คำสอนข้อแรกจากหลวงพ่อชา










ดีใจ ที่มาเยี่ยม กรุณาลงชื่อด้วยนะ เดี๋ยวไปเยี่ยม


..




มีหนังสือ ธรรมะ ที่ได้รับแจกมาหลายเล่มที่ยังอ่านไม่หมด หนังสือที่เล่าโดยพระชาวญี่ปุ่น ก็ได้รับแจกจากการทำบุญใส่บาตรพระหลวงตาในตอนเช้า แถวบ้าน เมื่อเปิดดูคร่าว ๆ เป็นหนังสือสอนธรรมะง่ายๆ มีรูปการ์ตูน ตัวหนังสือโตเหมาะกับสายตาคนแก่ จึงนำมาฝากเพื่อนได้อ่านด้วย





เพราะถ้าตัวหนังสือเล็กก็ต้องเพ่งมากๆ ตั้งแต่ ใช้คอมฯทุกวันๆ วันละหลายชั่วโมงนี่สายตาเริ่มแย่ ตาลายเดินๆไปสวนกับคนรู้จัก เราก็เฉย มองไปแล้วเห็นมัวๆมองหน้าไม่รู้ว่าใคร (เขาคงว่าเราหยิ่ง) ทั้งๆที่รู้ว่าเราอยู่กับคอมฯ นานๆสายตาจะเสีย แต่เราก็ยังทำ ไม่เข็ด... เพราะคิดว่า ช่างมันเถอะ เป็นสิ่งที่เราชอบ และมีความสุขที่อยู่กับมัน..

ตอนนี้เป็นตอนแรกของหนังสือ ที่พระอาจารย์ ชาวญี่ปุ่นท่านเล่า ทำให้รู้จักว่าท่านเป็นใคร มาจากไหน ทำไมถึงมาบวช.... ติดตามต่อไป ยายเก๋าจะนำมาเล่าเป็นตอนๆ หากยังมีคนสนใจอ่าน..





คำสอนของหลวงพ่อชา
คือ
ต้องอดทน






จากหนังสือ "มีขันติ " คือให้พร ตนเอง โดยพระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก



นับแต่วันแรกที่อาจารย์ไปถึงวัดหนองป่าพง เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรได้ 3 เดือน ก็พยายามแสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม ทีแรกเพื่อนก็พาไปดูวัดทางภาคใต้ 3-4 วัด เป็นวัดที่มีชาวต่างชาติไปปฏิบัติกัน แต่อาจารย์ดูแล้วยังไม่รู้สึกตกลงใจ หลังจากนั้นก็มีคนแนะนำให้ไปจังหวัดอุบลราชธานี ให้ไปหาหลวงพ่อชา ตอนนั้นก็มีพระชาวอินเดียที่พูดภาษาไทยได้ พาอาจารย์ไปนั่งรถทัวร์จากกรุงเทพฯ ไปถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วก็ยืนงงๆ ว่าจะไปวัดหนองป่าพงได้อย่างไง พอดีมีคนขับรถเท็กซี่เข้ามาถามว่าจะไปไหน พอเขาทราบว่าจะไปวัดหนองป่าพง เขาก็บอกให้รอสักครู่ เมื่อเขาทำธุระเสร็จแล้วจะกลับมารับ ในที่สุดก็นั่งรถคันนั้นไปวัดหนองป่าพง





ระหว่าทางก่อนถึงวัด เป็นเวลาเช้าตรู่ มองเห็นพระป่า 30-40 รูปออกบิณฑบาตเดินเรียงเป็นแถวยาว รู้สึกประทับใจมาก พอถึงวัดเท็กซี่เขาไม่เก็บสตางค์ค่ารถ อาจารย์ก็นึกดีใจและขอบใจเขาที่ช่วยมาส่ง เมื่อเดินเข้าไปในวัดเป็นป่าร่มรื่น เกิดความรู้สึกสงบวิเวกเป็นพิเศษ เหมือนเข้าไปอยู่อีกโลกหนึ่ง เมื่อเดินเข้าไปเรื่อยๆ แม่ชึ 5-6 คนกำลังทำความสอาดวัดอยู่ เห็นอาจารย์เดินมาก็หลบเข้าข้างทาง แล้วนั่งลงทำความเคารพอย่างนอบน้อม ตอนนั้นอาจารย์รู้สึกเขินอาย เพราะเป็นครั้งแรกที่เดินตามถนนแล้วมีโยมนั่งลงไหว้แบบนี้






ที่วัดหนองป่าพงอาจารย์ได้พบกับพระฝรั่งชื่อเขมธัมโม เป็นรูปแรก ท่านก็เข้ามาช่วยแนะนำ เมื่อฉันจังหันเสร็จแล้ว ท่านสุเมโธและพระฝรั่งอีก 4-5 รูป ก็พาอาจารย์ไปหาหลวงพ่อชาที่กุฏิ เมื่อบอกความประสงค์ของอาจารย์ที่จะมาขอปฏิบัติที่วัดหนองป่าพง ท่านซักถามว่ามาจากไหน มายังไง แล้วถามชื่อ อาจารย์ตอบท่านว่า ชื่อชิบาฮาชิ (ชื่อมิตซูโอะ แต่ตามธรรมเนียมญี่ปุ่นจะใช้นามสกุล เป็นชื่อที่แนะนะตนเอง) หลวงพ่อชาท่านก็จำเทียบเคียงเป็นภาษาไทยว่า "สี่บาทห้าสิบ" นับจากวันนั้นท่านก็เรียกอาจารย์ว่า "สี่บาทห้า" มาตลอด หลวงพ่อบอกว่าอยู่ที่นี่ลำบาก "ต้องอดทน" นะ อาจารย์ก็ตอบท่านว่าอยู่ได้ครับ ทนได้ครับ รู้สึกมั่นใจว่าทนได้ จริงๆเพราะการฝึกที่ท้าทายทั้งทางกายและทางใจ ก็สมัครใจทำมาแล้วตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน เคยเป็นนักปีนเขาแบกเต้นท์ และเสบียงอาหาร หนัก 15 กิโล 20 กิโล เดินข้ามเขาลูกหนึ่งไปอีกลูกหนึ่ง ผ่านยอดเขานี้ไปอีกยอดเขาหนึ่ง เรียกว่าเดินขึ้นลงภูเขาตลอดวัน มีทั้งการเดินทางระยะสั้นๆ 2-3 วันไปจนถึง 7 วันก็มี








ตั้งแต่อายุ 20 ปี อาจารย์ก็ออกเดินทางท่องเที่ยวคนเดียว แบบนี้อยู่เสมอ ทัศนศึกษาไปเรื่อยๆ ในหลายๆประเทศ ทั้งอินเดีย เนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน เยอรมัน ฯลฯ เดินทางไปประเทศไหนก็จะถือหลักว่าจะทดลองดูเป็นประสบการณ์ว่าคนจนที่สุดของเขากินอยู่อย่างไร
เราก็เอาอย่างเขานี่แหละ กินง่ายนอนง่าย เรียกว่ากินอยู่แบบประหยัดสุดๆ เมื่อไปเที่ยวกรุงนิวเดลลี ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองที่ค่าที่พักโรงแรมแพง อาจารย์ก็อาศัยนอนค้างคืน ตามสถานีรถไฟ หรือเมื่อเดินทางไปประเทศเนปาลไปพักกับพวกชาวเขา เขากินมันฝรั่งต้มจิ้มน้ำพริก
หรือบางทีก็กินข้าวโพดคั่วแห้งๆ เราก็กินตามเขา เจ้าของบ้านเขาก็พอใจต้อนรับชาวต่างชาติซึ่งมากินอยู่เหมือนเขา การกินอยู่อย่างง่ายๆเป็นการสร้างความสบายใจให้แก่เจ้าของบ้าน และสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน ฉนั้นเมื่อมาอยู่ที่วัดหนองป่าพงอาจารย์จึงมั่นใจว่าอยู่ได้แน่นอน








เมื่อมาอยู่ที่วัดหนองป่าพงใหม่ๆ อาจารย์พยายามจับหลักธรรมที่หลวงพ่อชาสอน ท่านว่า "
โลกแปลว่ามืด" การที่พวกเราพากันพัฒนาโลกให้เจริญ จึงเป็นการทำให้มืดขึ้น มืดขึ้น คือหมายถึงจิตใจคนเรากลับแย่ลงๆ สับสนวุ่นวาย เป็นทุกข์กันมากขึ้นทุกวัน เป้าหมายการปฏิบัติธรรมคือเพื่อกำจัดความมืด ทำจิตใจให้สว่าง แนวทางการปฏิบัติธรรมต้องอาศัยความอดทนเป็นหลัก ให้พากันกินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ปฏิบัติให้มาก นั่งสมาธิให้มาก ซึ่งทุกข้อก็ต้องมีขันติ คือความอดทนทั้งนั้นจึงจะทำได้.....


คนเราหากมีความอดกลั้น อดทน คงไม่มีความวุ่นวาย ทำร้ายทำลายกันเช่นทุกวันนี้..


การปฏิบัติจึงอยู่ที่
อดได้ทนได้
ใครทนได้ก็ปฏิบัติได้
ทนไม่ได้ก็ปฏิบัติไม่ได้นั่นแหละ








.


Create Date : 12 กันยายน 2551
Last Update : 6 มีนาคม 2555 11:24:27 น. 6 comments
Counter : 518 Pageviews.

 
เจิมก่อนน่ะค่ะ อิอิ


โดย: Fullgold วันที่: 12 กันยายน 2551 เวลา:20:05:37 น.  

 
มาอ่านแล้วค่ะ เห็นด้วยค่ะ

การที่พวกเราพากันพัฒนาโลกให้เจริญ
จึงเป็นการทำให้มืดขึ้น มืดขึ้น
คือหมายถึงจิตใจคนเรากลับแย่ลงๆ
สับสนวุ่นวาย เป็นทุกข์กันมากขึ้นทุกวัน



โดย: Fullgold วันที่: 12 กันยายน 2551 เวลา:22:41:37 น.  

 




แวะมาเยี่ยมค่ะ
คิดถึงคุณยายเก๋า


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 13 กันยายน 2551 เวลา:1:22:09 น.  

 
จริงด้วยค่ะจุนยาย
ที่ประท้วงปาวๆๆๆๆ
เพราะตัวเองสูญเสียผลประโยชน์ทั้งนั้น
ใครทำเพื่อชาติบ้าง
ทำเพื่อตัวเองกันทั้งนั้นแหละค่ะ
ตอนนี้เศรษฐิกิจบ้านเรา แย่มากๆแล้ว



โดย: Fullgold วันที่: 13 กันยายน 2551 เวลา:16:50:57 น.  

 
ไปวัดลำปางหลวงมาค่ะ 200 Kms ไปกลับ
สวยมากค่ะคุณยาย

Photobucket




โดย: Cheria (SwantiJareeCheri ) วันที่: 14 กันยายน 2551 เวลา:8:16:52 น.  

 


โดย: แม่อบ วันที่: 18 กันยายน 2551 เวลา:16:31:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ชมพร
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 162 คน [?]




https://www.codetukyang.com/html/testcode.htm





หลังเกษียณเรามีเวลาว่าง
'Internet' แม้จะเป็นเรื่อง
ใหม่ แต่ก็เหมาะกับเรา
"Bloggangเปิดโอกาสให้
เราบันทึกได้อิสระดังใจคุณ"
เมื่อเข้ามาแล้วก็เพลิดเพลิน
มีเพื่อนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน
แวะเวียนมาทักทาย บ้างก็
ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป บ้าง
ก็คงอยู่ ทักทายช่วยเหลือกัน
เราอยากให้ผู้สูงวัยที่มีเวลาว่าง
สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกBloggang
กันมากๆจะได้มีเพื่อนๆ เป็นสังคม
Online ที่ไม่จำกัด เพศและวัย




Group Blog
 
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
12 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ชมพร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.