Group Blog
 
All Blogs
 

undefined




 

"เจรจา" หรือ "กลียุค" ทางสองแพร่งที่รัฐต้องเลือก

"เจรจา" หรือ "กลียุค"
ทางสองแพร่งที่รัฐต้องเลือก

          สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ณ วันนี้ กำลังอยู่ในจังหวะ "หาทางลง" แต่ไม่ใช่การ "ลง" อย่างพ่ายแพ้ เพราะกระแส "คนเสื้อแดง" ไม่ได้จำกัดอยู่ที่สี่แยกราชประสงค์หรือถนนพระรามที่ 1 ซึ่งใช้เป็นนิวาสถานหลับนอนอีกต่อไปแล้ว แต่มันได้แทรกซึมไปแทบทุกอณูของสังคมไทย

          โดยเฉพาะผู้คนมากมายในแถบภาคเหนือและอีสาน

          จุดนี้เองที่ทำให้การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลยากยิ่งกว่ายาก โดยเฉพาะหากจะเลือกแนวทางสลายการชุมนุม เพราะจำนวนผู้ชุมนุมไม่ได้มีแค่ที่เห็น หรือแค่ตัวเลขที่หน่วยข่าวรายงานเข้าไป แต่ยังมีเสื้อแดงแอบแฝงอยู่อีกมากมายที่พร้อมจะลุกฮือเมื่อรัฐบาลใช้ความรุนแรง

          พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ถึงกับออกปากว่า การตัดสินใจเลือกวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของรัฐบาล ถือว่าสำคัญที่สุดในขณะนี้ และจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของประเทศไทยในทศวรรษต่อไปเลยทีเดียว

          "กรุงเทพธุรกิจ" มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ พล.อ.เอกชัย หรือที่คนใกล้ชิดและลูกศิษย์ลูกหาเรียกกันติดปากว่า "ลุงเอก" นักยุทธศาสตร์นอกกองทัพที่เคยผ่านงานมาแล้วทั้งบุ๋นและบู๊

           นอกจากภารกิจปัจจุบันที่พยายามเป็นตัวกลางเชื่อมประสานทุกระดับให้เกิดการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มคนเสื้อแดงแล้ว เขายังเป็นอดีตนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียวกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีด้วย

           ทัศนะของ "ลุงเอก" จึงมิอาจปล่อยผ่านให้ลอยไปกับสายลม...
 
สลายม็อบ..."กลียุค"

          
พล.อ.เอกชัย เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์เฉพาะหน้า คือการเผชิญหน้าของกลุ่มคนเสื้อแดงกับรัฐบาล

           "เฉพาะหน้าขณะนี้ ผมคิดว่าโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายจะใช้ความรุนแรงต่อกันมีมากขึ้น รัฐบาลมีโอกาสสูงที่จะใช้วิธีสลายม็อบ แต่ถ้าทำแล้วมีความรุนแรงจะเกิดกลียุคไปทั่วประเทศ แต่ถ้าไม่ทำอะไร สมมติ นปช.อยู่อีก 3 เดือน ถามว่าอยู่ได้ไหม ก็คงอยู่ได้ แต่เศรษฐกิจก็ตอ้งล่มสลาย"

           ในฐานะที่รับราชการทหารมาเกือบทั้งชีวิต พล.อ.เอกชัย มองว่า รัฐบาลมีศักยภาพพอที่จะปราบม็อบได้ภายใน 1-2 วัน แต่นั่นย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงความรุนแรง

           "สมมติว่ารัฐบาลทำอย่างนั้น ม็อบก็กระเจิงไป แต่ถามว่าจบไหม เราจะอยู่กันอย่างไร เพราะทุกอย่างจะลงไปใต้ดิน หลายประเทศก็มีประสบการณ์แบบนี้แล้วมันไม่จบ แต่มันจะรบกันต่อไปอีก 1 ปี 2 ปี 3 ปี เราจะเลือกทางเดินอย่างไรในการแก้ปัญหา ผมคิดว่าระยะสั้นตรงนี้สำคัญที่สุด ก่อนจะไปคิดถึงระยะยาว จุดนี้ต้องเปิดช่องทางพูดคุยกันให้ได้"

เจรจา...ยังไม่สาย

            เมื่อเอ่ยถึงการพูดคุย-เจรจา หลายคนอาจจะมองว่าสถานการณ์ ณ วันนี้ล่วงเลยจุดนั้นมามากแล้ว แต่ พล.อ.เอกชัย ไม่ได้คิดเช่นนั้น

            "โดยหลักแล้วการเจรจาสามารถทำได้ทุกขั้นตอนของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ยังไม่เกิดความขัดแย้ง หรือเมื่อความขัดแย้งเกิดไปแล้ว รวมไปถึงความขัดแย้งจบแล้วก็ยังต้องคุยกัน สรุปก็คือการเจรจาสามารถป้องกันความขัดแย้ง แก้ไขความขัดแย้งได้ และเยียวยาให้เกิดการปรองดองกันได้ในที่สุด"

            "ฉะนั้นเรื่องเจรจาไม่มีคำว่าสาย ในภาวะสงครามก็ยังมีการพูดคุยกัน ไม่มีหยุด ในมินดาเนา (ประเทศฟิลิปปินส์) อาเจะห์ (ประเทศอินโดนีเซีย) ไอร์แลนด์เหนือ หรือแม้แต่สงครามโลกก็จบลงได้ด้วยการเจรจาสงบศึก"

            อย่างไรก็ดี ยังมีเสียงทักท้วงจากบางฝ่ายที่หวั่นเกรงว่าการเปิดเจรจาจะทำให้เรื่องผิดกฎหมายกลายเป็นความถูกต้อง แต่ประเด็นนี้ พล.อ.เอกชัย อธิบายว่า การเจรจาต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย จะมาเจรจาเพื่อขอทำสิ่งผิดกฎหายไม่ได้ ยกเว้นสิ่งที่กฎหมายเปิดให้ทำได้ เช่น การนิรโทษกรรม  แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ไปยกเลิกความผิดทั้งหมด เพราะไม่อย่างนั้นต่อไปก็จะมีการกระทำแบบเดิมอีก

            "หลักการก็เหมือนกับในศาสนาพุทธ คือใครทำกรรมชั่วแล้ว ไม่สามารถทำดีมาล้างความชั่วได้ กรรมชั่วยังมีอยู่ เช่นเดียวกันไม่ใช่ทำผิดกฎหมายแล้วจบ การนิรโทษกรรมอาจทำเฉพาะเรื่องได้ เหมือนกับในกฎหมายความมั่นคง (พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551) มาตรา 21 ที่เปิดช่องให้ผู้หลงผิดเข้ารับการอบรมของทางราชการ ก็จะไม่ถูกดำเนินคดีอาญา ลักษณะนี้ก็คล้ายๆ กับการนิรโทษกรรมเหมือนกัน"

           
กระนั้นก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งปัญหาที่กดดันการเจรจาคือ คนไทยส่วนใหญ่มักเชื่อว่าคนที่ขอเจรจาคือคนที่กำลังจะพ่ายแพ้ แต่ พล.อ.เอกชัย แย้งแนวคิดนี้แบบ 360 องศา

            "หลักการเจรจาเราต้องเจรจาตอนได้เปรียบ ไม่ใช่ตอนเสียเปรียบ เพราะเวลาเรากำลังได้เปรียบเราต่อรองได้มาก แต่ถ้ากำลังเสียเปรียบ เราจะเรียกร้องอะไรก็ยาก ตอนนี้ผมมองว่ารัฐบาลได้เปรียบอยู่ มีคนสนับสนุนรัฐบาลเยอะ รัฐบาลน่าจะริเริ่มเจรจาโดยไม่ต้องรอให้ฝ่ายเสื้อแดงขอเจรจา รัฐบาลต้องใช้เกมรุกเปิดช่องเลยว่าพร้อมจะพูดคุยแล้ว"

ติดที่นายกฯ

           
นอกจากจะเสนอให้เปิดการเจรจาแล้ว พล.อ.เอกชัย ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมประสานให้เกิดการเจรจาทุกระดับ ทั้งกับฝ่ายรัฐบาลและ นปช.

           "เท่าที่คุยมาก็มีช่องทางไปได้  ผมได้คุยกับรัฐมนตรีประชาธิปัตย์มากกว่า 4 คน ซึ่งเป็นระดับที่ตัดสินใจได้ ได้คุยกับ ส.ส.ประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล รวมทั้งรัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาล ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าอยากให้เจรจา แต่เสียงของทุกคนยังไม่หนักแน่นพอ ไม่กล้าพูดกับผู้นำรัฐบาล ในการพูดคุยกันหลายๆ ครั้งจึงพยายามพึ่งเราให้ช่วยสื่อสารแทนด้วย"

           "ส่วนฝ่ายเสื้อแดง ก็คุยกับทั้งแกนนำที่ราชประสงค์และกลุ่มที่ร่วมวางแผน ได้คุยกันนับสิบคน ฝ่าย นปช.จุดยืนก็ชัด คือบอกว่าเมื่อไหร่รัฐบาลพร้อมคุยก็มาเจรจากันได้เลย ฉะนั้นขณะนี้ระดับล่างเปิดหมดแล้ว แต่ระดับบนยังไม่มีสัญญาณ เท่าที่ผมทราบบางครั้งบางระดับยังมีการสั่งห้ามพูดคุยเจรจาด้วย อย่างกรณีของคุณสุขุมพันธ์ (ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ผมจึงอยากขอว่าน่าจะปล่อยให้เป็นธรรมชาติ อย่าไปห้าม เพราะนักการเมืองก็รู้จักกันอยู่แล้ว"

          จากประสบการณ์การเจรจามานับครั้งไม่ถ้วน พล.อ.เอกชัย บอกยิ้มๆ ว่า พอเจรจาเข้าจริงๆ ข้อเรียกร้องเรื่องยุบสภาอาจจะหายไปเลยก็ได้

          "การคุยกันไม่จำเป็นต้องตกลงกันได้ เมื่อไหร่เห็นตรงกันในเรื่องไหนค่อยตกลงกันในบางเรื่อง แต่สิ่งที่ควรเกิดขึ้นคือคุยกันดีๆ และค่อยๆ แก้ปัญหาไป สุดท้ายคุยไปคุยมาข้อเรียกร้องอาจจะไม่ใช่ยุบสภา แต่อาจจะให้อยู่ต่อจนครบวาระ ภายใต้เงื่อนไขว่ารัฐบาลต้องทำอะไรบ้างก็ได้ ถ้าทำไม่สำเร็จแล้วเข้าสู่สนามเลือกตั้งคุณก็พ่ายแพ้ไป...อะไรอย่างนี้"

อย่าผลัก"แดง"เข้ามุม


          การที่ "ลุงเอก" พยายามตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการพูดคุยเจรจา ก็เพราะประเมินแล้วเห็นว่า สถานการณ์ของกลุ่มเสื้อแดงในขณะนี้ ไม่ใช่จะจบลงง่ายๆ แค่การสลายม็อบที่ราชประสงค์ และแม้ข่าวลือการป่วยหนักหรือเสียชีวิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นความจริง ก็ไม่อาจหยุดวงจรการเคลื่อนไหวได้อีกต่อไป

         "แม้กระทั่งคุณทักษิณตายผมก็ไม่เชื่อว่าจะจบ แน่นอนว่าช่วงเริ่มการเคลื่อนไหว คุณทักษิณเป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งที่ใช้ปลุกกระแส แต่ต่อมาเมื่อมีประเด็นตอกย้ำเรื่องชนชั้น เรื่องสองมาตรฐาน เรื่องการเลือกปฏิบัติ และคนเสื้อแดงในชนบทส่วนใหญ่ก็เข้าไม่ถึงอำนาจและทรัพยากรในประเทศจริงๆ ประเด็นเหล่านี้มันจึงชี้ให้เห็นได้ชัดเจน มันจึงโดนใจ และฝากรากในจิตใจไปแล้ว ทั้งความต่ำต้อยเอย การไม่ได้รับความยุติธรรมเอย"

          "ที่สำคัญเท่าที่ผมสังเกต มีคนแก่มาร่วมชุมนุมเยอะมาก แล้วคนอีสานนั้นจะเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ มีระบบเจ้าโคตร ฉะนั้นรัฐบาลจะทำอะไรต้องระวัง จะกล่าวหาอะไรต้องคิดให้ถี่ถ้วนถึงผลกระทบที่จะตามมา โดยเฉพาะการกล่าวหาเรื่องล้มเจ้า หมิ่นสถาบัน เป็นเรื่องอันตราย มาก เพราะชาวบ้านรากหญ้าเหล่านี้เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ยิ่งชีวิตทุกคน"

         
พล.อ.เอกชัย ชี้ว่า รัฐบาลอาจมองประโยชน์ด้านการปลุกกระแสสังคม จึงพูดเรื่องก่อการร้าย หรือขบวนการล้มเจ้า แต่หากมองอีกแง่หนึ่งจะพบว่า การที่เราไม่ได้มีข้อมูลชัดเจนแล้วไปชี้นิ้วว่ากลุ่มต่างๆ เป็นพวกก่อการร้าย เป็นพวกล้มสถาบัน แล้วพูดผ่านสื่อบ่อยๆ จนเข้าใจว่าเสื้อแดงทั้งหมดเป็นก่อการร้าย และพวกล้มสถาบัน สุดท้ายคนเหล่านั้นจะถูกผลักออกไป และจะส่งผลร้ายย้อนกลับมาสู่รัฐบาลเอง รวมถึงรัฐบาลต่อๆ ไปในอนาคตด้วย เนื่องจากปัญหาจะกินลึกและแก้ยากมาก

ใครจัดฉาก"คอกวัว"

         
ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล ยังวิเคราะห์ว่า สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในขณะนี้ มีปมเงื่อนที่ซับซ้อนมากกว่าการเผชิญหน้าระหว่างคนเสื้อแดงกับรัฐบาล

          "ที่เห็นได้ชัดคือเหตุการณ์วันที่ 10 เมษาฯ ทหารไม่ได้วางแผนมาให้เกิดเหตุการณ์อย่างนั้นแน่นอน เพราะทหารเองก็สูญเสีย ขณะที่เสื้อแดงก็มาจากราชประสงค์ และเข้ามาที่สี่แยกคอกวัวอย่างปัจจุบันทันด่วน จึงไม่น่าจะวางแผนมาเช่นกัน แต่มีกลุ่มที่มีการวางแผนเตรียมการมาเป็นอย่างดี ล่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าไปตรงจุดนั้นที่เรียกว่าเป็น คิลลิ่ง โซน (Killing Zone) แล้วใช้ปืน ระเบิด ทำลายทั้งสองฝ่าย"

          "ฉะนั้นเราต้องช่วยกันค้นหาว่าใครทำ อย่าโทษกันอีกเลย หาความจริงกันดีกว่า เพราะถ้าไม่ได้ความจริงหรือข้อมูลที่แท้จริงแล้ว เวลาตัดสินใจทำอะไรก็จะผิดไปหมด เช่น การที่รัฐบาลกล่าวหาเรื่องก่อการร้าย จริงๆ อาจไม่ได้เป็นอย่างนั้นก็ได้ เป็นต้น และนี่คืออีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายมีความจำเป็นอย่างมาก"
 
สับสวิทช์"วิกฤติเป็นโอกาส"

        
แต่ไม่ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะย่ำแย่อย่างไร สัจธรรมข้อที่ว่า "ในวิกฤติ มีโอกาส" ยังใช้ได้เสมอ กรณีนี้ก็เช่นกัน

         "ผมคิดว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านหลายๆ เรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านความคิดคน ไม่มีอะไรเป็นแบบเดิมแล้ว การเมืองภาคพลเมืองมีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิมมาก อย่าคิดว่าประชาชนไม่รู้เรื่องการเมือง เพราะประชาชนสนใจการเมือง โดยเฉพาะหลังจากเกิดปรากฏการณ์ของคนเสื้อแดงในครั้งนี้"

         พล.อ.เอกชัย ชี้ว่า ปัจจุบันชาวบ้านเห็นภาพชัดเจนว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเอง และเป็นเรื่องปากท้องโดยตรง แต่ความแตกแยกในลักษณะภูมิภาคนิยมก็เป็นสิ่งที่น่าวิตก และต้องรีบแก้ไขโดยด่วน

         "หลังจากนี้การใช้เวลาเยียวยาคงยาวนานเป็นสิบปี โดยเฉพาะการทำความแตกแยกของคนระหว่างภูมิภาคให้ยอมรับกันให้ได้ เรื่องนี้ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลกจะละเลยไม่ได้เลย"

         "ประเทศไทยขาดการมองไกลมาตลอด มีแต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฉะนั้นต้องเริ่มวางแผนเพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่จุดหมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทำวิกฤติตรงนี้ให้เป็นโอกาสที่มากกว่าการแก้ปัญหาไปวันๆ หรือเอาความรู้จากที่อื่นมาแต่งเติมแล้วก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้ เราต้องใช้ภูมิปัญญาไทยวางรากฐานใหม่ทั้งหมด"

         และสุดท้ายที่ต้องไม่ลืมก็คือทุกคนในบริบทความขัดแย้งนี้เป็นคนไทยด้วยกัน ต้องช่วยกันหาทางออกให้กับประเทศ

Create Date : 04 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 4 พฤษภาคม 2553 0:54:09 น.
Counter : 421 Pageviews.  

undefined




 

วันนี้! ฉันจะมีชีวิตรอดจาก "ราชประสงค์" ได้ไหมหนอ?

อาทิตย์ ที่ 2 พ.ค.53 เริ่มสร้างความตึงเครียดกับกลุ่มคนหลายฝ่าย ทั้ง "เจ้าหน้าที่" "ไพร่แดง" "บุคคลหลากสี" "ประชาชนคนธรรมดา" และ "หน่วยกู้ชีพ - กู้ภัย" ที่ต่างรอท่าทีว่า "จะขอพื้นที่ราชประสงค์คืนหรือไม่?"

           ครับ! ที่แน่ๆความตึงเครียดมันตกที่ "ไพร่แดง" มากกว่ากลุ่มบุคคลใด เพราะต่างลุ้นว่า "จะรอด" หรือ "สิ้นม่อน" กันแน่ ... แต่ความตึงเครียดก็ตกที่พวกผม เหล่ากู้ชีพ-กู้ภัย" เช่นเดียวกัน

            หลายคืนวันแล้วที่พวกผมจะต้องออกปฎิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงกรณ๊ที่จะต้องช่วยคนเจ็บ จากการปะทะในที่ชุมนุม ซึ่งมันก็เสี่ยงมากอยู่เช่นกัน เพราะคนพวกนี้ "เวลาที่มันคลั่ง" ยังกับคนบ้าที่รวมตัวกัน ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกมา "เยี่ยงสัตว์เดียรัจฉาน"

            ซึ่งหลากหลายมุมมองที่เจอมา เคยตั้งคำถามเหมือนกันว่า "นี่เหรอ! คนไทย" "นี่เหรอ! สยามเมืองยิ้ม" เพราะความเลวที่ปรากฎหลายคราว เราก็อยากที่จะเข้าห้าม แต่ก็ไม่เป็นผลซักที ดีที่สุดคือช่วย "ผู้ที่เคราะห์ร้าย" ยื้อเท่าที่ทำได้ "ให้พ้นมือมัจจุราช" เพื่อนำส่งโรงยาบาลที่ใกล้ที่สุด

             หากถามว่าเคยโดนลูกหลงหรือเปล่า? บอกได้เลยว่า "เคยเต็มๆ" โดนมาทุกอย่างเหมือนกัน ทั้งปิดล้อมรถ ค้นรถ ค้นอาวุธ ค้นคน ซึ่งหลายคราวก็หวิดวางมวย เพราะ "ผมไม่เอาเสื้อแดง" แต่ด้วยความที่เป็น "อาสาสมัครกู้ชีพ - กู้ภัย" พวกผมก็อยากที่จะช่วยให้คนเจ็บรอด โดยต้องละทิ้ง "เรื่องเสื้อสี" เวลาเจอคนเจ็บ เพราะมันนอกเหนือจากความขัดแย้ง...

              หากถามว่า "ฝืน" หรือไม่ ที่ต้องช่วยคนความคิดที่ต่างกับเรา? (กบฎไพร่) บอกได้เลยว่า "มีนะ!" แต่เมื่อถึงเวลา เราก็จะต้องแยกให้ได้ เพราะชีวิตคนมีค่าเสมอ แม้ความคิดผมอยากจะให้ปราบให้สิ้นม่อนก็ตาม แต่ไม่ว่าจะยังไง ผมก็จะต้องเข้าไปช่วยอยู่ดีเมื่อเจอคนเจ็บ...

              ข่าวการสลายม๊อบ มีมาทุกคืนตั้งแต่วัน ที่ 20 เมษายน 2553 พวกผมก็ต้องเตรียมควมพร้อมเต็มที่ อย่างเมื่อ 2 วันที่แล้วยังระดมพลอาสาสมัครช่วยย้ายผู้บาดเจ็บจาก รพ.จุฬาลงกรณ์ ไปส่งตาม โรงพยาบาลต่างๆเลย (ระบบการแพทย์ไม่พอเพียง) หลายหยดน้ำตาที่ได้มองเห็น เราก็นึกสงสารญาติคนเจ็บนะ อยากจะให้ม๊อบไพร่โดนเสียบ้าง แล้วพวกมันคงจะรู้สึก...

              วันนี้! พวกผมตั้งรับเตรียมความพร้อมเต็มพิกัด เพราะวันนี้เป็นวันที่หลายฝ่ายคิดว่า "มีแน่" จึงมีคำสั่งทางการแพทย์ฉุกเฉินให้เฝ้าระวังเต็มที่ เผื่อมีเหตุการณ์อย่างว่า เราก็จะต้องพร้อมเสมอ...

               "กู้ชีพ - กู้ภัย" พวกเรามีทั้งที่ต่างความคิด ต่างสีเสื้อ ต่างที่มา และต่างหน่วยงาน แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาจริงๆ พวกผมก็จะต้องปล่อยวางความเกลียดชัง ความหมั่นไส้ และความอาฆาตไว้ก่อนเบื้องต้น เพราะ "ชีวิต" ทุกคนนั้นมีค่า...

                หากมีการสลายการชุมนุม หรือ ขอคืนพื้นที่ขึ้นมา ... ผมหวังว่า ผมคงจะรอด และปลอดภัย คงจะมีโอกาศมานั่งเขียนบล๊อคร่วมกับพี่ๆ "ณ บางโอเค" ต่อไป ...

               

Create Date : 04 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 4 พฤษภาคม 2553 0:53:56 น.
Counter : 416 Pageviews.  

undefined




 

เฒ่า 68 เหยื่อแดงบุกจุฬาฯสิ้นลมแล้ว...???

      แดงแห่งนปช.ยังไม่สำนึกอีกต่อความผิดที่เกิดจากการบุกเข้าไปยังโรงพยาบาลจุฬาฯ สร้างความโกลาหลในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา สร้างความสับสนวุ่นวายให้กับบุคคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง

      จนถึงเวลานี้แม้การเจรจาระดับเจ้าหน้าที่ตำรวจกับแกนนำ นปช.ที่ยอมเปิดเส้นทางเข้าโรงพยาบาลบางช่องทาง แต่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาฯยืนยันว่าจะยังไม่เปิดให้บริการจนกว่า คนเสื้อแดงจะเปิดเส้นทางไปถึงแยกสารสิน และพรุ่งนี้ ก็จะให้เจ้าหน้าที่ทั้งหมดช่วยกันล้าง ทำความสะอาดตึก

       แต่ที่น่าเศร้าใจเป็นอย่างยิ่ง และไม่ควรให้อภัยกับคนเสื้อแดงในการบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ คือการเสียชีวิตของ นายเต็งเซียะ แซ่จู อายุ 68 ปี หลังกลับไปรักษาอาการที่บ้าน

      ญาติของนายเต็งเซียะ เปิดเผยว่า นายเต็งเซียะ มีอาการปวดท้องในตอนเช้าของวันที่ 1 พฤษภาคม จึงรีบนำส่งโรงพยาบาลกรุงเทพ แต่เสียชีวิตก่อนจะถึงโรงพยาบาล ทั้งนี้ นายเต็งเซียะ ออกจากโรงพยาบาลจุฬาฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน หลังเข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งลำไส้ โดยครอบครัวนำศพไปตั้งสวดอภิธรรมที่วัดเทพลีลา
       
       อนึ่ง ในเวลา 07.30 น.พรุ่งนี้ ทางแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของ รพ.จุฬาฯ ทั้งหมดจะนัดรวมตัวกันที่หน้าเสาธงของตึกอำนวยการ เพื่อร้องเพลงชาติ และในเวลา 08.00 น.พร้อมจะออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนในการทำหน้าที่อย่างอิสระ รวมทั้งร้องเพลงมาร์ชโรงพยาบาลจุฬาฯ และเพลงมาร์ชพยาบาล

      นี้คือผลงานชิ้นเอกที่สมควรได้รับการลงโทษทั้งทางสังคม และทางกฏหมายกับแกนนำชาวเสื้อแดงเป็นอย่างยิ่ง และไม่สมควรให้อภัยด้วย

      นายกฯอภิสิทธิ์ บอกว่าได้ตัดสินใจแล้วในการจัดการกับแก๊งแดง และอยู่ในขั้นตอนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าจะจัดการอย่างไร แต่ ศอฉ.บอกว่าจะส่งเอสเอ็มเอส ไปยังผู้ชุมนุมใครไม่เกี่ยวข้อง "ถอยไป"

      เวลานี้คนไทยน่าจะพร้อมรับกับการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นแล้ว รอเวลารัฐบาลดำเนินการตามแผปนเท่านั้น เหลือเพียงว่า แกนนำ ผู้ชุมนุม ญาติผู้ชุมนุม ทำใจพร้อมรับการการสูญเสียแล้วหรือยัง

   

       การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจาก รพ.จุฬาฯอย่างทุลักทุเล

Create Date : 04 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 4 พฤษภาคม 2553 0:53:48 น.
Counter : 973 Pageviews.  

สื่อเทศประโคมข่าวเสื้อแดงบุกค้นโรงพยาบาล - ต่างชาติไม่จุ้นปัญหาขัดแย้งในไทย



       สื่อมวลชนในหลายประเทศทั่วโลก ต่างพากันรายงานข่าวกลุ่มคนเสื้อแดง บุกค้นหาทหารในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จนทำให้มีการย้ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
        หนังสือพิมพ์ไทมส์ออนไลน์ รายงานว่า กลุ่มคนเสื้อแดงกระทำการด้วยความเชื่อแบบผิดๆ ขณะที่สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เหตุบุกค้นโรงพยาบาลครั้งนี้ ทำให้เกิดกระแสวิตกกันว่า แกนนำจะสามารถควบคุมมวลชนได้หรือไม่ โดยเฉพาะการ์ดเสื้อแดง ที่ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยรอบๆ พื้นที่ชุมนุม หนังสือพิมพ์ไทมส์ออนไลน์ รายงานว่า กลุ่มคนเสื้อแดงบุกโรงพยาบาล
        สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานความเคลื่อนไหวในไทย อ้างความเห็นนักการทูต และนักวิชาการชี้ว่า รัฐบาลต่างชาติจะไม่เข้ามาแทรกแซงปัญหาขัดแย้งในไทย และจะไม่ทำอะไรที่ส่งผลกระทบต่อรัฐบาลปัจจุบัน แม้นักการทูตหลายคนได้ให้ความเห็นว่า รู้สึกวิตกอย่างมาก โดยทั้งสหประชาชาติ และยุโรป คงจะไม่ส่งผู้แทนใดๆ มาไทยในเวลานี้
        ทั้งนี้ นักการทูตหลายคน ยังตั้งข้อสังเกตว่า การเข้ามาดำรงตำแหน่งของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด




 

Create Date : 01 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 1 พฤษภาคม 2553 3:24:49 น.
Counter : 409 Pageviews.  

ACHR สังเกตการณ์ม็อบแดง - แนะ 2 ฝ่ายเจรจาหาทางออก



       นายซูฮัก จั๊ก ม่า ประธาน องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Centre For Human Rights) หรือ ACHR พร้อมคณะ เดินทางมาร่วมสังเกตการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่เวทีราชประสงค์ โดยมี น.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. เป็นผู้ให้การรับรอง โดยการมาครั้งนี้ ฮิวแมนไรทส์ เอเชีย มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเกตการณ์การชุมนุมและหาข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
        การมาเวทีชุมนุมครั้งนี้ ทางฮิวแมนไรทส์ เอเชีย ยังออกแถลงการณ์ ซึ่งเป็นการประกาศจุดยืนต่อเหตุการณ์การปะทะของ นปช.กับฝ่ายทหาร เมื่อวันที่ 10 เมษายน ซึ่งในแถลงการณ์ระบุว่า แนวทางการปฏิบัติของฝ่ายเจ้าหน้าที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเห็นได้จากภาพคลิปวิดีโอการปะทะกันที่องค์กรนี้ ระบุว่า รูปแบบการปฏิบัติของฝ่ายความมั่นคงมีความไม่เหมาะสม โดยอ้างจากท่ายิงของฝ่ายทหารที่ไม่อยู่ในลักษณะการป้องกันตัวเอง แต่เหมือนมีการไตร่ตรองไว้ล่วงหน้า พร้อมอ้างอิงถึงกฎบัตรข้อที่ 9 ขององค์การสหประชาชาติ ที่ระบุว่า รัฐบาลไม่มีสิทธิใช้อาวุธกับผู้ชุมนุม หากผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ
        ในแถลงการณ์ยังกล่าวหารัฐบาลไทย ว่า รัฐบาลไทยละเมิดสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ด้วยการปิดกั้นสื่อสารมวลชนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยสอบสวนข้อเท็จจริง ด้วยการตั้งคณะกรรมการร่วมระดับรัฐสภา และเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะภายใน 1 เดือน พร้อมเรียกร้องให้ 2 ฝ่าย แก้ปัญหาด้วยการเจรจา และเรียกร้องให้องค์กรสหประชาชาติส่งตัวแทนที่เป็นกลาง มาเป็นคนกลางในการเจรจา หลังจากนั้น นายซูฮัก แถลงจุดยืนดังกล่าวในที่ชุมนุมด้วย




 

Create Date : 01 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 1 พฤษภาคม 2553 3:24:44 น.
Counter : 406 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  

boyberm
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




boyberm
Friends' blogs
[Add boyberm's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.