Group Blog
 
All Blogs
 




 

ไปดูอดีตเขาพับผ้าและไก่ป่าที่พัทลุง กับอนาคตที่กำลังจะถูกโค่น เพื่อขยาย...

Info
Create Date : 22 มิถุนายน 2553    
Last Update : 22 มิถุนายน 2553 0:07:02 น.
Counter : 2436 Pageviews.  




 

วิกฤตน้ำในเขื่อนวชิราลงกรณ์แห้งขอด ในรอบหลายสิบปี เห็นภาพนี้แล้วรู้สึกยังไง

Info
Create Date : 22 มิถุนายน 2553    
Last Update : 22 มิถุนายน 2553 0:06:35 น.
Counter : 659 Pageviews.  




 

นกสาลิกาเขียว / Common Green Magpie (Cissa chinensis)

นกสาลิกาเขียว

ชื่ออังกฤษ

Common Green Magpie

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cissa chinensis (Boddaert, 1789)

วงศ์ (Family)

Corvidae (วงศ์อีกา)

อันดับ (Order)

Passeriformes (อันดับนกเกาะคอน)

นกในวงศ์อีกา (Corvid) มีแพร่กระจายอยู่อย่างกว้างขวางเกือบทั่วทุกมุมโลก และอาจเรียกได้ว่าเป็นนกที่ฉลาดที่สุด เห็นได้จากการที่หลายชนิดมีการเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จาก“เครื่องมือ”ต่างๆในสภาพแวดล้อมเพื่อหาอาหาร ลูกนกใช้เวลาค่อนข้างนานในการเจริญเติบโตเมื่อเทียบกับนกตระกูลอื่น ทำให้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตจากพ่อแม่และสมาชิกในฝูงมากกว่า มีการวิจัยพบว่าสัดส่วนน้ำหนักของสมองต่อร่างกายของนกตระกูลนี้เกือบจะเทียบเท่ากับลิงและโลมาเลยทีเดียว!

เราคุ้นหน้าคุ้นตากับอีกา (Crow) ตัวสีดำๆที่ดูไร้เสน่ห์ไม่น่าสนใจ กับเสียงแหบพร่าบอกยี่ห้อของมัน แต่ญาติในวงศ์เดียวกันของมันหลายชนิดมีสีสันที่สวยงามแปลกตามาก นกตระกูลนี้สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่ ผลไม้ แมลง สัตว์เลื้อยคลาน หนู ไปจนถึงซากสัตว์ นี่อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้สมองของมันมีการพัฒนามากกว่านกอื่นๆ

สมาชิกวงศ์อีกาที่สีสันสวยสดที่สุดคงหนีไม่พ้นนกสาลิกาเขียว (Common Green Magpie) ที่มีสีลำตัวเขียวสดสมชื่อ มีจุดเด่นคือแถบคาดตาสีดำขลับสมกับที่เป็นหัวขโมยตัวยงในการเสาะหารังนกอื่นเพื่อกินไข่หรือลูกนกเป็นอาหาร มีปากหนาสีแดงสดที่งุ้มเล็กน้อยและค่อนข้างยาว วงรอบตาและขาก็เป็นสีแดงเช่นเดียวกัน ปีกเป็นสีส้มเข้ม ปลายขนหางแต่ละเส้นมีแถบสีดำขาวและมีความยาวลดหลั่นกันไปทำให้เห็นเป็นบั้ง ขนหางคู่กลางยาวและแคบที่สุด ไม่มีแถบสีดำ ขนปีกชั้นใน (tertials) ของมันก็มีแต้มสีขาวดำ ซึ่งไม่พบในญาติใกล้ชิดที่หน้าตาถอดแบบเดียวกันมาอย่างนกสาลิกาเขียวหางสั้น (Indochinese Green Magpie) อย่างไรก็ตาม ในเมืองไทยยังไม่พบว่านกสาลิกาเขียวและนกสาลิกาเขียวหางสั้นมีถิ่นแพร่กระจายที่ทับซ้อนกัน โดยชนิดหลังพบได้เฉพาะตามป่าดิบทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเท่านั้น

นกสาลิกาเขียวในชุดขนเก่าจะมีสีขนที่ค่อยๆเปลี่ยนจากเขียวสดเป็นสีฟ้าครามหมองๆ สีส้มเข้มที่ปีกก็กลายเป็นสีน้ำตาล นกชนิดนี้มีอุปนิสัยที่ต่างจากนกในวงศ์อีกาชนิดอื่นๆตรงที่ตามปกติแล้วมันจะเป็นนกที่ขี้อาย เรามักได้ยินเสียงร้องดังก้องของมันแทบทุกครั้งที่เข้าป่า แต่มีโอกาสเห็นตัวชัดๆได้ไม่ง่ายนัก สามารถส่งเสียงร้องได้หลายรูปแบบ บางครั้งก็เลียนเสียงนกชนิดอื่นๆด้วย

เช่นเดียวกับญาติร่วมวงศ์ของมัน นกสาลิกาเขียวมักหากินเป็นคู่หรือเป็นฝูงขนาดย่อม บ่อยครั้งที่มันจะบินตามนกกะราง (Laughingthrush) ฝูงใหญ่ที่ดึงดูดให้นกป่าขนาดกลางอื่นๆ เช่น นกบั้งรอก (Malkoha) นกขุนแผน (Trogon) นกหัวขวาน (Woodpecker) บางชนิด นกแซงแซว (Drongo) และนกระวังไพร (Scimitar Babbler) มาหากินร่วมกันหรือติดตามอยู่ห่างๆเพื่อจับสัตว์เล็กๆที่ตกใจจากฝูงนกกะราง อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากการมีนกกะรางและนกแซงแซวเป็นตัวคอยส่งเสียงร้องเตือนภัยเมื่อพบสัตว์นักล่าอีกด้วย

นกสาลิกาเขียวเป็นนกประจำถิ่นที่่พบได้บ่อยตามป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งในระดับความสูงไม่เกิน 2,075 เมตรจากน้ำทะเลภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนล่าง นอกจากนี้ยังพบได้ในประเทศเพื่อนบ้าน ทางเหนือของประเทศอินเดีย ทางตอนใต้ของจีน และอินโดนีเซีย

หมายเหตุ: เพื่อเป็นการฉลองครบรอบสัปดาห์ที่๕๑ ตั้งแต่นี้จึงขอปรับปรุงคอลัมน์ด้วยการเพิ่มตารางข้อมูลเบื้องต้นของนกแต่ละชนิดนับตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไปครับ ด้วยหวังว่ารายละเอียดนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยในการทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมโลกมีปีกที่น่ารักเหล่านี้ หากมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมนอกจากนี้ก็รบกวนลงความเห็นหรืออีเมลมาบอกกล่าวกันได้เลยครับ ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านอีกเช่นเคยครับ

Create Date : 15 มิถุนายน 2553    
Last Update : 15 มิถุนายน 2553 0:32:09 น.
Counter : 1436 Pageviews.  




 

ตะลุยปักกิ่งวันที่สี่ ตอนที่ 2 วัดลามะ (หย่งเหอกง)



       วันนี้หลังจากไปแวะสนามกิฬารังนกในตอนเช้าตรู่แล้ว ก็นั่งรถใต้ดินมาแวะต่อที่วัดลามะ หรือวังหย่งเหอ (หย่งเหอกง)เนื่องจากเคยเป็นวังของเจ้าชายหย่งเจิ้ง ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นฮ่องเต้ ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว กษัตริย์เฉียนหลงได้ยกวังนี้ให้เป็นวัดแก่พระลามะ








       การไปค่อนข้างง่าย ลงที่สถานีหย่งเหอกงชื่อเดียวกับชื่อวัด เราเดินอีกเล็กน้อยไปหาประตูทางเข้าวัด ซึ่งมีที่ขายตั๋วอยู่ด้านหน้า แล้วเดินไปตามทางกระทั่งถึงประตูหย่งเหอเหมิน









       ถัดจากประตูหย่งเหอเหมินเข้าไปเป็นวิหารหลังแรก มีผู้คนเข้าแถวเพื่อเข้าไปสักการะพระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นพระจีนอ้วนพุงพลุ้ยแบบที่เราเคยเห็นกัน เครื่องสักการะก็เป็นธูปเทียนที่มีขายกันเยอะแยะสองฟากถนนก่อนถึงวัด แต่เขาห้ามจุดธูปเทียน ไหว้เสร็จก็มีที่วางธูปเทียน บรรยากาศเลยไม่เหมือนวัดที่ฮ่องกงซึ่งมีควันคลุ้งไปหมด









       ถัดเข้าไปก็ยังมีวิหารอีกหลายหลังซึ่งล้วนมีความสวยงาม ได้รับการบูรณะทาสีใหม่สวยสดไม่เหมือนที่วังฤดูร้อน ภาพที่ถ่ายมาคงจะยืนยันความจริงในข้อนี้



กงล้อธรรมแบบของวัดธิเบต เชื่อกันว่าถ้าหมุนแล้วจะได้บุญเป็นอันมาก





       ภาพสาธุชนที่มีความศรัทธาอย่างแรงกล้ามากมายที่เราเห็นที่หย่งเหอกงนี้ ทำให้เราฉงนว่าในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมสาธุชนเหล่านี้จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร ในเมื่อยุคนั้นการกราบไหว้สิ่งที่เป็นที่พึ่งทางใจถูกห้ามปราม ไม่สามารถทำได้อย่าง
เสรี วัดวาอารามจำนวนมากถูกทำลาย ศาสนิกคงทำใจยากที่ถูกย่ำยีจิตใจถึงเพียงนี้ เราจึงดีใจที่ชาวจีนปัจจุบันได้เสรีภาพเหล่านี้กลับมาอีก ถึงแม้ว่าอาจมีข้อจำกัดบางประการบ้างก็ตาม

Create Date : 15 มิถุนายน 2553    
Last Update : 15 มิถุนายน 2553 0:31:47 น.
Counter : 742 Pageviews.  




 

Scandinavia trip (4) ...ข้าวกล่องที่อร่อยที่สุดในโลกบนเส้นทางไป Malmö

Matterhorn, Zermatt
Create Date : 15 มิถุนายน 2553    
Last Update : 15 มิถุนายน 2553 0:31:09 น.
Counter : 463 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  

boyberm
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




boyberm
Friends' blogs
[Add boyberm's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.