Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ล้านแล้วจ้า .. สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี ๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง "หนึ่งล้านคน"




สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี ๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง "หนึ่งล้านคน" ในหนึ่งปี

รอลุ้นว่า ๗ วันอันตราย ปีใหม่ ๒๕๖๑ จะทำลายสถิติด้วยหรือเปล่า T_T ...

๓๑ธค.๒๕๖๐ ... ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง "หนึ่งล้านคน" ในหนึ่งปี ...
และคาดว่า ประเทศไทย จะยังคงรักษาแชมป์ "ประเทศที่มีการตาย จากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก" ไว้ได้อีกหนึ่งปี หรือ อีกหลายปี T_T




เป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกัน-ลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงปีใหม่ ด้วยนะครับ

เดินทางใกล้ไกลแค่ระมัดระวังตนเองยังไม่พอ ต้องคอยดูคอยระวังรถคันอื่นด้วย เราขับดีแต่คนอื่นอาจไม่ ?... รถเยอะ คนแยะ ขับช้าๆ ใจเย็นๆ
เดินทางปลอดภัยทุกท่าน นะครับ

ข้อมูลรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนนในรอบ 24 ชั่วโมง
https://www.thairsc.com/
จังหวัดกำแพงเพชร จำนวนผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และลำดับความเสี่ยง
https://www.thairsc.com/p77/index/62

ปล. ข้อมูลจาก ศปถ. สามปี 2558-2560 โดยเฉลี่ย เกิดอุบัติเหตุวันละ 490 ครั้ง เสียชีวิตวันละ 57 ราย บาดเจ็บวันละ 512 คน และ มีตัวเลขสูงสุดใหม่ ทุกปี หวังว่า ปีนี้ จะลดลง ?
ปีใหม่ 2560 เกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง ตาย 478 ราย เจ็บ 4,128 ราย
ปีใหม่ 2559 เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380 ราย เจ็บ 3,505 ราย
ปีใหม่ 2558 เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341 คน เจ็บ 3,117 คน



7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T ( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา ? ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-04-2017&group=30&gblog=2

7 วันอันตราย ปีใหม่เทศ 2561 (28ธค.60-3มค.61) มาตรการเพียบรอลุ้นผลว่าจะเป็นอย่างไร https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-12-2017&group=30&gblog=4

รวม 7วันอันตรายปีใหม่เทศ 2561 เสียชีวิต 423 คน ลดลงจากปี 60 ร้อยละ 11 ( น่าพอใจ???) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-01-2018&group=30&gblog=8

รวม 7วันอันตรายปีใหม่ไทย (สงกรานต์) 2561 เสียชีวิต 418 ราย (เจ็บตายมากกว่าปีที่แล้ว) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-04-2018&group=30&gblog=9

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตายจากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3

ล้านแล้วจ้า .. สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง "หนึ่งล้านคน" https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2018&group=30&gblog=5

แก้ปัญหาวินัยจราจร ต้องไม่ใช้ตำรวจ ... ByDr.Adune https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7

อุบัติเหตุไม่ลด เพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6


7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T จากข้อมูลย้อนหลังจำง่าย ๆ ...ตายสี่ร้อย เจ็บสี่พัน แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ?

สงกรานต์ 2561เกิดอุบัติเหตุ 3,724 ครั้ง ตาย 418ราย เจ็บ 3,897 ราย

สงกรานต์ 2560เกิดอุบัติเหตุ 3,690 ครั้ง ตาย 390ราย เจ็บ 3,808 ราย

สงกรานต์ 2559เกิดอุบัติเหตุ 3,447 ครั้ง ตาย 442ราย เจ็บ 3,656 คน

สงกรานต์ 2558เกิดอุบัติเหตุ 3,373 ครั้ง ตาย 364ราย เจ็บ 3,559 คน

สงกรานต์ 2557เกิดอุบัติเหตุ 2,992 ครั้ง ตาย 322ราย เจ็บ 3,225 คน

ปีใหม่ 2561เกิดอุบัติเหตุ 3,841 ครั้ง ตาย 423ราย เจ็บ 4,005 ราย

ปีใหม่ 2560เกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง ตาย 478ราย เจ็บ 4,128 ราย

ปีใหม่ 2559เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380ราย เจ็บ 3,505 ราย

ปีใหม่ 2558เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341 คนเจ็บ 3,117 คน

ปีใหม่ 2557 เกิดอุบัติเหตุ3,174 ครั้ง ตาย 367 คน เจ็บ 3,344คน





 

Create Date : 02 มกราคม 2561   
Last Update : 18 เมษายน 2561 15:46:05 น.   
Counter : 2080 Pageviews.  

7 วันอันตราย ปีใหม่ 2561 (28ธค.60-3มค.61) มาตรการเพียบ รอลุ้นผลว่าจะเป็นอย่างไร






ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เพิ่มมาตรการทางกฎหมายเข้ม 7 วันแห่งปลอดภัย 28 ธ.ค.60 – 3 ม.ค.61 เน้นลดปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 ภายใต้แนวคิด "ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร"

ทั้งนี้ ข้อมูลของ "ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน" มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุการเสียชีวิต และบาดเจ็บ (Admit)ช่วงการควบคุมเข้มข้น (7 วัน) จำนวน 3 ปี ระหว่างปี 2558 - 2560 พบว่า มีอุบัติเหตุ เฉลี่ยวันละ 490 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 57 ราย มีผู้บาดเจ็บเฉลี่ย วันละ 512 คน "ปัจจัยเสี่ยง" พบว่ามีอยู่ 4 ด้าน ได้แก่
1. ด้าน "คน" พฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนน อาทิ ความสามารถของผู้ขับขี่ลดลงเนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม/ การไม่ชำนาญเส้นทาง / การไม่เคารพกฎจราจร / ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน
2. ด้าน "ยานพาหนะ" ยานพาหนะไม่มีมาตรฐาน อาทิ ขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์พื้นฐานในรถยนต์ / อุปกรณ์ความปลอดภัย / การปรับแต่งสภาพยานพาหนะ/ การบรรทุกที่ไม่ปลอดภัย
3. ด้าน "ถนน"ลักษณะทางกายภาพของถนนไม่สมบูรณ์อาทิ ถนนชำรุด ผิวถนนเป็นหลุม บ่อ /สภาพการจราจรที่หนาแน่น / อุปกรณ์การควบคุมการจราจร ป้ายเตือน ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ มีสภาพไม่สมบูรณ์ และติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ชัดเจน /จุดเสี่ยงจุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยและจุดตัดทางรถไฟยังไม่ได้รับการแก้ไข
4. ด้าน "สิ่งแวดล้อม" ไฟฟ้าส่องสว่างชำรุดและไม่เพียงพอ / อุปสรรคทางธรรมชาติและลักษณะภูมิอากาศ / สิ่งกีดขวางตกหล่นบนช่องทางจราจร /วัตถุอันตรายขวางทาง / สิ่งกีดขวางทัศนวิสัย

ในส่วนของ มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน ประกอบด้วย
1. มาตรการการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจังและต่อเนื่อง
2. มาตรการด้านสังคมและชุมชม ใช้กลไก "สถาบันครอบครัว" ในการควบคุมปัจจัยเสี่ยง โดยให้สมาชิกในครอบครัวคอยตักเตือน และเฝ้าระวังคนในครอบครัวของตนเอง เพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ขอความร่วมมือให้ผู้นำในพื้นที่เช่น นายอำเภอ นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาสัมพันธ์โดยใช้รูปแบบ "เคาะประตูบ้าน" เพื่อสร้างความตื่นตัวให้แก่ประชาชนในการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ
3. การจัดกิจกรรมทางศาสนา "1 อำเภอ 1 กิจกรรม" เพื่อดึงประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมและลดความเสี่ยงในการก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนนของคนในพื้นที่รวมทั้งการจัดกิจกรรม "สวดมนต์ข้ามปีทำดีเพื่อพ่อ" หรือกิจกรรมตามแต่ละศาสนาเพื่อดึงประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมและลดความเสี่ยงในการก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนนของคนในพื้นที่
4. การจัดทำ "ประชาคมชุมชน / หมู่บ้าน" กำหนดข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางถนนให้ประชาชนถือปฏิบัติ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนนในพื้นที่
5. การจัดตั้ง "ด่านชุมชน" เพื่อสกัดกลุ่มเสี่ยง และลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนนของคนในพื้นที่ อาทิ เมาแล้วขับ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด และไม่สวมหมวกนิรภัย เป็นต้น โดยขอความร่วมมืออาสาสมัครในพื้นที่ เช่น อาสาสมัครรักษาดินแดน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครทางหลวงชนบท(อส.ทช.) ฯลฯ เข้าร่วมประจำด่านชุมชนด้วย
6. เชิญชวนจิตอาสาร่วมทำความดีด้วยหัวใจ ซึ่งมาจากสมาชิกของชุมชน เพื่อสอดส่องเฝ้าระวังผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่นมีพฤติกรรมเมาแล้วขับ พฤติกรรมที่อาจจะก่อให้เกิดความรุนแรง หรืออุบัติเหตุโดยให้กลุ่มจิตอาสาเข้าไปตักเตือนผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าว เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต รวมทั้งร่วมรณรงค์ให้คนในหมู่บ้านตนเอง ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎจราจรและรักษาวินัยจราจรอย่างเคร่งครัด เป็นต้น

เป้าหมายสำคัญคือลดสูญเสีย ลดบาดเจ็บ หรือให้เกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุด เน้นสร้างจิตสำนึก ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างจริงจังตามหลัก 4 ห้าม 2 ต้อง คือ ห้ามเร็ว ห้ามเมา ห้ามโทร ห้ามง่วง ต้องสวมหมวกนิรภัย และต้องคาดเข็มขัดนิรภัย              
พร้อมกับ 6 มาตรการ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน คือ
1. ลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
2. ลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสิ่งแวดล้อม  โดยดำเนินการ "1 ท้องถิ่น 1 ถนนปลอดภัย" 
3. ลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ โดยคุมเข้มความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ หยุดขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุกขนาดใหญ่
4. ดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยว
5. มาตรการด้านความปลอดภัยทางน้ำ โดยตรวจสอบความปลอดภัย   จัดทีมกู้ภัยให้พร้อมทันท่วงที
6. มาตรการด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ โดยประสานสถานพยาบาล จัดหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินควบคู่กับการวางระบบส่งต่อผู้ประสบเหตุให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และโฆษกกระทรวงคมนาคม ฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปลอดภัยคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ร่วมกับหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคมว่า ที่ประชุมหารือถึงมาตรการรณรงค์ความปลอดภัยช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 ซึ่งเห็นชอบรณรงค์ภายใต้หัวข้อ”ขับช้า เปิดไฟหน้า คาดเข็มขัด” ซึ่งจะเริ่มคิกออฟตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.นี้ โดยตั้ง 5 เป้าหมายสำคัญ คือ
1. ลดจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุลงร้อยละ5 จากช่วง 7 วันอันตรายระหว่างวันที่ 28 ธ.ค.-3 ม.ค. ของเทศกาลปีใหม่ 2560 ที่เกิดอุบัติเหตุ 1,835 ครั้ง มียอดผู้เสียชีวิต 306 คน ผู้บาดเจ็บ 1,857 คน 
2. ต้องไม่มีผู้เสียชีวิตจากระบบขนส่งสาธารณในทุกโหมด
3. ผู้ขับรถสาธารณทุกโหมดต้องมีระดับแอลกอฮอล์เป็นศูนย์
4. ต้องไม่มีผู้เสียชีวิตจากการเดินทางบนทางด่วนและมอเตอร์เวย์ 
5. ต้องไม่มีผู้โดยสารตกค้างจากบริการรถสาธารณะ

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันยังได้กำหนดมาตรการเข้มข้นยกกำลังสองช่วง 777 คือ 7 วันก่อนเทศกาล ระหว่างวันที่ 21-27 ธ.ค.,7วันระหว่างเทศกาล คือ ระหว่างวันที่ 28 ธ.ค.60-3 ม.ค. 2561 และ7 วันหลังเทศกาล คือ ระหว่างวันที่ 4-10 ม.ค. 2561 โดยจะใช้กับเส้นทางข้อมูลอุบัติเหตุในรอบปีจากเทศกาลต่างๆ เช่น การทำป้ายระยะมองเห็นชัดเจน ผิวถนนต้องเรียบไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ รวมถึงการควบคุมความเร็วให้ช้าลง เช่น ตั้งด่านร่วมกับตำรวจ การติดตั้งจีพีเอส ตรวจจับความเร็วและส่งต่อข้อมูลข้ามจังหวัด ให้ตั้งด่านสกัด เบรกให้หยุดชั่วคราวและตักเตือน จากที่ผ่านมาปล่อยให้ถึงจุดหมายแล้วจึงออกใบสั่ง เพื่อป้องกันไม่ใช่การจับ

นายสราวุธ กล่าวอีกว่า ที่สำคัญในปีนี้ยังเป็นปีแรกที่คมนาคมได้ประกาศเส้นทางเสี่ยงอันตรายเป็นปีแรกและตั้งเป้าว่าต้องไม่เกิดอุบัติเหตุเลยแม้แต่ครั้งเดียวในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยจะใช้มาตรการเข้มข้นยกกำลังสอง ซึ่งในเบื้องต้นยังได้กำหนดสายทางที่เกิดอุบัติเหตุ 50 ช่วงสายทาง ดังนี้
1. พื้นที่นำร่อง ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) จำนวน 12 ช่วงสายทาง อาทิ สายทาง จ.ขอนแก่น จ.สุพรรณบุรี จ.อุตรดิตถ์ จ.เพชรบูรณ์ 
2. สายทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2560 จำนวน 10 ช่วงสายทาง อาทิ สายทางหนองหมู-ห้วยยอง จ.ประจวบคีรีขันธ์ สายทางร้องกวาง-ห้วยแก๊ต จ.แพร่ ถ้ำพรรณนา-ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี จ.เชียงใหม่
3. สายทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 60 จำนวน 10 ช่วงสายทาง อาทิ สายทางประตูน้ำพระอินทร์-หนองแค จ.พระนครศรีอยุธยา สายทางดอนขวาง-โพธิ์กลาง จ.นครราชสีมา สายทางหมากปรก-เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต สายทางห้วยบง-แม่สถิตหลวง จ.ตาก
4. สายที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในปีงบประมาณ 60 จำนวน 18 ช่วงสายทาง อาทิทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 ตอนควบคุม0101 อรุณอัมรินทร์ –พุทธมณฑลสาย 4 กรุงเทพฯ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข340 ตอนควบคุม0301 สาลี-สุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข3214 ตอนควบคุม0100 บ้านพร้าว-คลองห้า จ.ปทุมธานี

ทั้งนี้จะมีการซ้อมมาตรการเข้มข้นในเส้นทางดังกล่าวก่อนถึงช่วงเทศกาลด้วย สำหรับเส้นทางเสี่ยงที่กำหนดขึ้นเป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ยังมีการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมและอาจจะมีการประกาศเส้นทางเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เส้นทาง เช่น เส้นทางที่เคยเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยว เส้นทางสายหลัก เป็นต้น

https://news.thaipbs.or.th/content/268747
https://www.dailynews.co.th/economic/612039
https://www.msn.com/th-th/money/other/คมนาคมเปิดแผนลดอุบัติเหตุเดินทางปีใหม่-61/ar-BBFzk60?li=AAuelE8
https://www.thaihealth.or.th/Content/39866-'สคอ.-ศปถ.' จับมือคุมเข้ม '7 วันอันตราย' กำหนดแผนลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561.html


หนังสือราชการช่วงเทศกาล ปีใหม่ 61
https://www.roadsafetythailand.com/

********************************************
ข้อสั่งการรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ)
ดาวน์โหลด :
หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0607 ว7174 ลว 21 ธค.2560.pdf ( 0.87 MB ) ( ดาวน์โหลด 7 ครั้ง)
หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0607ว 7174 ลว 21 ธ.ค.60.docx ( 0.05 MB ) ( ดาวน์โหลด 1 ครั้ง)

แจ้งแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561
ดาวน์โหลด :
1.หนังสือแจ้งจังหวัด.pdf ( 0.91 MB ) ( ดาวน์โหลด 535 ครั้ง)
2.สิ่งที่ส่งมาด้วย 1_แผนปีใหม่ 61.pdf ( 0.24 MB ) ( ดาวน์โหลด 285 ครั้ง)
2.สิ่งที่ส่งมาด้วย 1_แนวทางการดำเนินงาน ๑.pdf ( 0.09 MB ) ( ดาวน์โหลด 165 ครั้ง)
2.สิ่งที่ส่งมาด้วย 1_แนวทางการดำเนินงาน ๒.pdf ( 0.23 MB ) ( ดาวน์โหลด 74 ครั้ง)
2.สิ่งที่ส่งมาด้วย 1_แนวทางการดำเนินงาน๓.pdf ( 0.21 MB ) ( ดาวน์โหลด 51 ครั้ง)
3.สิ่งที่ส่งมาด้วย 2_คู่มือการประเมิน.pdf ( 1.37 MB ) ( ดาวน์โหลด 64 ครั้ง)
4.สิ่งที่ส่งมาด้วย 3_สถิติ.pdf ( 0.50 MB ) ( ดาวน์โหลด 90 ครั้ง)
1.หนังสือแจ้งจังหวัด.doc ( 0.05 MB ) ( ดาวน์โหลด 127 ครั้ง)
2.สิ่งที่ส่งมาด้วย 1_แนวทางการดำเนินงาน ๑.doc ( 0.06 MB ) ( ดาวน์โหลด 39 ครั้ง)
2.สิ่งที่ส่งมาด้วย 1_แนวทางการดำเนินงาน ๒.docx ( 0.04 MB ) ( ดาวน์โหลด 38 ครั้ง)
2.สิ่งที่ส่งมาด้วย 1_แผนปีใหม่ 61.doc ( 0.17 MB ) ( ดาวน์โหลด 73 ครั้ง)
2.สิ่งที่ส่งมาด้วย 1_แนวทางการดำเนินงาน๓.docx ( 0.03 MB ) ( ดาวน์โหลด 41 ครั้ง)

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""





ปีใหม่ 2561 นี้ สสส. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดทำโครงการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน "ทุกราย" และผลการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด จะถูกนำมาพิจารณาดำเนินคดี "ทุกคดี"

นอกจากจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้ว การเมาแล้วขับ ประกันภาคสมัครใจ ไม่ว่าจะชั้น 1/2/3 ก็จะไม่คุ้มครองด้วยนะครับ


::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

7 วันอันตรายปีใหม่นี้ 'ตรวจเลือดวัดแอลกอฮอล์เคสอุบัติเหตุ' หวังลดอุบัติเหตุเมาแล้วขับ

สธ.จับมือสำนักงานตำรวจ ตรวจเลือดวัดแอลกอฮอล์ในเคสอุบัติเหตุช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลปีใหม่ 2561 นี้ เพื่อให้เกิดการดำเนินคดีกับผู้ที่ขับรถในขณะเมาสุราทุกราย หวังช่วยลดอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับได้ กรณีตำรวจสงสัยหรือคู่กรณีร้องขอ ให้ส่งตัวผู้ขับขี่ทั้ง 2 ฝ่ายที่ไม่สามารถตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจได้ไปยัง รพ.สังกัด สธ.พร้อมใบนำส่ง เพื่อเจาะเลือดและตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ ซึ่งจะนำผลตรวจที่ได้ไปใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่อไป

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2560 นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการแถลงข่าว “สธ.มอบของขวัญปีใหม่ 2561 สร้างสุข สร้างความปลอดภัยทั่วไทย” ว่า สำหรับช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 28 ธันวาคม 2560 – 3 มกราคม 2561 กระทรวงสาธารณสุขจะร่วมสร้างความปลอดภัยร่วมกับภาคีเครือข่าย รณรงค์ “ดื่มแล้วขับ จับตรวจแอลกอฮอล์” โดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขและทุกภาคส่วนในพื้นที่ จะช่วยกันลดการบาดเจ็บจากการจราจร และให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการเสียชีวิตและความพิการลง

โดยเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Center : EOC) ในส่วนกลางที่กระทรวงสาธารณสุข ระดับจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดเหตุ ให้โรงพยาบาลทุกแห่งเตรียมความพร้อมบริการการแพทย์ฉุกเฉิน แจ้งเหตุเร็ว โดยขยายคู่สายแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน 1669 เป็น 300 คู่สายทั่วประเทศ รับเร็วโดยใช้ชุดปฏิบัติการที่มีกระจายทั่วประเทศ ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ เอกชน และโรงพยาบาลต่างๆ ถึงที่เกิดเหตุไม่เกิน 10 นาที ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของการออกเหตุทั้งหมด

ซึ่งปัจจุบันมีชุดปฏิบัติการครอบคลุมตำบลมากกว่าร้อยละ 90 ของตำบลทั้งหมด ส่งเร็ว ส่งต่อถึงมือแพทย์ทำการรักษาเร็ว จัดทีมแพทย์ พยาบาล เชี่ยวชาญประจำห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินในทุกโรงพยาบาล พร้อมให้การรักษาตลอด 24 ชั่วโมง

นพ.ปิยะสกล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้ให้กรมควบคุมโรค ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ สสส.จัดทำโครงการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่ ในกรณีที่มีผู้บาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิต เพื่อให้เกิดการดำเนินคดีกับผู้ที่ขับรถในขณะเมาสุราทุกราย ในกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่สามารถเป่าลมหายใจผ่านเครื่องตรวจแอลกอฮอล์ได้ให้ส่งไปเจาะเลือดตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเข้มข้นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551

ด้าน นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัญหาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญจะมีการเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ร้อยละ 80 เป็นรถจักรยานยนต์ มักเกิดเหตุบนถนนสายรอง กลุ่มที่บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดมีอายุ 15-19 ปี รองลงมาคือ 20-24 ปี เวลาที่เกิดเหตุสูงสุด 16.00 – 21.00 น. สาเหตุสำคัญคือการดื่มแล้วขับขี่ โดยพบผู้บาดเจ็บจากการดื่มแล้วขับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 อายุต่ำกว่า 20 ปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.56 วันที่เกิดเหตุสูงสุดคือ 31 ธันวาคม 2559

ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 จึงเน้นย้ำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรวจเตือน/ประชาสัมพันธ์ ตาม พ.ร.บ.อย่างเข้มข้น แก่สถานประกอบการและร้านค้า และประชาชนทั่วไป และร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจจับดำเนินคดีอย่างเข้มงวดในช่วงก่อนเทศกาลและในช่วงเทศกาล โดยเฉพาะกรณีการขายสุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี การขายสุราในสถานที่และเวลาที่ห้ามขาย การเร่ขาย การโฆษณาหรือส่งเสริมการขาย (ลด แลก แจก แถม)

นพ.เจษฎา กล่าวต่อว่า สำหรับระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน (Emergency Care System : ECS) ได้มอบให้ผู้ตรวจราชการกระทรวง กำกับติดตามการทำงานของจังหวัด วางแผนรองรับสถานการณ์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ในแต่ละเขต และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดหน่วยกู้ชีพระดับพื้นฐาน (Basic Life Support : BLS) และหน่วยปฏิบัติการระดับสูง (Advanced Life Support : ALS) ประจำบนเส้นทางถนนสายหลัก ที่มีจุดตรวจ/ จุดบริการอยู่ห่างกันมาก เพื่อให้การดูแลรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว ขณะนี้มีชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทุกระดับรวม 8,621 หน่วย เรือปฏิบัติการฉุกเฉิน 155 ลำ เครื่องบิน 129 ลำ รถปฏิบัติการฉุกเฉินทุกระดับ 19,422 คัน และเตรียมพร้อมผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินทุกระดับ 165,158 คน

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาพบว่า จำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จำนวนอุบัติเหตุเกือบ 4,000 ครั้ง สาเหตุมากที่สุดมาจากการเมาสุราร้อยละ 36.59 รองลงมาเป็นการขับรถเร็วร้อยละ 31.31 และตัดหน้ากระชั้นชิดร้อยละ 17.84 โดยถนนทางหลวงมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด และถนนที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุด คือถนน อบต./หมู่บ้าน

กรมควบคุมโรค ได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด เฝ้าระวัง ตรวจเตือนและประชาสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ในช่วงก่อนเทศกาล และดำเนินการตรวจจับอย่างเข้มข้นในช่วงเทศกาล 7 วัน โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเสี่ยง 100 ลำดับแรกของอำเภอทั้งหมด มี 109 อำเภอ อยู่ใน 48 จังหวัด ซึ่งมีจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 40 ของทั้งประเทศ (878 อำเภอ)

ในกรณีที่อุบัติเหตุนั้นทำให้มีผู้บาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิต เพื่อให้เกิดการดำเนินคดีกับผู้ที่ขับรถในขณะเมาสุราทุกราย กรณีเจ้าพนักงานตำรวจสงสัยหรือคู่กรณีร้องขอ ให้ส่งตัวผู้ขับขี่ทั้ง 2 ฝ่ายที่ไม่สามารถตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจได้ไปยังโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขพร้อมใบนำส่ง เพื่อเจาะเลือดและตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ ซึ่งจะนำผลตรวจที่ได้ไปใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่อไป



********************************************

7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T ( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา ? ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-04-2017&group=30&gblog=2

7 วันอันตราย ปีใหม่ 2561 (28ธค.60-3มค.61) มาตรการเพียบรอลุ้นผลว่าจะเป็นอย่างไร https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-12-2017&group=30&gblog=4

รวม 7วันอันตรายปีใหม่เทศ 2561 เสียชีวิต 423 คน ลดลงจากปี 60 ร้อยละ 11 ( น่าพอใจ???) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-01-2018&group=30&gblog=8

รวม 7วันอันตรายปีใหม่ไทย (สงกรานต์) 2561 เสียชีวิต 418 ราย (เจ็บตายมากกว่าปีที่แล้ว) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-04-2018&group=30&gblog=9

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตายจากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3

ล้านแล้วจ้า .. สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง "หนึ่งล้านคน" https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2018&group=30&gblog=5

แก้ปัญหาวินัยจราจร ต้องไม่ใช้ตำรวจ ... ByDr.Adune https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7

อุบัติเหตุไม่ลด เพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6


7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T จากข้อมูลย้อนหลังจำง่าย ๆ ...ตายสี่ร้อย เจ็บสี่พัน แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ?

สงกรานต์ 2561เกิดอุบัติเหตุ 3,724 ครั้ง ตาย 418ราย เจ็บ 3,897 ราย

สงกรานต์ 2560เกิดอุบัติเหตุ 3,690 ครั้ง ตาย 390ราย เจ็บ 3,808 ราย

สงกรานต์ 2559เกิดอุบัติเหตุ 3,447 ครั้ง ตาย 442ราย เจ็บ 3,656 คน

สงกรานต์ 2558เกิดอุบัติเหตุ 3,373 ครั้ง ตาย 364ราย เจ็บ 3,559 คน

สงกรานต์ 2557เกิดอุบัติเหตุ 2,992 ครั้ง ตาย 322ราย เจ็บ 3,225 คน

ปีใหม่ 2561เกิดอุบัติเหตุ 3,841 ครั้ง ตาย 423ราย เจ็บ 4,005 ราย

ปีใหม่ 2560เกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง ตาย 478ราย เจ็บ 4,128 ราย

ปีใหม่ 2559เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380ราย เจ็บ 3,505 ราย

ปีใหม่ 2558เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341 คนเจ็บ 3,117 คน

ปีใหม่ 2557 เกิดอุบัติเหตุ3,174 ครั้ง ตาย 367 คน เจ็บ 3,344คน




 

Create Date : 26 ธันวาคม 2560   
Last Update : 18 เมษายน 2561 15:42:50 น.   
Counter : 3099 Pageviews.  

ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตาย จากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย)





เครดิต ภาพ และ เนื้อหา จาก เพจไม่มีใครพูด
ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ปีนี้ไทยสามารถไต่จากอันดับ 2 ขึ้นเป็นประเทศที่มีอัตราการตายจากอุบัติเหตุบนถนนสูงที่สุดในโลกได้สำเร็จแล้ว 👋 #จริงๆไม่เห็นจะต้องลุ้นเลยของตาย

คำตอบตามปกติจากทางการคือ มันเกิดจากนิสัยเสียของคนขับ ไม่ได้เกิดจากถนนซึ่งเค้าสร้างไว้ดีแล้ว ซึ่งคำตอบนี้ก็สื่อว่ารัฐจะไม่แก้เรื่องนี้ เพราะไม่ใช่ความผิดเค้า (พฤติกรรมของคนขับรถไม่ใช่หน้าที่ของรัฐ​!) ดังนั้นปัญหานี้จะคงอยู่ตลอดไป คนจะตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เสียแต่ว่าปีต่อไปเราคงทำตำแหน่งดีกว่านี้ไม่ได้แล้ว 😣

❝ปี 2559 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนราว 22,000 ราย เฉลี่ยวันละ 50 - 60 ราย มีผู้ที่ไปเข้ารับการรักษาที่ รพ. จากกรณีรถชน ประมาณ 1 ล้านคน กลายเป็นผู้พิการราว 6 หมื่นคนต่อปี และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 เว็บไซต์เวิลด์แอตลาส ได้เปิดเผยว่าประเทศไทยมีอัตราตายบนท้องถนนอยู่ในอันดับ 1 ของโลก จากเดิมที่อยู่ในอันดับ 2 รองจากประเทศลิเบีย❞
— mgronline.com/qol/detail/9600000124618

ภาพจาก​: www.worldatlas.com/articles/the-countries-with-the-most-car-accidents.html



:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

ไทยอันดับ1ตายเพราะอุบัติเหตุบนถนน

เผยแพร่: โดย: MGR Online

https://mgronline.com/daily/detail/9600000124823

ในการสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง“ความปลอดภัยทางถนนครั้งที่ 13”ภายใต้แนวคิด ลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน เมื่อเร็วๆนี้ มีการเสวนาย่อย เรื่อง“social media กล้องหน้ารถ สมาร์ทโฟน ใช้อย่างไรเพื่อความปลอดภัยทางถนน" โดย นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวว่า ปี 59 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนราว 22,000 ราย เฉลี่ยวันละ 50- 60 ราย มีผู้ที่ไปเข้ารับการรักษาที่ รพ.จากกรณีรถชนประมาณ 1 ล้านคน กลายเป็นผู้พิการราว 6 หมื่นคน ต่อปี และ เมื่อเดือนพ.ย. 60 เว็บไซต์เวิลด์แอตลาส ได้เปิดเผยว่าไทย มีอัตราตายบนท้องถนน อยู่ในอันดับ 1 ของโลก จากเดิมที่อยู่ในอันดับ 2 รองจาก ลิเบีย ขณะที่รายงานล่าสุด กลับไม่มีชื่อประเทศลิเบีย ติดใน 30 อันดับแรก เนื่องจากมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบพบว่า ภายในประเทศมีการสู้รบ จึงมีคนตายบนถนนมาก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขับขี่รถ จึงไม่นับรวมในกรณีนี้ เมื่อประเทศลิเบียหลุด ประเทศไทยที่อยู่อันดับ 2 จึงขยับขึ้นเป็นอันดับ 1 มีอัตราการตาย 36.2 ต่อ แสนประชากร แต่องค์การอนามัยโลก หรือ ฮู ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ



เมื่อรัฐบาลประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 คำตอบในการลดอุบัติเหตุบนถนน คือ การติดกล้องหน้ารถให้ได้ 70-80% ของรถในประเทศไทย โดยจะเป็นการส่งผลทางอ้อม ทำให้ผู้ขับขี่ไม่กล้าที่จะกระทำผิดบนถนน เพราะรู้ว่ามีกล้องหน้ารถคันอื่นจับภาพอยู่ แม้จะไม่โดนเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจจับ แต่จะโดนสังคมออนไลน์ ประณาม ซึ่งหนักกว่า เพราะจะมีการสืบสาวประวัติ ถึงตระกูล ฉะนั้น หากรถในไทยมีกล้องทุกคัน เชื่อว่าพฤติกรรมคนที่ทำไม่ดีบนถนนจะลดลง

นพ.แท้จริง กล่าวอีกว่า การผลักดันเรื่องการติดกล้องหน้ารถ ทางมูลนิธิฯ เคยทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ท่านก็เห็นด้วย และให้เป็นนโยบายโดยสั่งการใน 2 เรื่อง คือ มอบกระทรวงการคลัง พิจารณาระบบภาษีที่จะช่วยให้คนไทยติดกล้องหน้ารถได้ และมอบ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในการหาวิธีให้ถือเป็นนโยบายลดอุบัติเหตุ ซึ่งนายกฯ สั่งการตั้งแต่เดือนพ.ค.59 จนถึงวันนี้ ยังไม่มีใครสนองนโยบายนายกฯ เลย

ด้าน พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล 3 กล่าวว่า เมื่อเกิดเหตุบนท้องถนน ภาพ และเสียง จากกล้องหน้ารถสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ หลักฐานจากคู่กรณี และจากพยานบุคคลอื่น

นอกจากนี้ การติดกล้องยังก่อให้เกิดประโยชน์ 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1. ปกป้องตัวเองและครอบครัว เพราะพยานหลักฐานนี้โกหกไม่ได้ และเชื่อถือได้มากกว่าคน
2. ช่วยเหลือคนอื่นๆในสังคม กรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนถนน หากผู้ขับขี่ติดกล้องและบันทึกเหตุการณ์ไว้ได้ สามารถนำมาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นการปกป้องคนดี ไม่ให้เป็นจำเลย โดยเฉพาะปัจจุบันมีการชนแล้วหนีจำนวนมาก หากไม่มีหลักฐาน ก็เอาผิดไม่ได้ ทำให้คนชั่วลอยนวล
และ 3. เมื่อรถทุกคันติดกล้อง ก็จะเป็นการป้องปรามไม่ให้คนทำผิด เพราะรู้ว่าหากทำ กล้องก็จะถ่ายไว้ จึงควรมีการส่งเสริมให้ติดสติกเกอร์ photo in car เหมือนกับที่มี baby in car เพื่อให้คนรู้ว่า รถคันนี้มีกล้องติดไว้ ทำให้คนไม่กล้าทำผิด เป็นการกระตุ้นเตือนกระตุกความคิดผู้ที่คิดจะทำผิด

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

โครงการจักรยานยนต์ขับขี่ปลอดภัย (Safety Bike)” จักรยานยนต์ไทยปลอดภัยไร้อุบัติเหตุ

https://www.roadsafetythai.org/plan-detail.php?id=47&subid=82&cid=554

คุณรู้หรือไม่ใน 1 ปี มีเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ เฉลี่ยปีละ 1 โรงเรียนใหญ่ ทำไมเด็กในประเทศนี้…..ตายก่อนวัยอันควร!! แล้วเราจะมีหนทางป้องกันแก้ไขอย่างไรบ้าง!!?

ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.)มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย(มนป.)ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)สนับสนุนการทดสอบและกำหนดมาตรฐานแนะนำภายใต้โครงการจักรยานยนต์ขับขี่ปลอดภัย (Safety bike)เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน เลือกใช้มาตรฐานรถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์  ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า “แผนงานรถจักรยานยนต์เป็นแผนงานหนึ่งของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ที่มุ่งเน้นการทำงานเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ข้อมูลสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนทั่วโลก บ่งชี้ว่าเกิดขึ้นจาก 3 ปัจจัย คือพฤติกรรมคน ปัจจัยด้านรถ และปัจจัยด้านถนนหรือสิ่งแวดล้อม การทำงานเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน จึงต้องทำในทุกปัจจัยทั้ง คน รถ และถนน

อย่างที่ทุกท่านทราบกันดี ว่า สถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยถูกจัดอันดับจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก มากไปกว่านั้นข้อมูลบ่งชี้ว่า 3 ใน 4 ของการบาดเจ็บรุนแรงเกิดจากรถจักรยานยนต์ ในขณะที่ รถจักรยานยนต์เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิต (มากถึง 65%) มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละกว่า 5,500 ราย สอดคล้องกับจำนวนจดทะเบียนรถจักรยานยนต์สูงขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากตัวเลขปี 2559 ของกรมการขนส่งทางบกมีรถจดทะเบียนสะสมสูงถึง 20 ล้านคันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และประเด็นที่น่าสังเกตคือ รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยมีมาตรฐานการผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรมแต่ยังขาดการตระหนักเรื่องมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการขับขี่ สังเกตได้จาก รถยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน แต่การผลิตเพื่อจำหน่ายในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น หรือ ทางยุโรป จะไม่เหมือนการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ด้านโครงสร้างกายภาพของรถ ทั้งขนาดหน้ายาง ความกว้างวงล้อ ที่มีส่วนสัมพันธ์กับความเร็วและระยะเบรก

ดังนั้นวัตถุประสงค์ของโครงการจักรยานยนต์ขับขี่ปลอดภัยในครั้งนี้ เพื่อทบทวนและกำหนดมาตรฐานแนะนำสำหรับรถจักรยานยนต์ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ เด็กและเยาวชน ผู้ปกครอง เลือกซื้อรถจักรยานยนต์โดยคำนึงถึงประเด็นความปลอดภัยมากขึ้น และผลักดันให้ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ที่เป็นเจ้าหลักในประเทศไทยออกแบบและผลิตรถจักรยานยนต์โดยคำนึงถึงความปลอดภัยมากขึ้น”

ผศ.ดร.จินดา เจริญพรพาณิชย์  อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบมาตรฐานรถของประเทศไทย กล่าวว่า “ การทดสอบจักรยานที่ได้มาตรฐานแนะนำด้านความปลอดภัยภายใต้โครงการจักรยานยนต์ขับขี่ปลอดภัย (Road safety bike)  นั้นจะทำการทดสอบ

  • ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพ เช่น เครื่องยนต์ ระบบเบรก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางล้อ ความกว้างของหน้ายาง
  • ทดสอบความเร็วสูงสุด โดยใช้วิธีทดสอบบน Chassis Dynamometer หรือทดสอบบนถนน
  • ทดสอบระยะเบรก โดยเทียบเคียงและนำบางส่วนของ มาตรฐาน FMV122 ของประเทศสหรัฐอเมริกา มาประยุกต์ใช้ โดยทดสอบแบบถนนแห้ง ที่ความเร็ว 40 km/h สำหรับจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาด 50 cc หรือจักรยานยนต์ที่มีความเร็วสูงสุดไม่เกิน 50 km/h และทดสอบที่ความเร็ว 60 km/h สำหรับจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กว่า 50 cc หรือที่มีความเร็วสูงสุด เกิน 50 km/h

นอกจากนี้ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย(มนป.)ที่ผ่านมา ยังได้มีการจัดทำคลิปวิดิโอรณรงค์มาตรฐานของการใช้รถใช้ถนนและคำนึงถึงจิตสำนึกสาธารณะร่วมกันโดยจะเผยแพร่คลิปออกสู่ประชาชน ทาง Page  : OHPA TV  https://th-th.facebook.com/ohpatv/

ที่มาข้อมูล : https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_291749


::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T ( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา ? ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-04-2017&group=30&gblog=2

7 วันอันตราย ปีใหม่เทศ 2561 (28ธค.60-3มค.61) มาตรการเพียบรอลุ้นผลว่าจะเป็นอย่างไร https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-12-2017&group=30&gblog=4

รวม 7วันอันตรายปีใหม่เทศ 2561 เสียชีวิต 423 คน ลดลงจากปี 60 ร้อยละ 11 ( น่าพอใจ???) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-01-2018&group=30&gblog=8

รวม 7วันอันตรายปีใหม่ไทย (สงกรานต์) 2561 เสียชีวิต 418 ราย (เจ็บตายมากกว่าปีที่แล้ว) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-04-2018&group=30&gblog=9

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตายจากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3

ล้านแล้วจ้า .. สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง "หนึ่งล้านคน" https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2018&group=30&gblog=5

แก้ปัญหาวินัยจราจร ต้องไม่ใช้ตำรวจ ... ByDr.Adune https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7

อุบัติเหตุไม่ลด เพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6


7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T จากข้อมูลย้อนหลังจำง่าย ๆ ...ตายสี่ร้อย เจ็บสี่พัน แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ?

สงกรานต์ 2561เกิดอุบัติเหตุ 3,724 ครั้ง ตาย 418ราย เจ็บ 3,897 ราย

สงกรานต์ 2560เกิดอุบัติเหตุ 3,690 ครั้ง ตาย 390ราย เจ็บ 3,808 ราย

สงกรานต์ 2559เกิดอุบัติเหตุ 3,447 ครั้ง ตาย 442ราย เจ็บ 3,656 คน

สงกรานต์ 2558เกิดอุบัติเหตุ 3,373 ครั้ง ตาย 364ราย เจ็บ 3,559 คน

สงกรานต์ 2557เกิดอุบัติเหตุ 2,992 ครั้ง ตาย 322ราย เจ็บ 3,225 คน

ปีใหม่ 2561เกิดอุบัติเหตุ 3,841 ครั้ง ตาย 423ราย เจ็บ 4,005 ราย

ปีใหม่ 2560เกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง ตาย 478ราย เจ็บ 4,128 ราย

ปีใหม่ 2559เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380ราย เจ็บ 3,505 ราย

ปีใหม่ 2558เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341 คนเจ็บ 3,117 คน

ปีใหม่ 2557 เกิดอุบัติเหตุ3,174 ครั้ง ตาย 367 คน เจ็บ 3,344คน





 

Create Date : 15 ธันวาคม 2560   
Last Update : 18 เมษายน 2561 15:48:45 น.   
Counter : 5379 Pageviews.  

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน





ที่มาภาพ อัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจร พ.ศ. 2554-2558 : https://www.hfocus.org/content/2017/11/14920

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย ทุกวันมี 42 ครอบครัวมีคนตาย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้านบาท รัฐบาลประกาศ มุ่งมั่นแก้ปัญหาอุบัติเหตุ ยึด 5 เสาหลัก โพลชี้ คนไทย ร้อยละ 91.4 เปลี่ยนความเชื่อ อุบัติเหตุไม่ใช่เวรกรรม ชี้รัฐต้องลงทุนแก้ปัญหาจุดเสี่ยงเจ็บตายซ้ำซาก ศปถ.-คมนาคม-สสส.-ศวปถ. ผนึกภาคีเครือข่ายจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติเรื่องความปลอดภัยทางถนน 6-7 ธ.ค. นี้ ชูประเด็นการลงทุนเพื่อความปลอดภัยที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งเกิดความพิการ ซึ่งทุกฝ่ายจำเป็นต้องตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเพื่อช่วยกันป้องกันและหยุดความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยสถานการณ์ความสูญเสียจากอุบัติเหตุในประเทศไทย จากข้อมูลใบมรณบัตร ปี 2559 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจำนวน 15,448 ราย มีผู้พิการรายใหม่ ที่เป็นเหยื่อจากอุบัติเหตุทางถนนอีกกว่า 5,000 ราย หรือทุกวันจะมี 42 ครอบครัวที่ต้องสูญเสียสมาชิก และมีอีก 15 ครอบครัวต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้พิการจากอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศรวมกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี

นายชยพล กล่าวต่อว่า รัฐบาลเห็นความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นอย่างดี โดยมุ่งมั่นที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหา จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ (นปถ.) ตั้งแต่ปี 2554 ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุ ทั้งระดับนโยบาย อำนวยการ และปฏิบัติการ เพื่อให้กลไกทำงานมีประสิทธิภาพ กำหนดให้จัดทำแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนทุก 3 ปี เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางถนน โดยบูรณาการการทำงาน 5 เสาหลัก คือ

1.การสร้างกลไกการบริหารจัดการด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างมีประสิทธิภาพ

2.การสร้างความปลอดภัยด้านโครงสร้างถนนและสภาพแวดล้อมริมทาง

3.การส่งเสริมให้เกิดการใช้ยานพาหนะที่ปลอดภัย

4.การสร้างวินัยจราจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน

และ 5.การช่วยเหลือและรักษาผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน

โดยที่ผ่านมาได้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาความปลอดภัยทางถนนใน 5 ประเด็น คือ ดื่มแล้วขับ การขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ใบอนุญาตขับรถ รถโดยสารสาธารณะ และการคาดเข็มขัดนิรภัย

นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ กล่าวถึงผลสำรวจเรื่อง “อุบัติเหตุทางถนนเป็นเรื่องของใคร” สำรวจระหว่างวันที่ 5-14 ตุลาคม 2560 จากการสำรวจ 1,196 ตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76.7 เคยเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับตัวเอง โดยร้อยละ 91.4 เชื่อว่าเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ความปลอดภัยทางถนน มีเพียงร้อยละ 32.1 ที่เชื่อว่าเป็นเรื่องของเวรกรรม ถือเป็นครั้งแรกที่พิสูจน์ได้ว่า คนไทยเปลี่ยนความเชื่อจากอุบัติเหตุเป็นเรื่องของเวรกรรมมาเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ คือ สภาพถนน คน รถ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 96.6 เห็นว่ารัฐควรลงทุนในจุดที่เกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก และร้อยละ 63.9 ระบุว่า การแก้ปัญหาเป็นเรื่องของกระทรวงคมนาคม รองลงมาคือ รัฐบาล คสช. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ตามลำดับ

ด้าน นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การร่วมมือระหว่างฝ่ายต่างๆ ในการตรวจจับเพื่อป้องกัน การรายงานและการดูแลผู้บาดเจ็บ อาจไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายการลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนลงได้ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กระทรวงคมนาคม ศวปถ. มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย สสส. ตลอดจนองค์กรภาคประชาสังคมทั้งในและต่างประเทศ เช่น สอจร. สคอ. AIP มูลนิธิบลูมเบิร์ก ฯลฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จึงได้จัดให้มีการสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่องความปลอดภัยทางถนนครั้งนี้ คาดหวังให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบสถานการณ์ องค์ความรู้ ทิศทางนโยบาย อุปสรรคปัญหาและร่วมเสนอนโยบาย เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

การสัมมนาในปีนี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “ลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน” Invest for Sustainable Road Safety ในวันที่ 6-7 ธ.ค. ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยประเด็นสำคัญในการประชุมปีนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำไปปฏิบัติใช้ต่อไป คือ

1.การลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน

2.ประชารัฐเพื่อสังคม กับความปลอดภัยทางถนน

3.ลงทุนเพื่อสังคมร่วมใจป้องกันภัยทางถนน

4.มิติใหม่บังคับใช้กฎหมาย Road Safety 4.0

5.รถพยาบาลปลอดภัย

6.มิติทางสังคม กับการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

และ 7.ระบบใบขับขี่ใหม่กับความปลอดภัยทางถนน

ทั้งนี้ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาฯ สามารถทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.roadsafetythai.org และลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่น Road Safety ได้ทั้งระบบ IOS และ Android ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


::::::::::::::::::::::::::::;





:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::


7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T ( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา ? ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-04-2017&group=30&gblog=2

7 วันอันตราย ปีใหม่เทศ 2561 (28ธค.60-3มค.61) มาตรการเพียบรอลุ้นผลว่าจะเป็นอย่างไร https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-12-2017&group=30&gblog=4

รวม 7วันอันตรายปีใหม่เทศ 2561 เสียชีวิต 423 คน ลดลงจากปี 60 ร้อยละ 11 ( น่าพอใจ???) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-01-2018&group=30&gblog=8

รวม 7วันอันตรายปีใหม่ไทย (สงกรานต์) 2561 เสียชีวิต 418 ราย (เจ็บตายมากกว่าปีที่แล้ว) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-04-2018&group=30&gblog=9

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตายจากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3

ล้านแล้วจ้า .. สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง "หนึ่งล้านคน" https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2018&group=30&gblog=5

แก้ปัญหาวินัยจราจร ต้องไม่ใช้ตำรวจ ... ByDr.Adune https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7

อุบัติเหตุไม่ลด เพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6


7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T จากข้อมูลย้อนหลังจำง่าย ๆ ...ตายสี่ร้อย เจ็บสี่พัน แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ?

สงกรานต์ 2561เกิดอุบัติเหตุ 3,724 ครั้ง ตาย 418ราย เจ็บ 3,897 ราย

สงกรานต์ 2560เกิดอุบัติเหตุ 3,690 ครั้ง ตาย 390ราย เจ็บ 3,808 ราย

สงกรานต์ 2559เกิดอุบัติเหตุ 3,447 ครั้ง ตาย 442ราย เจ็บ 3,656 คน

สงกรานต์ 2558เกิดอุบัติเหตุ 3,373 ครั้ง ตาย 364ราย เจ็บ 3,559 คน

สงกรานต์ 2557เกิดอุบัติเหตุ 2,992 ครั้ง ตาย 322ราย เจ็บ 3,225 คน

ปีใหม่ 2561เกิดอุบัติเหตุ 3,841 ครั้ง ตาย 423ราย เจ็บ 4,005 ราย

ปีใหม่ 2560เกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง ตาย 478ราย เจ็บ 4,128 ราย

ปีใหม่ 2559เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380ราย เจ็บ 3,505 ราย

ปีใหม่ 2558เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341 คนเจ็บ 3,117 คน

ปีใหม่ 2557 เกิดอุบัติเหตุ3,174 ครั้ง ตาย 367 คน เจ็บ 3,344คน

 




 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2560   
Last Update : 18 เมษายน 2561 15:46:49 น.   
Counter : 2830 Pageviews.  

7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T ( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา ? )

7 วันอันตราย ปีใหม่ 2564 ที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุ 3,333 ครั้ง ตาย 392 ราย เจ็บ 3,326 ราย  
เทศกาลแห่งความสุข แต่กลายเป็นวันสูญเสียของหลายร้อยครอบครัว จากอุบัติเหตุบนถนน ... วันหนึ่งอาจเป็นครอบครัวเรา ?
( ตลอดทั้งปี เจ็บเป็นล้าน ตายเป็นหมื่น จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา ไม่น่าตื่นเต้น เมื่อเทียบกับ Covid-19 ? )

จากข้อมูลย้อนหลังจำง่าย ๆ ... ตายสี่ร้อย เจ็บสี่พัน แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ  ถ้ายังไม่มี "วิธีการใหม่" (มาตรการเดิมที่เคยใช้ในปีที่ผ่านมา ก็พิสูจน์แล้วว่า ไม่ได้ผล) ... นอกจากผลกระทบโดยตรงจากการบาดเจ็บเสียชีวิต ก็ยังกระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน ไม่นับรวมการทำงานของเจ้าหน้าที่หลายหมื่นคนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำในช่วงเทศกาล แล้วเราจะปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป ?

อุบัติเหตุทางถนน เกิดจากปัจจัยหลัก ๓ ประการคือ คน ถนน(สิ่งแวดล้อม) และ รถ (ปัจจัยที่มีส่วนมากที่สุดคือ คน) การแก้ไขปัญหา จึงต้องอาศัย ข้อมูลความรู้ ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนทั้งในชุมชนและจังหวัด และ "การบังคับใช้กฏหมายอย่างต่อเนื่องทั้งปี" เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำจนเคยชินกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา (ทั้งที่รู้ว่าผิดกฏหมาย) รวมไปถึงระบบขนส่งมวลชนที่สะดวกรวดเร็วปลอดภัยครอบคลุม ถึงแม้จะทำได้ยากและลงทุนเยอะแต่ก็จำเป็น

ปีใหม่ 2564 เกิดอุบัติเหตุ 3,333 ครั้ง ตาย 392 ราย เจ็บ 3,326 ราย
ปีใหม่ 2563 เกิดอุบัติเหตุ 3,421 ครั้ง ตาย 373 ราย เจ็บ 3,499 ราย
ปีใหม่ 2562 เกิดอุบัติเหตุ 3,791 ครั้ง ตาย 463 ราย เจ็บ 3,892 ราย
ปีใหม่ 2561 เกิดอุบัติเหตุ 3,841 ครั้ง ตาย 423 ราย เจ็บ 4,005 ราย
ปีใหม่ 2560 เกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง ตาย 478 ราย เจ็บ 4,128 ราย
ปีใหม่ 2559 เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380 ราย เจ็บ 3,505 ราย
ปีใหม่ 2558 เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341 ราย เจ็บ 3,117 ราย
ปีใหม่ 2557 เกิดอุบัติเหตุ 3,174 ครั้ง ตาย 367 ราย เจ็บ 3,344 ราย
        
สงกรานต์ 2563 เกิดอุบัติเหตุ 1,307 ครั้ง ตาย 167 ราย เจ็บ 1,260 ราย (ตายเจ็บน้อยเพราะ "ยกเลิก"วันหยุดสงกรานต์ เนื่องจาก Covid-19 ?)
สงกรานต์ 2562 เกิดอุบัติเหตุ 3,338 ครั้ง ตาย 386 ราย เจ็บ 3,442 ราย
สงกรานต์ 2561 เกิดอุบัติเหตุ 3,724 ครั้ง ตาย 418 ราย เจ็บ 3,897 ราย
สงกรานต์ 2560 เกิดอุบัติเหตุ 3,690 ครั้ง ตาย 390 ราย เจ็บ 3,808 ราย
สงกรานต์ 2559 เกิดอุบัติเหตุ 3,447 ครั้ง ตาย 442 ราย เจ็บ 3,656 ราย
สงกรานต์ 2558 เกิดอุบัติเหตุ 3,373 ครั้ง ตาย 364 ราย เจ็บ 3,559 ราย
สงกรานต์ 2557 เกิดอุบัติเหตุ 2,992 ครั้ง ตาย 322 ราย เจ็บ 3,225 ราย

แถม ...

7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ  ตายเจ็บเพียบ T-T ( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา ? )    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-04-2017&group=30&gblog=2

ขับขี่ปลอดภัย มีอะไรมากกว่า "จิตสำนึก" 9 เหตุผลที่สวีเดน ลดการเสียชีวิตบนท้องถนนได้อย่างน่าทึ่ง
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=18-04-2018&group=30&gblog=10

แก้ปัญหาวินัยจราจร ต้องไม่ใช้ตำรวจ ... By Dr.Adune    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7

อุบัติเหตุไม่ลด เพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน     
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตาย จากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย)    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3

ล้านแล้วจ้า .. สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี ๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง "หนึ่งล้านคน"     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2018&group=30&gblog=5

::::::::::::::::::::::::::::::::::::

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC
https://www.thairsc.com/

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) กระทรวงมหาดไทย
www.roadsafetythailand.com/
ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน 7วันอันตราย ปีใหม่-สงกรานต์
https://www.roadsafetythailand.com/main/index.php/data-statistics-th/statanddatanewyearmenu
https://www.roadsafetythailand.com/main/index.php/data-statistics-th/statsongkranday

สำนักโรคไม่ติดต่อ การป้องกันการบาดเจ็บจากการจราจร
https://www.thaincd.com/2016/mission5
https://www.thaincd.com/2016/media.php?tid=34&gid=1-015

ศูนย์กลางรวบรวบรวมข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางถนน  สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ
https://www.accident.or.th/datacenter/index.php

**************************************************



สรุปยอดสถิติอุบัติเหตุ บาดเจ็บ-เสียชีวิต 7วันอันตราย สงกรานต์ 2560

วันที่18 เมษายน 2560 | 0 นาที 0 วินาที 40,022

https://morning-news.bectero.com/social-crime/18-Apr-2017/100788

วันนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) โดย นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทยในฐานะรองประธานกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) คนที่ 1เป็นประธานแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2560

สรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 11 - 17 เม.ย. เกิดอุบัติเหตุรวม3,690 ครั้ง

โดยมีสาเหตุสูงสุด3 อันดับแรกจากการเมาแล้วขับ 1,589 ครั้ง ขับ ร้อยละ 43.06 ขับรถเร็ว1,028 ครั้ง ร้อยละ 27.86และตัดหน้ากระชั้นชิด 547 ครั้ง

ประเภทยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด2 อันดับแรก ได้แก่ รถจักรยานยนต์ 3,230 คัน ร้อยละ 84.91 รถปิกอัพ 260 คัน ร้อยละ 6.83 แยกเป็นรถส่วนบุคคล 3,428 คัน รถโดยสารสาธารณะ 230 คัน รถบรรทุก 21 คัน

พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เสียชีวิตและบาดเจ็บ5 อันดับแรก ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย เมาแล้วขับขับรถเร็ว ตัดหน้ากระชั้นชิด และรถจักรยานยนต์ไม่ปลอดภัย

ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรงร้อยละ 63.71 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 36.07 บนถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 36.02

 

ผู้เสียชีวิตรวม390 ราย แยกเป็น เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ 198 ราย และเสียชีวิตที่โรงพยาบาล 171 รายระหว่างนำส่งโรงพยาบาล 21 ราย

สาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตสูงสุด3 อันดับแรก ได้แก่ ขับรถเร็ว 146 ราย เมาแล้วขับ 124 ราย และทัศนวิสัยไม่ดี 77 ราย

ประเภทรถที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตสูงสุด3 อันดับแรก ได้แก่ รถจักรยานยนต์ 284 ราย ไม่สวมหมวกนิรภัย 163 ราย รองลงมาได้แก่รถปิกอัพ 49 ราย รถเก๋ง 27 รายสถานะของผู้เสียชีวิตเป็นผู้ขับขี่ 270 ราย ผู้โดยสาร 84 ราย คนเดินถนน 22 ราย

ส่วนจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดได้แก่ อุดรธานี 161 ครั้ง

จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุดได้แก่ อุดรธานี 168 คน

จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุดได้แก่ นครราชสีมา 17 ราย

จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต4 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ นราธิวาส แม่ฮ่องสอน และสมุทรสงคราม

จังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ1 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ

 

สรุปภาพรวม จำนวนอุบัติเหตุและจำนวนผู้บาดเจ็บ เพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้วเป็นเพราะมีการใช้รถออกเดินทางมากขึ้นกว่าปีที่แล้วรวมมีรถยิ่งบนถนนสงกรานต์ที่ผ่านมา กว่า 7ล้าน 9แสนคัน (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 5-6%) อย่างไรก็ตามแม้จำนวนอุบัติเหตุจะมากขึ้น แต่ที่จำนวนผู้เสียชีวิตลดลง 11.76% โดยเฉพาะการเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุลดลงเหลือ 50%เป็นเพราะความรุนแรงของอุบัติเหตุลดลง เป็นผลมาจากการคุมเข้มการใช้รถไม่ว่าจะเป็นเรื่องการให้คาดเข็มขัดนิรภัย , การคุมเข้มรถโดยสารสาธารณะและห้ามนั่งท้ายกระบะเกิน 6 คน

ส่วนเรื่องการการเมาแล้วขับและขับรถเร็ว ซึ่งยังเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุนั้น จะต้องคุมเข้มมากขึ้นโดยที่ประชุมมีมติให้เปิดศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ตลอดทั้งปีเพื่อเป็นตัวประสานระหว่างส่วนราชการ ผู้ว่าฯ และ นายอำเภอ ทุกจังหวัดเพื่อคุมเข้มเรื่องการดื่มแล้วขับ และการขับรถเร็วตลอดทั้งปีโดยจะไม่ออกกฎหมายเพิ่ม แต่จะรณรงค์ให้ใช้มาตรการทางสังคมกดดันคนดื่มแล้วขับ /ขับรถซิ่ง

 

ด้านดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บเสียชีวิตเพิ่มจากปีก่อนนั้นเป็นเพราะส่วนหนึ่งมาจากการเดินทางที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวซึ่งถ้าดูตามตัวการจริงๆ ไม่ได้มีความแตกต่างจากที่ผ่านมาๆและไม่ได้แตกต่างจากช่วง 7 วันปกติแต่อย่างใด

มาตรการต่างๆที่ภาครัฐทำอยู่ ทั้งเรื่องการตั้งด่านชุมชน การยึดรถ เมาแล้วจับ ปรับ เป็นต้นนั้นถือว่ามีประสิทธิภาพดี อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคืออยากให้เอามาตรการเหล่านี้มาดำเนินการทั้งปี หรือมีความเข้มข้นประมาณ 20-30% เหมือนช่วง 7 วันอันตรายได้ก็จะช่วยปรับพฤติกรรมของคนใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัยจนเป็นนิสัยหากทำได้อุบัติเหตุช่วงปกติก็จะลดลง ช่วง 7วันอันตรายก็จะลดลงไปด้วย ไม่ใช่ว่าพอพ้นช่วง 7วันอันตรายไปแล้วมาตรการต่างๆ ก็หายไปหมดตรงนี้สำคัญมากกว่าการเพิ่มมาตรการทางกฎหมายอีก

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::


 

แค่ครึ่งปี 2560 มีผู้ตายบนท้องถนนกว่า 7,600ศพ บาดเจ็บกว่าครึ่งล้าน รุนแรงกว่าสงครามที่เกิดขึ้นในโลกขณะนี้

ที่มา เฟส สำนักข่าวอิศรา
https://www.facebook.com/isranewsfanpage/photos/a.511024322259243.126514.480564141971928/1737089696319360/?type=3&theater

ข้อมูลรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนนในรอบ 24 ชั่วโมง
วันที่ 02/07/2560 ตั้งแต่เวลา 00.00 - 23.59 น.**
เสียชีวิต 34 ราย
บาดเจ็บ 2,879 ราย
---------------------------------------
ข้อมูลรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนนสะสม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 256
เสียชีวิต 7,641 ราย
บาดเจ็บ 500,674 ราย
---------------------------------------
ที่มา : ศูนย์รับแจ้งเหตุบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัดและเครือข่ายรับแจ้ง www.thairsc.com
เผยแพร่โดย : สำนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

 ::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

 

7 วันอันตราย ปีใหม่ไทย-เทศ ตายเจ็บเพียบ T-T( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา ? ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-04-2017&group=30&gblog=2

7 วันอันตราย ปีใหม่ 2561 (28ธค.60-3มค.61) มาตรการเพียบรอลุ้นผลว่าจะเป็นอย่างไร https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-12-2017&group=30&gblog=4

รวม 7วันอันตรายปีใหม่เทศ 2561 เสียชีวิต 423 คน ลดลงจากปี 60 ร้อยละ 11 ( น่าพอใจ???) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-01-2018&group=30&gblog=8

รวม 7วันอันตรายปีใหม่ไทย (สงกรานต์) 2561 เสียชีวิต 418 ราย (เจ็บตายมากกว่าปีที่แล้ว) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-04-2018&group=30&gblog=9

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตายจากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3

ล้านแล้วจ้า .. สถิติ มีไว้เพื่อทำลาย ปี๒๕๖๐ ประเทศไทย มีคนเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ถึง "หนึ่งล้านคน" https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-01-2018&group=30&gblog=5

แก้ปัญหาวินัยจราจร ต้องไม่ใช้ตำรวจ ... ByDr.Adune https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-01-2018&group=30&gblog=7

อุบัติเหตุไม่ลด เพราะ มัวไปโทษเมาแล้วขับ... เราหลงประเด็นหรือเปล่า By Dr.Adune https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-01-2018&group=30&gblog=6





 

Create Date : 22 เมษายน 2560   
Last Update : 7 มกราคม 2564 15:01:51 น.   
Counter : 2635 Pageviews.  

1  2  3  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]