กกลุ่มนี้อาจจะมีโอกาสหายจากโรคนี้ได้และไม่จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต แต่จะมีเด็กอยู่ประมาณ 50% ที่มีอาการรุนแรง มีภาวะแทรกซ้อน เด็กกลุ่มนี้อาจมีอาการติดตัวจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่และจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไป พ่อแม่มักจะให้ลูกหยุดรับประทานยาช่วงโรงเรียนปิดเทอมหากเด็กไม่มีกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิและอยู่บ้านเฉยๆ แพทย์มักจะใช้โอกาสนี้ประเมินเด็กว่า อาการเป็นอย่างไรเมื่อหยุดยา หากหลังจากหยุดยาแล้วพบว่าเด็กยังคงอยู่ไม่นิ่ง มีพฤติกรรมรบกวนผู้อื่น หรือยังขาดสมาธิ แสดงว่าเด็กยังไม่หายและควรรับประทานยาต่อไป มีความเป็นไปได้น้อยที่เด็กจะหายจากสมาธิสั้นก่อนอายุ 12 ปี ดังนั้นเด็กในวัยประถมควรได้รับการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง

จะมีผลในระยะยาวต่อร่างกายและสมองของเด็กหรือไม่?

พ่อแม่หลายท่านมักจะกังวล เกรงว่าจะมีผลเสียกับเด็กหากเด็กรับประทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เช่น เกรงว่าเด็กจะไม่โต ตัวเล็ก สมองเสื่อม ไม่ฉลาด เป็นต้น ยาที่แพทย์ใช้รักษาสมาธิสั้นมากที่สุดคือ ยาในกลุ่ม psychostimulants ซึ่งเป็นยาที่มีใช้กันมานานกว่า 60 ปีแล้ว มีการวิจัยมากมายที่ยืนยันความปลอดภัยของยาในกลุ่มนี้ โดยพบว่า เด็กสมาธิสั้นที่รับประทานยาในกลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ มี การเจริญเติบโตเท่ากับเด็กปกติ และมีพัฒนาการทางสมองเป็นปกติ

เด็กรับประทานยาไปนานๆมีโอกาสติดยาหรือไม่?

ยังมีผู้ที่เข้าใจผิด วิตกกังวลและไม่แน่ใจว่าหากเด็กรับประทานยารักษาโรคสมาธิสั้นไปนานๆแล้วจะทำให้เด็กมีโอกาสติดยาหรือสารเสพติดอื่นๆสูงขึ้นหรือไม่ การวิจัยจากหลายประเทศพบว่าโอกาสที่เด็กจะติดยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น หรือนำไปใช้เสพในทางที่ผิดมีน้อยมากหากอยู่ในความดูแลของแพทย์ นอกจากนี้การวิจัยล่าสุดพบว่า เด็กสมาธิสั้นที่ได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาสม่ำเสมอมีโอกาสติดยาเสพติดน้อยกว่าเด็กสมาธิสั้นที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาถึง 5 เท่า ดังนั้นการรักษาเด็กสมาธิสั้นด้วยยาอย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงของเด็กที่จะไปติดสารเสพติดในอนาคต ผลอันนี้อธิบายได้จากการที่เด็กสมาธิสั้นเมื่อได้รับการรักษาด้วยยามักจะประสบความสำเร็จด้านการเรียนมากขึ้น เป็นที่ยอมรับของเพื่อนและคนรอบข้างมากขึ้น เด็กจึงเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง มีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) สูงขึ้น นำไปสู่การคบเพื่อนที่ดี ทำให้โอกาสที่จะไปใช้ยาเสพติดลดลง เม็ดของยาชนิดที่รับประทานเพียงครั้งเดียวตอนเช้าแต่ฤทธิ์ของยาอยู่ได้ถึงช่วงเย็น (long-acting methylphenidate - Concerta®) มีลักษณะเป็นแคปซูลที่ทำให้แตกได้ยาก ดังนั้นโอกาสที่เด็กจะนำยาตัวนี้ไปใช้ในทางที่ผิดยิ่งมีน้อยกว่ายาที่ออกฤทธิ์เร็วและสั้น

เด็กไม่ยอมกินยา อ้างว่าลืมบ่อยๆจะทำอย่างไร?

อันดับแรกพ่อแม่ควรพูดคุยกับเด็ก ว่าเขารู้สึกอย่างไรกับการรับประทานยา เช่น รู้สึกไม่พอใจ ไม่คิดว่าตัวเองมีอะไรผิดปกติที่ทำให้จำเป็นต้องรับประทานยา หรือรู้สึกอายเพื่อน ฯลฯ พ่อแม่ควรพูดคุยกับเด็กว่าเขาจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการรับประทานยา หากเป็นเด็กเล็ก พ่อแม่อาจขอความร่วมมือจากคุณครูประจำชั้นให้ช่วยดูแลเรื่องการรับประทานยามื้อเที่ยงของเด็ก หากเป็นเด็กโตอาจให้รับประทานยาชนิดที่รับประทานเพียงครั้งเดียวตอนเช้าแต่ฤทธิ์ของยาอยู่ได้ถึงช่วงเย็นเช่น ยา long-acting methylphenidate (Concerta®) เป็นต้น

จะพูดกับเด็กอย่างไรว่าทำไมเขาจึงต้องรับประทานยา?

พ่อแม่ไม่ควรโกหกเด็กเวลาให้เด็กรับประทานยารักษาสมาธิสั้น บางท่านหลอกเด็กว่าเป็นวิตะมิน บางท่านใช้ยามาขู่เด็กว่าหากทำตัวไม่ดีต้อง “กินยาแก้ดื้อ” ทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการรับประทานยา วิธีที่เหมาะสมควรพูดกับเด็กตรงๆว่าพ่อแม่ต้องการให้เด็กรับประทานยาเพื่ออะไร โดยเน้นประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการรับประทานยา ตัวอย่างคำพูด ได้แก่ “หนูจำเป็นต้องรับประทายานี้ เพราะยานี้จะช่วยให้หนูคุมตัวเองได้ดีขึ้น น่ารักมากขึ้น มีสมาธิยาวนานขึ้น” พูดถึงยาในแง่บวก เช่น เป็นยา “เด็กเรียบร้อย เพราะเวลาที่หนูกินยานี้แล้ว หนูเรียบร้อยขึ้นเยอะเลย” เป็นยา “เด็กดี เพราะเวลาที่หนูกินยานี้แล้ว หนูเป็นเด็กดี..น่ารัก..ว่านอนสอนง่ายขึ้นเยอะเลย ” เป็นยา “เด็กเรียนเก่ง เพราะเวลาที่หนูกินยานี้แล้ว แม่สังเกตว่าหนูเรียนดีขึ้น รับผิดชอบทำการบ้านดีกว่าแต่ก่อนเยอะเลย”

นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว มีวิธีอื่นอีกหรือไม่ที่จะช่วยเด็กสมาธิสั้นได้?

พ่อแม่ไม่ควรพึ่งการรักษาด้วยยาอย่างเดียว เนื่องจากการรักษาด้วยยาเป็นการรักษาตามอาการเท่านั้น แต่ไม่ใช่เป็นการช่วยให้เด็ก “หาย” จากการเป็นโรคสมาธิสั้น ดังนั้นเด็กควรได้รับการฝึกและช่วยเหลือด้านอื่นๆร่วมกับการรับประทานยาเสมอ เด็กสมาธิสั้นควรมีโอกาสได้คุยกับแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดที่ตัวเด็กมี และช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้เด็กได้ใช้ความสามารถด้านอื่นทดแทนในส่วนที่บกพร่อง ในบางรายครอบครัวบำบัดก็มีความจำเป็นสำหรับครอบครัวที่มีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว เพื่อลดความวิตกกังวลและความเครียดของเด็กการปรับพฤติกรรมเด็กโดยการปรับวิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่ และการช่วยเหลือในห้องเรียนโดยคุณครูเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยาเสมอ

พ่อแม่ควรปฏิบัติตัวอย่างไรในการช่วยเหลือเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น?

1. พ่อแม่ควรปรับทัศนคติที่มีต่อเด็กให้เป็นบวก พ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่าโรคสมาธิสั้นเป็นความผิดปกติของการทำงานของสมอง พฤติกรรมที่ก่อปัญหาของเด็กไม่ได้เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะก่อกวนให้เกิดปัญหา แต่เกิดขึ้นเนื่องจากเด็กไม่สามารถควบคุมตนเองได้
2. พ่อแม่ควรใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมที่ไม่ทำลายความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองของเด็กให้ลดลง
3. มีการจัดทำตารางเวลาให้ชัดเจนว่า กิจกรรมในแต่ละวันที่เด็กต้องทำมีอะไรบ้าง ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน
4. จัดหาสถานที่ที่เด็กสามารถใช้ทำงาน ทำการบ้าน อ่านหนังสือ โดยไม่มีใครรบกวน และไม่มีสิ่งที่จะมาทำให้เด็กเสียสมาธิ เช่น ทีวี วิดีโอเกม หรือของเล่นอยู่ใกล้ๆ
5. ถ้าเด็กวอกแวกง่ายมากหรือหมดสมาธิง่าย อาจจำเป็นที่เด็กต้องมีผู้ใหญ่นั่งประกบอยู่ด้วย ระหว่างทำงาน หรือทำการบ้าน เพื่อให้งานเสร็จเรียบร้อย
6. พ่อแม่ และบุคคลอื่นในบ้าน ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ อย่าตวาดตำหนิเด็ก หรือลงโทษทางกายอย่างรุนแรงเมื่อเด็กกระทำผิด ควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าว่า เมื่อเด็กทำผิดจะมีการลงโทษอย่างไรบ้าง การใช้ความรุนแรงกับเด็กสมาธิสั้น มีโอกาสทำให้เด็กสมาธิสั้นเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กที่ก้าวร้าว และใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา
7. การลงโทษควรใช้วิธีจำกัดสิทธิต่างๆ เช่น งดดูทีวี งดเที่ยวนอกบ้าน งดขี่จักรยาน หักค่าขนม เป็นต้น
8. ควรให้คำชม รางวัลเล็กน้อยๆ เวลาที่เด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป
9. ทำตัวเองให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก เช่น ความมีระเบียบ รู้จักรอคอย ความสุภาพ รู้จักกาละเทศะ หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงต่างๆ เป็นต้น
10. เวลาสั่งให้เด็กทำงานอะไร ควรให้เด็กพูดทวนคำสั่งที่พ่อแม่เพิ่งสั่งไปทันที เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กได้ฟังคำสั่งและเข้าใจว่าพ่อแม่ต้องการให้เขาทำอะไร
11. พยายามสั่งทีละคำสั่ง ทีละขั้นตอน ใช้คำสั่งที่สั้น กระชับ และตรงไปตรงมา
12. ไม่ควรบ่นจู้จี้จุกจิกถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กในอดีต
13. หากเด็กทำผิด พ่อแม่ควรเด็ดขาด เอาจริง คำไหนคำนั้น ลงโทษเด็กตามที่ได้ตกลงกันไว้โดยไม่ใจอ่อน มีความคงเส้นคงวาในการปรับพฤติกรรม
14. พยายามมองหาข้อดี ปมเด่นของเด็ก และพูดย้ำให้เด็กเห็นข้อดีของตัวเองเพื่อให้เด็กเกิดกำลังใจที่จะประพฤติตัวดี และเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง
15. พยายามสอนให้เด็กคิดก่อนทำ เช่น ให้เด็ก “นับถึง 5” ก่อนที่จะทำอะไรลงไป “หยุด....คิดก่อนทำนะจ๊ะ...” พูดให้เด็กรู้ตัว รู้จักคิดถึงผลที่จะตามมาจากการกระทำต่างๆของเด็ก สอนให้เด็กรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราก่อนที่จะทำอะไรลงไป
16. หากเด็กมีพฤติกรรมดื้อไม่เชื่อฟัง หลีกเลี่ยงการบังคับหรือออกคำสั่งตรงๆกับเด็ก แต่ใช้วิธีบอกกับเด็กว่าเขามีทางเลือกอะไรบ้าง โดยทางเลือกทั้งสองทางนั้นเป็นทางเลือกที่พ่อแม่กำหนดขึ้น เช่น หากต้องการให้เด็กเริ่มต้นทำการบ้าน แทนที่จะสั่งให้เด็กทำการบ้านตรงๆ อาจพูดว่า “เอาละได้เวลาทำการบ้านแล้ว...หนูจะทำภาษาไทยก่อน หรือว่าจะทำเลขก่อนดีจ๊ะ”
17. กำหนดช่วงเวลาในแต่ละวันที่จะฝึกให้เด็กทำอะไรเงียบๆที่ตัวเองชอบอย่าง “จดจ่อและมีสมาธิ” โดยพ่อแม่ต้องหาห้องหรือมุมใดมุมหนึ่งในบ้านที่สงบ ไม่มีสิ่งเร้ามากนัก ให้เด็กได้เข้าไปทำงานหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิคนเดียวเงียบๆ โดยในวันแรกอาจเริ่มที่ 15 นาทีก่อน แล้วจึงเพิ่มเวลาให้นานขึ้นเรื่อยๆ ให้คำชม และรางวัลเมื่อเด็กทำได้สำเร็จพ่อแม่ของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้อง เพื่อช่วยในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของเด็ก การตีหรือการลงโทษทางร่างกายเป็นวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ได้ผล และจะมีส่วนทำให้เด็กมีอารมณ์โกรธหรือแสดงพฤติกรรมดื้อ ต่อต้าน และก้าวร้าวมากขึ้น วิธีการที่ได้ผลดีกว่า คือ การให้คำชมหรือรางวัลเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบ หรือตัดสิทธิต่างๆ

คุณครูจะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นได้อย่างไรบ้าง?

เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีปัญหาการเรียนหรือเรียนได้ไม่เต็มศักยภาพร่วมด้วย ดังนั้นครูจึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นให้เรียนได้ดี แนวทางการให้ความช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นขณะอยู่ในห้องเรียนมีดังต่อไปนี้
1. จัดเด็กให้นั่งหน้าชั้น หรือใกล้ครูให้มากที่สุด เพื่อครูจะได้เตือนเด็กให้กลับมาตั้งใจเรียน เมื่อสังเกตว่าเด็กเริ่มขาดสมาธิ นอกจากนี้ควรให้เด็กนั่งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกแวดล้อมด้วยเด็กเรียบร้อย ที่ไม่คุยในระหว่างเรียน
2. จัดให้เด็กนั่งอยู่กลางห้อง หรือให้ไกลจากประตูหน้าต่าง เพื่อลดโอกาสที่เด็กจะถูกทำให้วอกแวกโดยสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกห้องเรียน
3. เมื่อเด็กหมดสมาธิจริงๆ ควรจัดกิจกรรมที่เปลี่ยนอิริยาบท และเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กทำ เช่น มอบหมายหน้าที่ให้ช่วยครูเดินแจกสมุดให้เพื่อนๆในห้อง ลบกระดานดำ เติม
น้ำใส่แจกัน เป็นต้น ก็จะช่วยลดความเบื่อของเด็กลง และทำให้เรียนได้นานขึ้น
4. ให้คำชมเชย หรือรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเด็กปฏิบัติตัวดี หรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
5. คิดรูปแบบวิธีเตือน หรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียนโดยไม่ทำให้เด็กเสียหน้า
6. เขียนการบ้าน หรืองานที่เด็กต้องทำในชั้นเรียนให้ชัดเจนบนกระดานดำ พยายามสั่งงานด้วยวาจาให้น้อยที่สุด
7. หากจำเป็นต้องสั่งงานด้วยวาจา ควรหลีกเลี่ยงการสั่งพร้อมกันทีเดียวหลายๆ คำสั่ง ควรให้เวลาให้เด็กทำเสร็จทีละอย่างก่อนให้คำสั่งต่อไป หลังจากให้คำสั่งแก่เด็ก ควรถามเด็กด้วยว่า ครูต้องการให้เด็กทำอะไร เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าเด็กรับทราบ และเข้าใจคำสั่งอย่างถูกต้อง
8. ตรวจสมุดงานของเด็กเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบถ้วน
9. ในกรณีที่เด็กมีสมาธิสั้นมาก ควรลดระยะเวลาการทำงานให้สั้นลง โดยให้เด็กพยายามทำงานให้เสร็จทีละอย่าง และแต่ละอย่างใช้เวลาไม่นานมากนัก พยายามเน้นในเรื่องความรับผิดชอบ ทำงานให้เสร็จ
10. หลีกเลี่ยงการใช้วาจาตำหนิ ประจาน ประณาม ที่ทำให้เด็กอับอายขายหน้า และไม่ลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง (เช่นการตี) หากเป็นพฤติกรรมจากโรคสมาธิสั้น เช่น ซุ่มซ่าม ทำของเสียหาย หุนหันพลันแล่น เพราะเด็กมีความลำบากในการคุมตัวเองจริงๆ แต่ควรจะเตือน และสอนอย่างสม่ำเสมอว่าพฤติกรรมใดไม่เหมาะสม และพฤติกรรมที่เหมาะสมคืออะไร เปิดโอกาสให้เด็กได้แก้ไขด้วยตนเอง เช่น เก็บของเข้าที่ใหม่ ชดใช้ของที่เสียหาย
11. ใช้การตัดคะแนน งดเวลาพัก ทำเวร หรืออยู่ต่อหลังเลิกเรียน (เพื่อทำงานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ) เมื่อเด็กทำความผิด
12. พยายามมีทัศนคติเชิงบวกต่อเด็ก มองหาจุดดีของเด็ก และสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกถึงข้อดี หรือความสามารถของตัวเอง
13. พยายามสร้างบรรยากาศที่เข้าใจ และเป็นกำลังใจให้เด็กพยายามปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น
14. ให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนเป็นพิเศษ เนื่องจากเด็กที่เป็นสมาธิสั้น จะมีความบกพร่องทางด้านการเรียน (learning disorder) ร่วมด้วยประมาณร้อยละ 30-40 เช่น ด้านการอ่าน การสะกดคำ การคำนวณ เป็นต้น ซึ่งต้องการความเข้าใจและความช่วยเหลือจากคุณครูเพิ่มเติม
แนวการสอนควรมีลักษณะดังนี้
14.1 มีการแบ่งขั้นตอนเริ่มจากง่ายและจำนวนน้อยก่อน แล้วจึงเพิ่มความยากและจำนวน ขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อเด็กเรียนรู้ขั้นต้นได้ดีแล้ว
14.2 ใช้คำอธิบายง่ายๆสั้นๆ พอที่เด็กจะเข้าใจ และให้ความสนใจฟังได้เต็มที่ ซึ่งหากมีการสาธิตอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม จะช่วยให้เด็กเข้าใจได้ง่ายกว่าคำพูดอธิบายอย่างเดียว
15. ควรสอนทีละเรื่อง หรือเปรียบเทียบเป็นคู่ แต่ไม่ควรสอนเชื่อมโยงหลายเรื่องพร้อมๆกัน
16. เด็กที่เป็นสมาธิสั้น ควรได้รับการสอนแบบ “ตัวต่อตัว“ เนื่องจากครูสามารถคุมให้เด็กมีสมาธิ และสามารถยืดหยุ่นการเรียนการสอนให้เข้ากับความพร้อมของเด็กได้ดีกว่า
17. ครูควรให้เวลาที่ใช้ในการสอบสำหรับเด็กที่เป็นสมาธิสั้น นานกว่าเด็กปกติ
18. เด็กอาจมีปัญหาการปรับตัวเข้ากับเพื่อน เพราะเด็กมักจะใจร้อน หุนหัน เล่นแรง ในช่วงแรกอาจต้องอาศัยคุณครูช่วยให้คำตักเตือน แนะนำด้วยท่าทีที่เข้าใจ เพื่อให้เด็กปรับตัวได้ และเข้าใจกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
19. เด็กที่มีสมาธิสั้นบางครั้งเพียงใช้การบอก เรียก หรืออธิบายอย่างเดียวเด็กอาจไม่ฟังหรือไม่ทำตาม คุณครูควรเข้าไปหาเด็กและใช้การกระทำร่วมด้วย เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมตามที่คุณครูต้องการ เช่น เมื่อต้องการให้เด็กเข้ามาในห้องเรียน หากใช้วิธีเรียกประกอบกับการโอบหรือจูงตัวเด็กให้เข้าห้องด้วย จะได้ผลดีกว่าเรียกเด็กอย่างเดียว (ยังมีต่อ)


ขอบคุณข้อมูลจาก//www.si.mahidol.ac.th




 

Create Date : 27 เมษายน 2553
6 comments
Last Update : 27 เมษายน 2553 10:06:13 น.
Counter : 1546 Pageviews.

 

สวัสดีตอนบ่ายนะคะ

 

โดย: ooyporn 27 เมษายน 2553 14:18:33 น.  

 

แวะมาทักทายคะ ^^

 

โดย: beautyswan 27 เมษายน 2553 23:27:35 น.  

 

อรุณสวัสดิ์เช้าวันพุธที่แสนสุขค่ะ

 

โดย: cd2lucky 28 เมษายน 2553 5:07:13 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับคุณกบ

ผมว่าเด็กปกติ
พ่อแม่ก็ควรอ่านบล้อกนี้นะครับ

มีประโยชน์เยอะเลยล่ะครับ




 

โดย: กะว่าก๋า 28 เมษายน 2553 7:30:02 น.  

 


แวะมาเชิญไปชม การแสดง....... ละครดึกดำบรรพ์ เรื่องคาวี ค่ะ เกศสุริยง
สร้างกริตเตอร์
|
เช้านี้ฝนตกพรำๆค่อยยังชั่วหน่อย แวะมาทักทายค่ะ สบายดีนะคะคุณกบ

 

โดย: เกศสุริยง 28 เมษายน 2553 9:05:31 น.  

 

 

โดย: น้องเมย์น่ารัก 5 ตุลาคม 2557 0:52:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
27 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.